Jump to content


baezae

Member Since 18 February 10
Offline Last Active 26 August 13 07:09
-----

#61683 ไทยทุบสถิติส่งออกข้าวสูงสุดเป็นประวัติการณ์

Posted by baezae on 29 November 2011 - 13:40

โปกลุกจะชมรัฐบาลอภิสิทธิ์ใช่มะ?

ผลผลิตที่ส่งออกได้จนถึงปัจจุบันน่ะ เป็นนาปีของปีที่แล้ว กับนาปรังขอปีนี้นะจ๊ะโปกลุก ทั้ง ๒ ช่วงอยู่ในรัฐบาลก่อนหน้า

ส่วนผลผลิตของนาปีปีนี้น่ะ ขายปีหน้าจ๊ะ จนปัจจุบันข้าวเสียหายไปกว่า ๑๐ ล้านตัน เกือบครึ่งของผลผลิตทั้งปีในปีก่อนนะจ๊ะ


#49104 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

Posted by baezae on 19 November 2011 - 10:31

ผมขอสรุปประเด็นที่ผมตั้งขึ้น..ในท้ายสุด

เนื่องจากเราคุย .ใน “คนละเรื่องเดียวกัน”อยู่ จึงไม่อาจหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ ซึ่งท่านก็มีข้อมูลอีกด้าน ผมก็มีข้อมูลอีกด้าน และด้วยใจที่ต่างมี “ธง”กันอยู่..จึงไม่เกิดการยอมรับ

ผมขอสรุปสุดท้ายในประเด็นข้อถกเถียงที่ได้ตั้งขึ้น แล้วจะไม่เข้ามาตอบอีกในประเด็นนี้อีกต่อไป.. เพราะยืดยาวเกินไปแล้ว
.........................................................
โดยปกติ ผู้พิพากษา 9 คน ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า จำเลยยังไม่มีความผิดรธน. 2550 ม. 39 หากมีความสงสัยว่า จำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย ตาม ป.วิ 227

ในคดีนี้แม้ พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 มาตรา 20 ที่บัญญัติว่า

“การทำคำสั่งที่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด หรือพิพากษาคดี ให้ผู้พิพากษาในองค์คณะผู้พิพากษาทุกคน ทำความเห็นในการวินิจฉัยคดีเป็นหนังสือ พร้อมทั้งต้องแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ และให้ถือมติตามเสียงข้างมาก ในการนี้ องค์คณะผู้พิพากษาอาจมอบหมายให้ผู้พิพากษาคนใดคนหนึ่ง ในองค์คณะผู้พิพากษาเป็นผู้จัดทำคำสั่งหรือคำพิพากษาตามมตินั้นก็ได้...” ก็ตาม

แต่กลับไม่ปรากฏข้อกำหนดของประธานศาลฎีกา หรือบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ บัญญัติถึงการปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนในการประชุมปรึกษาคดีไว้ ตลอดจนกรณีที่มีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย จะหาเสียงข้างมากมิได้นั้น จะต้องดำเนินการอย่างไร ?
เหตุนี้ ม. 18 วรรคสอง แห่ง พรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ก็บอกว่า

“...ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญาใช้บังคับ...โดยอนุโลม

หมายความว่า ป.วิ อาญา ม. 184 มาบังคับใช้ กฎหมายนี้ ไม่ได้บอกผู้พิพากษา 9 คน ออกเสียงพร้อมกันในคราวเดียวกัน เพื่อให้ได้เสียงข้างมาก แต่ให้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนทำหน้าที่เป็นประธาน ยังไม่มีสิทธิออกเสียงทันที ต้องไปถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาอีก 8 คนทีละคนว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิดหรือไม่ ?

