Jump to content


sriariya

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 19 กรกฎาคม 2554
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2557 16:12
-----

Topics I've Started

ข้อคิด และแนวทาง การปฏิรูปการเมือง

30 สิงหาคม พ.ศ. 2556 - 11:02

“ข้อคิดและแนวทาง การปฏิรูป การเมือง”

            บทความนี้ เป็นข้อคิดเห็นและเสนอแนะ อันสมควร(ปฏิรูป)ที่จะนำไปประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดการปฏิรูปที่ดี ซึ่งก็ย่อมขึ้นอยู่กับความคิด ความรู้ ความเข้าใจของแต่ละบุคคลหรือของแต่ละกลุ่มบุคคล เพราะการปฏิรูปนั้น หมายถึง การกระทำทั้งทางกาย วาจา และใจที่เหมาะสม สมควร ตามระบอบการปกครองของประเทศนั้นๆ

            ก่อนที่บุคคลกลุ่มต่างๆ จะทำการปฏิรูปการเมือง ให้เหมาะสม สมควร ตามระบอบการปกครองของประเทศ กลุ่มบุคคลดังกล่าว ก็ควรได้ปฏิรูปสภาพ ความรู้ ความคิด และจิตใจ ในตัวเองให้ดีและเป็นกลางเสียก่อน เพราะถ้าหาก กลุ่มบุคคลผู้ที่จะทำการปฏิรูป มีความรู้ มีความเข้าใจ มีความคิด และจิตใจ เพียงเพื่อหวังที่จะให้เกิดเป็นผลประโยชน์ต่อฝ่ายตนและพวกพ้อง  การปฏิรูปย่อมล้มเหลว

            บุคคลกลุ่มต่างๆ ที่จะทำการปฏิรูปการเมือง ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ก่อนว่า ระบอบการปกครองของประเทศ มีการปกครองในระบอบใด เพราะระบอบการปกครองประเทศ ย่อมเป็นตัวกำหนดทิศทาง วิธีการในการบริหารและปกครองประเทศในด้านต่างๆ  ถ้าหากการปกครองของประเทศ มีการปกครองในระบอบ “ประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” ก็ย่อมมีหลักการ กฎเกณฑ์ ในการบริหารและปกครองประเทศ ที่แตกต่างจากการบริหารและปกครองตาม ระบอบประชาธิปไตย แบบอื่นๆอยู่บ้างบางประการ แต่โดยรวมแล้ว การบริหารและปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตย ย่อมมีหลักการบริหารและปกครองภายใต้กฎเกณฑ์ของอำนาจมหาชนที่เรียกว่า “หลักนิติรัฐ” อันหมายถึง “การกำหนดอำนาจหน้าที่ รวมถึงการควบคุมและตรวจสอบ การใช้อำนาจของคณะผู้ปกครองประเทศ เพื่อป้องกันการใช้อำนาจเกินขอบเขต หรือใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้อง ” ซึ่ง หลักนิติรัฐ นั้น ได้แบ่งอำนาจการบริหารและปกครองประเทศเพื่อถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน ออกเป็น ๓ ประเภท คือ

๑.อำนาจบริหาร

๒.อำนาจนิติบัญญัติ

๓.อำนาจตุลาการ

            โดยหลักการ “นิติรัฐ”นี้ ย่อมเป็นรากฐาน เป็นพื้นฐาน แห่งการคิดพิจารณาในอันที่จะปฏิรูปการเมืองในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดียิ่ง หากกลุ่มบุคคลที่จะทำการปฏิรูป ล้วนมีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการบริหารและปกครองประเทศอย่างถ่องแท้แล้ว ย่อมนำเอา อำนาจการปกครองประเทศ ทั้ง ๓ ประเภท มาเป็นแม่แบบต้นแบบ หรือเป็นแนวทาง ในการปฏิรูปการเมืองเพื่อประชาชนได้อย่างดียิ่ง มีความยุติธรรม เหมาะสม และสมควร เป็นอย่างยิ่ง 

            แต่ถ้าหากกลุ่มบุคคลที่จะทำการปฏิรูป  ขาดความรู้ ความเข้าใจ ในอำนาจการบริหารและปกครองทั้ง ๓ ประเภท หรืออาจมีความรู้ความเข้าใจ แต่มีความคิด จิตใจ ในอันที่จะกระทำเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายตนและพวกพ้อง การปฏิรูป ก็จะโอนเอียงไปในทางที่เป็นช่องทางเพื่อแสวงหาผลประโยชน์  หรือความสะดวกในอันที่จะก่อให้เป็นผลประโยชน์ ต่อฝ่ายตนและพวกพ้อง

            การปฏิรูปองค์กรทุกองค์กร อันเกี่ยวข้องกับการเมือง หรือเกี่ยวข้องกับการบริหารหรือปกครองประเทศ ควรได้ปฏิรูป ความรู้ ความคิด จิตใจของบุคคลหรือบุคคลากรที่เกี่ยวข้องก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าหาก ความรู้ ความคิด จิตใจของบุคคลหรือบุคคลากรที่เกี่ยวข้องทางการเมือง คือ เกี่ยวข้องกับการบริหารหรือปกครองประเทศ หวังกระทำเพียงเพื่อ ประโยชน์ฝ่ายตนและพวกพ้อง ความไม่ถูกต้องไม่ยุติธรรม ความขัดแย้ง ความวุ่นวายในสังคม ก็ย่อมเกิดขึ้น   แต่ถ้าหาก ความรู้ ความคิด จิตใจ ของบุคคลหรือบุคคลากรที่เกี่ยวข้องทางการเมืองการปกครอง หวังกระทำ เพื่อประเทศชาติ และประชาชนอย่างแท้จริง ความยุติธรรมก็ย่อมเกิดมี และย่อมไม่มีความขัดแย้ง  อีกทั้งไม่เกิดความวุ่นวายอย่างเด็ดขาดแน่นอน หรือจะเรียกว่า เกิดมี ความปรองดอง ในสังคม ก็ได้เช่นกัน

