Jump to content


Photo
- - - - -

ขอร้องแอดมินและสมาชิกทุกท่าน ช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลนี้หน่อยครับ


  • Please log in to reply
310 ความเห็นในกระทู้นี้

#151 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 18:56

ระบบท่อแก๊สธรรมชาติ
ท่อแก๊ส.jpeg

Edited by Stargate-1, 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 20:16.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#152 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 16:41

เรามารู้จักก๊าซธรรมชาติกันเถอะ!

ก๊าซธรรมชาติ คือ ส่วนผสมของก๊าซไฮโดรคาร์บอน และสิ่งเจือปนต่างๆในสภาวะก๊าซ สารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่พบในธรรมชาติ ได้แก่ มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน เป็นต้น สิ่งเจือปนอื่นๆที่พบในก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนไดซัลไฟด์ ฮีเลียม ไนโตรเจนและไอน้ำ เป็นต้น การที่ก๊าซธรรมชาติได้ชื่อว่าเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนเนื่องจากเป็นสารที่มีส่วนประกอบของอะตอม 2 ชนิด คือ ไฮโดรเจน (H) กับ คาร์บอน © รวมตัวกันในสัดส่วนของอะตอมที่ต่างๆกัน โดยเริ่มตั้งแต่สารประกอบไฮโดรคาร์บอนอันดับแรกที่มีคาร์บอนเพียง 1 อะตอม กับ ไฮโดรเจน 4 อะตอม มีชื่อเรียกโดยเฉพาะว่า "ก๊าซมีเทน"
ก๊าซธรรมชาติ ที่ได้จากแต่ละแหล่งอาจประกอบด้วยก๊าซมีเทนล้วนๆ หรืออาจจะมีก๊าซไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นๆปนอยู่บ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติ แต่ละแห่งเป็นสำคัญ แต่โดยทั่วไปแล้ว ก๊าซธรรมชาติจะประกอบด้วยก๊าซมีเทนตั้งแต่ 70 เปอร์เซนต์ขึ้นไป และมีก๊าซไฮโดรคาร์บอนชนิดอื่นปนอยู่บ้าง ก๊าซธรรมชาติที่ประกอบด้วยมีเทนและอีเทนเกือบทั้งหมด เรียกว่า “ก๊าซแห้ง (dry gas)” แต่ถ้าก๊าซธรรมชาติใดมีพวก โพรเพน บิวเทน และพวกไฮโดรคาร์บอนเหลว หรือก๊าซโซลีนธรรมชาติ เช่น เพนเทน เฮกเทน ฯลฯ ปนอยู่ในอัตราที่ค่อนข้างสูง เรียกก๊าซธรรมชาตินี้ว่า “ก๊าซชื้น (wet gas)”

ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีแหล่งก๊าซของตัวเอง เมื่อแยกก๊าซอื่น ๆ ออกไปแล้วก็จะนำส่วนที่มีปริมาณก๊าซ มีเทนมากนี้มาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ เดิมเรียก ก๊าซธรรมชาติอัด (Compressed Natural Gas “CNG”) แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น ก๊าซธรรมชาติสำหรับ ยานพาหนะ หรือ Natural Gas For Vehicles “NGV” หรือที่เรียกกันว่า เอ็นจีวี) ซึ่งสำหรับในประเทศไทยของเราก็ได้มีมาตรการส่งเสริมให้ใช้พลังงานสะอาดในยานพาหนะ

ก๊าซธรรมชาติ ที่ประกอบด้วยมีเทนหรืออีเทน หรือที่เรียกว่าก๊าซแห้งนั้น จะมีสถานะเป็นก๊าซที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ ดังนั้น การขนส่งจึงจำเป็นต้องวางท่อส่งก๊าซ ส่วนก๊าซชื้นที่มีโพรเพนและบิวเทน ซึ่งทั่วไปมีปนอยู่ประมาณ 4 – 8 เปอร์เซ็นต์ จะมีสถานะเป็นก๊าซ ที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ เช่นกัน เราสามารถแยกโพรเพน และบิวเทน ออกจากก๊าซธรรมชาติได้ แล้วบรรจุลงในถังก๊าซ เรียกก๊าซนี้ว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas หรือ LPG ซึ่งก็คือ ก๊าซหุงต้มที่เราใช้กันในครัวที่บ้านนั่นเอง)
 

องค์ประกอบNG.JPEG
กระบวนการแยกก๊าซธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสม และให้เกิดคุณค่าทางเศรษฐกิจสูงสุด จะแตกต่าง จากกระบวนการกลั่นน้ำมัน ที่เริ่มต้นการกลั่น ด้วยการแยกองค์ประกอบน้ำมัน ส่วนที่เบาที่สุด ออกมาก่อน ขณะที่การแยกก๊าซธรรมชาตินั้น สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ส่วนที่หนักที่สุด จะถูกแยกออกเป็นลำดับแรก ผลิตภัณฑ์ที่ได ้จากโรงแยกแปรสภาพก๊าซธรรมชาติ สามารถจำแนกตามลักษณะ ของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่แยกออก และนำไปใช้ประโยชน์ต่อกระบวนการผลิตอื่น ๆ ดังนี้

1. ก๊าซมีเทน (C1) : ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรม และนำไปอัดใส่ถังด้วยความดันสูง เรียกว่าก๊าซธรรมชาติอัด สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ รู้จักกันในชื่อว่า “ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์” (Natural Gas for Vehicles : NGV)

2. ก๊าซอีเทน (C2) : ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้น สามารถนำไปใช้ผลิตเม็ดพลาสติก เส้นใยพลาสติกชนิดต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้แปรรูปต่อไป

3. ก๊าซโพรเพน (C3) และก๊าซบิวเทน (C4) : ก๊าซโพรเพนใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นต้นได้เช่น ใช้ผลิตโพรพิลีน ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เพื่อใช้ในการผลิตเม็ดพลาสติกโพลีโพรพิลีน (PP) เช่น ยางในห้องเครื่องยนต์ หม้อแบตเตอรี่ กาว สารเพิ่มคุณภาพน้ำมันเครื่องรวมทั้งใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรมได้อีกด้วย การใช้ก๊าซบิวเทนโดยตรงคือ ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับจุดบุหรี่ เตาย่าง เตาผิง และอื่นๆ และหากนำเอาก๊าซโพรเพนกับก๊าซบิวเทนมาผสมกัน อัดใส่ถังเป็นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas : LPG) หรือที่เรียกว่าก๊าซหุงต้ม สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในครัวเรือน เป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ และใช้ในการเชื่อมโลหะได้

4. ไฮโดรคาร์บอนเหลว (Heavier Hydrocarbon): อยู่ในสถานะที่เป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันบรรยากาศ เมื่อผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิต สามารถแยกจากไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซบนแท่นผลิต สามารถลำเลียงขนส่งโดยทางเรือหรือทางท่อ นำไปกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปต่อไป

5. ก๊าซโซลีนธรรมชาติ : แม้ว่าจะมีการแยกคอนเดนเสทออกเมื่อทำการผลิตขึ้นมาถึงปากบ่อบนแท่นผลิตแล้ว แต่ก็ยังมีไฮโดรคาร์บอนเหลวบางส่วนหลุดไปกับไฮโดรคาร์บอนที่มีสถานะเป็นก๊าซ เมื่อผ่านกระบวนการแยกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติแล้ว ไฮโดรคาร์บอนเหลวนี้ก็จะถูกแยกออก เรียกว่า ก๊าซโซลีนธรรมชาติ หรือ NGL (natural gasoline) และส่งเข้าไปยังโรงกลั่นน้ำมัน เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปได้และยังเป็นตัวทำละลาย ซึ่งนำไปใช้ในอุตสาหกรรมบางประเภทได้เช่นกัน

6. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ : เมื่อผ่านกระบวนการแยกแล้ว จะถูกนำไปทำให้อยู่ในสภาพของแข็ง เรียกว่า น้ำแข็งแห้ง นำไปใช้ในอุตสาหกรรมถนอมอาหาร อุตสาหกรรมน้ำอัดลมและเบียร์ ใช้ในการถนอมอาหารระหว่างการขนส่ง นำไปเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำฝนเทียม และนำไปใช้สร้างควันในอุตสาหกรรมบันเทิง อาทิ การแสดงคอนเสิร์ต หรือการถ่ายทำภาพยนตร์
 
ก๊าซธรรมชาติในสถานะต่างๆที่ควรรู้จัก

1. Pipe Natural Gas หรือก๊าซธรรมชาติที่ขนส่งโดยทางท่อ เรียกชื่อทางการตลาดว่า Sale Gas คือ ก๊าซธรรมชาติที่มีก๊าซมีเทนเป็นส่วนใหญ่ ถูกขนส่งด้วยระบบท่อเพื่อส่งให้กับผู้ใช้ที่เป็นลูกค้า นำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า หรือในโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบันนี้ประเทศไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นพลังงานหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้า โดยคิดเป็นกว่าร้อยละ 60 ของพลังงานทั้งหมดที่ใช้ผลิตไฟฟ้า

2. NGV หรือ Natural Gas for Vehicles คือ รูปแบบของการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงสำหรับยานยนต์ ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน เมื่อขนส่งก๊าซธรรมชาติมาทางท่อ จะส่งเข้าสถานีบริการ และเครื่องเพิ่มความดันก๊าซ ณ สถานีบริการจะรับก๊าซธรรมชาติที่มีความดันต่ำจากระบบท่อมาอัดเพิ่มความดันประมาณ 3,000-3,600 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว จากนั้น ก็จะสามารถเติมใส่ถังเก็บก๊าซฯ ของรถยนต์ต่อไป

3. LNG หรือ Liquefied Natural Gas ในการขนส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งผลิตไปยังบริเวณที่ใช้ ปกติจะขนส่งโดยระบบท่อ แต่ในกรณี ที่ระยะทาง ระหว่างแหล่งผลิตกับบริเวณที่ใช้ มีระยะทางไกลเกินกว่า 2,000 กิโลเมตร การวางท่อส่งก๊าซฯ จะต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก จึงมีการขนส่งด้วยเรือที่ถูกออกแบบไว้เฉพาะ โดยการทำก๊าซธรรมชาติ ให้กลายสภาพเป็นของเหลว เพื่อให้ปริมาตรลดลงประมาณ 600 เท่า โดยทั่วไปจะมีอุณหภูมิ -160 องศาเซลเซียส (ต่ำกว่าอุณหภูมิที่ขั้วโลกเสียอีกนะค่ะ จากสถิติอุณหภูมิต่ำสุดของโลก คือ ที่ วอสตอก ทวีปแอนตาร์กติก อุณหภูมิอยู่ในระดับ -89.2 องศาเซลเซียส เป็นอุณหภูมิที่วัดในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2526) ซึ่งการขนส่งก๊าซในรูปของ LNG นี้ จะประหยัดค่าใช้จ่าย มากกว่าการขนส่งด้วยระบบท่อ
 

ดร. อรสา อ่อนจันทร์

นักวิทยาศาสตร์
กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์
นักเขียนประจำ วิชาการ.คอม

 

http://www.vcharkarn.com/varticle/322


Edited by Stargate-1, 30 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 09:48.

  • Gop likes this

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#153 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 06:41

กระทู้ที่พันทิพย์เกี่ยวน้ำมันมักมีขาประจำอยู่หนึ่งคนออกมาบิดเบือน ลองสังเกตดู

http://www.pantip.co.../X12475650.html
ข้อมูล...เรื่องน้ำมัน...แบบนี้เท็จจริงแค่ไหน

ถ้าโพสต์เกี่ยวกับปตท.มักจะถูกย้าย เมื่อเห็นว่าถูกเปิดเผยความจริงมากไป
แต่ก่อนถึงกับแจ้งลบและแจ้งให้ยึดใบผ่านล็อค IDกันทีเดียว
โดยหาว่าเป็นพวกป่วน ต่อมาพิสูจน์ได้ว่าข้อมูลเป็นความจริงค้นหาที่มาได้จึงคืนใบผ่าน

http://www.pantip.co.../X12488888.html
สงสัยไอ้พวกคลิปที่บอกว่าไทยมีพลังงานเยอะแยะ [ย้ายจาก : วิศวกรรมและเทคโนโลยี]


แต่พวกอวย จะเอาขึ้นกระทู้แนะนำ

http://www.pantip.co...2472485/X12472485.html
ปตท.ทุ่มกว่าหมื่นล. จ่อผุดมหาวิทยาลัย วิจัยและพัฒนาชั้นนำ ที่ระยอง [ย้ายจาก : ]

Edited by Stargate-1, 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 06:52.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#154 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 07:09

Oil_2553.jpeg
oil2553.jpeg

Edited by Stargate-1, 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 07:13.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#155 Super@2

Super@2

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,781 posts

ตอบ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 07:39

เสนอ"ปักหมุด"ครับ
พาโล อปริณายโก แปลว่า คนโง่ไม่ควรเป็นผู้นำ

#156 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 19:24

ในเดือน พ.ค. 2555 ผลิตน้ำมันดิบ 137,334 บาร์เรลต่อวัน
แก๊สธรรมชาติเหลว
78,197 บาร์เรลต่อวัน
แก๊สธรรมชาติ 3,150.33 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน หรือ
549,414 บาร์เรลต่อวัน

ในวันที่1 มิ.ย. 2555 ขายน้ำมันดิบ 4,160,976.14 ต่อเดือน หรือ ประมาณ 138,699.20 บาร์เรลต่อวัน
แก๊สธรรมชาติเหลว 2,783,014.20 บาร์เรล ต่อเดือน หรือ ประมาณ 92,767.14 บาร์เรลต่อวัน
แก๊สธรรมชาติ 92,644.69 ล้านลบ.ฟุต ต่อเดือน หรือ ประมาณ 3,088.15 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน หรือ ประมาณ 538,574.46 บาร์เรลต่อวัน
LPG จาก สิริกิติ์ 7,512,990.00 kgs.


ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศ ประจำเดือน พฤษภาคม มีปริมาณรวมทั้งสิ้น 4,288 ล้านลิตร เฉลี่ยวันละ 138.3 ล้านลิตร หรือ 869,987 บาร์เรล/วัน โดยน้ำมันดีเซลหมุนเร็วรวม ( น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว, น้ำมันดีเซลพื้นฐาน ) มีความต้องการใช้สูงสุด วันละ 58.3 ล้านลิตร หรือร้อยละ 42.1 (366,264 บาร์เรล/วัน) รองลงมา ได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว วันละ 36.6 ล้านลิตร หรือร้อยละ 26.5 (230,546 บาร์เรล/วัน) น้ำมันเบนซินรวม วันละ 20.4 ล้านลิตร หรือร้อยละ 14.7 (127,888 บาร์เรล/วัน) น้ำมันอากาศยานเจท เอ 1 วันละ 12.1 ล้านลิตร หรือร้อยละ 8.7 น้ำมันเตา วันละ 10.6 ล้านลิตร หรือร้อยละ 7.7 น้ำมันอื่น ๆ วันละ 0.3 ล้านลิตร หรือร้อยละ 0.3 ตามลำดับ

หากเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานภายในประเทศไม่ได้ ควรส่งเสริมให้นำแก๊สธรรมชาติที่ขุดได้ถึง 549,144 บาร์เรลต่อวัน มากลั่นน้ำมันชดเชยการนำเข้าน้ำมันดิบ

หากมีการสร้างโรงแยกแก๊สเพิ่มก็จะสามารถรองรับความต้องการใช้ภายในประเทศได้ ไม่ต้องนำเข้าLPG ราคาแก๊ส LPG ก็สามารถลอยตัวใช้ราคาที่ผลิตในประเทศ ซึ่งไม่น่าจะเกินราคาที่ภาคครัวเรือนใช้อยู่


ครัวเรือนใช้ -------------------------- 2,656,215 ตัน
ยานยนต์ใช้
-----------------------------919,872 ตัน
อุตสาหกรรมทั่วไปใช้
-----------------717,660 ตัน
ปิโตรเคมี------------------------------2,413,413 ตัน
--------------------------------------- -------------------
-----------------------------------------6,707,180 ตัน
---------------------------------------- ==========

โรงแยกแก๊สผลิต------------------- 3,507,641 ตัน
โรงกลั่นอื่นๆผลิต------------------- 1,991,770 ตัน
โรงแยกแก๊ส(ที่สร้างเพิ่ม)ผลิต-----1,823,973 ตัน
------------------- -------------------- ------------------
--------------------------------------- 7,323,384 ตัน
--------------------------------------- ==========

Edited by Stargate-1, 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 23:11.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#157 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 21:49

เราจ่ายอะไรบ้างให้กองทุนน้ำมัน ให้ดูที่หนี้สิน
กองทุนน้ำมัน.jpeg

Edited by Stargate-1, 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 21:59.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#158 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 10:57

บทยืนยันความอัปลักษณ์ของธุรกิจพลังงานไทย

นักวิชาการแฉ นักการเมือง-ข้าราชการคุมเบ็ดเสร็จธุรกิจพลังงานทั้งระบบ

นายนพนันท์ วรรณเทพสกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ได้เสนอผลงานวิจัยกรณีศึกษาธุรกิจพลังงาน พบว่า โครงสร้างอำนาจภายในหน่วยงานด้านพลังงาน
มีความสับสนและมีผลประโยชน์ทับซ้อน ทำให้เกิดปัญหาเรื่องธรรมาภิบาล

อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ กล่าวว่า กรณี บริษัท ปตท และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ทั้งสององค์กรแม้จะมีรากฐานมาจากหน่วยงานของรัฐ แต่ก็มีบริษัทลูกซึ่งเป็นบริษัทเอกชนจำนวนมาก
ต่างก็อาศัยอำนาจรัฐในการกำหนดกฎเกณฑ์การอนุญาต และการแสดงอิทธิพลผ่านเครือข่ายข้าราชการเพื่อนำไปสู่เป้าหมายหรือนโยบายที่ต้องการ

นายนพนันท์ กล่าวว่า ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจในนโยบายพลังงานล้วนเป็นข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพลังงาน
ทั้งปลัดกระทรวง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ฯลฯ

" ข้าราชการระดับสูงเหล่านี้ต่างก็เป็นกรรมการบริหารอยู่ในบริษัทเอกชน ซึ่งเป็นบริษัทลูกขงอรัฐวิสาหกิจ
ทำให้มีอำนาจทับซ้อน คือ เป็นทั้งผู้กำหนดนโยบาย และเป็นผู้บริหารบริษัทเอกชนที่นำนโยบายไปใช้ด้วย " นายนพนันท์ ระบุ

นอกจากนี้ ก็มีข้าราชการประจำ เช่น อัยการสูงสุด กรรมการกฤษฎีกา ฯลฯ
ซึ่งมีส่วนทั้งในการออกนโยบายและเป็นกรรมการในบริษัทที่นำนโยบายไปปฏิบัติ โดยคนเหล่านี้ล้วนมีที่มาจากนักการเมืองที่มาจากนักการเมืองทั้งสิ้น.

http://www.facebook....&type=1

#159 Shuan Sheep

Shuan Sheep

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 58 posts

ตอบ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 16:21

จะให้ใครมาสร้างโรงกลั่นเพิ่มละครับ อีกอย่างเดียวพอสร้างก้อมี NGO ออกมาค้านอีก
ศักดิ์ศรีมีกันได้ แต่ไม่ได้เอาไว้ค้ำคอ :ph34r:

#160 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 16:53

ปัจจุบันโรงงานปิโตร เขาเอาคอนเดนเสทมากลั่นแล้วแยกไปผลิตปิโตร ด้วยตัวของเขาเอง อย่างเช่น ที่ เพชรบุรี เขาซื้อโรงกลั่นเก่าๆมาจากยุโรปแล้วผลิตปิโตร ได้ผลพลอยได้เป็นน้ำมัน และอื่นๆตามขบวนการของการผลิตที่ซื้อมา

Edited by Stargate-1, 17 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 17:36.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#161 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 20:14

การกำจัดปรอท

ปรอทที่พบในก๊าซธรรมชาติของไทย ตรวจพบครั้งแรกในสภาพของเหลวค่อนข้างบริสุทธิ์ เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2528 บริเวณอ่าวไทย ที่แหล่งปลาทอง และพบที่แหล่งสตูล เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2528 โดยเก็บได้ที่ Dew Point Control Unit ส่วนแหล่งเอราวัณ พบปรอทในสภาพเป็นของเหลว เมื่อเดือนสิงหาคม 2531 โดยเก็บได้ที่ Sample Line ของหัวสูบ (Wellhead) ก๊าซธรรมชาติที่มีปริมาณปรอทเจือปน จะมีผลต่อระบบท่อในโรงแยกก๊าซเพราะว่าปรอทมีคุณสมบัติที่จะรวมตัวกับโลหะได้เกือบทุกชนิดซึ่งเรียกว่า Amalgum ปฏิกิริยานี้จะทำให้โครงสร้างของโลหะผสมของท่อในโรงแยกก๊าซเสียหาย ดังนั้นการวิเคราะห์ปรอทในก๊าซธรรมชาติ จึงเป็นสิ่งสำคัญมากเพราะปรอทมีผลทั้งต่อระบบท่ออุปกรณ์ และต่อสภาวะแวดล้อม

ปรอทที่พบในก๊าซธรรมชาติ จะอยู่ในรูปของไอปรอท และปะปนมากับก๊าซธรรมชาติจากแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม เมื่อขึ้นสู่ปากหลุมหรือผ่าน Dew Point Control Unit (DPCU คือ จุดลดอุณหภูมิของก๊าซ เพื่อแยกของเหลวออกจากก๊าซ อุณหภูมิที่ใช้ต้องคำนวณโดยอาศัย Equilibrium ของก๊าซ) ปรอทจะแยกตัวออก ไอปรอทที่พบในก๊าซธรรมชาติมีอยู่ 2 รูป คือ อยู่ในรูปของธาตุปรอท และสารประกอบของปรอท โดยสารประกอบของปรอทที่พบในก๊าซธรรมชาติส่วนมาก ได้แก่ dimethylmercury (ไดเมทธิลเมอร์คิวรี) และ diethylmercury (ไดเอทธิลเมอร์คิวรี)

การเกิดปรอทในก๊าซธรรมชาติ จากการศึกษาโดย Arne Jernelov พบว่าปรอทเป็นธาตุที่หนัก เนื่องจากมีค่าความถ่วงจำเพาะประมาณ 13 และไม่ละลายในน้ำ ดังนั้นในการตกตะกอนซึ่งมักจะสะสมในบริเวณใกล้ปากแม่น้ำหรือปากอ่าว ปรอทจะสามารถรวมเป็นสารประกอบ (Form Complex) ได้อย่างแข็งแรงกับสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ จากนั้นจึงตกตะกอนรวมกับตะกอนอื่น ๆ โดยปรอทจะถูกออกซิไดส์ไปเป็น Bivalent lon (Hg+2) และ Hg+2 จะถูก methylate ไปเป็น methylmercury และ dimethylmercury จะอยู่ในน้ำ และสะสมในปลา สาหร่าย ตลอดจนสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่ในน้ำ ในขณะที่ dimethylmercury มีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไปกับก๊าซออกสู่บรรยากาศภายนอก ภายใต้สภาวะที่เป็นกรด และมีแสงอุลตราไวโอเลต dimethylmercury จะไม่คงตัวและถูกเปลี่ยนไปเป็น methylmercury ซึ่งอาจตกตะกอนหรือถูกเปลี่ยนไปเป็นธาตุปรอท กระบวนการต่าง ๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับขบวนการทางเคมี ชีวะและฟิสิกส์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในสหรัฐอเมริการายงานว่าสารประกอบไฮโดรคาร์บอน จะเกิดร่วมกับปรอท ที่เมือง Mt.idlo ในมลรัฐแคลิฟอร์เนียพบว่าปรอทเกิดร่วมกับน้ำมันดิบและก๊าซ ที่แหล่งปิโตรเลียม Cymric ใน Kern County มลรัฐแคลิฟอร์เนีย พบธาตุปรอทและสารประกอบของปรอท ในน้ำมันดิบ ก๊าซ และ Saline Oilfield Water และพบว่าก๊าซธรรมชาติที่แยกออกจากน้ำมันดิบจะอิ่มตัวด้วยไอปรอท

ปัจจุบันการพบปรอทในก๊าซธรรมชาติไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ เพราะพบปรอทในก๊าซธรรมชาติหลายแหล่งทั่วโลก และมีปริมาณปรอทสูง ดังนั้นถ้าหากมีการกำกับดูแลปริมาณปรอทในก๊าซให้เป็นไปตามมาตรฐาน และมี Mercury Absorber ติดตั้งก่อนเข้าโรงแยกก๊าซ รวมทั้งการกำจัดปรอทในน้ำซึ่งแยกออกจากก๊าซธรรมชาติในขบวนการผลิต ปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งเกิดขึ้นจากกิจการปิโตรเลียม จะลดน้อยลงมาก

ไฮโดรคาร์บอนธรรมชาติทั้งแก๊สธรรมชาติและนำมันอาจะพบโลหะหนักบางชนิด เช่น ปรอท สารหนู ยูเรเนียม เป็นต้น โดยเฉพาะในปรอทพบทั้งในรูปธาตุ Hg^0 ซึ่งละลายในไฮโดรคาร์บอนได้ดีกว่าในน้ำและอยู่ที่ระดับ 1-3 ส่วนในล้านส่วน รูปสารประกอบอินทรีย์ปรอทละลายในน้ำมันดิบและคอนเดนเสตได้ดีมาก บริเวณที่พบปรอทในแก๊สธรรมชาติและน้ำมันมีหลายบริเวณโดยอาจจะพบสารหนูร่วมด้วย ทั้งทวีปอเมริกา แอฟริกา ยุโรป และเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในระดับความเข้มข้นแตกต่างกันไป แต่จะต่ำกว่าส่วนในล้านส่วน ซึ่งมักจะแสดงเป็นหน่วย ส่วนในพันล้านส่วน(ppd) หรือ ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรที่ภาวะมาตรฐาน โดยทั่วไปมีความเข้มข้นระหว่าง 50-300 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และบางแหล่งสูงถึง 1000ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ปรอทความเข้มข้นน้อยๆ นี้สามารถทำให้เกิดปัญหาการกัดกร่อนอย่างรุนแรงได้ เนื่องจากเกิดเป็นอะมัลกัมของโลหะผสมที่เปราะบาง

ปรอทสามารถที่จะละลายได้ทั้งในแก๊ส คอนเดนเสต และน้ำในแหล่งกักเก็บ ดังนั้นปัญหาการกัดกร่อนจะเริ่มตั้งแต่อุปกรณ์ปากหลุม เส้นท่อและถังเก็บ โดยเฉพาะในอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนที่เป็นอะลูมิเนียมที่ใช้ในการบวนการทำให้เป็นของเหลวจำเป็นต้องผ่านกระบวนการกำจัดปรอทและสารหนูออกให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 5 ส่วนในพันล้านส่วนโดยทั่วไปกระบวนการกำจัดปรอท คือ

1.ดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ ( activated charcoal ) กำมะถันบนพื้นผิวของถ่านกัมมันต์จะดูดซับปรอทไว้ในรูพรุนของถ่านในรูปซัลไฟด์ วิธีนี่ใช้ได้ดีในแก๊สธรรมชาติไม่มีไฮโดรคาร์บอนหนักอยู่ด้วย

2.การดูดซับด้วยโลหะซัลไฟด์ซึ่งฟังบนเม็ดอลูมินา ( metallic sulfide deposited on alumina beads ) วิธีนี้ใช้กับของเหลวได้ด้วย

3.การใช้สารละลายออกซิไดส์ที่รุนแรง ( strongly oxidizing solution ) เช่น โพแทสเซียม เปอร์แมงกาเนต เพื่อออกซิไดส์ปรอท

4.การดูดซับด้วยสังกะสีออกไซด์ ( zinc oxide ) ใช้วิธีนี้ได้กับแก๊สที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจุดน้ำค้าง

เราสามารถเลือกใช้กระบวนการต่างๆกัน กับก๊าซธรรมชาติได้ เพื่อให้มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการขนส่งหรือการใช้งาน และกระบวนการเหล่านี้จะถูกพัฒนาตลอดเวลาทั้งเพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการผลิต


ชลธิชา ถนอมกุล 09:36, 21 February 2011 (UTC)


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#162 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 21:56

เหตุที่เอาเงินเข้ากองทุน เนื่องมาจากอะไร ถ้าเรามีโรงแยกแก๊สธรรมชาติเพิ่ม กลั่นน้ำมันและ LPG จากแก๊สธรรมชาติเพิ่ม ให้เพียงพอกับที่ใช้ในประเทศ จะลดการนำเข้าได้ไหม ราคาน้ำมันกับแก๊สLPG จะลดลงไหม จะลดเงินเข้ากองทุนได้ไหม ถ้าเอาเงินที่หัก 50%ของกำไร ตามพรบ.ปิโตรเลี่ยมนั้นมาจ่ายภาษีแทนประชาชนที่ซื้อ อาจเป็นในรูปการคืนภาษีรายได้บุคคล หรือ อื่นๆ


http://www.eppo.go.t...rice/index.html

oil price.jpeg

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#163 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 22:25

แผนที่แหล่งน้ำมันและแก๊สในไทยมีขายจ้า
IHS.jpeg

http://maps.ihs.com/...thailand-1.html
แผนที่ Big One
Gulf Big One.jpeg
Greg Big One.jpeg

เอามาลงเพื่อใช้ตอบกระทู้ของพันทิพย์ด้วย ที่
http://www.pantip.co...12538630.html#4

Edited by Stargate-1, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 07:33.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#164 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 08:58

ไทยผลิตน้ำมันเป็นอันดับที่ 33 ของโลก
Oil Production.jpeg
ข้อมูลข้างบนเอามาจาก
https://www.cia.gov/...ok/geos/th.html
ขอทำความเข้าใจเพิ่ม ว่า Oil Production น่าจะเป็นปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้ทั้งหมด ไม่ใช่ปริมาณน้ำมันดิบ ตามคำจำกัดความในหน้า

https://www.cia.gov/...sanddefs.html#O

O
ABCDEFGHIJLMNOPRSTUWYPosted Image
This entry gives the percent of a country's population considered to be obese. Obesity is defined as an adult having a Body Mass Index (BMI) greater to or equal to 30.0. BMI is calculated by taking a person's weight in kg and dividing it by the person's squared height in meters.

Oil - consumption Posted Image

This entry is the total oil consumed in barrels per day (bbl/day). The discrepancy between the amount of oil produced and/or imported and the amount consumed and/or exported is due to the omission of stock changes, refinery gains, and other complicating factors .

