Jump to content


อาวุโสโอเค

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 4 กรกฎาคม 2554
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2557 08:37
*****

Topics I've Started

กปปส ไม่ฟังใช่ไหม กุฟ้องยูเอ็นเลย

16 มกราคม พ.ศ. 2557 - 14:06

′สุรพงษ์′ เผยกำลังรวบรวมหลักฐานฟ้องยูเอ็น ′มาร์ค-ปชป.′ ร่วมม็อบ ระบุทหารเรือรับจ๊อบเป็นการ์ด กปปส.

วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557 เวลา 12:50:30 น.

 

 

′ปึ้ง′ เผยทหารเรือรับจ๊อบเป็นการ์ด กปปส. สั่ง ′ปลัด กห.′ บี้หน่วยต้นสังกัดรายงาน จี้ ′สุเทพ′ สั่งหลวงปู่พุทธะอิสระเปิดกรมการกงสุลปชช.เข้าทำหนังสือเดินทางไม่ได้ ระบุกำลังรวมหลักฐาน ′มาร์ค-ปชป.′ ร่วมม็อบให้ยูเอ็น
 

 

 
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 16 มกราคม ที่สำนักปลัดกระทรวงกลาโหม นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.การต่างประเทศ ในฐานะกำกับดูแลศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ศอ.รส.) ได้แถลงผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ภายหลังจากประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเร้นท์กับผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ถึงสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มมกปปส.ว่า การที่นายสุเทพ  เทือกสุบรรณ เลขาธิการกปปส. และกลุ่มผู้ชุมนุมไปปิดสถานที่ราชการและที่ทำงานของกระทรวงต่างๆ เพื่อไม่ให้ข้าราชการไปปฏิบัติหน้าที่ได้ และเรีกร้องให้หยุดการทำงาน ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นคือประชาชนโดยตรงที่ไม่สามารถไปสามารถรับบริการจากหน่วยงานราชการได้ อาทิ การที่ประชาชนต้องทำพาสปอต หรือหนังสือเดินทางเพื่อไปทำธุระ ทำธุรกิจ หรือเยี่ยมญาติในต่างประเทศก็ไม่สามารถทำได้เนื่องการชุมนุมของนายพุทธอิสระ ทำการปิดการกรมกงสุลถนนแจ้งวัฒนะ ที่ทุกวันจะให้บริการประชาชนในการทำหนังสือเดินทางวันละ4พันเล่ม แต่ขณะน้ีสถานที่ดังกล่าวถูกปิดมา4วัน เท่ากับว่ามีประชาชนไม่สามารถทำหนังสือเดินทางประมาณ1.6 หมื่นคน 
   
"จึงขอให้นายสุเทพสั่งการให้นายพุทธอิสระ ให้เปิดการกรมการกงสุลเพื่อให้บริการประชาชนชนเป็นการด่วน เพราะประชาชนจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของนายสุเทพ นอกเหนือจากการทำให้การจราติดขัดการเดินทางไม่ได้รับความสะดวก"นายสุรพงษ์ กล่าว
     
รองนายกฯ กล่าวอีกว่า การชุมนุมของกลุ่มนายสุเทพยังทำให้การหาเลี้ยงชีพของประชาชนเริ่มฝืดเคือง เศรษฐกิจในครัวเรือนได้รับความลำบาก จึงหวังว่านายสุเทพและแกนนำจะทบทวนพฤติกรรมกลุ่มตนเองที่ทำให้ประชาชนเดือดร้อนอย่างถ้วนหน้าในขณะนี้ 
    
จากนั้นนายสุรพงษ์ ได้กล่าวเพิ่มเติมถึงการประชุมคอนเฟอเรนซ์กับผบ.ตร.ว่า เท่าที่สามารถเปิดเผยได้ ตนได้รับรายงานว่าการติดตามตัวนายสุเทพเมื่อวานนี้ (15ม.ค.)มีขบวนรถนายสุเทพ8คัน มีการ์ดประมาณ 40คน และนายสุเทพไปพักโรงแรมใกล้กับสี่แยกราชประสงค์ ซึ่งนายสุเทพเข้าไปแล้วไม่ได้ออกจากโรงแรม แต่ก็จะติดตามต่อไป โดยคณะทำงานของศอ.รส.มีร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง เป็นผู้ดูแลและประสานกับทางตำรวจ
    
