...ย้อนคำวินิจฉัยอัยการสูงสุด - แก้รธน.ไม่ขัด "ม.68"...
#1
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 15:32
ตามที่บุคคลและคณะบุคคลรวม 6 รายคือ นายวันธงชัย ชำนาญกิจ ผู้ร้องที่ 1 นายบวร ยสินทร กับพวกกลุ่มราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน ผู้ร้องที่ 2 นายวรินทร์ เทียมจรัส ผู้ร้องที่ 3 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง กับพวก ผู้ร้องที่ 4 นายวิรัตน์ กัลยาศิริ กับพวก ผู้ร้องที่ 5 และพล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม กับพวกสมาชิกวุฒิสภา ผู้ร้องที่ 6
ให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2550 กรณีครม. พรรคร่วมรัฐบาล ส.ส. ส.ว. ประธานรัฐสภา ร่วมกันเสนอ รับพิจารณา และลงมติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่....) พุทธศักราช....
ซึ่งกำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีผลเป็นการยกเลิกหรือล้มล้างรัฐธรรมนูญ 2550
อันเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในมาตรา 68 นั้น
คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงที่อัยการสูงสุดแต่งตั้งได้ตรวจสอบข้อเท็จจริง มีความเห็นเสนอต่ออัยการสูงสุดและอัยการสูงสุดวินิจฉัย ดังนี้
1.อัยการสูงสุดมีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำรองขอให้ศาลฯวินิจฉัยให้เลิกการกระทำดังกล่าวตามมาตรา 68 หรือไม่ อย่างไร
1.1 เจตนารมณ์และที่มาของ มาตรา 68 จากรายงานการประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 27/2550 วันที่ 18 มิ.ย. 2550 ที่ประชุมได้พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ.....ส่วนที่ 13 สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 (คือ มาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2550) หน้าที่ 7-18 สรุปได้ว่า อัยการสูงสุดต้องตรวจสอบเรื่องราวว่ามีมูลหรือไม่ กรณีมีมูลอัยการสูงสุดจะเสนอเรื่องต่อศาลฯในขั้นตอนต่อไป
1.2 รัฐธรรมนูญมิได้บัญญัติให้อัยการสูงสุดมีหน้าที่เพียงยื่นคำร้องให้ศาลฯวินิจฉัย ดังเช่นที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 91 วรรคหนึ่ง มาตรา 154 (1) มาตรา 185 วรรคหนึ่ง มาตรา 233 วรรคหนึ่ง มาตรา 249 วรรคสอง ที่ให้ประธานรัฐสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา แล้วแต่กรณีส่งคำร้อง ความเห็น เรื่อง ไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อได้รับคำร้อง ความเห็น เรื่องจากส.ส. ส.ว.
ดังนั้นหากรัฐธรรมนูญมีเจตนารมณ์ให้อัยการสูงสุดมีหน้าที่เพียงรวบรวมข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลฯวินิจฉัย โดยไม่ต้องพิจารณาหรือวินิจฉัยว่าการกระทำต้องห้ามตามมาตรา 68 หรือไม่ ก็คงบัญญัติในทำนองเดียวกัน
1.3 พ.ร.บ.องค์กรอัยการและพนักงานอัยการ 2553 มาตรา 16 บัญญัติรองรับอำนาจอัยการสูงสุดในการตรวจสอบข้อเท็จจริง มีอำนาจในการแสวงหาข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานได้ตามที่เห็นสมควรไว้ด้วย
การใช้อำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องให้ศาลฯวินิจฉัย อัยการสูงสุดต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามมาตรา 26 และมาตรา 40 และต้องใช้อำนาจพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรมตามมาตรา 255 วรรคสอง
ประกอบกับการกล่าวหาบุคคลหรือพรรคการเมืองว่าใช้สิทธิหรือเสรีภาพที่ต้องห้ามตามมาตรา 68 เป็นการกล่าวหาที่มีความร้ายแรง กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลและพรรคการเมือง ซึ่งอาจถูกดำเนินคดีอาญา ถูกสั่งยุบพรรคการเมือง หรือถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งได้
เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดให้อัยการสูงสุดเป็นผู้มีอำนาจตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลฯวินิจฉัย ก็ย่อมให้อำนาจอัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและวินิจฉัยถึงการกระทำดังกล่าวต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 หรือไม่ เพื่อมิให้ใช้อำนาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลหรือพรรคการเมืองที่รัฐธรรมนูญให้ความคุ้มครอง
2. การที่ครม.และส.ส.เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ และให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญตามความในมาตรา 68 หรือไม่
จากการพิจารณาบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยกำหนดหลักการอันเป็นสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญไว้เป็นหมวดต่างๆ รวม 15 หมวด
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 26 บัญญัติว่า ′การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้′
เห็นได้ว่าการใช้อำนาจขององค์กรของรัฐกับการใช้สิทธิและเสรีภาพ บัญญัติไว้ในลักษณะที่แยกต่างหากจากกัน ในส่วนของสิทธิและเสรีภาพบัญญัติไว้ในหมวด 3
แต่ในส่วนขององค์กรรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา จะมีส.ส.และส.ว.เป็นผู้ใช้อำนาจขององค์กรรัฐสภาตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เช่น หมวด 6 รัฐสภา หมวด 15 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เป็นต้น
ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภาเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยอาศัยบทบัญญัติในหมวด 15 ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญที่บัญญัติไว้ในหมวด 3 จึงไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพตามมาตรา 68
3. การที่ครม.และส.ส.เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291 หรือไม่
มาตรา 290 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหลักเกณฑ์และวิธีการทำนองเดียวกันที่บัญญัติไว้ในมาตรา 211 ของรัฐธรรมนูญ 2534 ถ้อยคำที่แตกต่างกันไม่มีผลทำให้หลักเกณฑ์และวิธีการตามบทบัญญัติทั้งสองมีเนื้อหาหรือความหมายแตกต่างไปจากเดิมแต่อย่างใด
จากการตรวจสอบกรณีที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 211 ปรากฏว่าในการจัดทำรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539 ซึ่งบัญญัติให้เพิ่มหมวดที่ 12 กำหนดให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญมาเป็นผู้ยกร่าง
มีลักษณะทำนองเดียวกับการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งบัญญัติให้เพิ่มหมวด 16 กำหนดให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญทำนองเดียวกัน
การเสนอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2534 เป็นรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2539 ดำเนินการโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 211 แก้ไขรัฐธรรมนูญ 2534 บางส่วน โดยเพิ่มหมวดที่ 12
การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อเปิดช่องให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อใช้แทนรัฐธรรมนูญฉบับเดิมต่อไปเช่นนี้ ย่อมแสดงว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญ อาจแก้ไขเพิ่มเติมโดยแก้ไขถ้อยคำและข้อความที่มีอยู่แล้วคือ
1) การแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราหรือหลักการเดิมที่มีอยู่แล้ว หรือ
2) โดยเพิ่มเติมข้อความ มาตรา หรือหลักการใหม่เข้าไป คือการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา หรือหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งไม่มีอยู่เดิม
