Jump to content


Anyone

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 22 พฤศจิกายน 2556
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 22 พฤศจิกายน 2556 21:28
-----

#918126 ลองอ่านๆดูครับ ใครเข้าใจผิดกันแน่....

โดย Anyone on 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 21:02

พิจารณาจากการเสียบบัตรแทนกัน การปิดปากฝ่ายค้าน องค์ประชุมไม่ครบ ปลอมเอกสารทางราชการแล้วยื่นทูลเกล้า แบบนี้มันขัดรัฐธรรมนูญมั้ยครับ

 

อันนี้สิครับน่าสนใจ มีเหตุมีผลที่สามารถเข้าใจได้

 

การเสียบบัตรแทนกันเป็นอำนาจของสภาครับ

 

การปิดปากฝ่ายค้าน ต้องชี้ประเด็นครับว่าเรื่องอะไร วิปฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านตกลงกันไว้เช่นไร

 

การปลอมเอกสารราชการเป็นความผิดทางอาญาแผ่นดินครับสามารถดำเนินการทางกฏหมายได้เลยครับ




#918115 ลองอ่านๆดูครับ ใครเข้าใจผิดกันแน่....

โดย Anyone on 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 20:58

 

 

 

      รธน  มาตรา  3  6  และ  291  บอกไว้แบบนี้ครับ[/size]
      มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุข[/size]ทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา [/size]คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้[/size]การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ[/size]และหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม[/size] [/size]
      มาตรา ๖ [/size]รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ [/size]บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ[/size]หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้[/size]
       มาตรา ๒๙๑ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ[/size]ดังต่อไปนี้[/size](๑) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวน[/size]ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจาก[/size]สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด[/size]เท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคน[/size]ตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย[/size]ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบ[/size]ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะเสนอมิได้[/size](๒) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้รัฐสภาพิจารณา[/size]เป็นสามวาระ[/size](๓) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนน[/size]โดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของ[/size]จำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา[/size](๔) การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้องจัดให้มีการรับฟังความ[/size]คิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วย[/size]การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ถือเอาเสียงข้าง[/size]มากเป็นประมาณ[/size](๕) เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้ว[/size]ให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป[/size](๖) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนน[/size]โดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่ง[/size]ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา[/size](๗) เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้า[/size]ทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๕๐ และมาตรา ๑๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม[/size]มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ[/size]หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้[/size]
 
 ทีนี้เมื่อ  รธน  กำหนดไว้แบบนี้  หมายความว่าการที่   มาตรา  291  (ทั้งมาตรา)ซึ่งอยู่ในหมวด  15  ได้กำหนดวิธีการการแก้ใข รธน. ไว้เฉพาะ  แสดงว่า  รธน  ฉบับนี้แก้ได้และได้กำหนดวิธีการแก้ไว้แล้ว   และกำหนดด้วยว่าการแก้ใขแบบไหนที่ทำไม่ได้    291(1)วรรค 2นั่นหมายความว่า  การแก้  รธน  เป็นอำนาจหน้าที่ของ สภาฯ ตามเจตนารมย์ของ  รธน  ตามมาตรา  3 และมาตรา 6และ  291 โดยที่  ใน  รธน  ฉบับนี้   ไม่มีตรงไหนเลยที่มีระบุไว้ว่า    จะต้องมีองค์กรอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องหรือตรวจสอบได้แม้แต่  มาตรา  68  ที่กล่าวอ้างกัน  ซึ่งมาตราดังกล่าว  รธน   บอกว่า  บุคคลจะใช้สิทธิ์หรือเสรีภาพ......แต่การแก้  รธน  เป็น  อำนาจ  และหน้าที่ ตาม  มาตรา  3  ถึงได้มีการโต้แย้งว่า  ศาล  รธน  ไม่มีอำนาจ  เพราะไม่มีกำหนดไว้ใน  รธน  [/size]แต่ศาลไม่รับฟังศาลได้ตีความขยายกฎหมายขึ้นมาเอง  ซึ่งไม่ถูกต้องเพราะมันไม่ใช่หน้าที่ของศาล  ในการตรากฎหมาย [/size]