            การเมือง คือ การบริหารและปกครองประเทศ ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ย่อมเป็นไปตาม “หลักนิติรัฐ” ซึ่งประกอบด้วย อำนาจในการบริหารและปกครองประเทศ ๓ ประการ ล้วนเป็นการกำหนดอำนาจหน้าที่ สามารถควบคุมและตรวจสอบได้ เพื่อป้องกันมิให้ คณะผู้ปกครองประเทศ ใช้อำนาจเกินขอบเขต ที่กำหนดไว้ เพื่อถ่วงดุลอำนาจ ป้องกันมิให้ก้าวก่าย หรือละเมิดอำนาจ  โดยใช้กลวิธีต่างๆนานา หากบุคคลหรือบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับการเมือง มีความรู้ มีความเข้าใจ ใน “หลักนิติรัฐ” มีความรู้ มีความเข้าใจ ในอำนาจทั้ง ๓ ประการสำหรับใช้ในการ บริหารและปกครองประเทศ อีกทั้งยังมีความรู้ความเข้าใจในการที่จะนำเอา อำนาจในการบริหารและปกครองประเทศมาเป็นแม่แบบ ต้นแบบหรือแนวทางในการที่จะปฏิรูปการเมือง  การปฏิรูปย่อมเป็นไปโดยความสุจริต ยุติธรรม ไม่เป็นช่องทางให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหาผลประโยชน์ หรือไม่ใช้เป็นช่องทางเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ให้ฝ่ายตนและพวกพ้อง  ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายที่เป็นกลุ่มบุคคลหรือบุคคลากรทางการเมือง ได้คิดได้พิจารณา และได้นำเอา “หลักนิติรัฐ”ไปใช้เป็นแม่แบบต้นแบบหรือแนวทางในการปฏิรูปการเมืองในทุกด้าน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ เพื่อให้เกิดความผาสุกของประชาชนทุกชนชั้นเถิด.

            จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (รป.บ.)

               ผู้เขียน  ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๖


ศาสนาศรีอาริย์

17 มีนาคม พ.ศ. 2556 - 21:08

ศาสนาศรีอาริย์

บทความนี้จะมุ่งเน้นทำความเข้าใจให้กับท่านสาธุชนผู้ใฝ่ในศาสนาทั้งหลายได้ทำความเข้าใจเกี่ยวกับศาสนาที่จะเกิดขึ้นใหม่ในอนาคตอันใกล้นี้ ด้วยเหตุของความเสื่อมในศาสนาอันไม่สามารถเข้าถึงจิตใจของมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานแล้ว ทำให้เป็นเหตุฟปัจจัยหนึ่งในอันที่จะทำให้เกิดการแปรปรวนของธรรมชาติ และความแปรปรวนของพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ ศาสนาที่จะเกิดขึ้นใหม่นั้น ก็คือ ศาสนาศรีอาริย์   

            ศาสนาศรีอาริย์ เป็นศาสนาที่อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นศาสนาสุดท้ายแห่งมวลมนุษย์โลก(ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์เท่านั้น) เพราะเป็นศาสนาที่ได้บูรณาการทุกด้านในศาสนาทั้งหลายทุกศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาต้นกำเนิด หรือศาสนาส่วนแยกทั้งหลายที่มีอยู่ ซึ่งแต่ละศาสนาสามารถนำเอาหลักธรรมคำสอนแห่งศาสนาศรีอาริย์ไปเป็นแม่แบบแห่งหลักธรรมคำสอนได้ และเป็นหลักปฏิบัติได้ในทันที ทั้งนี้เพราะศาสนาศรีอาริย์มิได้เกิดขึ้นมาเพื่อทำลายศาสนาอื่นๆที่มีอยู่ แต่ศาสนาศรีอาริย์ เป็นศาสนาที่จะนำทาง เป็นศาสนาที่จะพัฒนา ให้แก่ศาสนาทุกศาสนา ได้ประพฤติปฏิบัติและมีแนวความคิดอย่างถูกต้องตามหลักความเป็นจริง  อีกทั้งยังสามารถประพฤติปฏิบัติตามหลักศาสนาเดิมที่มีอยู่ได้อย่างที่ไม่ต้องไปแก้ไขใดใดทั้งสิ้น ทั้งนี้ก็เพราะ หลักธรรมและหลักปฏิบัติ แห่งศาสนาศรีอาริย์นั้น เป็นแม่แบบ เป็นหลักความจริงที่ไม่มีผู้ใดไม่มีสิ่งใดหลีกพ้นได้ สรรพสิ่งล้วนต้องมี ต้องเป็นไป ล้วนมีประพฤติและการปฏิบัติใดใด ตามหลักธรรมคำสอนแห่งศาสนาศรีอาริย์

            ศาสนาทุกศาสนาที่มีอยู่ ย่อมมีข้อประพฤติปฏิบัติตามศาสนานั้นๆอยู่แล้ว เมื่อศาสนาศรีอาริย์ปรากฏ ข้อประพฤติปฏิบัติของศาสนานั้นๆ ก็ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม ผู้ศรัทธาในศาสนานั้นๆก็ยังคงประพฤติปฏิบัติตามหลักศาสนานั้นอยู่เหมือนเดิม เพียงแต่ ศาสนาศรีอาริย์ จะเป็นผู้ไขความลับ เป็นผู้แจ้งหลักความจริงแห่งความเป็นมนุษย์ ให้ท่านทั้งหลายผู้ศรัทธาในศาสนาทั้งหลาย ได้นำไปเป็นแม่แบบ ได้นำไปเป็นหลักการแห่งการประพฤติปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ตนเองศรัทธาอยู่ แม้นผู้ใดใคร่หลุดพ้น หรือใคร่ปฏิบัติให้ถึงจุดหมายแห่งศาสนาแต่ละศาสนาก็ย่อมกระทำได้ โดยไม่ยาก เพียงแต่ต้องมีความอดทน ขยันหมั่นเพียร และต้องทบทวนฝึกตนอยู่เป็นนิจ ตามกิจแห่งตนเอง และกิจแห่งศาสนาที่ตนเองศรัทธาอยู่ หมายความว่า เมื่อท่านทั้งหลายได้ปฏิบัติกิจแห่งตนเอง หรือกิจแห่งศาสนา ก็ให้นำเอาหลักการหรือหลักธรรม อันเป็นแม่แบบ สอดแทรกเพื่อคิดพิจารณา เพื่อเตือนสติตน ฝึกตน ว่ากิจทั้งหลายเหล่านั้นประพฤติปฏิบัติเพื่อสิ่งใด ก็ย่อมทำให้ผู้ศรัทธาในศาสนาทุกศาสนา สามารถบรรลุสู่เป้าหมายแห่งศาสนาที่ตนศรัทธาได้

