Jump to content


Joyzy

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 9 มกราคม 2557
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 12 มกราคม 2557 23:10
-----

Posts I've Made

In Topic: อ.จักร ปะทะ บก.ลายจุด&สอยุด จบภาคแล้วก็....นะ

9 มกราคม พ.ศ. 2557 - 19:01

 

  คำว่า "รัฐาธิปัตย์" นั้น ที่มาของศัพท์พอคร่าว ๆ ก็ว่าไปแล้ว ทีนี้ศัพท์นี้ เมื่อนำมาใช้ในทางโลก มีผู้นำไปกล่าวทำนองว่า  
       "ข้าพเจ้าคือรัฐาธิปัตย์ หรือเป็นรัฐาธิปัตย์" นี่ มันหมายความว่าอย่างไร คำแปลนี่ก็แปลกันได้อยู่แล้วละครับว่า "ผู้เป็นใหญ่ในแว่นแคว้น"
       ในทางโลกเขาจะหมายถึงใครก็แล้วแต่ แต่ถ้าพูดถึงในทางพุทธศาสนา ในฐานะที่ศัพท์นี้เป็นศัพท์ที่มาจากภาษาบาลี ก็หนีความเป็นศัพท์ในทางพุทธศาสนาไปไม่พ้น คือมีคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า "ภาษาบาลีอยู่ที่ใด พุทธศาสนา ก็อยู่ที่นั่น, พุทธศาสนาอยู่ที่ใด ภาษาบาลีก็อยู่ที่นั่น"
       ฉะนั้น คำว่า รัฐาธิปัตย์ นี้ จึงมีความหมายว่า "ผู้เป็นใหญ่ในแว่นแค้วน, หรือ ผู้เป็นใหญ่แห่งแว่นแคว้น" ซึ่ง
       มุ่งหมายเอา ‘พระราชา’ เท่านั้น!!!
       หมายความว่า แว่นแคว้นใด ที่มีการปกครองโดยพระราชา มีพระราชาเป็นประมุข แว่นแคว้นนั้นก็จัดได้ว่ามีพระราชาเป็นใหญ่.
       อีกประการหนึ่ง คำว่า รัฐ นี้ มีความหมายว่า "ประชาชน" หมายถึงประชาชนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้น ๆ ซึ่งพระราชาทรงมีพระอำนาจในการปกครองดูแล คือมีพระอาญาครอบงำชนเหล่านั้นได้
       เวลาที่ท่านให้ความหมายของคำว่า "ราชา" จึงตั้งวิเคราะห์ศัพท์ว่า "สงฺคหวตฺถูหิ รฏฺฐํ รญฺเชตีติ = ราชา ผู้ใดทำ ให้ชาวแว่นแคว้นทั้งหลาย ชื่นชมยินดีด้วย สังคหวัตถุทั้งหลาย ผู้นั้น ชื่อว่า ราชา.
จึงขอสรุปลงตรงที่ว่า
       “รัฐาธิปัตย์” แปลว่า “พระราชา”

 

อาจารย์ทำไมไม่กล้าตอบความหมายของคำนี้ครับผมสงสัยมาก

 

อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ คืออำนาจสูงสุดของรัฐ นั่นก็คืออำนาจรัฐธรรมนูญ

 

เมื่อได้อำนาจสูงสุดของรัฐมาก็ไม่ต่างจากการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญของทหารที่ทำมา ผมอยากเสนอให้คุณกำนันและแกนนำออกมาแถลงการณ์ ให้สัตย์ปฏิญาณ จะไม่ยอมรับการนิรโทษกรรมหากสามารถยึดอำนาจมาได้

 

 

 

 

 

รัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า  มาจาก: http://guru.google.c...a96b37b0d15b7fd
 