ในวันพิพากษา คณะผู้พิพากษาทั้ง 9 คนลงมติด้วยคะแนน 5 ต่อ 4 ว่าจำเลยที่ 1 มีความผิดให้จำคุก 2 ปี ก็แสดงให้เห็นว่า ในชั้นนี้ ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน ทำหน้าที่ประธานสอบถามความเห็นผู้พิพากษา อีก 8 คนนั้น มีผู้พิพากษา 4 คนเห็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดแต่ผู้พิพากษาอีก 4 คนเห็นว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด คะแนนเสียงจึงเป็น 4 ต่อ 4 เท่ากัน แย้งกันอยู่


ตอนนี้ จึงเข้าบทบัญญัติแห่งรธน. กับ ป.วิ ที่อ้างไว้ คือต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด และกรณียังเป็นที่สงสัยว่าจำเลยที่ 1 กระทำผิดจริงหรือไม่ เพราะมีคะแนนเสียงเท่ากัน หาเสียงข้างมากไม่ได้ เป็นไปตาม. 184 ที่ว่า

“ถ้าปัญหาใด มีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย จะหาเสียงข้างมากมิได้ ให้ผู้พิพากษาที่เห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่า ยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า” อีกด้วย

ท่านผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนผู้ทำหน้าป็นประธานและต้องออกเสียงเป็นคนสุดท้าย ต้องถูกผูกมัดให้ปฎิบัติด้วยบทกฎหมายที่บัญญัติไว้นี้ ให้จำต้องลงมติว่า จำเลยที่ 1 ไม่มีความผิด เพราะเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า แม้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน จะมีความเห็นขณะนั้นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดก็ตาม


คะแนน 5 - 4 จึงเท่ากับว่า ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนที่ออกเสียงเป็นคนสุดท้ายได้ลงมติว่า จำเลยที่ 1 กระทำความผิด ซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยที่ 1 มากกว่า น่าจะขัดต่อ รธน. 50 มาตรา 39 วรรคสอง และ ป.วิอาญา 227 และ 184

ตัวบทมาตรา 184 ที่ว่า “...ให้เจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพาทที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย... ถ้าในปัญหาใด มีความเห็นแย้งกัน…” ดังนี้ เป็นเหมือนบังคับให้ท่านผู้พิพากษา ต้องปฏิบัติตามความในมาตรา 184 ไม่มีข้อยกเว้น
..................

ผมจบแค่นี้ ครับ

และหากมีข้อความ ถ้อยคำ สำนวนใดของผม ที่ทำให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจในกับเพื่อนสมาชิกในนี้ ..ผมขออภัย !


มั่วแหลกลาญ แถมเนื้อความไปก๊อปเขามาด้วย เปิดกูเกิลหาคำตรงเป๊ะ ๆ ยังได้

ถ้าอ่านตามมาตรา ๑๘๔ เนื้อความลำดับดังนี้ (ซ้ำรอบที่เท่าไรไม่รู้)

๑. ประธานถามทีละท่าน
๒. ประธานออกเสียงท่านสุดท้าย
๓. วินิจฉัยตามเสียงข้างมาก
๔. หากไม่มีเสียงข้างมาก จึงยกประโยชน์ให้จำเลย โดยฝ่ายที่เห็นว่าผิดต้องยอมฝ่ายที่เห็นว่าไม่ผิด

แต่ปลายอ้อฯ เล่นมั่วเรียงลำดับ ๑-๔-๒-๓ สงสัยว่าเพราะอะไรเลยข้าม ๒ กับ ๓ มาพิจารณา ๔ ก่อน?

ถามว่าเช่นนั้นประธานจะไปอดตาหลับขับตานอนพิจารณาสำนวนทำไม สู้รอให้คณะพิจารณาออกเสียง แล้วออกเสียงตามเสียงข้างมากหรือเสียงด้านไม่ผิดในกรณีเท่ากันไปเลยไม่ดีกว่าหรือ?

เนื้อหากฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจน ทำไมถึงตีความว่าต้องยกส่วนขยายมาใช้ก่อน โดยข้ามส่วนหลักที่มาก่อนหน้าไป?

อีกประเด็นคือ ปลายอ้อ ตีความว่า "ผู้พิพากษา" เท่ากับ "ประธาน" ทั้งที่ในเนื้อหาที่บัญญัติไว้ มีทั้งคำว่าประธาน และผู้พิพากษาแยกกันชัดเจน จะบิดเบือนเนื้อหากฎหมายทำไม?


