- ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด
- → ดูประวัติผู้ใช้: กระทู้: nualtal
nualtal
เป็นสมาชิกตั้งแต่ 4 มิถุนายน 2556ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2557 11:18
Community Stats
- กลุ่มผู้ใช้ Members
- จำนวนกระทู้และความเห็น 81
- Profile Views 2,600
- Member Title น้องเก่า
- อายุ ไม่ระบุ
- วันเกิด ไม่ระบุ
-
Gender
Not Telling
-
Interests
Old member(meetam)since'ปี2554
55
Excellent
เครื่องมือสมาชิก
Friends
nualtal hasn't added any friends yet.
ผู้เยี่ยมชมล่าสุด
Topics I've Started
เคยสงสัยกันมั๊ย..ข่าวจับยาเสพติดรายเล็กรายใหญ่ทั้งหลายตามที่แถลงข่าวจบแล้วมีการปฏิบัติย...
6 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 16:00
จำไดัสมัยก่อนน่าจะนานหลายปี ที่เห็นตำรวจจัดแถลงข่าวแล้วเคยลงรูปการเผาทำลายยาเสพติดโชว์สื่อด้วย..เดาว่าปัจจุบันไม่มีให้เห็นเพราะสารเผาเกิดมลพิษ..เอ..หรือท่านเจ้าหน้า ที่ที่เป็นผู้จัดการชอบโชว์ตอนจับแต่ตอนกำจัดไม่ต้องโชว์สื่อนะ..เออ..แต่เห็นหลายท่านมีรูปรถยนต์หลายสิบล้านตามสื่ออยู่น๊า..
เรากำลังล้าแรง ถอยหลังให้ประเทศเพื่อนบ้านแซงหน้ากันไปแล้ว..
5 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 21:05
วันนี้เจอเพื่อนร่วมงานต่างชาติผู้มีภรรยาเป็นคนฟิลิปปินส์คุยว่าตอนนี้เศรษฐกิจที่ห
ฟิลิปปินส์เบ่งบานมาก จีดีพีกำลังวิ่งแซงหน้าชาติอื่นๆในภูมิภาค..หันกลับมาบ้านเราดูแล้วมันเศร้าใจเป็นที่สุด ...ฝากความหวังไว้กับพวกที่ผิดฝาผิดกลุ่ มปล่อยให้ช่วยยำซ้าเละเทะกันเลยเถิด...เลยเปิดดูบทความจากเวปสนุกมาอ่านกันค่ะ
นอกจาก "เวียดนาม" แล้ว "ฟิลิปปินส์" ก็กำลังจะแซงไทย ?
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมนี้ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ประกาศด้วยความภูมิใจว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการคอมพิวเตอร์คือ Texas Instruments (TI) ตัดสินใจจะลงทุนสร้างโรงงานประกอบ semi-conductor ที่ทันสมัยเพิ่มเติมจากโรงงานเดิม โดยการลงทุนจะมีมูลค่า 1 พันล้านเหรียญ ทั้งนี้ในรอบสุดท้ายที่ตัดสินใจเลือกฟิลิปปินส์นั้นประเทศคู่แข่งคือจีน เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะปกติแล้ว ประเทศที่เป็นที่โปรดปรานที่สุดของนักลงทุนจะต้องเป็นประเทศจีนมาโดยตลอดเพราะต้นทุนในด้านแรงงานต่ำที่สุด แต่ระยะหลังนี้ ค่าจ้างแรงงานถูกปรับขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ทำให้ความ ได้เปรียบของจีนในด้านนี้ลดน้อยลงมาเรื่อยๆ ที่สำคัญคือฟิลิปปินส์มีแรงงานที่มีฝีมือเป็น จำนวนมากเพียงพอ (การลงทุนใหม่ของ TI นี้จะสร้างงานเพิ่มอีก 3,000 ตำแหน่ง) นอกจากนั้นฟิลิปปินส์ก็ยังได้เปรียบในด้านที่พนักงานฟิลิปปินส์มีความรู้ความสามารถในการพูด และเขียนภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ทำให้อุตสาหกรรมอีกประเภทหนึ่ง คือการให้บริการตอบข้อสอบถาม 24 ช.