Jump to content


ธีรเดชน้อย

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 12 ตุลาคม 2556
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2557 11:24
*****

Topics I've Started

สัมภาษณ์คุณอภิสิทธื์ 19 พ.ค.2557

19 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 19:02

อภิสิทธิ์วิเคราะห์ หากวันนี้รัฐบาลไม่พบวุฒิสภา ก็ชัดว่ารัฐบาลไม่สนใจหาทางออกให้กับบ้านเมือง

ตอนที่ 1 จากรายการ ฟ้าวันใหม่ฯ เวลา 8.00 - 9.00 น. 

 

 

หลังจากที่ สว. แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สถานการณ์วันเสาร์ – อาทิตย์ ไม่ได้ร้อนแรงขึ้น คิดอย่างไรกับสถานการณ์ในสัปดาห์นี้ 

เพราะฉะนั้นผมคิดว่าในแง่ของหลักการที่เขาได้แถลงนั้น ผมว่าเขาชัดเจนนะ เพียงแต่ว่าที่คุณ      วิทเยนทร์ไปคาดหวังไว้ว่าวันศุกร์จะเกิดอะไรขึ้นมาทันทีทันใดนั้น ผมก็บอกตั้งแต่วันศุกร์แล้วว่าผมไม่คิดว่าจะเป็นอย่างนั้นได้” 

ที่วุฒิสภาเป็นอย่างนี้เป็นเพราะข้อจำกัด หรือเพราะความไม่กล้า 
“จริงๆ ต้องบอกก่อนว่า ถ้าไม่กล้าก็เป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่ง แต่ว่าคำว่าไม่กล้านั้นผมคิดว่าเราอาจจะต้องมาวิเคราะห์มากกว่า บางเรื่องก็ดูจาก สว. บางท่านสื่อสารผ่านเฟสบุค ผ่านการให้สัมภาษณ์ว่าบางเรื่องเขาพูดไม่ได้ เพราะว่าอาจจะมีความละเอียดอ่อนอยู่ในบางเรื่อง ซึ่งผมคิดว่าถ้าใครคิดให้มันครบในแง่ของกระบวนการของขั้นแล้วพอจะเข้าใจว่ามันอาจจะมีความละเอียดอ่อนในการที่จะต้องใช้ความระมัดระวังก่อนที่จะดำเนินการอะไร 

เพราะฉะนั้นถามว่าตรงนั้นมันเป็นเรื่องความกล้ามั้ย มันก็อาจจะเป็นความรอบคอบ มันก็อาจจะเป็นความจำเป็นในแง่ของความเหมาะสมของการดำเนินการ แต่ว่าสุดท้ายเมื่อ คือพูดง่ายๆ ผมก็คิดว่าเขาก็พูดว่า ดีที่สุดถ้าคุยกับรัฐบาลรู้เรื่องมันก็ดีที่สุด ซึ่งก็จะไม่ต่างอะไรจากที่เราเคยคุยกันเมื่อสัก 2 – 3 สัปดาห์แล้ว ใช่มั้ยว่าถ้าทุกอย่างมันตกลงกันได้ ทุกอย่างมันก็จะง่ายสุดในแง่ที่ว่าไม่ต้องมาเถียงกันเรื่องข้อกฎหมาย 

แต่ว่าสุดท้าย อาจารย์(เจิมศักดิ์) พูดถูกว่าความกล้าไม่กล้ามันก็ต้องกลับเข้ามาอยู่ดีว่าเขาจะตัดสินใจอย่างไร” 

ดร.อาทิตย์ให้สัมภาษณ์ในนสพ. โพสต์ทูเดย์ วานนี้ว่า หากตนอยู่ในตำแหน่งนี้เรียบร้อยไปแล้ว โดยให้นัยยะว่าประธานวุฒิสภา คนนี้ไม่กล้า ทั้งที่กระบวนการถูกต้อง และต้องเป็นคนกล้าที่จะรับสนองพระบรมราชโองการ อันนี้คิดอย่างไร 
“ข้อแรกนั้นผมคิดว่าเราต้องให้ความเป็นธรรมกับคนทำงาน เราไม่ได้อยู่ในสถานะของท่าน เราไม่ทราบว่าท่านมีข้อมูล ไม่มีข้อมูลอะไร เราไม่ทราบว่าบางเรื่องท่านอาจจะทำอยู่ แต่ไม่สามารถทำในลักษณะที่เปิดเผยได้ เพราะฉะนั้นตรงนี้ผมคงไม่กล้าที่จะไปฟันธงว่าสิ่งที่ท่านทำอยู่นี้มันดีที่สุด มันเหมาะสมที่สุด มันถูกต้องแล้วหรือยัง เพราะว่าเราก็เชื่อ ความจริงผมก็มีโอกาสได้สนทนากับสมาชิกวุฒิสภาบางท่าน ก็พอทราบว่า มันมีหลายเรื่องที่ทำอยู่ แต่ว่าไม่ได้ทำโดยปรากฎต่อสาธารณะ 
  
ประการที่ 2 ผมคิดว่าที่อาจารย์พูดเป็นหลักการที่ถูกต้อง วันที่ผมไปวุฒิสภาผมก็พูดเช่นนั้น ว่าโดยหลักในระบบของเรานั้นผู้รับสนองพระบรมราชโองการก็คือผู้ที่ต้องรับผิดชอบในทางการเมือง แต่อย่างไรก็ตามวันนั้นผมเอง ผมก็ให้ข้อสังเกตกับทางวุฒิสภาด้วยว่า บังเอิญยุคนี้มันก็เป็นยุคที่ไม่เหมือนกับยุคก่อนๆ เพราะว่าเดี๋ยวนี้มันมี ผมใช้คำว่า ขบวนการที่เลวร้าย จ้องทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะฉะนั้นถ้าไม่พยายามทำทุกสิ่งทุกอย่างให้มันเรียบร้อยที่สุด แล้วก็มีหลักการรองรับชัดเจน มีการสื่อสารที่ดีก็เป็นไปได้สูงว่ากลุ่มขบวนการนี้ก็จะเอาเงื่อนไขเรื่องเหล่านี้ไปใช้ในการปลุกระดม แล้วมันเป็นการปลุกระดมที่ไม่ใช่เป็นเรื่องระหว่างประชาชน กับประชาชนแล้ว แต่ว่าจะดึงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์เข้ามาสู่ความขัดแย้งด้วย 