Oil - exports Posted Image

This entry is the total oil exported in barrels per day (bbl/day), including both crude oil and oil products.

Oil - imports Posted Image

This entry is the total oil imported in barrels per day (bbl/day), including both crude oil and oil products.

Oil - production Posted Image

This entry is the total oil produced in barrels per day (bbl/day). The discrepancy between the amount of oil produced and/or imported and the amount consumed and/or exported is due to the omission of stock changes, refinery gains, and other complicating factors.

Oil - proved reserves Posted Image

This entry is the stock of proved reserves of crude oil in barrels (bbl). Proved reserves are those quantities of petroleum which, by analysis of geological and engineering data, can be estimated with a high degree of confidence to be commercially recoverable from a given date forward, from known reservoirs and under current economic conditions.

Edited by Stargate-1, 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 09:56.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#165 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 09:28

อนาคตพลังงานไทยที่น่าเป็นห่วง?(จบ)

http://www.komchadlu...wX_Pip.facebook

------------------------------------------------------------------------------------------------

อิฐบูรณ์ อ้นวงษา

http://www.facebook.com/#!/smbuyer

ผมนั่งเฝ้าดูคนของ ปตท. เขียนบทความชิ้นนี้เป็นตอนๆ ลงในหนังสือพิมพ์ด้วยความอดทน อดทนที่เห็นการปกปิดข้อมูล โกหกปลิ้นปล้อนของเขา แล้วก็ยิ้ิมให้กับตัวเอง...ที่พบว่าได้เห็นความน่าสมเพทของคนบางคนที่ทำได้ทุกอย่างเพื่อสนองตัณหาความโลภของเขาอย่างกระจ่างชัด

เขาบอกให้ประชาชนช่วยกันประหยัด อย่าไปสนใจว่าเราผลิตก๊าซได้เพิ่มขึ้น เพราะเรามีการใช้ก๊าซใช้พลังงานมากกว่าที่ผลิตได้ ผมว่าประชาชนส่วนใหญ่นั้นคิดในเรื่องการประหยัดพลังงานกันอยู่แล้ว ทั้งค่าก๊าซ ค่าไฟฟ้า ที่เราจ่ายกันอยู่มันก็ไม่ได้ถูกๆ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าครองชีพที่เราได้รับในแต่ละวันแต่ละเดือน ข้อมูลจากบทความของคนของ ปตท. ที่บอกไม่หมดคือ

ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยที่ไหลเข้าไปใช้ในโรงแยกก๊าซแล้วส่งต่อให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีซึ่งเป็นบริษัทว่านเครือของ ปตท.เองนั้น รัฐบาลทุกรัฐบาลที่ผ่านมา ประเคนให้ในราคาที่ถูกกว่าราคาก๊าซธรรมชาติที่ขายให้กับโรงไฟฟ้าและก๊าซเอ็นจีวีครับ โดยราคาก๊าซอ่าวไทยอยู่ราว 5-6 บาทต่อกิโล ส่วนราคาก๊าซที่ขายให้โรงไฟฟ้ามาเป็นค่าไฟฟ้าที่เก็บจากชาวบ้านอยู่ที่ 7-8 บาทต่อกิโลกรัม มันก็กลายเป็นว่าคนที่ถลุงใช้ก๊าซธรรมชาติในขณะนี้มันตั้งโรงงานอยู่ที่ปากท่อก๊าซที่ขึ้นบกที่ระยองที่มาบตาพุดนี่เอง และมีสัดส่วนการใช้ก๊าซเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในราคาที่ถูกกว่าชาวบ้านใช้

ในขณะที่โรงไฟฟ้าในปี 2554 มีปริมาณการใช้ลดลงเพราะนิคมอุตสาหกรรมปิดไปหลายแห่งและยังไม่มีทีท่าว่าจะฟ้ืนตัวในช่วงใกล้นี้แน่ แต่รัฐบาลนี้ก็ยังดันทุรังตั้งตัวเลขจีดีพีไว้สูงถึงร้อยละ 7 ในขณะที่แบงค์ชาติและสถาบันวิชาการท้วงติงว่าจีดีพีจะไม่สูงขนาดนี้ แต่รมต.คลังก็ยังดื้อดึงให้ใช้ตัวเลขนี้ต่อไป เปิดช่องให้กระทรวงพลังงงานเขียนแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือเพิ่มโรงไฟฟ้าซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ พอแผนนี้ออกมาก็มีมติให้ปตท.ไปจัดหาก๊าซธรรมชาติเพิ่มเติม

ตามจริงแล้ว แผนการนำเข้าก๊าซ LNG มีมาตั้งแต่ปี 50 แล้ว และ ปตท. ก็ทำสัญญาซื้อ LNG จากการ์ตาจำนวน 1 ล้านตันต่อปี และให้เริ่มนำเข้าในปี 54 คำถามก็คือมันเป็นการสมรู้ร่วมคิดกันหรือไม่ ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยให้บริษัทในเครือ ปตท. ได้ใช้ราคาถูก ส่วนคนไทยขับไล่ไสส่งให้ไปใช้ก๊าซนำเข้าจากต่างประเทศราคาแพงที่มีการทำสัญญาล่วงหน้าไว้หลายปีแล้ว ไม่ใช้ของมันเราก็ต้องจ่ายเงินให้

ถ้าจะให้มีการประหยัดการใช้ก๊าซธรรมชาติหรือพลังงานกันจริง ต้องฉีกท้ิงแผนพีดีพี 2010 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3 ทิ้ิงซะ เพราะตั้งเป้าการเติบโตเศรษฐกิจโอเวอร์ เกินจริง และควรหนุนเรื่องพลังงานหมุนเวียน การบริหารจัดการพลังงานหรือ DSM อย่างจริงจัง มิใช่มานำเสนอข้อมูลโกหกหลอกลวง ปกปิดความจริงที่ทำให้บริษัทในเครือของตัวเองได้ประโยชน์มหาศาลแล้วโยนภาระความทุกข์ยากให้ประชาชนรับภาระอย่างนี้

#166 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 09:40

อิฐบูรณ์ อ้นวงษา

http://www.facebook....&type=1

ก.พลังงานมักจะให้ข่าวในทำนองที่ให้คนไม่รู้ข้อมูลเข้าใจว่ารถยนต์ที่ใช้ก๊าซ LPG เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ต้องนำเข้าก๊าซ LPG จากนอกประเทศ แล้วต้องไปเก็บเงินกับคนใช้รถเบนซินเข้ากองทุนน้ำมันทำให้น้ำมันเบนซินมีราคาแพง

แต่เมื่อดูภาพเปรียบเทียบการเติบโตของการใช้ก๊าซ LPG แต่ละกลุ่มพบว่ากลุ่มปิโตรเคมีซึ่งหลักๆก็เป็นบริษัทในเครือของ ปตท. นั้นมีอัตราการใช้ที่เติบโตมากที่สุด ทะยานไปเกือบ 2 แสนตันต่อเดือนเกือบเท่ากับภาคครัวเรือนแล้ว

ขณะที่ภาคครัวเรือนนั้นมีอัตราการใช้โตเพียงแค่ 7% เท่านั้น (อาจเป็นเพราะชาวบ้านไปกินจิ้มจุ่ม ส้มตำ ซกเล็ก ข้าวถุงข้าวแกงห่อนอกบ้านมากขึ้น ไม่ค่อยทำกับข้าวกินเองแล้ว) พอมาดูภาคขนส่งแม้จะมีอัตราการใช้สูงขึ้นแต่ก็ยังไม่ถึง 70.000 ตันต่อเดือน และอัตราการเติบโตก็ยังน้อยกว่าภาคปิโตรเคมีครับ

ดังนั้นการใช้ของกลุ่มปิโตรเคมีที่มีอัตราการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีปริมาณการใช้ต่อเดือนที่เกือบเท่ากับครัวเรือนทั้งประเทศใช้จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ก๊าซ LPG ไม่พอใช้

ประกอบกับการที่โรงกลั่นและโรงแยกก๊าซล้วนอยู่ภายใต้อาณาจักรการควบคุมกิจการของ ปตท. จึงง่ายมากที่จะไม่มีการส่งเสริมให้มีการผลิตก๊าซ LPG เพิ่มขึ้น(ซึ่งทำได้) ภายใต้ราคาที่ตัวเองไม่ได้รับประโยชน์ตามที่ต้องการ และพยายามผลักดันไสส่งให้รถยนต์หันไปใช้ NGV ซึ่งเป็นก๊าซที่เคยถูกเผาทิ้ิง

การให้ข้อมูลของคน ก.พลังงาน ที่ไม่แจกแจงข้อมูลให้เราเห็นทั้งหมด แล้วมีเป้าหมายใส่ร้ายกลุ่มผู้ใช้รถ LPG จึงไม่มีความเป็นธรรม ทำให้สังคมเกิดความเข้าใจผิด ทั้งๆที่ปิโตรเคมีนี่เองที่ทำให้ก๊าซ LPG ไม่พอเพียงและต้องมีการนำเข้า

ปัญหานี้เกิดขึ้นเพราะมติครมในสมัยนายกฯสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ได้จัดสรร LPG ที่ผลิตได้ในประเทศให้ปิโตรเคมีได้ใช้เป็นกลุ่มแรกเท่ากับกลุ่มครัวเรือน ส่วนกลุ่มรถยนต์และอุตสาหกรรมให้้ใช้ในลำดับหลัง ถ้าไม่พอก็ให้นำเข้าแล้วให้เรียกเก็บเงินจากกองทุนน้ำมันมาใช้ชดเชยราคาส่วนต่าง ทำให้เบนซิน 91 ตอนนี้ถูกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันลิตรละเกือบ 5 บาท แต่ผู้ก่อเหตุอย่างปิโตรเคมีรัฐบาลกลับเรียกเก็บเพียงแค่ 1 บาทต่อกิโลกรัมเท่านั้น แล้วตอนนี้ก็ยังไม่เห็นเม็ดเงินจากปิโตรเคมีเข้ากองทุนน้ำมันสักบาท

การแก้ไขปัญหานี้ก็คือรัฐบาลต้องมีมติครม. ไล่ให้ปิโตรเคมีไปอยู่ท้ายแถวของกลุ่มผู้ใช้ LPG ให้กลุ่มครัวเรือน กลุ่มรถยนต์ได้ใช้ก่อน และให้ใช้ในราคา ณ โรงแยกก๊าซเป็นสำคัญ

Edited by กรกช, 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 09:44.


#167 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 16:38

“แก๊ส กับ น้ำมัน: ทำไมแพง?”

http://www.matichon....catid==

#168 Gingerbread

Gingerbread

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 233 posts

ตอบ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 19:42

เสนอ"ปักหมุด"ครับ


ขอสนับสนุนเพราะให้ความรู้ดีมาก
For as gold is tried by fire, so a heart must be tried by pain!Adelaide Anne Procter

#169 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 16:15





ฟองน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม:สามคุณลักษณะในหนึ่งเดียว


แปลและเรียบเรียงโดย


อรวรรณสัมฤทธิ์เดชขจร


ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ



Posted Image



เครดิตภาพ: Santanu Bag,Northwestern University

ภาพกราฟิก (บน) แสดงการแยกก๊าซไฮโดรเจนออกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

(กลาง) รับบทบาทเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวนการกำจัดกำมะถันด้วยไฮโดรเจน(hydrodesulfurization)

(ล่าง) กำจัดสารปรอทออกจากน้ำ

ภาพทางด้านขวาจากบนลงล่างแสดงแคลโคเจลในขนาดมิลลิเมตร ไมโครเมตร และนาโนเมตร



ทีมนักเคมีจากมหาวิทยาลัย Northwestern ได้ออกแบบวัสดุชนิดใหม่ที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มีสีดำ เปราะ และผ่านการทำให้แห้งเยือกแข็ง (freeze-dried) (เช่นเดียวกับไอศกรีมที่นักบินอวกาศกิน) ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างสวยงาม วัสดุชนิดใหม่นี้สามารถกำจัดสารปรอทออกจากแหล่งน้ำเสียได้ แยกก๊าซไฮโดรเจนออกจากก๊าซชนิดอื่นได้อย่างง่ายดาย และยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีประสิทธิภาพมากกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในการกำจัดกำมะถันออกจากน้ำมันดิบ

การกำจัดกำมะถันด้วยไฮโดรเจน (hydrodesulfurization หรือ HDS) แม้จะเป็นคำที่ค่อนข้างยาว แต่มีการใช้กระบวนการนี้อย่างกว้างขวางในการกำจัดกำมะถันจากก๊าซธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากการกลั่นปิโตรเลียม เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล และน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน หากปราศจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วกำมะถันก็จะถูกเผาไหม้ ซึ่งจะทำให้เกิดฝนกรด (acid rain) ตามมาได้



Posted Image

ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และไนโตรเจนไดออกไซด์ทำปฏิกิริยากับไอน้ำในอากาศเกิดเป็นกรดซัลฟิวริกและกรดไนตริก


