Jump to content


ปังตอ

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 14 กันยายน 2554
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2557 08:32
-----

#1190338 เกาะติดสถานการณ์ บิ๊กตู่ กู้วิกฤติเหลือบ "ทักษิโณมิก" กลืนกินประเทศ ส...

โดย TBOYX on 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 18:08

อย่างฮา วินาที14 อะ




#1190009 เกาะติดสถานการณ์ สุเทพ ทวงคืนอำนาจจากรัฐบาลเพื่อปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

โดย La Estrella Brillante on 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 15:08

This is so historic! Proud to be a part of this thread ka. Thanks to you all!
See you again (on the street) to celebrate our victory when it's time na ka.

1534820_1376127652636322_841913905_o.jpg

Photo by Anonymous Photographer




#1188784 เกาะติดสถานการณ์ บิ๊กตู่ กู้วิกฤติเหลือบ "ทักษิโณมิก" กลืนกินประเทศ ส...

โดย redfrog53 on 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 06:51

1401081491-o.jpg
http://www.thdrama.com/?p=8560



Anonymous Photographer
Road map ... คสช.ประกาศ นโยบายทางด้านเศรษฐกิจหลายระยะ โดยระยะเร่งด่วน คือแก้ไขปัญหาหนี้ค้างชำระแก่ชาวนา ในโครงการจำนำข้าว เร่งแก้ไขปัญหา การขอใบอนุญาตโรงงานอุตสาหกรรม ที่ล่าช้า เร่งการเบิกจ่ายงบลงทุนปี 2557 ที่ยังค้างท่อ ซึ่งขณะนี้มีอยู่จำนวนประมาณ 7 พันล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน พร้อมทั้งเริ่มกระบวนการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐาน ที่จำเป็น เช่น ระบบรถไฟรางคู่ และรถไฟฟ้าสายต่างๆ ในเขต กทม.และปริมาณฑล ที่สำคัญคือ เร่งจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2558 ให้แล้วเสร็จก่อนเดือนกันยายนนี้ เพื่อให้ทันเบิกใช้วันแรกของปีงบประมาณ คือ 1 ตุลาคม 2557

นโยบายที่ต้องทำควบคู่ ไปกับนโยบายเร่งด่วน
1. ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและขจัดปัญหาการทุจริต
2. ปฏิรูปโครงสร้างภาษีอย่างเป็นธรรม
3. ทบทวนโครงสร้าง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยเน้นให้มีการจัดเก็บภาษี จากคนที่มีรายได้สูงมากขึ้น และดึงผู้มีรายได้เข้ามาในระบบมากขึ้น
4. ส่งเสริมการค้าชายแดน ผ่านการจัดตั้ง เขตเศรษฐกิจพิเศษ
5. ส่งเสริมและพัฒนาสินค้าขั้นกลาง และขั้นปลายเพื่อการส่งออก ให้มากขึ้น
6. ทบทวนกองทุน นอกงบประมาณต่างๆ เช่น กองทุนหมู่บ้าน กองทุนสตรี โดยหากเป็นกองทุน ที่ไม่เป็นประโยชน์ก็พร้อมที่จะทบทวน และ
7. ส่งเสริมให้มีการดูแล เกษตรกรชาวนาอย่างเป็นระบบ

คสช.ได้กำหนดโรดแมปด้านเศรษฐกิจประกอบด้วย
1. จะเน้นการบริหารระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ซึ่งจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยภาคเอกชนเป็นหลัก
2. ให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนเป็นไปอย่างเสรี 3.ส่งเสริมนโยบายการค้าเสรี
4. ลดบทบาท รัฐวิสาหกิจที่ภาคเอกชนสามารถดำเนินการได้
5. ขจัดอุปสรรค การค้าต่างประเทศให้คล่องตัว และ คสช.เสนอให้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC
6. ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ และสนับสนุนการลงทุน ในต่างประเทศ
7. สนับสนุนการลงทุน ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคม โดยเฉพาะในส่วนที่ประชาชน ไม่มีความสงสัย ส่วนที่ยังสงสัย ให้มีการศึกษาโดยละเอียด
8. ไม่ก่อหนี้เกินตัวและรักษาวินัยการคลัง
9. ขจัดความไม่เป็นธรรมในระบบพ่อค้าคนกลาง และ
10. แก้ไขปัญหาแรงงานอย่างบูรณาการ
‪#‎ES‬-Note



#1188658 เกาะติดสถานการณ์ สุเทพ ทวงคืนอำนาจจากรัฐบาลเพื่อปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

โดย a.mtvv on 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 00:04

ส้นทางเงิน 1.9 แสนล้าน…เคลียร์หนี้จำนำข้าวชาวนาจากอดีตรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถึง คสช.