หลักธรรม แล ข้อปฏิบัติแห่งศาสนาศรีอาริย์นั้น ไม่ยาก เพียงแต่ต้องนำไปคิดพิจารณาให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ท่านทั้งหลายก็จักสามารถบรรลุสู่เป้าหมายสูงสุดของศาสนาที่ตนศรัทธาได้  

หลักธรรมและข้อปฏิบัติแห่ง ศาสนาศรีอาริย์ โดยรวมมีดังนี้.-

 

“ ท่านทั้งหลาย ครองเรือนเป็นมนุษย์ สิ่งที่พวกท่านมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง ทั้งอสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ บ้างก็ยากจน บ้างก็ร่ำรวย บ้างก็มีงานทำที่ให้เกิดความคิดตามค่านิยมแห่งสังคมมนุษย์ว่าดีว่าสูงว่ามีอำนาจอิทธิพลฯ บ้างก็มีงานทำที่ทำให้เกิดความคิดตามค่านิยมแห่งสังคมมนุษย์ว่าต่ำต้อยไร้อำนาจไร้อิทธิพล   สิ่งทั้งหลายที่พวกท่านมีอยู่ ไม่ทำให้พวกท่านได้อะไรจากสิ่งเหล่านั้นเลย  นอกเหนือ

ไปจาก การได้ปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งสิ่งเหล่านั้น ก็เพียงให้ท่านทั้งหลายได้มีได้เกิด “ ความคิด ความระลึกนึกถึง อารมณ์ และความรู้สึก”  ไม่ว่าท่านทั้งหลายจะมีเงินทองทรัพย์สินมากมายสักเท่าไหร่ หรือยากจนสักเพียงไหน สิ่งที่พวกท่านได้รับจากสิ่งที่พวกท่านมีอยู่ ทำอยู่  ก็คือ “ความคิด ความระลึกนึกถึง อารมณ์ และความรู้สึก” เท่านั้น แต่พวกท่านเป็นมนุษย์ (ในที่นี้หมายเอาเฉพาะมนุษย์) พวกท่าน ย่อมต้องปฏิบัติ ย่อมต้องกระทำ  ย่อมต้องมี

  1. การครองเรือน ,ทาน คือ การให้
  2. กตัญญู รู้คุณ ,การเจรจาติดต่อสื่อสาร
  3. สรรพอาชีพ ,ประพฤติ
  4. ระลึก,ดำริ

         ทั้ง ๔ (สี่ข้อ) ๘(แปด)คู่ นั้น ล้วนเป็นสิ่งที่พวกท่านล้วนต้องกระทำล้วนต้องประพฤติล้วนต้องปฏิบัติกันอย่างแน่นอน  ไม่มีผู้ใดหลีกพ้น เพราะเป็นหลักความจริงตามการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ท่านทั้งหลายย่อมต้องประพฤติปฏิบัติ หรือกระทำตามหลักทั้ง ๔ ข้อ ๘ คู่ อันก่อให้เกิดผลคือได้รับทรัพย์สินเงินทอง ได้รับปัจจัยสี่  ความคิด ความระลึกนึกถึง อารมณ์ ความรู้สึก    แต่ ทรัพย์สินเงินทอง สังหาริมทรัพย์ อสังหาริมทรัพย์ ที่พวกท่านได้รับหรือมีอยู่ ก็เป็นเพียงสร้าง “ความคิด ความระลึกนึกถึง อารมณ์ ความรู้สึก” ให้กับพวกท่านเท่านั้น 

         ในเมื่อ ท่านทั้งหลายเป็นมนุษย์ ย่อมต้องประพฤติปฏิบัติตามหลักธรรม ๔ ข้อ ๘ คู่ อันเป็นไปตามปกติแห่งสังคมการเป็นอยู่ในการดำรงชีวิตของมนุษย์  ท่านทั้งหลายจะประพฤติปฏิบัติให้เกิดความทุกข์ หรือจะประพฤติปฏิบัติให้เกิดความสุข ก็ขึ้นอยู่กับตัวท่าน ขึ้นอยู่กับหลักคำสอนของศาสนาที่ท่านศรัทธาอยู่ว่าจะสอนให้ท่านได้เรียนรู้ได้ประพฤติปฏิบัติเพื่อความปกติสุขของการอยู่ร่วมกัน หรือสอนเป็นแบบอื่นใด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจ ของท่านทั้งหลายว่า จะเข้าใจและประพฤติปฏิบัติไปในทิศทางใด”

 

            หลักธรรมและหลักปฏิบัติแห่งศาสนาศรีอาริย์ จะเป็นเครื่องช่วยในการพัฒนาศาสนาต่างๆ ให้มีความรู้ ความเข้าใจในการดำรงชีวิตในความเป็นมนุษย์ ได้มีความรู้ความเข้าใจตามหลักความจริงแห่งการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน สามารถรู้แจ้งเห็นจริงกันได้ทั่วทุกคน จะต่างกันตรงที่จะเกิดความเข้าใจช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับสมองสติปัญญาและประสบการณ์ของแต่ละบุคคลเท่านั้น

            ประการสุดท้าย ศาสนาศรีอาริย์ อันเป็นศาสนาใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ยังมีหลักธรรมคำสอน และหลักปฏิบัติอีกมากมาย ที่ไม่ได้นำมาสอน ที่สอนไปข้างต้นนั้น เป็นเพียงหนึ่งหมวด ในจำนวนทั้งหมด ๘ (แปด)หมวดหลักธรรม ฯลฯ