ดังนั้นการที่ครม.และส.ส.เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม โดยมีสาระสำคัญให้มี ′การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่′ โดยการเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 ให้มี ′หมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่′ มาตรา 291/1 ถึงมาตรา 291/17 กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ ′จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่′ นั้น
ถือว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2550 ว่าด้วยเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในหมวดที่ 15 มาตรา 291 ในทำนองเดียวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2534 มาตรา 211 กรณีจึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องทั้งในส่วนของครม.และส.ส.จากสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 291 ทุกประการ และมีการพิจารณาญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยการประชุมร่วมกันของรัฐสภาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 136 (16) แล้ว
การที่ครม.และส.ส.เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และวิธีการอันเป็นวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 291
4. การที่ครม.และส.ส.เสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มีเนื้อหาส่อให้เห็นว่าเป็นการกระทำเพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยฯ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามที่วิธีทางที่บัญญัติไว้ ตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2550 หรือไม่<>
จากการตรวจสอบเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมทั้งสามฉบับ มาตรา 291/11 ทั้งสามฉบับ มีข้อความเหมือนกัน
วรรคแรก ′สภาร่างรัฐธรรมนูญจะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบวัน....′
วรรคสี่ ′ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ สภาร่างรัฐธรรมนูญต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในทั่วภูมิภาคด้วย′
วรรคห้า ′ร่างรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะกระทำมิได้′
วรรคหก ′กรณีรัฐสภาวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะตามวรรคห้า ให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป′
เห็นได้ว่าการเสนอขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องมิได้มีเจตนาหรือต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองฯ เพราะเมื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมาซึ่งมีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิม สภาร่างรัฐธรรมนูญก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติดังกล่าว
คือต้องยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งรัฐสภาต้องตรวจสอบด้วย และหากวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองฯ หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ ร่างรัฐธรรมนูญนั้นก็เป็นอันตกไป
นอกจากนั้น เมื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญร่างรัฐธรรมนูญใหม่เสร็จแล้วต้องจัดให้มีการทำประชามติก่อน ซึ่งไม่แน่ว่าประชาชนชาวไทยทั่วไปจะรับร่างฉบับใหม่หรือไม่ หากเสียงของประชาชนไม่เห็นชอบด้วยกับร่างฉบับใหม่ ร่างฉบับใหม่นั้นก็เป็นอันตกไป ตามความในร่างรัฐธรรมนูญมาตรา 291/13 (ฉบับของนายภราดร ปริศนานันทกุล เป็นมาตรา 291/14)
นอกจากนี้ ร่างทั้งสามฉบับไม่ได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือยกเลิก มาตรา 291 ดังนั้น การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่จะมีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองฯ หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจึงกระทำไม่ได้
เนื่องจากต้องห้ามตามความในมาตรา 291 (1) วรรคสอง บัญญัติว่า ′ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะกระทำมิได้′
และไม่ปรากฏว่าร่างทั้งสามฉบับมีข้อความใดที่บ่งชี้ หรือแสดงให้เห็นว่าได้มีการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
ดังนั้น การที่ครม.และส.ส.ของหลายพรรคเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 ตามมาตรา 291 จึงไม่มีเนื้อหาเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
คำร้องของผู้ร้องทั้งหก ข้อเท็จจริงยังไม่พอฟังว่ามีพฤติการณ์หรือการกระทำอันเป็นเหตุให้อัยการสูงสุดต้องยื่นคำร้องให้ ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกกระทำการตามความในมาตรา 68
อนึ่ง การพิจารณาวินิจฉัยของอัยการสูงสุดเรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เฉพาะของอัยการสูงสุด ตามมาตรา 68 ไม่ได้ก้าวล่วงการใช้อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัยขององค์กรอื่นแต่อย่างใด
ข่าวสด
http://www.khaosod.c...9PQ===
#2
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 15:39
- ตะนิ่นตาญี and จูกัดขงเบ้ง like this
#3
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 15:45
ถึงได้อ้างว่าไม่มีมูล
#4
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 15:48
รธน. ให้อำนาจอัยการ วินิฉัย ตรงไหนกันครับ
ถึงได้อ้างว่าไม่มีมูล
แสดงว่าอัยการทำเกินหน้าที่
ผิดรัฐธรรมนูญหรือเปล่า ?
#5
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 15:49
#6
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 15:49
อสสเป็น..ศาลพระภูมิหรือครับ....ถึงมีหน้าที่มาตัดสินแทนศาลรัฐธรรมนูญ
ประมาณว่า อสส. ไม่ใช่....ใช่มั๊ย ?
#7
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 15:52
ถ้าอัยการมีอำนาจดังที่ปลายอ้อให้ความสำคัญ
เขาทำไมไม่ให้อัยการขึ้นนั่งบัลลังก์แทนศาลเลยล่ะ
หรือมีกฎหมายข้อไหนกำหนดให้อัยการขึ้นบัลลังก์แทนศาล???
ในเมื่อเอาเรื่องอัยการมาเล่นปลายอ้อตอบให้ชื่นใจหน่อยสิว่า
ผิดปกติหรือไม่ผู้ร้องยื่นเรื่องไว้3เดือนอัยการทำอะไรอยู่
แต่พอเรื่องถึงศาลอัยการทำงานวันเดียวเสร็จเลย ผิดปกติไหม???
#8
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 15:53
การใช้อำนาจตามอำเภอใจของอัยการ
หลังจากอัยการสูงสุด พิจารณาสำนวนคดีเลี่ยงภาษีหุ้นชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) มีความเห็นพ้องกับศาลอุทธรณ์ไม่ยื่นฎีกา โดยอัยการสูงสุดพิจารณาใน 3 ประเด็น คือ
1.เห็นว่าประมวลรัษฎากรเป็นเพียงมาตรการเสริมใช้ในการจัดเก็บภาษี ไม่ได้มีเจตนาลงโทษจำคุกผู้ที่ไม่ยอมชำระภาษีหรือชำระไม่ถูกต้อง
2.คดียังมีข้อสงสัย ควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
3.โจทก์ไม่มีหลักฐานมายืนยันได้ว่า จำเลยให้การเท็จ
ทำให้เกิดข้อถกเถียง กันในสังคมกันอย่างกว้างขวางว่า การใช้ดุลพินิจในการไม่ยื่นฎีกาคดีดังกล่าวของอัยการสูงสุดเป็นการใช้ ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจของอัยการเพื่อจะช่วยเหลือจำเลยหรือไม่ หรือมีการวิ่งเต้นอัยการหรือไม่ ซึ่ง ส่วนตัวผมเป็นทนายความมา 26 ปี ยังเชื่อมั่นในองค์กรอัยการ ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญว่าเป็นกลาง และยังเป็นที่พึ่งของประชาชนได้ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศจะเห็นกับผมด้วยหรือไม่ ผมชักไม่แน่ใจแล้วตอนนี้
ซึ่งที่ผ่านมาอัยการเคยถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องคดี โดยใช้อำนาจตามอำเภอใจมาแล้ว และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า อัยการมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 ส่วนการไม่ยื่นฎีกาของอัยการสูงสุดจะมีความผิดหรือไม่ต้องรอดูต่อไป เพราะมีหลายฝ่ายเตรียมถอดถอนอัยการสูงสุดอยู่โดยเฉพาะพรรคประชาธิปัตย์
ตัวอย่างคดีการใช้อำนาจตามอำเภอใจของอัยการในอดีต
- จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องบริษัท ส. และ ป. ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งที่หนังสือพิมพ์ ด. ซึ่งบริษัท ส. เป็นเจ้าของและ ป. เป็นบรรณาธิการ ลงข้อความในหนังสือพิมพ์เป็นความเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ จึงเกินล้ำออกนอกของเขตของความชอบด้วยกฎหมายและในฐานะที่จำเลยเป็นข้าราชการ อัยการชั้นสูง จำเลยย่อมทราบดีถึงเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการ การใช้ดุลพินิจผิดกฎหมายในกรณีนี้ จำเลยเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการมิชอบและมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสีย หายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อีกทั้งเพื่อจะช่วยบริษัท ส. และ ป. มิให้ต้องโทษจากการกระทำความผิดของตนอีกด้วย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคหนึ่ง
การกระทำของจำเลยที่ เป็นความผิดคือการใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหา ว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสีย หายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่น ๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของ จำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549)
- แม้ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการฯ มาตรา 27 บัญญัติให้เป็นอำนาจของประธานคณะกรรมการอัยการ (ก.อ.)ที่จะเสนอก.อ.ให้ความเห็นชอบในการแต่งตั้งข้าราชการอัยการนอกจาก ตำแหน่งอัยการผู้ช่วยแต่จำเลยซึ่งเป็นอธิบดีกรมอัยการหรืออัยการสูงสุดใน ฐานะผู้บังคับบัญชาของข้าราชการอัยการทั่วประเทศในการใช้อำนาจบริหารงาน บุคคลยังมีอำนาจเสนอตารางประวัติการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อประกอบการพิจารณาในการปฏิบัติหน้าที่ของประธาน ก.อ.รวมทั้งมีอำนาจเสนอเรื่องต่อก.อ. ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 21 การจัดทำตารางประวัติการปฏิบัติราชการเสนอที่ประชุมก.อ. เพื่อพิจารณาแต่งตั้งข้าราชการอัยการ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลย
อำนาจของอธิบดีกรม อัยการหรืออัยการสูงสุดในเรื่องนี้มีลักษณะเป็นอำนาจในเชิงดุลพินิจที่อาจ เลือกวินิจฉัยหรือเลือกกระทำได้หลายอย่างที่ชอบด้วยกฎหมาย การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของอธิบดีกรมอัยการหรือ อัยการสูงสุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157นี้ นอกจากหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการกระทำนอกขอบ เขตแห่งอำนาจหรือโดยปราศจากอำนาจประการหนึ่ง ที่เป็นการกระทำฝ่าฝืนต่อวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองอันเป็นสาระสำคัญที่ กำหนดไว้สำหรับการนั้นประการหนึ่ง และที่เป็นการกระทำที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่งแล้ว ยังหมายถึงการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่เป็นการใช้ดุลพินิจโดย มิชอบอีกด้วย
การใช้อำนาจดุลพินิจ ของผู้บังคับบัญชาสั่งการหรือเลือกกระทำตามที่เห็นว่าเหมาะสมโดยศาลไม่แทรก แซงนั้น หมายความว่า เมื่อผู้บังคับบัญชาใช้ดุลพินิจไปในทางใดแล้ว ศาลต้องยอมรับการใช้ดุลพินิจนั้น แต่การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาจะต้องอยู่ภายในขอบเขตของความชอบด้วย กฎหมาย คือ ต้องมิใช่เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ มิใช่การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ หรือโดยปราศจากเหตุผล
การ แต่งตั้งข้าราชการอัยการให้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ รวมทั้งตำแหน่งอัยการพิเศษฝ่ายนั้นมีการพิจารณาอาวุโสประกอบ การที่จำเลยเสนอตารางประวัติการปฏิบัติราชการแก่ประธาน ก.อ. เพื่อแต่งตั้งอัยการพิเศษฝ่ายโดยเสนอชื่อบุคคลที่มีอาวุโสต่ำกว่าโจทก์ไว้ เป็นอันดับสูงกว่าโจทก์ถึงสามครั้งเพราะถือเอาสาเหตุที่จำเลยมีสาเหตุส่วน ตัวกับโจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ จึงเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและในการปฏิบัติหรือ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบดังกล่าวจำเลยมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสีย หายแก่โจทก์ในฐานะที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 157,91 (เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7663/2543)
"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"
#9
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 15:57
หรือมีคนยิงกัน คนถูกยิงไม่ตาย ไอ-ยะ - เกิน เขียนสำนวนว่าด้วยเหตุผลอ่อนจนไม่สามารถเอาผิดได้ แล้วเจ้าตัวสามารถแจ้งความให้ทนายยื่นฟ้องเองได้หรือไม่
เรื่องพวกนี้ผมไม่รู้จริง ๆ ได้อาศัยสมาชิกในนี้ช่วยอธิบายหน่อยครับ
แล้วตามหัวข้อ แก้รัฐธรรมนูญ ไม่ขัด ม.68 มันเกี่ยวกันหรือ ม.68 มันเป็นเรื่องสิทธ์ในการยื่นฟ้อง กับขอบเขตอำนาจในการรับฟ้องใช่หรือไม่ ส่วนผิดไม่ผิดเป็นหน้าที่ของศาลใช่หรือเปล่าครับ
เรียนเชิญแสดงความเห็นทั้งสองด้านครับ
- จูกัดขงเบ้ง likes this
#10
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 15:58
รธน. ให้อำนาจอัยการ วินิฉัย ตรงไหนกันครับ
ถึงได้อ้างว่าไม่มีมูล
แสดงว่าอัยการทำเกินหน้าที่
ผิดรัฐธรรมนูญหรือเปล่า ?
ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง
และ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว
ข้อความไหนที่ให้อำนาจอัยการสูงสุดวินิฉัย
ว่าเข้าข่ายหรือไม่เข้าข่ายกันครับ
#11
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 15:58
ปลายอ้อ ทุกคดีไปสิ้นสุดที่ไหนอัยการหรือศาล
ถ้าอัยการมีอำนาจดังที่ปลายอ้อให้ความสำคัญ
เขาทำไมไม่ให้อัยการขึ้นนั่งบัลลังก์แทนศาลเลยล่ะ
หรือมีกฎหมายข้อไหนกำหนดให้อัยการขึ้นบัลลังก์แทนศาล???
ในเมื่อเอาเรื่องอัยการมาเล่นปลายอ้อตอบให้ชื่นใจหน่อยสิว่า
ผิดปกติหรือไม่ผู้ร้องยื่นเรื่องไว้3เดือนอัยการทำอะไรอยู่
แต่พอเรื่องถึงศาลอัยการทำงานวันเดียวเสร็จเลย ผิดปกติไหม???
สรุป ก็คือ ทักษิณซื้ออัยการสูงสุดแล้ว
#12
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 15:58
ดูอย่างคดีหมอผัสพรที่ถูกฆาตกรรมก็เป็นคดีที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง จนพ่อของผู้ตายต้องใช้สิทธิฟ้องเอง พอคดีนี้ศาลรับฟ้องเท่านั้นแหละ อัยการก็รีบแจ้นมาขอเป็นโจทก์ร่วม คดีนี้ศาลสั่งประหารชีวิตผู้ฆ่าหมอผัสพร ถ้าสิทธิของประชาชนต้องขึ้นอยู่กับอัยการเท่านั้นแล้วใครจะถ่วงดุลอัยการ
มาตรา 68 อยู่ในหมวดสิทธิเสรีภาพ และเป็นสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ถ้ารัฐธรรมนูญเหมือนพ่อแม่เรา เราจะไม่มีสิทธิเชียวหรือในการปกป้องพ่อแม่ของเราจากการถูกฆ่า ที่อัยการออกมาแถลงว่าการแก้รัฐธรรมนูญไม่ใช่เรื่องสิทธิเสรีภาพเป็นเรื่อง การทำหน้าที่ของรัฐสภา มาตรานี้รัฐธรรมนูญระบุถึงบุคคลและพรรคการเมือง พรรคการเมืองทำกิจการทางการเมืองผ่านสมาชิกพรรค จึงสามารถแอบแฝงการใช้สิทธิเสรีภาพของสมาชิกเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้
ประเด็นที่ศาลจะตรวจสอบเป็นการกระทำของนักการเมืองและพรรคการเมือง ไม่ใช่รัฐสภา แต่พวกนี้พยายามเบี่ยงเบนประเด็นโดยมีอัยการมารับหน้าเสื่อ อัยการไม่มีหน้าที่วินิจฉัยเพราะไม่ใช่ศาล ขอให้เพื่อนๆช่วยกันสนับสนุนการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญด้วยการช่วยกัน ขยายความเข้าใจกับเพื่อนของเพื่อนให้กว้างขวางที่สุด อย่าให้อันธพาลครองเมือง
Edited by คนกรุงธน, 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:01.