กำนันสุเทพเองก็ยังไม่รู้เลยว่า"รัฏฐาธิปัตย์" ที่มาจากมวลมหาประชาชน ครั้งนี้จะออกมาในรูปไหน เพราะเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก เพราะไม่ซ้ำแบบใดในอดีต  ส่วนที่กำนันบอกว่าจะยึดทรัพย์นั้น ก็เป็นเพียงอำนาจที่มาจากอำนาจรัฐของมวลมหาประชาชน อันหนึ่งเท่านั้น เป็นเพียงความหวังที่ทุกๆคนอยากให้เป็นจริงเท่านั้นเอง พวกอีปูลาออก หรือ โดนไล่ออกไปเมื่อไหร่ คงได้รู้กัน ดังนั้น อ.จักรเองก็คงบอกไม่ได้เหมือนกัน ว่าจะเป็นอย่างไร หรือ ไอ้ลายจุด มันรู้

 

การยึดทรัพย์ พิพากษา ตัดสิน เป็นอำนาจตุลาการ ผู้ใช้อำนาจคือศาล

 

กรณีเช่นนี้ คุณสุเทพและมวลมหาประชาชน จะไปยึดอำนาจในการพิพากษา มาจากศาลหรือท่าน???

 

 

ไอ้หนูคงไม่ได้อ่านซินะ ค่อยๆ อ่านดูแล้วกัน รัฏฐาธิปัตย์ที่จะเกิดขึ้น เป็นสิ่งแรกในโลก คงไม่มีใครบอกได้ว่าจะเป็นอย่างไร เอ็งคงบอกได้ซินะ

 

ถกกันด้วยหลักการและเหตุผลนะครับ ไอ้การที่บอกไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไรนิแหละ ที่ท่านบอกกัน มันเลยไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีรูปธรรม ไม่มีหลักการใดๆมารองรับ ผมก็อยากทราบเหมือนกัน ผมเรียนมาด้วยหลักสากล ไม่ได้ศึกษาทฤษฎีของท่านกำนันมา


In Topic: อ.จักร ปะทะ บก.ลายจุด&สอยุด จบภาคแล้วก็....นะ

9 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:23

 

รัฏฐาธิปัตย์ หมายความว่า

๑) รัฏฐาธิปัตย์
เมื่อกล่าวถึงปรัชญากฎหมายก็ต้องกล่าวถึง “กฎหมาย” และเมื่อกล่าวถึง กฎหมาย ก็จำเป็นต้องกล่าวถึงรัฏฐาธิปัตย์ (soverign) ซึ่งสำนักความคิดกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองอธิบายว่าเป็นผู้ทำให้เกิดกฎหมายดังที่ จอห์น ออสติน (John Ausyin) อธิบายว่ากฎหมาย คือ คำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์

ความหมายของรัฏฐาธิปัตย์
สำนักฝ่ายกฎหมายบ้านเมืองให้ความสำคัญมากโดยอธิบายว่า รัฏฐาธิปัตย์ คือผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ส่วนจะเป็นใครก็สุดแท้แต่ว่าเป็นผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินหรือบ้านเมืองใด มีระบอบการปกครองอย่างไร ถ้าเป็นในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ รัฏฐาธิปัตย์ คือ พระมหากษัตริย์