#48874 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

Posted by baezae on 19 November 2011 - 01:32

"ไม่เฉพาะประธานสิ

สมมติมีองค์คณะ ๘ ท่าน แบ่งเป็น ๒ ฝ่าย ๔ ต่อ ๔ ตามมาตราดังกล่าว ฝ่ายเห็นผิด ๔ ต้องยอมตามฝ่ายเห็นไม่ผิด ๔

แต่ในกรณีดังกล่าว องค์คณะ ๙ เป็นฝ่ายเห็นว่าผิด ๕ ไม่ผิด ๔ ตามที่บัญญัติให้วินิจฉัยตามเสียงข้างมาก ต้องตัดสินว่าผิด ถูกต้องแล้ว"


คำวินิจฉัยของคุณแสบทรวงจริงๆ

ผมว่า ควรต้องเผา ม.184 ทิ้งแล้วล่ะ อยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์ เหมือนหัวหลักหัวตอ
เพื่อจะไม่ให้มีคนบัดซบ หน้าด้านๆ ต้องคอยมาตีความให้กฎหมาย "เพี้ยน"อีก

อามิตตาพุทธ !

ผมจบนะ ..ยอมจริงๆ !


ถ้าหลักการพิจารณาของคุณคือ ให้อ่านส่วนขยายด้านท้ายก่อน แล้วค่อยมาพิจารณาส่วนด้านหน้า วิธีคิดผมคงผิด

แต่ถามจากใจจริง คุณอ่านหนังสือ แปลความหมายแบบนั้นหรือเปล่า?

ผมยังคงต้องการคำตอบว่า ผมตีความกฎหมายเพี้ยนหรือบิดเบือนตรงไหน?

เปรียบเทียบกับพฤติกรรมของคุณที่่ ตีความย้อนจากสู่ขยายมาส่วนหลัก บิดเบือนข้อบัญญัติว่าประธานต้องพิจารณาตามส่วนเห็นว่าไม่ผิด และตอแหลว่า"ผู้พิพากษา" หมายถึง "ประธาน"

ใครเพี้ยน ใครบิดเบือน?

กรุณาอ่านข้อความตัวเองอีกครั้ง เปรียบเทียบกับเนื้อความที่บัญญัติไว้ในประมวลวิธีพิจารณากฎหมายอาญามาตราดังกล่าว ดูว่าอะไรผิดแปลกไหม

แต่ตอนนี้ เฉพาะกระทู้นี้ คุณตอแหลไปอย่างน้อย ๓ ครั้งอย่างที่บอก โดยไม่สามารถแก้ตัวในความตอแหลนั้นได้ แถมมีหน้าโยนมาให้ผมอีก

ถ้าไม่ทุเรศตนเอง ผมทุเรศตัวคุณแทนครับ


#48841 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

Posted by baezae on 19 November 2011 - 01:02


อย่างที่คุณ Ixora เขียนมา นั่นแปลตามเนื้อหา ไม่ต้องย้อนหลังมาหน้า ตัด เปลี่ยนข้อความให้เข้าข้างตัวเลยสักนิด

ถามว่า ที่ปลายอ้อฯ เอามาว่า ประธานต้องตัดสินตามเสียงข้างให้ประโยชน์จำเลย เอามาจากไหน? คิดเอาเอง หรือใส่เอาตามใจ?

ภาษานี้ เป็นภาษาเก่า

สมัยก่อน เขาไม่เรียกกันว่า " ประธาน" อย่างที่เรียกๆกันในสมัยนี้

คำว่า "ให้ผู้พิพากษา" ตาม ม.184 ในสมัยนั้น หมายถึงประธาน (เจ้าของสำนวน).ในสมัยนี้
ที่จะออกเสียงเป็นคนสุดท้าย ..พระเจ้า !


เอามาจากไหนครับ? ขอหลักวิธีการคิดแบบนั้นหน่อย

"ถ้าในปัญหาใดมีความ เห็นแย้งกันเป็นสองฝ่ายหรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไปจะหาเสียงข้าง มากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอม เห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า"

จากข้อความด้านบน เมื่อเกิดกรณีที่มีองค์คณะพิจารณาคดี หากหาเสียงข้างมากไม่ได้ คือไม่มีฝ่ายใดมากกว่า ให้"ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอม".....

