ทุกวันนี้ดูเหมือนประชาธิปไตยที่ผมเคยเรียนมาถูกบิดเบือน จึงอยากเตือนความจำกันหน่อยครับ
1. จริงๆ แล้วการเลือกตั้งเป็นแค่กลไกหนึ่งในระบอบประธิปไตย และไม่มีกลุ่มไหนที่ปฏิเสธการเลือกตั้ง คนไทยทุกคนชอบการเลือกตั้ง เพราะอิสระเสรีอยู่ในสายเลือดของคนไทยทุกคนครับ อย่าให้ใครใช้การเลือกตั้งมายุงยงแบ่งแยกพวกเรา
2. จริงๆ แล้วอำนาจอธิปไตยของพวกเรามี 3 อำนาจ คือ อำนาจบริหาร, อำนาจนิติบัญญัติ และ อำนาจตุลาการ
3. จริงๆ แล้วเรามอบอำนาจอธิปไตยผ่านการเลือกตั้งแค่ 2 อำนาจ คือ อำนาจบริหาร และอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่อำนาจตุลาการเรามอบให้ศาลเป็นผู้ดูแล
4. อำนาจตุลาการไม่สามารถใช้ผ่านการเลือกตั้งได้ เพราะอำนาจนี้ต้องใช้ความรู้ด้านข้อกฏหมาย, การไต่สวนที่ถูกต้อง และพยานหลักฐานที่จัดแจ้ง จึงจะตัดสินความถูกผิดโดยไม่ม่ข้อโตแย้งได้ ดังนั้นผู้จะเป็นศาลได้ต้องผ่านการเรียนด้านกฏหมายตามหลักสูตรสากล และผ่านการสอบคัดเลือกตามกระบวนการ ครับ
5. ความถูกผิดตัดสินโดยเสียงข้างมากไม่ได้ เช่น สมมุติในห้องเรียนมีของหายและนาย ก. โดนกล่าวหา ครูจะให้นักเรียนทั้งห้องโหวตไม่ได้ว่า นาย ก. เป็นขโมยหรือไม่ ถึงแม้ ถ้า นาย ก. ชนะโหวตเพราะเพื่อนรักและเชื่อถือ แต่ถ้ามีใครคนหนึ่ง พบหลักฐานในกล้องวงจรปิดมาแสดง นั้นหมายถึง นาย ก. ก็ต้องถูกครูตัดสินว่าผิด
6. ผมเห็นนักวิชาการบางคนประดิษฐ์คำ “ระบบศาล”, “ระบอบศาล” บ้าง “ตุลาการภิวัติ” บ้าง ว่าจะล้มล้างประชาธิปไตยจากการเลือกตั้ง จริงๆ แล้วไม่มีหรอกครับคำนี้ ผู้ไม่หวังดีประดิษฐ์คำขึ้นมาเพื่อเบี่ยงเบนอำนาจตุลาการของพวกเราเท่านั้น มีแต่ศาลคือผู้ใช้อำนาจตุลาการของปวงชนชาวไทย
7. อย่าลืมครับศาลจะตัดสินตามพยานหลักฐานและข้อกฏหมายตามหลักสากล ซึ่งพิสูจน์และโตแย้งกันได้ระหว่งการไต่สวน ดังนั้นศาลตัดสินแล้วต้องถือว่าสิ้นสุดผู้ใดจะโต้แย้งไม่ได้
8. ผู้ใดที่ปฏิเสธอำนาจศาล ผู้นั้นคือผู้ที่ท้าทายอำนาจอธิปไตยของพวกเรา แล้วใครกันคือผู้ที่คิดล้มล้างระบอบประชาธิปไตยที่มี 3 อำนาจในปัจจุบัน
สรุปคือ เราให้อำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติโดยผ่านการเลือกตั้ง และให้อำนาจตุลาการผ่านทางศาลเพื่อตรวจสอบและถ่วงดุล เพื่อความสงบเรียบร้อยโดยรวม