พอดีผมไม่ค่อยประสากับระบบการเมืองนักอะครับ ขอนอกเรื่องนิดนึง ผมสงสัยว่าการมีอยู่ของวุฒิสภา มีอยู่เพื่อวัตถุประสงค์อะไรครับ เอาตามหลักวิชาการนะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
เอาตามหลักการสภาสูงก็มีไว้ถ่วงดุลสภาล่างครับ เป็นเหมือนพี่เลี้ยงของส.ส.
สภาสูงนี่มีหน้าที่หลายด้านครับ
อย่างด้านนิติบัญญัติก็พิจรณาร่างพ.ร.บ.เหมือนกับสภาล่าง คือรับมาจากสภาล่างอีกที ขั้นตอนก็มีสามวาระเหมือนกับของสภาล่างคือรับหลักการ ,แปรญญัตติ ,และก็ลงความเห็นชอบ แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับสภาสูงนะครับ ถ้าสภาสูงไม่เห็นด้วยกับสภาล่าง ก็ต้องมีการตั้งกมธ.ร่วมเพื่อมาพิจรณากันอีกที สรุปคือสภาล่างเป็นคนคิดเป็นคนออกกฏหมาย ส่วนสภาสูงช่วยทำให้มันรอบคอบรัดกุมขึ้น
มีอำนาจด้านการตรวจสอบฝ่ายบริหาๆร สามารถตั้งกระทู้ถามรมต. ,รมช. , ถามนายกฯได้ สามารถตั้งกมธ.ตรวจสอบโครงการต่างๆของรัฐบาลได้ เรียกคนมาสอบถามชี้แจงได้ สามารถเรียกขอ ดูเอกสารต่างๆได้
มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนตำแหน่งสำคัญๆ เช่น ศาล ,ปปช. ฯลฯ
ขอบพระคุณมากครับ ที่พี่ตอบให้ผมได้หายสงสัยในหลักวิชาการครับ และก็ด้วยหลักการข้างต้น สว.ควรจะมีวุฒิภาวะ ทั้งทางด้านการศึกษาที่เฉพาะทาง ทั้งด้านการประกอบวิชาชีพ หรือ ประสบการณ์ที่ต้องค่อนข้างมากสินะครับ และยังมีหน้าที่ในการตรวจสอบทั้งสภาล่าง(กฎหมาย) และ ฝ่ายบริหาร(รบ.) รวมทั้งงานราชการทั้งหลาย(โดยผ่านฝ่ายบริหาร) ใช่มั้ยครับ ถ้าสภาล่าง ฝ่ายบริหาร งานราชการ ปฏิบัติไปได้ด้วยดีไม่มีมูล สว.ก็ทำงานสบายไม่ต้องไปล้วงลูกอะไรมาก ดังนั้น สว. ควรจะเป็นข้าราชการการเมืองที่แยกคืออิสระจากข้าราชการการเมืองที่อยู่ในสภาล่างใช่มั้ยครับ