นักวิทยาศาสตร์พยายามพัฒนาวิธีการกำจัดกำมะถันด้วยไฮโดรเจนมาตลอด แต่ไม่มีทีท่าว่าจะสำเร็จ กระทั่งนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัย Northwestern ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Western Washington และพบว่า แม้วัสดุที่พวกเขาพัฒนาขึ้นจะมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมถึง 2 เท่า แต่จริงๆ แล้วก็ทำมาจากวัสดุประเภทเดียวกันนั่นเอง
วัสดุโคบอลต์-โมลิบดีนัม-กำมะถันจัดเป็นสารกลุ่มใหม่ประเภทหนึ่งของแคลโคเจล (chalcogel) ซึ่งค้นพบเมื่อไม่นานมานี้โดยมหาวิทยาลัย Northwestern แต่แคลโคเจลชนิดใหม่นี้ทำมาจากธาตุที่มีอยู่ทั่วไป มีความเสถียรเมื่อสัมผัสกับอากาศ น้ำ และสามารถใช้ในรูปแบบผงได้
สำหรับรายละเอียดและสมบัติของแคลโคเจลชนิดโคบอลต์-โมลิบดีนัม-กำมะถันจะถูกเผยแพร่ออนไลน์ในวันที่ 17 พฤษภาคม โดยวารสาร Nature Chemistry และนี่เป็นครั้งแรกที่รายงานถึงแคลโคเจล ซึ่งใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา และตัวแยกก๊าซ
เมอคูรี จี คานาตซิดิส (Mercouri G. Kanatzidis) ผู้เขียนบทความวิชาการอาวุโสกล่าวว่า “ผมทึ่งกับประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาของเรามาก เมื่อนึกถึงว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาความพยายามที่จะหาวิธีพัฒนาการกำจัดกำมะถันด้วยไฮโดรเจนนั้นเป็นไปอย่างยากลำบาก ตามหลักการแล้วตัวเร่งปฏิกิริยาของเราสามารถกำจัดกำมะถันได้มากถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดเดิม ในขณะนี้พวกเรากำลังศึกษาถึงวิธีการทำงานของตัวเร่งปฏิกิริยาในสภาวะที่เป็นเชิงพาณิชย์มากขึ้น”
คานาตซิดิส, ชาลส์ อี (Charles E). และเอมมา เอช มอร์ริสัน (Emma H. Morrison) ศาสตราจารย์ทางด้านเคมีแห่ง Weinberg College of Arts and Sciences และ ซานทานู แบก (Santanu Bag) นักศึกษาปริญญาเอก ได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยวิธีที่แตกต่างจากวิธีที่ใช้ในการผลิตตัวเร่งปฏิกิริยาตัวเดิม
วัสดุที่มหาวิทยาลัย Northwestern พัฒนาขึ้นมีลักษณะเป็นเจลที่ทำจากโคบอลต์ นิกเกิล โมลิบดีนับ และกำมะถัน ซึ่งต่อมานำไปทำแห้งเยือกแข็ง ทำให้ได้วัสดุที่มีลักษณะคล้ายฟองน้ำซึ่งมีพื้นที่ผิวสูง (1 ลูกบาศก์เซนติเมตรมีพื้นที่ผิวประมาณ 10,000 ตารางฟุต หรือประมาณครึ่งหนึ่งของสนามฟุตบอล) ด้วยความที่มีพื้นผิวสูง และมีเสถียรภาพภายใต้สภาวะของตัวเร่งปฏิกิริยาจึงทำให้โคบอลต์-โมลิบดีนัม-กำมะถันมีประสิทธิภาพสูง
นักวิจัยยังได้แสดงให้ดูว่าแคลโคเจลชนิดใหม่สามารถดูดซับโลหะหนักที่เป็นพิษออกจากน้ำเสียอย่างที่วัสดุอื่นไม่สามารถทำได้ แคลโคเจลสามารถกำจัดสารปรอทที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำในระดับหลายพีพีเอ็ม (ppm, parts per million)ออกได้เกือบร้อยละ 99 เพราะสารปรอทชอบที่จะจับกับกำมะถัน ซึ่งในแคลโคเจลก็ประกอบด้วยกำมะถันจำนวนมาก
เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาคานาตซิดิส และแบก รายงานว่าแคลโคเจลสามารถกำจัดสารปรอทออกจากของเหลวได้ แต่แคลโคเจลนั้นประกอบด้วยแพลทินัมซึ่งมีราคาแพง ในขณะที่แคลโคเจลชนิดใหม่ประกอบไปด้วยธาตุที่มีราคาถูก คือใช้โคบอลต์และนิกเกิลแทนแพลทินัม โคบอลต์และนิกเกิลจะเชื่อมต่อกับอะตอมของกำมะถันของไทโอโมลิบเดตแอนไอออน เพื่อสร้างโครงข่ายพรุนแบบ 3 มิติ
คานาตซิดิสกล่าวว่า “เราประสบความสำเร็จในการทำในสิ่งที่ยาก โดยไม่ใช้แพลทินัม แต่หันมาใช้วัสดุที่หาได้ทั่วไปเพื่อที่จะสร้างเจลแทน เราพบว่าสภาวะที่เหมาะสมที่จะได้สมบัติตามที่เราต้องการนั้น หัวใจสำคัญอยู่ที่การเปลี่ยนตัวทำละลายจากน้ำมาเป็นฟอร์มาไมด์ (formamide)”
นอกจากจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในขั้นตอนการกำจัดกำมะถันออกจากน้ำมันดิบ และฟองน้ำสำหรับดูดซับสารปรอทแล้ว แคลโคเจลยังสามารถแยกก๊าซได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย นักวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าวัสดุนี้สามารถแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากก๊าซไฮโดรเจนได้อย่างง่ายดาย ซึ่งเป็นการนำไปใช้งานที่เป็นประโยชน์ต่อการผลิตไฮโดรเจนในเชิงเศรษฐกิจ
กระบวนการแยกก๊าซใช้ประโยชน์จากอะตอมของกำมะถันซึ่งเป็นซอฟต์อะตอมที่อยู่บริเวณพื้นผิว อะตอมเหล่านี้ชอบที่จะเกิดอันตรกิริยากับซอฟต์โมเลกุลชนิดอื่นๆ ที่ผ่านเข้ามา โดยจะทำให้โมเลกุลนั้นเคลื่อนที่ช้าลง ไฮโดรเจนซึ่งเป็นธาตุที่เล็กที่สุด จัดเป็นฮาร์ดโมเลกุลมันจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงผ่านฟองน้ำนี้ไป ในขณะที่ซอฟต์โมเลกุล เช่น คาร์บอนไดออกไซด์จะใช้เวลาในการเคลื่อนตัวช้ากว่า

แหล่งข่าวและรูปภาพ
http://www.scienceda...90517143341.htm
http://static.howstu...acid-rain-1a.jp
=====================================================================
hydrodesulfurization หรือ HDS คือ การกำจัดสารประกอบกำมะถันในกระบวนการกลั่นแยกลำดับส่วนที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียมโดยใช้ไฮโดรเจน และสารเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสม กำมะถันจะถูกเปลี่ยนเป็นก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์
ฝนกรด เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงที่อุณหภูมิสูงซึ่งผลิตกรดซัลฟิวริกและกรดไนตริก ถ้าเชื้อเพลิงมีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ กรดเหล่านี้จะลอยจากปล่องไฟขึ้นสู่บรรยากาศ และรวมกับความชื้นแล้วตกลงมาเป็นฝน ฝนกรดทำลายพืช แหล่งน้ำ ดิน ฯลฯ
แคลโคเจล (chalcogel) คือ โครงข่ายของโลหะกับอะตอมของกำมะถันและมีพื้นที่ผิวสูงมาก

แก้ไขล่าสุดเมื่อ ( 11 September 2009 )

Copyright © 2008 National Metal and Materials Technology Center114 Thailand Science Park Paholyothin Rd., Klong 1, Klong Luang, Pathumthani 12120 Thailand Tel.: 66 2564-6500 Posted Image
valid w3c css

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#170 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 12:03

มาเลย์อ้อนซื้อเพิ่ม ก๊าซองค์กรร่วมฯ อ้างความต้องการพุ่ง

Posted Image
ก.พลังงานเตรียมชง ครม.แก้สัญญา มาเลย์ขอซื้อก๊าซธรรมชาติเพิ่ม จากองค์กรร่วมไทย-มาเลย์ อ้างความต้องการในประเทศเพิ่มสูงมาก….
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 21 ส.ค.นี้ กระทรวงพลังงานเสนอที่ประชุม ครม.พิจารณาเรื่อง องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย โดยขอความเห็นชอบในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ระหว่างองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย และบริษัทผู้ประกอบการ คือ บริษัท PC JDA Limited และบริษัท Hess Oil Limited ในฐานะกลุ่มผู้ขายก๊าซกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทเปโตรนาสในฐานะกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ
ขอความเห็นชอบให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ลงนามในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 กับกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ เมื่อร่างสัญญาฯ ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) แล้ว
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติ 7 เม.ย. 2541, 14 ก.ย. 2542, 14 ก.ย. 2547, 13 ก.พ. 2550 นั้น 1. บริษัท เปโตรนาสได้มีหนังสือแจ้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ว่า ประเทศมาเลเซียมีความต้องการใช้ก๊าซภายในประเทศเพิ่มสูงมาก บริษัทจึงมีความประสงค์ที่จะขอนำก๊าซตามสิทธิ์การขอซื้อของเปโตรนาส จากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย แปลง A-18 ไปใช้ในมาเลเซียเพิ่มขึ้นจำนวน 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ปัจจุบันแปลง A-18 มีการผลิตในอัตรา 850 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และส่งให้เปโตรนาสในอัตรา 421 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน) เป็นระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 โดยกลุ่มผู้ขายและกลุ่มผู้ซื้อได้มีการหารือและร่วมกันจัดทำร่างสัญญาแก้ไข เพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2555
2. องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียได้เสนอร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ที่คณะกรรมการองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ได้เห็นชอบแล้วในการประชุมองค์กรร่วมครั้งที่ 97 เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2555 และได้มีการลงนามกำกับย่อ (Initial) โดยคู่สัญญาทุกรายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อขอรับความเห็นชอบจากรัฐบาลไทย (พร้อมทั้งนำเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐบาลมาเลเซียด้วยเช่นกัน) ก่อนที่องค์กรร่วมจะได้ลงนามในฐานะผู้ขายก๊าซร่วมต่อไป
3. สรุปสาระสำคัญร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 ได้ดังนี้ วันที่มีผลบังคับใช้ของสัญญา อายุสัญญาเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค. 2555 จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ฉบับลงวันที่ 30 ต.ค. 2542 กลุ่มผู้ขายจะส่งก๊าซส่วนเพิ่มให้กับบริษัท เปโตรนาสในอัตรา 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (และส่งเพิ่มขึ้นอีก 20 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หากได้รับการร้องขอจากบริษัท เปโตรนาส) เป็นเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 ปริมาณก๊าซที่ส่งเกินกว่า 869 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันจะมีราคาเพิ่มขึ้น 1.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อล้านบีทียู
นอกจากนี้ บริษัท เปโตรนาสจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อผูกพันและความรับผิดของกลุ่มผู้ซื้อที่เกิดภายใต้สัญญาฉบับนี้แต่เพียงผู้เดียว พน.โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ส่งร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 นี้ให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาควบคู่กันไปด้วยแล้ว.

2012-08-21 00:01:49
thairath

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#171 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555 - 12:35

อิฐบูรณ์ อ้นวงษา

ตื่นเถิดชาวไทย อย่ามัวหลับใหลลุ่มหลง...

มาตรา 100(4) พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่า
้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
ห้ามไม่ให้เจ้าที่ของรัฐผู้ใดเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจของเอกชน
ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่
หรือปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งโดยสภาพของผลประโยชน์ของธุรกิจของเอกชนนั้น
อาจขัดหรือแย้งต่อประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์ทางราชการ หรือกระทบต่อความีอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น

อ่านกฎหมายนี้แล้ว มีความเข้าใจและต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาปล้นแผ่นดิน ปล้นผลประโยชน์ประชาชน
ช่วยกันบอกต่อ และไปร่วมลงชื่อเสนอให้ ปปช. เร่งออกประกาศห้ามไม่ให้ปลัดกระทรวงพลังงาน
รวมถึง รองปลัดกระทรวงงาน อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ(กรรมการพีทีทีโกลบอลเคมิคอล)
อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(กรรมการ ปตทสผ.) อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(กรรมการ ปตท.)
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (กรรมการพีทีทีโกลบอลเคมิคอล) และข้าราชการอื่นใดในกระทรวงพลังงาน
เข้าไปนั่งเป็นกรรมการในบริษัทเอกชนด้านพลังงานโดยไม่มีเงื่อนไข

ร่วมลงชื่อได้ที่เวทีเสวนา สานปัญญา สู้ปัญหาพลังงาน วันอาทิตย์ที่ 2 ก.ย.55 หอศิลป์ กทม. ตรงข้ามมาบุญครองใกล้สถานีรถไฟฟ้าสนามกีฬาแห่งชาติ เวลา 14.00-18.00 น.

http://www.facebook....&type=1

ในลิ๊งค์นี้มีรายละเอียดส่วนหนึ่งของ รายได้ และ ผลประโยชน์ทับซ้อน ของปลัดกระทรวงพลังงาน

#172 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 4 กันยายน พ.ศ. 2555 - 07:05

มาเลย์อ้อนซื้อเพิ่ม ก๊าซองค์กรร่วมฯ อ้างความต้องการพุ่ง
ก.พลังงานเตรียมชง ครม.แก้สัญญา มาเลย์ขอซื้อก๊าซธรรมชาติเพิ่ม จากองค์กรร่วมไทย-มาเลย์ อ้างความต้องการในประเทศเพิ่มสูงมาก….
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 21 ส.ค.นี้ กระทรวงพลังงานเสนอที่ประชุม ครม.พิจารณาเรื่อง องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย โดยขอควาเห็นชอบในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ระหว่างองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย และบริษัทผู้ประกอบการ คือ บริษัท PC JDA Limited และบริษัท Hess Oil Limited ในฐานะกลุ่มผู้ขายก๊าซกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทเปโตรนาสในฐานะกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ
ขอความเห็นชอบให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ลงนามในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 กับกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ เมื่อร่างสัญญาฯ ได้ผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) แล้ว
ทั้งนี้ สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติ 7 เม.ย. 2541, 14 ก.ย. 2542, 14 ก.ย. 2547, 13 ก.พ. 2550 นั้น 1. บริษัท เปโตรนาสได้มีหนังสือแจ้งองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ว่า ประเทศมาเลเซียมีความต้องการใช้ก๊าซภายในประเทศเพิ่มสูงมาก บริษัทจึงมีความประสงค์ที่จะขอนำก๊าซตามสิทธิ์การขอซื้อของเปโตรนาส จากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย แปลง A-18 ไปใช้ในมาเลเซียเพิ่มขึ้นจำนวน 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ปัจจุบันแปลง A-18 มีการผลิตในอัตรา 850 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และส่งให้เปโตรนาสในอัตรา 421 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน) เป็นระยะเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 โดยกลุ่มผู้ขายและกลุ่มผู้ซื้อได้มีการหารือและร่วมกันจัดทำร่างสัญญาแก้ไข เพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2555
2. องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียได้เสนอร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย ที่คณะกรรมการองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย ได้เห็นชอบแล้วในการประชุมองค์กรร่วมครั้งที่ 97 เมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2555 และได้มีการลงนามกำกับย่อ (Initial) โดยคู่สัญญาทุกรายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพื่อขอรับความเห็นชอบจากรัฐบาลไทย (พร้อมทั้งนำเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐบาลมาเลเซียด้วยเช่นกัน) ก่อนที่องค์กรร่วมจะได้ลงนามในฐานะผู้ขายก๊าซร่วมต่อไป
3. สรุปสาระสำคัญร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 ได้ดังนี้ วันที่มีผลบังคับใช้ของสัญญา อายุสัญญาเริ่มตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค. 2555 จนถึงวันสิ้นสุดของสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง A-18 ฉบับลงวันที่ 30 ต.ค. 2542 กลุ่มผู้ขายจะส่งก๊าซส่วนเพิ่มให้กับบริษัท เปโตรนาสในอัตรา 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (และส่งเพิ่มขึ้นอีก 20 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หากได้รับการร้องขอจากบริษัท เปโตรนาส) เป็นเวลา 1 ปี เริ่มตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2555 ปริมาณก๊าซที่ส่งเกินกว่า 869 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันจะมีราคาเพิ่มขึ้น 1.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อล้านบีทียู
นอกจากนี้ บริษัท เปโตรนาสจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อข้อผูกพันและความรับผิดของกลุ่มผู้ซื้อที่เกิดภายใต้สัญญาฉบับนี้แต่เพียงผู้เดียว พน.โดยกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้ส่งร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 นี้ให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาควบคู่กันไปด้วยแล้ว.
2012-08-21 00:01:49
thairath