รองนายกฯ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีที่มีการจับกุมนายทหารเรือนั้น ก็ทราบว่ามาจากหน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ ซึ่งได้ข้อมูลว่ามารับจ๊อบเป็นพิเศษเพื่อมาทำหน้าที่เป็นการ์ดของผู้ชุมนุม อย่างไรก็ตาม ต้องให้หน่วยงานต้นสังกัดรายงานชี้แจงศอ.รส.ต่อไป ทั้งนี้มีการประสานให้พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก ปลัดกระทรวงกลาโหม ให้ตรวจสอบไปยังต้นสังกัดของนายทหารคนดังกล่าวที่ถูกจับกุม ถึงแม้จะเป็นการนอกเวลาราชการ แต่พบว่ามีการใช้อาวุธของทางราชการพกตัดตัวมาด้วย ส่วนจะมีจำนวนทหารมารับจ็อบมาน้อยแค่ไหน ทางตำรวจจะเป็นผู้ให้รายละเอียด และขอให้ต้นสังกัดมารายงานให้ศอ.รส.ทราบ 
    
เมื่อถามว่ารัฐบาลจะใช้วิธีการจับกุมนายสุเทพเป็นทางออกในการแก้ปัญหาหรือไม่ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ไม่ใช่ แต่นายสุเทพมีข้อหากบฎและมีหมายจับก็ต้องดำเนินการไปตามนั้น ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่ดำเนินการก็ถือว่าละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ แต่ที่ถามว่ามีหมายจับและรู้ที่พักของนายสุเทพแล้วทำไมยังไม่ดำเนินการจับกุม ก็ต้องเรียนว่าตำรวจต้องดูจังหวะและเวลาที่เหมาะสม หากเข้าไปจับกุมในกลุ่มผู้ชุมนุมก็ไม่เกิดผลดี อีกทั้งการ์ดที่คอยดูแลก็มีความเข้มแข็งมาก
 
เมื่อถามว่าจะถึงขั้นต้องวิสามัญฆาตกรรมหรือไม่ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ทำตามขั้นตอน หากการ์ดไม่ใช้อาวุธต่อสู้ก็ไม่มีปัญหา 
   
เมื่อถามว่ารัฐมนตรีต่างๆ ได้เตรียมตัวอย่างไรบ้างหลังมีการประกาศจับตัวและต่างฝ่ายต่างประเทศจับตัวซึ่งกันและกัน นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ขอย้อนถามกลับไปว่า คนที่เป็นกบฎจะมาจับคนดีๆได้อย่าง เพราะไม่มีประเทศไหนเขาทำ มีประเทศไทยเพียงประเทศเดียว สำหรับตนไม่ได้กังวลไม่ได้กังวลในเรื่องนี้
    
ส่วนเหตุการณ์ที่มีการปาระเบิดใส่บ้านของแกนนำ กปปส.รวมทั้งบ้านนายอภิสิทธิ์ได้มีการรายงานข้อเท็จจริงอย่างไรบ้าง รองนายกฯ เจ้าหน้าที่ก็ตรวจสอบแต่สำหรับตนเห็นว่านักการเมืองก็มีการสร้างสถานการณ์ให้เป็นประเด็นขึ้นมาเพื่อประโยชน์ในการชุมนุม แต่ขณะนี้ทราบว่าได้มีการตั้งจุดตรวจร่วมระหว่างการ์ดกปปส.และเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อดูแลความปลอดภัยก็เชื่อว่าเหตุการณ์จะบรรเทาลง ส่วนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี่ในหลายพื้นทที่ไม่น่าจะใช่กลุ่มเดียวกันเพื่อใช้อาวุธคนละชนิดกัน 
    