- สงสารสาวจันทร์, koong, ศรอรชุน and 1 other like this
"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"
#14
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:04
รธน. ให้อำนาจอัยการ วินิฉัย ตรงไหนกันครับ
ถึงได้อ้างว่าไม่มีมูล
แสดงว่าอัยการทำเกินหน้าที่
ผิดรัฐธรรมนูญหรือเปล่า ?
ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง
และ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว
ข้อความไหนที่ให้อำนาจอัยการสูงสุดวินิฉัย
ว่าเข้าข่ายหรือไม่เข้าข่ายกันครับ
คำว่า "ตรวจสอบข้อเท็จจริง" เข้าใจว่าอะไรครับ ?
จ้างอัยการให้มาแค่เป็นเลขาฯหน้าห้องศาล ใครยื่นอะไรมา จริงไม่จริง ส่งศาลหมด ยังงั้น!
ไม่คัดกรองใดๆเลยรึ
แล้วจะจ้าง คนระดับนี้มาให้เปลืองงบประมาณแผ่นดินทำไม ?
#15
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:11
รธน. ให้อำนาจอัยการ วินิฉัย ตรงไหนกันครับ
ถึงได้อ้างว่าไม่มีมูล
แสดงว่าอัยการทำเกินหน้าที่
ผิดรัฐธรรมนูญหรือเปล่า ?
ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง
และ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว
ข้อความไหนที่ให้อำนาจอัยการสูงสุดวินิฉัย
ว่าเข้าข่ายหรือไม่เข้าข่ายกันครับ
คำว่า "ตรวจสอบข้อเท็จจริง" เข้าใจว่าอะไรครับ ?
จ้างอัยการให้มาแค่เป็นเลขาฯหน้าห้องศาล ใครยื่นอะไรมา จริงไม่จริง ส่งศาลหมด ยังงั้น!
ไม่คัดกรองใดๆเลยรึ
แล้วจะจ้าง คนระดับนี้มาให้เปลืองงบประมาณแผ่นดินทำไม ?
แล้ว อัยการ จะไปตรวจสอบทำขี้เกลือทำไมให้เมื่อยตุ้ม
เพราะถ้าทุกเรื่องต้องไปถึงศาลหมด
ยุบอัยการไปเลยเถอะ ไม่มีประโยชน์
#16
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:12
ความหมายมันเหมือนกัน 555+ แม่่่่่งโง่จิงหวะ
- V.Junior for Vendetta, koong, 18Bottle and 1 other like this
#17
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:13
ศาลมีหน้าที่อะไร
อัยการมีหน้าที่อะไร
ปลายอ้อ ทุกคดีไปสิ้นสุดที่ไหนอัยการหรือศาล
ถ้าอัยการมีอำนาจดังที่ปลายอ้อให้ความสำคัญ
เขาทำไมไม่ให้อัยการขึ้นนั่งบัลลังก์แทนศาลเลยล่ะ
หรือมีกฎหมายข้อไหนกำหนดให้อัยการขึ้นบัลลังก์แทนศาล???
ในเมื่อเอาเรื่องอัยการมาเล่นปลายอ้อตอบให้ชื่นใจหน่อยสิว่า
ผิดปกติหรือไม่ผู้ร้องยื่นเรื่องไว้3เดือนอัยการทำอะไรอยู่
แต่พอเรื่องถึงศาลอัยการทำงานวันเดียวเสร็จเลย ผิดปกติไหม???
สรุป ก็คือ ทักษิณซื้ออัยการสูงสุดแล้ว
โอ๊ะโอ ปลายอ้อสรุปให้ด้วย
เก่งจังเยยยยยยย
ความเท็จแม้นเร้นได้ในปัจจุบัน แต่ก็เหมือนซ่อนสุริยันไว้หลังเมฆ
อย่านึกถึงแต่ความผิดพลาด จงระลึกถึงต้นเหตุของความผิดพลาด
#18
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:14
รธน. ให้อำนาจอัยการ วินิฉัย ตรงไหนกันครับ
ถึงได้อ้างว่าไม่มีมูล
แสดงว่าอัยการทำเกินหน้าที่
ผิดรัฐธรรมนูญหรือเปล่า ?
ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง
และ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว
ข้อความไหนที่ให้อำนาจอัยการสูงสุดวินิฉัย
ว่าเข้าข่ายหรือไม่เข้าข่ายกันครับ
คำว่า "ตรวจสอบข้อเท็จจริง" เข้าใจว่าอะไรครับ ?
จ้างอัยการให้มาแค่เป็นเลขาฯหน้าห้องศาล ใครยื่นอะไรมา จริงไม่จริง ส่งศาลหมด ยังงั้น!
ไม่คัดกรองใดๆเลยรึ
แล้วจะจ้าง คนระดับนี้มาให้เปลืองงบประมาณแผ่นดินทำไม ?
ตรวจสอบข้อเท็จจริง คือ ตรวจสอบสำนวน หลักฐานที่ส่งมาว่ามีความถูกต้องของแท้ มีการปลอมแปลงขึ้นมาหรือเปล่า
เจตนาเป็นการกลั่นแกล้งหรือไม่ หรือ การฟ้องร้องนั้นยังขาดหลักฐานพยานใด ก็แจ้งไปต่อผู้ร้อง
แต่ที่แน่ๆ การตรวจสอบข้อเท็จจริง คงไม่ได้แปลว่า การตัดสิน แน่ๆ
อสส คือ ทนายแผ่นดิน ต้องทำทุกอย่างเพื่อผลประโยชน์ของแผ่นดิน จ้างมาก็เพื่อช่วยหรือให้ข้อมูล ช่้วยเหลือผู้ร้องและผู้ถูกร้อง เพื่อให้เกิดความถูกต้อง และ เป็นธรรม
Edited by เพลิงสีนิล, 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:15.
- juneka, nhum and จูกัดขงเบ้ง like this
[color=#0000ff;][font="Tahoma, sans-serif;"]เราจะรู้.....รสชาติของความสุข[/color][font="Tahoma, sans-serif;"]ก็ต่อเมื่อ เราผ่านความทุกข์มาก่อน[/font][/font]
#19
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:16
อ้าว...ทีอย่างนี้ไม่ตีความคำว่า และ แบบที่พวกแกนนำควายแดงตีความละครับ...สองมาตรฐานนี่หว่า
- พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน, RIP and คนหน้าใหม่ like this
"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"
#20
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:23
ปลายอ้อ ทุกคดีไปสิ้นสุดที่ไหนอัยการหรือศาล
ถ้าอัยการมีอำนาจดังที่ปลายอ้อให้ความสำคัญ
เขาทำไมไม่ให้อัยการขึ้นนั่งบัลลังก์แทนศาลเลยล่ะ
หรือมีกฎหมายข้อไหนกำหนดให้อัยการขึ้นบัลลังก์แทนศาล???
ในเมื่อเอาเรื่องอัยการมาเล่นปลายอ้อตอบให้ชื่นใจหน่อยสิว่า
ผิดปกติหรือไม่ผู้ร้องยื่นเรื่องไว้3เดือนอัยการทำอะไรอยู่
แต่พอเรื่องถึงศาลอัยการทำงานวันเดียวเสร็จเลย ผิดปกติไหม???
สรุป ก็คือ ทักษิณซื้ออัยการสูงสุดแล้ว
คุณมีหลักฐานหรือไม่ถึงไปกล่าวหาทั้งทักษิณและอสส.
