Jump to content


firstsong

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2551
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2556 20:43
-----

Topics I've Started

ขนาดพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังยอมฟังเสียงชาวบ้านที่เดือดร้อนเลยแล้ววัดธรรมกายเป็นใคร

29 มกราคม พ.ศ. 2556 - 09:51

ก่อนอื่นขอเกริ่นก่อนว่าผมไม่ใช่คนที่เชี่ยวชาญด้านธรรมะอะไร

 

แต่ก็อยากออกมาพูดประเด็นการเดินธุดงค์ในเมือง (ในเมืองเขาเรียกธุดงค์ด้วยเหรอว่ะเนี่ย)

 

พอดีไม่ค่อยได้เข้ามา ดูข่าวในทีวี  เจอข่าวกรณี ธุดงค์ธรรมชัย ของวัดธรรมกาย

 

ผมเองไม่ค่อยอยากแตะวัดนี้เพราะพระที่เขาปฏิบัติดีและเคร่งครัดก็พอมีอยู่บ้าง 

 

แต่คราวนี้ไม่ไหวจริง  ๆ

 

 

 

ผมเองได้เข้าไปหาข้อมูลต่าง ๆ  จะเจอประมาณนี้ 

 

 

"คนเขาจะทำบุญกัน  ถ้าไม่ทำก็ไม่ต้องพูด

 

คนแก่ที่เขาไปไม่ไหว  เขาอยากทำบุญกับพระธุดงค์จะไปทำที่ไหน

 

ส่งเสริมให้คนในเมืองรักการทำบุญมันผิดตรงไหน"

 

 

 

 

ในสมัยพุทธกาล  องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ได้ทราบข่าวว่า  พระภิกษุได้เดินทางธุดงค์ไปเผยแผ่ศาสนา

 

ตามที่ต่าง ๆ  แต่ปรากฏว่า  ในช่วงที่ท้องนากำลังงอก  พืชไร่ออกดอกออกผล  พระภิกษุกลุ่มนั้นได้เหยียบย่ำพึชพันธุ์

 

ธัญญาหารของประชาชนล้มตายเป็นจำนวนมาก   ชาวบ้านก็ต่างพาไปร้องเรียนกับองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า

 

ภายหลังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้บัญญัติพระธรรมวินัยขึ้นมาเพิ่มเติม  จนเกิดเป็นวันเข้าพรรษา  มาถึงในปัจจุบัน

 

 

 

ทีนี้อยากให้วัดนี้ลองฟังเสียงคนที่เขาเดือดร้อนบ้าง  คนที่นั่งในรถแล้วรถติดเป็นกิโล 

 

คนที่จิตตกเวลาเห็นชุดขาวจำนวนมากเดินปิดเลนซ้ายถนน 2-3  เลน

 

ถ้าคุณไม่ฟังเสียงคนที่เดือดร้อน  คุณก็ไม่ใช่ศิษย์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

และแถมยังเป็นการทำลายศาสนาทางตรงอีกด้วย

 

 

 

ขออนุญาตฝากไว้อีกอย่างการ  สำหรับการที่ออกมาณรงค์ให้คนมาล้างเท้าพระภิกษุนั้น  ขอเตือนว่า

 

พระภิกษุส่วนใหญ่ที่มาเดินส่วนมากก็เป็นพระใหม่  ไม่ค่อยทราบวิธีหลีกเลี่ยง 

 

การที่อิสตรีไปถูกเนื้อต้องตัวแม้เพียงปลายเล็บย่อมไม่เป็นผลดี  พลอยให้พระภิกษุที่บวชใหม่

 

ต้องแปดเปื้อน  และ  ผู้ที่ล้างเท้าให้พระนั้นแทนที่จะได้บุญกลับได้บาปแทน 

 

 


เปิดใจ sme คนหนึ่งกับค่าแรง 300 -----------------

12 มกราคม พ.ศ. 2556 - 10:31

ผมขออนุญาตเป็นหนึ่งในตัวแทนของเอสเอ็มอีออกมาพูดความในใจนะครับ
และอยากให้หลาย  ๆ  ท่านมองพวกเราชาว  SME  
เราเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลาง  เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนแล้วก็ประมาณ
98 - 99 %  ของกิจการทั้งหมดทั่วประเทศ
 
พนักงานเองก็มีหลากหลายกลุ่ม  แต่กระผมขออนุญาตแบ่งตามนี้แล้วกันนะครับ
 
กลุ่มที่ 1  ลูกจ้างที่มีประสบการณ์  มีอายุงาน  มีความประพฤติดี  มีความภักดีต่อองค์กรสูง   
แน่นอนครับว่า  คนกลุ่มนี้ค่าแรงเขาเกิน 300 แน่นอนหรือบางคนอาจจะถึง  3 - 4 หมื่นต่อเดือน
 
กลุ่มที่ 2  ลูกจ้างที่มีประสบการณ์บ้างหรือ  มีอายุงานไม่มาก  เช่นประมาณ  1 - 3  ปี  
คนกลุ่มนี้อยู่ในช่วงที่ค่าแรงมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว  ถึงค่าแรงก่อนหน้านี้จะไม่ถึง 300  แต่แน่นอนว่านายจ้างก็ต้องกัดฟันให้เขาจนได้
เพราะว่าเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงและยังเป็นตัวตายตัวแทนให้กับพนักงานกลุ่มแรกได้บ้าง
 
กลุ่มที่ 3  ลูกจ้างที่ไม่มีประสบการณ์  ไม่มีอายุงาน  คนกลุ่มนี้น่าเป็นห่วงที่สุดเพราะโอกาสตกงานสูงมาก  
เพราะคนกลุ่มนี้ถูกทดแทนได้ง่าย   เช่น  ด้วยเครื่องจักร  หรือ  แรงงานต่างด้าว
และโดยส่วนมากคนกลุ่มนี้มักจะเป็นเด็กใหม่ที่เริ่มก้าวเข้าสู่วัยทำงาน   แน่นอนว่าพวกเขาส่วนมากไม่ยินดีที่จะทำ
งานหนัก  ทางรอดของคนกลุ่มนี้มีทางเดียวคือ  ต้องเรียนรู้งานให้ไวที่สุด  ฝึกอบรมหาความรู้ให้ได้มากที่สุด
และต้องยอมทนทำงานหนักในช่วงแรก
 
บางทีคนที่อยู่ในสถานะของลูกจ้าง  อาจจะมองว่าบรรดานายจ้างมักเอารัดเอาเปรียบ   
ผมขอบอกเลยว่านายจ้างหรือเจ้าของกิจการขนาดเล็ก  โดยส่วนใหญ่ก็เติบโตมาจากการเป็นลูกจ้างทั้งนั้น  
ค่อย  ๆ  ทำ  ค่อย ๆ  เรียนรู้  ค่อย ๆ  เก็บเงิน  สั่งสมประสบการณ์  กว่าจะเก็บหอมรอมริบ
ได้แต่ละบาทแต่ละสตางค์ยากมาก  เหมือนกับเด็กแบเบาะที่หัดเดิน  
 
ธุรกิจใหญ่สามารถระดมทุนจากภายนอกได้ง่าย  (ยิ่งถ้าเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับสัมปทานของภาครัฐยิ่งระดมได้ง่ายใหญ่) จากหุ้น จากตราสาร
แต่สำหรับ  sme  เงินทุนที่ระดมได้ก็ได้จาก  เงินส่วนตัว  ญาติพี่น้อง  เงินกู้จากธนาคาร   การเข้าถึงแหล่งทุนยากกว่ามาก
 
การทำธุรกิจนั้นไม่มีอะไรที่แน่นอน   บางทีก็หมุนเดือนชนเดือน  บางทีก็เอาตรงนู้นโปะตรงนี้ ตรงนี้โปะตรงนั้น
บางทีการเป็นเจ้าของกิจการก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องรวยกว่าลูกน้องเสมอไปครับ  
 
ค่าแรง  300  ทำให้คนไม่มีความกระตือรือร้น  ทำไปเรื่อย ๆ เหนื่อยก็พัก  ยังไงก็ได้ค่าแรง  300  
หารู้ไม่ว่า  ใครก็ต้องการค่าแรง  300  ทั้งนั้น  
ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับกลไกของตลาด   Demand  and  Supplied  
 
ผมเองก็เห็นด้วยกับเรื่องค่าแรง  ซึ่งก็ควรมีการปรับขึ้นอาจจะปีหรือสองปีครั้ง  และควรปรับตามเรทเป็นเปอร์เซ็นต์
แต่ละจังหวัด  เช่น  พะเยาจากเดิม  xxx  เพิ่มตามเปอร์เซ็นต์สมมติ  20%  ในสองปี
 
ตอนนี้เกิดปัญหา  ลูกจ้าง - นายจ้าง  หลายอย่าง  
ลูกจ้างเองก็กลัวนายจ้างจะปลดออก  ส่วนนายจ้างก็กลัวว่าลูกน้องจะบีบเรื่องค่าแรง
ทั้ง  ๆ  ที่ก่อนหน้านี้ก็อยู่กันเหมือนครอบครัวเหมือนพี่น้อง  ลุงป้าน้าอา  กันมาตลอด
 
ถึง   SME  จะไม่ใช่ฐานเสียงคุณ  แต่คุณก็ต้องดูแลเขาบ้างเหมือนที่คุณดูแลคนกลุ่มอื่น
พวกเขาไม่ใช่กลุ่มคนที่มีเยอะมากมายอะไร   แต่อย่าลืมว่าเมื่อมีวิกฤตเศรษฐกิจเกิดขึ้นทั่วโลก
คนกลุ่มนี้สามารถดำรงอยู่ได้และแถมยังสามารถดึงเงินต่างประเทศเข้าประเทศได้มากมาย  
ผมเชื่อว่าวิกฤตปี  40  จะเละหนักกว่านี้หลายเท่าตัวหากไม่มี  SME