เมื่อแบ่งออกเป็น ๒ ข้างหรือมากกว่าในจำนวนเท่า ๆ กัน จากจำนวนเท่าไรก็ตาม หมายความว่าเสียงข้างที่เห็นผลร้ายมากกว่า ไม่ว่าจะกี่คนก็ตาม ยอมตามส่วนน้อยกว่า ทำไมเจาะจงหมายถึงเฉพาะประธาน?

แถมนี่ข้ามขั้นว่า ได้เสียงข้างมากมาก่อนหน้าแล้วด้วย

ถ้าหาหลักฐานยืนยันว่า ในภาษาเก่าอะไรของคุณ "ผู้พิพากษา" หมายถึง "ประธาน" เพียงคนเดียวไม่ได้ กรณีนี้คุณก็บิดเบือนอย่างหน้าด้าน ๆ อีกแล้วนะ

ซึ่งจริง ๆ แล้ว ตามเนื้อหาเต็ม ๆ คือ

"มาตรา 184 ในการประชุมปรึกษาเพื่อมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ อธิบดีผู้พิพากษา ข้าหลวงยุติธรรม หัวหน้าผู้พิพากษาในศาลนั้น หรือเจ้าของสำนวนเป็นประธาน ถามผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาทีละคน ให้ออกความเห็นทุกประเด็นที่จะวินิจฉัย ให้ประธานออกความเห็น สุดท้าย การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก ถ้าในปัญหาใดมีความ เห็นแย้งกันเป็นสองฝ่ายหรือเกินกว่าสองฝ่ายขึ้นไปจะหาเสียงข้าง มากมิได้ ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอม เห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า"

http://www.kodmhai.c...m3-182-192.html

มีการแบ่งแยกด้วยคำชัดเจน ถึงประธาน หัวหน้าผู้พิพากษาในศาล และผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาเป็นคณะ(เพราะให้ถามทีละคน)

ดังนั้นสรุปได้ว่า "ผู้พิพากษา" หมายถึง "ประธาน" ของคุณ ตอแหลเข้าข้างตัวเองอย่างหน้าด้านบัดซบ


#48791 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

Posted by baezae on 19 November 2011 - 00:06

อีกข้อที่บิดเบือนกฎหมายอีกแล้วคือ มาตรา ๑๘๔ บัญญัติให้ เมื่อไม่มีเสียงข้างมาก "ให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอม เห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า"

มิได้บอกว่าเจ้าของสำนวน(ประธาน) ต้องพิจารณาตามด้านที่เห็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่าแต่อย่างใด

ประโยค ๒ อันนี้ห่างกันไกลนะ อันแรก คือเมื่อวินิจฉัยทุกท่านรวมประธานแล้ว หากไม่มีเสียงข้างมาก จึงยอมให้ประโยชน์แก่จำเลย

กรณีที่ ๒ ประธานต้องเอาผลจากองค์คณะไม่รวมตนเองมาพิจารณา แล้วจึงค่อยออกเสียง

บิดเบือนกฎหมายเข้าข้างตัวเองนะแบบนี้ ไม่ทุเรศไปหน่อยหรือ?


#48779 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

Posted by baezae on 18 November 2011 - 23:49


แล้วปลายอ้อฯ มีความคิดเห็นอย่างไร กับการบิดเบือนหลักพิจารณาคดีดังกล่าว ที่ปลายอ้อฯ นำมาลง (ไม่ว่าจะคิดเอง ก๊อป ฟังเขามา) เพราะเห็นเลือกตอบเฉพาะที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อหากระทู้

ถ้ามีปัญญาแค่หาข้อความเข้าข้างตัวมาแปะ แล้วใครจะอธิบายอย่างไรก็ช่างหัว คราวหน้าผมจะได้ไม่ต้องไปค้นมาไขให้กระจ่าง

เสียเวลา


ท่านก็พูดเกินไป
ผมตีความกฎหมาย ม.184 โดยเคร่งครัด ก็หาว่าผมบิดเบือน

ท่านจะทำให้กฎหมายไทย ต้องอาศัยการตีความไปถึงไหนครับ
มันก็เลยกลายเป็นช่องโหว่ ให้คนที่มีวาทะ เห็นช่อง แล้วก็รอดช่อง

