มันเป็นแนวคิดที่ให้คนยอมตกเป็นเครื่องมือของนายทุน
โดยการใช้ประชานิยมล่อใจคนที่ ฉลาดน้อยกว่า
โครงการกองทุนเงินล้านส่งผลให้คนกู้มาใช้โดยไม่มีระเบียบวินัยการค้า
บางหมู่บ้านต้องเอาเงินกู้นอกระบบมาโปะเพื่อกู้ใหม่ เสียดอก2ทาง นายทุนเอาเงินหลวงมาแจก
เลยมีโครงการมาดึงคะแนนคนชั้นกลาง ถามว่าเขาโง่ไหม ก็กลางๆ
แต่ทุกคนมีกิเลส และรถ เป็นเครื่องเชิดหน้าชูตา แสดงฐานะในสังคม
และคราวนี้ มีผลกำไรย้อนเข้าสู่ นักการเมืองที่มีหุ้นยานยนต์
ประเทศที่เตะบอลโคตรเก่ง อาร์เจนติน่า เร้าใจประชาชนให้ไปซื้อตั๋วดูบอลทีละหลายบาท
ชนะก็ฉลองกัน มีสุข แต่พื้นฐานจริงๆคนที่จะมีกำลังไปซื้อตั๋วเทียนกับรายได้เขามีมากแค่ไหน
คนที่รวยก็เจ้าของบ่อน เเจ้าของสโมสร นักเตะ คนรากหญ้า+ประเทศเจ๊ง
เป็นข้อคิดที่ดีมากเลยครับ!
ขอเรียนถามเพิ่มเติมเป็นแนวคิด
ถ้าอย่างนั้น ท่านว่า...ประเทศเราควรมีการอบรมความเฉลียวฉลาดทางการเงินให้ประชาชนหรือไม่
คือ "รู้วิธีหา วิธีใช้ วิธีก่อหนี้" อย่างถูกต้อง
(แบบที่ในหลวงทรงสอนมาตลอดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง แต่คนและรัฐบาลบ้านเราเองกลับต่อต้านและทำสวนทาง)
เช่น ผมเทียบง่ายๆระหว่างยักษ์ยุโรป( คือเยอรมัน ฝรั่งเศส และอังกฤษ)เทียบกับสหรัฐนะครับ
สหรัฐเจอปัญหาบรรษัทการเงินทั้งหลายที่โลภมาก สร้างผลิตภัณฑ์ทางการเงินมาหลอกปชช. อเมริกัน
จนปชช.เจ๊งหมดเป็นวิกฤตเศรษฐกิจระดับรุนแรงสุดในรอบ 80 ปี แล้วตามมาด้วยแบงก์เจ๊ง บรรษัทเจ๊ง
แต่ปัญหานี้ไม่เคยเกิดกับ 3 ประเทศยุโรปเลย คือปัญหา "องค์กรใหญ่ทางการเงินหรือรัฐ ยุยงให้ประชาชนก่อหนี้อย่างง่ายๆ"
เพราะจะถูกประชาชนของเขาด่ายับเยิน เนื่องจากปชช.ของเขามีระเบียบวินัยทางการเงินและมี Money Literacy สูงมาก
หรือญี่ปุ่น แม้รัฐบาลจะมีหนี้สาธารณะเกือบ 100%
แต่เขาเป็นประเทศที่ประชาชนมีเงินออมแทบจะมากสุดในโลก
เพราะญี่ปุ่นเขาปลูกฝังเรื่องวินัยการออมให้กับประชาชนมาหลายยุคแล้ว
ถ้าอย่างนั้น ท่านว่า...ประเทศเราควรมีการอบรมความเฉลียวฉลาดทางการเงินให้ประชาชนหรือไม่
คือ "รู้วิธีหา วิธีใช้ วิธีก่อหนี้" อย่างถูกต้อง
คำตอบผมคือ ต้องมี แต่ มีแบบมีเงื่อนไขครับ
ดูทรัพยากรบุคคลส่วนใหญ่ของประเทศเป็นต้นทุน
เอาละ พูดง่ายๆคือ ทุกคนฉลาดไม่เท่ากัน บางคนเกิดมาเพื่อเป็นชาวนา
ไม่ใช่เป็นพ่อค้าเหมือนลูกคนจีนที่สอนให้ทำการค้าตั้งแต่เล็กๆ
พื้นฐานก็ไม่เท่ากันแล้ว เห็นไหมครับ แล้วจะสอนให้เป็นนักลงทุนได้หมดทุกคนก็ เทพมากๆ
แต่ที่ในหลวงทรงเห็นอย่างง่ายๆคือให้ ชาวนา ทำการเกษตรแบบพอเพียง
ไม่หลงไปในแสงสีแห่งระบบทุนนิยม คือแบบไม่ต้องพึ่งปัจจัยภายนอกมากเกินไป
ถ้าทำได้ตามนี้ ก็ไม่มีของนอกเหนือความจำเป็นที่ต้องใช้จ่าย
แบบขัดเสียไม่ได้ก็มีการอบรมทำบัญชีครัวเรือนแบบง่ายๆ
มีร้านค้าที่เป็นตัวแทนกลุ่มกระจายสินค้าที่มีการต่อรองจากผู้ขายมาทำราคาให้กลุ่มที่รวมกันได้ราคาที่ดี
อีกกลุ่มการค้านอกเหนือจากภาคเกษตรพื้นฐาน คือกลุ่มที่มีพื้นฐานทางทำธุรกิจมาก่อน
เป็นกลุ่มคนที่พร้อมจะมาได้เงินมาบริหารในการกู้ยืมกองทุนโดยดีกว่าไปพึ่งเงินกู้นอกระบบ
พวกนี้ จะมีวินัยมาก่อน ผมว่าสอนไม่ยาก แต่เหมือนผม ไม่อยากเข้าไปในกองทุน
เพราะชาวบ้านมองว่าเอาเปรียบโอกาสเขา แต่สุดท้ายเงินตกลงไปสู่กลุ่มที่ไม่มีวินัย ก็หายจ้อย
ปัจจัยที่ผมมองสำคัญที่สุดคือผู้บริหารที่กุมนโยบาย
พวกเขาเก่ง และมีบทบาทสำคัญต่อทุกคน
ดูอย่างประเทศเราถ้ารัฐบาลไม่ประชานิยมมากไป
และไม่ดึงเอาการบริหารไปแบบเอื้อประโยชน์ส่วนตน
เพราะต้องสงสารพวกเขาที่ด้อยปัญญากว่าโดยคิดว่ารัฐทำดีที่สุดเพื่อเขาแล้ว
จัดแบ่งการบริหารให้เกิดประโยชน์แก่ ส่วนรวม มาก่อน
ดูจากเรื่องรถ เป็นของชนชั้นกลาง เขามีกำลังก็ปล่อยไป
เอามาหารให้ชาวนาได้ไม่รู้เท่าไร
ถ้าเปรียบเทียบสัดส่วนเหมือนเงินประกันส่วนต่างกับ จำนำทั้งก้อน ใช้เงินต่างกัน 10-15 เท่า
แต่เขายอมให้เกิดการใช้เม็ดเงินเต็มก้อนเพราะจะได้ยอดการคอรรัปชั่นในสัดส่วนสูงกว่า
ทำการเสพประชานิยมให้คนติดและแบ่งส่วนเสี้ยวให้เป็นสินบน จนยอมรับการโกงได้ถ้าเอามาแบ่งกัน
เหมือนเราทุกคนอยู่ในบ้าน แล้วมีพี่น้องพ่อแม่รวมกัน 5 คนมีเงินในบ้านทำธุรกิจ 10 บาท
แต่พี่คนหนึ่งโกงเอาเงินมา 8 บาทมาแบ่งกันแล้วบอกไม่เป็นไร บ้านก็เจ๊งเหมือนประเทศเราตอนนี้ครับ
Edited by เดือนเอก, 21 December 2012 - 18:24.