26 พฤษภาคม 2014

%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%8A.jpg

พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) รองหัวหน้า คสช. หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ(ขวา)และ พลเอกฉัตรชัย สาธิกัลยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ

 

เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2557 มีการประชุมเพื่อหารือในประเด็นเศรษฐกิจระหว่างคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจต่างๆ

โดยมีพล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) รองหัวหน้า คสช. หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า คสช. ให้ความสำคัญในการเร่งช่วยเหลือชาวนาให้มีเงินใช้จ่ายหมุนเวียน ซึ่งจะเป็นส่วนที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับครัวเรือนไปสู่เศรษฐกิจระดับชุมชน โดยเงินจำนวนนี้จะช่วยคลายความวิตกให้ชาวนา ให้สามารถดำเนินชีวิตได้ปกติต่อไป

 

พลเอกฉัตรชัย สาธิกัลยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ชี้แจงเพิ่มเติมว่า ในช่วง 2 วันที่ผ่านมาทาง คสช.

ได้เชิญส่วนงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการแก้ปัญหาและเยียวยาชาวนาเข้า หารือร่วมกันในประเด็นแหล่งเงินที่เป็นปัญหา

ซึ่งขณะนี้ได้ข้อยุติแล้ว และได้เริ่มดำเนินการจ่ายเงินชาวนาแล้ว ซึ่งโครงการจำนำข้าวในส่วนของปี 2556/2557 นั้นยังมีวงเงินค้างชำระประมาณ 92,000 ล้านบาท

 

ช่วงต้นจะเป็นการนำเงินสภาพคล่องของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) มาใช้ในการชำระคืนชาวนา จังหวัดแรกที่เริ่มดำเนินการคือ จังหวัดนครปฐม

โดยในส่วนขั้นตอนการปฏิบัติงานอาจมีปัญหาเรื่องความล่าช้าอยู่บ้าง แต่จะเร่งดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว

ซึ่งทางกองทัพได้มอบหมายให้ทางทหารที่อยู่ในพื้นที่เข้าช่วยเหลือการดำเนิน งานของ ธ.ก.ส. ในส่วนของการตรวจสอบเอกสาร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

 

“อันนี้ก็จะมุ่งมั่นที่จะให้ชาวนาผู้ได้รับผลกระทบได้รับการแก้ไขปัญหา โดยเร็ว เราได้ดำเนินการตั้งแต่วันเสาร์–อาทิตย์ จนได้ข้อยุติเรียบร้อยแล้ววันนี้ก็เริ่มดำเนินการเลย”

พล.อ. ฉัตรชัยกล่าว

 

ด้านนายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ ปลัดกระทรวงการคลัง ปฏิบัติหน้าที่แทนรัฐมนตรีการคลัง กล่าวว่า นอกจากการเร่งจ่ายเงินแก่ชาวนาของ ธ.ก.ส. ในเบื้องต้นแล้ว

ทางกระทรวงการคลังก็จะเร่งดำเนินการกู้ยืมเงินจากสถาบันการ เงินภายในประเทศ แล้วนำเงินเข้าสมทบกับส่วนของ ธ.ก.ส. ซึ่งภายใน 20 วัน

ก็จะได้ครบ 90,000 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายที่ชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา

 

ขณะเดียวกัน ทางทีมงานเศรษฐกิจของคสช.มองว่าชาวนายังมีปัญหาอาทิ พันธุ์พืช เครื่องมือการเกษตร และปุ๋ย ทั้งนี้ดูว่าจะเข้าไปช่วยเหลือได้อย่างไรบ้าง

เพื่อให้ชาวนามีรายได้เพิ่มขึ้น ขณะที่มีเงินอย่างจำกัด

 

ส่วนเรื่องการรับจำนำจะเป็นอย่างไรต่อไป พล.อ. ฉัตรชัยกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุอะไรได้ คงต้องเชิญผู้ที่รับผิดชอบมาหารือรวมกัน

แต่ได้วางแนวทางของการแก้ปัญหาในภาคการเกษตรทั้งหมดในลักษณะที่จะทำให้เกิด ความยั่งยืน และควบคู่ไปกับการยึดกลไกตลาด

 