ถ้าท่านเคยทำประกันวินาศภัย
เขาจะยึดภาษาอังกฤษเป็นมาตรฐาน ไม่ใช่ภาษาไทย

เพราะภาษาไทยมันดิ้นได้

อีกอย่าง "โกรธ"มากที่บอกว่าผม "ก็อป"มาแปะ
นอกจากหนังสือพิมพ์แล้ว กระทุ้ หรือบทความ ผมไม่เคยก็อบใคร

ผมเขียนจากสิ่งที่เห็นว่ามันเป็น ด้วยตัวผมเอง


กฎหมายข้อนี้ต้องตีความ?

เข้าใจเรื่อง Order of operation ไหมครับ?

ในข้อนี้ เนื้อหาชัดแบบไม่ต้องตีเลยสักนิด เนื้อหาว่าให้ออกเสียงทีละท่าน ประธานเป็นคนสุดท้าย วินิจฉัยตามเสียงข้างมาก หากไม่มีเสียงข้างมากจึงค่อยให้ประโยชน์แก่จำเลย ซึ่งเรื่องมันจบตั้งแต่ขั้นที่ ๓ แล้ว และเมื่อได้เสียงข้างมากแล้ว ก็ไม่ต้องไปต่อ

กรณีที่อ้างกฎหมายดิ้นได้ ไม่สามารถจะใช้กับกรณีนี้ได้เลย เพราะไม่เข้าเกณฑ์ที่จะต้องพิจารณาต่อไปแต่อย่างใด ที่อ้างกฎหมายต้องตีความ ดิ้นได้นั้น เป็นเพียงข้อแก้ตัวของคุณในการอ้างเนื้อความส่วนขยายมาพิจารณาก่อนส่วนหลักเพียงแค่นั้น

ผมไม่โกรธหรอกนะ ที่คุณจะก๊อป จะลอกใครมา แต่สำคัญคือ เมื่อคุณนำข้อมูล ความเชื่อ อะไรก็ตามมาลง สิ่งที่ต้องติดตามคือ เสียงสะท้อน ข้อโต้แย้ง หลักฐานพยานต่าง ๆ ว่าเป็นอย่างไร น้ำหนักขนาดไหน

ถ้าจะแค่เอามาแปะเอาได้โชว์ ไม่สนใจข้อโต้แย้ง ผมเห็นว่าเปิดเวบโป๊ช่วยตัวเองหน้าจอเหมาะกว่าครับ เพราะอย่างน้อยคุณก็ไม่ได้นำเสนอข้อมูลอะไรที่บิดเบือน แล้วก็ไม่ได้แสดงความอนาถให้ใครเห็น


#48679 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

Posted by baezae on 18 November 2011 - 22:27

จริง ๆ ที่คุณปลายอ้อฯ เอามาแปะ มันเป็นข้อที่ชาวเสื้อแดงทั้งหลายเอามาแย้งเรื่องคดีที่ดินรัชดา นัยว่าก็ไปก๊อป ๆ ฟัง ๆ มา เค้าว่าอย่างนั้น แต่ไม่เคยแม้แต่จะอ่านประมวลกฎหมายที่อ้าง (๑๘๔ ป.วิ.อาญา) เลยสักครั้ง เพราะหากนำมาอ่านตามที่ผมได้ลงลิงค์ไว้จะพบว่าข้อแก้ต่างของเสื้อแดงเรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณานั้น ไม่เป็นไปตามลำดับและหลักการพิจารณากฎหมายเลย เพราะเอาข้อความต่อท้ายมาพิจารณาเป็นหลักก่อนข้อความด้านต้น

เหมือนกฎฟุตบอลบอกว่า ให้แข่ง ๙๐ นาที รวมทดเวลา ใครทำคะแนนได้มากกว่าเมื่อกรรมการเป่าหมดเวลาเป็นผู้ชนะ ถ้าภายใน ๙๐ นาทีหาผู้ชนะไม่ได้ให้ต่อเวลา ในการแข่งขัน ทีม เอ ยิงได้ตอนนาทีที่ ๙๓

วิธีการคิดของเสื้อแดงจะเป็น ถ้าเสมอใน๙๐ นาทีต้องต่อเวลา การยิงนาทีที่ ๙๓ เป็นข้อพิจารณาหลังจากนั้น?


#47832 ...ที่ดินรัชดา ประสาชาวบ้าน...

Posted by baezae on 18 November 2011 - 12:56

จากนี่
ศาลฯ ท่านไม่เชื่ออยู่แล้วว่าทักษิณร่วมรู้เห็นกับคุณหญิงพจมานในการซื้อ-ขายด้วย
เพราะไม่มีหลักฐานปรากฏ ศาลยังให้เครดิตอีกว่าคนรวยระดับนี้จะซื้ออะไรสักอย่าง
ก็ไม่จำเป็นต้องมานั่งสุมหัวกันคิดแล้วคิดอีก จะซื้อดี ไม่ซื้อดีอย่างเราๆท่านๆ แต่ศาลฯท่านก็บอกต่อว่า

แต่เมื่อคุณหญิงไม่สามารถนำหลักฐานที่ว่าทักษิณไม่เกี่ยวข้อง
ซึ่งศาลก็เชื่อว่าไม่มีอยู่แล้วนั้น มาแสดงให้ศาลฯเห็นได้ จึงมีความผิด

ผมกำลังบอกว่าศาลตัดสินให้ผิด ในสิ่งที่ศาลก็เชื่ออยู่แล้วว่าไม่มีแต่ต้น
ศาลไม่ได้ติดสินว่าเป็นเจ้าหน้าที่รัฐเอื้อประโยชน์ ตาม ม.100
ศาลตัดสินให้ผิด เพราะทักษิณหรือคุณหญิงไม่มีหลักฐานมายืนยันว่า ทักษิณไม่เข้าไปเกี่ยวข้องในการณีนี้ ซึ่งศาลฯท่านก็เชื่อไม่มี

ท่านจะอธิบายมาตรานี้ อย่างไร ?

มาตรา 184 บัญญัติไว้ว่า
“ถ้าปัญหาใด มีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่าย จะหาเสียงข้างมากมิได้
ให้ผู้พิพากษาที่เห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากกว่า ยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า”

เมื่อผลออกมา 4-4 ยังมีเหตุสงสัย
ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนจะทำอย่างไร ?

โปรดชี้แนะครับ
ด้วยความเคารพในความเห็นของท่าน


สับสนอะไรหรือเปล่าครับ

ตามมาตรา ๑๘๔ ป.วิ.อ. นั้น บัญญัติให้ (ตามลำดับเนื้อความ แยกเพื่อให้อ่านง่าย)

๑. ให้ประธานถามองค์คณะทีละท่าน แล้วประธานจึงออกความเห็นเป็นท่านสุดท้าย

๒. การวินิจฉัยให้ถือตามเสียงข้างมาก

๓. หากเสียงยังขัดแย้งเป็น ๒ ฝ่าย หรือมากกว่า โดยยังหาที่เสียงข้างมากกว่าไม่ได้ จึงค่อยให้ฝ่ายที่เห็นผลร้ายต่อจำเลยมากกว่า ยอมให้กับฝ่ายที่เห็นผลร้ายต่อจำเลยน้อยกว่า

http://www.kodmhai.c...m3-182-192.html

นัยว่ามาตรา บทบัญญัตินี้ เพื่อแก้ไขกรณีที่องค์คณะพิจารณาเกิดเสียงแตกเป็นจำนวนเท่า ๆ กัน จะได้หาข้อยุติ แต่ในกรณีตามปัญหา มีองค์คณะ จำนวน ๙ คน ซึ่ง ทั้ง ๙ คนได้ลงมติแล้ว เป็น ๕ ต่อ ๔ ถือได้ว่าได้เสียงข้างมากแล้ว จึงไม่จำต้องนำ มาตรา ๑๘๔ ในช่วงท้ายมาพิจารณา

อย่าพยายามบิดเบือนกฎหมาย ตัดเอาเฉพาะตามใจ