แนวหน้า
http://www.naewna.com/business/16192
กฟผ.แนะทำใจค่าFTจ่อขยับขึ้นอีก รับต้นทุนราคาก๊าซฯสูงขึ้น หนุนตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน
วันจันทร์ ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555, 06.00 น.
tags : กฟผ., ค่าFT, ขยับขึ้น, ต้นทุน, ราคาก๊าซฯ, ตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน,
ค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ หรือ เอฟที งวดเดือน ก.ย.-ต.ค.ขึ้นอีก “กฟผ.”เตือนไทยเสี่ยงค่าไฟสูง เสนอตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด 4 แห่งรองรับ เน้นพื้นที่ภาคใต้
นายสุเทพ ฉิมคล้าย ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ต้นทุนค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) หรือค่าเอฟที ในงวดหน้า (กันยายน-ตุลาคม 2555) จะปรับสูงขึ้นอีกตามต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาก๊าซธรรมชาติที่ผันแปรตามราคาน้ำมันเตาย้อนหลัง 6 เดือน แต่จะปรับขึ้นมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะพิจารณา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการเสวนา “ไฟฟ้าไทยในอนาคต” ซึ่งจัดโดย กฟผ.เมื่อเร็วๆ นี้ที่เสวนา มองว่าค่าไฟฟ้าของไทยมีความเสี่ยงที่จะสูงขึ้น ดังนั้นควรกระจายเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าและควรลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จากที่ปัจจุบันนี้ประเทศไทยพึ่งพาก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้าถึงร้อยละ 70 ดังนั้น จึงควรจะกระจายไปยังถ่านหินสะอาด ซึ่งมีสำรองถึง 200 ปี ต้นทุนถูกกว่า และสามารถจัดการปัญหามลภาวะได้ ในขณะที่ ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะหมดลงในกว่า 10 ปีข้างหน้า
ทั้งนี้หากประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี)จะทำให้ค่าไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้น โดยหากเปรียบเทียบค่าไฟฟ้าจากราคาถ่านหินในปัจจุบันที่ 70-80ดอลลาร์สหรัฐ/ตัน พบว่ามีต้นทุนค่าไฟฟ้าประมาณ 2.30 บาท/หน่วย แต่แอลเอ็นจีมีต้นทุนไฟฟ้าสูงถึง 5 บาทต่อหน่วย ในขณะที่ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของประเทศอยู่ที่ประมาณ 3 บาทต่อหน่วย
ตามแผนพัฒนาไฟฟ้าระยะยาว 20 ปี กฟผ.จะก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง รวม 3,200 เมกะวัตต์ โดยทั้งหมดจะสร้างในพื้นที่ภาคใต้ โรงแรกจะเข้าระบบปี 2562 อยู่ในพื้นที่โรงไฟฟ้ากระบี่หลังจากนั้นจะทยอยเข้าระบบทุก 3 ปี สาเหตุที่เลือกในพื้นที่ภาคใต้ก็เนื่องจากความต้องการใช้ไฟฟ้าภาคใต้เพิ่ม สูงขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6 ต่อปี กำลังผลิตไม่เพียงพอต้องส่งจากพื้นที่ภาคกลางทำให้เกิดปัญหาความสูญเสียของระบบส่งไฟฟ้า โดยปัจจุบันนี้โรงไฟฟ้าในภาคใต้มีกำลังผลิตเพียง 2,100 เมกะวัตต์ แต่ความต้องการใช้ไฟฟ้ามีถึง 2,500 เมกะวัตต์ ซึ่งในขณะนี้ กฟผ.ได้ศึกษาพื้นที่และทำความเข้าใจกับชาวบ้านในพื้นที่ควบคู่กันไป

http://www.erc.or.th...1&prid=6</span>
3.องค์ประกอบของค่า Ft
3.1 ค่าเชื้อเพลิงฐาน (Base Fuel Cost: BFC) คำนวณจากค่าเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้าและค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ ที่สอดคล้องกับค่า Ft ขายปลีกในงวดเดือนพฤษภาคม 2554–สิงหาคม 2554 ที่รวมไว้ในค่าไฟฟ้าฐานจำนวน 95.81 สตางค์/หน่วยขายปลีก โดย BFC มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 210.28 สตางค์/หน่วยขายส่ง คูณ ประมาณการหน่วยขายส่งในงวดปัจจุบัน
สำหรับราคาเชื้อเพลิงเฉลี่ยในงวดเดือนพฤษภาคม 2554 – สิงหาคม 2554 มีค่าดังนี้
น้ำมันเตา 23.64 บาท/ลิตร
น้ำมันดีเซล 28.59 บาท/ลิตร(ตั้งข้อสังเกตุ*****ราคาที่ขายปลีกแพงเพราะอะไร)
ก๊าซธรรมชาติ
อ่าวไทยและพม่า 250.05 บาท/ล้านบีทียู
JDA 232.71 บาท/ล้านบีทียู
น้ำพองและภูฮ่อม 303.78 บาท/ล้านบีทียู
ลานกระบือ 43.89 บาท/ล้านบีทียู

ลิกไนต์ 569.7 บาท/ตัน


รัฐจะแก้สัญญาให้มาเลย์ซื้อก๊าซธรรมชาติเพิ่มได้จาก JDA แล้วไปลดปริมาณแก๊สที่จ่ายให้กฟผ.หรือไม่
แล้วต้องไปซี้อแก๊สจากพม่าที่มีราคาแพงกว่าเพื่อชดเชยที่ขายให้มาเลย์เพิ่มขึ้นหรือไม่
แล้วมาเพิ่มค่า FT ทำให้ค่าไฟฟ้าแพงขึ้น ใช่ไหม

Edited by Stargate-1, 4 กันยายน พ.ศ. 2555 - 08:15.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#173 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 6 กันยายน พ.ศ. 2555 - 20:44

“เรกูเลเตอร์” ไฟเขียวปรับค่า “เอฟที” งวดเดือน “ก.ย.-ธ.ค.” เพิ่มอีก 18 สตางค์/หน่วย เนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นทุกตัว ทั้งถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันเตา

นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือเรกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (Ft) งวดใหม่ระหว่างเดือน ก.ย.-ธ.ค. 55 เพียง 18 สต./หน่วย จากต้นทุนที่จะต้องปรับขึ้นจริงถึง 38.24 สต./หน่วย โดยส่วนที่เหลืออีก 20.24 สต./หน่วยนั้นจะให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้รับภาระชั่วคราวไปก่อน คิดเป็นมูลค่า 10,504 ล้านบาท ดังนั้น เมื่อรวมกับค่า Ft ในงวดเดิมที่ได้เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าไปก่อนหน้านี้แล้วจะอยู่ที่ 68.24 สต./หน่วย

สำหรับเหตุผลที่ต้องมีการปรับขึ้นค่า Ft ในงวดเดือน ก.ย.-ธ.ค. 55 เนื่องจากต้นทุนเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นทุกตัว เช่น ก๊าซธรรมชาติ ปรับขึ้นจาก 301.28 บาท/ล้านบีทียู มาเป็น 317.50 บาท/ล้านบีทียู, ถ่านหิน ปรับขึ้นจาก 2,926 บาท/ตัน มาเป็น 3,227 บาท/ตัน และน้ำมันเตา จาก 25.87 บาท/ลิตร มาอยู่ที่ 26.49 บาท/ลิตร

ขอเชิญผู้สนใจสามารถแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประมาณการค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) สำหรับการเรียกเก็บในช่วงเดือนกันยายน - ธันวาคม 2555 โดยมีรายละเอียดดังนี้ Posted Image มายังคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2555 จนถึงวันที่ 12 กันยายน 2555 เวลา 16.30 น.

หรือที่

http://www.erc.or.th...9&muid=0&prid=0

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#174 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 8 กันยายน พ.ศ. 2555 - 17:05

ในพันทิพย์ กระทู้เกี่ยวกับพลังงานมักจะถูกย้ายไปห้องกระทู้นอกเรื่อง
FT ขึ้นเอาขึ้นเอา [กระทู้นอกเรื่อง] น้าสมคิด (4 - 7 ก.ย. 55 13:41)

Edited by Stargate-1, 8 กันยายน พ.ศ. 2555 - 17:05.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#175 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 11 กันยายน พ.ศ. 2555 - 07:52


เวทีประชาเสวนา หัวข้อการเสวนาเป็นเรื่อง
สัมปทานปิโตรเลียมกับผลตอบแทนที่ไม่เป็นธรรม

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#176 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 06:56


แผนที่แหล่งน้ำมันและแก๊สในไทยมีขายจ้า
IHS.jpeg

http://maps.ihs.com/...thailand-1.html
แผนที่ Big One
Gulf Big One.jpeg

Greg Big One.jpeg
เอามาลงเพื่อใช้ตอบกระทู้ของพันทิพย์ด้วย ที่
http://www.pantip.co...12538630.html#4
Big One.JPG

ตรงบริเวณแหล่งน้ำมันบิกออยล์อยู่แถวๆหมู่เกาะสแปรตลีย์
ที่มีข่าวแย่งเกาะกันอยู่ทุกวันนี้ เพราะกำลังแย่งน้ำมันกันอยู่ และ ติดกับแหล่งบิกออยล์นี้ ในบริเวณที่ขัดแย้งระหว่างไทย-เขมร ก็มีน้ำมันมหาศาล เชฟร่อนก็กำลังดูดน้ำมันอยู่ เพราะทำ JDA ระหว่าง 2 ครอบครัวไปแล้ว แหล่งน้ำมันในมาเลย์และอินโดนิเซียที่อยู่ติดๆกัน เล็กกว่าก็ยังกลายเป็นประเทศผลิตน้ำมันไปเลย

Edited by Stargate-1, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 07:34.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#177 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 15 กันยายน พ.ศ. 2555 - 15:16

รวมพล คนรักความเป็นธรรม 9.00 น วันที่17 กย 55 ที่กระทรวงพลังงาน
ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีแต่ทวงเพื่อความเป็นธรรมให้ประชาชนทุกเหล่า
ไม่อิงการเมืองทุกพรรค

เพราะคนใจคด..มันกรอกหูพวกเราทุกวันว่า " พลังงานไทย..เพื่อคนไทย "

แต่ 30 กว่าปีที่ผ่านมา มันใช้ต้นทุนหยาดเหงื่อ(ภาษี)พ่อแม่เราเป็นเครื่องมือกอบโกยผลประโยชน์ให้กลุ่มทุนและพวกมันเอง นานมากพอแล้วไหม..ที่มันกดหัวพ่อแม่เรา กดหัวคนรุ่นเรา และจะยังทำต่อไปจนถึงรุ่นลูกหลานเรา ลำบากมามากพอไหม ที่พ่อแม่เราต้องอดทน เพียงเพราะหวังใจว่า คนรุ่นเราจะไม่ลำบากในเรื่องพลังงานเหมือนคนรุ่นท่าน รุ่นพ่อแม่เราทำไว้ให้ คือ " ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ " ก็เพื่อให้รัฐทำประโยชน์ให้เกิดกับคนรุ่นเรา แต่พวกมันบอกว่า ก็เพราะ " ปิโตรเลียมเป็นของรัฐ จึงไม่ใช่ของประชาชน " ไปค่ะ..ไปกัน ไปช่วยกันบอกไอ้คนที่กินภาษีเราอยู่ทุกวี่วันว่า " เพราะปิโตรเลียมเป็นของรัฐ ประโยชน์จึงต้องอยู่กับประชาชน " โว๊ย...

9 โมงเช้าวันจันทร์ที่ 17 นี้ ไปเจอกันที่กระทรวงพลังงาน อยู่ติดกับ ปตท. ถ.วิภาวดี เตรียมอุปกรณ์ปักหลัก - พักค้างติดไม้ติดมือไปด้วย พวกเรา...ต่างเป็นคนไทยด้วยกัน..ไปช่วยกันนะคะ คุณหมอกมลพรรณและ พ.ท. รัฐเขต จะนำพาพวกเราไปตอกย้ำในสิทธิของการเป็นเจ้าของทรัพยากรของคนไทยทั้งชาติ ไม่ใช่สิทธิ์ของไอ้ตัวแทน สิทธิ์ของนักการเมืองหรือข้าราชการหน้าไหน ไปร่วมด้วยช่วยกัน..ด้วยหัวใจที่เราเป็นคนไทย เพราะเรารู้อยู่แก่ใจ ว่าเราไม่ได้ทำเพื่อใคร..นอกจากทำเพื่อคนไทยด้วยกัน แล้วพบกันค่ะ......

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ (086) 396 - 5453 0890164450 0863671004

http://www.facebook....p?id=1439018314

#178 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 24 กันยายน พ.ศ. 2555 - 21:10

สมเด็จพระเทพฯเปิดแท่นผลิตก๊าซแหล่งบงกชใต้ของ ปตท.สผ. ในอ่าวไทย และทอดพระเนตรการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริษัท ปตท.

เมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิด แท่นผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่งบงกชใต้ และทอดพระเนตรการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ซึ่งตั้งอยู่ในอ่าวไทย

สำหรับแหล่งบงกชใต้ เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่แหล่งหนึ่งของโครงการบงกชในอ่าวไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่ปิโตรเลียมนวมินทร์ ห่างจากชายฝั่งจังหวัดสงขลาประมาณ 200 กิโลเมตร (กม.) ดำเนินการโดย ปตท.สผ. ทุกขั้นตอนตั้งแต่การสำรวจ การออกแบบก่อสร้าง การพัฒนาโครงการ และขั้นตอนการผลิต

แท่นผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่งบงกชใต้ประกอบด้วยแท่นผลิต (Central Processing Platform) 1 แท่น แท่นที่พักอาศัย (Living Quarter Platform) 1 แท่น และแท่นหลุมผลิต (Wellhead Platform) 6 แท่น ปตท.สผ. ได้เริ่มการก่อสร้างแท่นผลิตดังกล่าวเมื่อปี 2551 และเสร็จสิ้นการก่อสร้าง การติดตั้งแท่นต่างๆ รวมทั้งอุปกรณ์การผลิตเมื่อต้นปี 2555 โดยได้เริ่มทดลองผลิตก๊าซฯ เมื่อเดือนมี.ค. แหล่งบงกชใต้ สามารถผลิตก๊าซธรรมชาติ ตามสัญญาซื้อขาย (DCQ) ที่อัตรา 320 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ตั้งแต่ 15 มิ.ย. แหล่งบงกชใต้มีความสามารถในการผลิตก๊าซฯสูงสุดได้ถึง 380 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 18,000 บาร์เรลต่อวัน ทำให้กำลังการผลิตก๊าซฯ โดยรวมในโครงการบงกชทั้งเหนือและใต้ สูงถึงประมาณ 1,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 20 ของการผลิตก๊าซธรรมชาติในประเทศไทย

ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจของ ปตท.สผ. ในการสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศในระยะยาว ในด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม ปตท.สผ. ยึดมั่นในนโยบายความปลอดภัย มั่นคง อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมเป็นหลักในการดำเนินงานทุกๆ พื้นที่ การดำเนินงานในแหล่งบงกชใต้ จึงเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่ปฏิบัติงานภายใต้มาตรฐานความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน รวมทั้งการนำอุปกรณ์อันทันสมัยมาใช้ในกระบวนการผลิตด้วย การดำเนินการผลิตก๊าซฯ และคอนเดนเสทบนแท่นผลิตแหล่งบงกชใต้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพแหล่งบงกชใต้ ประกอบด้วยผู้ร่วมทุน ดังนี้ ปตท.สผ. 44.4445% (ผู้ดำเนินการ) บริษัท โททาล อี แอนด์ พี ไทยแลนด์ 33.3333% และ บริษัท บีจี เอเชีย แปซิฟิค พีทีอี จำกัด 22.2222%
โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
24 กันยายน 2555, 16:30 น.

http://dmf.go.th/ind...&sec=prodReport
http://dmf.go.th/ser...=6&y=2012&ln=th
http://dmf.go.th/ser...=7&y=2012&ln=th
http://dmf.go.th/ser...=8&y=2012&ln=th

จากรายงานปริมาณการผลิตรายเดือนทั้ง 3 เดือนของกรมเชื้อเพลิงฯ มีปริมาณคอนเดนเสท ไม่ถึง 18,000 บาร์เรลต่อวัน ซักเดือนหนึ่งเลย

ปตท.เจรจาเตรียมซื้อน้ำมันดิบกลับมาขายในประเทศ

24/08/2012
นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานมีแนวคิดที่จะนำน้ำมันดิบที่ผลิตได้จากแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศ ซึ่งมีกำลังการผลิต ประมาณ 2 แสนบาร์เรลต่อวัน และมีการส่งออกไปต่างประเทศ ประมาณ 3.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน หรือคิดเป็น 15% ของการผลิตทั้งหมด ให้นำกลับเข้ามาใช้ในประเทศทั้งหมด เพื่อที่จะเป็นการนำทรัพยากรที่ผลิตได้ในประเทศกลับมาใช้อย่างคุ้มค่า และไม่ต้องสูญเสียเงินตราจากการนำเข้าน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น และเป็นการลดคำครหาที่ว่า ทำไมประเทศสามารถผลิตน้ำมันดิบได้แต่ไม่นำมาใช้ประโยชน์ กลับนำไปส่งออก
โดยขณะนี้
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการหารือกับบริษัทผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศ และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และจัดทำแผนการนำน้ำมันดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศกลับมาใช้ในประเทศทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม น้ำมันดิบที่มีการส่งออกในปัจจุบัน เป็นน้ำมันที่ซื้อขายกันเป็นสัญญาระยะยาว ดังนั้น จึงต้องมีการทยอยลดการส่งออกน้ำมันดิบตามสัญญาที่จะทยอยหมดลง โดยคาดว่าจะเริ่มทยอยลดการส่งออกลงในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ ประมาณ 1 หมื่นบาร์เรลต่อวัน โดยจะเหลือส่งออก 2.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน และจะทยอยลดการส่งออกจนเป็น 0 หรือไม่มีการส่งออกเลยในช่วงปลายปีหน้า
ซึ่งหลังจากที่มีการนำน้ำมันดิบ และคอนเดนเสททั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศ 207,000 บาร์เรลต่อวัน จากปริมาณการใช้น้ำมันดิบและคอนเดนเสทในการกลั่นทั้งหมด 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จะลดการนำเข้าจากต่างประเทศเหลือ 80% จากเดิมมีการนำเข้าจากต่างประเทศ 83% ในปัจจุบัน
จากข้อมูลในปี 2554 มีการใช้คอนเดนเสทจากแหล่งผลิตในประเทศ ภายใต้สัญญาสัมปทาน Thailand I (ไทยแลนด์ วัน) รวมจากแหล่งบนบก คือ ภูฮ่อม ของบริษัท Hess และในอ่าวไทย คือ อาทิตย์ และบงกช ของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) แหล่งเอราวัณ ไพลิน และตราด ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด มีการใช้ทั้งหมด 7.54 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ในส่วนนี้ไม่มีการส่งออกไปต่างประเทศ
ส่วนการผลิตน้ำมันดิบที่ได้จากแหล่งผลิตบนบก ที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทาน Thailand I และ Thailand III (ไทยแลนด์ ทรี) คือ น้ำมันดิบเพชร จากแหล่งสิริกิติ์ และแหล่งอื่นๆ ของ ปตท.สผ., น้ำมันดิบอรุโณทัย ของบริษัท MOECO, น้ำมันดิบ POE ของ บริษัท Pan Orient และน้ำมันดิบ NC ของ บริษัท ซิโน-ไทย รวมการใช้น้ำมันดิบที่ผลิตได้ 2.77 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ในส่วนนี้ไม่มีการส่งออก
แต่ในส่วนของการใช้น้ำมันดิบที่ผลิตได้จากแหล่งผลิตในอ่าวไทย ประกอบด้วย น้ำมันดิบเบญจมาศ, ปัตตานี, และทานตะวัน ของ เชฟรอน, น้ำมันดิบจัสมิน ของบริษัท PEARL, น้ำมันดิบบัวหลวงของ Salamander Energy, และน้ำมันดิบสงขลาของ Coastal Energy รวมการใช้น้ำมันดิบจากอ่าวไทย 7.2 หมื่นบาร์เรลต่อวัน และมีการส่งออก 3.2 หมื่นบาร์เรลต่อวัน
นายศิริ กล่าวว่า ปตท.ได้มีการส่งสัญญาณเกี่ยวกับการลงทุนเพื่อจัดหาพลังงานมาใช้ในประเทศ ว่าควรจะมีภาครัฐหรือหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้ เนื่องจากมีการประมาณการณ์ว่า ปัจจุบันต้องมีการนำเข้าน้ำมันดิบกว่า 8 แสนบาร์เรลต่อวัน จะต้องใช้เงินลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาท ในการจัดซื้อเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ แต่ปัจจุบัน ปตท.มีทรัพย์สินรวมกันประมาณ 1 ล้านล้านบาท หากจะต้องจัดซื้อพลังงานในวงเงินกว่า 2 ล้านล้านบาท ในอนาคต อาจจะส่งผลกระทบต่อทุนจดทะเบียนของ ปตท. และอาจจะต้องมีการเพิ่มทุนอีก 2-3 เท่าตัว ซึ่งการลงทุนขนาดนั้นเป็นเรื่องใหญ่ ปตท.อาจจะไม่สามารถรับภาระนี้ได้ ดังนั้น ผู้ดูแลจึงต้องมีความเข้าใจในนโยบายนี้ และต้องจัดทำนโยบายต่างๆ ให้ชัดเจน

map01ไทย-กัมพูชา.JPG
ผู้นำกัมพูชาฉวยโอกาสดึงฝรั่งเศสเข้ามาเกี่ยวข้องความขัดแย้งในอ่าวไทย ให้สัมปทาน Block3 (Area3) ที่อยู่ริมนอกสุดแก่โตตาลออยล์ ขณะที่ยังเป็นน่านน้ำพิพาทกับประเทศไทย พรมแดนทางน้ำกับพรมแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชาเกี่ยวพันกันอย่างแยกไม่ออก แม้กระทั่ง BlockA ที่กลุ่มเชฟรอน-มิตซุย ประกาศพบน้ำมันแล้วก็ยังสามารถเป็นเขตแดนพิพาทได้เช่นกัน

map02ไทย-กัมพูชา.JPG
แผนที่โดยสังเขปแสดงเขตน่านน้ำพิพาท น่านน้ำของไทยและกัมพูชา เชื่อว่า Block3 ที่อยู่ริมนอกสุด (บริเวณปลายลูกศรที่ 3 จากล่าง) จะเป็นแปลงสำรวจแรกในเขตทับซ้อนที่กัมพูชาให้สัมปทานแก่บริษัทต่างชาติ และผู้นำของประเทศนี้เลือกเป็นบริษัทน้ำมันฝรั่งเศส

http://thaipolitics4...og-post_06.html

กรณีที่มีความพยายามให้ไทยต้องยอมรับว่าเขาพระวิหารและพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นของเขมรนั้น ก็เพราะว่าเมื่อลากเส้น Lat - Long ลงไปแล้ว ก็จะครอบคลุมพื้นที่ทับซ้อนทางทะลที่เป็นปัญหาว่าเป็นของไทยหรือของเขมรนั้นกลายเป็นของเขมรโดยสมบูรณ์ซึ่งจะไม่เป็นปัญหาในอนาคต "ยิงปืนนัดเดียว ได้นกทั้งฝูง" หัวใจส่วนหนึ่งอยู่ที่เกาะกูดซึ่งเป็นอธิปไตยของไทยแต่ปัจจุบันเกิดเหตุการณ์แบบที่เขาพระวิหารเพราะมีเขมรอพยพเข้าไปอยู่ส่วนปลายเกาะเต็มไปหมดและเริ่มมีการอ้างว่าเกาะกูดเป็นของเขมรเพื่อเอื้อประโยชน์ในการณ์ลากเส้นแผนที่ทะเล ซึ่งเป็นชั้นเชิงในการอ้างแผนที่ฝรั่งเศสเขียนฉบับเดียวกับเขาพระวิหาร แต่ทั้งหมดยังไม่สามารถเข้าไปดำเนินการสำรวจและผลิตได้ เนื่องจากมีพื้นที่เส้นแบ่งเขตที่ต่างล้ำเข้ามาในพื้นที่ของกันและกันหรือที่เรียกว่า Over Lapping Area ที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้จนถึงวันนี้ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งกัมพูชาเองก็ได้ให้สัมปทานสำรวจขุดเจาะและผลิตเช่นเดียวกับประเทศไทยโดยมีข้อสงสัยกันว่าบริษัทเชฟรอนฯจะเป็นผู้ได้รับสัมปทาน รายใหญ่ที่สุด หรืออาจกล่าวได้ว่าเชฟรอนฯเป็นเพียงบริษัทเดียวที่ได้รับสัมปทานในพื้นที่ทับซ้อนทั้งจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา

Edited by Stargate-1, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:05.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#179 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 30 กันยายน พ.ศ. 2555 - 11:47

กัมพูชา-เชฟรอน ตกลงแบ่งเค้กขุดน้ำมันอ่าวไทย

http://www.facebook....&type=1


1222.jpg


กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุดทวงคืน พลังงานไทย

วันนี้ (29 ก.ย.) รายงานในเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสต์ ของกัมพูชา เมื่อวันที่ 28 ก.ย. ระบุว่า
เจ้าหน้าที่ทางการกัมพูชายืนยัน รัฐบาลกัมพูชาจะได้รับส่วนแบ่งส่วนใหญ่ จากรายได้ทั้งหมดจากการขุดน้ำมันของบริษัทเชฟรอน
ในแปลงสัมปทาน บล็อก เอ ในอ่าวไทยนอกชายฝั่งเมืองสีหนุวิลล์
และคาดว่าทางการพนยมเปญจะออกใบอนุญาตให้บริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริการายนี้ได้ภายในสิ้นปีนี้

นายเอก ธา โฆษกคณะรัฐมนตรีกัมพูชา เผยว่า ขณะนี้รัฐบาลกัมพูชาและบริษัทเชฟรอน
กำลังอยู่ในระหว่างการเจาจาเพื่อทำข้อตกลง ที่ยังไม่ได้ข้อสรุปสุดท้าย
แต่ตามข้อตกลงเบื้องต้นกัมพูชาจะได้ส่วนแบ่งผลประโยชน์จากรายได้ทั้งหมดประมาณ 70-80 % พร้อมกับย้ำว่า
แม้แต่ละฝ่ายจะพยายามทำงานเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน แต่รัฐบาลกัมพูชาก็จะยึดประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก

นายสตีฟ กลิค ประธานฝ่ายปฏิบัติการของเชฟรอนในกัมพูชา เผยเมื่อต้นเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ว่า
บริษัทเชฟรอนเสร็จสิ้นการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) 3 รายการแล้ว
ในจำนวนนี้รวมถึงรายงานด้านการสำรวจ และว่า การผลิตน้ำมันในกัมพูชาจะยังไม่เริ่มจนกว่าจะถึงปี พ.ศ. 2559
หรืออย่างน้อย 3 ปีหลังได้รับการมอบหมายครั้งแรกในวันที่ 12 ธ.ค. 2555
แต่นายเอค ธา กล่าวโดยอ้างคำพูดของ นายซก อาน รองนายกรัฐมนตรี ว่า น้ำมันหยดแรกจะเริ่มปรากฏให้เห็นใน 1 หรือ 2 ปีข้างหน้า
แปลงสัมปทาน บล็อก เอ อยู่ในอ่าวไทยห่างชายฝั่งกัมพูชา 157 กม. บริษัทเชฟรอนทำการการขุดเจาะสำรวจถึง 18 หลุม
ก่อนจะพบแหล่งที่คุ้มค่าเชิงพานิชย์ในปี 2553 โดยพบน้ำมันมีปริมาณประมาณ 700 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติราว 2-3 แสนล้านลูกบาศก์ฟุต
เชฟรอนมีแผนสร้างแทนขุดเจาะประมาณ 10 แท่น ในพื้นที่ 4,709 ตารางกิโลเมตร ในระยะเวลา 9 ปี.

Edited by กรกช, 30 กันยายน พ.ศ. 2555 - 11:49.


#180 โคนัน

โคนัน

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,836 posts

ตอบ 30 กันยายน พ.ศ. 2555 - 13:04

ปตท ปีๆ กำไรเท่าไร ลดกำไรลดมานิด เพื่อให้ราคาน้ำมัน พลังงาน มันถูกลง ไม่ดีกว่าหรือ อย่างน้อยๆ เกือบครึ่งหนึ่งของกำไร มันก็เข้ากระเป๋าผู้ถือหุ้น ไม่ได้เข้ารัฐ

อย่ามั่วแต่อ้างเรื่องต้นทุนเลย มันแค่ต้นทาง เด๊วค่าการกลั่นค่านู้นค่านี้ สารพัดจะอ้าง ดูปลายทางกันดีกว่า กำไรเท่าไร มันก็น่าจะคือคำตอบทั้งหมด

Edited by โคนัน, 30 กันยายน พ.ศ. 2555 - 13:17.


#181 thebriza

thebriza

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 618 posts

ตอบ 30 กันยายน พ.ศ. 2555 - 13:43

บริษัท ผู้ได้รับสัมปทานสำรวจและขุดเจาะ จะต้องขายน้ำมันดิบทั้งหมด ให้กับ ปตท. (มันเป็นกฏหมายหรือกฏกระทรวงนี่แหละจำไม่ได้ โดยมี ก.พลังงาน เป็นผู้ควบคุม)
ซึ่งขายให้ ปตท. โดยอิงราคาตามตลาดโลก

ส่วนราคาขายปลีกนั้น ... ทาง ปตท. เป็นผู้กำหนดราคาขายปลีกหน้าโรงกลั่น

อันนี้คร่าวๆเท่าที่ผมรู้นะครับ บริษัทต่างชาติที่ได้รับสัมปทาน เค้ามีหน้าที่สำรวจ และขุดเจาะเอาก๊าซและน้ำมันดิบขึ้นมาอย่างเดียว
เค้าไม่ได้เป็นผู้กำหนดราคาหน้าปั๊มเลย...

#182 father

father

    น้องเก่า

  • Banned
  • PipPip
  • 124 posts

ตอบ 30 กันยายน พ.ศ. 2555 - 23:41



คุณคิดว่าถ้าไม่ให้ส่งออกน้ำมันดิบนี้แต่ใช้ในประเทศ ราคาน้ำมันในประเทศมันจะถูกลงรึ


เพราะอะไร ทำไมผมต้องขายน้ำมันดิบ แล้วผมต้องซื้อปลีกราคาแพง.

เรื่องเก็บข้อมูลไว้มิดชิดนั้นมิดชิดจริงหรือครับ ราคาหน้าโรงกลั่นก็มีโชว์หราเลยนี่ครับว่าเท่าไหร่ มาถึงหน้าปั๊มเท่าไหร่ ของมาเลเซียที่ว่าถูกนะรัฐช่วยเท่าไหร่ครับ แล้วก็คงย้อนไปที่ผมถามตั้งแต่แรก ๆ ว่าไทยผลิตได้วันละเท่าไหร่ ใช้วันละเท่าไหร่ครับ ถ้าเทียบกับมาเลเซียนั้นมาเลเซียผลิตเท่าไหร่ ใช้เท่าไหร่


ผมถาม.....ว่า ถ้าไม่พอใช้ในประเทศแล้ว ทำไมต้องเอาไปขาย. หรือว่าต้องการแข่งกับพวกกองทัพมด.

ถ้าผมขายเอง ผมก็รู้สิว่าต้นทุนเท่าไหร่ กำไรเท่าไหร่ ....และ....ทำไมผมต้องเอาไปขายยังต่างประเทศ.

จะให้ผมถามอีกกี่รอบครับ. ในเมื่อใช้ในประเทศยังไม่พอ ดันเอาไปขายเก็งกำไรต่างประเทศ.

ผมสับสนนะเนี่ย.

ปตท ขายเองหรือบริษัทต่างชาติที่ได้รับสัมปทานเอาไปขายครับบอกหน่อย แสดงข้อมูลหน่อยครับ
ในประเทศไม่พอเอาไปขายต่างประเทศแล้วเอาเงินไปซื้อน้ำมันที่ถูกกว่านี่คุณคิดว่ามันไม่ดีใช่ไหมครับ
คุณผลิตใช้เองได้ 4 ลิตร แต่ถ้าคุณขายแล้วซื้อกลับมาคุณจะใช้ได้ 5 ลิตรแบบนี้มันไม่ดีใช่ไหมครับ


ขอขอบคุณ คุณSolidus ที่เข้ามาให้ข้อมูลแย้งที่ชัดเจนมากขึ้นครับ
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มันมีการส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศจริง ส่งไปอเมริกาจริง นะครับ
คุณS บอกว่า ถ้าผลิตขายเองได้ 4 แต่ถ้าส่งออกเอาเงินมาซื้อ จะได้ 5 ตรงนี้น่าสนใจ
และ ราคาน้ำมันดิบ ที่ขายส่งออกราคา ก็ไม่ต่ำ(เพราะเกรดดี) นะครับ
ประกอบกับ อเมริกา "ไม่มีการสนับสนุนราคาน้ำมันในประเทศ" นะครับ
คำถามมันจึงอยู่ที่ว่า
ทำไม อเมริกา ใช้น้ำมันและแก๊ส ราคา ถูกกว่าเราครับ
ในเมื่อปัจจัยที่คุณ S บอกมานั้น มันล้วนแต่เป็นปัจจัยที่สนับสนุน ให้ ราคาน้ำมันในอเมริกา ต้องแพงกว่าเมืองไทย สิครับ
น้ำมันเกรดดี ราคาสูง รัฐบาลไม่สนับสนุน แต่ราคาหน้าปั๊ม ถูกกว่าเมืองไทย
ตรงนี้แหละครับ
ที่หลายๆคนเขาไม่เข้าใจกัน นี่ข้อที่ 1


ข้อที่ 2
ราคาน้ำมันที่ปั๊มในเมืองไทย มีปัญหา คือไม่ไปตามตลาดโลก
แค่คลังน้ำมันบางจากระเบิดนิดหน่อย
มันก็ประกาศขึ้นราคาวันรุ่งขึ้นเลย
ปรากฎว่า ราคาน้ำมันตลาดโลก ลดลงต่อเนื่อง ครับ
จนถึงวันนี้ ไม่รู้ว่าตั้งแต่คลังน้ำมันระเบิด จนถึงวันนี้
"มัน (ไอ้here ขูดรีดและทำนาบนหลัง gu) ลดราคาน้ำมันลงอีก มั่งหรือยัง?????


เป็นคำถามที่ตรงใจผมครับ นี่เป็นเรื่องผลประโยชน์ของคนทั้งชาติ

ถ้ารู้ข้อมูลว่าขายแพง4 เพื่อซื้อถูก5

แต่ทำไมไม่เฉลียวใจในคำถาม2ข้อนี้

ผมขอรอคำตอบด้วย คงไม่รังเกียจนะครับ :)
Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image

#183 father

father

    น้องเก่า

  • Banned
  • PipPip
  • 124 posts

ตอบ 30 กันยายน พ.ศ. 2555 - 23:42


เสนอ"ปักหมุด"ครับ


ขอสนับสนุนเพราะให้ความรู้ดีมาก

สนับสนุน

:) :)

Edited by father, 30 กันยายน พ.ศ. 2555 - 23:43.

Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image

#184 father

father

    น้องเก่า

  • Banned
  • PipPip
  • 124 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 00:26

“คำนูณ” ชำแหละ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 ให้ส่งออกได้ไม่จำกัด แถมขายในประเทศก็ต้องใช้ราคาตลาดโลก
ซึ่งหากไม่มีการแก้ไข คนไทยไม่มีวันได้ประโยชน์จากพลังงานของชาติอย่างคุ้มค่า
ระบุเปิดสัมปทานรอบ 21 สำคัญมาก เพราะจะกินเวลาถึง 39 ปี หนุนทำประชามติก่อน พร้อมชี้เป็นเรื่องมหัศจรรย์

เพื่อไทย-ประชาธิปัตย์-คมช.” ขัดแย้งกันทางการเมือง แต่เรื่องพลังงานกลับเป็นไปในทิศทางเดียวกันหมด

http://www.manager.c...D=9550000090625

เป็นที่น่าแปลกใจ 41 ปีมานี้ เราฉีกรัฐธรรมนูญมาแล้ว 4 ฉบับ
แต่ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม 2514 ไม่เคยมีคนตั้งคำถามเลยว่าหลักการสมควรเปลี่ยนแปลงหรือยัง
แปลกหรือไม่ทำไมกฎหมายฉบับหนึ่งมีรากฐานทางปรัชญาสูงมาก ประชาธิปัตย์ เพื่อไทย ทะเลาะกันจะเป็นจะตาย
เพื่อไทยกับรัฐประหาร หรือ คมช. ประณามกันสาดเสียเทเสีย แต่ทิศทางพลังงานของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นใคร
นโยบายพลังงานเป็นไปในทิศทางเดียวกันตลอด มันมหัศจรรย์ที่สุดในโลก

หรือจะพูดว่าไม่มหัศจรรย์เลย ถ้าเรารู้ว่าเนื้อแท้ของนโยบายพลังงานบ้านเรา
มันมีเงาทมึนของกลุ่มทุนมหาอำนาจอยู่เบื้องหลัง และเป็นไปเพื่อประโยชน์ของเขา
จริงอยู่เราต้องโอนอ่อนผ่อนตามผลประโยชน์ของเขา แต่ผลประโยชน์ของคนไทย มันก็ต้องให้คุ้ม สมน้ำสมเนื้อกัน


สิ่งที่เราพูดกันอยู่ ต้องก้าวข้าม พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะก็ไม่ได้ต่างจาก พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์

สมัยรัฐบาลสุรยุทธ์ ก็มีการแก้ไข พ.ร.บ.ปิโตรเลียมครั้งใหญ่ในปี 2550
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานในขณะนั้น
ได้มีการเปิดสัมปทานรอบที่ 20 มีการต่ออายุออกไป มีความวิจิตรพิสดารตามสมควร
มาถึงยุคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ทิศทางนโยบายปิโตรเลียมก็ไม่ได้ขยับเขยื้อน

มันมหัศจรรย์หรือไม่ ที่ปรัชญารากฐานนโยบายพลังงานแห่งชาติตั้งแต่ปี 2514 ไม่เคยเปลี่ยนแปลง

ความขัดแย้งทางการเมืองมีมากมาย คนตายไปเป็นร้อย แต่กลุ่มการเมืองไม่เคยเห็นต่างเรื่องพลังงานเลย
เห็นมีแต่ภาคประชาชนที่ตั้งคำถาม แต่ก็ไม่เคยไปสู่สื่อกระแสหลัก เพราะผลประโยชน์มหาศาล ทั้งปตท. และกระทรวงพลังงาน

ประชาธิปัตย์วิจารณ์ น.ส.ยิงลักษณ์เรื่องแต่งตัว ส่วนเพื่อไทยก็วิจารณ์นายอภิสิทธิ์เรื่องหนีทหาร


แต่ไม่มีนักกากรเมืองคนไหนหันมาพูดเรื่องสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 แล้วเสนอแนวทางที่ต่างจากกระแสหลักอย่างจริงจัง


มาเน้นข้อความและดัน

จะมาทำเงียบเป็นเป่าสากเหมือนนักการเมืองไทยงั้นเรอะ

หรือจะย้ายไปกระทู้อื่นเหมือนที่panthipทำ :lol: :lol: :lol:
Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image

#185 สงสารสาวจันทร์

สงสารสาวจันทร์

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,698 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 01:07

:D :D :lol: พลังงานไทย เพื่อใคร... เอิ๊ก ๆๆๆๆ

#186 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:31

http://www.youtube.com/watch?v=6hVsBMzrWpo[/media]


คลิปจากกระทรวงพลังงานคลิปนี้ ให้ข้อมูลที่บิดเบือน

ส่วนหนึ่งจากคลิปโยนความผิดมาให้คนใช้รถ บอกว่าการนำมาใช้กับรถยนต์เป็นการนำมาใช้ผิดประเภท
แต่ความจริงคือปั๊ม LPG ของปตท.ขยายตัวสูงสุด แถมหลายๆประเทศก็สนับสนุนให้ใช้


132544_241201156003454_1306139333_o.jpg [media]


ที่น่าเจ็บใจเพราะคลิปนี้มันทำมาจากเงินภาษีประชาชน แต่ทำออกมาเพื่อหลอกลวงประชาชน

ผมไปโพสต์ตอบโต้กับทีมงานของพวกปตท.ตั้งแต่คลิปออกมาใหม่ๆ
ตอนนี้ถูกลบความเห็นล่าสุดไป 2-3 ความเห็น และถูกบล็อคไม่ให้โพสต์อีก ทั้งที่ผมไม่เคยหยาบคาย
ใครมีล็อคอินรบกวนช่วยไปคอมเม้นต์ที เพื่อให้พวกเขารู้ว่า คนไทยที่รู้ทันยังมีอีกมาก

ส่วนตัวผมถือว่าตรงนี้กระทรวงพลังงานดูถูกคนไทยมาก พูดง่ายๆว่ามองไม่เห็นหัวเลย ถึงกล้ามาหลอกกันหน้าด้านๆแบบนี้

#187 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:00

6238_473964699302611_2069711662_n.jpg

http://www.facebook....&type=1

ร่วมเปิดปฏิบัติการประชาชน เอาคืน ปตท.
ร่วมฟ้องคดี ทวงคืนท่อก๊าซจาก ปตท. กับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแล
ะเครือข่ายประชาชนผู้รักความเป็นธรรม พบกันที่หอศิลป์ กทม. แยกปทุมวัน อาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม 2555 เวลา่บ่ายโมงถึง สี่โมงเย็น...

วิธีการ

1.ลงนามมอบอำนาจให้ทนายความผู้ทำคดีพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน
2.ติดอากรแสตมป์ราคา 30 บาท (ไม่แน่ใจว่าเป็นแบบไหนอย่าเพิ่งซื้อ มีจำหน่ายที่งาน)
3.มอบเอกสารให้ทีมงานทนายความอาสาผู้ฟ้องคดี
4.ร่วมแสดงพลังความเดือดร้อนของประชาชน ยื่นฟ้องที่ศาลปกครอง ถ.แจ้งวัฒนะ วันจันทร์ที่ 15 ตุลาคม 2555 เวลา 10.00 น.
สำหรับผู้ที่ไม่สะดวกหรืออยู่ต่างจังหวัด จะมีแบบฟอร์มดาวน์โหลดให้ผ่านหน้าเว็บไซต์ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค www.consumerthai.org ถ้าโหลดขึ้นแล้วจะแจ้งลิ้งค์อีกครั้งหนึ่ง จะทำการรวบรวมรายชื่อผู้ร่วมฟ้องจนถึงวันที่ 14 ตุลาคม 2555 เท่านั้น อย่าพลาด ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์สานต่ออุดมการณ์ประชาธิปไตย 14 ตุลาคม 2516 "หยุดอำนาจเผด็จการทุกรูปแบบ หยุดระบบผูกขาดทุนนิยมสามานย์"

#188 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:13

เสวนา: "ก๊าซกับน้ำมัน ทำไมถึงแพง" ขุดปมธุรกิจพลังงานไทย

http://ppvoice.thain...=detail&id=2321

ลองเข้าไปอ่านดูครับ มีหลายประเด็น มีภาพประกอบ

#189 ZipPa

ZipPa

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,291 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 16:45

มันบอกว่าน้ำมันที่ขุดในเมืองไทย ไม่มีคุณภาพ

มันมีด้วยเหรอ แล้วจริงปะ บอกกันที

#190 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:15

http://www.pantip.co.../X12728371.html

ปตท. เร่งหาพื้นที่สร้างคลังก๊าซแห่งใหม่ หลังความต้องการใช้ทั้งก๊าซทั้งแอลพีจี-เอ็นจีวีพุ่ง ในขณะที่พม่าประเทศไม่ส่งออกก๊าซเพิ่ม และก๊าซในอ่าวไทยจะเริ่มหมดในอีก 13 ปีข้างหน้า โดยกลุ่ม ปตท.กำลังจัดหาที่ปรึกษา เพื่อจัดหาพื้นที่สำหรับสร้างคลังก๊าซแอลเอ็นจีแห่งที่ 2 และคลังก๊าซแอลพีจีแห่งใหม่ เพื่อรองรับความต้องการที่มากขึ้น โดยเฉพาะแอลเอ็นจีเริ่มมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นมากในอนาคต แต่การผลิตในประเทศเริ่มมีข้อจำกัดจากปริมาณก๊าซฯ ในอ่าวไทย มีแนวโน้มจะผลิตในระดับที่คงที่และลดลง เนื่องจากในปัจจุบันได้ผลิตสูงสุดถึง 3,500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และจากนี้ไปปริมาณสำรองที่พิสูจน์ได้รองรับความต้องการผลิตได้เพียงอีก 13 ปีข้างหน้าเท่านั้น
ขณะที่แผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติจากเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นทำได้ยาก นอกจากจะมีข้อตกลงในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา หากเจรจากันได้จะต้องใช้เวลาพัฒนาอย่างน้อย 10 ปี ในขณะที่ทางรัฐบาลพม่าแจ้งแล้วว่าไม่มีนโยบายส่งออกก๊าซเพิ่มเติม

ทุกคนมีความคิดเห็นยังไรกับข่าวนี้บ้างคร๊าบบบ คิดว่าจริงมั้ย แล้วถ้าหมดไปจะทำยังไง หรือว่าแค่จะขึ้นราคาก๊าซ ?