เมื่อถามถึงความคืบหน้าในการทำหนังสือหรือหลักฐานถึงเลขาธิการสหประชาชาติ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ได้รวบรวมข้อมูลภาพถ่าย และหลักฐานต่างๆ ที่นายอภิสิทธิ์ได้ขึ้นเวทีปราศัยของกลุ่มกปปส. รวมทั้งอดีตส.ส.ประชาธิปัตย์ อดีตนายกฯ และบุคคลต่างๆที่ไปร่วมชุมนุม และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างการชุมนุม และจากนี้จะส่งถึงเลขาฯ ยูเอ็นอย่างเป็นทางการเมือง

ที่มา http://www.matichon....1&subcatid=0100


รื้อความจำคนไทยก่อนได้ยินคำตัดสินคดีพระวิหาร 11พ.ย.2556

16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 15:15

400%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%

“พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์” พระราชโอรสองค์ที่ 11 ใน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นคนแรกที่ค้นพบปราสาทพระวิหาร ที่หน้าผาเป้ยตาดี เขาพนมดงรัก ท้องที่ศรีสะเกษ

โดยทรงพบเมื่อปี พ.ศ. 2442 ขณะทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็น ข้าหลวงต่างพระองค์ เสด็จไปรับราชการที่มณฑลลาวกาว (อิสาน) ในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้ทรงจารึกปี ร.ศ. ที่พบเป็นเลขไทย ตามด้วยพระนาม ไว้ที่บริเวณชะง่อนผาเป้ยตาดี เป็นข้อความว่า “๑๑๘ สรรพสิทธิ”

ต่อมาเมื่อประเทศฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีนได้ทำสนธิสัญญา พ.ศ. 2447 ในการปักปันเขตแดนกับราชอาณาจักรสยาม โดยมีความตามมาตรา 1 ของสนธิสัญญา ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ซึ่งมีผลให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนไทย

400%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AB%E0%B8%B2%

ต่อมาใน พ.ศ. 2451 ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ฝ่ายเดียว ส่งมอบให้สยาม 50 ชุด แต่ละชุดมี 11 แผ่นและมีแผ่นหนึ่งคือ “แผ่นดงรัก” ที่ครอบคลุมพื้นที่ปราสาทพระวิหาร และไม่ได้ใช้แนวสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งพรมแดน ทำให้ปราสาทพระวิหารในแผนที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา โดยที่รัฐบาลสยามในขณะนั้นไม่ได้รับรอง แต่ไม่ได้ทักท้วงความถูกต้องของแผนที่ดังกล่าว

ในปี พ.ศ. 2483 ประเทศฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อประเทศเยอรมนี ในสงครามยุโรป ทำให้แสนยานุภาพทางทหารทั่วโลกลดลง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จึงได้ยื่นข้อเสนอเรียกร้องดินแดนที่เสียไปในสมัยรัชกาลที่ 5 คืนจากฝรั่งเศส

ฝรั่งเศสปฏิเสธและมีการเคลื่อนไหวทางทหาร ที่ทำให้เกิดสงครามพิพาทอินโดจีนระหว่างไทยกับฝรั่งเศสขึ้นในปี พ.ศ. 2484 ประเทศไทยได้รับชัยชนะในการรบตลอด 22 วัน กระทั่งประเทศญี่ปุ่นที่เป็นมหาอำนาจในขณะนั้นเสนอตัวเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ย และฝรั่งเศสได้ตกลงคืนจังหวัดไชยบุรี จำปาศักดิ์ เสียมราฐ และพระตะบองให้กับไทย ตาม อนุสัญญาโตเกียว ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับมาอยู่ในดินแดนไทยอย่างสมบูรณ์

ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร ญี่ปุ่นเป็นฝ่ายแพ้สงคราม ขณะที่ประเทศไทยต้องรักษาสถานะตัวเองไม่ให้เป็นฝ่ายแพ้สงครามตามญี่ปุ่น และต้องการเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ จึงตกลงคืนดินแดน 4 จังหวัดให้ฝรั่งเศส ทำให้ปราสาทพระวิหารกลับไปอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 ฝรั่งเศสแพ้สงครามต่อเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวา และไทยได้ส่งทหารเข้าไปยึดบริเวณปราสาทพระวิหารอีกครั้ง