ธ.ก.ส. ยัน สิ้นมิถุนายนจ่ายชาวนาครบ

ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า การจ่ายเงินที่ยังค้างชำระอยู่ให้แก่ชาวนาคาดว่าจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายใน สิ้นเดือนมิถุนายนนี้ โดยเป็นเงินจากกองทุนช่วยเหลือชาวนาส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งคือเงินกู้ที่ทางกระทรวงการคลังจัดหามาให้ 92,431 ล้านบาท เบื้องต้นวงเงิน 40,000 ล้านบาทนั้นเป็นเงินที่ทาง ธ.ก.ส. สำรองจ่ายไปก่อน

 

สำหรับยอดล่าสุดของผลการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวปี 56/57 ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2557 มียอดใบประทวนรวม 1,671,720 ราย จำนวนข้าวเปลือก 11.64 ล้านตัน จำนวนเงิน 192,950 ล้านบาท ดำเนินการจ่ายไปแล้วทั้งสิ้น 833,182 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 6.29 ล้านตัน เป็นเงิน 103,019 ล้านบาท จากยอดจัดสรรรวม 105,500 ล้านบาท

 

ด้านนายสุพัฒน์ เอี้ยวฉาย ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. ระบุว่าจังหวัดที่มียอดเงินค้างชำระสูง 5 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดยโสธร วงเงิน 8,600 ล้านบาท รองลงมาเป็นจังหวัดพิจิตร วงเงิน 5,200 ล้านบาท จังหวัดพิษณุโลก วงเงิน 4,900 ล้านบาท จังหวัดกำแพงเพชร วงเงิน 4,600 ล้านบาท และจังหวัดสุรินทร์ วงเงิน 4,500 ล้านบาท ซึ่งมียอดรวมเกือบ 30,000 ล้านบาท

 

โดยจังหวัดที่มีจำนวนชาวนาไม่ได้รับเงินสูง 11 จังหวัดนั้น ประชากรส่วนใหญ่จะอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ และนครราชสีมา 

ถัดมาเป็นเขตลุ่มน้ำภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดพิจิตร กำแพงเพชร สุพรรณบุรี นครสวรรค์ พิษณุโลก และชัยนาถ ส่วนภาคเหนือมีเพียงจังหวัดเดียวคือจังหวัดเชียงราย

ทั้งนี้ การจ่ายเงินจะดำเนินการพร้อมกันทั่วประเทศ แต่ในส่วนจังหวัดที่มียอดค้างชำระสูง หรือมีชาวนายังไม่ได้รับเงินจำนวนมาก ทางเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. ก็จะมีการดำเนินการร่วมกับทหารที่ประจำในพื้นที่นั้นๆ เพื่อเร่งดำเนินการ

 

ในส่วนของยอดเงินที่เพิ่มขึ้นสูงเป็น 92,000 ล้านบาทนั้น นายสุพัฒน์เผยว่า เป็นวงเงินที่เพิ่มจากการนับรวมใบประทวนในเขตภาคใต้เพิ่มเข้ามา ซึ่งวงเงินรวมที่ยังไม่ได้นับรวมภาคใต้นั้น

อยู่ที่ประมาณ 192,000 ล้านบาท ทาง ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายไปแล้ว ประมาณ 130,000 ล้านบาท ก็จะเหลือเพียง 60,000 กว่าล้าน เมื่อนับรวมใบประทวนภาคใต้เข้ามา ทำให้วงเงินขยับสูงขึ้นโดยขณะนี้วงเงินค้างชำระที่หักเงินในส่วนของกองทุน ช่วยเหลือชาวนาไปแล้วนั้นมีประมาณ 92,000 ล้านบาท

 

“ตอนนี้จำนวนใบประทวนยังไม่นิ่ง แต่คาดว่าวงเงินที่เพิ่มเข้ามาคงไม่เกิน 2,500 ล้านบาท หากเกินจากนี้ถือว่ามีความผิดปกติ ต้องเร่งตรวจสอบ” นายสุพัฒน์กล่าว

 

ก่อนหน้านี้สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าได้นำเสนอปัญหาการจ่ายเงินรับ จำนำข้าวของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาอย่างต่อเนื่อง

(อ่านข่าว “โต้ง” สั่งสำนักบริหารหนี้กู้เงิน 1.3 แสนล้านบาท, คลังหน้าแตก ประมูลเงินกู้ลอตแรก 2 หมื่นล้านจ่ายชาวนา “ล้ม” และข่าว

“กิตติรัตน์” ดับเครื่องชน ไม่หวั่นผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ หาเงินใช้หนี้ชาวนา)

 