ขอให้ท่านทั้งหลายได้คิดพิจารณาให้เป็นไปตามหลักความจริงเถิด

 

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน)

๑๕ – ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๖

 

 


การเกณฑ์ ร.ด. เข้าเป็นทหาร

7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 21:52



 

เกณฑ์ ร.ด. เข้าเป็นพลทหาร (ข้อคิดข้อแนะแนว)



 

 



 

            ข้าพเจ้าได้รับฟังข่าวสารเกี่ยวกับข้อคิดและแนวทาง
ถึงความจำเป็นในอนาคต ที่จะมีการเกณฑ์ ผู้ที่เรียน ร.ด. เข้าประจำการเป็น
ทหารกองประจำการ หรือพลทหาร ด้วยเหตุที่มีแนวโน้มว่าในอนาคต
ยอดประชาชนที่จะเข้ารับการตรวจเลือกเป็นพลทหารกองประจำการอาจจะมีจำนวนน้อยลง ซึ่งจะทำให้เกิดความขาดแคลนกำลังพลไม่เพียงพอต่อการป้องกันประเทศ
เพราะนักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่จะเรียน ร.ด. เพื่อให้พ้นหรือได้รับการยกเว้นจากการเกณฑ์ทหาร
ในเรื่องนี้นับว่าเป็นความคิดและแนวทางที่ดี ซึ่งในอดีตเมื่อประมาณ ๓๐ กว่าปีที่ผ่านมา
นักเรียนนักศึกษาที่เรียน ร.ด.บางคนที่เรียนไม่จบ หรือบางคนไม่ได้ยื่นขอผ่อนผัน
หรือยื่นยกเว้น หากได้รับการตรวจเลือกเข้าเป็นพลทหารกองประจำการ
แล้วยื่นหลักฐานการเรียน ร.ด.ภายหลัง ก็จะมีอายุการประจำการ ๖ เดือนบ้าง
หนึ่งปีบ้าง หนึ่งปีครึ่งบ้าง แล้วแต่ว่าบุคคลนั้นๆจะเรียน ร.ด.ในชั้นปีใด
หรือจบชั้นปีใด



 

            นักเรียนนักศึกษาที่เรียน
ร.ด. ส่วนใหญ่ มักจะจำเป็นที่ต้องเรียน เพื่อให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเกณฑ์ทหาร
เพราะนักเรียนนักศึกษาเหล่านั้นได้รับข่าวสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับทหารที่ไม่ค่อยถูกต้อง
อีกทั้งยังเกี่ยวข้อง ทางด้าน เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งทำให้นักเรียนนักศึกษา
มีความคิดว่า การเข้ามาเป็นพลทหารกองประจำการนั้น ทำให้เสียเวลา เสียโอกาสในการทำงานเพื่อสร้างอนาคต
อย่างนี้เป็นต้น ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปมิใช่เป็นการยกเมฆ หรือกล่าวอ้างเอาเอง
เพราะเมื่อครั้งข้าพเจ้ายังรับราชการอยู่ เมื่อมีเวลาว่าง ไม่ว่าจะเป็น
เวลาผู้ใต้บังคับบัญชา หรือเวลาผู้บังคับบัญชา หรือเมื่อมีโอกาสได้ออกไปทำงานร่วมกับพลทหาร
ข้าพเจ้าก็จะพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์
ถามไถ่สาระทุกข์หรือสุขกับเหล่าพลทหารในทุกกองร้อยที่ได้อยู่ร่วมกัน
จึงทำให้ได้รู้ว่า เขาเหล่านั้น หลายร้อยคน ต้องลาออกจากงานเพื่อมารับใช้ชาติ ทำให้เสียเวลา
และเสียโอกาส  ถึงแม้ว่า
การเข้ามารับใช้ประเทศชาติด้วยการเป็นพลทหารกองประจำการ จะได้ประโยชน์หลายๆอย่าง
ทั้งในด้านการได้เรียนรู้ด้านวิชาการทหารฯลฯ ได้เรียนรู้หลักการประชาธิปไตย
หรือสิทธิเสรีภาพ ภายใต้กฎหมาย ภายใต้แบบธรรมเนียมฯ(จารีต วัฒนธรรม ประเพณี)
ได้เรียนรู้ความเท่าเทียมทางด้านการได้รับการดูแลทั้งด้าน รายได้ อาหาร
เครื่องนุ่งห่ม การรักษาพยาบาล และที่อยู่อาศัย ตามสมควรของลักษณะงาน จะเรียกได้ว่า
ในกรมกองทหาร ได้สอนให้ประชาชนรู้จักหลักวิชาการด้านต่างๆ รวมไปถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
สิทธิเสรีภาพ ภายใต้กฎหมาย ภายใต้แบบธรรมเนียมฯ อันเป็นพื้นฐานที่จะทำให้ประชาชนหรือพลทหารกองประจำการ
ได้กลับออกมาเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติบ้านเมือง ในกาลต่อไป
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสมองสติปัญญาและความสนใจของแต่ละบุคคล



 

            ดังนั้น
การที่จะให้มีการเกณฑ์ทหารจาก นักเรียนนักศึกษาที่ได้เรียน
ร.ด.และจบการศึกษาจากสถานศึกษาแล้ว ควรจะได้วิเคราะห์หรือพิจารณาถึง
ความต้องการทางด้านเศรษฐกิจสังคมของเขาเหล่านั้นด้วย นั่นก็หมายความว่า
ถ้าหากจะมีการเกณฑ์ พวกที่เรียน ร.ด. จริง ก็ควร
เลือกการเกณฑ์หรือตรวจเลือกเฉพาะผู้ที่ไม่มีงานทำ  หรือจากผู้ที่สมัครใจจะเข้ารับการเกณฑ์ทหาร
คงจะเป็นประโยชน์ต่อเขาเหล่านั้น มากกว่าที่จะเรียกเกณฑ์แบบทั่วไป
เพราะบางคนอาจมีงานทำเป็นหลักแหล่งอยู่แล้ว
หากไปเรียกผู้ที่มีงานทำอยู่แล้วเข้ามาตรวจเลือกหรือเกณฑ์ทหาร
ก็จะทำให้เขาเหล่านั้น เสียเวลา เสียโอกาส ต้องลาออกจากงานที่ทำอยู่ ฯลฯ
แต่ถ้าหากทางราชการตรวจเลือกหรือเรียกเกณฑ์ทหารสำหรับผู้ที่เรียน ร.ด.
เอาเฉพาะผู้ที่ไม่มีงานทำ หรือผู้ที่สมัครใจจะเข้ารับการตรวจเลือก
ก็จะทำให้เกิดการสร้างงานสำหรับประชาชนได้อีกทางหนึ่ง แม้อาจจะเป็นเพียงช่วงระยะเวลา
หนึ่งปี หรือมากกว่า หนึ่งปี  ตามแต่กำลังงบประมาณจะทำได้



