Jump to content


คำบอกเล่าของผู้ซื้อ

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 18 ธันวาคม 2556
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 18 ธันวาคม 2556 14:56
-----

Topics I've Started

'พิเชษฐ์'ผวา'สุเทพ'แตกหัก22ธ.ค.'มิคสัญญี'

18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:25

news_img_550470_1.jpg

 

"พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล" ชี้"สุเทพ"แตกหัก 22 ธ.ค.ไล่นายกฯ นปช.ป้องนายกฯ หวั่นมิคสัญญีเหมือนสึนามิ"47 ปชป.ต้องตาย-พิการ คงรู้ก่อนปีใหม่!

 

นายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุลโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊คส่วนตัว วานนี้ (17 ธ.ค.) โดยระบุว่า ผมเคยคุยว่า ผมมีสัญชาตญาณทางการเมือง คาดการณ์ทางการเมืองไม่ค่อยผิด

เพื่อนเฟซบุ๊คบางท่านเคยไม่พอใจที่ผมไม่อยากให้เอาพรรคประชาธิปัตย์ไปผูกพันดับการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เพราะสังหรว่าประชาธิปัตย์จะบาดเจ็บจากงานนี้แน่นอน

และไม่มีที่สวนกันกลางซอย เพราะซอยแคบเกินไป จนไม่อาจเลี่ยงการปะทะกัน

วันนี้พรรคประชาธิปัตย์มีการเลือกตั้งหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่

นายจุติ ไกรฤกษ์ เลขาธิการพรรคคนใหม่ ได้ตอบคำถามของผู้สื่อข่าวเรื่องพรรคจะส่งผู้สมัครลงสมัครรับเลือกตั้งในครั้งที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ ทำนองว่า

"ถ้าส่งก็ตาย ไม่ส่งก็พิการ"

ในตอนบ่าย หัวหน้าพรรค ปชป.และรองหัวหน้าพรรคท่านหนึ่ง ได้ร่วมกันให้สัมภาษณ์ว่า คณะกรรมการบริหารจะพิจารณาลงมติในวันที่ 21 ธันวาคม นี้ว่า พรรคจะส่งผู้สมัครหรือไม่

ในวันเดียวกัน รักษาการนายกรัฐมนตรีได้ให้สัมภาษณ์จากที่ไหนสักแห่งว่า จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ตามที่ประกาศในกฤษฎีกา เลือกตั้งอย่างแน่นอน อย่างไรก็จะไม่ลาออก

พรรคเพื่อไทย ประกาศเตรียมพร้อมผู้สมัครรับเลือกตั้ง

นายบรรหาร ศิลปอาชา ประกาศลงสมัครบัญชีรายชื่อหมายเลข 1 ของพรรคชาติไทยพัฒนา

คืนวันที่ 17 ธค. กำนันสุเทพฯ ประกาศบนเวทีราชดำเนิน นัดระดมพลใหญ่ทั่วประเทศในวันที่ 19 และ 20 ธันวาคม เดินทั่วกรุงเทพมหานคร ยืนยันไม่ยอมถอยเด็ดขาด และอาจมีศึกแตกหักในวันที่ 22 ธันวาคม เพื่อไล่รักษาการนายกฯออกจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการ

นปช.และขบวนการเสื้อแดงเตรียมการปกป้องนายกรัฐมนตรีอย่างเต็มที่

"มิคสัญญี"

อะไรจะเกิดขึ้นต่อไปนี้

และพรรคประชาธิปัตย์จะต้องตาย หรือพิการอย่างไรจากงานนี้

คงจะรู้ผลต้อนรับปีใหม่ 2557

เหมือนสึนามิ มหาภัย ที่เคยเกิดขึ้นรับปีใหม่เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547

พิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล

17 ธค. 56

 

http://www.bangkokbi...¸.¤.ÁԤÊѭ­Õ.html

 


การซื้อเสียง (จากคำบอกเล่าของผู้ซื้อ)

