Jump to content


cddkpp

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 1 มกราคม 2556
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2557 21:13
-----

#662563 คุณ 55555 และคุณ Bookmarks ขอความรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงครับ

โดย cddkpp on 31 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 00:11

ต้องขอบคุณ คุณ ก้อบด้วย ที่อดทนมาจนถึงตอนนี้
และพยายาม มองต่างมุม จนเกิดไอเดียใหม่ขึ้น
เพราะถ้ายังไม่มีใครหลุดจากแนวคิด "ความพอเพียง"
ผมคงโพสเรื่อง เศรษฐกิจพึ่งพานี้ไม่ได้
:)

แต่ที่สำคัญ ผมไม่ได้บอกว่า แนวคิดผม "ถูกที่สุด" เพียงแต่เสนอแนวคิดของตัวเอง เพื่อแลกเปลี่ยนเท่านั้นครับ

ขอบคุณ น้าแคน ที่เข้ามาเยี่ยม และอธิบายความหมายของ ข้อมูลเชิงประยุกต์ ซึ่งไม่มีตามเวบไซท์


ขอบคุณที่สุดอีกคนก็คือ คุณ cddkpp ที่นำข้อมูลเชิงประยุกต์ ของบริษัทต่างๆขึ้นมาแนะนำ
ข้อมูลเชิงวิชาการ เราหาอ่านได้ทั่วไปก็จริง แต่เมื่อลองถามข้อมูลแนวประยุกต์ เรามักจะนึกไม่ออกกันว่า ควรคิดไปในแนวไหน และสุดท้าย แนวคิดพอเพียง จะเป็นแค่อีกหนึ่งคาถา เหมือนบทสวดมนต์ ที่เราท่องทุกวัน แต่นำมาใช้ในชีวิตจริงไม่ได้ เพราะยังประยุกต์ไม่เป็น


ขอบคุณเพื่อนๆหลายท่านที่ สนใจ และออกความเห็น
ขอบคุณ คุณขำกลิ้ง และที่คั่นหนังสือ ที่จุดประเด็นด้วย 5555

ขอบคุณมา ณ ตรงนี้ แต่ยังไม่จบนะครับ คุณศรเริ่มหายไปนาน
เห็นตาม-แย้งอย่างไร รออยู่นะครับ :)

         ต้องขอบคุณท่านที่ให้ข้อมูลด้วยครับถือเป็นประโยชน์อย่างมากและต้องขอขอบคุณท่าน แคนไทยอย่างมากที่สรุปได้ดีมาก ในแวดวงการพัฒนาด้านสังคมเรามักจะไม่มองว่าความคิดใครผิดใครถูกที่สุด แต่จะหล่อหลอมทุกความคิดเข้าด้วยกันเหมือนท่านอาจารย์แคนได้สรุปเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ผมขอชื่นชมทุกท่านที่ได้แสดงให้เห็นว่าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นทำได้ ถ้าพวกเราทุกคนทำได้ตามแนวทางจะมากจะน้อย ประเทศเราจะอยู่รอดได้ ไม่มีประเทศไหนที่จะมาช่วยเราได้ตลอดนอกจากพวกเรากันเองครับที่ต้องพาประเทศชาติให้ก้าวเดินต่อไปไม่ให้สิ้นถูกกลืนชาติ

         ผมต้องขออนุญาตนำความคิดในกระทู้นี้ไปขยายผลหรือเป็นแนวทางอธิบายให้คนในหมู่บ้านชุมชน ซึ่งนับวันชุมชน/หมู่บ้านหลายหมู่บ้านมีสภาพคล้ายชุมชนเมืองมากยิ้งขึ้นซื้งในการอธิบายยกตัวอย่างเป็นไปได้ยากที่ทำให้เค้าเล่านั้นเห็นภาพ โอกาสหน้าจะตั้งกระทู้ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วิถีชีวิต ในช่วงยุคสมัยต่าง ๆ โดยช่วยกันเล่าเรื่องที่เห็น เพื่อให้สมาชิกได้มองเชื่อมร้อยจากอดีตสูปัจจุบัน เผื่อจะได้วิเคราะห์แนวโน้มที่จะเกิดในอนาคต




#655742 คุณ 55555 และคุณ Bookmarks ขอความรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงครับ

โดย cddkpp on 26 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 00:12

ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงภาคธุรกิจ๔.jpg ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงภาคธุรกิจ๕.jpg




#655738 คุณ 55555 และคุณ Bookmarks ขอความรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงครับ

โดย cddkpp on 26 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 00:05

ขออนุญาตให้ข้อมูลในส่วนของภาคธุรกิจที่น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียงไปปฎิบัติตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงภาคธุรกิจ.jpg

 

Attached Images

  • ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงภาคธุรกิจ๒.jpg
  • ตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียงภาคธุรกิจ๓.jpg



#649293 มีใครน้อมนำเอา เศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ในชีวิตประจำวันบ้างครับ

โดย cddkpp on 20 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 22:13

4.ด้านการเรียนรู้
ระดับครัวเรือน
คนในครัวเรือนมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดหรือจัดเวทีการเรียนรู้หรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
นำไปสู่ความเข้าใจในการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ระดับหมู่บ้าน
ชุมชนมีการบันทึกภูมิปัญญาในรูปแบบต่างๆมีการถ่ายทอด และนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง



ผมขออนุญาตถามเกี่ยวกับข้อ 4
ผมเห็น (ได้ยิน) มีคนบอกว่า ตามสวนสาธารณ หรือ สำนักงานเขต จะมีการอบรมวิชาชีพต่างๆฟรี
อย่างสวนลุม มีสอนทำอาหาร แต่งหน้า ตัดผม ..... แบบนี้ถือเป็นการให้ความรู้สู่ชุมชนรึเปล่า?

 น่าจะเป็นส่วนงานของ กทม.(ราชการส่วนท้องถิ่น)ให้การสนับสนุน




#649280 มีใครน้อมนำเอา เศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ในชีวิตประจำวันบ้างครับ

โดย cddkpp on 20 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 22:02

ออมทรัพย์

ขอบคุณมากครับคุณ ซี
ดูเป็นรูปธรรม ทำตามได้เลย :)

แล้วสำหรับคนเมืองล่ะครับ
เคยมีใครวิจัยแนวทางสำหรับคนเมืองบ้างไหม?

มองดูแล้ว คนเมืองมีส่วนต่อกิจกรรมเหล่านี้น้อยมาก
แก้ไข....
โอเค....
ผมเพิ่งเห็นข้อ 5/6
แบบนี้ ทุกคนที่เข้ามาตอบที่นี่ ก็เข้าข่ายแนวทาง ศก พอเพียงกันแล้วนะครับ ดีใจด้วย ^^

ว่าแต่ ที่นำมานี้ เป็นแนวทางจากไหนครับ
กลุ่มเดียวกับที่คิดค้นแนวทฤษฎีใหม่ภาคเกษตรรึเปล่าฮะ

ก็หลากหลายจากนักวิชาการที่ทำงานด้านพัฒนาชนบท ภาคประชาชน ก็สรุปให้อนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตรวจสอบก่อนนำไปใช้ครับ




#647896 มีใครน้อมนำเอา เศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ในชีวิตประจำวันบ้างครับ

โดย cddkpp on 19 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 23:02

6.การเอื้ออาทร (การแบ่งปัน/การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน)

ระดับครัวเรือน

1.ได้รับการสนับสนุนดูแลจากกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน

2.ได้รับการสนับสนุนดูแลจากครัวเรือนที่ประสบความสำเร็จในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติ (ครัวเรือนต้นแบบ)

3.ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชน

ระดับหมู่บ้าน

1.มีสวัสดิการชุมชน หรือกิจกรรมการดูแลผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสจากชุมชน ธนาคารข้าว กลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์ ศูนย์สงเคราะห์ กองทุนสวัสดิการชุมชน

2.มีกิจกรรมวิสาหกิจชุมชน เช่น โรงสีข้าวชุมชน โรงงานแปรรูปผลผลิตชุมชน กลุ่มอาชีพ

3.ชุมชนมีความรู้รักสามัคคีไม่มีความแตกแยก

4.ชุมชนมีวิธีการช่วยเหลือตัวเองและสมาชิกในชุมชน เมื่อเกิดภัยพิบัติต่างๆ

 

เป็นกิจกรรมที่ใช้ส่งเสริมหมู่บ้านในเขตพื้นที่ชนบท(นอกเขตเทศบาลและ กทม.เมืองพัทยา)

ในการส่งเสริมก็ประสบความสำเร็จอาจไม่ทุกตัวที่กล่าวมา หรือทำได้ทุกกิจกรรมขึ้นอยู่กับบริบทของหมู่บ้านนั้นๆ

สมาชิกที่แสดงความคิดถือเป็นตัวอย่างที่ดีขออนุญาตนำไปขยายต่อน่ะครับ




#647889 มีใครน้อมนำเอา เศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ในชีวิตประจำวันบ้างครับ

โดย cddkpp on 19 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 22:58

4.ด้านการเรียนรู้

ระดับครัวเรือน

คนในครัวเรือนมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดหรือจัดเวทีการเรียนรู้หรือกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
นำไปสู่ความเข้าใจในการดำรงชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ระดับหมู่บ้าน

ชุมชนมีการบันทึกภูมิปัญญาในรูปแบบต่างๆมีการถ่ายทอด และนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง

5.การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ระดับครัวเรือน

1.ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและประหยัด

2.ใช้สารอินทรีย์และชีวภาพในการทำการเกษตร

3.การบริโภคสินค้าที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น โฟม สารเคมีต่างๆ

4.มีการกำจัดขยะของเสียอย่างถูกวิธี เช่น แยกขยะ

ระดับหมู่บ้าน

1.มีการจัดระเบียบชุมชน เช่น การรักษาความสะอาดที่สาธารณะ การกำจัดขยะ และสิ่งมลพิษที่ถูกต้อง

2.มีกิจกรรมการรักษาดูแลแม่น้ำ ลำคลอง และแหล่งน้ำอื่นๆ

3.มีกิจกรรมการอนุรักษ์ป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ

4.แผนชีวิตมีกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม




#647881 มีใครน้อมนำเอา เศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ในชีวิตประจำวันบ้างครับ

โดย cddkpp on 19 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 22:50

3.การออม

ระดับครัวเรือน

1.มีการวางแผนการใช้จ่ายเงินเพื่อให้มีเงินเก็บออม

2.มีกิจกรรมการออม เช่น เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ กลุ่มสัจจะ,สหกรณ์ออมทรัพย์ฯ,กองทุนหมู่บ้าน,กองทุนอื่นๆ และธนาคาร เป็นต้น

ระดับหมู่บ้าน

มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตหรือกลุ่มอื่นๆ ที่มีกิจกรรมการออมทรัพย์




#647880 มีใครน้อมนำเอา เศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ในชีวิตประจำวันบ้างครับ

โดย cddkpp on 19 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 22:49

2.การเพิ่มรายได้

ระดับครัวเรือน

1.ปลูกพืชหมุนเวียนหลายชนิด

2.พัฒนาอาชีพให้มีประสิทธิภาพ

3.มีการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า

4.ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการทำอาชีพเสริม

5.ใช้ที่ดินทำการเกษตรอย่างคุ้มค่า

ระดับหมู่บ้าน

1.มีวิสาหกิจชุมชน เช่น โรงสี โรงแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร กลุ่มอาชีพ ปั๊มน้ำมัน

2.ทำเกษตรผสมผสาน

3.บริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนโดยชุมชน




#647877 มีใครน้อมนำเอา เศรษฐกิจพอเพียง ไปใช้ในชีวิตประจำวันบ้างครับ

โดย cddkpp on 19 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 22:47

ที่หน่วยงานได้แปลงจากทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติในหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงมีดังนี้ครับ

1.การลดรายจ่าย

ระดับครัวเรือน

1.ปลูกพืช/เลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภค

2.ใช้ปุ๋ยชีวภาพ สารชีวภาพป้องกันศัตรูพืช

3.ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นในการผลิตสินค้า

4.ผลิตเครื่องอุปโภคใช้เอง เช่น น้ำยาล้างจาน แชมพู

5.ใช้สมุนไพรไล่แมลง เช่น ตะไคร้หอมไล่ยุง

6.วางแผนการเดินทาง

7.ประหยัดไฟฟ้า,น้ำประปา,น้ำมันเชื้อเพลิง

8.ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น การซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย การเที่ยวเตร่ ใช้จ่ายจัดกิจกรรมตามประเพณี วัฒนธรรมมากเกินความจำเป็น

9.มีการวัสดุที่ใช้งานแล้วมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ใหม่

10.ใช้จ่ายเงินเท่าที่จำเป็น

11.การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์

12.เลือกซื้อสินค้าที่คุ้มค่าประโยชน์

13.รักษาสิ่งของต่างๆ ให้คงอยู่ใช้ในสภาพใช้การได้นานๆ

ระดับหมู่บ้าน

1.ปลูกข้าว ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์เพื่อบริโภคในชุมชน

2.ทำเกษตรอินทรีย์ เช่น ทำปุ๋ย และสารชีวภาพใช้ในการเกษตร

3.มีศูนย์สาธิตการตลาด ร้านค้าชุมชน ลานตากข้าว

4.ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นในการผลิตสินค้า

5.มีกิจกรรมรณรงค์ การประหยัดพลังงาน เช่น ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำประปา

6.ลดรายจ่ายของชุมชนที่ไม่จำเป็น เช่น การจัดกิจกรรมประเพณี วัฒนธรรมของชุมชนที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น อาทิ จัดมหรสพที่มีราคาแพง

7.การช่วยกันรักษาสาธารณสมบัติของหมู่บ้าน




#646786 คุณ 55555 และคุณ Bookmarks ขอความรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงครับ

โดย cddkpp on 18 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 23:22

ผมมองว่า การเก็บออม ของชาวบ้านนั้นคือ ความพอเพียง ในแต่ละคน
ส่งเสริมความพอเพียง เพื่อมีเงินเก็บและนำมาลงทุน

คสามพอเพียง และ ศก.พอเพียง "ควร"จะไปด้วยกัน
แต่จะไม่ไปด้วยกัน ก็ไม่เป็นไร ไม่มีปัญหา

ผมจึงมองว่า กฏ 3 เงื่อนไข 2 ที่คุณเคยยกมานั้น เป็นแนวทาง ปฏิบัติ
แต่ยังไม่ใช่ลักษณะของศก. พอเพียงนะครับ

 

ผมมองว่า การเก็บออม ของชาวบ้านนั้นคือ ความพอเพียง ในแต่ละคน
ส่งเสริมความพอเพียง เพื่อมีเงินเก็บและนำมาลงทุน

คสามพอเพียง และ ศก.พอเพียง "ควร"จะไปด้วยกัน
แต่จะไม่ไปด้วยกัน ก็ไม่เป็นไร ไม่มีปัญหา

ผมจึงมองว่า กฏ 3 เงื่อนไข 2 ที่คุณเคยยกมานั้น เป็นแนวทาง ปฏิบัติ
แต่ยังไม่ใช่ลักษณะของศก. พอเพียงนะครับ

คือที่ผมติดตามกระทู้นี้เพราะว่าภาระกิจหนึ่งของหน่วยงานผมคือส่งเสริมหมู่บ้านให้น้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านไปพัฒนาหมู่บ้าน ซึ่ง หลัก สามห่วงสองเงื่อนไข ที่ผมอ้างอิง ก็มาจากคณะอนุกรรมการอนุกรรมการ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นประธาน จากที่เราถกเถึยงกันมานั้นก็ไม่แปลกหรอกครับเพราะก่อนหน้านี้หลายหน่วยงานก็ตีความไปตามที่เห็นและเข้าใจ ปัจจุบันน่าจะเป็นไปในแนวทางเดียวกันคือต้องมีสามห่วงสองเงื่อนไข ครับ เป็นอันเป็นหลักยึดสำคัญเป็นแนวของผู้ปฏิบัติเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง ประกอบด้วย

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่นการผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ

การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล

ส่วน 2 เงื่อนไข คือการตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน ประกอบไปด้วย

- เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ

- เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

ดร.จิรายุได้สรุปตอนท้ายว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพระราชดำรัสที่พระราชทาน ให้ประชาชนดำเนินตามวิถีแห่งการดำรงชีพที่สมบูรณ์ ศานติสุข โดยมีธรรมะเป็นเครื่องกำกับ และใจตนเป็นที่สำคัญ ซึ่งที่พระองค์ทรงรับสั่งมานั้น แท้ที่จริง คือ วิถีชีวิตไทยนั่นเอง วิถีชีวิตไทยที่ยึดเส้นทางสายกลางของความพอดี เป็นการเสริมพลังให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาไปได้อย่างมั่นคงภายใต้กระแสโลกาภิ วัตน์

ก็ขับเคลื่อนกันมาหลายปี มีทั้งประสบความสำเร็จและก็ยังลุ่มๆดอน ตามสภาพพื้นที่  ผมขอชื่นชมสมาชิกทุกท่านที่ได้แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น เท่าที่อ่านมาทุกท่านได้ให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ ซึ่งผมขออนุญาตนำข้อคิดเห็น ไปขยายให้คนในหมู่บ้านน่ะครับ ตัวอย่างที่หลายท่านได้อธิบายเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ก็อธิบายได้ชัดเจนเลย เพราะบ้างที่ชาวบ้านถ้าพูดวิชาการพลานจะหลับ ก็คงเอาไปเป็นตัวอย่าง ขอขอบคุณไว้น่ะที่นี้เลยครับ และผมก็เชื่อว่าถ้าใครน้อมนำ แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านไปปฏิบัติ มากน้อยตามที่แต่ะคนจะทำได้ ท่านนั้นคงก้าวเดินไปในการดำรงชีวิตได้อย่างปลอดภัย




#646698 คุณ 55555 และคุณ Bookmarks ขอความรู้เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงครับ

โดย cddkpp on 18 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 22:05


ไม่เชิงว่าอย่ามั่วครับ :)
ผมก็มั่วอยู่บ้าง แต่เราต้องพร้อมที่จะเรียนรู้ต่อ ไม่มีใครทีรู้พร้อมทั้งองค์

อย่างวันนี้ ผมเปิดอ่านตามและเห็นแล้วว่า
การตั้งสหกรณ์ เป็นแนวคิดทฤษฎีใหม่ขั้นถัดไป

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องเป็นสหกรณ์หมู่บ้านหรือชุมชน ที่เขาจัดกันเอง
ไม่ใช่รัฐไปจัดให้ครับ


ผมเคยคุยกับคุณ อี้ มานิดนึงเรื่องรัฐสวัดิการ ตัวเขาเรียกมันว่าพอเพียง
แต่ผมคุยว่ามัน เกินตัว
รัฐจะเข้าไปจัดให้ทั้งหมดไม่ได้
ไม่งั้นจะเหลวเหมือนกองทุนหมู่บ้านนั้นแล

คือแค่คำว่าสหกรณ์ ก็ต้องศึกษาให้ละเอียดว่า แบบไหนคือแนวทางที่สอดคล้องกัน นั่นแหละครับ