ม. เป็นอุตสาหกรรมที่จ้างงานคนฟิลิปปินส์เป็นจำนวนมาก เพราะเวลาในสหรัฐกับเวลาในฟิลิปปินส์นั้นแตกต่างกัน 11-12 ช.ม. ซึ่งเหมาะสมยิ่งกับการให้บริการ ดังกล่าวจากประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงกลางคืนของที่อเมริกา TI นั้นเดิมมองว่าจะมาตั้งโรงงานในเอเชีย โดยจะต้องเลือกจากประเทศฟิลิปปินส์ จีน ไทยและเวียดนาม แต่ไทยและเวียดนามตกรอบไปก่อนแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายสำหรับประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะฟิลิปปินส์นั้นปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจด้อยกว่าไทยอยู่มาก อัตราเงินเฟ้อสูงกว่า (ประมาณ 5%) รัฐบาลมีปัญหาคอร์รัปชั่น ขาดประสิทธิภาพและมีหนี้สินถึง 87% ของจีดีพี (หนี้ภาครัฐของไทยเท่ากับ 40% ของจีดีพี) โครงสร้างพื้นฐานก็มีปัญหา เช่น ไฟฟ้าไม่พอใช้ต้องมีการดับไฟเป็นครั้งคราว จริงอยู่ฟิลิปปินส์รายได้ต่ำกว่าไทยมากคือมีประชาชน 91 ล้านคน และจีดีพีประมาณ 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (จีดีพีต่อหัวประมาณ 1,300 เหรียญต่อคนต่อปี เมื่อเทียบกับไทยซึ่งมีประชากร 65 ล้านคนและจีดีพีประมาณ 220,000 ล้านเหรียญ จีดีพีต่อหัว 3,400 เหรียญต่อคนต่อปี) จึงคงจะมีค่าแรงที่ราคาถูกกว่า แต่ในปัจจัยเศรษฐกิจของไทยดีกว่าฟิลิปปินส์มากและเป็นฐานการลงทุนด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญอยู่แล้ว การที่เราพ่ายแพ้ฟิลิปปินส์จึงเป็นเรื่องที่ต้องถามตัวเองว่าทำไม เราจึงไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนที่สำคัญอย่าง TI ให้มาลงทุนในไทยได้ จากรายงานของหนังสือพิมพ์ Asian Wall Street Journal วันที่ 4-6 พฤษภาคม การลงทุนใหม่ของ TI นั้นจะตั้งอยู่ใกล้กับโรงงานเดิมในเขตการลงทุนพิเศษที่ Clark Freeport Zone ซึ่งเดิมเคยเป็นฐานทัพของทหารสหรัฐ จะเห็นได้ว่าเป็นการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ ในขณะที่ประเทศไทยก็เคยดำริที่จะใช้อู่ตะเภาในเชิงพาณิชย์เมื่อ 10-15 ปีก่อน แต่ก็ทำไม่สำเร็จในที่สุด อู่ตะเภาซึ่งมีทั้งสนามบินและท่าเรือนั้นน่าจะมีความคล้ายคลึงกับ Clark Freeport Zone จึงน่าจะเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยเพื่อเปิดลู่ทางให้เกิดการลงทุนในประเทศไทยได้อีกทางหนึ่ง