Jump to content


คนไทยคนหนึ่ง

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 13 ตุลาคม 2551
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: ส่วนตัว
-----

Topics I've Started

ประเทศไทย จะพัฒนาไปทางไหนในอนาคต

30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 08:00

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เคยมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าไม่มีชาติใดจะมั่งคั่งได้เพราะทำการเกษตรแบบดั้งเดิม สยบามจึงไม่สามารถอยู่ได้เพราะเกษตรกรรมดั้งเดิม 
และสยามก็ไม่มีพื้นฐานทางอุตสาหกรรมแบบยุโรป ไม่มีโนว์เฮา ไม่มีทุน ไม่มีเทคโนโลยี ไม่มีตลาด สยามจึงไม่มีทางทำอุตสาหกรรมของตัวเองได้
ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าแนวทางที่เหมาะแก่สยามคือการพัฒนาประเทศเป็นแบบเกษตรอุตสาหกรรม นั่นคืออุตสาหกรรมการเกษตร 
ตลอดรัชกาลทรงนำพาประเทศเดอินหนทางสายนี้ทำให้สยามมั่งคั่งมากที่สุดในภูมิภาค แต่ธงชัยผืนนี้ถูกเลิกล้มไปหลังสิ้นรัชกาล แล้วมาเปลี่ยนเป็นเดินหนทางอุตสาหกกรรมถึงทุกวันนี้
ครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่เราจะอัญเชิญธงชัยของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ กลับมาอีกครั้ง พัฒนาภาคเกษตรให้เป็นแบบอุตสาหกรรม พัฒนาการแปรรูปผลิตผลการเกษตรเพื่อส่งไปขายทั่วโลกแทนที่จะส่งเพียงวัตถุดิบซึ่งได้ราคาน้อยกว่ามาก
.....................................................
 
 
 
 

แนวทาง ปฎิรูป สำนักงานอัยการสูงสุด

30 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 07:00

แนวทางการปฏิรูปสำนักงานอัยการสูงสุด
โดย สิริอัญญา 
วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม 2557

หลายปีที่ผ่านมานี้ คนไทยชอกช้ำใจกับข่าวคราวในเชิงลบของพนักงานอัยการ ที่ได้ออกสู่สาธารณะอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย เป็นข่าวคราวเกี่ยวกับการกระทำที่คนไทยรู้สึกว่าสวนทางกับความยุติธรรมอย่างร้ายแรงหลายครั้ง 

กระทั่งเห็นว่าเป็น อุปสรรคต่อการอำนวยความยุติธรรมและการปราบปรามการทุจริต ที่มักจะมีข่าวคราวว่าการดำเนินคดีอาญาของ ป.ป.ช. จะเกิดความขัดแย้งจากทางพนักงานอัยการและสูญเสียเวลาไปเป็นอันมาก กระทั่ง ป.ป.ช.ต้องฟ้องคดีเอง และหลายคดี ป.ป.ช.ก็เป็นฝ่ายชนะคดี โดยที่ผู้เกี่ยวข้องในการไม่ยอมฟ้องคดีไม่เคยต้องรับผิดชอบใด ๆ เลย

กระทั่งมีการ
ใช้อำนาจถอนฟ้องคดีที่มีการฟ้องคดีต่อศาลแล้ว เพื่อเอื้อประโยชน์ทางการเมืองให้นักการเมือง มีการสั่งไม่ฎีกาในคดีที่มีปกติต้องฎีกา เพื่อประโยชน์ของนักการเมือง รวมทั้งการเข้าไปเป็นกรรมการของรัฐวิสาหกิจ ทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน และในที่สุดก็เกิดความเสียหายใหญ่หลวงแก่รัฐวิสาหกิจหลายครั้ง 