หลังจากที่อดีตรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้ปิดโครงการจำนำข้าวนาปี 2556/57 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 มีชาวนา 1,527,290 รายนำข้าวเปลือกมาจำนำกับรัฐบาล

11.63 ล้านตัน คิดเป็นวงเงิน 191,003 ล้านบาท (ไม่รวมภาคใต้) แต่เนื่องจากเป็นรัฐบาลรักษาการณ์ไม่สามารถที่จะหาเงินกู้มาจ่ายเงินให้กับ ชาวนาได้ รั

ฐบาลรักษาการในขณะนั้นได้อาศัยเทคนิคทางกฎหมาย ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การจัดหาแหล่งเงินเพื่อจ่ายชาวนาในรูปแบบต่างๆ ดังนี้(ข้อมูล ณ 21 พฤษภาคม 2557และคลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%

 

1. โยกงบประมาณปี 2557 จำนวน 62,000 ล้านบาท มาจ่ายให้ชาวนาก่อน โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ใช้อำนาจบริหารโยกงบฯ 62,000 ล้านบาท จากรายการชดเชยความเสียหายที่เกิดจากโครงการจำนำข้าวในอดีตวงเงิน 73,426 ล้านบาท โดยเงินก้อนนี้ต้องนำไปลดภาระเงินต้นและดอกเบี้ยในบัญชีสินเชื่อนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA) ซึ่งผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมรัฐสภามาจ่ายให้ชาวนาก่อน

 

ทั้งนี้นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ยืนยันว่า “ ธ.ก.ส. สามารถใช้อำนาจบริหารโยกงบฯ 62,000 ล้านบาทมาใช้หนี้ให้กับชาวนาก่อนได้ โดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากสำนักงบประมาณ เนื่องจากที่ผ่านมาสำนักงบประมาณกระจายอำนาจการตัดสินใจ โอนย้ายงบประมาณไปให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจหมดแล้ว แต่ ธ.ก.ส. ต้องหาเงิน 62,000 ล้านบาทกลับไปชดเชยความเสียหายที่เกิดจากโครงการจำนำข้าวในอดีตตามที่ระบุ ไว้ในเอกสารงบประมาณภายในวันที่ 30 กันยายน 2557 หากไม่สามารถดำเนินการได้ ถือว่าผิดกฎหมายวิธีการงบประมาณ อาจจะถูกสำนักงานการตรวจแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบ”

 

2. คณะกรรมการการเลือกตั้งอนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์ยืมงบกลาง 20,000 ล้านบาท ให้ ธ.ก.ส. นำไปใช้หนี้ชาวนา ล่าสุดกระทรวงพาณิชย์นำเงินรายได้จากการระบายข้าวชำระคืนงบกลางจนครบ 20,000 ล้านบาทแล้ว

 

3. กระทรวงพาณิชย์นำเงินระบายข้าวส่วนที่เหลือจากการชำระคืนงบกลางอีก 13,000 ล้านบาท ส่งให้ ธ.ก.ส. ชำระหนี้ชาวนา ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมถึงวันที่ 30 พฤษภาคม 2557 กระทรวงพาณิชย์เร่งระบายข้าว และคาดว่าจะส่งเงินให้ ธ.ก.ส. ชำระหนี้ชาวนาทั้งสิ้น 33,000 ล้านบาท โดยผ่านการระบายข้าว 5 ช่องทาง ดังนี้

 

1) การประมูลทั่วไป

2) การประมูลในระดับภูมิภาค โดยเริ่มต้นเปิดประมูลครั้งแรกที่จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2557

3) การประมูลผ่านตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (AFET) เป็นช่องทางที่นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขณะนั้นได้อนุมัติให้เปิดระบายข้าวในสต็อกของรัฐบาลผ่าน AFET ส่วนหนึ่ง โดยการประมูลครั้งล่าสุดคือครั้งที่ 11 จำนวนข้าว 2.2 แสนตัน เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2557 ปรากฏว่ามีการยื่นเสนอราคาส่วนต่างซื้อข้าวต่ำกว่าราคาตลาด และเตรียมเปิดประมูลครั้งที่ 12 จำนวน 2.1 แสนตัน ในวันที่ 30 พฤษภาคม ที่จังหวัดนครสวรรค์ ทั้งนี้ การระบายข้าว AFET ที่ผ่านมา 10 ครั้ง อนุมัติระบายแล้ว 5.88 แสนตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 7, 000 ล้านบาท

4) การขายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ล่าสุดมีการเจรจากับประเทศมาเลเซีย แต่ยังไม่สามารถตกลงราคากันได้ หลังจากที่ได้ขายข้าวจำนวน 1 ล้านตัน ให้กับรัฐวิสาหกิจจีน บริษัท COFCO corporation

