Jump to content


ปลายสีรุ้ง

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 24 ธันวาคม 2556
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: ส่วนตัว
-----

#1116902 การปฏิรูปประเทศไทย (ตอนที่ 1)

โดย honglaksi on 26 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 11:42

  1. การกระจายอำนาจให้แต่ละท้องถิ่นปกครองและจัดเก็บภาษีเอง  ส่งผลดีให้เกิดการแข่งขันกันเองในระหว่างท้องถิ่น  ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นจะเป็นผู้ตัดสินว่ารัฐบาลท้องถิ่นของตนดีมีฝีมือหรือไม่  โดยการเปรียบเทียบกับท้องถิ่นอื่น  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริยธรรม  ความซื่อสัตย์  ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ  ที่สำคัญชาวบ้านจะเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองทางตรงได้มากขึ้นกว่าเดิม  เพราะเป็นสังคมที่มีขนาดเล็ก

 

ดังนั้นการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจด้วยการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้ท้องถิ่นปกครองกันเองโดยใครได้รับเลือกตั้งจากที่ใด ให้ปกครองที่นั่นและภาษีเก็บได้ที่ใดให้นำมาพัฒนาที่นั่นจึงเป็นการปฏิรูปประเทศไทยที่ตรง และถูกต้องในการแก้ปัญหาของชาติ เท่ากับเป็นการคืนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ให้ตกถึงมือประชาชนอย่างแท้จริงระบบประชาธิปไตยจะเกิดเป็นจริงขึ้นได้จะต้องสร้างมาจากฐานข้างล่าง มิใช่จากข้างบน

หน้าที่ของรัฐบาลกลางควรเป็นเรื่องระดับนานาชาติเช่นการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เจรจาสนธิสัญญาการเปิดตลาดการค้าการรักษาอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนการรักษาและส่งเสริมสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศส่วนเรื่องราคาสับปะรดตกต่ำราคายางพาราตกต่ำมีคาสิโนหรือไม่ควรทำแท้งเสรีหรือไม่ต้องให้รัฐบาลท้องถิ่นทำ

  •  

                                                                                                                          จบตอนที่ 1

   โปรดติดตามตอนต่อไป  จะเสนอโครงสร้างและที่มาของรัฐบาลกลาง  ระบบกองทุนรวมแห่งชาติ  และ การบริหารจัดการทรัพยากรรวมแห่งชาติ




#1116899 การปฏิรูปประเทศไทย (ตอนที่ 1)

โดย honglaksi on 26 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 11:39

8.2 ปัญหาเรื่องพืชผลเกษตรตกต่ำจะเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐบาลท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะกำหนดนโยบาย เงื่อนไข มาตรการในการช่วยเหลือ หรือส่งเสริมเกษตรกร เช่น กำหนดนโยบายให้ถนนที่สร้างในท้องถิ่น ต้องใช้ยางพาราที่เป็นผลผลิตของท้องถิ่นเป็นส่วนผสม หรือ กำหนดให้ปั๊มน้ำมันในท้องถิ่นต้องมีส่วนผสมของแอลกอร์ฮอล หรือไบโอดีเซล เพื่อช่วยเหลือผลผลิตอ้อย หรือปาล์ม ในท้องถิ่นนั้น ซึ่งปัจจุบันปัญหาเหล่านี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลกลาง เพราะมีการรวมศูนย์อำนาจ และรัฐบาลกลางก็มิได้ให้ความสนใจในเรื่องของท้องถิ่นย่อยๆ นั้นมากเท่าที่ควร การสร้างถนนก็กำหนด Spec. มาจากส่วนกลาง คือกรมทางหลวง และเป็นผู้กำหนดการนำเข้ายางมะตอยในการสร้างและซ่อมถนนทุกปีโดยมิได้ใส่ใจใช้ผลผลิตของเกษตรกรเลย เป็นต้น หรือการเข้ามาตั้งห้างสรรพสินค้าในท้องถิ่นก็ต้องเป็นหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นนั้นๆ เป็นผู้กำหนดเงื่อนไขให้เหมาะสมกับสภาวะของชุมชนนั้นๆ และต้องฟังความเห็นของคนในท้องถิ่น สินค้า OTOP ต้องได้รับการผลักดัน พัฒนา กำหนดเป็นเงื่อนไขต้องนำมาวางขายในห้างสรรพสินค้าทุกแห่ง
8.3 ปัญหาอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ ควรเป็นเรื่องของรัฐบาลท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะเป็นผู้กำหนดให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ของท้องถิ่นนั้นๆ ปัจจุบันการกำหนดอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเท่ากันหมดแบบเหมาเข่ง ก่อให้เกิดปัญหาความไม่เท่าเทียมกัน เช่น ค่าจ้างครูปริญญาตรี 15,000 บาท ต่อ เดือน ที่อยู่ในกรุงเทพฯ กับครูที่อยู่ดอยแม่สลอง เท่ากันก็จริง แต่ความเป็นจริงแล้ว 2 คนมีความไม่เท่าเทียมกัน เพราะเงิน 15,000 บาท ต่อ เดือน ในกรุงเทพฯ ไม่พอกิน และ 15,000 บาท ในดอยแม่สลองสูงมาก ดังนั้นอัตราเงินเดือนบรรจุแรกเข้าของข้าราชการพลเรือน(ก.พ.) ก็จะถูกแก้ไขยกเลิกได้โดยรัฐบาลท้องถิ่นนั้นกำหนดเอง
8.4 ปัญหาเรื่องควรทำแท้งหรือไม่ ควรมีบ่อนคาสิโนหรือไม่ เป็นปัญหาระดับท้องถิ่น ภูเก็ต สระแก้ว อาจพิจารณาเปิดคาสิโน ทำแท้งเสรี ในขณะที่ กาญจนบุรีเป็นเมืองเคร่งศาสนา อาจห้ามอบายมุขทุกชนิด ก็เป็นเรื่องท้องถิ่นนั้นที่จะพิจารณาตัดสินใจได้เอง ใครที่อยู่ในชุมชนนั้นและไม่เห็นด้วยกับเสียงส่วนใหญ่ ก็ไม่ต้องประท้วง หรือ ล้มรัฐบาลท้องถิ่น ด้วยการเผาบ้านเผาเมือง ก็มีทางเลือกโดยย้ายไปอยู่ในท้องถิ่นที่ตนเองชอบ เรียกว่ามีทางเลือกไปสู่ที่ชอบๆ ได้ แต่ถ้าเป็นโครงสร้างอำนาจในปัจจุบันที่รวมศูนย์อำนาจ การจะออกกฎหมายทำแท้งเสรีหรือให้มีบ่อนคาสิโน ก็ต้องมาจากส่วนกลาง บางท้องถิ่นไม่เหมาะสม แต่ต้องถูกบังคับใช้ตามกฎหมายไปด้วย ก็จะมีคนที่ไม่เห็นด้วยรวมตัวกัน ชุมชนนั้นนิด ชุมชนนั้นหน่อย เกิดเป็นจำนวนผู้คัดค้านจำนวนมากกลายเป็นปัญหาระดับชาติ
8.5 เรื่องประชานิยม ไม่ว่าจะเป็น 30 บาท รักษาทุกโรค จำนำข้าว รถยนต์คันแรก การศึกษาฟรี ประกันราคายางพารา ฯลฯ ควรเป็นเรื่องของรัฐบาลท้องถิ่นนั้นๆ ท้องถิ่นใด เก็บภาษีได้มากต้องการให้สวัสดิการกับคนที่เสียภาษีให้ท้องถิ่นนั้น ด้วยการรักษาพยาบาลฟรี หรืออื่นๆ ก็สามารถทำได้เอง ขึนอยู่กับความสามารถ กำลัง ฐานะ ในการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลท้องถิ่นนั้นๆ รัฐบาลกลางไม่ควรเข้ามายุ่งเกี่ยว ท้องถิ่นใดมีเกษตรกรมาก รัฐบาลท้องถิ่นนั้นก็ต้องทำหน้าที่ดูแลประชาชนให้มาก เช่น รับประกันความเสียหายของเกษตรกรจากภัยแล้ง น้ำท่วม หรือ ประกันราคาพืชผล จัดทำสำมะโนเกษตรกร และควบคุมปริมาณการผลิต หรือจัดตั้งกองทุนประกันราคาพืชผล คล้ายกับกองทุนน้ำมัน โดยอาจจัดตั้งในรูปของบริษัทประกันภัย ให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการด้วย
8.6 ปัญหาความรุนแรงใน 3-4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถดับไฟใต้ลงได้โดยการกระจายอำนาจ ให้ท้องถิ่นนั้นปกครองกันเอง พี่น้องชาวมุสลิมจะกำหนดวิถีชีวิตอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขาเองที่จะตัดสินใจ ตราบใดที่เขายังอยู่ภายใต้ร่มธงไตรรงค์และไม่มีการแบ่งแยกดินแดน ก็ OK
8.7 ปัญหาเรื่องความระยำของสื่อสารมวลชน หากมีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ก็จะเกิดสื่อสารมวลชนที่รับใช้คนในท้องถิ่น และผลประโยชน์ของท้องถิ่นนั้นขึ้นมาแทน โดยชุมชนในท้องถิ่นนั้นก็จะช่วยดูแลตรวจสอบเอง และชุมชนนั้นก็จะเลือก อ่าน ฟัง ข่าวสารที่เกี่ยวกับท้องถิ่นก่อนเป็นทางเลือกแรก และเนื่องจากเป็นสังคมเล็กๆ ชุมชนจะรู้ข้อเท็จจริงได้เองว่า ข่าวนั้นจริงหรือไม่จริง จึงต่างกับโครงสร้างปัจจุบันที่สื่อสารมวลชนรับใช้นักการเมืองฝ่ายที่มีอำนาจ เพราะนักข่าวก็ต้องกินต้องใช้ จึงช่วยไม่ได้ที่จะต้องหาเงินด้วยการขายตัว และสื่อท้องถิ่นไม่มีทางได้เกิดในระบบโครสร้างปัจจุบัน เพราะข่าวท้องถิ่นไม่ได้มีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่นเท่ากับข่าวที่มาจากศูนย์กลาง สื่อยักษ์ใหญ่จึงกลายเป็นผู้ทรงอิทธิพลครอบงำความคิดและชี้นำประเทศได้
8.8 โครงสร้างรวมศูนย์อำนาจได้กลายเป็นแหล่งศูนย์รวมของความชั่วร้ายไว้ที่ส่วนกลางด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรมตำรวจ กรมอัยการ ดังนั้น หากมีการปรับโครงสร้างอำนาจด้วยการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นแล้ว เท่ากับเป็นการขจัดแหล่งศูนย์รวมของความชั่วร้ายในสังคมได้โดยปริยายด้วย จะทำให้ตำรวจ อัยการ เป็นหน่วยงานที่มีศักดิ์ศรี รับใช้ประชาชนอย่างแท้จริง
8.9 โครงสร้างรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางในปัจจุบันมีโครงสร้างที่ค่อนข้างใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหากับสถาบัพระมหากษัตริย์ได้โดยง่าย ด้วยการถูกใส่ร้ายป้ายสีของผู้ที่ไม่หวังดีต่อชาติ เพราะปัญหาของชาติทุกปัญหาจะมุ่งมาสู่ส่วนกลาง ดังนั้น หากมีการกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น ปัญหาต่างๆ จะอยู่ในระดับท้องถิ่น และการกล่าวใส่ร้ายป้ายสีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นยากที่ใครจะเชื่ออีกต่อไป นโยบายเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการหลวงต่างๆ ก็จะเข้าถึงรัฐบาลท้องถิ่นได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านรัฐบาลกลาง ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ก็จะได้ใกล้ชิดกับวิถีชุมชนมากยิ่งขึ้น สถาบันจะมั่นคงและอยู่เป็นที่รักเคารพของประชาชนชาวไทยตลอดไปชั่วกาลนาน
8.10 โครงสร้างรวมศูนย์อำนาจปัจจุบันของไทยมีผลโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจของชาติ โดยก่อให้เกิดการรวมศูนย์ของระบบเศรษฐกิจไว้ที่ส่วนกลาง เกิดการผูกขาดทางเศรษฐกิจไว้เฉพาะกับกลุ่มที่กุมอำนาจทางการเมือง ก่อให้เกิดการผูกขาดของรัฐในรูปแบบรัฐวิสาหกิจ ต่อมามีเอกชนเข้ามาผูกขาดแทนโดยการเข้ารับสัมปทาน เช่น กิจการโทรศัพท์ เปลี่ยนการผูกขาดโดยรัฐมาเป็นการผูกขาดโดยกลุ่มทุนการเมือง ดังนั้น หากมีการกระจายอำนาจการปกครองไปสู่ท้องถิ่น จะส่งผลให้การกระจายอำนาจการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจไปสู่ท้องถิ่นด้วย โดยการให้รัฐบาลท้องถิ่นสนับสนุนธุรกิจ SME ในท้องถิ่นนั้นกิจการโทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา ฯลฯ การให้ท้องถิ่นนั้นเป็นผู้ให้บริการในลักษณะ Service Provider มิใช่ผูกขาดรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง


#1116895 การปฏิรูปประเทศไทย (ตอนที่ 1)

โดย honglaksi on 26 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 11:37

พี่ที่นับถือกัน แกให้ช่วยนำเสนอให้ เนื่องจาก แกอายุเยอะแล้ว ไม่สามารถทางด้าน ไอทีเท่าใหร่ แต่ความรู้ ทางด้านกฎหมาย การเมือง พร้อมประสบการณ์ ทางการเมืองที่แกสัมผัสมา (ไม่ได้เป็นนักการเมือง) มองเห็นปัญหารากฐานของการเมืองไทย จึงขอนำเสนอ เพื่อเป็นทางเลือก หรือ เสริมแนวคิด ให้กับสังคม เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็ว่ากันไปนะครับ

การปฏิรูปประเทศไทย     (ตอนที่ 1)

  1. เดิม ก่อน รัชกาลที่ 5 ปฏิรูประบบบริหารราชการ ประเทศไทยมีโครงสร้างอำนาจแบบการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น คือ ท้องถิ่นปกครองตนเองในรูปของมณฑล เช่น มณฑลถลาง มณฑลโคราช มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลเชียงใหม่ ฯลฯ เป็นต้น
  2. ต่อมา เนื่องจากสถานการณ์โลกในขณะนั้นประเทศมีภัยจากการล่าอาณานิคมจากชาติตะวันตก ร.5 จึงจำเป็นต้องปรับโครงสร้างการปกครองมาเป็นการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งก็เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น  ทำให้ประเทศมีการจัดตั้ง กระทรวง ทบวง กรม  มีการพัฒนาระบบ ไฟฟ้า โทรศัพท์ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ไปรษณีย์ รถไฟ ประปา ฯลฯ ได้อย่างรวดเร็ว  เพราะเป็นการรวม ศูนย์อำนาจ และสั่งการมาจากศูนย์อำนาจ ประกอบกับในขณะนั้นเราได้พระมหากษัตริย์ที่ดี  ทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประเทศจึงมีความเจริญก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด
  3. จากนั้นไม่นาน อำนาจรวมศูนย์ที่อยู่ในมือของกษัตริย์  ถูกเปลี่ยนมาอยู่ในมือของคณะราษฎร์ à ทหาร à และนักการเมือง นายทุนสามานย์ ตามลำดับ  ซึ่งโครงสร้างของประเทศนับจาก ร.5 จนถึงปัจจุบันโดยเนื้อหาแล้วยังคงไม่เปลี่ยน  คือเมื่อมีการรวมศูนย์กลางอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง  ภาษีถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ส่วนกลาง  จึงเป็นเค็กก้อนใหญ่ที่ทุกฝ่ายจ้องจะหาผลประโยชน์ อำนาจเดิมของกษัตริย์จึงตกอยู่ในกลุ่มนักการเมือง หรือ ทหาร สับเปลี่ยนกันไป  มิได้ตกอยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง  หากทหารจะแย่งอำนาจ ก็ทำการรัฐประหารยึดอำนาจได้ง่าย โดยยึดศูนย์อำนาจก็ครอบครองประเทศได้ นักการเมืองนายทุนสามานย์ อยากครอบครองประเทศนี้ ก็ซื้อ ส.ส. และ ซื้อเสียง ด้วยเงินไม่กี่หมื่นล้านบาท ก็ได้อำนาจยึดครองประเทศได้โดยง่าย  เพราะอำนาจไม่ได้ถูกกระจายอยู่ในมือประชาชน