เหล่านี้เป็นความชอกช้ำระกำใจที่คนไทยต้องการเห็นการปฏิรูปสำนักงานอัยการสูงสุด 

ยิ่งล่าสุดนี้พฤติกรรมของอดีตอัยการสูงสุดที่ให้คำตอบต่อฝ่ายทหารว่า นาทีนี้ไม่ลาออก และก่อนหน้านั้นเล็กน้อยที่แสดงท่าทีอันส่อว่าจะกระทบต่อพระมหากษัตริย์ สร้างความเจ็บช้ำน้ำใจอย่างยิ่ง 

เพราะคำพูดสุดท้ายของอดีตอัยการสูงสุดที่รู้กันทั้งบ้านทั้งเมืองว่า มีความสัมพันธ์ลึกล้ำกับระบอบทักษิณ จึงทำให้เกิดคำพูดแรกสุดของฝ่ายทหารคือ ถ้าอย่างนี้ผมยึดอำนาจ และเกิดการรัฐประหารครั้งที่ 13 ขึ้นดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ 

เราจะปฏิรูปสำนักงานอัยการสูงสุดกันอย่างไร? จะต้องรู้จักฐานะและภูมิหลังของหน่วยงานนี้เสียก่อน 

ข้อแรก แต่ก่อนหน้านี้พนักงานอัยการทั้งหลายสังกัดอยู่ในกรมอัยการ ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่เป็นทนายแผ่นดินในการฟ้องคดีอาญาผู้กระทำผิดตามกฎหมาย ที่กระทบต่อรัฐและว่าต่างแก้ต่างให้กับหน่วยราชการหรือส่วนราชการที่เป็นคดีความ 

ฐานะของ
กรมอัยการคือกลไกหนึ่งของรัฐบาลในการฟ้องผู้กระทำความผิดต่อศาล และในการเป็นทนายความว่าต่างแก้ต่างให้ส่วนราชการและข้าราชการ ฐานะดังกล่าวจึงเป็นฐานะที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาล ไม่ใช่องค์กรอิสระที่จะทำอะไรตามใจชอบก็ได้ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 

นับตั้งแต่ประเทศไทยมีระบบกฎหมายขึ้นใช้บังคับเป็นต้นมา กรมอัยการและฐานะของพนักงานอัยการเป็นดั่งนี้ กระบวนการยุติธรรมขั้นกลางที่ต่อเนื่องมาจากตำรวจคือพนักงานสอบสวนซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมขั้นต้น จึงเป็นองค์กรหรือเครื่องมือของรัฐบาลในการบังคับใช้กฎหมาย ไม่ใช่ฐานะที่เป็นอิสระ และได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยดีตลอดมา 

ต่อมาก็มีความพยายามที่จะยกฐานะของอัยการให้ทัดเทียมหรือเสมอกับฝ่ายตุลาการ ทั้ง ๆ ที่เป็นคนละเรื่องคนละราว เพราะฝ่ายตุลาการนั้นเป็นอำนาจตุลาการ เป็นอธิปไตยหนึ่งทัดเทียมกับอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติ แต่หน่วยงานระดับกรมอย่างอัยการกลับใฝ่ฝันที่จะมีฐานะองค์กรและฐานะของบุคลากรเสมอด้วยสถาบันตุลาการ 

ความพยายามดังกล่าวไม่สามารถฝ่าฝืนหลักการที่
อัยการคือกลไกหรือเครื่องมือของฝ่ายบริหาร และไม่อาจนำไปเปรียบเทียบกับสถาบันตุลาการได้ ยกเว้นเฉพาะด้านเงินเดือนก็ได้มีการเคลื่อนไหวรณรงค์จนกระทั่งบุคลากรของอัยการมีฐานะและเงินเดือนทัดเทียมกับฝ่ายตุลาการ 

เริ่มมีความแปลกเปลี่ยนเกิดขึ้นจากการวิ่งเต้นเข้าหานักการเมือง ยอมตนเป็นเครื่องไม้เครื่องมือของนักการเมืองเพื่อผลักดันให้อัยการมีฐานะทัดเทียมกับอำนาจตุลาการ และในที่สุดความแปรเปลี่ยนนั้นก็เป็นผลให้นักการเมืองแต่งตั้งให้พนักงานอัยการเข้าไปเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ โดยอ้างว่าเพื่อช่วยดูแลทางด้านกฎหมาย ซึ่งเป็นคนละเรื่องเพราะหากเป็นปัญหาทางกฎหมาย
หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ต้องปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไม่ใช่อัยการ 

ทำให้บางครั้งอัยการมีบทบาทกลายเป็นที่ปรึกษาแทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปเลยก็มี การเข้าไปเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจทำให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อนและเกิดความเสียหายขึ้น และเมื่อมีคดีความเกิดขึ้นก็มีการเอื้อประโยชน์หรือดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ ทำให้เสื่อมเสียต่อผลประโยชน์แห่งรัฐ 

แต่ครั้งหนึ่งเมื่อมีการปฏิวัติเกิดขึ้น ผู้นำของอัยการคนหนึ่งมีบทบาทในการร่างประกาศคณะปฏิวัติ จึงได้ฉวยโอกาสนั้นก่อการเคลื่อนไหวเรื่อยมา เป็นผลให้มีการแยกอัยการออกจากกระทรวงมหาดไทย ตั้งเป็นสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้บริหารสูงสุดก็คืออัยการสูงสุด ทำนองเดียวกับประธานศาลฎีกา หรือผู้บัญชาการทหารสูงสุดฝ่ายทหาร

และเมื่อมีการตรารัฐธรรมนูญในระยะหลัง ก็ได้มีการตราให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นองค์กรอิสระ และได้ก่อให้เกิดความรู้สึกที่เจ็บช้ำน้ำใจ จนก่อเกิดเป็นกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปขึ้น


ประเทศนี้ไม่สามารถปล่อยให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นอย่างนี้ต่อไปได้ แล้วจะปฏิรูปกันอย่างไร? 

ประการแรก จะต้องกลับสู่สถานะเดิม คือเป็นกลไกหนึ่งของรัฐ ดังที่เป็นมาแต่เดิม ไม่ใช่เป็นองค์กรอิสระที่จะฟ้องใครหรือไม่ฟ้องใคร หรือจะถอนฟ้องใครอย่างไรก็ได้ดังที่เป็นอยู่ในขณะนี้ นั่นคือต้องตรากฎหมายให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นหน่วยงานระดับทบวงในสังกัดกระทรวงยุติธรรม โดย ให้อัยการสูงสุดเป็นหัวหน้าส่วนราชการเหมือนเดิมและโครงสร้างตามเดิม ทั้งต้องไม่ตรารัฐธรรมนูญยกฐานะเป็นองค์กรอิสระอีกต่อไป

ประการที่สอง จะต้องห้ามเด็ดขาดไม่ให้พนักงานอัยการไปดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการในรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานของรัฐ ในกรณีมีปัญหาทางกฎหมาย ต้องให้ไปปรึกษาหารือกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เว้นแต่มีการประสานงานในระหว่างการดำเนินคดีกับส่วนราชการ ก็เป็นเรื่องของการประสานงานเท่านั้น เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างสิ้นเชิง เช่นเดียวกับฝ่ายตุลาการที่ห้ามเด็ดขาดมิให้มีผลประโยชน์ทับซ้อนในลักษณะนี้ และต้องไม่มีข้อยกเว้นเป็นช่องทางแล้วใช้ช่องทางนี้ก่อผลประโยชน์ทับซ้อนจนเกิดความเสียหายใหญ่หลวงขึ้น

ประการที่สาม จะต้องตราระเบียบการอัยการว่าด้วยการสั่งฟ้อง ว่าด้วยการดำเนินคดี ว่าด้วยการว่าต่าง แก้ต่าง ว่าด้วยการถอนฟ้อง ถอนอุทธรณ์ ถอนฎีกา ให้มีความชัดเจน และเป็นหลักปฏิบัติ ทำนองเดียวกับพระธรรมนูญศาลยุติธรรมและวิธีพิจารณาความของสถาบันตุลาการ 