5) ประมูลผ่านเอกชนในตลาดต่างประเทศ ซึ่งการประมูลที่ประเทศฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2557 รัฐบาลไทยสนับสนุนให้เอกชนไทยเข้าร่วมการประมูล ปริมาณข้าว 8 แสนตัน แต่ผลปรากฏว่าประเทศเวียดนามเป็นผู้ชนะการประมูล

 

รวม 5 เดือนแรกของปี 2557 กระทรวงพาณิชย์เร่งระบายข้าวได้ทั้งสิ้น 33,000 ล้านบาท ส่วนหนึ่งนำไปชำระคืนงบกลาง 20,000 ล้านบาท และที่เหลืออีก 13,000 ล้านบาท ส่งให้ ธ.ก.ส. นำไปชำระหนี้ชาวนา

 

4. นำเงินจาก “กองทุนช่วยเหลือชาวนา” 10,500 ล้านบาท ชำระหนี้ชาวนา โดยนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า จากผลการดำเนินงานล่าสุด ณ วันที่ 15 พฤษภาคม 2557 มีลูกค้านำเงินมาบริจาคและฝากเงินกับ “กองทุนช่วยเหลือชาวนา” ทั้งสิ้น 12,033 ล้านบาท แบ่งเป็นบริจาคเงินผ่านกองทุนช่วยเหลือชาวนากองที่ 1 จำนวน 26 ล้านบาท, กองที่ 2 เป็นเงินสบทบแบบรับเงินต้นคืนแต่ไม่มีผลตอบแทน 909 ล้านบาท และกองที่ 3 เงินสมทบแบบรับเงินต้นคืนได้รับผลตอบแทน 0.63% ต่อปี 11,098 ล้านบาท ก่อนสิ้นสุดโครงการในวันที่ 30 มิถุนายน 2557 คาดว่าจะระดมเงินช่วยเหลือชาวนาได้ตามเป้าหมายที่ 20,000 ล้านบาทแน่นอน

 

“กลุ่มลูกค้าที่นำเงินเข้ามาฝากกับกองทุนช่วยเหลือชาวนากองทุนที่ 3 ส่วนใหญ่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งประเทศมีอยู่ประมาณ 7,000 แห่ง

นำเงินมาฝากกับ ธ.ก.ส. แห่งละ 1 ล้านบาท คิดเป็นวงเงินรวมประมาณ 7,000 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวผ่านการอนุมัติจากกรมบัญชีกลางแล้ว

โดย ธ.ก.ส. โอนเงินจากกองทุนฯ ไปให้ชาวนาเมื่อครบทุกๆ 1,000 ล้านบาท ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2557 ธ.ก.ส. นำโอนเงินจากกองทุนฯไปให้ชาวนาแล้ว 10,500 ล้านบาท” นายลักษณ์กล่าว

 

สรุปปิดโครงการจำนำข้าวนาปี 2556/57 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2557 ธ.ก.ส. ค้างชำระหนี้ชาวนา 1,527,290 ราย คิดเป็นวงเงิน 191,003 ล้านบาท ณ วันที่ 21 พฤษภาคม 2557

ธ.ก.ส. รวมรวมเงินจากแหล่งต่างๆ ตามที่กล่าวข้างต้นมาชำระหนี้ชาวนาแล้ว 849,829 ราย คิดเป็นเงิน 103,019 ล้านบาท เหลือชาวนาที่ยังไม่ได้รับเงินจำนำข้าวอีก 677,461 ราย คิดเป็นวงเงิน 87,984 ล้านบาท

 

ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาระหว่างที่ชาวนายังไม่ได้รับเงิน ทาง ธ.ก.ส. ยังดำเนินมาตรการช่วยเหลือชาวนาที่ได้รับความเดือดร้อนระหว่างรอเงินรับจำนำ ข้าว ธ.ก.ส. ดังนี้

 

1. ยืดเวลาการชำระหนี้เดิมที่ชาวนามีอยู่กับ ธ.ก.ส. อีก 6 เดือน โดยมีชาวนาได้รับการยืดหนี้แล้วจำนวน 468,860 ราย ต้นเงินคงหนี้เป็นจำนวน 61,000 ล้านบาท

 