ระวังโดนฟ้องมาผมไม่รู้ด้วยนะ
ถ้าคุณจินตนาการมาได้ขนาดนี้แสดงว่าคุณเองก็รู้ว่าอัยการผิดปกติ
ขี้เกียจทำงาน ขี้เกียจไปยื่นเรื่องให้ศาลเลยวินิจฉัยส่งๆซะเองเหมือนคดีของหมอ
และจากประโยคแรกของผมคุณไม่คัดค้านแสดงว่าคุณเองก็ยอมรับว่าอัยการ
ไม่ได้ทำหน้าที่นั่งบัลลังก์แทนศาล เพาาะฉะนั้นข่าวในหัวกระทู้ที่คุณยกมามันเปล่าประโยชน์
#21
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:23
ตรวจสอบ กับ ตัดสิน
ความหมายมันเหมือนกัน 555+ แม่่่่่งโง่จิงหวะ
แล้วตรวจทำสากอะไร
เขาบอก "ตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วยื่นให้ศาลสั่งให้เลิกการกระทำเสีย"
ถ้าเห็นว่าเป็นจริง ..ใช่มั๊ย ?
แล้วถ้ามันไม่มีมูล ไม่จริง หลังจากที่ตรวจสอบแล้ว
เมิงว่าอัยการจะยื่นให้ศาล "สั่ง"ให้เลิกการกระทำ อยู่อีกหรือ...แม่มโง่
เอาสมองส่วนไหนคิดว่ะ..มิน่า !
#22
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:24
รธน. ให้อำนาจอัยการ วินิฉัย ตรงไหนกันครับ
ถึงได้อ้างว่าไม่มีมูล
แสดงว่าอัยการทำเกินหน้าที่
ผิดรัฐธรรมนูญหรือเปล่า ?
อนึ่ง การพิจารณาวินิจฉัยของอัยการสูงสุดเรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เฉพาะของอัยการสูงสุด ตามมาตรา 68 ไม่ได้ก้าวล่วงการใช้อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัยขององค์กรอื่นแต่อย่างใด
ผมอ่านแค่ตรงนี้จริงๆ เสียเวลาทำไมเรื่องมันเลยอัยการสูงสุดไปแล้ว มีใครเคารพการวินิจฉัยของอัยการบ้างมั้ย ในเมื่อท่านทักษิณบอกให้เคารพคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
จะตะแบงศาลหรือพวกมันจะตะแบงท่านทักษิณกันแน่เนี่ย สั่งให้พวกมันเงียบมันก็ยังจะแถ แถแบบนปช.ถ่อย
#23
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:24
Edited by Buffalo_, 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:27.
#24
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:26
- สงสารสาวจันทร์ and Uranus like this
#25
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:26
รธน. ให้อำนาจอัยการ วินิฉัย ตรงไหนกันครับ
ถึงได้อ้างว่าไม่มีมูล
แสดงว่าอัยการทำเกินหน้าที่
ผิดรัฐธรรมนูญหรือเปล่า ?
ใช่ครับ
เพราะถ้าจะเอามาตรา 68 ที่เหล่าเสื้อแดงอ้างน้ำลายฟูมปากมาตลอดนั้น
เขียนอย่างนี้ เบิกตาดูนะครับ
เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว
ตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้ว และต้องส่งต่อศาล ไม่ใช่ วินิจฉัย แล้วส่งต่อหรือไม่ส่งเป็นดุลพินิจอัยการ
อย่างนี้เขาเรียกว่า แถกฎหมาย
บอกศาลรับเองไม่ได้ เพราะ คำว่าและนี้หมายถึงอัยการ
แต่อัยการ ไม่ส่งต่อศาล
แสดงว่า อัยการไม่สนใจ คำว่า "และ"
ใช่หรือไม่???
เรื่องนี้เข้าใจยาก ดังนั้น เหล่าแกนนำฟายแดงมีความสุขมาก
เพราะอธิบายให้หูแตก ควายก็ไม่เข้าใจเรื่องนี้
ดังนั้น สรุปให้มันฟังเลย ควายก็เฮตามกันไป
- คนกรุงธน likes this
แผ่นดินนี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ทั้งกษัตริย์ยังทรงคุณธรรมอันสูงส่ง
จำคำนี้ไว้ไปบอกยมบาลเวลาเจ้าลงนรกก็แล้วกัน
#26
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:27
ระดับเมพขี้กลากดำดิน
ทั้งตั้ง กท.และ ระดับตอบโต้
มันก็แค่จิตนาการชักว่าวสนามหลวง
5555555555555555555555555555555555
โถไอ้ปลายกะดอ
- Sleepnoyza likes this
#27
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:30
ตรวจสอบ กับ ตัดสิน
ความหมายมันเหมือนกัน 555+ แม่่่่่งโง่จิงหวะ
แล้วตรวจทำสากอะไร
เขาบอก "ตรวจสอบข้อเท็จจริง แล้วยื่นให้ศาลสั่งให้เลิกการกระทำเสีย"
ถ้าเห็นว่าเป็นจริง ..ใช่มั๊ย ?
แล้วถ้ามันไม่มีมูล ไม่จริง หลังจากที่ตรวจสอบแล้ว
เมิงว่าอัยการจะยื่นให้ศาล "สั่ง"ให้เลิกการกระทำ อยู่อีกหรือ...แม่มโง่
เอาสมองส่วนไหนคิดว่ะ..มิน่า !
ปลายอ้อ แม่มก็โง่อวดฉลาด...
ในคดีต่างๆทั่วไป...หลักฐานเด็ดๆ จะมีควายตัวไหนยื่นไปเพื่อให้อัยการรู้รายละเอียดทั้งหมดล่ะ
...เรื่องร้ายแรงติดคุกติดตะราง...ไว้ใจใครไม่ได้หรอก...
หลักฐานเด็ดๆ ก็ต้องนำเสนอตอนพิจารณาคดีสิวะ โง่อีกแล้ว มิน่าล่ะ แพ้แทบทุกคดี
Edited by คนกรุงธน, 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:33.
"น้อมส่งเสด็จสู่พระนิพพาน"
#28
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:30
คนเหล่านี้ เขาไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้หน้าที่ตนเอง ไร้สติปัญญาหรือ
http://www.ago.go.th/chief.php
http://th.wikipedia....ิงห์_วสันตสิงห์
#29
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:33
คำว่า "ตรวจสอบข้อเท็จจริง" เข้าใจว่าอะไรครับ ?
จ้างอัยการให้มาแค่เป็นเลขาฯหน้าห้องศาล ใครยื่นอะไรมา จริงไม่จริง ส่งศาลหมด ยังงั้น!
ไม่คัดกรองใดๆเลยรึ
แล้วจะจ้าง คนระดับนี้มาให้เปลืองงบประมาณแผ่นดินทำไม ?
แล้ว อัยการ จะไปตรวจสอบทำขี้เกลือทำไมให้เมื่อยตุ้ม
เพราะถ้าทุกเรื่องต้องไปถึงศาลหมด
ยุบอัยการไปเลยเถอะ ไม่มีประโยชน์
ถ้าอัยการมีหน้าที่แค่ ม.68 ก็ยุบไปเถอะ
จ้างเงินเดือนตั้งแพง มาทำงานแค่นี้
แต่ความจริงไม่ใช่ อัยการมีหน้าที่เป็นทนายแผ่นดินด้วย
เสื้อแดงมันจะโง่ไปถึงไหน ในกรณีนี้ เขาให้มาช่วย
รวบรวมหลักฐานส่งให้ศาล ศาลรับไม่รับ เป็นหน้าที่ของศาล
ไม่ได้เป็นหน้าที่ของเอ็ง อ่านภาษาไทยไม่ออกหรือ?