แต่แนวนโยบายของเราในขณะนี้ค่อนข้างคิดกันอยู่ในกรอบแคบๆ ไม่ต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัวมากนัก และรัฐบาลก็นึกอยู่เสมอว่าจะอยู่บริหารประเทศอีก 7-8 เดือนเท่านั้น ซึ่งการอยู่เฉยๆ นั้นต้องยอมรับว่ามีต้นทุนในเชิงของค่าเสียโอกาส (opportunity cost) อย่างมาก เช่นแม้ว่าจีนจะไม่ได้รับเงินลงทุนจาก TI แต่เมื่อเดือนมีนาคม บริษัท Intel ประกาศว่าจะตั้งโรงงานสร้าง chip-wafer มูลค่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ สะท้อนให้เห็นว่าการยืนอยู่เฉยๆ ของไทยนั้นจะส่งผลให้ไทยล้าหลังได้อย่างรวดเร็ว จีดีพีของไทยในปีนี้ลุ้นกันอยู่ว่าจะโตได้ถึง 4% หรือไม่จากการขยายตัว 5% ในปีที่แล้ว ในขณะที่เศรษฐกิจโลกขยายตัว 4.9% ทั้งในปีที่แล้วและคงจะขยายตัวเท่ากันในปีนี้ จะเห็นได้ว่าประเทศไทยตกต่ำลงไปมากเมื่อเทียบกับ 20-30 ปีก่อนเพราะโดยเฉลี่ยนั้นจีดีพีไทยเคยขยายตัวปีละ 6-7% ในขณะที่เศรษฐกิจโลกขยายตัว 3.0-3.5% กล่าวคือเราเคยขยายตัวมากกว่าเศรษฐกิจโลกประมาณเท่าตัว แต่ขณะนี้กำลังขยายตัวต่ำกว่าเกณฑ์ของโลก จะไปโทษประเทศข้างเคียงในเอเชียก็ไม่ได้เพราะเอเชียโดยรวม (ยกเว้นญี่ปุ่น) นั้นขยายตัวเกือบ 9% ในปีที่แล้ว และน่าจะขยายตัวได้ 8.5% ในปีนี้ จริงอยู่การขยายตัวอย่างก้าวกระโดดนี้มาจากจีน ซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวเกินกว่า 10% ติดต่อกันมา 2-3 ปีแล้ว แต่การขยายตัวดังกล่าวน่าจะเป็นโอกาสให้กับไทย ประเทศที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจย่ำแย่กว่าเรามากเช่นฟิลิปปินส์ ก็จะยังขยายตัวได้ 6-7% ในปีนี้ ไม่ต้องมาลุ้นว่าจะถึง 4% เช่นเดียวกับไทย บางคนอาจติงผมว่าทำไมจึงมาให้ความ สำคัญกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจเหลือเกิน คำตอบ (ที่กำลังมีการพูดถึงกันมากขึ้น) ก็คือ หากจีดีพีไม่โต 5-6% เด็กไทยที่จบการศึกษา ออกมาปีละ 700,000 คนจะหางานทำได้ยากลำบากขึ้น คุยกับใครก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เศรษฐกิจฝืดเคืองและผิดหวังกับการบริหารประเทศของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลก็ยอมรับว่าเศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงขาลง แต่ให้ความหวังว่าจะฟื้นตัวได้ในไตรมาส 3 เป็นต้นไป ซึ่งก็ยังไม่ได้มีใครแสดงความมั่นใจมากนักว่าการฟื้นตัวจะเกิดขึ้นได้จริงดังคาด เพราะในไตรมาส 3 นั้นรัฐธรรมนูญก็น่าจะยังไม่เรียบร้อยและต้องรออีกหลายเดือนจากนั้นก่อนที่จะได้รัฐบาลที่มาจากคะแนนเสียงของประชาชน แต่หากมองในอีกแง่หนึ่งนั้นก็ต้องบอกว่าเศรษฐกิจไทยควรจะฟื้นตัวได้บ้าง เพราะหากพิจารณาปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจแล้ว