2. จัดวงเงินสินเชื่อก้อนใหม่ให้ชาวนานำไปใช้จ่าย หรือลงทุนระหว่างรอเงินรับจำนำ คิดอัตราดอกเบี้ย 7% ต่อปี หรือ 0.583% ต่อเดือน ล่าสุดสิ้นเดือนเมษายน 2557 มีชาวนายื่นกู้แล้วทั้งสิ้น 130,512 ราย คิดเป็นวงเงิน 9,085 ล้านบาท ในจำนวนนี้ชาวนาที่ได้รับการยืดหนี้ทั้งหมดมีการใช้จ่ายเงินกู้ผ่านบัตร เครดิตชาวนาอีกจำนวน 569,988 ราย คิดเป็นวงเงิน 9,653 ล้านบาท รวมแล้วมีชาวนาที่ได้รับประโยชน์จากการกู้เพิ่ม และการใช้จ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตชาวนาทั้งสิ้น 700,500 ราย คิดเป็นวงเงินรวม 18,738 ล้านบาท

 

จากการที่ ธ.ก.ส. ดำเนินมาตรการช่วยเหลือชาวนา โดยการจัดหาเงินมาใช้หนี้ชาวนากว่า 1 แสนล้านบาท และดำเนินมาตรการยืดหนี้ ปล่อยกู้เพิ่มและจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตชาวนา ทำให้ชาวนายุติการชุมนุมประท้วงมาตั้งแต่เดือนมีนาคมจนถึงปัจจุบัน




#1188648 เกาะติดสถานการณ์ สุเทพ ทวงคืนอำนาจจากรัฐบาลเพื่อปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

โดย a.mtvv on 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 23:52

Arjun ( อรชุน ) @Arjuna_Thai 16m

ข้อความนี้มอบแด่นายเลย จอห์น วิญญาณ !! #คิดว่าชัดเจนพอที่จะให้คนอย่างนาย #เงิบ นะครัชช

 

Bok2uJJCAAEAzqj.jpg




#1188256 เกาะติดสถานการณ์ สุเทพ ทวงคืนอำนาจจากรัฐบาลเพื่อปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

โดย ขุนพลชิน on 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 20:27

ผมว่านะ พวกนักการเมืองทั้งหลายช่วยหยุดๆไปสักพักเถอะ ถ้าว่างไม่มีอะไรทำก็เอาเวลาไปคิดแผนพัฒนาหรืออะไรที่มันเป็นประโยชน์ไปเสนอเค้าก็ได้ เลิกการเมืองสักพัก ขอร้อง


#1188231 เกาะติดสถานการณ์ สุเทพ ทวงคืนอำนาจจากรัฐบาลเพื่อปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

โดย Ape on 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 20:14

7609_787130267973296_390552681462585558_

 

พลตรีเหรียญทอง แน่นหนา ประกาศชัดเจน




#1188138 เกาะติดสถานการณ์ สุเทพ ทวงคืนอำนาจจากรัฐบาลเพื่อปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

โดย NongGrace on 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 19:31

 

ถูกรีทวีตโดย NationTV
oxVzoZgI_bigger.jpegPimnara Pradubwit ‏@Pimnara_nna14 นา
มาร์ค จี้ คสช. แจงให้คำตอบ ปชช.มีส่วน ปฎิรูปปท. หลังบ้านเมืองสงบอย่างไร ลั่น หากไร้คำตอบที่ดี พร้อมร่วมชุมนุมต้าน รัฐประหาร #nna

image.gif

เรียกเข้าบ้านafยาวๆไปเลยครับรอบนี้

 

พี่มาร์คคะ ระวังเถอะถ้า ปชช เค้าเกิดชอบผลงานทหารขึ้นมา พรรค ปชป พี่จะแย่เอาน๊า เงียบปากก่อนดีมั้ยคะ

ทหารเพิ่งมาทำงานได้ 5 วันเอง แฟนคลับเริ่มรำคาญแล้วนะคะ ตั้งแต่ไหหักนี่ ทำสมองเพี้ยนไปด้วยเลยเหรอ

หนูเชียร์พี่มาตลอดนะคะ ระหว่างว่าง ๆ ไม่มีงานทำ พี่ไปทำเรื่องปฏิรูปพรรคพี่ก่อนดีกว่าค่ะ

 

ปล. เตือนเพราะรักนะคะ




#1188129 เกาะติดสถานการณ์ สุเทพ ทวงคืนอำนาจจากรัฐบาลเพื่อปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

โดย redfrog53 on 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 19:27

10309032_746196495401429_835582007026126
เพื่อชาติ เพื่อพ่อหลวง
ชอบภาพนี้ ขอมอบดอกไม้ เป็นกำลังใจให้ทหาร



#1188116 เกาะติดสถานการณ์ สุเทพ ทวงคืนอำนาจจากรัฐบาลเพื่อปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