18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 11:23

1489254_522409007873054_321960366_n.jpg
ผมเก็บข้อมูลการวิจัยเมื่อปี 2553-2554 จนถึงหลังการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว ผมมีโอกาสได้สัมภาษณ์นักการเมืองท้องถิ่นคนหนึ่ง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง สส. เขตของพรรคหนึ่ง ไม่ใช่เพื่อไทย ไม่ใช่ประชาธิปัตย์ ในจังหวัดหนึ่งในภาคอีสาน ไม่ใช่จังหวัดเสื้อแดงแจ๋อย่างอุดรธานีหรือขอนแก่น เขตเลือกตั้งนี้เป็นเขตเลือกตั้งในชนบท เป็นพื้นที่ซึ่งพรรคเพื่อไทยมีฐานเสียงอยู่พอสมควร แต่ไม่เด็ดขาด ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจอันเนื่องมาจากโยงใยที่ใกล้ชิดกับผู้ที่แนะนำให้ผมติดต่อไปสัมภาษณ์ ผู้สมัคร สส. คนนี้เล่าวิธีการซื้อเสียงของเขาให้ผมฟังโดยละเอียด

ขอเล่าต่อโดยย่อก็คือ เขาแบ่งพื้นที่ในเขตเลือกตั้งออกเป็น 3 โซน โซนหนึ่งเป็นพื้นที่ที่เขาคิดว่าจะได้รับเลือกตั้งแน่ๆ เขาจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง ไม่มาก ไม่น้อยนัก โซนที่สอง เขาคิดว่าจะต้องแข่งกับผู้สมัครคนอื่น เขาจะจ่ายมากกว่าโซนแรก อีกโซนหนึ่งที่เขาคิดว่าจะไม่ได้รับเลือกแน่ๆ เขาจะไม่จ่ายเลย ผลการเลือกตั้งออกมาปรากฏว่า เขาไม่ได้รับเลือกตั้ง เขาแพ้ ผมขอให้เขาวิเคราะห์ความพ่ายแพ้ของเขา เขาประมวลออกมาโดยไม่ได้กล่าวถึงจำนวนเงินและพื้นที่ที่เขาพยายามซื้อเสียงเลย เขาบอกว่า

หนึ่ง เขาแพ้กระแสพรรค เขาว่าเขาประเมินแล้วทีแรกว่าน่าจะได้ เพราะชาวบ้านรู้จักเขา นิยมชมชอบเขามากกว่าผู้สมัครคู่แข่งคือพรรคเพื่อไทย ซึ่งผมตรวจสอบดูจากชาวบ้านในพื้นที่นั้นแล้วก็พบว่าเป็นจริงตามนั้น คือในแง่ตัวบุคคลแล้ว ผู้สมัครคนนี้เป็นที่นิยมมากกว่าอีกคนหนึ่ง มีความสัมพันธ์กับชาวบ้านดีกว่า ไปมาหาสู่ ช่วยเหลือ และ "ติดดิน" กว่าอีกคนหนึ่ง ชาวบ้านบางคนยังพูดถึงขนาดว่า "นายคนนี้อยู่ผิดพรรค ถ้าอยู่เพื่อไทยก็ชนะไปแล้ว”

สอง เขาคิดว่าที่แพ้เพราะความนิยมในตัวยิ่งลักษณ์มีสูงมาก เหมือนกับว่าชาวบ้านเลือกเพราะอยากได้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกรัฐมนตรี ยิ่งเมื่อคราวที่ยิ่งลักษณ์ไปปราศรัยในอำเภอใกล้ๆ เขตเลือกตั้ง ชาวบ้านไปฟังแล้วชอบใจ ก็ทำให้คะแนนเสียงเทไปทางนั้นมากขึ้นไปอีก ข้อนี้ก็สอดคล้องกับที่ชาวบ้านในเขตเลือกตั้งนั้นเองบอกว่า "เขาเลือกเพื่อไทยแม้ไม่ชอบผู้สมัครเพราะอยากให้ยิ่งลักษณ์เป็นนายกฯ”

สาม ผมวิเคราะห์เพิ่มว่า การที่ชาวบ้านเลือกพรรคและผู้นำพรรค ไม่ได้เลือกที่ตัวบุคคลผู้สมัครในเขต เพราะเขาคิดถึงนโยบายในระดับกว้าง มากกว่าเพราะเพียง "ความนิยม" หรือ "กระแสพรรค" ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ชาวบ้านมีความคาดหวังต่อนักการเมืองระดับชาติแตกต่างไปจากความคาดหวังจากนักการเมืองท้องถิ่น