ภายหลังกัมพูชาได้รับเอกราช เจ้านโรดมสีหนุ กษัตริย์กัมพูชาสละราชสมบัติเข้าสู่การเมือง ได้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ประกาศเรียกร้องให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร ไทยไม่ยอมรับ เจ้านโรดมประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501

ต่อมา วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2502 เจ้านโรดมสีหนุได้ฟ้องร้องต่อ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) หรือศาลโลก ให้ไทยคืนปราสาทพระวิหาร

ฝ่ายไทยต่อสู้คดีโดยมี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับคณะรวม 13 คน เป็นทนายฝ่ายไทย

ฝ่ายกัมพูชามีนายดีน แอจิสัน เนติบัณฑิตแห่งศาลสูงสุด อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เป็นหัวหน้าคณะ กับพวกอีกรวม 9 คน

วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ได้ตัดสินว่า “กัมพูชามีอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร” ด้วยเสียง 9 ต่อ 3

ในวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว 20 วัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต

ตามกฎหมายระหว่างประเทศ คำตัดสินของศาลโลกเป็นที่สิ้นสุด การจะนำคดีกลับขึ้นมาพิจารณาใหม่ทำได้ ถ้ามีหลักฐานใหม่ และต้องทำภายในสิบปี

หลังไทยเสียปราสามพระวิหารให้เขมรไม่ไม่นาน กัมพูชาเกิดสงครามกลาง ปราสาทพระวิหารเปิดให้สาธารณชนเข้าชมเพียงช่วงสั้น ๆ ในปี พ.ศ. 2535 ได้ถูกเขมรแดงเข้าครอบครองและปิดการท่องเที่ยว จากนั้นก็เปิดอีกครั้งจากฝั่งประเทศไทย เมื่อปลายปี พ.ศ. 2541

วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2548 สมัยนายกฯ ฮุน เซน กัมพูชาได้เสนอต่อองค์การยูเนสโก ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก อย่างเป็นทางการ

วันที่ 30 มกราคม 2549 ศูนย์มรดกโลกของยูเนสโกที่ปารีสขอให้กัมพูชายื่นเอกสารใหม่เกี่ยวกับเขตกันชนของปราสาท และมีคำแนะนำให้ร่วมมือกับฝ่ายไทย

พ.ศ. 2550 กัมพูชายื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารอีกครั้ง ขณะที่ไทยยื่นบันทึกช่วยจำต่อเอกอัครราชทูตกัมพูชา และเสนอขึ้นทะเบียนร่วม (transboundary property) แต่คณะกรรมการมรดกโลกสากลมีมติเลื่อนการขึ้นทะเบียนออกไป โดยให้ไทย-กัมพูชาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด

ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 องค์การยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนตามคำขอของกัมพูชาให้ตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เฉพาะเพียงตัวปราสาทเท่านั้น โดยผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้อ (i) เพียงข้อเดียว[33]

วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551 กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้นำประเด็นนี้มาโจมตีเพื่อขับไล่นายนพดล ปัทมะ ให้ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเท เหตุการณ์นี้พัฒนาไปสู่ความขัดแย้งระหว่างไทยและกัมพูชาอีก

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 สมัยนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ทหารไทยกับเขมรได้ใช้ปืนใหญ่ยิงปะทะกัน บริเวณรอบๆตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งต่างก็โทษอีกฝ่ายหนึ่งว่าเป็นฝ่ายเริ่มก่อน

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ กัมพูชาได้ยื่นจดหมายถึงสหประชาชาติ ความว่า “พฤติการณ์ล่าสุดของทหารไทยได้ละเมิดข้อตกลงสันติภาพปารีส พ.ศ. 2534 กฎบัตรสหประชาชาติ และคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2505″

วันที่ 28 เมษายน 2554 กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อ “ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” เพื่อขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร 15 มิ.ย.2505 ให้ชัดเจน

และในวันเดียวกัน เขมรได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลกำหนดวิธีการชั่วคราว เพื่อคุ้มครองสิทธิของเขมร

วันที่ 18 กรกฎาคม 2554 ศาลออกคำสั่งกำหนดวิธีการชั่วคราว ก่อนจะมีการตัดสินคดี ซึ่งคำสั่งประกอบด้วย

ให้ไทยกับเขมรถอนทหารออกจากพื้นที่ขัดแย้ง และไทยจะต้องไม่ขัดขวางการเข้าพื้นที่ของประชาชนเขมร แล้วศาลได้ขีดเส้นเขตปลอดทหารใหม่ขึ้นมาเป็น 27 ตารางกิโลเมตร จากเดิมที่ไทยอ้างเป็นพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร

วันที่ 15-18 เม.ย.2556 ศาลโลกเปิดพิจารณาคดี ให้ไทยกับเขมรส่งผู้แทนไปเบิกความปากเปล่าในศาลเฮก และศาลนัดวันอ่านคำพิพากษาในวันที่ 11 พ.ย.2556

 

ที่มา http://www.banmuang....จำคนไทยก่อนคำต/


สธ.เผยงบไม่พอบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงาน

1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 08:20

สธ.เผยงบไม่พอบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงาน

E95DD4BDE6FD4CC1B0D541B933CAD544.jpg

สธ.เรียกประชุมลูกจ้างหลังชะลอบรรจุเป็นพนักงาน เหตุงบประมาณไม่เพียงพอ เผยแต่ละเขตสุขภาพได้เพิ่มแค่ 10% พร้อมให้ผู้บริหารเลือกบรรจุเอง

 

เมื่อวันที่ 30 ก.ย. ที่โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดประชุมเพื่อชี้แจงพนักงานและลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) หลัง สธ. มีคำสั่งชะลอการบรรจุลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข เปิดเผยว่า ที่ประชุมระหว่างสธ. และลูกจ้าง ได้ข้อสรุปว่า ยังคงหลักการการบรรจุลูกจ้างที่ผ่านการประเมินกว่า 98% หรือ กว่า 1.4 แสนคน ให้เป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุข

อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่างบประมาณที่เตรียมไว้ประมาณ 3,000 ล้านบาท นั้น ไม่เพียงพอ เนื่องจากหากนำลูกจ้างทั้งหมดบรรจุเป็นพนักงานฯ งบประมาณจะเพิ่มเป็นกว่า 5,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ได้ตรวจสอบงบประมาณพบว่า แต่ละเขตบริการสุขภาพ สามารถเพิ่มได้ประมาณ เขตละ 10% ของอัตราเงินเดือนทั้งหมด หรือประมาณ 150 – 160 ล้านบาท ซึ่งแต่ละเขตสุขภาพจะเป็นผู้บริหารจัดการเองว่าจะบรรจุพนักงานกระทรวงสาธารณสุขอย่างไร ส่วนสวัสดิการอาจไม่ได้เท่าเดิมในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าด้วยวงเงินที่มีจำกัด อาจทำให้ไม่สามารถจ้างลูกจ้างชั่วคราวเพื่อบรรจุเป็นพนักงานกระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มเติมอีกแล้ว

นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดสธ. กล่าวว่า ยืนยันว่าผู้ที่ผ่านการประเมิน 98% แล้วจะได้รับค่าจ้างและเงินเดือนไม่ต่ำกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม อาจมีการทบทวนโดยคณะกรรมการอย่างละเอียดอีกครั้งว่าใครควรเข้าสู่ระบบพนักงานกระทรวงสาธารณสุข ส่วนอีก 2% ที่ไม่ได้รับการประเมิน จะมีการประเมินอีกครั้งภายในวันที่ 10 ต.ค. ทั้งนี้ ยืนยันว่าค่าตอบแทนจะไม่ตำกว่าเดิมแน่นอน โดยในวันที่ 1 ต.ค. -1 ธ.ค. ให้จ้างอัตราเดิม ไม่มีการปรับเพิ่มค่าจ้าง จนกว่า กรอบการจัดการในเขตสุขภาพเสร็จ

ที่มา http://www.posttoday...คราวเป็นพนักงาน


เดากันสิครับว่าปีนี้น้ำจะท่วมหรือไม่ท่วม

17 กันยายน พ.ศ. 2556 - 10:59

1238084_542280205842738_2133745179_n.jpg
 
ถ้าท่วมอีก ด่าอีโง่ คงน้อยเกินไป  -_-

 


แบบนี้เรียกม๊อบการเมืองหรือ ?????

16 กันยายน พ.ศ. 2556 - 08:22

 ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ผู้ชุมนุมเรียกร้องราคายางพารานครศรีธรรมราช ออกแถลงการณ์ 3 ข้อ โดยประกาศชัดจะไม่มีการเจรจาที่ไหนโดยเด็ดขาด ถ้ามีการเจรจาให้มาเจรจาต่อหน้าผู้ชุมนุมที่ตรงนี้
       
       วันนี้ (15 ก.ย.) สถานการณ์การชุมนุมเรียกร้องราคายางพาราและปาล์มน้ำมัน ที่บริเวณถนนสาย 41 ทั้งขาขึ้นและขาล่องใต้ ในท้องที่บ้านเตาปูน อ.จุฬาภรณ์ และสี่แยกควนหนองหงษ์ หมู่ 2 ต.ควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด จ.นครศรีธรรมราช กลุ่มชาวสวนยางในพื้นที่ได้เริ่มทยอยปิดถนนเมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมา หลังจากผลการทำมติของรัฐบาลกับแกนผู้ประสาน ไม่สามารถตกลงตามมติที่ได้พูดคุยกันไว้ก่อนหน้านี้ว่า รัฐจะช่วยแทรกแซงยางพาราในราคากิโลกรัมละ 90 บาท แต่จะชดเชยด้านปัจจัยการผลิตไร่ละ 2,520 บาท
       
       ทำให้ชาวสวนยางที่ได้รับความเดือดร้อน และเคยชุมนุมก่อนหน้านี้ไม่พอใจ ได้รวมตัวกันปิดถนนทั้งฝั่งขาขึ้นและขาล่อง โดยการนำรถบรรทุกสิบล้อ ยางรถยนต์ ไม้ และเต็นท์มาวางบนถนน พร้อมเตรียมตั้งเวทีปราศรัย ซึ่งบรรยากาศในช่วงเช้าวันนี้ผู้ชุมนุมยังคงปักหลักปิดถนนแม้ส่วนหนึ่งจะกลับไปทำภารกิจที่บ้าน แต่คาดว่าในช่วงสายจะเดินทางมาสมทบขึ้นเรื่อยๆ ทั้ง 2 จุด
       
       ในขณะที่ นายยอดชาย ดีเจริญ ผู้ประสานงานเครือข่ายชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน ได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 ว่า
       
       เนื่องจากก่อนหน้านี้ ได้มีการชุมนุมปิดถนนบริเวณบ้านเตาตูล และแยกควนหนองหงษ์ อ.ชะอวด เรียกร้องราคายางพารา แต่ไม่มีการตอบรับใดๆ ที่เป็นน่าพอใจจากรัฐบาล จึงได้มีการปิดถนนที่บริเวณบ้านเตาปูนอีกครั้ง เพื่อยื่นข้อเสนอดังนี้
       
       1.ราคาแผ่นดิบ 120 บาท
       2.ปาล์มทะลาย 7 บาท
       3.ให้นายกรัฐมนตรีเข้าประชุมสภาทุกครั้ง 
       
       หากไม่ได้ตามข้อเรียกร้องจะปิดถนนปักหลักชุมนุมต่อไปเรื่อยๆ โดยจะไม่มีการเจรจาที่ไหนโดยเด็ดขาด ถ้ามีการเจรจาให้มาเจรจาต่อหน้าผู้ชุมนุมที่ตรงนี้
 
 
537006_10201953556308946_707005410_n.jpg
 
 
 
สูตรสำเร็จหรือเปล่า ถ้าชาวบ้านออกความเห็นเกี่ยวกับรัฐบาลหรือนายก จะกลายเป็นการเมืองทันที ใจแคบเกินไปหรือเปล่ารัฐบาล  -_-