Jump to content


ส่งข่าว

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 1 มีนาคม 2552
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2557 18:33
-----

#1160228 หรือจะเป็นแค่ ประธานเถื่อน

โดย ส่งข่าว on 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 18:31

ในส่วนของตรงนี้ ผมว่าจาฤก ถูกนะ ในส่วนของพระราชกฤษฎีกา ถ้าจะออกพระราชกฤษฎีกา เพื่อเลือกประธาน และ/หรือ รองประธานโดยเฉพาะอาจทำไม่ได้ครับ และถ้าดูตามระเบียบวาระนี้นี้ http://www.senate.go...ting1&mid=19127 จะเห็นว่ามีแค่ 2 เรื่องคือ

ทั้งนี้ ถ้าคิดว่าไม่ถูกต้อง ก็ต้องไปตามขั้นตอนศาลครับ ลองพิจารณากันดูละกันนะ 



#510117 ถามสมาชิกสภากาแฟ(เป็นความรู้รอบตัว)เกี่ยวกับสุกำพล (กรณีลดสเปก)

โดย ส่งข่าว on 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 20:13

ผมสงสัยว่า ถ้าบริษัท ที่ประมูลได้งานไป ไม่สามารถทำงานได้ตามสัญญา ก็น่าจะปรับ แล้วยกเลิกงาน แล้วประมูลใหม่ ให้บริษัทที่มีความสามารถในการทำได้ตามเสปกเข้ามารับงานแทนนะ
อีกอย่างถ้าผมเป็น 1 ในบริษัท ร่วมประมูล และสามารถทำงานได้ด้วยตามเสปก บริษัท เหล่านี้ไม่ฟ้องเอาเหรอครับ ไปลดเสปกทีหลังนี่ หรือว่าทำไม่ได้อ้ะ


#489676 ==กรณี รมว.กลาโหมปลดอภิสิทธิ์ กฤษฎีกาเคยยืนยันไม่มีกฎหมายรองรับ==

โดย ส่งข่าว on 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 20:30

ถ้าขึ้นทะเบียนช้ากว่ากำหนดก็ปรับ ไม่เกิน 300 ครับ
http://sadsadeekatek...mo=3&art=592212

ผมเองก็ขึ้นทะเบียนช้า โดนปรับไปเหมือนกัน แล้วตอนเรียนก็ทำเรื่องผ่อนผันเหมือนกัน

มาตรา ๒๓ การที่จะเรียกทหารกองเกินเข้ารับราชการกองประจำการเมื่อใด อายุใดบ้างและกี่ครั้งนั้นให้เป็นไปตาม
ที่กำหนดในกฎกระทรวง

คนที่ผ่อนผันก็ไม่ได้ไปคัดเลือกตอนอายุครบ 21 นะครับ มันก็เลือ่นไป


#484852 มาร์ค ปักหลักสู้ เตรียมฟ้องศาลปกครอง คำสั่งถออยศไม่ชอบด้วยกฎหมาย ลั่น เอาผิดค...

โดย ส่งข่าว on 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 18:09

ขอแสดงความเห็นตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖
ซึ่งจะเห็นว่าตาม พรบ. นี้ ผู้ที่ทำผิดจะถูกลงทัณฑ์ และอาจถูกปลดประจำการ
แต่ ทหารกองหนุน มิใช่ทหารประจำการ ...อืม จะปลดทหารกองหนุนนี่...
แถมไม่มีการลงทัณฑ์ ตามมาตรา 8 มาก่อน แต่ สั่งปลดเลยนี่ อืม...


#484841 มาร์ค ปักหลักสู้ เตรียมฟ้องศาลปกครอง คำสั่งถออยศไม่ชอบด้วยกฎหมาย ลั่น เอาผิดค...

โดย ส่งข่าว on 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 17:57

พระราชบัญญัติ
ว่าด้วยวินัยทหาร
พุทธศักราช ๒๔๗๖


ประชาธิปก ป.ร.