#30
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:37
แหกเนตรดูบ้างครับ
คนเหล่านี้ เขาไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้หน้าที่ตนเอง ไร้สติปัญญาหรือ
http://www.ago.go.th/chief.php
http://th.wikipedia....ิงห์_วสันตสิงห์
แล้วที่ท่านทักษิณยอมรับคำวินิจฉัยศาลนี่
จะบอกว่าท่านทักษิณ เขาไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้หน้าที่ตนเอง ไร้สติปัญญาหรือ
#31
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:38
แหกเนตรดูบ้างครับ
คนเหล่านี้ เขาไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้หน้าที่ตนเอง ไร้สติปัญญาหรือ
http://www.ago.go.th/chief.php
http://th.wikipedia....ิงห์_วสันตสิงห์
ไม่ต้องแหกเนตรเข้าไปดูหรอก
แค่ลิงค์2ดูชื่อก็ไม่เหมือนตุลาการที่ตัดสินเลย
คนที่อ้างมาเขามีหน้าที่อะไรในการวินิจฉัยคดีนี้ครับ
จะอ้างช่วยเอาคนที่มีหน้าที่ในการวินิจฉัยมาได้ไหมครับ
#33
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:43
อสสเป็น..ศาลพระภูมิหรือครับ....ถึงมีหน้าที่มาตัดสินแทนศาลรัฐธรรมนูญ
ประมาณว่า อสส. ไม่ใช่....ใช่มั๊ย ?
แค่แมสเซนเจอร์..ตรวจสอบ...สำเนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่...หากเอกสารสิ่งประกอบอื่นๆ ไม่ครบ...ก็เรียกเพิ่มเติม..แล้วก็ไปส่งหรือไม่ส่งของซิก๊าบๆ...
แต่ เอ..หรือว่าอสส.มันอยากเป็นศาลพระภูมิ...ว่ะครับปลายอ้อมไข่..
อีกเอ..งั้นตำหนวดจับผู้ร้ายได้..ไปส่งศาลทำไมล่ะก๊าบๆๆ...ไม่ตัดสินไปเลยล่ะก๊าบๆๆ...
- พระฤๅษี likes this
#34
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:49
#35
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:50
แหกเนตรดูบ้างครับ
คนเหล่านี้ เขาไม่รู้กฎหมาย ไม่รู้หน้าที่ตนเอง ไร้สติปัญญาหรือ
http://www.ago.go.th/chief.php
http://th.wikipedia....ิงห์_วสันตสิงห์
ปลายอ้อ บอกว่าคนเหล่านี้ก็มีความรู้ ปลายอ้อก็เชื่อคนเหล่านี้แล้วก็มาด่าศาล????
ถามจริงเถอะ
เวลาเขากล่อมชาวบ้านให้เชื่อเนี่ย เขาก็อ้างคนมีความรู้ทั้งนั้น
แล้วจะรู้ได้ยังไงว่า คนมีความรู้คนนี้ใช้ได้ แต่ คนมีความรู้อีกคนนึงไม่ใช้
แปลกว่ะ
สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เป็นสิทธิพื้นฐานของคุณและของผม
ถามคำเดียว เอากันเรื่องเจตนารมย์
ทำไมผมยื่นโดยตรงกับศาลไม่ได้
อย่าอ้างว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ใครๆก็ยื่นกับศาลกันหมด
เอ้า ก็เป็นสิทธิเขานี่
ไม่ใช่หน้าที่คุณที่จะต้องไปกลัวว่าศาลจะงานล้นหรือวุ่นวาย
ประเด็นมันคือ
ศาลรับเรื่องโดยตัวบท คือ เขียนคำว่า และ ที่หมายถึงอัยการก็ได้ หมายถึง ผู้ร้อง ก็ได้
และโดยเจตนารมย์ คือ สิทธิที่คนจะปกป้องสิ่งที่เขากังวลใจได้
เอาแค่นี้แหละ เข้าใจและยอมรับหรือเปล่า
- สงสารสาวจันทร์ likes this
แผ่นดินนี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ทั้งกษัตริย์ยังทรงคุณธรรมอันสูงส่ง
จำคำนี้ไว้ไปบอกยมบาลเวลาเจ้าลงนรกก็แล้วกัน
#36
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 16:57
อสสเป็น..ศาลพระภูมิหรือครับ....ถึงมีหน้าที่มาตัดสินแทนศาลรัฐธรรมนูญ
ประมาณว่า อสส. ไม่ใช่....ใช่มั๊ย ?
แค่แมสเซนเจอร์..ตรวจสอบ...สำเนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่...หากเอกสารสิ่งประกอบอื่นๆ ไม่ครบ...ก็เรียกเพิ่มเติม..แล้วก็ไปส่งหรือไม่ส่งของซิก๊าบๆ...
แต่ เอ..หรือว่าอสส.มันอยากเป็นศาลพระภูมิ...ว่ะครับปลายอ้อมไข่..
อีกเอ..งั้นตำหนวดจับผู้ร้ายได้..ไปส่งศาลทำไมล่ะก๊าบๆๆ...ไม่ตัดสินไปเลยล่ะก๊าบๆๆ...
โอ๊ย..ตายๆๆๆ
จ้างคนระดับศาตราจารย์พิเศษเนี่ยะ มาเป็นแค่ธุรการ ตรวจสอบเอกสาร มาเป็นแมสฯส่งเอกสาร..จะลงทุนไปหน่อยหรือเปล่า
อีกเรื่อง ตำรวจจับผู้ร้าย คุณดูให้ดี เขาส่งใคร ? ก่อนพูด
#37
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:04
รธน. ให้อำนาจอัยการ วินิฉัย ตรงไหนกันครับ
ถึงได้อ้างว่าไม่มีมูล
แสดงว่าอัยการทำเกินหน้าที่
ผิดรัฐธรรมนูญหรือเปล่า ?
ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง
และ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว
ข้อความไหนที่ให้อำนาจอัยการสูงสุดวินิฉัย
ว่าเข้าข่ายหรือไม่เข้าข่ายกันครับ
คำว่า "ตรวจสอบข้อเท็จจริง" เข้าใจว่าอะไรครับ ?
จ้างอัยการให้มาแค่เป็นเลขาฯหน้าห้องศาล ใครยื่นอะไรมา จริงไม่จริง ส่งศาลหมด ยังงั้น!
ไม่คัดกรองใดๆเลยรึ
แล้วจะจ้าง คนระดับนี้มาให้เปลืองงบประมาณแผ่นดินทำไม ?
ตัวหนังสือสีแดงถูกใจมากเลย ยุบไปเลยก็ดีนะ อสส. เนี่ย
องกรค์สารพัดสัตว์
#38
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:10
อสสเป็น..ศาลพระภูมิหรือครับ....ถึงมีหน้าที่มาตัดสินแทนศาลรัฐธรรมนูญ
ประมาณว่า อสส. ไม่ใช่....ใช่มั๊ย ?
แค่แมสเซนเจอร์..ตรวจสอบ...สำเนาถูกต้องครบถ้วนหรือไม่...หากเอกสารสิ่งประกอบอื่นๆ ไม่ครบ...ก็เรียกเพิ่มเติม..แล้วก็ไปส่งหรือไม่ส่งของซิก๊าบๆ...
แต่ เอ..หรือว่าอสส.มันอยากเป็นศาลพระภูมิ...ว่ะครับปลายอ้อมไข่..
อีกเอ..งั้นตำหนวดจับผู้ร้ายได้..ไปส่งศาลทำไมล่ะก๊าบๆๆ...ไม่ตัดสินไปเลยล่ะก๊าบๆๆ...