  4. โครงสร้างอำนาจนับจาก ร.5 จนถึงปัจจุบันมีอายุ 150 ปีแล้ว ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง  บัดนี้ถือว่าล้าสมัยอย่างมาก ก่อให้เกิดปัญหามากมายดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน  ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
  5. ถ้าเราลองพิจารณาประเทศที่เขาเจริญ และมีความสงบ มีเสถียรภาพทางการเมืองในโลกนี้แล้ว  เราจะเห็นว่าโครงสร้างอำนาจในประเทศนั้น ๆ มีการกระจายอำนาจ ให้ท้องถิ่นปกครองตนเองอย่างแท้จริง เช่น อังกฤษ  แม้จะมีกษัตริย์ ก็มีการกระจายอำนาจเป็นแค้วน เป็นมณฑล  อเมริกาปกครองเป็นรัฐ  มาเลเซียเป็นรัฐ มีกษัตริย์หมุนเวียนกันครองราชย์ตามวาระ  อินเดียเป็นรัฐ  จีนเป็นมณฑล  ฟิลิปปินส์  ออสเตรเลีย ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นทั้งสิ้น  มิใช่เป็นการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง และประเทศดังกล่าวก็จะไม่เกิดปัญหาที่ทหารออกมาปฏิวัติรัฐประหาร  เพราะไม่สามารถยึดอำนาจได้ เนื่องจากอำนาจได้ถูกกระจายไปสู่ส่วนย่อย  ตกอยู่ในมือของประชาชนและท้องถิ่น  ไม่สามารถแย่งอำนาจมาได้โดยง่าย
  6. เมื่อโครงสร้างอำนาจของไทยเป็นการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางอย่างปัจจุบันจึงก่อให้เกิดวิกฤติปัญหาทางการเมืองมาตลอด  กล่าวคือ
    1. ค่านิยมการเลือกตั้ง ส.ส. ของประชาชนไทยได้พัฒนามาจากรากเหง้าค่านิยมดั้งเดิมของไทย คือระบบ “ไอ้เสือ”  ในสมัยก่อนคนที่เป็น “ไอ้เสือ” จะเป็นที่รักเคารพของชุมชนในหมู่บ้าน  เพราะ“ไอ้เสือ”จะไม่ปล้นหมู่บ้านของตนเอง  แต่จะไปปล้นหมู่บ้านอื่นเมื่อได้ทรัพย์มาก็เก็บไว้เองส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งนำมาแจกชาวบ้าน  เวลาชาวบ้านมีข้อพิพาทกัน“ไอ้เสือ”ก็จะช่วยเคลียร์ปัญหาให้  การเลือก ส.ส. ของชาวบ้านในปัจจุบันก็ไม่ต่างอะไรกับระบบ“ไอ้เสือ” คือต้องเลือกคนโกง ยิ่งโกงมากเท่าไรยิ่งดี  ถือว่ามีฝีมือ  เพราะ ส.ส.“ไอ้เสือ”พวกนี้จะต้องไปปล้นงบประมาณจากที่อื่นให้มาลงบ้านตัวเองและ ส.ส. พวกนี้ก็จะโกงงบประมาณที่ได้มาไว้เป็นของตนเองส่วนหนึ่ง  ชาวบ้านหมู่บ้านนั้นไม่สนใจหรอกว่านักการเมือง ส.ส. จะโกงกันอย่างไร  ขอให้ได้งบประมาณมาลงบ้านตัวเองและตัวเองได้ประโยชน์จากการโกงนั้นด้วยก็ไม่เป็นไร  จึงเกิดค่านิยมว่า“โกงไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน” ดังนั้น ถ้าผมเป็นชาวสุพรรณบุรี ผมก็ต้องเลือก นายบรรหาร ตลอดไป เพราะ นายบรรหาร สามารถแย่งงบประมาณจากที่อื่นมาลงจังหวัดตนได้มากเกินความจำเป็น  แม้งบประมาณที่ได้มา นายบรรหาร จะเอาบริษัทญาติพี่น้องของตนเข้ามากอบโกย ผมซึ่งเป็นชาวสุพรรณก็พอใจ และชื่นชมว่า ส.ส. ของผมเก่งที่ไปปล้นงบจากที่อื่นมาได้  และคิดว่าเงินงบประมาณที่ถูกโกงไปนั้น ไม่ใช่เงินของตน แต่เป็นเงินจากที่อื่นๆ