มาตรา 68 บัญญัติองค์ประกอบความผิดของการกระทำไว้สองประการ คือ
1. บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้มิได้ หรือ
2. บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้มิได้
คำว่า “สิทธิ” เป็นถ้อยคำพื้นฐานที่นักกฎหมายจำเป็นจะต้องทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้น เพราะเป็นข้อความคิดพื้นฐานทางกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ให้แก่บุคคล สิทธินั้นอาจพิจารณาได้2แง่ คือในแง่. "อำนาจ" หรือในแง่ประโยชน์ดังนั้น "สิทธิ" จึงหมายถึง "อำนาจ" อันชอบธรรมหรือความชอบธรรมที่บุคคลสามารถใช้ยันกับบุคคลอื่นเพื่อคุ้มครองหรือรักษาผลประโยชน์อันเป็นส่วนที่พึงมีพึงได้ของบุคคลนั้น กล่าวอีกนัยหนึ่งสิทธิคือ ประโยชน์ที่บุคคลมีความชอบธรรมที่จะได้รับ ซึ่งกฎหมายรับรองและคุ้มครองให้ เราสามารถพิจารณาองค์ประกอบของสิทธิได้เป็นข้อๆดังนี้
Credit: สมยศ เชื้อไทย, ความรู้กฎหมายทั่วไป คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง:หลักทั่วไป ,2550
ขออนุญาตเน้นนะครับ การที่สภาแก้ไขรธน.ตามมาตรา 291 จึงเป็น "อำนาจโดยชอบธรรม" ตามรัฐธรรมนูญเนื่องจากไม่ได้แก้ไขให้ขัดกับรธน.
 
"มาตรา 68 บัญญัติองค์ประกอบความผิดของการกระทำไว้สองประการ คือ
1. บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้มิได้ หรือ
2. บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญนี้เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการ ปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐ ธรรมนูญนี้มิได้ "


การแก้ไขที่มาของ ส.ส. และ ส.ว. เป็นการใช้สิทธิ(อำนาจ) ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และเป็นการเปลี่ยนโครงสร้างที่เอื้อประโยชน์ให้กับนักการเมืองในการควบคุมรัฐสภา
การกระทำดังกล่าว มีผลกระทบต่อโครงสร้างของรัฐ "เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจโดยไม่ใช่วิถีทางแห่งรัฐธรรมนูญ"

เมื่อมีผู้พบว่าการกระทำดังกล่าว เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ จึงใช้ ม68 ข้อ2 ยื่นฟ้อง เป็นไปได้ไหมครับ?

 

 

อันนี้เป็นการตีความ "เพิ่มเข้ามาเอง" ครับ (กรณีนี้เทียบเคียงกับเรื่องของแบ่งเขตการเลือกตั้งของพรรค ปชป.ถ้าผมจะบอกว่ามันเป็นผลประโยชน์ทับซ้อนก็สามารถเทียบเคียงได้ครับ อันนั้นน่ะซ้อนเห็นๆ) แต่ผมจะไม่กล่าวถึง ที่จะกล่าวถึงคือ ตัวหนาที่ผมเน้นน่ะมันเป็นสิ่งที่ท่านเขียนขึ้นมาเอง ในกฏหมายไม่ได้กำหนดไว้ครับ จึงไม่มีเหตุให้รับคำร้อง (ทั้งๆที่เรื่องรับคำร้อง ศาลรธน.เองก็ไม่มีสิทธิ์ด้วยซ้ำไป)

 

ย้ำอีกทีครับ ศาล รธน.ไม่มีอำนาจในการรับคำร้องมาตรา 68 ด้วยตนเองครับ ต้องผ่าน อสส ก่อน ใครเรียนกฏหมายจะทราบดีครับ