โดย ตะนิ่นตาญี on 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 19:19

S4407319-1W3Iz2.jpg

 

 

ตะนิ่นตาญี กลับมาถึงบ้าน เมื่อประมาณ เวลา สัก บ่ายสองโมงกว่ากว่า เห็นจะได้

 

มาถึงแล้วก็ล้มตัวนอนหลับสนิท ไม่รู้เรื่อง-ไม่รู้ราว หลับด้วยความบริสุทธิ์ใจ ของ คนที่ทำหน้าที่ ของ ตน ครบถ้วนสมบูรณ์

 

ใน ทุกเรื่อง และ ทุกเหตุการณ์ ที่ เกิดขึ้น...หลับด้วยความภูมิใจ ใน การได้กระทำ หน้าที่ ของ คนไทย

 

ผู้ซึ่งจงรักภักดี ต่อ ชาติ-ศาสนา-พระมหากษัตริย์ อย่าง บริบูรณ์ 

 

 

3885-15jhru.jpg

 

 

3886-18ld6b.jpg

 

 

ตื่นขึ้นมาเมื่อสักครู่นี้เห็น คุณภรรยา นำ เครื่องราชฯ มาเช็ด-มาทำความสะอาด 

 

เธอ หันมายิ้มให้ ตะนิ่นตาญี เป็น รอยยิ้ม ของ สองคนตายาย ที่ รู้กันว่า นี่ คือ ความปลื้มปิติ 

 

คุณภรรยา เธอ ทราบดีว่า สำหรับ ตะนิ่นตาญี แล้ว...

 

เกียรติศักดิ์รักข้า...มอบไว้แก่ตัว

 

ตะนิ่นตาญี

 

วันจันทร์ที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗

 

เวลา ๑๙.๑๙ นาฬิกา




#1188079 เกาะติดสถานการณ์ สุเทพ ทวงคืนอำนาจจากรัฐบาลเพื่อปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

โดย redfrog53 on 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 18:57

10414557_10152448444767855_1058207602315
จิตภัสร์ กฤดากร รายงานตัว ในคดีกบฎ จากกรณีการชุมนุมทางการเมืองร่วมกับ กลุ่ม กปปส. ที่สำนักงานอัยการสูงสุด Photo by กุลพันธ์ ศิริพิมพ์อัมพร ‪#‎NationPhoto‬

คนไท รักในหลวง
ผู้หญิงตัวเล็กๆคนหนึ่ง ถูกกล่าวหาเป็นกบฏ ... นอกจากเป็นการประจานขบวนการยุติธรรมขั้นต้นของไทยแล้ว ยังทำให้เห็นว่า ... ผู้หญิงคนนี้หัวใจยิ่งใหญ่กว่าผู้ชายใจมดอย่าง จาตุรนต์ สมบัติและจารุพงศ์ ...ส่วนทักษิณ ไม่ต้องพูดถึงไม่ต้องเปรียบเทียบ เพราะเข้าข่ายคนหนีคุก ....!



#1187568 เกาะติดสถานการณ์ สุเทพ ทวงคืนอำนาจจากรัฐบาลเพื่อปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

โดย ลอยทวนลม on 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 14:05

 

ทางแก้ปัญหาเรื่องราคาข้าวคือ กรมส่งเสริมการเกษตร ต้องแนะนำวิธีลดต้นทุนให้ชาวนา เช่น ทำเกษตรอินทรีย์ หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยเคมีเพราะแพง + มีปัญหาระยะยาวต่อสุขภาพดินและสุขภาพคน ...พอต้นทุนมันลด ถึงจะได้เกวียนไม่ถึงหมื่นห้า ก็ยังอยู่ได้