ดังนั้น ต่อไปทุกเขตการเลือกตั้ง ถ้าชาวบ้านอยากได้งบประมาณมาพัฒนาท้องถิ่นอย่างสุพรรณบุรี ก็จะค่อยๆพากันไปเลือก ส.ส. แบบ“ไอ้เสือ”ส.ส.ที่ปล้นไม่เป็น หรือไม่ใช่ ส.ส. โจร ชาวบ้านจะไม่เลือก และค่อยๆหมดไปจากประเทศไทย

ส่วนชาวบ้านเขตอื่นๆที่ถูกปล้นก็ร้องบอกว่า “ เฮ้ย...ไอ้เสือ บ้านอื่นมาปล้นบ้านเรา ทำไมปล่อยให้มันปล้นเราฝ่ายเดียว ไอ้เสือ บ้านเราต้องไปปล้นเอาทรัพย์เราคืนบ้าง ” ในที่สุดมีการปล้นกันไป ปล้นกันมา เกิดขึ้นระหว่างหมู่บ้านทั่วประเทศตอนแรกไอ้***็ต่อสู้กันเองระหว่างไอ้เสือคนไหนมีวิชาโจรอยู่ยงคงกระพันก็ชนะ ไอ้เสือที่แพ้เขาสู้ไม่ได้ก็ไปปลุกระดมชาวบ้านให้มาช่วยสู้ ไอ้เสืออีกฝ่ายหนึ่งก็ไปปลุกระดมชาวบ้านของตนให้มาช่วยเช่นกันเกิดรบราฆ่าฟันกันระหว่างหมู่บ้าน ในที่สุดขยายวงใหญ่ขึ้นเป็นไอ้เสือฝ่ายค้าน กับไอ้เสือฝ่ายรัฐบาลปลุกมวลชนเข้ามาสู้กัน กลายเป็นสงครามกลางเมือง สิ่งนี้เป็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทยในขณะนี้ซึ่งต้นตอมาจาก “ส.ส.ไอ้เสือ ”

  1. การแก้ปัญหาวิกฤติทางการเมืองในปัจจุบันจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจด้วยการกระจายอำนาจกลับไปสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง  ให้ชาวบ้านได้ปกครองตนเอง เก็บภาษี และบริหารงบประมาณของตนเอง  โดยการยกเลิกระบบการรวมศูนย์อำนาจที่มีการเก็บภาษีทั่วประเทศ แล้วมารวมกันที่ส่วนกลาง กลายเป็นเค็กก้อนใหญ่ที่ไอ้เสือทั้งหลายจ้องจะปล้นจากกองกลาง  และการบริหารปกครองต้องใช้หลักที่ว่า “ใครได้รับเลือกตั้งมาจากที่ใด ให้ปกครองที่นั่น”  เช่น ชาวอีสานเลือกทักษิณ  ชาวใต้เลือกชวน  หากทักษิณเป็นนายกฯ คนใต้ก็ไม่ยอมรับ เพราะเขาไม่ได้เลือก ในทางกลับกัน หากชวนเป็นนายกฯ ชาวอีสานก็ไม่ยอมรับเช่นกัน เพราะเขาชอบทักษิณ