เพราะฉะนั้นเมื่อ 3 อาทิตย์ก่อน ผมถึงบอกอาจารย์ใช่มั้ยว่า ที่ผมพยายามหาทางออก แล้วก็ที่เคยพูด แล้วก็หลายคนก็มาบอกว่า มันเป็นไปไม่ได้หรอกที่จะไปให้ทุกฝ่ายตกลงกัน แต่ว่าหลักการที่ผมอยากจะวางเอาไว้ก็คือว่า ถ้าเราได้สิ่งนั้น เราจะหลีกเลี่ยงความสูญเสีย เราจะหลีกเลี่ยงการรัฐประหาร และเราจะหลีกเลี่ยงการดึงเอาสถาบันต่างๆ นี้เข้ามาสู่ความขัดแย้ง” 

คุณอภิสิทธิ์ก็พูดในการประชุมวุฒิสภาด้วยว่า การไม่ทำอะไรหรือการตัดสินใจช้าก็เป็นปัญหาเช่นกัน 
“ถูกต้องครับ แล้วก็ผมก็คิดว่าทาง กปปส. ก็มีท่าทีที่ชัดเจน หลังจากที่ทางท่านประธานท่านแถลง กปปส. ก็ชัดเจนบอกว่าคงรอไม่ได้ เพราะฉะนั้น กปปส. ก็เดินหน้าอย่างที่เราทราบกันดี ที่มีการประกาศมาตรการต่างๆ ในช่วงเสาร์ – อาทิตย์ ผมคิดว่าตัวนี้ก็ต้องทำให้ทางวุฒิสภาก็ต้องคิดนะครับว่า วุฒิสภาคงไม่มีเวลาที่จะมารอเป็นเวลาเป็นสัปดาห์หรอก มันไม่ใช่ 
เพราะฉะนั้นถ้าต้องการที่จะมาแก้ไข คลี่คลายปัญหา หลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆ ที่ผมพูดไว้นั้น ก็ต้องทำเร็ว” 

ปกติแล้วในทางการเมือง ทุกอย่างไม่มีอะไร 100% มันมีความเสี่ยง เป็นไปได้หรือไม่ที่ประธานวุฒิสภาคนนี้เพิ่งเข้ามาสู่วงการการเมือง อาจจะพูดได้หรือไม่ว่าความเด็ดเดี่ยว ความกล้าต้องมีมากกว่านี้ 
“ถ้าอาจารย์ถามว่าเป็นไปได้มั้ย ผมก็ต้องบอกว่ามันเป็นไปได้ เพียงแต่ว่าผมคิดว่าอย่างนี้ 1. ประสบการณ์ท่านต้องถือว่าไม่น้อย ถ้าบอกว่าเป็น สสร. น่าจะมีความมั่นใจในเชิงข้อกฎหมายด้วยซ้ำว่า บทบัญญัติรัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร เพราะเป็นผู้เขียน หลายคนพวกเราเสียอีกที่ไม่ได้เขียน อาจจะไปอ่าน แล้วตีความเอาเอง แต่ท่านอยู่ 

ประการที่ 2 ผมไม่ได้คิดว่าท่านแสดงอาการว่าจะขาดความกล้าหาญ ตรงที่ว่าอย่างนี้ครับ ข้อแรกถ้าจะมีทัศนคติอย่างนั้น ท่านอาจจะบอกถ้าอย่างนั้นรอให้ผมเป็นประธานวุฒิสภาก่อน เพราะผมได้รับเลือกแล้ว รอการทูลเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ท่านก็ไม่ได้รอ 

2. เขาปิดสมัยประชุมไปแล้วนะ ท่านก็ตัดสินใจว่าจะเดินหน้า ก็ประชุมนอกรอบ คนบอกว่า อะไรนะ ทางโน้นเขาก็บอกเป็นการประชุมผิดกฎหมายหรืออะไร ท่านก็บอกไม่ใช่ – นอกรอบ แต่ไม่นอกกฎหมาย แล้วก็ผมก็ไม่ได้เห็นว่ามีการหยุดการทำงานนะ 5 – 6 วัน แต่ว่าถามว่าวิธีการทำงาน แนวคิดในการทำงาน หรือเป้าหมายของการทำงานแต่ละคนมันก็อาจจะไม่เหมือนกัน 

ถามว่าถ้าท่านจะเดินหน้าเร็วกว่านี้ได้มั้ย ผมว่าได้ ความเสี่ยงก็มากขึ้น มันก็อยู่ที่แต่ละคนว่า อันแรก เสี่ยงแล้วความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน กับการที่พยายามมีวิธีการอื่นที่จะเดินไปสู่เป้าหมายที่อาจจะดีกว่า แล้วยังสามารถกลับมาตรงนี้ เขาก็อาจจะมองว่าทำได้ แต่ว่าอย่างที่เราก็พูดกันอยู่ว่า คงไม่ใช่ทิ้งเวลาเป็น 17 วัน 10 วันอีกคงเป็นไปไม่ได้แล้ว ผมคิดว่าในสัปดาห์นี้สถานการณ์ตรงนั้นจะเป็นตัวคำตอบอาจารย์แล้ว ถ้าสมมติว่า วันจันทร์หน้าเรากลับมาแล้วยังเป็นสถานการณ์อย่างนี้ ผมก็คงจะตอบอาจารย์แล้ว ถ้าอย่างนั้น ฟันธงแล้วว่า ถ้าอย่างนั้นคงไม่กล้า” 

หมายความว่าที่ให้ทุกอย่างเรียบร้อยก่อนนั้น ก็คือทางวุฒิสภา มีโอกาสได้พบกับรัฐบาล หรืออย่างน้อยพยายามเต็มที่ที่จะพบรัฐบาล แล้วรัฐบาลไม่พบ รวมทั้งกลุ่ม นปช. พรรคเพื่อไทย เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน หรือเพื่อให้ชัดเจนว่าไม่ได้ข้อสรุปแล้วจึงค่อยลงมือปฏิบัติ 
“คือถ้าถามผมนะ ผมก็พูดเมื่อจันทร์ที่แล้วเหมือนกันว่า ใจผมนั้นถ้าพบรัฐบาลได้ก็ดี ดีกว่าไม่พบ แล้วก็ผมคิดว่าการที่ เนื่องจากวันนั้นผมไป ก็เป็นวันที่เขาเชิญคุณนิวัฒน์ธำรงด้วย แต่ว่าคุณนิวัฒน์ธำรงไม่ไป ผมก็บอกว่า ก็พูดด้วยความเป็นธรรมนะ ผมก็คิดว่ายากเหมือนกันสำหรับคุณนิวัฒน์ธำรงที่จะไปแบบที่ผมไป เพราะฉะนั้นผมก็บอกว่าท่านประธานวุฒิสภา หรือท่านรองประธานวุฒิสภา คงต้องมีความพยายามในการที่จะพบกับรัฐบาล 