 

            ย่อมยังผลประโยชน์
แก่ประเทศชาติ
และย่อมยังผลประโยชน์ต่อตัวผู้ที่เข้ารับการตรวจเลือกหรือเกณฑ์ทหาร  อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือผู้ที่เรียนจบ
และเรียน ร.ด.แต่ไม่มีงานทำ หรืออยู่ระหว่างการรองาน เข้าไปรับการฝึกรับการอบรมเรียนรู้
ถึงหลักวิชาการด้านต่างๆ ได้เรียนรู้ หลักการประชาธิปไตย ภายใต้กฎหมาย
ภายใต้แบบธรรมเนียมฯ ได้เรียนรู้ สิทธิ เสรีภาพ ความเท่าเทียมกัน ภายใต้กฎหมาย
ภายใต้แบบธรรมเนียมฯ เพื่อกลับออกมาเป็นพลเมืองที่ดี
เป็นประชาชนที่มีคุณภาพของประเทศชาติบ้านเมืองสืบไป



 

 



 

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน)



 

๖ ก.พ. ๒๕๕๖



 


" สิทธิมนุษยชน จากประสบการณ์ของข้าพเจ้า

11 มกราคม พ.ศ. 2556 - 20:30

“ สิทธิมนุษยชน จากประสบการณ์ของข้าพเจ้า ” โลกของเราประกอบไปด้วยสิ่งมีชีวิตหลายชนิดอาศัยอยู่ และยังมีสรรพสิ่งต่างๆที่คอยอำนวย หรือเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายเหล่านั้น ในโลกเรามีสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีสมองสติปัญญาสูงกว่าและมีสรีระร่างกายที่เกื้อหนุน อำนวยให้สามารถกระทำการต่างๆได้ดีกว่าสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นก็คือ “มนุษย์” สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีอยู่ในโลกล้วนต้องอาศัยปัจจัยต่างๆในการดำรงชีวิต เช่นป่าไม้ ลำธาร แม่น้ำ สภาพภูมิประเทศ สภาพลมฟ้าอากาศ อีกทั้งยังต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในการดำรงชีวิตให้อยู่รอด สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเหล่านั้น ล้วนมีสิทธิ,เสรีภาพและอิสรภาพ หรือล้วนมีความสามารถในการกระทำ หรือดำเนินการหรือประกอบกิจกรรมใดใดโดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง ด้วยตัวของตัวเองโดยมิได้ถูกบังคับ กดขี่จากผู้อื่น ในการใช้หรือแสวงหาทรัพยากรที่มีอยู่ตามธรรมชาติ อย่างเท่าเทียมกัน แต่ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่มีอยู่เหล่านั้น เมื่อมีการรวมกลุ่มหรือบ้างล้วนต้องอาศัยกันอยู่เป็นกลุ่มๆ ย่อมต้องมีการแย่งชิง แย่งความครอบครอง บ้างก็ใช้ น้ำ, ดิน, สภาพภูมิอากาศ, สภาพภูมิประเทศ, ป่าไม้, เป็นแหล่งหาอาหาร บ้างก็ใช้สิ่งมีชีวิตด้วยกันเป็นอาหาร อันเป็นระบบนิเวศน์ตามธรรมชาติ อีกประการหนึ่งตามธรรมดาของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ล้วนมีอำนาจ คือมีความสามารถในการกระทำหรือดำเนินการหรือประกอบกิจกรรมใดใดได้โดยไม่มีอุปสรรคขัดขวาง ด้วยตัวของตัวเอง โดยมิได้ถูกบังคับกดขี่จากผู้อื่น หรือมีสิทธิ,เสรีภาพ,อิสรภาพ ในการใช้หรือแสวงหาทรัพยากรต่างๆในธรรมชาติอย่างเท่าเทียมกันอยู่แล้ว ซึ่งล้วนขึ้นอยู่กับสภาพความต้องการของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด และขึ้นอยู่กับกลุ่มหรือชุมชนของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นว่า จะสามารถแสวงหา ครอบครอง หรือมีความสามารถที่จะใช้ทรัพยากรอันเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต ได้กี่มากน้อย “มนุษย์” เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็นชุมชนมานานหลายพันปี ในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ล้วนต้องมีการแสวงหา ครอบครอง และใช้ทรัพยากรอันเป็นปัจจัยในการดำรงชีวิต ปัจจัยในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานของมนุษย์มีอยู่ ๔ ประการคือ อาหาร,เครื่องนุ่งห่ม,ที่อยู่อาศัย,และยารักษาโรค ปัจจัยพื้นฐานที่ได้กล่าวไปย่อมเป็นที่ต้องการของมนุษย์ในทุกยุคทุกสมัย สิทธิ,เสรีภาพและอิสรภาพหรือการกระทำ หรือความสามารถในการแสวงหาปัจจัยพื้นฐานของมนุษย์นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหรือความสามารถในตัวมนุษย์อันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญยิ่ง เช่น ความขยัน,ความมีความรู้,ความมีกำลังกายกำลังใจ,รวมไปถึงอุปกรณ์เครื่องมือ และพื้นที่หรือถิ่นหรือแหล่งหรือที่ทำกิน ที่จะช่วยทำให้สามารถสรรหาหรือสร้างหรือดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัยพื้นฐาน ทั้งทางตรงและทางอ้อม สำหรับใช้ในการดำรงชีวิตของตนได้อย่างสะดวกสบาย อีกประการหนี่งมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นชุมชน ดังนั้นในกลุ่มในชุมชนของมนุษย์ ย่อมต้องมีความต้องการทรัพยากรที่คล้ายกันหรือเหมือนกัน ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการครอบครอง หรือแสวงหาหรือใช้ปัจจัยและทรัพยากรต่างๆ สาเหตุก็เพราะดังที่ได้กล่าวไป อันเกี่ยวข้องกับปัจจัยและความสามารถต่างๆในตัวมนุษย์ ซึ่งก็ล้วนเป็นเสมือนเครื่องมือชนิดหนึ่งในการที่จะใช้สำหรับการเสาะแสวงหาหรือดำเนินกิจกรรม เพื่อให้ได้ปัจจัยในการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐาน รวมไปถึงการบริโภคและครอบครองที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาตามธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อมนุษย์มีการรวมกลุ่มกันมากขึ้นกลายเป็นชุมชนที่ใหญ่ขึ้น จนในที่สุดก็กลายเป็น หมู่บ้าน ตำบล เมือง จังหวัด ประเทศ หรือมีชื่อเรียกชุมชนที่ใหญ่ขึ้นนั้นแตกต่างกันไปตามแต่ภาษาของแต่ละภาค,แต่ละประเทศ,แต่ละทวีป และในแต่ละชุมชนต่างๆเหล่านั้น ก็ย่อมมีกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ ตามแต่ผู้มีอำนาจหรือผู้มีกำลังมาก จะกำหนดขึ้นมา เพื่อใช้ในการปกครองหรือเพื่อใช้ในการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน บ้างก็จำกัดสิทธิ,เสรีภาพ,อิสรภาพ,แบ่งชนชั้น,บ้างก็มีสิทธิ,เสรีภาพ,อิสรภาพ ตามแต่ผู้มีอำนาจหรือผู้มีกำลังจะแบ่งปันให้ ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความเจริญทั้งในด้านวัตถุ ในด้านจิตใจ ในด้านวิชาการความรู้ สิทธิ,เสรีภาพ,อิสรภาพต่างๆของแต่ละบุคคลก็มีมากขึ้น โดยมีระบอบการปกครองในแต่ละชุมชนในแต่ละประเทศเป็นปัจจัยหรือเป็นตัวกำหนดในสิทธิ,เสรีภาพ,อิสรภาพอันพึงมีพึงได้ของมนุษย์ ที่อยู่ภายใต้ระบอบการปกครองของประเทศนั้นๆ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๑ ณ.ประเทศฝรั่งเศล องค์การสหประชาชาติก็ได้มีการลงมติรับรอง “ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน” และประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเซีย ที่ยอมรับ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หมายถึง “การให้คำมั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอาความสุจริตใจ ในอันที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในการกระทำหรือสามารถกระทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างมี เสรีภาพ,อิสรภาพ โดยไม่ละเมิดเสรีภาพ,อิสรภาพของผู้อื่น” หรืออีกนัยหนึ่ง หมายถึง “ การให้คำมั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอาความสุจริตใจ ในอันที่จะทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในการกระทำ หรือสามารถกระทำกิจกรรมต่างๆได้อย่างไม่มีอุปสรรคขัดขวาง ด้วยตัวของตัวเอง โดยมิได้ถูกบังคับกดขี่ จากผู้อื่น และไม่เป็นการล่วงเกินหรือฝ่าฝืน จารีตประเพณี,วัฒนธรรมหรือกฎหมาย ในการกระทำหรือความสามารถกระทำกิจกรรมต่างๆของผู้อื่น” ไม่ว่าจะเป็นความเท่าเทียมกันอย่างมีเสรีภาพ,อิสรภาพ ในการกระทำหรือสามารถกระทำอย่างเท่าเทียมกัน ในด้านการดำรงชีวิตและครอบครัว, ในด้านสังคม, ในด้านเศรษฐกิจ, ในด้านการเมือง, ในด้านกฎหมาย, ในด้านการศึกษา, ในด้านศาสนา, ในด้านการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ หรือจะกล่าวอีกรูปแบบหนี่งก็คือ ความเท่าเทียมกันในการกระทำหรือสามารถกระทำอย่างมีอิสรภาพและเสรีภาพ โดยไม่ละเมิดสิทธิ,เสรีภาพ,อิสรภาพของผู้อื่นในพฤติกรรมและการกระทำทั้งทางร่างกาย,จิตใจ,ความคิด,การพูด นั่นเอง มนุษย์ทุกคนที่เกิดมาล้วนย่อมมี “สิทธิมนุษยชนติดตัวมาตามธรรมชาติ” ทุกคนล้วนมีเสรีภาพและอิสรภาพโดยไม่แบ่งแยกว่าจะมี เชื้อชาติ,ภาษา,ศาสนา,เพศหรือ สีผิวใดใด ไม่แบ่งแยกว่า มนุษย์ผู้นั้นจนหรือรวย หรือมีความคิดเห็นทางการเมืองรูปแบบใด แต่ทุกคนล้วนมีสิทธิเท่าเทียมกันในการที่จะได้รับ เสรีภาพ,อิสรภาพ และสามารถดำเนินกิจกรรมในด้านต่างๆ โดยไม่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรมอันดีงาม สิทธิมนุษยชน เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียมทั่วถึง มนุษยบางกลุ่มบางคนได้รับความไม่เป็นธรรม ได้รับความเดือนร้อนจากการกระทำของมนุษย์ด้วยกัน หรือได้รับความเดือดร้อนจากภัยสงครามจากการสู้รบเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง หรือได้รับความไม่เป็นธรรมในการครอบครองทรัพย์สินหรือทรัพยากร หรือได้รับความเดือดร้อนไม่เป็นธรรมจากกฎระเบียบข้อบังคับ หรือกฎหมายที่บั่นทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ไม่มีเสรีภาพไม่มีอิสรภาพในการดำรงชีวิต ถูกกดขี่ข่มเหง จนไร้ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ บนโลกใบนี้มีการปกครองประเทศหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความคิด สภาพประชากร จำนวนประชากร สภาพภูมิประเทศ และอื่นๆอีกหลายปัจจัย ระบอบการปกครองบางประเทศก็ปกครองประเทศด้วยการปกครอง “ระบอบประชาธิปไตย” บางประเทศก็ปกครองประเทศด้วยการปกครองแบบ “ระบอบเผด็จการผสมกับประชาธิปไตย” บางประเทศก็ปกครองแบบ “ระบอบประชาธิปไตยผสมหลักการทางศาสนา” บางประเทศก็ปกครองแบบ “ระบอบสังคมนิยม หรือ คอมมูนิสต์” ซึ่งในประเทศทั้งหลายเหล่านั้น ก็ล้วนมีกฎหมายที่ให้สิทธิมนุษยชนต่อพลเมืองภายในประเทศแตกต่างกันไป ตามหลักการของระบอบการปกครองนั้นๆ กล่าวโดยรวมแล้วสิทธิมนุษยชนในแต่ละประเทศจะคล้ายคลึงกันในหลายลักษณะ เช่น คล้ายคลึงกันใน สิทธิมนุษยชน ทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรมประเพณี ส่วนที่แตกต่างกัน ก็ได้แก่ สิทธิของพลเมือง สิทธิทางด้านการเมือง สิทธิทางด้านการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ สิทธิทางด้านกฎหมาย ซึ่งในประเทศต่างๆรวมถึงประเทศไทย ก็ได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของพลเมือง ตามครรลอง(แนวทาง)ของรัฐธรรมนูญ และกฎหมายของประเทศ นอกเหนือจากสิทธิมนุษยชนดังที่ได้กล่าวไป ยังมีสิทธิมนุษยชนอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งในหลายๆประเทศที่กำลังพัฒนา ได้ให้ความสำคัญในการให้สิทธิแก่ชุมชนหรือกลุ่มคน โดยไม่มุ่งเน้นในตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่ง สำหรับในประเทศไทยที่มองเห็นและรับรู้ได้ ก็คือ การจัดให้มีโฉนดชุมชน ซึ่งเป็นการจัดการ จัดสรร ครอบครอง,การใช้ประโยชน์และพัฒนาทรัพยากรต่างๆรวมไปถึงการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมของชุมชนโดยคนในชุมชนเอง สิทธิมนุษยชนหรือสิทธิของชุมชนรูปแบบนี้ “มุ่งเน้นการสร้าง ความเท่าเทียมกัน แห่งสิทธิ,เสรีภาพ,อิสรภาพ ในการกระทำหรือความสามารถกระทำ เพื่อกลุ่มเพื่อชุมชน เพื่อให้เกิดความมั่นคง ความยั่งยืน ความครบถ้วนบริบูรณ์ ในการดำรงชีวิต ตามวิถีชีวิตดั้งเดิมของผู้คนในชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แม้จะไม่มีผลบังคับเป็นดังเช่นกฎหมาย แต่ในกฎหมายของแต่ละประเทศ ก็ล้วนให้สิทธิมนุษยชนต่อพลเมืองของตนอยู่บ้างแล้ว แต่ในบางประเทศ เช่นประเทศไทย ได้มีการบัญญัติสิทธิมนุษยชนไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ก็ยังมีสิทธิมนุษยชนอีกหลายอย่างหลายรูปแบบที่ไม่อาจตราไว้เป็นกฎหมาย จำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ ความสนใจ ความสำนึกในความเป็นมนุษย์ รวมไปถึงศีลธรรมแห่งศาสนาในจิตใจของแต่ละบุคคล ที่จะทำให้แต่ละบุคคลช่วยกันสอดส่องดูแลรักษา สิทธิ,เสรีภาพ,อิสรภาพ ของตนเอง โดยไม่ละเมิด สิทธิ, เสรีภาพ,อิสรภาพ ของผู้อื่น เพราะทุกคนล้วนมี สิทธิ,เสรีภาพ,อิสรภาพ ที่เท่าเทียมกันในทุกด้านของการดำรงชีวิต มีความเท่าเทียมกันที่จะได้รับปัจจัยพื้นฐานและสิทธิเสรีภาพ,อิสระภาพ ตามสถานภาพ(ฐานะหรือหน้าที่) และ ศักยภาพ(คุณสมบัติหรือความสามารถที่แฝงอยู่ในตัว) ของตนเอง โดยไม่เบียดเบียนหรือละเมิดสถานภาพ(ฐานะหรือหน้าที่) และ ศักยภาพ(คุณสมบัติหรือความสามารถที่แฝงอยู่ในตัว) ของผู้อื่น มีสิทธิ,เสรีภาพ,อิสรภาพ ในการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ, ในการได้รับความคุ้มครองจากกฎหมาย, ในด้านเศรษฐกิจ ด้านการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันโดยปราศจากการรังเกียจ ถ้าหากทุกคนสำนึกในความเท่าเทียมกันในสังคมแล้ว มนุษยชนทั้งหลายย่อมมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ไม่ว่ามนุษยชนเหล่านั้นจะอยู่ในอาชีพอะไร ฐานะอย่างไร มีความสามารถเช่นใด มีความคิด มีความต้องการในระบอบการปกครองแบบใดก็ตาม ทั้งนี้สิทธิมนุษยชนจะเกิดขึ้นได้ล้วนอยู่ที่ ความมีจิตสำนึกแห่งศีลธรรมอันดีงามทางศาสนาที่มีอยู่ในจิตใจของแต่ละบุคคล ความมีความรู้ ความเข้าใจของคำว่า “ความเท่าเทียมกันในการกระทำหรือสามารถกระทำในกิจกรรมต่างๆได้อย่างมี เสรีภาพ,อิสรภาพ และไม่ละเมิดสิทธิ,เสรีภาพ,อิสรภาพของผู้อื่น” หรือจะกล่าวอีกรูปแบบหนึ่งก็คือ ความมีความรู้ ความเข้าใจของคำว่า “ความเท่าเทียมกันในการกระทำหรือสามารถกระทำในกิจกรรมต่างๆได้อย่างไม่มีอุปสรรคขัดขวาง ด้วยตัวของตัวเอง โดยมิได้ถูกบังคับกดขี่จากผู้อื่น และไม่เป็นการล่วงเกินฝ่าฝืนจารีตประเพณี,วัฒนธรรมหรือกฎหมาย ในการกระทำหรือความสามารถกระทำกิจกรรมต่างๆของผู้อื่น” นั่นก็คือ สิทธิมนุษยชน. จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน) ๒๐ กันยายน ๒๕๕๔