ประการที่สี่ จะต้องมีผู้ตรวจการสำนักงานอัยการสูงสุด ในสังกัดของกระทรวงยุติธรรม เพื่อทำหน้าที่ตรวจราชการและการปฏิบัติของสำนักงานอัยการสูงสุดและข้าราชการอัยการเพื่อถ่วงดุลและคานอำนาจกับคณะกรรมการอัยการ เพื่อทำให้ความยุติธรรมดำเนินไปอย่างถูกต้องเที่ยงตรง 

สำนักงานอัยการสูงสุดกลายเป็นองค์กรอิสระ และเกิดผลดังที่เห็น ๆ กันอยู่ก็เพราะการปฏิวัติ ดังนั้นการกลับไปสู่สถานะเดิมเพื่ออำนวยความยุติธรรมในบ้านเมืองให้เป็นที่พึ่งของอาณาประชาราษฎรทั้งหลายก็ต้องกลับด้วยการปฏิวัติด้วยเช่นเดียวกัน!
 
 

ปฏิบัติราชการแทน รักษาราชการแทน

14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 05:35

 ปฏิบัติราชการแทน รักษาราชการแทน

โดย : รักษ์ มนตรี @sutthirak_ntv

 

"อำนาจ" ย่อมมากับ "หน้าที่ความรับผิดชอบ" กล่าวคือ เมื่อ "มีหน้าที่" ก็ต้อง "มีอำนาจ" เมื่อ "มีอำนาจ" ก็ต้อง "มีหน้าที่"

กฎหมายปกครอง วางกรอบ"อำนาจหน้าที่" นั้นเกิดจากกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ การทำนิติกรรมทางปกครอง ผู้กระทำต้องมีอำนาจตามกฎหมาย

เวลานี้ เมืองไทยเรามีตำแหน่ง"ปฏิบัติราชการแทน" ผู้คนถกเถียงกันมากว่า ต่างกับ "รักษาราชการแทน" อย่างไร

"นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล" รักษาการรองนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนรักษาการนายกรัฐมนตรี

"ปฏิบัติราชการแทน" คือ การมอบอำนาจ กฎหมายมอบอำนาจให้ใครผู้นั้นต้องใช้อำนาจเอง แต่มีข้อยกเว้นอยู่ว่า อำนาจทางปกครอง มีการมอบอำนาจได้ การมอบอำนาจนี้เกิดขึ้นได้ตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายบอกไม่ให้มอบก็มอบอำนาจให้ใครไม่ได้

การมอบอำนาจ ให้ "ปฏิบัติราชการแทนเป็นการมอบอำนาจให้เฉพาะกาลนั้นๆ ผู้ได้รับมอบอำนาจ ให้ปฏิบัติราชการแทนแค่ไหนก็ทำได้แค่นั้น

 

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 หมวด 5 เรื่องการปฏิบัติราชการแทน

 

มาตรา 38 อำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นที่ผู้ดำรงตำแหน่งใดจะพึงปฏิบัติ หรือดำเนินการตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งใด หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องใด ถ้ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ประกาศ หรือคำสั่งนั้น หรือมติของคณะรัฐมนตรีในเรื่องนั้นมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้เป็นอย่างอื่น หรือมิได้ห้ามเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้น อาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นในส่วนราชการเดียวกันหรือส่วนราชการอื่น...

การมอบอำนาจให้ทำเป็นหนังสือ

 

มาตรา 39 เมื่อมีการมอบอำนาจแล้ว ผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอำนาจนั้น โดยผู้มอบอำนาจจะกำหนดให้ผู้รับมอบอำนาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนต่อไป โดยจะกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการใช้อำนาจนั้นไว้ด้วยหรือไม่ก็ได้...

ส่วน "การรักษาราชการแทนคือ การที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ กฎหมายให้อำนาจหน้าที่ให้ผู้ใดผู้หนึ่ง อาจเป็นไปตามตำแหน่ง ถ้าผู้นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้ กฎหมายก็กำหนดให้มีผู้รักษาราชการแทน เพื่อให้การดำเนินงานของทางราชการดำเนินต่อไปได้

 

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 หมวด 6 เรื่องการรักษาราชการแทน

 

มาตรา 41 ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รักษาราชการแทน

ถ้ามีรองนายกรัฐมนตรีหลายคน ให้คณะรัฐมนตรี มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน ถ้าไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีคนใดคนหนึ่งเป็นผู้รักษาราชการแทน

ความแตกต่างระหว่างการปฏิบัติราชการแทน กับการรักษาราชการแทน คือ

"การปฏิบัติราชการแทนเป็นการมอบอำนาจ โดยผู้มีอำนาจให้มีอำนาจกระทำการในเรื่องนั้นๆ ได้

"การรักษาราชการแทน" เป็นการที่กฎหมายให้อำนาจแก่ผู้รักษาราชการแทน ในกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจหน้าที่นั้นไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ผู้รักษาราชการแทนจึงมีอำนาจเทียบเท่ากับผู้ดำรงตำแหน่งนั้น

"การปฏิบัติราชการแทนกับ "การรักษาราชการแทนผู้ที่เป็นเจ้าของ "อำนาจ" ยังอยู่ในตำแหน่งแต่ปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ชั่วคราว

 

กรณี "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ที่หลุดจากตำแหน่งไปทันทีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย จึงถือว่าไม่มีนายกรัฐมนตรี ย่อมจะไม่มี "อำนาจ" ตั้งผู้ "ปฏิบัติราชการแทน" หรือ "รักษาราชการแทน" ได้

 

ที่มา:http://www.bangkokbi...าราชการแทน.html

 

พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 

http://regu.tu.ac.th...ta/Data/A81.pdf


วันที่ 9 ธันวา วันเดินเล่นบนท้องถนนของชาวกรุงเทพ

7 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 05:22

วันที่ 9ธค วันเดินเล่นบนท้องถนนของชาวกรุงเทพ

 สำหรับคนที่คิดว่าเดินทางไปพื้นที่ชุมนุมลำบาก ก็ชุมนุมกันบนนถนนแถวบ้านครับ

สำหรับคนที่กลัวแก็สน้ำตา และกลัวการสลายการชุมนุม

ก็ไม่ต้องไปพื้นที่ชุมนุมครับ แค่ออกมาแสดงตนบนท้องถนนก็พอครับ

ไม่ต้องไปไกลครับ เอารถมาจอดบนถนนใกล้บ้าน แล้วก็เตรียมปิกนิคบนถนนทั้งวัน

ตำรวจมันไม่มีปัญญาจะมาสลายได้ทุกถนน หรอกครับ

โอกาสสุดท้ายแล้วครับ ถ้าไม่ออกจากบ้านกันทุกคน

ก็ต้องเป็นขี้ข้าแม้วตลอดไปครับ

 

คนที่จะออกมาเดิน วันที่9ธค. ควรต้องเตรียมน้ำและอาหารติดตัวด้วยนะครับ

เพราะคิดว่าคนจะออกมาเยอะมากๆ อาจจะหาน้ำและอาหารได้ลำบากครับ

และควรเตรียมใส่กางแกงผ้าอ้อมผู้ใหญ่ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเสียเวลาหาห้องน้ำครับ

 

 รัฐบาล ถ้าเป็นพระก็ปาราชิกไปแล้ว

ตอนนี้ก็แค่อลัชชีห่มผ้าเหลืองเท่านั้น

เราไม่ได้ทำรัฐประหาร แค่มาทวงอำนาจเราตืนเท่านั้น

เพราะอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย ตามมาตรา3 ของรัฐธรรมนูญ

เรามาทวงอำนาจอธิปไตยของเราคืน โดยการออกมาแสดงพลังบนท้องถนนครับ