อำนาจของรัฏฐาธิปัตย์ ก็คือการมีอำนาจอธิปไตยนั่นเอง ซึ่งก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ
๑. ผลของการมีอำนาจอธิปไตยทำให้ รัฏฐาธิปัตย์ อยู่ในฐานะสูงสุดในแผ่นดิน และไม่ต้องเชื่อฟังผู้อื่นอีก
ข้อนี้อาจไม่ถูกต้องในเวลานี้แล้วก็เป็นได้ เพราะในระบบประชาธิปไตย รัฏฐาธิปัตย์ อาจอยู่ใต้ข้อจำกัดอำนาจบางประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามทฤษฎีว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้น เมื่อประชาชนแต่ละคนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนแต่ละคนย่อมเป็น รัฏฐาธิปัตย์ แต่ไม่มีประชาชนคนใดอยู่ในฐานะสูงสุดโดยไม่ต้องฟังคำสั่งผู้อื่น
๒. ผลประการแรกทำให้เกิดผลประการที่สองขึ้นมา กฎหมายระหว่างประเทศอันเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ ไม่มีสภาพเป็นกฎหมาย เพราะเมื่อรัฐต่างๆ มีฐานะเท่าเทียมกันก็ไม่มีรัฏฐาธิปัตย์ผู้ใดมีอำนาจบังคับบัญชาให้รัฏฐาธิปัตย์ผู้อื่นอยู่ในฐานะจำยอมได้ และจะเอาผิดถ้ามีการฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศก็มิได้ ความผูกพันระหว่างรัฐต่อรัฐตามกฎหมายระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องถ้อยที่ถ้อยอาศัยกันเท่านั้น
ปัจจุบันทฤษฎีดังกล่าวของ ออสตินเสื่อมความนิยมแล้ว
๓. ข้อจำกัดอำนาจของรัฏฐาธิปัตย์
ในสมัยที่เชื่อกันว่าอำนาจสูงสุดเป็นของพระผู้เป็นเจ้าหรือพระผู้ทรงเป็นใหญ่ เพราะทรงเป็น “ที่สุดของสิ่งที่สุดทั้งปวง” (The Absoluteness) หรือสมบูรณัตถ์ จึงไม่มีข้อจำกัดขัดขวางของอำนาจของพระองค์แต่อย่างใด ครั้นต่อมาเชื่อกันว่าพระสันตะปาปาทรงเป็นใหญ่ หรือองค์อธิปัตย์อยู่เหนือกษัตริย์ทั้งหลายแต่อำนาจของอธิปัตย์องค์นี้ย่อมถูกจำกัดเพราะพระสันตะปาปาจะออกกฎหมายใดให้ขัดหรือแย้งกับกฎของพระผู้เป็นเจ้ามิได้

นักกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองต่างถือกันว่า กษัตริย์ทรงเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดอย่างแท้จริงโดยไม่อยู่ใต้อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ หากถือว่าแม้กษัตริย์เป็นรัฏฐาธิปัตย์แต่ก็เป็นรัฏฐาธิปัตย์ที่เกิดจากความยินยอมหรือการยอมรับนับถือของประชาชน ฉะนั้น จะใช้อำนาจผิดทำนองคลองธรรมมิได้ เพราะถ้าใช้อำนาจผิดธรรมนองคลองธรรมราษฎรก็จะเสื่อศรัทธา และคลายความจงรักภักดี ซึ่งในที่สุดอาจนำไปสู่การล้มล้างอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ก็เป็นได้

สำหรับทฤษฎีที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้นประชาชนย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์ แต่รัฏฐาธิปัตย์เช่นนี้ย่อมถูกจำกัดด้วยอำนาจรัฏฐาธิปัตย์คนอื่นๆ ซึ่งก็มีอำนาจอธิปไตยเท่าเทียมกัน เช่น พระเจ้าแผ่นดินของรัฐ ก. จะทำการใดก้าวก่ายอำนาจอธิปไตยของพระเจ้าแผ่นดินแห่งรัฐ ข. มิได้ เพราะต่างมีอำนาจอธิปไตยเช่นกันฉันใด ราษฎร ก. จะใช้อำนาจอธิปไตยของตนก้าวก่ายอธิปไตยของรัฐ ข. ไม่ได้ฉันนั้น