แต่ผมก็มีความรู้สึกนิดหน่อยว่า ให้เวลารัฐบาลมากไปหน่อย คือเมื่อวันจันทร์ไม่มา เหมือนกับว่าจะนัดกันวัน รู้สึกจะวันพุธ หรือวันพฤหัสฯ บ่าย ผมจำไม่ได้ แล้วก็อยู่ดีๆ คุณนิวัฒน์ธำรงก็เกิดไม่ว่างขึ้นมา แล้วเราก็ต้องถามว่า ถามจริงเถอะ ไปเยี่ยมแผ่นดินไหวนี่ผมเห็นด้วยนะ ผมว่าไปช้าเกินไปด้วยซ้ำ เพราะว่าเหตุการณ์มันเกิดมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ถามว่าเสาร์ – อาทิตย์ที่ผ่านมา ผมก็ไม่ทราบนะ ทราบมั้ยภารกิจที่เชียงใหม่คืออะไร ผมไม่ทราบว่าคืออะไร และผมก็กล้าฟันธงว่าไม่ว่าจะทำอะไรนั้น มันไม่น่าจะสำคัญกว่าเรื่องนี้ 

เพราะฉะนั้นที่ผมอาจจะมีความรู้สึกนิดหน่อยก็คือว่า แหม พอเขาบอกวันจันทร์ ทำไมจะต้องไปเป็นวันจันทร์ด้วย เสาร์ – อาทิตย์ มันมีเวลาตั้งเยอะแยะ แล้วความเป็นจริงตอนที่เขาบอกวันจันทร์ มันก็คนที่มองการเมือง ก็มองว่า เอ๊ะ มันเป็นความพยายามจะซื้อเวลาหรือเปล่า เพราะว่าคิดว่าคุณสุเทพอาจจะขีดเส้นตายไว้วันจันทร์ เพื่อที่จะไปทำให้เหมือนกับ กปปส. มีปัญหามากขึ้น แต่เอาละ มันมาถึงวันจันทร์แล้วนะ เพราะฉะนั้นถ้าวันนี้ไม่ว่างอีก ผมว่าก็คงชัดเจนแล้วว่ารัฐบาลไม่มีความประสงค์อะไร ซึ่งจะหาทางออกให้กับบ้านเมือง” 

สุดท้ายแล้วเส้นตายก็ถูกขยับ และ กปปส. ก็ขยับเส้นตายเป็นจันทร์หน้า หวังว่าจะหาทางออกได้หรือไม่ 
“คือผมบอกแล้วว่า มันต้องทำให้เร็วที่สุด เพราะว่าทุกคืนนั้นเราก็ไม่รู้ว่า M79 จะลงอีกหรือเปล่า จะมีใครเสียชีวิตอีกหรือเปล่า วันนี้เมื่อเช้าผมตื่นมาดูข่าว วันนี้สภาพัฒน์ ก็จะแถลงว่า เศรษฐกิจไตรมาสแรกจะติดลบ ยอดขายรถยนต์ลดไปร้อยละ 40 อันนี้อาจจะมาจากรถคันแรกนะ แล้วก็มีสมาคมโรงแรม หรือท่องเที่ยวก็ออกมาบ่นบอกว่า กลัวว่าจะไม่ไหว เพราะฉะนั้นทุกวันเวลาที่ผ่านไปมันไม่เป็นผลดีหรอก แล้วก็ถ้าเราจะไปบอกว่าก็ไม่เป็นไร ก็คล้ายๆ กับมันก็ยืดเยื้อกันมาแล้ว ก็ยืดเยื้อกันต่อไป มันคงไม่ได้ แล้วก็ความสุ่มเสี่ยงต่อเหตุการณ์ที่ไม่พึงปรารถนาทั้งหลายนั้นมันมีอยู่ตลอดเวลา 

เพราะฉะนั้นผมคิดว่าวันนี้ถ้ารัฐบาลไม่พบนี่ก็ชัดแล้ว ชัดแล้วว่ารัฐบาลเขาไม่สนใจในการที่จะหาทางออกให้กับบ้านเมือง ผมว่าคนมีหน้าที่ก็ต้องเดินต่อแล้วทีนี้” 

 

http://www.democrat....7&SECTION_ID=29

.........................................................................................................


ลองอ่านดูครับ ความยากในการตัดสินใจของวุฒิสภา

17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 23:31

“คำนูณ”แจงวุฒิฯ รอเงื่อนไขสมบูรณ์ตั้งนายกฯ - หวั่นรีบร้อนกระทบสถาบัน

วันนี้(17 พ.ค.) นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว “คำนูณ สิทธิสมาน” ในหัวข้อ “การตัดสินใจในฐานะสมาชิกวุฒิสภา” มีใจความสรุปได้ว่า กรณีการเรียกร้องให้วุฒิสภาดำเนินการเพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่โดยเร็ว แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่รับวินิจฉัยว่าจะต้องกระทำอย่างไรต่อไป แต่ก็เป็นที่ปรากฎชัดเจนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรคสองว่าจะต้องมีการดำเนินการเพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ทันที โดยให้ดำเนินการตามมาตรา 172 โดยอนุโลม

       
       แต่ปัญหาก็คือขณะนี้ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ที่จะดำเนินกระบวนการตามมาตรา 172 และสถานการณ์ล่าสุด ณ วันนี้ แนวโน้มที่จะมีสภาผู้แทนราษฎรโดยเร็วยังไม่เห็น เพราะยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2556 เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ และยังไม่มีแนวโน้มที่จะตราขึ้นได้ในเร็ววัน เพราะ กกต.ยังคงมีความเห็นทางกฎหมายแตกต่างกับรัฐบาลใน 2 ประเด็นสำคัญ

 

 สถานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นต่อหน้าทำให้วุฒิสภาไม่อาจนิ่งดูดายได้ จึงต้องเปิดประชุมเพื่อหารืออย่างไม่เป็นทางการ โดยมีกระบวนการรับฟังความเห็นและขัอเสนอแนะจากทุกฝ่ายอย่างกว้างขวาง หนึ่งในข้อเสนอคือขอให้วุฒิสภาดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีโดยเร็ว โดยอาศัยความในรัฐธรรมนูญมาตรา 7 ประกอบมาตรา 3 มาตรา 122 และมาตราอื่น ๆ วุฒิสภาซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยและเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติองค์กรเดียวที่เหลืออยู่ย่อมสามารถเข้ามาดำเนินการเพื่อให้ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ ซึ่งเป็นวิธีการภายในกรอบรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่วิธีการนอกรัฐธรรมนูญ และไม่ใช่การขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีที่ไม่มีกรอบรัฐธรรมนูญรองรับ และไม่ตัองตามพระราชกระแสเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549