ดังนั้นเมื่อมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริงแล้วท้องถิ่นใดอยากเลือกผู้นำ หรือนักการเมืองส.ส.ที่เป็นไอ้เสือ ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องของคนในท้องถิ่นนั้นโดยตรง เป็นเอกสิทธิของเขา เพราะไอ้เสือที่เขาเลือกมาไม่สามารถไปปล้นทรัพย์จากที่อื่นได้อีกต่อไปแล้ว นอกจากปล้นบ้านหรือท้องถิ่นของตนเองเช่น ชาวสุพรรณบุรีอยากเลือกบรรหารให้มาภาษี แล้วโกงภาษีของชาวสุพรรณ ก็เป็นเรื่องของชาวสุพรรณเป็นเรื่องของชุมชนในท้องถิ่นนั้น ๆ เขาจะตัดสินใจเองว่าเงินภาษีของเขาจะยอมให้ไอ้เสือปล้นหรือไม่ซึ่งเชื่อว่าความรู้สึกของชุมชนจะเกิดความหวงแหนเงินภาษีของเขาเองมากกว่าที่เป็นอยู่ในระบบโครงสร้างปัจจุบันเพราะปัจจุบันเขารู้สึกว่าเงินนั้นมาจากส่วนกลาง และเป็นเงินจากที่อื่น มิใช่เงินของเขาโดยตรงจะเห็นว่าเมื่อมีการกระจายอำนาจออกไปดังกล่าวแล้ว เส้นทางของเงินภาษีจะสั้นชาวบ้านผู้เสียภาษีจะเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของเงินนั้นต่างกับโครงสร้างแบบรวมศูนย์อำนาจในปัจจุบันเส้นทางของเงินภาษีจะยาวทั้งขาเก็บและขากลับมาในรูปงบประมาณเกิดการรั่วไหลได้ตลอดทาง

  1. เมื่อมีการกระจายอำนาจบริหารและอำนาจจัดเก็บภาษีไปสู่ท้องถิ่นแล้ว  รัฐบาลกลางก็จะเหลือหน่วยงานหลักคือ  กลาโหม  ต่างประเทศ การคลัง  และ ศาลสูง เท่านั้น  ส่วนงานอื่นๆ ให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นทั้งสิ้น ไม่ว่า การศึกษา  ตำรวจ  อัยการ  ศาลท้องถิ่น  สาธารณสุข  เกษตร  คมนาคม  แรงงาน  มหาดไทย  วัฒนธรรม  ฯลฯ  บุคลากรทั้งหลายเหล่านั้นก็ต้องไปสังกัดภายใต้รัฐบาลท้องถิ่น
  2. การปรับโครงสร้างอำนาจด้วยการกระจายอำนาจไปสู่รัฐบาลท้องถิ่นนั้นเหมาะสม และสอดคล้องกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  สิ่งแวดล้อม  ฯลฯ  ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรง และซับซ้อนมากยิ่งขึ้น  ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ จะได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง และรู้ปัญหา ความต้องการของชุมชนนั้นได้ดีกว่ารัฐบาลกลาง  ตัวอย่างเช่น
    1. ปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน ปัจจุบันได้รวมศูนย์อำนาจในการออกโฉนดที่ดินไว้ที่ส่วนกลาง ได้แก่ กรมที่ดิน  กรมป่าไม้  ฯลฯ  ผลก็คือชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้นไม่มีที่ทำกิน ไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดิน  แต่คนในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ซึ่งไม่ได้ทำกินหรือเป็นเกษตรกร กลับมีโฉนดที่ดินทั่วประเทศไทย  ดังนั้น ปัญหานี้ต้องกระจายอำนาจให้รัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้สิทธิทำกินในที่ดิน  เพราะเขาจะรู้จักคนในพื้นที่ดี  ส่วนคนนอกชุมชนถ้าจะมีการครอบครองที่ดิน ต้องพิจารณาในอันดับหลังจากชาวบ้านในชุมชนนั้น  หรือต้องถือครองโดยมีเงื่อนไขของการส่งเสริมการลงทุน  มิใช่การเก็งกำไรที่ดิน และให้ชาวชุมชนเข้ามาตรวจสอบอย่างเข้มข้น