ในอังกฤษ รัฐสภา เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดหรืออีกนัยหนึ่งรัฐสภาเป็นรัฏฐาธิปัตย์แทนประชาชนตามทฤษฎีว่าด้วยความมีอำนาจสูงสุดของรัฐสภา (supremacy of parliament) “รัฐสภา” มีความหมายพิเศษเพราะประกอบด้วยองค์อำนาจสามประการคือ
๑. สภาสามัญ
๒. สภาขุนนาง
๓. พระมหากษัตริย์
สำหรับพระมหากษัตริย์นั้น แม้โดยทั่วไปไม่ถือว่าเป็นสถาบันรัฐสภา (parliamentary - institution) ดุจดังสภาทั้งสองที่กล่าวข้างต้น แต่เมื่อกล่าวถึงรัฐสภาอังกฤษเป็นองค์อำนาจสูงสุด ตามทฤษฎีเรื่องสภาวะสูงสุดของรัฐสภา คำว่ารัฐสภาในที่นี้ย่อมหมายถึงพระมหากษัตริย์ด้วย (King or Queen in Parliament) เพราะลำพังสภาทั้งสองหาทรงไว้ซึ่งอำนาจสูงสุดไม่
สำหรับปัญหาที่ว่า ทฤษฎีเรื่องสภาวะสูงสุดของรัฐสภาหมายความว่าอย่างไร นักกฎหมาย รัฐธรรมนูญ อังกฤษอธิบายว่ามีความหมายพิเศษสองประการคือ
๑. การมีอำนาจนิติบัญญัติล้นพ้นหาที่สุดมิได้ ดังที่เดอลอล์ม (De Lolme) ได้อธิบายสรุปไว้ทำนองประชดประชันว่า “นักกฎหมายอังกฤษพึงรำลึกไว้เถิดว่ารัฐสภาอังกฤษมีอำนาจบันดาลได้สารพัดในปฐพี จะมียกเว้นก็แต่การแปลงหญิงให้เป็นชาย หรือการแปลงชายให้เป็นหญิงเท่านั้น”
๒. การทรงไว้ซึ่งอำนาจนิติบัญญัติแต่ผู้เดียว องค์กรหนึ่งๆ ของรัฐสภา เช่น สภาสามัญ หรือสภาขุนนาง อาจมีอำนาจนิติบัญญัติเอกเทศ แต่ก็เป็นการมอบอำนาจให้โดยรัฐสภา ซึ่งจะเรียกกลับเสียเมื่อใดก็ได้ ยิ่งกว่านั้นเมื่อรัฐสภาออกกฎหมายใด สถาบันอื่นใด เช่นศาลจะกล่าวหาว่ากฎหมายนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญมิได้ เพราะแท้จริงแล้วกฎหมายนั้นอาจมีผลเป็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ยกเลิกฉบับเก่าก็ได้ตามกฎหมายใหม่ยกเลิกกฎหมายเก่า (lex posterior derogat legi priori)

ข้อจำกัดอำนาจในทางทฤษฎีอาจแบ่งออกได้ดังนี้
๑. กฎหมายธรรมชาติ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายแห่งศีลธรรม (Natural law, international law, rule of morality ) ไดซีย์อธิบายว่าแม้รัฐสภามีอำนาจสูงสุด แต่รัฐสภาจะออกกฎหมายที่ฝ่าฝืนมโนธรรม ศีลธรรมจรรยา กฎหมายธรรมชาติ หรือกฎหมายระหว่างประเทศมิได้
๒. พระราชอำนาจ (Royal prrerogative) ไดซีย์อธิบายว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีอำนาจทางการเมือง (political power) และอำนาจทางสังคม (social power) ทรงเป็นที่เคารพรักของประชาชน ถ้าทรงไม่เห็นด้วยกับการร่างกฎหมายใดหรือทรงทักท้วงความข้อใดรัฐสภาควรโออนอ่อนผ่อนตามพระราชประสงค์
๓. กฎหมายพื้นฐาน (Fundamental law) ไดซีย์กล่าวว่าในกรณีที่รัฐสภาออกกฎหมายสำคัญๆ ที่เป็นพื้นฐานทางสังคม เช่น กฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนรัฐสภาสมัยหลังๆ จะรีบด่วนออกกฎหมายเปลี่ยนแปลงกฎหมายพื้นฐานไม่ได้

กระนั้นก็ตามทางปฏิบัติ รัฐสภาอาจตกอยู่ใต้อำนาจข้อจำกัดอำนาจบางข้อโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัวซึ่งไดซีย์อธิบายดังนี้
๑. ทฤษฎีเจ้าของอำนาจอธิปไตย (doctrine of sovereignty) ไดซีย์อ้างความเห็นของออสติน ที่ว่าแม้อำนาจนิติบัญญัติจะถูกใช้โดยรัฐสภาซึ่งประกอบด้วย สภาสามัญ สภาขุนนาง และ พระมหากษัตริย์ แต่เจ้าของอำนาจนิติบัญญัติที่แท้จริงได้แก่ประชาชนอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้นจะถือว่ารัฐสภาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดได้อย่างไร ในเมื่อประชาชนเป็นผู้เลือกสมาชิกสภาสามัญ และเป็นผู้ให้ความเห็นชอบการเสวยราชสมบัติของพระมหากษัตริย์
๒. เหตุภายนอกอันอาจจูงใจสมาชิกรัฐสภา ไม่ให้ใช้อำนาจมาก (external limitation) ไดซีย์กล่าว่า พลังของประชาชนหรือกลุ่มอิทธิพล (Pressure group) เช่นกลุ่มนักศึกษา กลุ่มเกษตรกร กลุ่มนักวิชาการ อาจมีอิทธิพลเหนือสมาชิกรัฐสภา มิให้ใช้อำนาจสูงสุดของตนในทางที่ผิดทำนองคลองธรรมได้ เช่น สมาชิกรัฐสภาอาจอาจเกรงว่าถ้าออกกฎหมายประเภทนี้ไปแล้วอาจถกหนังสือพิมพ์วิพากษ์วิจารณ์ อาจถูกมติมหาชนคัดค้าน อาจถูกโต้ตอบโดยนักวิชาการ หรืออาจถูกประชาชนเดินขบวนวางหรีดประท้วง เป็นต้น
๓. เหตุภายในอันอาจจูงใจสมาชิกรัฐสภาไม่ให้ใช้อำนาจมาก (intetnal limitation) เหตุภายในหมายถึง ทัศนคติ การศึกษาอบรม พื้นเพทางสังคมและการเมือง ตลอดจนค่านิยมของสมาชิกรัฐสภา เหตุเหล่านี้ย่อมกล่อมเกลาจิตใจของผู้นั้นให้เป็นไปในแนวทางที่ตนมีพื้นเพมา

แม้รัฐสภาจะมีอำนาจสูงสุด แต่ก็ไม่ต้องกลัวว่ารัฐสภาจะใช้อำนาจบาทใหญ่คุกคามประชาชน เพราะรัฐสภาย่อมกลัวพลังของประชาชน และสมาชิกสภาเองต่างก็มีที่มาจากสังคมนั้นๆ จึงมีจิตสำนึกทางกรเมืองสูง และมีวิญญาณของสุภาพชนในระบอบประชาธิปไตยอย่างครบถ้วน จึงเป็นที่หวังได้ว่าจะไม่ใช้อำนาจของตนออกนอกรีตนอกรอย
 
กำนันสุเทพเองก็ยังไม่รู้เลยว่า"รัฏฐาธิปัตย์" ที่มาจากมวลมหาประชาชน ครั้งนี้จะออกมาในรูปไหน เพราะเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โลก เพราะไม่ซ้ำแบบใดในอดีต  ส่วนที่กำนันบอกว่าจะยึดทรัพย์นั้น ก็เป็นเพียงอำนาจที่มาจากอำนาจรัฐของมวลมหาประชาชน อันหนึ่งเท่านั้น เป็นเพียงความหวังที่ทุกๆคนอยากให้เป็นจริงเท่านั้นเอง พวกอีปูลาออก หรือ โดนไล่ออกไปเมื่อไหร่ คงได้รู้กัน ดังนั้น อ.จักรเองก็คงบอกไม่ได้เหมือนกัน ว่าจะเป็นอย่างไร หรือ ไอ้ลายจุด มันรู้

 

การยึดทรัพย์ พิพากษา ตัดสิน เป็นอำนาจตุลาการ ผู้ใช้อำนาจคือศาล

 

กรณีเช่นนี้ คุณสุเทพและมวลมหาประชาชน จะไปยึดอำนาจในการพิพากษา มาจากศาลหรือท่าน???