       
       แต่แน่นอนว่าลักษณะพิเศษของสถานการณ์ปัจจุบันมี 'ข้อย้อนแย้ง' ที่มีน้ำหนักต่อการกระทำหน้าที่ดังกล่าวของวุฒิสภาด้วยเช่นกัน ประเด็นย้อนแย้งที่นำมาใคร่ครวญสำคัญที่สุดไม่ใช่เพียงข้อกฎหมาย หากแต่เป็นความเป็นจริงพื้นฐานประการสำคัญที่สุดที่ว่าหากวุฒิสภาดำเนินการให้ได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 180 วรรคสองประกอบมาตรา 172 กระบวนการนี้ไม่ได้จบอยู่ที่วุฒิสภา หากแต่อยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์
       
       ถึงแม้จะไม่ใช่การขอพระราชทานนายกรัฐมนตรีที่ไม่มีกรอบรัฐธรรมนูญรองรับและไม่ต้องตามพระราชกระแส แต่ในท่ามกลางความขัดแย้งที่มีประชาชนแตกแยกทางความคิดเป็น 2 ขั้วใหญ่ โดยขั้วหนึ่งปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวต่อการกระทำหน้าที่ของวุฒิสภา การนำรายชื่อผู้ที่เหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งในขณะที่เงื่อนไขยังไม่สมบูรณ์พรัอม คือยังไม่มีการเปิดทางยินยอมพรัอมใจลาออกจากรัฐมนตรีทั้ง 25 คนที่ยังคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 181 และ/หรือการเลือกตั้งทั่วไปยังคงอยู่ในขั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นไปไม่ได้ จะเป็นการสร้างความลำบากพระทัยอย่างยิ่งต่อองค์พระประมุขที่จะต้องทรงตัดสิน
       
       กล่าวโดยสรุป แม้โดยหลักการแล้วจะเห็นว่า วุฒิสภาสามารถดำเนินการให้มีนายกรัฐมนตรีคนใหม่ตามมาตรา 180 วรรคสองได้ โดยอาศัยช่องทางตามมาตรา 7 ประกอบมาตรา 3 มาตรา 122 และมาตราอื่น ๆ ก็ตาม แต่คำถามสำคัญคือจะกระทำได้ทันทีหรือไม่ ตัองเลือกระหว่าง 2 คำตอบ คำตอบที่หนึ่ง - ตัองดำเนินการโดยทันที ด้วยเหตุผลที่ไม่อาจปล่อยให้บ้านเมืองเสียหายไปมากกว่านี้ ตัองตัดสินใจวันนี้ ไม่อาจรอไปเรื่อย ๆ อย่างไร้ความหวัง
       
       คำตอบที่สอง - ดำเนินการเมื่อเงื่อนไขสถานการณ์สมบูรณ์ ด้วยเหตุผลที่จะไม่อาจยอมให้เกิดเป็นปัจจัยสร้างความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แม้แต่นัอย แม้บ้านเมืองอาจจะเกิดความเสียหายมากขึ้นกว่าจะเกิดเงื่อนไขสถานการณ์สมบูรณ์ แต่เมื่อชั่งน้ำหนักกันแล้ว ความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แม้แต่น้อยในสถานการณ์ปัจจุบันอาจจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้แก่ชาติบ้านเมืองในอนาคตอันใกล้มากกว่ามากนัก เงื่อนไขสถานการณ์ที่สมบูรณ์คือ เงื่อนไขที่หนึ่ง - มีการเปิดทางจาก 24 รัฐมนตรีที่อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อตามมาตรา 181 ยินยอมพรัอมใจลาออก เงื่อนไขที่สอง - หนทางไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปเป็นไปไม่ได้โดยสมบูรณ์
       
       การตัดสินใจของสมาชิกวุฒิสภาไม่ใช่เรื่องของความกล้าหาญ หรือความขลาดเขลา ไม่ใช่เรื่องของความรับผิดชอบ หรือไม่รับผิดชอบ หากเป็นเรื่องของการตัดสินใจชั่งน้ำหนักความเสียหายของบ้านเมือง เมื่อได้ไตร่ตรอง และปรึกษาหารือรอบด้านแล้ว เห็นว่าคำตอบใดเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดที่ต้องกระทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ก็ต้องเลือกคำตอบนั้น และต้องเดินหน้าไป โดยอาศัยความสุจริตเป็นที่ตั้ง
       
       หลังการตัดสินใจของวุฒิสภาเมื่อวานนี้ วุฒิสภายังคงเดินหน้าทำงานต่อไป เมื่อเงื่อนไขสถานการณ์สมบูรณ์และ/หรือมีปัจจัยแปรเปลี่ยนมีเงื่อนไขสถานการณ์ใหม่เกิดขึ้น วุฒิสภาต้องตัดสินใจอีกครั้ง
       http://www.isranews....m/29482-ew.html

.........................................................................................................

 

บทความนี้เป็นของผู้จัดการออนไลน์ แต่นำมาลงในสำนักข่าวอิศรา 

 

อ่านจากเหตุและผลของ วุฒิสภา ก็น่าเชื่อว่ามีความจำเป็นที่น่าเห็นใจ ทั้งในแง่กฎหมายและสถาบัน ซึ่งมีความกังวลว่า อาจมีการนำไปใช้

 

ในอนาคตด้วยข้ออ้างว่าเคยมีการกระทำมาก่อน โดยยังหวังว่าพรรคเพื่อไทยจะยอม เสียสละ เพื่อประเทศชาติบ้างแม้จะเป็นความหวัง

 

ที่ริบหรี่ก็ตาม แต่สุดท้ายแล้วเมื่อไม่ได้ผลเชื่อว่า วุฒิสภาก็ต้องยอมตัดสินใจเลือกกระทำสิ่งที่จะให้บ้านเมืองเดินหน้าให้ได้ต่อไป


สัมภาษณ์คุณอภิสิทธื์ 16 พ.ค.2557

17 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 09:38

10172734_10152231587951144_5530610333786

(16 พ.ค. 57) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์รายการฟ้าวันใหม่ทาง Blue Sky Channel ว่าขอเป็นกำลังใจให้กับคนที่ทำงาน ขอให้ใช้ความกล้าหาญ สถานการณ์แต่ละวันที่ผ่านไปนี้มีแต่ความสุ่มเสี่ยงต่อความเสียหาย เพราะฉะนั้นก็อยากให้ทำงานให้เสร็จ ทำงานให้ครบอย่างที่ว่า และหากไม่ตัดสินใจ ก็คือการตัดสินใจแบบหนึ่ง ที่ต้องรับผิดชอบเหมือนกัน 