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ ความปรองดอง(ตอนที่ 2)

2 มกราคม พ.ศ. 2556 - 13:47

การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และ ความปรองดอง (ตอนที่ ๒)

            ความขัดแย้งต่างๆที่มีอยู่ เกิดจากความโลภ ในลาภ ยศ สรรเสริญ จนเกินเหตุ ต่างคนต่างอ้างความคิดของฝ่ายตนอันเป็นความหลง ความโลภ โดยไม่ได้คิดถึงหลักความจริงหรือหลักเหตุผล ไม่คิดถึงความสูญเสียในด้านต่างๆของประเทศชาติและประชาชน คิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้องเพียงฝ่ายเดียว ท่านทั้งหลายคิดกันบ้างไหมว่า ไม่ว่าพวกท่านจะมีตำแหน่งใหญ่โตโอ่อ่า มีทรัพย์ศฤงคารมากสักเพียงใด สิ่งที่พวกท่านมีอยู่ อย่างมากมันก็แค่สร้างความคิด สร้างความระลึกนึกถึง ฯลฯ ให้แก่ท่านทั้งหลายเท่านั้น พวกท่านไม่ได้อะไรจากตำแหน่งที่ใหญ่โต หรือไม่ได้อะไรจากทรัพย์ศฤงคารที่พวกท่านมีอยู่เลย นอกจาก การกิน ฯ นอน ฯ แล้วท่านทั้งหลายที่คิดหรือกระทำการใดใดเพื่อแก่งแย่งอำนาจในการบริหารประเทศ พวกท่านได้อะไรจากการกระทำของพวกท่าน คิดกันบ้างไหม ประชาชนที่ไม่รู้ต้องตกเป็นเครื่องมือของพวกท่าน สูญเสียไปเท่าไหร่แล้ว

            ความสูญเสียในด้านต่างๆที่เกิดจากความขัดแย้ง ประมาณค่ามิได้แม้บางอย่างจะสามารถประเมินออกมาเป็นตัวเงิน แต่หากเป็นในด้านจิตใจและคุณค่าของความเป็นมนุษย์แล้ว ค่าของมันมหาศาลไม่มีอะไรจะมาเทียบได้ ดังนั้น ความปรองดองจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อทุกคน ทุกฝ่าย ทุกกลุ่มที่เคลื่อนไหวอยู่ ต้องยุติอย่างสิ้นเชิงและถาวร อย่าได้เคลื่อนไหวอีก เพราะหากทุกคน ทุกฝ่าย ทุกกลุ่มยังเคลื่อนไหวท้าทายให้ร้ายข่มขู่ซึ่งกันและกัน ความขัดแย้งไม่มีวันจบสิ้น ถ้าหากทุกคนยังคงเป็นคนไทย ต้องการจะมีชีวิตความเป็นอยู่ภายใต้ “ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ต้องยุติการเคลื่อนไหวทุกรูปแบบ

            พฤติกรรมของบุคคลบางบุคคล บางฝ่าย บางกลุ่ม มักแสดงออกไปในทางที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบการปกครองแบบอื่น ก็ให้ยุติบทบาทอย่าได้คิดกระทำอีก ความขัดแย้งก็ย่อมไม่เกิด ความสูญเสียในด้านต่างๆก็ย่อมไม่เกิดขึ้น บ้านเมืองก็มีแต่ความสงบสุข สามัคคี ปรองดอง ดำเนินชีวิต ดำเนินกิจกรรมไปตามวิถีแห่งความเป็นมนุษย์อย่างปกติ

            แต่ถ้าหาก ทุกคน ทุกฝ่าย ทุกกลุ่ม ไม่ยอมกัน ไม่หันหน้าเข้าหากัน ไม่ปรึกษาหารือ ถกเถียงกันเพื่อให้ได้แนวทางที่ดี ที่ถูกต้องทำนองคลองธรรม ความปรองดอง ก็ย่อมไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าหาก ทุกคน ทุกฝ่าย ทุกกลุ่มยอมกัน หันหน้ามาจับมือกัน ปรึกษาหารือกัน ถกเถียงกันในทางที่ถูกต้องทำนองคลองธรมเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุดต่อประชาชน และประเทศชาติ ความปรองดองสามัคคีก็ย่อมเกิดขึ้น

            ดังนั้น เพื่อความปรองดอง เพื่อความสามัคคีของคนในชาติ เพื่อความสงบสุขของประชาชนและบ้านเมือง ทุกคน ทุกฝ่าย ทุกกลุ่ม ควรได้หยุดพฤติกรรม และการกระทำต่างๆ อันจักเป็นเหตุแห่งความขัดแย้ง  อย่าได้ใช้ประชาธิปไตยมาเป็นข้อกล่าวอ้างเพียงเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง และที่สำคัญหลักประชาธิปไตยเป็นหลักแห่งเหตุผล เป็นหลักแห่งการแจกจ่ายทรัพยากรในการดำรงชีวิตที่ผลิตได้หรือที่มีอยู่ให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง ฯลฯ โดยประชาชนเพื่อประชาชน เสียงข้างน้อยก็อาจชนะเสียงข้างมากได้ ไม่ใช่มีเสียงข้างมากแล้วจะชนะเสมอไป ถ้าคิดว่ามีเสียงข้างมากแล้วจะทำอะไรก็ต้องได้ อย่างนั้นเขาเรียกว่า “เผด็จการรัฐสภา”

 

 

จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน)

๒๘ ธ.ค.๒๕๕๕