เศรษฐกิจไม่ควรจะชะลอตัวลง แต่ควรเป็นขาขึ้นอย่างยิ่ง สังเกตได้จากเศรษฐกิจในเอเชียทุกประเทศไม่มีประเทศไหนที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างประเทศไทยเลย ตรงกันข้ามเศรษฐกิจยุโรป เศรษฐกิจจีน หรือแม้กระทั่งเศรษฐกิจญี่ปุ่น ร้อนแรงจนต้องปรับดอกเบี้ยขึ้น สำหรับไทยนั้นการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดแปลว่ามีกำลังซื้อส่วนเกิน รัฐบาลเองก็ยังมีหนี้สินต่อจีดีพีไม่ถึง 40% จึงอยู่ในสถานะที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ใน ขณะที่เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับต่ำมากจนเป็นที่ทราบกันดีว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องลดดอกเบี้ยลงอีก ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือการใช้กำลังการผลิตที่สูงถึง 80% แล้ว แปลว่าธุรกิจต่างๆ จำต้องลงทุนเพิ่ม สรุปคือหากไม่มีอะไรร้ายๆ เกิดขึ้นอีก ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบายเศรษฐกิจ หรือด้านการเมือง เศรษฐกิจก็น่าจะฟื้นตัวได้เพราะลักษณะของเศรษฐกิจไทยนั้นควรเป็นขาขึ้นแทบจะไม่น่าเชื่อว่ากลับกลายมาเป็นขาลงได้อย่างไร ดังนั้นหากมองในแง่นี้ก็ยังพอจะมีความหวัง แต่จะต้องเข้าใจว่าการฟื้นตัวที่ว่านี้จะเป็นการ ฟื้นตัวตามครรลอง มิได้เป็นการแก้ไขปัญหา โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยแต่อย่างใด และก็จะเห็นได้ว่ารัฐบาลนี้คงจะมีเวลาเฉพาะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เราจึงต้องรอคอยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้เสนอแนวนโยบายเศรษฐกิจระยะยาว ซึ่งตรงนี้ก็ยังมืดมัวอยู่เพราะพรรคการเมืองถูกห้ามทำกิจกรรมใดๆ และเราอาจต้องเผชิญกับภาวะที่พรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดและพรรคการเมืองที่ประชาชนนิยมมากที่สุดจะต้องถูกยุบพรรค ด้วยเหตุนี้เองการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยจึงคงจะเป็นไปแบบลุ่มๆ ดอนๆ ทำให้มีบางคนกลัวว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่เป็นตัว "V" หรือเป็น ตัว "U" แต่อาจเป็นตัว "L" เพราะคนไทยกำลังถูกตีกรอบมิให้มีทางเลือก จึงทำให้เกิดความกังวลว่าทั้งเวียดนามและฟิลิปปินส์ใกล้จะแซงหน้าไทยแล้วครับ
ฟิลิปปินส์เบ่งบานมาก จีดีพีกำลังวิ่งแซงหน้าชาติอื่นๆในภูมิภาค..หันกลับมาบ้านเราดูแล้วมันเศร้าใจเป็นที่สุด ...ฝากความหวังไว้กับพวกที่ผิดฝาผิดกลุ่ มปล่อยให้ช่วยยำซ้าเละเทะกันเลยเถิด...เลยเปิดดูบทความจากเวปสนุกมาอ่านกันค่ะ
นอกจาก "เวียดนาม" แล้ว "ฟิลิปปินส์" ก็กำลังจะแซงไทย ?