สิ่งที่กองทัพทำขณะนี้ คือเรื่องเดียวกับที่คุณอภิสิทธิ์เคยวางแผนไว้ว่าเพื่อหลีกเลี่ยง 3 ประการ อาทิ ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นจากสงครามกลางเมือง หรือไม่ 

“ผมหวังว่านั่นคือเป้าหมายนะครับว่าทั้ง 3 เรื่องที่ผมพูดไว้นี้คือสิ่งที่ทางกองทัพเห็นตรงกันว่าควรจะต้องหลีกเลี่ยง เพียงแต่ว่าการไปคาดการณ์ต่างๆ นานาว่ารูปธรรมของการที่ทางกองทัพที่บอกว่าจะเข้ามาเต็มที่หรือเต็มรูปแบบมันคืออะไร อันนั้นก็เป็นอีกเรื่องนึงนะครับ บางคนก็ไปพูดถึงกฎอัยการศึก บางคนก็อาจจะตีความไปไกลกว่านั้นหรือเปล่า” 

ข้อ 2 ของคุณอภิสิทธิ์ที่ต้องหลีกเลี่ยงคือเรื่องการปฏิวัติรัฐประหาร ดังนั้นหากกองทัพเคลื่อนออกมา ก็คือเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยเฉยๆ ใช่หรือไม่ 
“คือ ณ ขณะนี้ผมยังถือว่าวุฒิสภายังเป็นองค์กรที่ดูจะขยับในเรื่องของการแก้ไขปัญหาที่เป็นรูปธรรมที่สุด เอาละมีคนจำนวนมากที่ก็อาจจะมีการแสดงความคิดเห็นต่างๆ นานาหลากหลาย แล้วก็วันนี้เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูปก็จะมีการจัดประชุมสัมมนาอะไรกันอีก ก็คงมีคนไปเสนอความคิดอะไรต่างๆ มากมาย แต่ดูที่เป็นรูปธรรม แล้วก็ทำงานโดยมีการเชื่อมเข้ากับองค์กรต่างๆ มากก็คือวุฒิสภา 

 

การที่ทหารออกมาให้กำลังใจคนที่คิดหาทางออกให้กับประเทศ แต่พรรคเพื่อไทยกลับไปเร่งคดีกับ DSI เอาผิดนายสุรชัย เรื่องกบฎ และนายธาริต ก็บอกว่ากำลังดำเนินการอยู่ และมีเหตุหลายประการสนับสนุนว่า นายสุรชัยเป็นกบฎ เช่น นายสุรชัยกับพวกกระทำการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญที่พิพากษาว่ารัฐมนตรีที่ยังเหลืออยู่ต้องอยู่ในหน้าที่จนกว่าจะมี ครม. ชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ คุณอภิสิทธิ์คิดอย่างไร 
“ผมยัง งง อยู่นะครับ คืออันนี้แหละครับที่ผมมีความรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องแปลก คือพูดง่ายๆ เอาว่าคุณวิทเยนทร์ กับคุณสันติสุข จ้างหรือมอบหมายให้คนนึงมาดูแล เอาว่ามาเฝ้าสถานีบลูสกายให้ดูแลอยู่ ปรากฎว่าต่อมาพบว่าคนที่มาดูแลนี้มีปัญหา ก็บอกว่าผมไม่จ้างคุณแล้ว ผมไม่มอบหมายคุณแล้ว แต่ในสัญญานั้นถ้าผมยังหาคนใหม่ไม่ได้ คุณก็ทำไปก่อน เท่าที่คุณจะทำได้ มาอ้างว่า การที่สัญญา กรณีนี้เทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญบอกว่า ในระหว่างที่หาคนใหม่ยังไม่มี ให้คุณอยู่ไปก่อนนี้ ไปแปลความว่าการที่มีคนอยู่ไปก่อนนี้ห้ามมีคนใหม่นี้มันคนละเรื่องกันนะครับ 

เพราะบทหลักมันอยู่ที่ 180 ไอ้ที่อ้างนี้คือมาตรา 181 แล้ว 181 นี้ มันย้อนกลับไปอ้างตัวหลักที่ 180 ที่บอกว่า ครม. พ้นจากจากตำแหน่ง เวลาที่ความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ สิ้นสุดลง พอพ้นจากตำแหน่งตรงนั้น 181 เขาเพียงแต่บอกว่า คนที่พ้นจากตำแหน่งตาม 180 นี้ ก็ให้มาทำหน้าที่รักษาการ ตามศัพท์ชาวบ้าน แต่ใน 180 เขาบอกชัดนี่ครับว่า พอนายกฯ พ้นจากตำแหน่ง ก็ต้องให้ไปดำเนินการตามมาตรา 172 173 ก็คือให้เห็นชอบบุคคลที่แต่งตั้งมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพราะฉะนั้นคนละประเด็นกันนะครับ 

ประเด็นที่บอกว่า มีคนรักษาการอยู่ ห้ามสรรหาคนใหม่นั้นไม่จริง เพียงแต่ว่าประเด็นสรรหาคนใหม่ที่มันเกิดปัญหาคือมันไม่มีสภาผู้แทนราษฎร เท่านั้นเอง” 

มาตรา 181 บอกว่า คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ เราจะบอกได้หรือไม่ 
“อ่านอย่างไร ที่แปลว่าห้ามมีคณะรัฐมนตรีใหม่ มีแต่เขาบอกว่า คนใหม่จะเข้ามานะ เพียงแต่ว่าในวันที่ยังไม่เข้ามา คุณก็ต้องทำหน้าที่ตรงนี้ไปก่อน” 

คณะของรองประธานวุฒิ ก็กำลังหารัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่เข้ารับหน้าที่ ตีความอย่างนี้ได้หรือไม่ 
“ใช่ครับ เขากำลังดำเนินการตามมาตรา 180 ที่บอกให้ไปดำเนินการตาม 172 173 โดยอนุโลม ทีนี้ก็เอาละ จริงๆ เขาก็ยังไม่ได้บอกว่าธงของเขาคืออะไรนะวุฒิสภา ถูกมั้ยครับ เขาก็เพียงแต่บอกว่า ที่คาราคาซังกันอยู่แบบนี้ มีรัฐบาลที่ไม่มีหัว พิกลพิการอำนาจไม่เต็ม แก้ปัญหาอะไรก็แก้ไม่ได้ หรือไม่แก้ด้วยซ้ำ สภาพบ้านเมืองก็มีแต่ความขัดแย้ง เขาจะหาทางออก มันผิดกฎหมาย หรือมันผิดรัฐธรรมนูญมาตราไหน ไม่เข้าใจ” 

 

เป็นการจงใจถ่วงเวลา หรือดึงเวลาหรือไม่ 

“คือผมไม่เห็นเหตุผลว่าทำไมเมื่อวานไม่พบ แล้วก็วันนี้เอาละบอกว่าไปเชียงรายเพื่อที่จะดูแผ่นดินไหว ซึ่งความจริงก็ควรจะทำมาก่อนหน้านี้แล้วด้วย แล้วก็ผมไม่รู้ว่า แต่ผมคาดว่าคงไม่นะ แต่ว่าความจริงถ้าอย่างนี้น่าจะ เดี๋ยววันเสาร์ก็จะลงไปใต้แล้ว คือประเด็นก็คือว่า ความจริงแล้วเชียงรายไป กลับมากลางค่ำกลางคืนผมเชื่อว่าถ้าอยากจะพบคุณสุรชัย ท่านก็ยินดีให้พบอยู่แล้ว หรือเมื่อคืน หรืออะไรก็ตาม ถามว่าทำไมรัฐบาลกลายเป็นคนกลุ่มเดียวที่ไม่รู้ร้อนรู้หนาวเลย กับความสับสน ความขัดแย้ง ความสุ่มเสี่ยงของความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น แล้วคนทั้งประเทศเขากังวล ทำไมรัฐบาลกลายเป็นคนกลุ่มเดียวที่ไม่รู้ร้อนรู้หนาวเลยว่า ตัวเองบริหารไม่ได้ พี่น้องประชาชนเดือดร้อนจากของแพง เกษตรกรไม่มีมาตรการอะไรเลยมาดูแลพืชผลทางการเกษตรในขณะนี้ ปัญหานักลงทุนขาดความมั่นใจ เพราะความไม่แน่นอนทางการเมือง ทำให้ทุกคนทุกฝ่ายและสังคม ประเทศชาติ เศรษฐกิจเดือดร้อนนี้ ทำไมรัฐบาลซึ่งเป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูงสุดในเรื่องนี้ด้วยซ้ำเพราะเป็นฝ่ายบริหาร ไม่รู้ร้อนรู้หนาวเลย ไม่คิดเลยว่าจะแก้ปัญหา ใครจะแก้ปัญหากลับไปพยายามสกัดกั้นเขาเสียอีก ข่มขู่เขาเสียอีก เพราะอะไรครับ นอกจากการที่จะอยู่ในอำนาจต่อไป” 

 

ดูเหมือนคณะทำงานตอนนี้จะตกผลึกแล้วว่า จำเป็นต้องมีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็ม แต่วันนี้วุฒิสภาจะแถลงก็คือว่าจะมีกระบวนการเดินไปสู่การมีรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มได้อย่างไร คุณอภิสิทธิ์คิดว่าคนที่จะมาเป็นรัฐบาล หรือนายกฯ ต้องมีคุณสมบัติ ภารกิจอย่างไร 

“เอาคุณสมบัติก่อนนะครับ 1. ผมเห็นว่าในสถานการณ์นี้จะต้องเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย คำนี้ไม่ใช่พูดลอยๆ นะครับ ผมคิดว่าผู้ที่มีหน้าที่สรรหาต้องถือเป็นภาระของตัวเองในการไปสอบถามฝ่ายต่างๆ ที่ถือได้ว่าเป็นคู่ขัดแย้งว่า บุคคลที่จะได้รับการเสนอชื่อนี้เป็นที่ยอมรับมั้ย 

2. บุคคลดังกล่าวไม่ควรที่จะสังกัด หรือเกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง ไม่ใช่นักการเมือง ไม่มีส่วนได้เสีย และน่าจะประกาศด้วยซ้ำว่าจะไม่ลงเลือกตั้ง จะได้ไม่มีใครมาครหาได้ว่าการเข้ามาสู่อำนาจตรงนี้เพื่อที่จะปูทางไปสู่การมีอำนาจต่อไป คือเข้ามากระทำหน้าที่เฉพาะกิจ เฉพาะกาล 

3. จะต้องเป็นบุคคลที่มีความเชื่อในการที่จะนำพาประเทศเข้าสู่การปฏิรูป และกลับเข้าสู่ระบบการเลือกตั้ง 2 ด้านนี้สำคัญนะครับสำหรับผม คือถ้าไม่มีใจที่จะปฏิรูปเลย เข้ามาอยู่เฉยๆ คงแก้ปัญหาไม่ได้ ขณะเดียวกันถ้าบอกว่าไม่มีเจตนาที่จะกลับไปเลือกตั้งเลย ผมว่าก็ไม่ใช่อีกเหมือนกัน เพราะว่าในขณะที่เราบอกว่า การสรรหาฝ่ายบริหารจะต้องเกิดขึ้นตามมาตรา 180 เราก็มองข้ามไปไม่ได้ว่าขณะนี้สถานการณ์ก็เป็นการยุบสภาอยู่ ซึ่งหมายถึงว่าจะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งเหมือนกัน” 

 

เสาร์ – อาทิตย์นี้ หลายคนมองว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ คุณอภิสิทธิ์มองว่าประเทศจะมีทิศทางอย่างไร 

“มันมีหลายอย่าง ตัวแปรหลายตัว 1. มติของวุฒิสภา 2. ปฏิกิริยาของกลุ่มต่างๆ ที่มีการเคลื่อนไหวอยู่ 3. เหตุการณ์อื่นๆ ที่มันอาจจะแทรกซ้อนเข้ามา คงจะวิเคราะห์ยากนะครับ เพียงแต่ผมคิดอย่างนี้นะครับ 
1. วันนี้ผมคาดหวังอย่างที่บอกคือว่า เป็นคำตอบของวุฒิสภาที่อยากจะเห็นคำตอบที่มันครบถ้วนที่สุด แต่ผมก็ขณะเดียวกันอยากจะใช้คำว่าเตือนไว้อย่างนึงก็แล้วกัน คือหลายคนก็มีความคาดหวังทำนองว่าวุฒิสภาออกมาวันนี้คือ จบเลย ทางใดทางหนึ่ง ผมไม่แน่ใจนะว่าเขาจะสามารถหาข้อยุติได้แบบนั้นหรือเปล่า เขาอาจจะได้ข้อยุติว่าจะต้องทำอะไร แต่การจะทำสิ่งนั้นเขาอาจจะต้องมีขั้นตอน เวลาที่จะต้องไปทำอีก ถูกมั้ยครับ ซึ่งอันนี้ก็จะเป็นอีกจุดหนึ่งซึ่งทำให้ประเมินยากว่า แล้วปฏิกิริยาของฝ่ายต่างๆ และอะไรจะเกิดขึ้นในวันเสาร์ – วันอาทิตย์” 

 

http://www.democrat....0&SECTION_ID=29

........................................................................................................................