โอ๊ย..ตายๆๆๆ
จ้างคนระดับศาตราจารย์พิเศษเนี่ยะ มาเป็นแค่ธุรการ ตรวจสอบเอกสาร มาเป็นแมสฯส่งเอกสาร..จะลงทุนไปหน่อยหรือเปล่า
อีกเรื่อง ตำรวจจับผู้ร้าย คุณดูให้ดี เขาส่งใคร ? ก่อนพูด
โง่ฉิหายเลย...กรูอุตส่าห์ทำให้เห็นภาพแบบง่ายๆ..ปลายอ้อมไข่ยังเอามาบิดทำเป็นม่ายเข้าใจได้...
ไหนบอกหน่อยดิก๊าบๆๆ...ว่าอสส.มันทำหน้าที่อะไร...ปลายอ้อมไข่..
Edited by Gear2528, 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:14.
#39
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:10
Started by ปลายอ้อกอแขม, Today, 15:32
"ปลายอ้อกอแขม"เอ๋ย......
คนที่นี่รู้ล่วงหน้าคำวินิจฉัยของอัยการสูงสุดแล้ว.....
"เป่าหาย" "เป่าเงียบ" เหมือนก่อนหน้านี้ว่ะ........ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า
เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...
#40
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:10
เหตุผลของเรื่องนี้มีตัวอย่างให้เห็นในกระทู้นี้นี่เอง
#41
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:13
ผมไม่ใช่นักกฏหมาย เป็นเพียง โปรแกรมเมอร์
และ หรือ And หรือ && ในทางนี้มีความหมายคือ
"ทั้งคู่" เช่น ถ้า A=1 และ B=5 ให้ออกจากบ้าน แสดงว่า ต้อง A=1 และ B=5 เท่านั้น จะเป็นอย่างอื่นไม่ได้
ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง
และ ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว
ในกรณีนี้ผมตีความได้คือ
ผู้ทราบ --> เสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง
ผู้ทราบ --> ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว
-----------------------------------------------------------------
หรือมันต้องเป็น
ผู้ทราบ ----> เสนอเรื่องให้อัยการ
อัยการ ----> ตรวจสอบข้อเท็จจริง
--> มีมูล ------> ยื่นศาล
--> ไม่มีมูล -------> ไม่ต้องยื่น
Edited by O2Mini, 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:17.
- คนกรุงธน and จูกัดขงเบ้ง like this
#42
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:14
อำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด มีดังนี้
(มาตรา ๒๓) สำนักงานอัยการสูงสุด นอกจากมีอำนาจและหน้าที่เกี่ยวกับงานธุรการและงานวิชากร เพื่อสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่พนักงานอัยการแล้ว ให้มีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินการทางกฎหมายรวมตลอดทั้งในการคุ้มครองป้องกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
(๒) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ
(๓) ให้คำปรึกษา และตรวจร่างสัญญาหรือเอกสารทางกฎหมายให้แก่นิติบุคคล ซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐแต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น ทั้งนี้ ตามที่เห็นสมควร
(๔) ดำเนินการเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง หรือคดีปกครองแทนรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งพนักงานอัยการได้รับดำเนินคดีให้
(๕) ดำเนินการตามที่คณะรัฐมนตรีร้องขอ เว้นแต่การดำเนินการนั้นจะขัดต่องานในหน้าที่ หรืออาจทำให้ขัดต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๖) ดำเนินการเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาข้ารการฝ่ายอัยการ
(๗) ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐและประชาชน
(๘) ติดต่อและประสานงานกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการหรือสำนักงานอัยการสูงสุด
(๙) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ หรือสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการตรวจร่างสัญญาตาม (๒) และ (๓) ให้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รักษาประโยชน์ของรัฐ ในการนี้สำนักงานอัยการสูงสุดมีหน้าที่รายงานรัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐตาม (๒) หรือนิติบุคคลตาม (๓) ที่เป็นคู่สัญญาให้ทราบถึงข้อที่ควรปรับปรุงหรือแก้ไขให้สมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหรือข้อที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
อำนาจหน้าที่ของอัยการสูงสุด มีดังนี้
(มาตรา ๒๗) ให้อัยการสูงสุดมีอำนาจและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) กำหนดนโยบายและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นไปตามเป้าหมาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของสำนักงานอัยการสูงสุด
(๒) ควบคุมและรับผิดชอบในการบริหารราชการ ปฏิบัติราชการ และบริหารงานบุคคลของสำนักงานอัยการสูงสุด ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ แบบแผน และประเพณีปฏิบัติของราชการ
(๓) บริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสุดของสำนักงานอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง อัยการสูงสุดอาจมอบอำนาจให้รองอัยการสูงสุด หรือข้าราชการฝ่ายอัยการผู้หนึ่งผู้ใดปฏิบัติหน้าที่แทนได้
ให้อัยการสูงสุดโอยความเห็นชอบของ ก.อ. มีอำนาจออกระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการงบประมาณ การเงิน ทรัพย์สิน และการพัสดุของสำนักงานอัยการสูงสุด
อำนาจหน้าที่ของพนักงานอัยการ มีดังนี้
มาตรา ๑๔ พนักงานอัยการมีอำจานและหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) อำนาจและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
(๒) ในคดีอาญา มีอำนาจและหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและ ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(๓) ในคดีแพ่ง หรือคดีปกครอง มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีแทนรัฐบาล หน่วยงานของรัฐที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ราชการส่วนกลาง หรือราชการส่วนภูมิภาคในศาล หรือในกระบวนการทางอนุญาโตตุลากรทั้งปวง กับมีอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายอื่นซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการ
(๔) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีอาญา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ก็ดี หรือในคดีแพ่งหรือคดีอาญาที่ราษฎรผู้หนี่งผู้ใดถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำตามคำสั่งของเจ้าที่ของรัฐซึ่งได้สั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเข้าร่วมหรือช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งกระทำการในหน้าที่ราชการก็ดี เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับแก้ต่างให้ก็ได้
(๕) ในคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือกรณีมีข้อพิพาทที่ต้องดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการ ที่หน่วยงานของรัฐซึ่งมิได้กล่าวใน (๓) หรือนิติบุคคลซึ่งมิใช่หน่วยงานของรัฐ แต่ได้มีพระราชบัญญัติด้วยกันเอง เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการจะรับว่าต่างหรือแก้ต่างให้ก็ได้
(๖) ในคดีที่ราษฎรฟ้องเองไม่ได้โดยกฎหมายห้าม เมื่อเห็นสมควรพนักงานอัยการมีอำนาจเป็นโจทก์ได้
(๗) ดำเนินการตามที่เห็นสมควรเกี่ยวกับการบังคับคดีอาญาเฉพาะในส่วนของการยึดทรัพย์สินใช้ค่าปรับตามคำพิพากษาก ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๘) ในกรณีที่มีการผิดสัญญาประกันจำเลย หรือประกันรับสิ่งของไปดูแลรักษา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินคดีในการบังคับให้เป็นไปตามสัญญานั้น ในการนี้มิให้เรียกค่าฤชาธรรมเนียมจากพนักงานอัยการ
(๙) อำนาจและหน้าที่ตาม ก.อ. ประกาศกำหนดหรือเห็นชอบเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย หรือมติคณะรัฐมนตรี
(๑๐) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงานอัยการ
(๑๑) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ตามที่ได้รับมอบหมายจากอัยการสูงสุด
ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานอัยการตามมาตรา ๑๔ (๓) (๔) และ (๕) พนักงานอัยการจะออกคำสั่งเรียกบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำก็ได้ แต่จะเรียกคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาให้ถ้อยคำ โดยคู่ความฝ่ายนั้นไม่ยินยอมไม่ได้
พนักงานอัยการตำแหน่งใดมีอำนาจดำเนินการตามวรรคหนึ่งได้เพียงใดให้เป็นไปตามระเบียบที่สำนักงานอัยการสูงสุด กำหนดโดยความเห็นชอบของ ก.อ.