เมื่อต้นเดือนพฤษภาคมนี้ ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ประกาศด้วยความภูมิใจว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการคอมพิวเตอร์คือ Texas Instruments (TI) ตัดสินใจจะลงทุนสร้างโรงงานประกอบ semi-conductor ที่ทันสมัยเพิ่มเติมจากโรงงานเดิม โดยการลงทุนจะมีมูลค่า 1 พันล้านเหรียญ ทั้งนี้ในรอบสุดท้ายที่ตัดสินใจเลือกฟิลิปปินส์นั้นประเทศคู่แข่งคือจีน เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะปกติแล้ว ประเทศที่เป็นที่โปรดปรานที่สุดของนักลงทุนจะต้องเป็นประเทศจีนมาโดยตลอดเพราะต้นทุนในด้านแรงงานต่ำที่สุด แต่ระยะหลังนี้ ค่าจ้างแรงงานถูกปรับขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ทำให้ความ ได้เปรียบของจีนในด้านนี้ลดน้อยลงมาเรื่อยๆ ที่สำคัญคือฟิลิปปินส์มีแรงงานที่มีฝีมือเป็น จำนวนมากเพียงพอ (การลงทุนใหม่ของ TI นี้จะสร้างงานเพิ่มอีก 3,000 ตำแหน่ง) นอกจากนั้นฟิลิปปินส์ก็ยังได้เปรียบในด้านที่พนักงานฟิลิปปินส์มีความรู้ความสามารถในการพูด และเขียนภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี ทำให้อุตสาหกรรมอีกประเภทหนึ่ง คือการให้บริการตอบข้อสอบถาม 24 ช.ม. เป็นอุตสาหกรรมที่จ้างงานคนฟิลิปปินส์เป็นจำนวนมาก เพราะเวลาในสหรัฐกับเวลาในฟิลิปปินส์นั้นแตกต่างกัน 11-12 ช.ม. ซึ่งเหมาะสมยิ่งกับการให้บริการ ดังกล่าวจากประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงกลางคืนของที่อเมริกา TI นั้นเดิมมองว่าจะมาตั้งโรงงานในเอเชีย โดยจะต้องเลือกจากประเทศฟิลิปปินส์ จีน ไทยและเวียดนาม แต่ไทยและเวียดนามตกรอบไปก่อนแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายสำหรับประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะฟิลิปปินส์นั้นปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจด้อยกว่าไทยอยู่มาก อัตราเงินเฟ้อสูงกว่า (ประมาณ 5%) รัฐบาลมีปัญหาคอร์รัปชั่น ขาดประสิทธิภาพและมีหนี้สินถึง 87% ของจีดีพี (หนี้ภาครัฐของไทยเท่ากับ 40% ของจีดีพี) โครงสร้างพื้นฐานก็มีปัญหา เช่น ไฟฟ้าไม่พอใช้ต้องมีการดับไฟเป็นครั้งคราว จริงอยู่ฟิลิปปินส์รายได้ต่ำกว่าไทยมากคือมีประชาชน 91 ล้านคน และจีดีพีประมาณ 120,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (จีดีพีต่อหัวประมาณ 1,300 เหรียญต่อคนต่อปี เมื่อเทียบกับไทยซึ่งมีประชากร 65 ล้านคนและจีดีพีประมาณ 220,000 ล้านเหรียญ จีดีพีต่อหัว 3,400 เหรียญต่อคนต่อปี) จึงคงจะมีค่าแรงที่ราคาถูกกว่า แต่ในปัจจัยเศรษฐกิจของไทยดีกว่าฟิลิปปินส์มากและเป็นฐานการลงทุนด้านอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญอยู่แล้ว การที่เราพ่ายแพ้ฟิลิปปินส์จึงเป็นเรื่องที่ต้องถามตัวเองว่าทำไม เราจึงไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนที่สำคัญอย่าง TI ให้มาลงทุนในไทยได้ จากรายงานของหนังสือพิมพ์ Asian Wall Street Journal วันที่ 4-6 พฤษภาคม การลงทุนใหม่ของ TI นั้นจะตั้งอยู่ใกล้กับโรงงานเดิมในเขตการลงทุนพิเศษที่ Clark Freeport Zone ซึ่งเดิมเคยเป็นฐานทัพของทหารสหรัฐ จะเห็นได้ว่าเป็นการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์ ในขณะที่ประเทศไทยก็เคยดำริที่จะใช้อู่ตะเภาในเชิงพาณิชย์เมื่อ 10-15 ปีก่อน แต่ก็ทำไม่สำเร็จในที่สุด อู่ตะเภาซึ่งมีทั้งสนามบินและท่าเรือนั้นน่าจะมีความคล้ายคลึงกับ Clark Freeport Zone จึงน่าจะเป็นโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยเพื่อเปิดลู่ทางให้เกิดการลงทุนในประเทศไทยได้อีกทางหนึ่ง แต่แนวนโยบายของเราในขณะนี้ค่อนข้างคิดกันอยู่ในกรอบแคบๆ ไม่ต้องการให้เศรษฐกิจขยายตัวมากนัก และรัฐบาลก็นึกอยู่เสมอว่าจะอยู่บริหารประเทศอีก 7-8 เดือนเท่านั้น ซึ่งการอยู่เฉยๆ นั้นต้องยอมรับว่ามีต้นทุนในเชิงของค่าเสียโอกาส (opportunity cost) อย่างมาก เช่นแม้ว่าจีนจะไม่ได้รับเงินลงทุนจาก TI แต่เมื่อเดือนมีนาคม บริษัท Intel ประกาศว่าจะตั้งโรงงานสร้าง chip-wafer มูลค่า 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ สะท้อนให้เห็นว่าการยืนอยู่เฉยๆ ของไทยนั้นจะส่งผลให้ไทยล้าหลังได้อย่างรวดเร็ว จีดีพีของไทยในปีนี้ลุ้นกันอยู่ว่าจะโตได้ถึง 4% หรือไม่จากการขยายตัว 5% ในปีที่แล้ว ในขณะที่เศรษฐกิจโลกขยายตัว 4.9% ทั้งในปีที่แล้วและคงจะขยายตัวเท่ากันในปีนี้ จะเห็นได้ว่าประเทศไทยตกต่ำลงไปมากเมื่อเทียบกับ 20-30 ปีก่อนเพราะโดยเฉลี่ยนั้นจีดีพีไทยเคยขยายตัวปีละ 6-7% ในขณะที่เศรษฐกิจโลกขยายตัว 3.0-3.5% กล่าวคือเราเคยขยายตัวมากกว่าเศรษฐกิจโลกประมาณเท่าตัว แต่ขณะนี้กำลังขยายตัวต่ำกว่าเกณฑ์ของโลก จะไปโทษประเทศข้างเคียงในเอเชียก็ไม่ได้เพราะเอเชียโดยรวม (ยกเว้นญี่ปุ่น) นั้นขยายตัวเกือบ 9% ในปีที่แล้ว และน่าจะขยายตัวได้ 8.5% ในปีนี้ จริงอยู่การขยายตัวอย่างก้าวกระโดดนี้มาจากจีน ซึ่งเศรษฐกิจขยายตัวเกินกว่า 10% ติดต่อกันมา 2-3 ปีแล้ว แต่การขยายตัวดังกล่าวน่าจะเป็นโอกาสให้กับไทย ประเทศที่ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจย่ำแย่กว่าเรามากเช่นฟิลิปปินส์ ก็จะยังขยายตัวได้ 6-7% ในปีนี้ ไม่ต้องมาลุ้นว่าจะถึง 4% เช่นเดียวกับไทย บางคนอาจติงผมว่าทำไมจึงมาให้ความ สำคัญกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจเหลือเกิน คำตอบ (ที่กำลังมีการพูดถึงกันมากขึ้น) ก็คือ หากจีดีพีไม่โต 5-6% เด็กไทยที่จบการศึกษา ออกมาปีละ 700,000 คนจะหางานทำได้ยากลำบากขึ้น คุยกับใครก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เศรษฐกิจฝืดเคืองและผิดหวังกับการบริหารประเทศของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลก็ยอมรับว่าเศรษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงขาลง แต่ให้ความหวังว่าจะฟื้นตัวได้ในไตรมาส 3 เป็นต้นไป ซึ่งก็ยังไม่ได้มีใครแสดงความมั่นใจมากนักว่าการฟื้นตัวจะเกิดขึ้นได้จริงดังคาด เพราะในไตรมาส 3 นั้นรัฐธรรมนูญก็น่าจะยังไม่เรียบร้อยและต้องรออีกหลายเดือนจากนั้นก่อนที่จะได้รัฐบาลที่มาจากคะแนนเสียงของประชาชน แต่หากมองในอีกแง่หนึ่งนั้นก็ต้องบอกว่าเศรษฐกิจไทยควรจะฟื้นตัวได้บ้าง เพราะหากพิจารณาปัจจัยพื้นฐานด้านเศรษฐกิจแล้ว เศรษฐกิจไม่ควรจะชะลอตัวลง แต่ควรเป็นขาขึ้นอย่างยิ่ง สังเกตได้จากเศรษฐกิจในเอเชียทุกประเทศไม่มีประเทศไหนที่เศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างประเทศไทยเลย ตรงกันข้ามเศรษฐกิจยุโรป เศรษฐกิจจีน หรือแม้กระทั่งเศรษฐกิจญี่ปุ่น ร้อนแรงจนต้องปรับดอกเบี้ยขึ้น สำหรับไทยนั้นการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดแปลว่ามีกำลังซื้อส่วนเกิน รัฐบาลเองก็ยังมีหนี้สินต่อจีดีพีไม่ถึง 40% จึงอยู่ในสถานะที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจได้ ใน ขณะที่เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับต่ำมากจนเป็นที่ทราบกันดีว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องลดดอกเบี้ยลงอีก ที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือการใช้กำลังการผลิตที่สูงถึง 80% แล้ว แปลว่าธุรกิจต่างๆ จำต้องลงทุนเพิ่ม สรุปคือหากไม่มีอะไรร้ายๆ เกิดขึ้นอีก ไม่ว่าจะเป็นด้านนโยบายเศรษฐกิจ หรือด้านการเมือง เศรษฐกิจก็น่าจะฟื้นตัวได้เพราะลักษณะของเศรษฐกิจไทยนั้นควรเป็นขาขึ้นแทบจะไม่น่าเชื่อว่ากลับกลายมาเป็นขาลงได้อย่างไร ดังนั้นหากมองในแง่นี้ก็ยังพอจะมีความหวัง แต่จะต้องเข้าใจว่าการฟื้นตัวที่ว่านี้จะเป็นการ ฟื้นตัวตามครรลอง มิได้เป็นการแก้ไขปัญหา โครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทยแต่อย่างใด และก็จะเห็นได้ว่ารัฐบาลนี้คงจะมีเวลาเฉพาะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เราจึงต้องรอคอยรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้เสนอแนวนโยบายเศรษฐกิจระยะยาว ซึ่งตรงนี้ก็ยังมืดมัวอยู่เพราะพรรคการเมืองถูกห้ามทำกิจกรรมใดๆ และเราอาจต้องเผชิญกับภาวะที่พรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดและพรรคการเมืองที่ประชาชนนิยมมากที่สุดจะต้องถูกยุบพรรค ด้วยเหตุนี้เองการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยจึงคงจะเป็นไปแบบลุ่มๆ ดอนๆ ทำให้มีบางคนกลัวว่าเศรษฐกิจไทยจะไม่เป็นตัว "V" หรือเป็น ตัว "U" แต่อาจเป็นตัว "L" เพราะคนไทยกำลังถูกตีกรอบมิให้มีทางเลือก จึงทำให้เกิดความกังวลว่าทั้งเวียดนามและฟิลิปปินส์ใกล้จะแซงหน้าไทยแล้วครับ
- ขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด
- → ดูประวัติผู้ใช้: กระทู้: nualtal
- Privacy Policy
- กฎการใช้งานเว็บบอร์ด ·