 

ผมเชื่อว่า นอกจากกำนันสุเทพและมวลมหาประชาชนที่ลุกขึ้นขับไล่ระบอบทักษิณจนล้มลุกคลุกคลาน มองไม่เห็นทางรอดในขณะนี้แล้ว

 

ยังมีคุณอภิสิทธิ์และปชป.ในฐานะพรรคการเมือง วุฒิสภาฯในฐานะองค์กรนิติบัญัญัติตามกฎหมาย กองทัพในฐานะฝ่ายความมั่นคง และยัง

 

มีอีกหลายภาคส่วนที่พยายามหาทางออกให้กับประเทศอยู่โดยพยายามหลีกเลี่ยงความรุนแรง การอยู่ในกรอบกฎหมายรธน. และการยอมรับ

 

จากทุกๆฝ่ายอยู่ในขณะนี้ ตั้งสติให้มั่น เชื่อมั่นในคนที่เราศรัทธา ทุกๆอย่างใกล้จบแล้วครับ สัปดาห์น่าจะสรุปนายกฯคนใหม่ได้แล้ว 

 

แก้ไขคำผิดครับ 


ใกล้ถึงเวลาของทหารแล้ว

15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:30

'ผบ.ทบ.' เตือนระมัดระวังคำพูดให้ร้ายกองทัพ ยุติแนวคิดบุกรุก-ปิดล้อม ลั่นทหารอาจจำเป็นต้องออกมาระงับเหตุรุนแรงอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อรักษาความสงบ

 

 
                          15 พ.ค. 57  พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ระบุว่า ขอเป็นกำลังใจให้ทุกพวกทุกฝ่ายที่กำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมือง เพื่อนำประเทศชาติไปสู่ความสงบเรียบร้อย ทั้งด้วยวิธีการทางกฎหมาย การพูดคุยเจรจา หรือสันติวิธีอื่นๆ แต่ทั้งนี้การใช้ช่องทางตามกฎหมาย หรือการพูดคุยประชุมหารือกัน อาจไม่ประสบผลมากนักในช่วงเวลานี้ เพราะมีข้อถกเถียง และโต้แย้งมากมาย ซึ่งอาจไม่ทันต่อสถานการณ์ มีแนวโน้มเกิดความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นทุกฝ่ายควรดำเนินการด้วยวิธีการอันสงบสันติ ไม่สร้างเงื่อนไข และปัญหาเพิ่มมากขึ้น ต้องหยุดสร้างความรุนแรง และช่วยกันนำพาประเทศชาติออกจากความขัดแย้งให้ได้โดยเร็ว
 
                          พ.อ.วินธัย กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์การใช้อาวุธเมื่อช่วงคืนวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้มีทั้งผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้กระทำ ล้วนแต่เป็นการกระทำผิดกฎหมายทั้งสิ้น จึงขอให้ประชาชนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมช่วยกันประณามทุกฝ่ายที่ใช้ความรุนแรง และใช้อาวุธสงครามต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ รวมทั้งขอให้ส่งข้อมูล หรือเบาะแส ให้กองทัพบกทันที เมื่อได้รับทราบ ทั้งนี้การที่หลายฝ่ายกล่าวพาดพิง ผบ.ทบ. และ ผบ.เหล่าทัพ ว่าอยู่เฉย ไม่ดำเนินการใดๆ นั้น กองทัพได้ดำเนินการทุกอย่างมาด้วยความระมัดระวังอย่างต่อเนื่อง เพราะปัญหาในครั้งนี้มีความซับซ้อน และมีผลกระทบในหลายมิติ ขอเตือนผู้ที่กล่าวให้ร้ายกองทัพ ขอให้ระมัดระวังคำพูด ซึ่งถือว่าเป็นการหมิ่นเกียรติยศ และศักดิ์ศรีของกองทัพ ทหารทุกคนไม่สามารถยอมรับได้ และขอเตือนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่ใช้ความรุนแรงด้วยอาวุธสงครามต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ขอให้หยุดการกระทำนั้นตั้งแต่บัดนี้ เพราะหากสถานการณ์ยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ทหารอาจจำเป็นต้องออกมาระงับเหตุการณ์ความรุนแรงอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติโดยรวม หรือหากสถานการณ์รุนแรงมากขึ้นจนมีแนวโน้มถึงขั้นจะเกิดการจลาจล เพื่อความสงบเรียบร้อย
 
                          "กองทัพอาจมีความจำเป็นต้องใช้กำลังทหารเข้าคลี่คลายสถานการณ์ในขั้นนั้น หากมีผู้หนึ่งผู้ใด หรือกลุ่มบุคคล หรือกองกำลังติดอาวุธตอบโต้กองทัพ หรือทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์อีก บุคคลผู้นั้น หรือกลุ่มบุคคลนั้น จะต้องถูกเจ้าหน้าที่ใช้มาตรการทางกฎหมายปราบปรามอย่างเด็ดขาด โดยผู้ที่กระทำความผิดดังกล่าวอาจจะไม่สามารถเรียกร้องค่าเสียหายใดๆ ได้ เช่นกันกับกลุ่มบุคคลที่มีความคิดจะบุกรุก หรือปิดล้อมหน่วยทหาร ขอให้ยุติแนวคิดการกระทำดังกล่าวโดยทันที กองทัพเป็นของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และประชาชนคนไทยทุกคน ไม่ได้เป็นของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด แต่กองทัพก็ต้องปกป้องเกียรติยศ ศักดิ์ศรี และรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยของประเทศชาติ และประชาชน เมื่อมีความจำเป็นอย่างเต็มความสามารถ"
 
.......................................................................................................
 