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

โดยที่สภาผู้แทนราษฎรถวายคำปรึกษาว่า เพื่อปฏิบัติการตามความในมาตรา ๗ แห่งประมวลกฎหมายอาชญาทหาร และเนื่องจากทหารบก ทหารเรือ ได้รวมเป็นกระทรวงเดียวกัน สมควรตราบทบัญญัติว่าด้วยวินัยทหารเสียใหม่

จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรดังต่อไปนี้

หมวด ๑
บทเบ็ดเสร็จทั่วไป


มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช ๒๔๗๖”

มาตรา ๒ ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา ๓ ให้ยกเลิกกฎว่าด้วยยุทธวินัยและการลงอาญาทหารบกฐานละเมิดยุทธวินัย ลงวันที่ ๒๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๔ กฎเสนาบดีว่าด้วยอำนาจลงอาญาทหารเรือ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๖๕ และบรรดากฎ ข้อบังคับอื่น ๆ ในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วในพระราชบัญญัตินี้ หรือซึ่งแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้

หมวด ๒
ว่าด้วยวินัย


มาตรา ๔ วินัยทหารนั้น คือ การที่ทหารต้องประพฤติตามแบบธรรมเนียมของทหาร

มาตรา ๕ วินัยเป็นหลักสำคัญที่สุดสำหรับทหาร เพราะฉะนั้นทหารทุกคนจักต้องรักษาโดยเคร่งครัดอยู่เสมอ ผู้ใดฝ่าฝืนท่านให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิด
ตัวอย่างการกระทำผิดวินัยทหารมีดังต่อไปนี้
(๑) ดื้อ ขัดขืน หลีกเลี่ยง หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเหนือตน
(๒) ไม่รักษาระเบียบการเคารพระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย
(๓) ไม่รักษามรรยาทให้ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมของทหาร
(๔) ก่อให้แตกความสามัคคีในคณะทหาร
(๕) เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่ราชการ
(๖) กล่าวคำเท็จ
(๗) ใช้กิริยาวาจาไม่สมควร หรือประพฤติไม่สมควร
(๘) ไม่ตักเตือนสั่งสอน หรือลงทัณฑ์ผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิดตามโทษานุโทษ
(๙) เสพเครื่องดองของเมาจนถึงเสียกิริยา


มาตรา ๖ ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่จัดการระวังรักษาวินัยทหารที่ตนเป็นผู้บังคับบัญชาอยู่นั้นโดยกวดขัน ถ้าหากว่าในการรักษาวินัยทหารนั้นจำเป็นต้องใช้อาวุธ เพื่อทำการปราบปรามทหารผู้ก่อการกำเริบก็ดี หรือเพื่อบังคับทหารผู้ละทิ้งหน้าที่ให้กลับทำหน้าที่ของตนก็ดี ผู้บังคับบัญชาและผู้ที่ช่วยเหลือในการนั้นจะไม่ต้องรับโทษในการที่ตนได้กระทำไปโดยความจำเป็นนั้นเลย แต่เมื่อมีเหตุดังกล่าวนี้ผู้บังคับบัญชาจักต้องรายงานไปยังผู้บังคับบัญชาเหนือตน และรายงานต่อไปตามลำดับชั้นจนถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมโดยเร็ว

มาตรา ๗ ทหารผู้ใดกระทำผิดต่อวินัยทหารจักต้องรับทัณฑ์ตามวิธีที่ปรากฏในหมวด ๓ แห่งพระราชบัญญัตินี้ และอาจต้องถูกปลดจากประจำการ หรือถูกถอดจากยศทหาร

หมวด ๓
อำนาจลงทัณฑ์


มาตรา ๘ ทัณฑ์ที่จะลงแก่ผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารดั่งกล่าวไว้ในหมวด ๒ นั้น ให้มีกำหนดเป็น ๕ สถาน คือ
(๑) ภาคทัณฑ์
(๒) ทัณฑกรรม
(๓) กัก
(๔) ขัง
(๕) จำขัง


มาตรา ๙ ภาคทัณฑ์ คือ ผู้กระทำผิดมีความผิดอันควรต้องรับทัณฑ์สถานหนึ่งสถานใดดังกล่าวมาแล้ว แต่มีเหตุอันควรปราณี จึงเป็นแต่แสดงความผิดของผู้นั้นให้ปรากฏหรือให้ทำทัณฑ์บนไว้
ทัณฑ์กรรมนั้น ให้กระทำการสุขา การโยธา ฯลฯ เพิ่มจากหน้าที่ประจำซึ่งตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยาม นอกจากหน้าที่ประจำ
กัก คือ กักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามแต่จะกำหนดให้
ขัง คือ ขังในที่ควบคุมแต่เฉพาะคนเดียวหรือรวมกันหลายคนแล้วแต่จะได้มีคำสั่ง
จำขัง คือ ขังโดยส่งไปฝากให้อยู่ในความควบคุมเรือนจำทหาร
นอกจากทัณฑ์ที่กล่าวไว้นี้ ห้ามมิให้คิดขึ้นใหม่ หรือใช้วิธีลงทัณฑ์อย่างอื่นโดยเด็ดขาด