In Topic: อ.จักร ปะทะ บก.ลายจุด&สอยุด จบภาคแล้วก็....นะ

9 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:19

อำนาจรัฏฐาธิปัตย์ คืออำนาจสูงสุดของรัฐ นั่นก็คืออำนาจรัฐธรรมนูญ

 

เมื่อได้อำนาจสูงสุดของรัฐมาก็ไม่ต่างจากการรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญของทหารที่ทำมา ผมอยากเสนอให้คุณกำนันและแกนนำออกมาแถลงการณ์ ให้สัตย์ปฏิญาณ จะไม่ยอมรับการนิรโทษกรรมหากสามารถยึดอำนาจมาได้


In Topic: อ.จักร ปะทะ บก.ลายจุด&สอยุด จบภาคแล้วก็....นะ

9 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:13

ผมดู

 

 

ใครมีคลิปที่กำนันพูดว่า จะเป็นรัฐาธิปัตย์ บ้าง

เอามาลงหน่อย

:)

 

ผมดูมากับตาครับ วันที่ 7 ม.ค. ตอนสองทุ่มท่านกำนันขึ้นเวที บอกว่าถ้าได้เปนรัฐาธิปัตย์ จะยึดทรัพย์ยิ่งลักษณ์ และครอบครัว


In Topic: อ.จักร ปะทะ บก.ลายจุด&สอยุด จบภาคแล้วก็....นะ

9 มกราคม พ.ศ. 2557 - 18:07

  คำว่า "รัฐาธิปัตย์" นั้น ที่มาของศัพท์พอคร่าว ๆ ก็ว่าไปแล้ว ทีนี้ศัพท์นี้ เมื่อนำมาใช้ในทางโลก มีผู้นำไปกล่าวทำนองว่า  
       "ข้าพเจ้าคือรัฐาธิปัตย์ หรือเป็นรัฐาธิปัตย์" นี่ มันหมายความว่าอย่างไร คำแปลนี่ก็แปลกันได้อยู่แล้วละครับว่า "ผู้เป็นใหญ่ในแว่นแคว้น"
       ในทางโลกเขาจะหมายถึงใครก็แล้วแต่ แต่ถ้าพูดถึงในทางพุทธศาสนา ในฐานะที่ศัพท์นี้เป็นศัพท์ที่มาจากภาษาบาลี ก็หนีความเป็นศัพท์ในทางพุทธศาสนาไปไม่พ้น คือมีคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า "ภาษาบาลีอยู่ที่ใด พุทธศาสนา ก็อยู่ที่นั่น, พุทธศาสนาอยู่ที่ใด ภาษาบาลีก็อยู่ที่นั่น"
       ฉะนั้น คำว่า รัฐาธิปัตย์ นี้ จึงมีความหมายว่า "ผู้เป็นใหญ่ในแว่นแค้วน, หรือ ผู้เป็นใหญ่แห่งแว่นแคว้น" ซึ่ง
       มุ่งหมายเอา ‘พระราชา’ เท่านั้น!!!
       หมายความว่า แว่นแคว้นใด ที่มีการปกครองโดยพระราชา มีพระราชาเป็นประมุข แว่นแคว้นนั้นก็จัดได้ว่ามีพระราชาเป็นใหญ่.
       อีกประการหนึ่ง คำว่า รัฐ นี้ มีความหมายว่า "ประชาชน" หมายถึงประชาชนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้น ๆ ซึ่งพระราชาทรงมีพระอำนาจในการปกครองดูแล คือมีพระอาญาครอบงำชนเหล่านั้นได้
       เวลาที่ท่านให้ความหมายของคำว่า "ราชา" จึงตั้งวิเคราะห์ศัพท์ว่า "สงฺคหวตฺถูหิ รฏฺฐํ รญฺเชตีติ = ราชา ผู้ใดทำ ให้ชาวแว่นแคว้นทั้งหลาย ชื่นชมยินดีด้วย สังคหวัตถุทั้งหลาย ผู้นั้น ชื่อว่า ราชา.
จึงขอสรุปลงตรงที่ว่า
       “รัฐาธิปัตย์” แปลว่า “พระราชา”

 

อาจารย์ทำไมไม่กล้าตอบความหมายของคำนี้ครับผมสงสัยมาก