เรื่อง กรมส่งเสริมการเกษตรก็เช่นกัน ควรปฎิรูปอย่างยิ่ง สาระสำคัญมีอยู่ว่า ผมเพิ่งได้คุยกับพี่ที่นับถือท่านเคยเป็นชาวสวนมาก่อนไม่กี่วันก่อน เกี่ยวกับว่าทำไมกรมส่งเสริมการเกษตรถึงไม่ค่อยแนะนำวิธีลดต้นทุน ตามต่างจังหวัด พวกเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ บางคนมีผลประโยชน์กับพ่อค้าบริษัทเคมีภัณฑ์การเกษตรต่าง ๆ สนับสนุนหรือเชียร์ให้ซื้อผลิตภัณฑ์ของพวกพ่อค้าแล้วได้ % น้อยรายนักที่จะสอนแบบลดต้นทุนให้กับเกษตรกร เห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนซะเป็นหลัก เกษตรกรบางพื้นที่ย่ำแย่เพราะเชื่อเกษตรจังหวัดเกษตรอำเภอก็มีเพราะเคยได้พูดคุยกับเกษตรกรต่างจังหวัด อยากให้กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำวิธีลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตให้กับเกษตรกรอย่างแท้จริง และอย่างยั่งยืน นำทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ ไม่ต้องไปอิงพ่อค้าเคมีภัณฑ์การเกษตรเป็นใหญ่ เกษตรกรกระดูกสันหลังของชาติผู้ผลิตต้องเป็นคนตั้งราคา ไม่ใช่ให้พ่อค้าคนกลางเป็นคนตั้งราคา อยากให้ กรมส่งเสริมการเกษตร ส่งเสริมการเกษตรให้กับเกษตรอย่างตรงไปตรงมาไม่มีผลประโยชน์แอบแฝงครับ.....

 

ในฐานะที่เคยทำงานคลุกคลีกับชาวนามา 3 ปีเต็มๆ

ชาวนาในภาคอีสานส่วนใหญ่ก็หันมาตื่นตัวเรื่องการลดต้นทุนต่างๆ นาๆ แต่ปัญหาที่ทำไม่ได้แม้อยากทำคือ

1. เรี่ยวแรงถดถอย เป็นความจริงเมื่อลงพื้นที่จริงๆ ผมไม่ค่อยเห็นชาวนาอายุ 30+ เลย เห็น 40+ นี่ก็ค่อนข้างแปลกใจแล้ว แต่ส่วนมากคืออายุ 50 -70 ปีทั้งนั้น ผมยังพูดกับเค้าว่าลุงแข็งแรงจริงๆ ในหมู่บ้านคุณจะเจอแค่คนแก่กับเด็กเท่านั้น

2. วัวควายไม่มีแล้วขายกินไปตอนตั้งแต่ตอนไหนยังจำไม่ได้เลย จะให้ซื้อใหม่ก็ไม่มีเงิน

3. พันธ์ข้าวของกระทรวงการข้าวปรับปรุงพันธ์มาเพื่อตอบสนองต่อปุ๋ยเคมี ใส่ปุ่ยคอก ปุ๋ยทำเองต่างๆ นาๆ จะไม่ได้ผลผลิตที่ดี

4. ปัญหาหนี้สิน ทำการเกษตรแบบลดต้นทุนต้องใช้เวลา 4-5 ปี กว่าจะได้ผลผลิตเท่าการใช้สารเคมี แต่หนี้ต้องจ่ายทุกปี ไหนจะภัยแล้งปีเว้นปีอีก




#1187365 เกาะติดสถานการณ์ สุเทพ ทวงคืนอำนาจจากรัฐบาลเพื่อปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง

โดย redfrog53 on 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 12:18

เถกิง สมทรัพย์
หลังจากถูกแยกควบคุมตัวกันหลายวัน. วันนี้มาเจอกัน. นั่งด้วยกัน. (ขอบคุณครับขิงที่ส่งข่าว)

10175042_721104794592165_536939146524787


น่าเจอ ขังลืมนะ !!!


#1187266 พระอาทิตย์ทรงกลด ณ 11.30 น. 26/5/2557 @เชียงใหม่

โดย ctpk05 on 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 11:36

พอดีได้ยินเสียงข้างบ้านฮือฮากันครับ เลยออกไปดู เขาบอกว่าพระอาทิตย์ทรงกลดครับ หันไปแหงนดู สวยมากๆครับ เลยนำภาพมาให้ดูครับ  :)  :) 

 

 

ปล.อยากให้มองเป็นปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่นานๆครั้งจะเห็นที และสวยงามมากกว่าครับ ไม่อยากให้นำมาเชื่อมโยงกับเหตุการณ์บ้านเมือง

 
หากเป็นไปได้ ขอให้ mod ย้ายกระทู้ไปอยู่ห้องชายคาฯก็ได้นะครับ

 

IMG_2510.JPG

 

IMG_2511.JPG




#1187030 คิดว่าภาพนี้ตัดต่อมั้ย

โดย พอล คุง on 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 09:55

แค่นี้เรียกว่า เยอะแล้วเหรอ

 

ถ้าแค่นี้เยอะละ อืมมมมมมมมมม

 

คงไม่ต้องไปเทียบกะ กปปส นะ

 

มันน่าอาย

 

ห้าาาาาาาาาาาาาาาาาาาาา