การที่ปตท.ออกมาร้องว่าแก๊สจะหมดใน 13 ปีนั้น มันส่งสัญญาณอะไร ประเด็นการสร้างคลังแก๊ส การย้ายคลังน้ำมันของบางจาก ทุกประเด็น ล้วนมีเงื่อนงำ

การที่พม่าไม่ส่งออกก๊าซเพิ่ม แต่ไทยกลับเพิ่มปริมาณก๊าซที่ขุดได้ใน JDA ให้มาเลเซีย ตามhttp://webboard.seri...150#entry396199

แล้วที่ปตท.เปิดแท่นเจาะใหม่
http://webboard.seri...150#entry426747 ส่งสัญญาณอะไร ยิ่งประเด็นดิ้นแก้กฎหมายเพื่อต่อสัมปทานออกไปอีกทั้งๆที่หมดสิทธิ์ต่อแล้ว ตามใน http://webboard.seri...100#entry368507

ประเด็นที่เชพร่อนมีส่วนในโครงการที่อู่ตะเภา มีสัมปทานใน บล็อก 3 ในไทย บล็อก A ในกัมพูชา ที่กำลังจะเริ่มขุดเจาะ ตามข่าวของพนมเปญโพสต์ในวันที่ 29 ก.ย. นี้ การแต่งงานระหว่างสองตระกูลใหญ่ของไทย-เขมร การเจรจา JDA ไทย-เขมร



สุดท้ายก็ได้ตำตอบ

โพสต์ทูเดย์– สรุปข่าวหน้า 5 ประจำวันที่ 5 ต.ค.55
05/10/2012 , 06:19

นายกฯจี้กพช.ถกแหล่งก๊าซทับซ้อนเขมร
ยิ่งลักษณ์ สั่งเจรจากัมพูชาเปิดทางสำรวจขุดเจาะก๊าซพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา กพช.เลิกแน่เบนซิน 91 ม.ค.ปีหน้า
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยว่าน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ให้กระทรวงพลังงานเร่งรัดจัดแหล่งก๊าซสำรองในระยะยาวเพื่อสนับสนุนความต้องการในประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการจัดหาก๊าซจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ที่นายกฯ ต้องการให้การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชาได้ข้อสรุปโดยเร็ว เพื่อจะได้สำรวจและขุดเจาะก๊าซ และสร้างท่อก๊าซมายังไทย


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#191 father

father

    น้องเก่า

  • Banned
  • PipPip
  • 124 posts

ตอบ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 00:13

มันบอกว่าน้ำมันที่ขุดในเมืองไทย ไม่มีคุณภาพ

มันมีด้วยเหรอ แล้วจริงปะ บอกกันที


อ้าว,ไม่จริงครับ ก็มีสมาชิกเอาข้อมูลจากกรมธรกิจพลังงานมา บอกว่า

ไทยขายน้ำมันคุณภาพดี แล้วซื้อน้ำมันคุณภาพเลวกว่ามาใช้
Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image Posted Image

#192 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 13:06

ในเรื่องผลประโยชน์ด้านพลังงาน สมลักษณ์ กล่าวว่า จากการศึกษาข้อมูลของบริษัทด้านพลังงานในประเทศไทยกว่า 30 บริษัท พบว่า

บริษัทข้ามชาติซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของบริษัทด้านพลังงานของโลก ได้เขียนระบุในรายงานประจำปี 2554 ของบริษัทว่า
ประเทศไทยเป็นประเทศที่เขามีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดและทำกำไรได้สูงที่สุดในโลก

ขณะที่อีกบริษัทหนึ่งได้เทียบระหว่างการทำธุรกิจขุดเจาะในไทยกับอินโดนีเซีย
โดยไทยมีมูลค่าธุรกิจอยู่ที่ประมาณ 1.8 หมื่นล้านดอลลาห์สหรัฐ ทำกำไร 1.1 หมื่นล้านดอลลาห์สหรัฐ
ส่วนอินโดนีเซียมีมูลค่าอยู่ที่ 5 หมื่นล้านดอลลาห์สหรัฐ ทำกำไร 1 หมื่นล้านดอลลาห์สหรัฐ


เหล่านี้เป็นปัญหาจากกติกาซึ่งรัฐบาลไทยทุกรัฐบาลไม่แก้กฎหมายเพื่อประโยชน์คนไทย


เผย "ก๊าซธรรมชาติ" ไทยหมดเมื่อไหร่ ตอบยาก เหตุเสียเปรียบข้อมูลเอกชน

ดร.สุภิชัย กล่าวต่อมาว่า ที่มีการพูดกันว่าประเทศไทยจะใช้ก๊าซธรรมชาติหมดภายในกี่ปี ตรงนี้เป็นเรื่องที่บอกได้ยากมาก เพราะข้อแรกคือก๊าซนั้นอยู่ใต้ผืนแผนดิน เจ้าของก๊าซไม่ใช่คนไทยแต่เป็นบริษัทเชฟรอน ตัวเลขเป็นข้อมูลของบริษัทเอกชน เมื่อเขาบอกมาอย่างไรเราไม่มีทางรู้มากกว่านั้น

http://ppvoice.thain...=detail&id=2321


---------------------------------------------------------------------

มันน่าเจ็บใจ ต่างชาติโกยกำไรสนุกสนาน แต่รัฐบาลกลับมาขูดเลือดขูดเนื้อเอากับคนไทย
และทรัพย์สมบัติของชาติไทย แต่มีเท่าไหร่ไม่รู้ ต้องรับฟังจากต่างชาติ

สงสารคนไทยและประเทศไทยจริงๆที่มีแต่พวกนักการเมืองสารเลว

Edited by กรกช, 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 13:10.


#193 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:18

44.jpg


ดร.ไก่ Tanond

27 กรกฎาคม 2010

เขตพื้นที่สัมปทานพลังงาน ของไทยใช้ ฺB5-11อ้างอิงตั้งแต่2511 ของเขมรใช้ I - IV(1-4)เพิ่งอ้างอิงเมื่อ25
40 (ก่อนMOU43 2ปีกว่า) ดูเหมือนจะทับซ้อน! หากต่างคนต่างให้สัมปทานแก่บ.น้ำมันของใครของมัน แต่ที่ไหนได้ บ.น้ำมันทุกเจ้าต่างเป็นบ.ลูกบ.หลาน ของบ.แม่คนเดียวกัน ที่ชื่อ Standard ของ USA เช่นนี้แล้ว ควรเรียกว่า เขตร่วมลงทุนของฮุนเซน กับ คนในรัฐบาลไทยมากกว่านะผมว่า ส่วนพวกเราประชาชนคงไม่ได้เอี่ยวตามฟอร์ม ใช้มันไปเถอะลิตรละ40-50บาท แทนที่จะถูกลงไปลิตรละ 12-15บาท ไม่โวยกันก็ไม่รู้จะว่าไงแล้ว?

http://www.facebook....&type=3

#194 OSR

OSR

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,365 posts

ตอบ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:27


เสนอ"ปักหมุด"ครับ

ขอสนับสนุนเพราะให้ความรู้ดีมาก

ปักหมุดเลยครับ แอดมิน
เรื่องใหญ่ขนาดนี้ ทำไมเงียบจัง
คนไทย โดนหลอกกันทั้งประเทศ เลยนะเนี่ย

หายจน ทั้งแผ่นดิน ด้วยการต่อต้าน นกม.ชั่ว และเอา ปตท กลับคืนมาเป็นของคนไทย


#195 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:49

66.jpg

ปลายเดือนที่แล้วมีข่าวชิ้นหนึ่งในสื่อนอกรายงานว่า รัฐบาลกัมพูชา และ เชฟรอน บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ (ซึ่งก่อนหน้านี้มีข่าวโยงกับ นาซา ที่มาขอใช้ สนามบินอู่ตะเภา เป็นฐานบินสำรวจเมฆฝนและทิศทางลมใน อ่าวไทย) จะเริ่มผลิตน้ำมันดิบเพื่อการพาณิชย์ในต้นปีหน้า จากบ่อน้ำมันที่ขุดพบในพื้นที่ชายฝั่งอ่าวไทย กัมพูชา คาดหวังว่า ประเทศกัมพูชาจะเป็นจุดที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในภูมิภาคนี้ในอนาคต

เชฟรอน ขุดพบบ่อน้ำมันนอกชายฝั่งกัมพูชาในบล็อกเอ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันมากพอที่จะสูบขึ้นมาในเชิงพาณิชย์ โดยได้ขุดบ่อน้ำมันทั้งหมด 18 บ่อ

นายซก ขาวัน รักษาการผู้ว่าการปิโตรเลียมกัมพูชา บอกว่า ปัจจุบันกัมพูชายังไม่มีกฎหมายปิโตรเลียม แต่ข้อตกลงแบ่งผลประโยชน์กับเชฟรอนจะสรุปได้ในปลายปีนี้และจะเริ่มต้นการผลิตได้ในต้นปีหน้า โดยรัฐบาลกัมพูชาจะได้ส่วนแบ่งไม่น้อยกว่า 70% ของรายได้ และส่วนแบ่งอาจจะสูงถึงเกือบ 80% ถ้าราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น

ไม่น่าเชื่อว่า กัมพูชา จะสามารถเจรจาแบ่งรายได้กับบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯอย่าง เชฟรอน ได้สูงกว่าที่ไทยเคยได้จากบริษัทน้ำมันต่างชาติมากมาย ..............................
..........................................................................

“ลม เปลี่ยนทิศ”

ไทยรัฐออนไลน์

โดย ลม เปลี่ยนทิศ
9 ตุลาคม 2555, 05:00 น.

http://www.thairath....i_remark/296860

...........................................................................................

รัฐบาลเขมรเก่งและฉลาดกว่ารัฐบาลไทยทุกรัฐบาลเลย เรียกเก็บผลประโยชน์จากบริษัทพลังงานได้มากมายกว่าที่ไทยเรียกตั้งเยอะ

ปล. ภาพประกอบมาจาก https://www.facebook...&type=1

#196 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:04

ทรัพย์สมบัติพลังงานของชาติ แต่กลับกลายเป็นกำไรเข้ากระเป๋าคนไม่กี่คนแถมสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั้งประเทศ
ต่างชาติโกยกำไรสนุกสนาน แต่รัฐบาลกลับมาขูดเลือดขูดเนื้อเอากับคนไทย
ทรัพย์สมบัติของชาติไทย แต่มีเท่าไหร่ไม่รู้ ต้องรับฟังจากต่างชาติ
รัฐบาลทำคลิปออกมาโกหก หลอกลวงคนไทยเพื่อที่จะขึ้นราคาพลังงาน
ทั้งยอมเสียเปรียบเขมรแม้กระทั้งเรื่องอาณาเขตอธิปไตยของชาติ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน

ฯลฯ

ใครจะคิดยังไงไม่รู้ แต่ผมคิดว่านักการเมืองไทยสารเลวที่สุดในโลกแล้ว
ฝากถึงญาติพี่น้องนักการเมืองไทยด้วย ถ้าพวกเขาตาย ช่วยเอาเงินยัดปากให้มากๆ จะได้นอนตายตาหลับ

ความโลภของมนุษย์นี่น่าสพรึงกลัวจริงๆ คนไทยก็บ้านักการเมืองไม่ลืมหูลืมตา คิดแล้วก็เหนื่อยใจ

#197 Super@2

Super@2

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,781 posts

ตอบ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 13:12

ทรัพย์สมบัติพลังงานของชาติ แต่กลับกลายเป็นกำไรเข้ากระเป๋าคนไม่กี่คนแถมสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนทั้งประเทศ
ต่างชาติโกยกำไรสนุกสนาน แต่รัฐบาลกลับมาขูดเลือดขูดเนื้อเอากับคนไทย
ทรัพย์สมบัติของชาติไทย แต่มีเท่าไหร่ไม่รู้ ต้องรับฟังจากต่างชาติ
รัฐบาลทำคลิปออกมาโกหก หลอกลวงคนไทยเพื่อที่จะขึ้นราคาพลังงาน
ทั้งยอมเสียเปรียบเขมรแม้กระทั้งเรื่องอาณาเขตอธิปไตยของชาติ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน

ฯลฯ

ใครจะคิดยังไงไม่รู้ แต่ผมคิดว่านักการเมืองไทยสารเลวที่สุดในโลกแล้ว
ฝากถึงญาติพี่น้องนักการเมืองไทยด้วย ถ้าพวกเขาตาย ช่วยเอาเงินยัดปากให้มากๆ จะได้นอนตายตาหลับ

ความโลภของมนุษย์นี่น่าสพรึงกลัวจริงๆ คนไทยก็บ้านักการเมืองไม่ลืมหูลืมตา คิดแล้วก็เหนื่อยใจ


เห็นด้วยครับ คนไทยบ้านักการเมืองมากไป ทำผิด ทำเลว ต้องกระชากหน้ากากมันออกมา เอาผิดมันให้หนัก
ไม่ต้องไว้หน้า ไม่ว่าจะเป็นพรรคไหน บรรพบุรษเราเสียเลือดเนื้อ ปกป้องมา อย่าให้มันมาพินาศในมือคนรุ่นเรา
อย่าให้ ลูกหลานเราต้องมาสาปแช่งเราภายหลังเลย

...............................................................
ข้อมูลคุณ กรกซ เยอะมากเลยครับ เยี่ยมครับ
ผมติดตามกระทู้นี้ตลอดครับ เสนอซ้ำอีกครั้ง ปักหมุด เลยครับ
พาโล อปริณายโก แปลว่า คนโง่ไม่ควรเป็นผู้นำ

#198 สงสารสาวจันทร์

สงสารสาวจันทร์

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,698 posts

ตอบ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 13:21



เสนอ"ปักหมุด"ครับ

ขอสนับสนุนเพราะให้ความรู้ดีมาก

ปักหมุดเลยครับ แอดมิน
เรื่องใหญ่ขนาดนี้ ทำไมเงียบจัง
คนไทย โดนหลอกกันทั้งประเทศ เลยนะเนี่ย


อย่าเอ็ดไปครับ จุ๊ๆๆๆ กระทู้นี้มีเสื้อเหลืองมาโวยวายแค่2-3คน เท่านั้น

ถึงขนาดทุบหม้อ...กันเลยนะเนี่ย. เอิ๊กๆ ๆ ๆ ๆ

#199 กรกช

กรกช

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,930 posts

ตอบ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 13:57

ผมเองก็ไม่ได้มีความรู้หรือข้อมูลอะไรมาก ก็พยายามหาเอามาจากสื่อต่างๆตามเท่าที่พอมีเวลา

ผมรังเกียจความอยุติธรรม รังเกียจความเห็นแก่ตัว
ผมรังเกียจการร่ำรวยบนความเดือดร้อนของคนอื่น
ยิ่งคนที่ร่ำรวยอยู่แล้วมาทำแบบนี้ ยิ่งรังเกียจมากๆ

และผมคิดว่าในเมื่อเรามีโอกาสทางสังคมสูงกว่าคนไทยอีกมาก
ตรงไหนที่เราพอจะทำให้คนไทยได้หูตาสว่างขึ้นเราก็ทำ

ส่วนตัวผมก็ขอชื่นชมทุกท่าน ที่มองประโยชน์ของคนไทยและชาติเป็นหลัก
และโดยเพาะคุณ Stargate-1 ที่ได้ตอบโต้กับทีมงาน ปตท.ซึ่งมีความรู้มากที่พันทิพย์
และที่สำคัญ คุณ Stargate-1 มีวิธีคิด คำนวน หาคำตอบจากข้อมูลหลักฐาน ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก
ซึ่งผมเองก็บอกตรงๆว่าไม่มีปัญญา

ส่วนเรื่องปักหมุด ผมไม่เคยเรียกร้อง เพราะรู้อยู่ว่าอะไร เป็นอะไร
แค่ไม่ลบกระทู้นี้ทิ้งก็เป็นพระคุณอย่างสูงแล้ว :D

#200 สงสารสาวจันทร์

สงสารสาวจันทร์

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,698 posts

ตอบ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:55

อะไรที่เราพวกไม่มีที่นาเป็นของตนเอง ต้องใช้ทุกวัน

1.อาหาร
2.พลังงาน

อ้ายเสื้อแดง เมื่อไรมันจะเลิกเป็นองครักษ์พิทักษ์ปูป้อแป้ซะที




ผู้ใช้ 1 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 1 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน