Jump to content


lalasom

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 11 เมษายน 2556
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 29 พฤษภาคม 2556 11:34
-----

Topics I've Started

NGV มีการกำหนดโครงสร้างราคากันอย่างไร???

21 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 - 13:08

การกำหนดโครงสร้างราคา NGV ในปัจจุบันจะมีหลักเกณฑ์การคำนวณราคาขายปลีก NGV ตามมติ กพช. 23 ก.พ. 54 สรุปได้ดังนี้

 

lngv1.jpg

 

bngv2.jpg

 

เมื่อได้ต้นทุนราคาก๊าซฯแล้วจะต้องนำมาคำนวณถึงค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ดังรูป

 

zngv3.jpg

 

angv4.jpg

 

8ngv5.jpg

 

และการทบทวนโครงสร้างราคา NGV นั้น รองนายกรัฐมนตรี (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง) ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้น 3 คณะ เพื่อทบทวนการปรับราคา NGV ดังนี้

  1. คณะทำงานทบทวนการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV กลุ่มรถโดยสารสาธารณะ
  2. คณะทำงานทบทวนการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV กลุ่มรถโดยสารประจำทางสาธารณะ
  3. คณะทำงานทบทวนการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV กลุ่มรถบรรทุกขนส่ง

นอกจากนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคา NGV ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ และผู้ประกอบการขนส่งจากทั้ง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มรถโดยสารสาธารณะ กลุ่มรถโดยสารประจำทางสาธารณะ และกลุ่มรถบรรทุกขนส่ง ซึ่งคณะทำงานได้มีมติให้มีการจัดจ้างสถาบันการศึกษาที่เป็นกลางคือสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ เพื่อศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคา NGV ทั้งนี้ กบง. เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2555 ได้เห็นชอบให้มีการจัดจ้างสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาฯ เพื่อทำการศึกษาทบทวนการคำนวณต้นทุนราคาก๊าซ NGV โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ 10 เม.ย. 2555

 

ongv6.jpg

 

 

ที่มา : http://www.xn--72caab2fl6azbbby8lpav6ezjxc.com/


ปตท กับรัฐบาลไทย ใครกันแน่ที่ทำให้เราต้องรับกับสภาพเป็นแบบนี้???

11 เมษายน พ.ศ. 2556 - 14:19

ที่ผ่านมารัฐบาลทุกยุคทุกสมัยยึดมั่นในหลักการสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่ประเทศมาโดยตลอด ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าประชาชนจะมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอและเหมาะสมในระยะยาว แม้ว่าประเทศเราจะสามารถผลิตพลังงานได้บางส่วน แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ทั้งหมด  ทำให้ต้องมีการนำเข้าพลังงานสุทธิในสัดส่วนประมาณ  55-60% ของปริมาณการใช้ทั้งหมดในแต่ละปี

 

ด้วยเหตุนี้ปตท กับรัฐบาลไทยจึงต้องมีการรณรงค์ส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักใช้พลังงานอย่างประหยัดและคุ้มค่ามากที่สุดควบคู่ไปกับการแสวงหาพลังงานแหล่งใหม่ๆ เพิ่มเติมทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ เพื่อเป็นหลักประกันว่าเราจะได้มีพลังงานเหลือให้ลูกหลานใช้ไปเรื่อยๆ ไม่ขาดแคลน และเพื่อส่งเสริมให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตได้อย่างต่อเนื่องต่อไป

 

11-4-25569-45-49.jpg

 

ในการดำเนินโครงการด้านพลังงานขนาดใหญ่ๆ แต่ละครั้ง  ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่จะมีการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและชี้แจงต่อสาธารณชนให้ทราบทุกครั้ง สำหรับการให้สัมปทานปิโตรเลียมในบ้านเรานั้น มี พ.ร.บ. ปิโตรเลียมเป็นกฎหมายที่ระบุขั้นตอนและวิธีการดำเนินการ รวมทั้งกำหนดหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบในเรื่องดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ซึ่งก็เป็นรูปแบบที่ประเทศส่วนใหญ่ในโลกใช้กันอยู่

 

ที่สำคัญประเทศที่มีการนำเข้าพลังงานเป็นหลัก (Net Importer) ล้วนแล้วแต่ต้องดำเนินนโยบายพลังงาน โดยหลักเดียวกับประเทศไทยแทบทั้งสิ้น เนื่องจากพลังงานของโลกนับวันมีแต่จะหมดไปและจะเป็นภาระของลูกหลานในอนาคต หากคนรุ่นนี้ใช้พลังงานให้หมดไปโดยขาดความรับผิดชอบก็จะบอกได้เลยว่าไม่ต้องโทษปตท กับรัฐบาลไทยหรอกจงโทษตัวเราเองที่ไม่รู้จักการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าคงจะดีกว่า

 

ที่มา : http://www.xn--72caab2fl6azbbby8lpav6ezjxc.com/