ในท้องถิ่น ชาวบ้านเลือกคนที่ช่วยเหลือเขาได้ทันทีทันใด รู้จักปัญหาเฉพาะของท้องถิ่นดี สำหรับพวกเขา สมาชิก อบต. และสมาชิก อบจ. และผู้ใหญ่บ้าน กำนัน จะตอบโจทย์ท้องถิ่นได้ดีกว่า เรื่องถนนชำรุด ท่อประปาแตก อะไรเหล่านี้ ไม่ต้องถึงมือ สส. หรอก มากกว่านั้น สมาชิก อบต. ในบางหมู่บ้านยังช่วยทำงานกับผู้ใหญ่บ้าน มีบทบาทในการพัฒนาหมู่บ้าน เรื่องนี้ก็มาจากงานวิจัยที่ผมทำเช่นกัน ไม่ใช่พูดขึ้นมาลอยๆ

ส่วน สส. พวกเขาจะพึ่งในประเด็นที่ใหญ่ขึ้น เช่น การร้องเรียนเรื่องเดือดร้อนจากกฎหมายที่ดิน ผมเคยขับรถตาม สส. ไปดูการ "ลงท้องที่" อยากรู้ว่าเขาทำอะไร ไปไหน ผมขับตามไปสัก 30 กิโลเมตรได้ ขบวนรถมีสองคัน วิ่งเข้าไปในพื้นที่ซึ่งชาวบ้านถูกเจ้าหน้าที่รัฐประกาศว่าที่ทำกินของพวกเขาอยู่ในเขตพื้นที่สาธารณะบ้าง เป็นป่าสงวนบ้าง ชาวบ้านร่วม 200 คนมารอพบ สส. พวกเขาเดือดร้อนมาก ขอให้ สส. ช่วย

กลไลของการเมืองท้องถิ่นเป็นอย่างไร ยากที่คนในกรุงเทพฯ จะเข้าใจ เพราะการเลือกตั้งผู้ว่าและสมาชิกสภาเขตสำหรับคนกรุงเทพฯ เป็นเหมือนพิธีกรรมไร้สาระจริงๆ ถามหน่อยว่าเราแคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็นู้ว่า กทม. เราแคร์หรือว่าผู้ว่ากทม. จะมาช่วยอะไรเรา หรือเราเลือกกันเพราะอารมณ์จริงๆ ว่าเราชอบใคร นิยมใคร แต่สำหรับชาวบ้านในชนบท นักการเมืองท้องถิ่นมีส่วนกับชีวิตความเป็นอยู่ของเขามากกว่าในกทม.

แล้วเราคนกรุงเทพฯ แคร์แค่ไหนว่าใครจะมาเป็น สส. เพราะไม่ว่าจะอย่างไร รัฐบาลไหนต่อรัฐบาลไหน แม้เข้ามาไม่ทำอะไรเลย ก็จะต้องดำเนินนโยบายต่างๆ ที่มีอยู่แล้ว ซึ่งก็เอื้อให้กับการพัฒนากรุงเทพฯ แทบทั้งสิ้น ที่ผ่ามา แทบจะไม่มีรัฐบาลที่ตั้งใจพัฒนาต่างจังหวัดหรือทำเพื่อคนต่างจังหวัด ไม่อย่างนั้นพ่อแม่ปู่ย่าตายายของพวกคุณส่วนใหญ่ที่มาอาศัยกรุงเทพฯ อยู่ขณะนี้ จะขวนขวายทิ้งถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ หรอกหรือ

หากคุณยังไม่ลืมกำพืดคุณเองว่าโคตรตระกูลคุณก็มาจากต่างจังหวัดล่ะก็ หยุดเผลอไผลดูถูกคนต่างจังหวัดได้แล้ว อย่าปล่อยให้ไฮโซปลายแถวชาวกรุงเพียงไม่กี่คนที่ดูถูกโคตรตระกูลคุณ ชักนำคุณไปสร้างฐานอำนาจของพวกเขาต่อไปเลย


ยุกติ มุกดาวิจิตร
สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย