เพิ่งสมัครเข้ามาครับ ตามมาจากในเฟสบุ๊ค ปกติสิงแค่พันทิป... บอกเลยว่าเป็น 6 หน้า ที่ยาวนานมาก มั่นใจว่าน่าจะคุยกันด้วยเหตุผลได้
...
ต้องออกตัวก่อนเลยว่าในหกหน้าที่ผ่านมา หลายๆท่านคุยกันเรื่องเศรษฐกิจ คุยกันเรื่องสร้างความเท่าเทียม ในด้านเศรษฐกิจ
ซึ่งเท่าที่ผมเคยศึกษาสิ่งที่หลายๆท่านพูดมา มันอยู่ในโมเดล สมุดปกเหลือง ของคุณปรีดีอะนะครับ ...แต่ผมก็ไม่คิดว่ามันแย่หรอก ดีจะตายถ้าทำได้จริง
ผมจะไม่ท้าวความเก่าความหลังที่พวกหัวปฏิรูปอยู่ๆ revolution ผสมพันธุ์กับ Conservative กลายเป็นเผด็จการทหารแบบงงๆ ในช่วงแรกของการพัฒนาประชาธิปไตยได้ไง
....
แต่ที่ผมจะพูดคือ citizen perception in social right กล่าวคือ ในทางเศรษฐศาสตร์มองว่า มนุษย์เป็นสัตว์เศรษฐกิจ (แนวคิดของหหลายๆท่านในกระทู้นี้ก็นัยแบบนั้น) แต่ผมมองว่า มันมีสาเหตุมากกว่านั้น และเป็นสาเหตุทางสังคมที่ถูกมองข้ามไปอย่างไม่ใยดี... นั่นคือ ความต้องการที่จะ "มีอย่างเขา" "เป็นอย่างเขา" จะมากล่าวแบบหอคอยงาช้างว่า คุณมีที่ดิน มีระบบเกษตรกรรมของคุณ ผมก็มีธุรกิจ มีเมืองของผม มันไม่ใช่ครับ ในเมื่อคุณเป็นเกษตรกรคุณก็เอา "เกษตรทฤษฎีใหม่" หรือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ไปใช้สิ ....ใจร้ายมากครับที่พูดแบบนั้น เพราะเมื่อถามกลับคืนว่า คุณใช้บ้างหรือยัง? คำตอบที่เด่นชัด คือ ไม่เห็นจำเป็น ก็ผมไม่ใช่เกษตรกร...
...
ผมมองว่ารากเหง้าของปัญหาเกิดจากประชาชนขาดที่พึ่งครับ... และคนๆเดียวเป็นที่พึ่งตลอดไปไม่ได้
ด้วยกระแสโลกาภิวัฒน์ ทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคมและวัฒนธรรม ก่อให้เกิดแรงผลักดันในทุกย่อมหญ้าของสังคมที่ต้องการ "มีอย่างเขา" "เป็นอย่างเขา"
มันคือความต้องการทางสังคมที่จะพัฒนาตัวเองและแข่งขันกับคนอื่น คนที่เขาคิดว่าอยู่สูงกว่า...
...
แตทว่า คนที่อยู่สูงกว่า(ทางสังคม) กับปิดช่องด้วยการบอยคอตรัฐสวัสดิการ กลายเป็นประชาธิปไตยเป็น elitism (ต้องตามผู้นำตลอด เพราผู้นำไม่ได้ให้สิทธิ์เรานำบ้างเลย) เราต้องแยกให้ออกระหว่างนโยบายประชานิยม กับนโยบายรัฐสวัสดิการ ปฏิเสธไม่ได้หรอกครับว่า พรรคการเมือง นักการเมือง ขาย "นโยบาย" ตำราไหนๆก็บอกแบบนี้ ความเป็นจริงก็บอกแบบนี้ ...แล้วนโยบายอะไรที่คนส่วนใหญ่เป็นที่ต้องการ "เขาก็เลือกพรรคการเมืองแบบที่เขาต้องการ"
...
ใครบ้างไม่เห็นแก่ตัว ใครบ้างไม่อยากได้รับโอกาส ใครบ้างไม่อยากมีความฝัน ความหวัง ... อย่าใช้วาทกรรมด้อยการศึกษาเลยครับ แต่ได้โปรดใช้วาทกรรมที่ว่า เรามองเห็นต่างกัน เรามีความต้องการต่างกัน คนบางคนข้าวยังไม่มีจะกรอกหม้อ หนี้รายวันก็มาเก็บเป็นพัลวัน ความต้องการพื้นฐานที่คือต้องการมีชีวิตรอดไปวันๆ ความต้องสูงสุด ก็ไม่ต่างจากคนทุกคนในสังคม คือ ต้องการดีกว่าที่เคยเป็น
...
รัฐไทยไม่ใช่รัฐในอุดมคติมีความหลากทางความคิด แม้มีวัฒนธรรมและความเชื่อที่ใกล้เคียงกัน และยังเป็น "รัฐด้อยพัฒนาตามสภาพ (คำนี้ผมใช้ในงานวิจัยของผม)" กล่าวคือ เมื่อเดินออกจากเมืองกรุงไป คุณเห็นที่มันต่างกันลิบลับ เห็นความหลากหลายของสภาพความเป็น ความไร้มาตรฐานในการดำเนินชีวิตและความเสี่ยงในการดำรงที่ชีวิตที่ประเทศกำลังพัฒนาควรจะเริ่มแก้ไข
...
รัฐไทยไม่อาจยืดหยัดอยู่ได้ในสังคมโลก เท่าที่ทรัพยากรมี รัฐไทยมีดีที่ติดทะเลและมีชายฝั่งที่เยอะมาก... แต่รัฐไทยความสามารถในการสร้างรายไดด้วยตนเอง
ทุกอย่างต้องมีการลงทุน การลงทุนอย่างจริงจัง ในทุกๆด้าน สิ่งที่เร่งด่วนมากที่ผมมองเห้นคือ ลดเวลาในระบบการศึกษา สร้างระบบขนส่งและโลจิสติกส์ เปิดใช้งานระบบประชาธิปไตยทางตรง ใช้งานระบบตรวจสอบและติดตามภาครัฐ และใช้ระบบแยกอำนาจในการบริหารราชการแผ่นดิน
...
และยุบๆหลายๆสิ่งที่ไม่จำเป็นทิ้งไปซะ.... รัฐไทยหนักอึ้งไปด้วยผลประโยชน์ที่ถูกสร้างมาในรุปตัวแทน คือสถาบันต่างๆในระบบ ตีกันจนวุ่นวายไปหมด เหมือนคอมเครื่องหนึ่งที่มีแอนตี้ไวรัสหลายตัว
....
แล้วถ้าหากถามว่า แล้วต้องการอะไรอะไร ตอนนี้รัฐไทยต้องการ "ช้างเผือกจากป่า" คนที่พิสูจน์ตัวเองแล้วว่า กล้าวจากจุดที่รากหย้าที่สุด มาสูงจุดสูงสุดทางจิตวิญญาณ ความศรัทธา ความสามารถ ท่ามกลางความขัดแย้ง
...
ถ้าหากรากเหง้าของปัยหาคือความต้องการที่ฝั่งแน่นอยู่ในใจคนทุกคนคือ เป็นสิ่งที่ดีกว่าเก่า หากแม้การคิดว่า "การพยายามเป็นสิ่งที่ดีกว่าเก่า" เป็นสิ่งที่ไร้ศีลธรรม คนที่ตะเกียกตะกายขึ้นมาจากปรักตรงนั้นคงไม่มี ในเมื่อไม่มีที่ให้เขายืน ไม่สิ..ให้พวกเขายืน สิ่งคนมีคุณธรรมและพัฒนาแล้วควรหยิบยื่นให้คือ ผ้าสะอาดและน้ำดีๆให้อาบ แแม้ไม่มีเสื้อผ้า แต่ผมเชื่อว่า ด้วยน้ำใจไมตรีแบบนั้น เหล่าผู้ออกจากป่า ย่อมหาได้ไม่ยากครับ..
แล้ว "ถ้าหากคนๆนั้นมีอยู่จริง" เหล่าผู้มีการศึกษา ผู้มีต้นตระกูลใหญ่นับย้อนไปหลายร้อยปี จะให้โอกาสเด็กบ้านนอกขึ้นมายืนอยู่บนจุดสูงสุดของประเทศไหม? ให้โอกาสให้เขาได้ดีกว่าที่เป็นไหม
...
ผมเชื่อว่ารากเหง้าของปัญหาคงเห็นได้ชัดแล้วนะครับ
ฝากถามเรื่องความเห็นแก่ตัวและวาทกรรมโอกาส? ด้วยนะครับ..
ด้วยความเคารพ
....
เสื้อแดง 2.0 (ควายแดงล้มเจ้า) ตัวจริง หน้าตาเป็นยังไง ดูใว้นะครับเพื่อนๆ
งั้นผมถามกลับไปสั้นๆ คำถามเดียว ...
หลังจากพวกคุณล้มเจ้ากันสำเร็จแล้ว ฉลองชัยชนะ เฮฮาปาร์ตี้เฉลิมฉลองชัยชนะที่มีเหนือเจ้าได้แล้ว หลังจากงานเลี้ยงจบแล้ว ไอ้ที่ดินที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องกว่า 40% ที่ถูกทิ้งร้างว่างเปล่าและอยู่ในมือนายทุนนั้น มันจะไหลกลับเข้ามาสู่มือเกษตรกรที่ต้องการมีที่ดินทำกินเป็นของตัวเองได้อย่างไร ด้วยวิธีการใด วานควายแดงล้มเจ้าช่วยตอบข้อสงสัยของผมให้กระจ่างด้วยครับ
อ้อ.. อย่าตอบแบบชักแม่น้ำทั้งห้า หรือน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง ผมอยากได้คำตอบสั้นๆ 1 - 2 - 3 ประมาณนี้ครับ
เอ๋ อธิบายหน่อยสิครับว่า? ควายแดงนี่มันเป็นยังไง ล้มเจ้านี่มันตรงไหนครับ?
ผมแค่บอกว่า ประเทศมันต้องการการพัฒนา การแข่งขันหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้ในสังคมเราเอง แนวคิดหอคอยงาช้างแบบคอมมิวนิสต์ของพวกท่าน โซเวียตก็เป็นตัวอย่างแล้วว่า
มันล้มเหลว ความเท่าเทียมทางเศรษฐกิจมันไม่มีทางเกิดขึ้นได้อยู่แล้ว แต่ผมต้องการเน้นย้ำว่า ความฉิบหายมันเกิดเพราะประชาชนของเราปรับตัวไม่เท่าทันกระแสโลก เท่านั้นครับ
ไม่ได้เกิดเพราะระบบ ระบบที่ไหนๆในโลก มันก็มีลักษณะแบบนี้อยู่แล้ว
อันที่จริงในสายของต่างชาติ ระบบของไทยเองก็ถือว่าเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพและมั่นคงในระดับหนึ่งนะครับ การเปลี่ยนผ่านมักมาพร้อมความขัดแย้งเสมอ ความขัดแย้งของคนที่ต่างคิดว่าตัวเองถูกต้องและดีกว่า ผมละเพลียจริงๆ กับการยัดเยียดให้คนที่เห็นต่างเป็นฝ่ายตรงข้าม แต่ก็เอาเถอะครับ ถ้าเป็นควายแล้วมันคิดได้เสรี ก็เป็นควาย ดีกว่าคนที่มีเอาไว้จูงครับ
อุสาห์คิดว่าจะได้รับคำโต้แย้งและข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุผล แต่ลืมนึกไป เข้ามาให้เขารุมยำเราแท้่ๆเลย
ถึงผมจะเพลียกับหลายๆอย่าง แต่ผมยังไม่เข้าใจกับคำว่า "ผมล้มเจ้า" ไม่ทราบว่าในข้อเขียนของผม มีอะไรที่บ่งบอกอย่างนั้นบ้าง ผมไม่ได้พาดพิงสถาบันเลย?
คนที่บอกว่าตัวเองรักเจ้า แต่พอพูดเรื่องการเมือง หรือเถียงสู้เขาไม่ได้เมื่อไหร่ เอ๊ะอะก็ เรารักในหลวง ไอ้พวกล้มเจ้า บลาๆ สิ้นคิดมากครับ จะว่าไปก็น่าคิดนะครับ ระหว่างคนที่หมิ่นพระบรมฯ กับคนโหนเจ้า ใครทำเจ้าเสียหายมากกว่ากัน
ผมอาจไม่ได้รักเจ้ามากมายเช่นพวกท่าน แต่ผมก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ในด้านทุนการศึกษา จบจากมหาวิทยาลัยที่ใช้ราชสกุลเป็นชื่อ ผมไม่เชื่อว่าการรักเจ้า สามารถกระทำได้ด้วยการพูด แต่ทุนพระราชทาน และความรู้จากสถาบัน สามารถทดแทนได้ด้วยการแสดงออก การกระทำที่เป็นการพัฒนาชาติบ้านเมือง ถึงผมจะไม่ได้ทำอะไรเพื่อชาติมากมาย อย่างน้อยๆ ผมไม่ก็ไม่เคยเรียกเพื่อนร่วมชาติว่า ควาย ดูถูกรากเหง้าของตนเองที่มาจากชนบท ผมเชื่อว่าทุกคนมีเจตจำนงค์เสรี ที่จะแสดงออกได้โดยไม่ได้รับการเดียดฉันท์ สถาบันของพระองค์ท่านสอนผมมาแบบนั้นครับ
ด้วยความเคารพ ผมยังไม่เห็นความจำเป็นต้องไล่ 1 2 3 ถ้าคนที่คิดจะพัฒนาในชาติ แฃ้วเป็นควาย เป็นพวกล้มเจ้า ในประเด็นที่ผมจะกล่าวต่อ ก็คงไม่จำเป็นอีกแล้ว น่าเสียดายจริงๆ
“ฝ่าย เราบอกท่านว่า อย่าต่อสู้คนชั่ว ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน ก็จงหันแก้มซ้ายให้เขาด้วย ผู้ใดอยากจะฟ้องศาลเพื่อจะปรับเอาเสื้อของท่านไป ก็จงให้เสื้อคลุมแก่เขาเสียด้วยถ้าผู้ใดจะเกณฑ์ท่านให้เดินทางไปหนึ่ง กิโลเมตร ก็ให้เลยไปกับเขาถึงสองกิโลเมตร...” มธ. ๕.๓๙-๔๑