Jump to content


Quezonla

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 11 มกราคม 2557
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2557 22:20
-----

Topics I've Started

ถ้าจะให้การประชุม 7 ฝ่ายได้ข้อสรุปที่เป็นทางออกที่ดีของประเทศ ขอเสนอให้...

21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 20:35

1. ตัดสัญญานการเชื่อมต่อการสื่อสารจาก ทักษิณ ชินวัตร มายังลูกจ้าง ทุกช่องทาง

2. เชิญลูกจ้างทักษิณมาเข้าห้องอบรมบ่มนิสัย (เกลี้ยกล่อม)
3. จัดประชุมวิสามัญแบบถ่ายทอดสดทุกคำพูด เพื่อประชาชนจะได้รู้ว่าใครบ้างที่เป็นโจรปล้นชาติ
4 ใครไม่เข้าประชุมถือว่าสละสิทธิในการแสดงความคิด ต้องยอมรับข้อสรุปที่ได้
5. ประชุมยาวต่อเนื่อง จัดห้องพักไว้ให้เลยในตึกนั้น ประชุมสลับกับอบรมบ่มนิสัย จะเอาเป็นอาทิตย์ก็ยังได้ ถ่ายทอดสดเฉพาะการประชุม
ต้องได้ผลแน่


คลิบแมวขำๆ

3 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 20:22

สาวฝึกโยคะ


จดหมายจากโกตี๋ถึงไม้หนึ่ง

2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 22:33

วันนี้ เพจ "แฉ ความลับ" แฉได้ร้อนแรงมาก เป็นเรื่องเบื้องหลังไม้หนึ่ง ที่มีส่วนรู้เห็นในเรื่องการก่อการร้าย ร่วมกับแก๊งค์โกตี๋ และก็มี จดหมายฉบับนี้มาให้ดู ซึ่งมีเผยแพร่อยู่ที่อื่นๆด้วยในอินเทอร์เน็ต เพื่อนๆว่านี่เป็นจดหมายที่โกตี๋เขียนจริงๆหรือเปล่าอะคะ แล้วโกตี๋จะแฉไม้หนึ่งไปให้มันได้อะไรกันนะ 

 

 

1-1147.jpg


ติดอาวุธทางปัญญา กับ Red cyber academy

26 เมษายน พ.ศ. 2557 - 10:02

ขอเบิกค่า ปชส. ด้วยเคอะ
 
Attached File  redcyber.jpg   136.17K   41 downloads
 
 

พ.ร.บ.พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง เป็นพ.ร.บ. ที่มีเนื้อหาสั้นที่สุดในโลก

1 เมษายน พ.ศ. 2557 - 18:41

 
มีทั้งสิ้น 3 version (2535 2538 2550)   แต่จะอ้างอิงเนื้อหาส่วนใหญ่มาจาก version ที่ 1
version ที่ 2 มีงอกยาวแนบมา มีแต่เรื่องเงินเดือนผลประโยชน์ ไม่มีสาระอะไรเลย 
อ่านดูรวมๆแล้ว มันช่างว่างเปล่า นี่แหละ มันคือต้นตอของปัญหา ที่ทำให้เราได้คนที่ไร้ความสามารถมานั่งในสภา
 
พระราชบัญญัติ
ระเบียบข้าราชการการเมือง
พ.ศ. ๒๕๓๕
                  
 
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕
เป็นปีที่ ๔๗ ในรัชกาลปัจจุบัน
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
 
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
 
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้
 
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕”
 
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นไป
 
มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘
(๒) คำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ ๓๓ ลงวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙
(๓) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๑๙
(๔) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๒๐
(๕) ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๓ ลงวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๐
(๖) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๒๑
(๗) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๒๒
(๘) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๑
 
มาตรา ๔ ข้าราชการการเมืองได้แก่บุคคลซึ่งรับราชการในตำแหน่งข้าราชการการเมือง ดังต่อไปนี้
(๑) นายกรัฐมนตรี
(๒) รองนายกรัฐมนตรี
(๓) รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(๔) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(๕) รัฐมนตรีว่าการทบวง
(๖) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง
(๗) รัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง
(๘) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
(๙) ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี
(๑๐) ที่ปรึกษารัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(๑๑) เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(๑๒) รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
(๑๓) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(๑๔) รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(๑๕) เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(๑๖) ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(๑๗) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(๑๘) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
(๑๙) เลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
(๒๐) ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการทบวง
ข้าราชการการเมืองซึ่งมิใช่รัฐมนตรีจะมีจำนวนเท่าใด ให้เป็นไปตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้
 
มาตรา ๕ ให้ถือว่าข้าราชการการเมืองเป็นข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน
 
มาตรา ๖ ให้ข้าราชการการเมืองได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง
บทบัญญัติตามมาตรา ๓๕ แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. ๒๔๙๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๙ มิให้ใช้บังคับแก่การรับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการการเมืองผู้กลับเข้ารับราชการใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้
ข้าราชการการเมืองซึ่งดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาหรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วย ถ้าได้รับเงินประจำตำแหน่ง หรือเงินเพิ่มสำหรับสมาชิกสภาดังกล่าวแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งในฐานะข้าราชการการเมืองอีก
การจ่ายเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการการเมือง ให้เป็นไปตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด
 
มาตรา ๗ การแต่งตั้งและการออกจากตำแหน่งของรัฐมนตรี ให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
 
มาตรา ๘ การแต่งตั้งข้าราชการการเมืองตามมาตรา ๔ (๘) (๙) (๑๑) (๑๒) (๑๓) (๑๔) (๑๕) (๑๖) และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีให้นายกรัฐมนตรี ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทางการเมือง และเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัตินี้ได้
การแต่งตั้งข้าราชการการเมืองตามมาตรา ๔ (๑๗) (๑๘) (๑๙) (๒๐) และที่ปรึกษารัฐมนตรี ให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งบุคคลซึ่งเห็นสมควรตามเหตุผลในทางการเมือง และเป็นผู้มีคุณสมบัติที่จะเป็นข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัตินี้ได้
 
มาตรา ๙ ผู้ซึ่งจะได้รับแต่งตั้งเป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่งอื่นนอกจากตำแหน่งรัฐมนตรี ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
(๑) มีสัญชาติไทย
(๒) อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี
(๓) เป็นผู้เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญด้วยความบริสุทธิ์ใจ
(๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
(๕) ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมอันดี
(๖) ไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
(๗) ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดอันได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ
(๘) ไม่เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก จากรัฐวิสาหกิจ
(๙) ไม่เคยถูกลงโทษให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก เพราะกระทำผิดวินัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนหรือตามกฎหมายอื่น
 
มาตรา ๑๐ ข้าราชการการเมืองนอกจากตำแหน่งรัฐมนตรีออกจากตำแหน่งเมื่อ
(๑) ตาย
(๒) ลาออก
(๓) ถูกสั่งให้ออก ไม่ว่าจะเป็นการออกโดยมีความผิดหรือไม่ก็ตาม
(๔) นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้สั่งแต่งตั้งออกจากตำแหน่ง
(๕) ขาดคุณสมบัติตามมาตรา ๙
 
มาตรา ๑๑ ให้ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘ อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัตินี้
 
มาตรา ๑๒ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
 
                       ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
                       อานันท์ ปันยารชุน
                      นายกรัฐมนตรี
 
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงอัตราเงินเดือนข้าราชการการเมืองให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน และกำหนดจำนวนตำแหน่งข้าราชการการเมืองให้ชัดเจน เพื่อช่วยในการปฏิบัติราชการของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๘
 
มาตรา ๔ ให้ยกเลิกบัญชีอัตราตำแหน่ง เงินเดือน และเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งข้าราชการการเมืองพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการแยกบัญชีอัตราตำแหน่งและเงินเดือนและบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการการเมืองไปบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะแล้ว สมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการการเมืองให้สอดคล้องกัน จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐
 
 
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๔) ของมาตรา ๙ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการ
การเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕* และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
 
“(๔) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือเป็นโรคตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา”
 
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ห้ามมิให้เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล เพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสภาพทางกาย แต่บทบัญญัติมาตรา ๙ (๔) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นบทบัญญัติที่ถือปฏิบัติต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสภาพทางกาย สมควรแก้ไขบทบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้