ขออนุญาตให้ข้อมูลน่ะครับ

ปัจจุบันในหมู่บ้านก็มีการรวมตัวคล้ายสหกรณ์ เช่นกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุุ่มสัจจะสะสม แม้แต่กองทุนหมู่บ้านส่วนใหญ่ก็มีการออมเงินของสมาชิก และ กลุ่มองค์กรการเงินขนาดเล็กต่่างๆ ฯลฯ ซี่งควรต้องมีหน่วยงานของรัฐ กำกับไม่อย่างนั้นอาจกลายเป็นการเล่นแชร์กันได้ ส่วนเรื่องสวัสดิการ หลายหมู่บ้านก็มีการรวมตัวกันจัดสวัสดิการให้แก่คนในหมู่บ้าน มีทั้งใช้เงินดอกผลกำไรของกองทุนต่างๆ นและสมาชิกสมทบ มาจัดสวัสดิการให้แก่คนในหมู่บ้าน ในหลายปีที่ผ่านมาภาคประชาสังคมพยามขับเคลื่อนเรื่องนี้อยู่ ซึ่งได้ไปต่อรองกับรัฐบาลที่แล้วได้แนวทางคือภาคประชาชนมีเงินทุนเท่าไร รัฐก็จะสนับสนุนงบประมาณให้เท่ากัน เช่นกองทุนสวัสดิการฯมีเงินทุน แสนหนึ่ง รัฐก็จะสนับสนุนให้แสนหนึ่ง มีความพยามจะให้ท้องถิ่นสนับสนุนทุกท้องถิ่น แต่งบประมาณของท้องถิ่นบางแห่งไม่พอก็เลยทำให้ท้องถิ่นยังไม่อุดหนุน มีเฉพาะบ้างแห่ง คณะกรรมการดำเนินงานก็ตั้งจากสมาชิกในกองทุนฯ อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงพัฒนาสังคม




#644412 ขอนอกเรื่องหน่อยนะครับ

โดย cddkpp on 16 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 23:42

สถานการณ์กองทุนเป็นอย่างนี้มานานแล้วที่ต้องยืมเงินข้างนอกมาส่งส่วนใหญ่จะเป็นกองทุนหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ใกล้เขตเมือง แต่เริ่มแพร่ไปยังหมู่บ้านที่ทำการเกษตรเป็นหลัก ไม่มีข้อมูลที่เป็นหลักฐานได้แต่สอบถามนอกรอบก็พบว่าเกือบทุกหมู่บ้านจะยืมจากข้างนอกมาส่งก่อนแล้วรอเงินกู้จากกองทุนหมู่บ้านไปส่งคืน ถ้าตรวจสอบลึกลงไปจะพบว่าไม่ได้นำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ขอกู้กล่าวคือผู้กู้ส่วนใหญ่ยืมไปประกอบอาชีพ แต่ที่จริงสมาชิกจะนำเงินไปใช้ส่วนตัวเสียเป็นส่วนใหญ่ส่วนน้อยที่นำไปใช้ตามวัตถุประสงค์




#644371 ขอนอกเรื่องหน่อยนะครับ

โดย cddkpp on 16 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 23:10

ขออนุญาตร่วมแสดงความคิดด้วยน่ะครับ พอดีทำงานส่งเสริมให้คนในหมู่บ้านดำเนินแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่เลยอยากได้ความคิดเห็นนำไปแลกเปลี่ยน

คุณสมบัติของเศรษฐกิจพอเพียงคือ สามห่วงสองเงื่อนไข

ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

                        โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

จะทำอะไรก็ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติเหล่านี้ จะกู้จะซื้อทำได้ แต่ต้องคิดตามนี้ก่อน ส่วน 30 30 30 10 นี้คือ ทฤษฎีใหม่ ที่ททรงแนะให้ปฏิบัติใช่ไหมครับ




#628709 --- เชิญสมาชิกใหม่มาแนะนำตัวได้ที่กระทู้นี้ครับ ---

โดย cddkpp on 5 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 23:03

เข้ามาศึกษาหาความรู้จากที่นี้หนึ่งปีแล้ว สมัครมาทางเฟสบุ๊คเลยได้เป็นสมาชิกที่นี้ด้วย ขอร่วมแบ่งบั่นความรู้จากสมาชิกทุกท่านและร่วมเป็นผู้ช่วยกันสร้างบ้านเมืองของเราให้ดีขึ้น