ผมทราบดีมีสมาชิกหลายท่านตำหนิทหารและอยากให้ทหารออกมาดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อระงับเหตุ เพื่อป้องกันไม่ให้พี่น้อง
 
ประชาชนของพวกเราต้องสูญเสีย ต้องบาดเจ็บมากกว่านี้ เกิดจากความเจ็บแค้นที่รัฐบาลและฝ่ายที่รักษากฎหมายละเลยการป้องกันและ
 
ปราบปรามผู้ที่คิดร้ายและใช้ความรุนแรง แต่ผมก็เชื่อมั่นว่า ทหารพยายามทำอย่างเต็มที่ภายใต้ข้อจำกัดที่ว่า ตำรวจคือผู้รักษากฎหมายและ
 
ทหารเป็นเพียงแค่ผู้ช่วยเจ้าพนักงานเท่านั้น
 
ผมไม่แน่ใจว่าล่าสุดลุงกำนันและมวลมหาประชาชนคิดอย่างไรกับทหารและอยากให้ทหารทำอะไร หากว่าทหารจะต้องออกมาจัดการ
 
ด้วยวิธีพิเศษแล้ว จะขัดกับแนวทางของมวลมหาประชาชนหรือไม่ 

 


นิวัฒน์ธำรงกับCNN กับบางคำถามถึงตระกูลชิน

15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 16:05

นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาลรักษาการรองนายกฯ ในฐานะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ซึ่งได้ออกอากาศเมื่อคืน 12 พ.ค. 2557 ที่ผ่านมา โดยมีเนื้อการสัมภาษณ์ดังนี้

นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาลรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองโดย กล่าวว่า ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตามบนท้องถนน รัฐบาลยังคงมีอำนาจหน้าที่ปกครองบ้านเมือง แม้ว่ามีกลุ่มคนหลายกลุ่ม คนส่วนใหญ่อยากให้มีการเลือกตั้ง ในขณะที่คนอีกกลุ่มอาจจะไม่ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เราต้องดำเนินการตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ

 

CNN​ อดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เสนอทางเลือกให้มีการปฏิรูป ท่านมีความคิดเรื่องนี้ไหม?

 

รก นรม :เรากำลังกำหนดวันหารือร่วมกับคณะกรรมการเลือกตั้ง และจะมีการพูดคุยเกี่ยวกับหนทางที่จะดำเนินการได้อย่างประสบความสำเร็จ

CNN​ หมายความว่าท่านก็คิดเรื่องการปฏิรูปอยู่เหมือนกัน?

 

รก นรม :การปฏิรูปย่อมเป็นสิ่งที่ดีสำหรับประเทศชาติ แต่เราก็ต้องฟังผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดด้วย เราต้องมีการลงประชามติและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

 

CNN​ กปปส กำลังเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาล ทำไมรัฐบาลหรือเจ่าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายจึงไม่ดำเนินการหยุดความเคลื่อนไหวดังกล่าว

 

รก นรม: กลุ่ม กปปส เคลื่อนไปปักหลักยังสถานที่ราชการหลายแห่ง แต่เราก็อยากจัดการเรื่องนี้โดยสงบ เราจะเปิดการเจรจา แต่ถ้ากลุ่ม กปปสยังยืนยันจ้ะเข้าไป เราก็จะให้เข้าไป

 

CNN​ พรรคของท่านเรียกได้ว่าเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับทักษิณ ชินวัตร คุณคิดไหมว่าถึงเวลาแล้วสำหรับตระกูลชินวัตรที่จะถอนตัวออกจากการเมืองไทยเพื่อประโยชน์สุขของประเทศชาติ

 

รก นรม: ผมขอเรียนว่าอย่างนี้ ยังมีอีกหลายตระกูลในประเทศไทยที่อยู่ในวงการเมือง ไม่ใช่แค่เพียงตระกูลชินวัตร

 

CNNใช่ แต่ก็เป็นตระกูลที่สร้างความแตกแยกมากที่สุด ซึ่งอันที่จริงคือสาเหตุของการต่อสู้ในครั้งนี้

 

รก นรม: นี่คือสิ่งที่พูดกันในหมู่คนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งใขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งจะพูดแตกต่างออกไป ผมอยากจะบอกว่ามันคือเสรีภาพของคนๆหนึ่งในการกระทำการใดๆในประเทศภายใต้กฎหมาย และยังขึ้นอยู่กับเสียงของประชาชนด้วย ถ้าประชาชนส่วนใหญ่เลือกเขาเข้ามา คุณจะว่าอะไรได้ คุณจะบอกว่าคุณไม่สามารถเข้ามารับตำแหน่งได้อย่างนั้นหรือ? นั่นคงไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยที่คุณหรือผมยึดมั่น

 

CNN ​นักลงทุนทั่วโลกต่างจับตามองประเทศไทยอย่างระแวดระวังในขณะนี้ เราได้ยินบางเสียงกล่าวถึงทางตันการเมือง การบริโภคที่ตกต่ำ และผลกระทบที่มีต่อการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

 

รก นรม :นี่เป็นเพียงสถานการณ์ชั่วคราวเท่านั้น เราเคยเกิดเหตุการณ์ทำนองนี้มาหลายครั้งในอดีต และเป็นสิ่งพิเศษสำหรับประเทศไทยที่เรามักจะสามารถแก้ไขสถานการณ์ดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว เรายังคงต้องการเป็นแหล่งลงทุนที่ดึงดูดใจนักลงทุนมากที่สุด

 

CNN​ รัฐบาลนี้ยังคงมีอำนาจอยู่หรือไม่?

 

รก นรม: แน่นอนครับ ทั้งทางกฎหมายและแนวทางการทำงาน ผมได้รับแต่งตั้งให้เป็นรักษาการณ์นายกรัฐมนตรี พร้อมทั้งคณะรัฐมนตรีอีก 25 คน และเรายังมีอำนาจดูแลศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ทหารและตำรวจ

http://www.bangkokbi...ีอำนาจอยู่.html

....................................................................................................

เห็นข่าวนี้ตั้งแต่เมื่อวาน แปลกใจที่ไม่ค่อยเห็นในฉบับอื่น เลยขอนำมาลงเก็บไว้ในนี้ครับ 

หากฟังตามนี้แสดงว่า เพื่อไทยไม่ได้มีความคิดปฎิรูปอยู่ในหัวเลย นั้นหมายความว่า หากมีการเลือกตั้งเกิดขึ้น เราย่อมไม่อาจไว้ใจนักการ

เมืองทั้งหลายได้ว่า จะทำการปฎิรูปจริง ส่วนคำถามที่ว่า ตระกูลชินฯ โดยปกติต่างชาติมักจะกล้าถามคำถามตรงๆแบบนี้อยู่แล้วหากไม่มี ธง

คำถาม อยู่ก่อนและแสดงให้เห็นว่า ต่างชาติรับรู้ข้อมูลที่แท้จริงแล้วว่า ปัญหาในไทยเกิดจาก อะไร 

ปล. แปลกใจที่ไม่เห็นสื่ออื่นนำมาลง