ที่มา : http://www.ago.go.th/function_2.php
สำนักงานอัยการสูงสุด
มีประโยคไหนหรือไม่ที่บอกว่า อสส. สามารถตัดสินข้อกฏหมายแทนศาลได้
#43
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:24
โง่ฉิหายเลย...กรูอุตส่าห์ทำให้เห็นภาพแบบง่ายๆ..ปลายอ้อมไข่ยังเอามาบิดทำเป็นม่ายเข้าใจได้...
ไหนบอกหน่อยดิก๊าบๆๆ...ว่าอสส.มันทำหน้าที่อะไร...ปลายอ้อมไข่..
แม่ม..มาถามหน้าที่อีก
สงสัยอัยการมีไว้ขุดท่อม้าง หรือไม่ก็จับแมงสาบ
อ่านซะ อ่านเผื่อกรรรุูด้วย อ้ายหอย !
แก้ไข ลบทิ้ง อ่านข้างบนก็แล้วกัน กระทู้มันยาว
Edited by ปลายอ้อกอแขม, 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:34.
#44
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:26
อนึ่ง การพิจารณาวินิจฉัยของอัยการสูงสุดเรื่องนี้เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เฉพาะของอัยการสูงสุด ตามมาตรา 68
ไม่ได้ก้าวล่วงการใช้อำนาจหน้าที่ในการพิจารณาวินิจฉัยขององค์กรอื่นแต่อย่างใด
จากข้อความนี้ก็เห็นชัดแล้วนะครับว่าการวินิจฉัยนี้เป็นเรื่องของอัยการเอง
ไม่เกี่ยวกับศาล
ความเห็นย่อมแตกต่างกันได้ครับผมไม่เห็นว่าจะผิดตรงไหน
ศาลเองในชั้นต้น ชั้นอุทรณ์ ชั้นฎีกาก็ตัดสินแตกต่างกันได้ไม่เห็นเป็นเรื่องพิสดารอันใด
ดังนั้นการยกเอาคำวินิจฉัยของอัยการสูงสุดมาอ้างก็ไม่รู้ว่าจะมาอ้างทำไม อัยการเองก็รู้ว่าตัวไม่มีอำนาจเขาก็บอกไว้
ส่วนเรื่องที่ว่าไม่มีอำนาจแล้วมีอัยการไว้ทำไมก็ไม่น่าถามครับ
เขาก็มีไว้กรองคดีเล็กน้อย คดีที่หลักฐานไม่เพียงพอ คดีรกโรงรกศาลให้ไม่ต้องเอาไปพิจารณากันเสียเวร่ำเวลา
พูดง่ายๆคืออัยการคือเภสัช ถ้าคนไข้ปวดหัวนิดหน่อยจ่ายยาแก้ปวดกลับบ้านได้ก็ไม่ต้องถึงมือหมอ
แต่ถ้าหนักก็ควรถึงมือหมอ หรือหากคนไข้เป็นบุคคลสำคัญ
(เทียบกับคดีที่ได้รับความสนใจจากประชาชน หรือส่งผลกระทบในวงกว้าง)
หมอจะขอเรียกตรวจละเอียดก็ไม่ผิดมารยาทธรรมเนียมอันใด
กรณีนี้จะมาโวยว่าแบบนี้เภสัชก็ร่ำเรียนมาเสียเวลาเปล่าไม่ได้หรอกครับ
ยังไงหมอก็รักษา วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องกว่าเภสัช
เภสัชชำนาญเรื่องยากว่าแพทย์ แต่ก็ไม่ใช่แพทย์ครับ
เช่นเดียวกับอัยการที่ไม่ใช่ศาล ยังไงก็ไม่มีอำนาจตัดสินคดี มีอำนาจแค่ตัดตอน
หากศาลเห็นว่าตัดตอนไม่ได้ อัยการก็หมดหน้าที่ครับ
วิธีการยุติระบอบทักษิณ
ก็แค่เพียงทำให้คนไทยส่วนใหญ่ "ฉลาด"
#45
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:28
- Alanza 4.91 likes this
ใครอยู่เบื้องหลังการอุ้มฆ่าเอกยุทธ์ อัญชัญบุตร
#46
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:33
พอจะสรุปได้นะ ว่า ทักษิณ มันใช้อะไรซื้อ ไอ้หงอก
ปลายอ้อ ทุกคดีไปสิ้นสุดที่ไหนอัยการหรือศาล
ถ้าอัยการมีอำนาจดังที่ปลายอ้อให้ความสำคัญ
เขาทำไมไม่ให้อัยการขึ้นนั่งบัลลังก์แทนศาลเลยล่ะ
หรือมีกฎหมายข้อไหนกำหนดให้อัยการขึ้นบัลลังก์แทนศาล???
ในเมื่อเอาเรื่องอัยการมาเล่นปลายอ้อตอบให้ชื่นใจหน่อยสิว่า
ผิดปกติหรือไม่ผู้ร้องยื่นเรื่องไว้3เดือนอัยการทำอะไรอยู่
แต่พอเรื่องถึงศาลอัยการทำงานวันเดียวเสร็จเลย ผิดปกติไหม???
สรุป ก็คือ ทักษิณซื้ออัยการสูงสุดแล้ว
บอร์ดการบินไทยแต่งตั้ง โชคชัย ปัญญายงค์ เป็นรักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ชั่วคราว - เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ นั่งเก้าอี้รองประธานกรรมการ
เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2555 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีการแจ้งผลประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3 เรื่องที่สำคัญ ดังนี้
1. ยกเลิกสัญญาว่าจ้าง นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 21 มิถุนายน 2555 ซึ่งมีผลให้พ้นจากตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติให้ นายโชคชัย ปัญญายงค์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ ปฏิบัติหน้าที่กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2555 จนกว่าการสรรหากรรมการผู้อำนวยการใหญ่จะแล้วเสร็จ
2.
แต่งตั้งกรรมการตรวจสอบจำนวน 3 คน มีผลตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2555
เป็นต้นไป ได้แก่
นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ ประธานกรรมการตรวจสอบ
นายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ กรรมการตรวจสอบ
นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี กรรมการตรวจสอบ
3. แต่งตั้งรองประธานกรรมการบริษัทฯ เพิ่มเติม มีผลตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2555 ได้แก่
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม รองประธานกรรมการ
พลตำรวจเอก เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองประธานกรรมการ
#47
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:39
สรุปซิว่าอสส.ทำหน้าที่ไร...ตัดแปะมันง่ายไปป่าว...ปลายอ้อมไข่...ก๊าบๆๆๆ.
กรูยังอุปมาไอ้อสส.มันเหมือนแมสเซนเจอร์ได้..ไหงปลายอ้อมอุปไมยไม่ได้ว่ะก๊าบๆๆๆๆ
#48
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:52
กระบวนการยุติธรรมทุกประเทศทั่วโลกชี้ขาดตัดสินกันที่ศาล ไม่มีประเทศไหนชี้ขาดคดีสิ้นสุดที่อัยการ
คดีอาญาที่อัยการไม่ฟ้อง แต่ผู้เสียหายฟ้องเองจนศาลประหารชีวิตก็มี
เอาความเห็นอัยการมาเล่นเรื่องนี้ ช่างเลอะเทอะ
- ศรอรชุน likes this
#49
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 17:53
- MIRO, พ่อไอ้ร้อยล็อคอิน, nornoo and 3 others like this
#50
ตอบ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 - 18:08
ไปพิจารณาก่อนนะว่าที่ทำอยู่เนี้ยมันแก้รัฐธรรมนูญ หรือ ทำรัฐธรรมนูญใหม่
ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้
สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน