Jump to content


honglaksi

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 4 กรกฎาคม 2554
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2557 15:23
-----

Topics I've Started

การปฏิรูปประเทศกับบอลโลก 2014

20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 10:28

ขอนอกเรื่องและมองข้ามไปเดือนหน้านิดนึงครับ พอดีบอลโลก2014 จะเริ่มกลางเดือนหน้า ถ้าได้รัฐบาลใหม่ เอาใจคอบอลคนทุกสี ดำเนินการเจรจาเฮียอ้อ ขอถ่ายฟรีทีวีครบทุกคู่เลย ทำแบบรวมการเฉพาะกิจ หมุนเวียนกันไปแบบสมัยก่อน บางคู่ถ้าดึกมาก ไม่ต้องสดก็ได้ และถ้าเริ่มการปฏิรูป การได้ดูกีฬาระดับโลก เช่น บอลโลก โอลิมปิค ควรเป็น สิทธิขั้นพื้นฐาน ที่ประชาชนควรได้รับจากรัฐ แบบสมัยก่อน ที่ทีวีพูล หมุนเวียนผลัดกันถ่ายทอดสดให้ ประชาชนได้ติดตาม ดีกว่าเอาเงินไปละเลงสนองตัณหากับประชานิยม และ อย่าให้กลุ่มทุนสามานย์มันแย่งกันทำร้ายความรู้สึกประชาชนอีก


การปฏิรูปประเทศไทย (ตอนที่ 1)

26 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 11:37

พี่ที่นับถือกัน แกให้ช่วยนำเสนอให้ เนื่องจาก แกอายุเยอะแล้ว ไม่สามารถทางด้าน ไอทีเท่าใหร่ แต่ความรู้ ทางด้านกฎหมาย การเมือง พร้อมประสบการณ์ ทางการเมืองที่แกสัมผัสมา (ไม่ได้เป็นนักการเมือง) มองเห็นปัญหารากฐานของการเมืองไทย จึงขอนำเสนอ เพื่อเป็นทางเลือก หรือ เสริมแนวคิด ให้กับสังคม เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็ว่ากันไปนะครับ

การปฏิรูปประเทศไทย     (ตอนที่ 1)

  1. เดิม ก่อน รัชกาลที่ 5 ปฏิรูประบบบริหารราชการ ประเทศไทยมีโครงสร้างอำนาจแบบการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น คือ ท้องถิ่นปกครองตนเองในรูปของมณฑล เช่น มณฑลถลาง มณฑลโคราช มณฑลนครศรีธรรมราช มณฑลเชียงใหม่ ฯลฯ เป็นต้น
  2. ต่อมา เนื่องจากสถานการณ์โลกในขณะนั้นประเทศมีภัยจากการล่าอาณานิคมจากชาติตะวันตก ร.5 จึงจำเป็นต้องปรับโครงสร้างการปกครองมาเป็นการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ซึ่งก็เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น  ทำให้ประเทศมีการจัดตั้ง กระทรวง ทบวง กรม  มีการพัฒนาระบบ ไฟฟ้า โทรศัพท์ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ไปรษณีย์ รถไฟ ประปา ฯลฯ ได้อย่างรวดเร็ว  เพราะเป็นการรวม ศูนย์อำนาจ และสั่งการมาจากศูนย์อำนาจ ประกอบกับในขณะนั้นเราได้พระมหากษัตริย์ที่ดี  ทำเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประเทศจึงมีความเจริญก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด
  3. จากนั้นไม่นาน อำนาจรวมศูนย์ที่อยู่ในมือของกษัตริย์  ถูกเปลี่ยนมาอยู่ในมือของคณะราษฎร์ à ทหาร à และนักการเมือง นายทุนสามานย์ ตามลำดับ  ซึ่งโครงสร้างของประเทศนับจาก ร.5 จนถึงปัจจุบันโดยเนื้อหาแล้วยังคงไม่เปลี่ยน  คือเมื่อมีการรวมศูนย์กลางอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง  ภาษีถูกเก็บรวบรวมไว้ที่ส่วนกลาง  จึงเป็นเค็กก้อนใหญ่ที่ทุกฝ่ายจ้องจะหาผลประโยชน์ อำนาจเดิมของกษัตริย์จึงตกอยู่ในกลุ่มนักการเมือง หรือ ทหาร สับเปลี่ยนกันไป  มิได้ตกอยู่ในมือของประชาชนอย่างแท้จริง  หากทหารจะแย่งอำนาจ ก็ทำการรัฐประหารยึดอำนาจได้ง่าย โดยยึดศูนย์อำนาจก็ครอบครองประเทศได้ นักการเมืองนายทุนสามานย์ อยากครอบครองประเทศนี้ ก็ซื้อ ส.ส. และ ซื้อเสียง ด้วยเงินไม่กี่หมื่นล้านบาท ก็ได้อำนาจยึดครองประเทศได้โดยง่าย  เพราะอำนาจไม่ได้ถูกกระจายอยู่ในมือประชาชน
  4. โครงสร้างอำนาจนับจาก ร.5 จนถึงปัจจุบันมีอายุ 150 ปีแล้ว ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง  บัดนี้ถือว่าล้าสมัยอย่างมาก ก่อให้เกิดปัญหามากมายดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน  ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป
  5. ถ้าเราลองพิจารณาประเทศที่เขาเจริญ และมีความสงบ มีเสถียรภาพทางการเมืองในโลกนี้แล้ว  เราจะเห็นว่าโครงสร้างอำนาจในประเทศนั้น ๆ มีการกระจายอำนาจ ให้ท้องถิ่นปกครองตนเองอย่างแท้จริง เช่น อังกฤษ  แม้จะมีกษัตริย์ ก็มีการกระจายอำนาจเป็นแค้วน เป็นมณฑล  อเมริกาปกครองเป็นรัฐ  มาเลเซียเป็นรัฐ มีกษัตริย์หมุนเวียนกันครองราชย์ตามวาระ  อินเดียเป็นรัฐ  จีนเป็นมณฑล  ฟิลิปปินส์  ออสเตรเลีย ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นทั้งสิ้น  มิใช่เป็นการรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง และประเทศดังกล่าวก็จะไม่เกิดปัญหาที่ทหารออกมาปฏิวัติรัฐประหาร  เพราะไม่สามารถยึดอำนาจได้ เนื่องจากอำนาจได้ถูกกระจายไปสู่ส่วนย่อย  ตกอยู่ในมือของประชาชนและท้องถิ่น  ไม่สามารถแย่งอำนาจมาได้โดยง่าย
  6. เมื่อโครงสร้างอำนาจของไทยเป็นการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางอย่างปัจจุบันจึงก่อให้เกิดวิกฤติปัญหาทางการเมืองมาตลอด  กล่าวคือ
    1. ค่านิยมการเลือกตั้ง ส.ส. ของประชาชนไทยได้พัฒนามาจากรากเหง้าค่านิยมดั้งเดิมของไทย คือระบบ “ไอ้เสือ”  ในสมัยก่อนคนที่เป็น “ไอ้เสือ” จะเป็นที่รักเคารพของชุมชนในหมู่บ้าน  เพราะ“ไอ้เสือ”จะไม่ปล้นหมู่บ้านของตนเอง  แต่จะไปปล้นหมู่บ้านอื่นเมื่อได้ทรัพย์มาก็เก็บไว้เองส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งนำมาแจกชาวบ้าน  เวลาชาวบ้านมีข้อพิพาทกัน“ไอ้เสือ”ก็จะช่วยเคลียร์ปัญหาให้  การเลือก ส.ส. ของชาวบ้านในปัจจุบันก็ไม่ต่างอะไรกับระบบ“ไอ้เสือ” คือต้องเลือกคนโกง ยิ่งโกงมากเท่าไรยิ่งดี  ถือว่ามีฝีมือ  เพราะ ส.ส.“ไอ้เสือ”พวกนี้จะต้องไปปล้นงบประมาณจากที่อื่นให้มาลงบ้านตัวเองและ ส.ส. พวกนี้ก็จะโกงงบประมาณที่ได้มาไว้เป็นของตนเองส่วนหนึ่ง  ชาวบ้านหมู่บ้านนั้นไม่สนใจหรอกว่านักการเมือง ส.ส. จะโกงกันอย่างไร  ขอให้ได้งบประมาณมาลงบ้านตัวเองและตัวเองได้ประโยชน์จากการโกงนั้นด้วยก็ไม่เป็นไร  จึงเกิดค่านิยมว่า“โกงไม่เป็นไร ขอให้มีผลงาน” ดังนั้น ถ้าผมเป็นชาวสุพรรณบุรี ผมก็ต้องเลือก นายบรรหาร ตลอดไป เพราะ นายบรรหาร สามารถแย่งงบประมาณจากที่อื่นมาลงจังหวัดตนได้มากเกินความจำเป็น  แม้งบประมาณที่ได้มา นายบรรหาร จะเอาบริษัทญาติพี่น้องของตนเข้ามากอบโกย ผมซึ่งเป็นชาวสุพรรณก็พอใจ และชื่นชมว่า ส.ส. ของผมเก่งที่ไปปล้นงบจากที่อื่นมาได้  และคิดว่าเงินงบประมาณที่ถูกโกงไปนั้น ไม่ใช่เงินของตน แต่เป็นเงินจากที่อื่นๆ

ดังนั้น ต่อไปทุกเขตการเลือกตั้ง ถ้าชาวบ้านอยากได้งบประมาณมาพัฒนาท้องถิ่นอย่างสุพรรณบุรี ก็จะค่อยๆพากันไปเลือก ส.ส. แบบ“ไอ้เสือ”ส.ส.ที่ปล้นไม่เป็น หรือไม่ใช่ ส.ส. โจร ชาวบ้านจะไม่เลือก และค่อยๆหมดไปจากประเทศไทย

ส่วนชาวบ้านเขตอื่นๆที่ถูกปล้นก็ร้องบอกว่า “ เฮ้ย...ไอ้เสือ บ้านอื่นมาปล้นบ้านเรา ทำไมปล่อยให้มันปล้นเราฝ่ายเดียว ไอ้เสือ บ้านเราต้องไปปล้นเอาทรัพย์เราคืนบ้าง ” ในที่สุดมีการปล้นกันไป ปล้นกันมา เกิดขึ้นระหว่างหมู่บ้านทั่วประเทศตอนแรกไอ้***็ต่อสู้กันเองระหว่างไอ้เสือคนไหนมีวิชาโจรอยู่ยงคงกระพันก็ชนะ ไอ้เสือที่แพ้เขาสู้ไม่ได้ก็ไปปลุกระดมชาวบ้านให้มาช่วยสู้ ไอ้เสืออีกฝ่ายหนึ่งก็ไปปลุกระดมชาวบ้านของตนให้มาช่วยเช่นกันเกิดรบราฆ่าฟันกันระหว่างหมู่บ้าน ในที่สุดขยายวงใหญ่ขึ้นเป็นไอ้เสือฝ่ายค้าน กับไอ้เสือฝ่ายรัฐบาลปลุกมวลชนเข้ามาสู้กัน กลายเป็นสงครามกลางเมือง สิ่งนี้เป็นปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นกับประเทศไทยในขณะนี้ซึ่งต้นตอมาจาก “ส.ส.ไอ้เสือ ”

  1. การแก้ปัญหาวิกฤติทางการเมืองในปัจจุบันจะต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจด้วยการกระจายอำนาจกลับไปสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริง  ให้ชาวบ้านได้ปกครองตนเอง เก็บภาษี และบริหารงบประมาณของตนเอง  โดยการยกเลิกระบบการรวมศูนย์อำนาจที่มีการเก็บภาษีทั่วประเทศ แล้วมารวมกันที่ส่วนกลาง กลายเป็นเค็กก้อนใหญ่ที่ไอ้เสือทั้งหลายจ้องจะปล้นจากกองกลาง  และการบริหารปกครองต้องใช้หลักที่ว่า “ใครได้รับเลือกตั้งมาจากที่ใด ให้ปกครองที่นั่น”  เช่น ชาวอีสานเลือกทักษิณ  ชาวใต้เลือกชวน  หากทักษิณเป็นนายกฯ คนใต้ก็ไม่ยอมรับ เพราะเขาไม่ได้เลือก ในทางกลับกัน หากชวนเป็นนายกฯ ชาวอีสานก็ไม่ยอมรับเช่นกัน เพราะเขาชอบทักษิณ

ดังนั้นเมื่อมีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นอย่างแท้จริงแล้วท้องถิ่นใดอยากเลือกผู้นำ หรือนักการเมืองส.ส.ที่เป็นไอ้เสือ ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องของคนในท้องถิ่นนั้นโดยตรง เป็นเอกสิทธิของเขา เพราะไอ้เสือที่เขาเลือกมาไม่สามารถไปปล้นทรัพย์จากที่อื่นได้อีกต่อไปแล้ว นอกจากปล้นบ้านหรือท้องถิ่นของตนเองเช่น ชาวสุพรรณบุรีอยากเลือกบรรหารให้มาภาษี แล้วโกงภาษีของชาวสุพรรณ ก็เป็นเรื่องของชาวสุพรรณเป็นเรื่องของชุมชนในท้องถิ่นนั้น ๆ เขาจะตัดสินใจเองว่าเงินภาษีของเขาจะยอมให้ไอ้เสือปล้นหรือไม่ซึ่งเชื่อว่าความรู้สึกของชุมชนจะเกิดความหวงแหนเงินภาษีของเขาเองมากกว่าที่เป็นอยู่ในระบบโครงสร้างปัจจุบันเพราะปัจจุบันเขารู้สึกว่าเงินนั้นมาจากส่วนกลาง และเป็นเงินจากที่อื่น มิใช่เงินของเขาโดยตรงจะเห็นว่าเมื่อมีการกระจายอำนาจออกไปดังกล่าวแล้ว เส้นทางของเงินภาษีจะสั้นชาวบ้านผู้เสียภาษีจะเกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของเงินนั้นต่างกับโครงสร้างแบบรวมศูนย์อำนาจในปัจจุบันเส้นทางของเงินภาษีจะยาวทั้งขาเก็บและขากลับมาในรูปงบประมาณเกิดการรั่วไหลได้ตลอดทาง

  1. เมื่อมีการกระจายอำนาจบริหารและอำนาจจัดเก็บภาษีไปสู่ท้องถิ่นแล้ว  รัฐบาลกลางก็จะเหลือหน่วยงานหลักคือ  กลาโหม  ต่างประเทศ การคลัง  และ ศาลสูง เท่านั้น  ส่วนงานอื่นๆ ให้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นทั้งสิ้น ไม่ว่า การศึกษา  ตำรวจ  อัยการ  ศาลท้องถิ่น  สาธารณสุข  เกษตร  คมนาคม  แรงงาน  มหาดไทย  วัฒนธรรม  ฯลฯ  บุคลากรทั้งหลายเหล่านั้นก็ต้องไปสังกัดภายใต้รัฐบาลท้องถิ่น
  2. การปรับโครงสร้างอำนาจด้วยการกระจายอำนาจไปสู่รัฐบาลท้องถิ่นนั้นเหมาะสม และสอดคล้องกับการแก้ปัญหาเศรษฐกิจ  สังคม  วัฒนธรรม  สิ่งแวดล้อม  ฯลฯ  ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรง และซับซ้อนมากยิ่งขึ้น  ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ จะได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยตรง และรู้ปัญหา ความต้องการของชุมชนนั้นได้ดีกว่ารัฐบาลกลาง  ตัวอย่างเช่น
    1. ปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน ปัจจุบันได้รวมศูนย์อำนาจในการออกโฉนดที่ดินไว้ที่ส่วนกลาง ได้แก่ กรมที่ดิน  กรมป่าไม้  ฯลฯ  ผลก็คือชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้นไม่มีที่ทำกิน ไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดิน  แต่คนในกรุงเทพฯ หรือเมืองใหญ่ซึ่งไม่ได้ทำกินหรือเป็นเกษตรกร กลับมีโฉนดที่ดินทั่วประเทศไทย  ดังนั้น ปัญหานี้ต้องกระจายอำนาจให้รัฐบาลท้องถิ่นเป็นผู้กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้สิทธิทำกินในที่ดิน  เพราะเขาจะรู้จักคนในพื้นที่ดี  ส่วนคนนอกชุมชนถ้าจะมีการครอบครองที่ดิน ต้องพิจารณาในอันดับหลังจากชาวบ้านในชุมชนนั้น  หรือต้องถือครองโดยมีเงื่อนไขของการส่งเสริมการลงทุน  มิใช่การเก็งกำไรที่ดิน และให้ชาวชุมชนเข้ามาตรวจสอบอย่างเข้มข้น

เวทีปฏิรูปประเทศครั้งที่ 3 หัวข้อ การกระจายอำนาจสู่จังหวัดปกครองตนเอง ของกลุ่ม กปปส.เวท...

14 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 14:09

นายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ถือเป็นโอกาสดี ที่ประเทศไทย จะได้ปรับปรุงโครงสร้างต่าง ๆ ในการกระจายอำนาจ เพราะจะเกี่ยวข้องกับเรื่องความมั่นคง และความเป็นอยู่ของประเทศอย่างมาก ....

 

นายจรัส สุวรรณมาลา ตัวแทนจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า แนวทางปฏิรูป จะต้องเน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชนก่อน แล้วค่อยพัฒนาเป็นระดับจังหวัดให้มีการจัดการตัวเองจากนั้น จะเกิดการแข่งขันกันเองของแต่ละจังหวัด ทำให้มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ชนบทต้องพึ่งพาและอยู่ร่วมกับเมืองขนาดใหญ่ในภูมิภาคมากยิ่งขึ้น โดยสังคมเมือง จำเป็นต้องจัดบริการสาธารณะในหลายระดับ รวมถึงการป้องกันภัยพิบัติ รักษาเสถียรภาพราคาสินค้า พลังงานสิ่งแวดล้อมและการลงทุน เมืองขนาดกลาง....... อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1fvBcnQ

 

ถ้าทำได้สำเร็จ น่าจะทำให้ประเทศไทย มีการก้าวเดินไปในทิศทางที่ถูกต้องมากขึ้น อาจต้องใช้เวลา กว่าจะไปถึงจุดที่ประสพความสำเร็จ ขึ้นอยู่กับ ความอดทนและความตั้งใจของประชาชน แต่ก็น่าจะแก้ปัญหาการรวมศูนย์อำนาจ ซึ่งป็นรากฐานของปัญหาต่างๆได้มากทีเดียว


สถานการณ์ล่าสุดสรุปดังนี้ โดย...Paisal Puechmongkol

6 มกราคม พ.ศ. 2557 - 14:16

สถานการณ์ล่าสุดสรุปดังนี้
กระบวนรบ-สะกัดไม่ให้ระบอบทักษิณกลับมามีอำนาจใหม่โดยอาศัยการเลือกตั้ง ๒ กุมภา ฟอกตัว ชัดเจนว่าได้ผลขั้นใหญ่ การเลือกตั้ง ๒ กุมภา ทำไม่ได้แน่นอนแล้ว เพราะมีถึง ๒๘ เขตเลือกตั้งไม่มีการสมัคร ถึงเลือกตั้งไปก็ไม่ได้สภา ไม่ได้รัฐบาล ไม่มีทางได้กลับมาโดยการเลือกตั้ง ๒ กุมภาแน่นอน

กระบวนรบ-ไล่ออกจากการรักษาการ ตอนนี้รักษาการรัฐมนตรีเกือบทั้งหมดถอดใจ หลบลี้หนีหน้าไปจากสังคม คงมีเพียง สุรพงษ์ จารุพงษ์ ที่เอาการเอางาน ในขณะที่เฉลิม กิตติรัตน์ ชัชชาติ ตีฉากเป็นระยะๆ ส่วนยิ่งลักษณ์ ไม่มีที่ทำงาน ไปไหนต้องปกปิดกำหนดการและเส้นทาง ใกล้เป็นสัมภเวสีเต็มทีแล้ว และในวันที่ ๑๓ นี้ ก็จะมียุทธการปิดบ้านจับโจร หรือที่อาจารย์แก้วสรรเรียกว่ายุทธการปิดเล้าไก่จับ***เกิดขึ้นอีก ในขณะที่ ปปช ศาลรัฐธรรมนูญ กำลังจะชี้มูลหรีือตัดสิน ที่ถ้าหากแพ้ก็ตกกระป๋องเป็นเข่งๆ

แผนการร้ายสารพัดเจ๊งบ๊งหมด ดังที่เคยวิเคราะห์แล้ว แม้แผนการใช้ความรุนแรงก็ขยับไม่ออกเพราะถูกปรามอย่างจัง

ฐานค้ำอำนาจตอนนี้เหลืออยู่แต่ ศอรส. ที่มี สุรพงษ์ อดุลย์ วรพงษ์ คำรณวิทย์ ยันเป็นหลักเท่านั้น ในขณะที่ปิยะ ธาริต ออกอาการสโลว์ดาวน์แล้ว แม้แต่อดุลย์ก็ถูกกดดันทั่วทิศ จนทำอะไรแทบไม่ได้ เพราะฝ่ายเดียวกันก็เริ่มมองว่าอดุลย์เปี๋ยนไป ยิ่งหลังไปอวยพรป๋ากับ ผบ.เหล่าทัพแล้วออกมายอมรับว่าคนชุดดำและคนทุบรถคือตำรวจ ทำเอาเฉลิม วรพงษ์ ปิยะ เจ๊กอั๊กตามๆกัน แม้ตำรวจในหลายจังหวัดก็ออกอาการ เป็นกลาง มากขึ้นเช่นไม่ยอมตรวจสะกัดรถผู้ชุมนุมที่เข้ามาชุมนุม บางจังหวัดประกาศเปิดเผยว่าไม่สะกัดแล้วคร้าบๆๆ ฐานแบบนี้จึงเปราะเต็มที มิหนำซ้ำบางคนจะถูก กปปส ประกาศไปเยี่ยมถึงบ้านอีก
ตอนนี้จึงได้แต่อาศัยกระบอกเสียงรับจ้างและนักวิชากิน ทำอุบายเมืองร้าง โห่ร้องเสียงดังหลอกประชาชนเท่านั้น แต่มีคนรู้ทันหมดแล้ว


ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแพ้ ประเทศจะแตกไหม (ด้วยความเป็นห่วง)

18 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 10:37

พอดี ไปเจอบทความในกรุงเทพธุรกิจเกี่ยวกับเวียดนาม

เวียดนาม ในสงคราม 'การเมือง' http://www.bangkokbi...ม-การเมือง.html  

คือคิดว่า เสียงส่วนมากในภาคเหนือ กับ อิสาน กลางบางส่วน ยังสามารถคุมได้โดยฝ่ายรัฐบาล ในขณะเดียวกัน ที่เหลือคือฝ่ายกำนัน และประชาชน กลาง ตะวันออก ใต้ และกรุงเทพ คงไม่มีการยอมกันง่ายๆ คงถึงขนาด "มีมึงไม่มีกู" ที่สำคัญ สภาพภูมิศาสตร์ มันชัดเจน ตอนนี้เหมือนฝ่ายกำนันและประชาชน พยายามสู้เพื่อช่วย เสียงส่วนน้อยในภาค เหนือ และ อิสานมากกว่า เพราะแค่ในพื้นที่ฝ่ายประชาชน ก็อยู่ได้สบาย ประชาชนตื่นรู้กันมากพร้อมสำหรับการปฏิรูปประเทศแล้ว แต่ในพื้นที่อิทธิพลของรัฐบาล แนวทางปฏิรูปยังเป็นเสียงส่วนน้อย ทำให้ฝ่ายปฏิรูปยังต้องเหนื่อยกันอีก