อันที่ 3 นี่ เป็นเรื่องรถตู้ครับ
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เตรียมยึดทรัพย์นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม หลังพบรถยนต์โฟล์คสวาเกนได้มาโดยมิชอบ เตรียมส่งสำนักป้องกันการทุจริตภาครัฐเอาผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐรับของมูลค่าเกิน 3,000 บาท ส่วนเงินฝากในบัญชีธนาคาร เตรียมไต่สวนเพิ่มหลังนายสุพจน์ขอยื่นหลักฐานใหม่
หลังจากวันที่ 24 พฤษภาคม 2555 ที่ผ่านมา คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติให้นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม มีความผิดฐานร่ำรวยผิดปกติจากของกลางจำนวนเงิน 17.5 ล้านบาท และทองคำรูปพรรณหนัก 10 บาท ไปก่อนหน้า
เป็นการชี้มูลความผิดทรัพย์สินส่วนแรก จากข้อกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ ที่ ป.ป.ช. ได้แบ่งการพิจารณาทรัพย์สินของนายสุพจน์ออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. เงินของกลางที่ยึดได้จากคนร้ายจำนวน 18 ล้านบาท และทองคำรูปพรรณน้ำหนัก 10 บาท ที่คนร้ายนำเงินจากการปล้นไปซื้อ 2. เงินฝากในบัญชีที่นายสุพจน์ยื่นไว้เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม 3. ทรัพย์สินอื่นๆ เช่น รถยนต์ บ้าน และที่ดิน
ล่าสุด วันที่ 29 พฤษภาคม 2555 ในการประชุมครั้งที่สองเพื่อลงมติฐานร่ำรวยผิดปกติในทรัพย์สินอีก 2 ส่วนที่เหลือ คือ เงินฝากในบัญชีที่นายสุพจน์ยื่นไว้เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงคมนาคม และทรัพย์สินอื่นๆ เช่น รถยนต์ บ้าน และที่ดินนั้น
นายกล้านรงค์ จันทิก คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนหลังจากการประชุมของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ทำการตรวจสอบทรัพย์สินอื่นๆ ของนายสุพจน์ คือ รถยนต์ บ้าน และที่ดิน พบว่าบ้านและที่ดินของนายสุพจน์เป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยถูกต้อง
แต่รถยนต์คันหนึ่งในจำนวนหลายคันที่ตรวจพบในบ้านของนายสุพจน์ มีรถยนต์โฟล์คสวาเกน รุ่นคาราเวล ทะเบียน ฮบ 8118 ที่ไต่สวนพบว่า รถยนต์คันนี้ นายเอนก จงเสถียร ได้มอบให้นางนฤมล ทรัพย์ล้อม ภรรยาของนายสุพจน์ เพื่อใช้เป็นรถยนต์ประจำตำแหน่งของนางนฤมลในการทำงานให้นายเอนกที่บริษัท และได้มอบให้นายสุพจน์ไว้ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงในขณะนั้น โดยนายเอนกได้มอบเงินสดจำนวน 3 ล้านบาท เพื่อให้ซื้อรถในปี 2552
“คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ไต่สวนแล้วเห็นว่าเป็นการซื้อรถยนต์ให้ ซึ่งถือเป็นความผิดตามกฎหมาย ป.ป.ช. มาตรา 103 ที่ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐรับมอบทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกินกว่า 3 พันบาท ป.ป.ช. จึงมีมติให้ยึดรถคันดังกล่าว โดยส่งให้อัยการสูงสุดดำเนินการยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน และในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐรับมอบทรัพย์สินที่มีมูลค่าเกินกว่า 3 พันบาท ป.ป.ช. จะส่งให้สำนักป้องกันการทุจริตภาครัฐไต่สวนต่อไป” นายกล้านรงค์กล่าว
ส่วนเงินในธนาคารต่างๆ ที่นายสุพจน์ยื่นไว้เมื่อครั้งเข้าดำรงตำแหน่งต่างๆ ป.ป.ช. ได้ตรวจสอบจากบัญชีทรัพย์สินฯ ตั้งแต่สมัยนายสุพจน์ดำรงตำแหน่งกรรมการการท่าอากาศยานเมื่อปี 2544 ซึ่งในระหว่างการไต่สวน คณะอนุกรรมการ ป.ป.ช. ได้เปิดโอกาสให้นายสุพจน์เข้ามาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาถึง 3 ครั้ง
แต่หลังจากคณะอนุกรรมการไต่สวนเสร็จ และเตรียมส่งเรื่องให้ ป.ป.ช. ชุดใหญ่ลงมติชี้มูลความผิด นายสุพจน์ได้ทำหนังสือขอความเป็นธรรม ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2555 เพื่อขอให้ไต่สวนเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินฝากในธนาคาร โดยนายสุพจน์ได้อ้างว่า เงินในธนาคารจำนวนดังกล่าว ได้มาจากการซื้อขายที่ดินในโครงการต่างๆ โดยการร่วมทุนกันในช่วงปี 2530 – 2539 ซึ่งเป็นข้อมูลที่นายสุพจน์ไม่ได้ชี้แจงในระหว่างการไต่สวนก่อนหน้า 3 ครั้ง
“เพื่อความเป็นธรรม คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงได้มีมติให้อนุกรรมการฯ ดำเนินการไต่สวนเพิ่มเติม โดยให้เชิญนายสุพจน์มาชี้แจงข้อเท็จจริงและแสดงหลักฐานเพิ่ม ถึงที่มาของเงินที่ได้จากการซื้อขายที่ดิน โดยให้เวลานายสุพจน์ 15 วัน หลังได้รับหนังสือเรียกชี้แจงจากอนุกรรมการฯ” นายกล้านรงค์กล่าว
ทั้งนี้ จากการสืบค้นประวัติของนายเอนก จงเสถียร พบว่า นายเอนก จงเสถียร เป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็ม เอ็ม พี จำกัด ผู้ผลิตฟิล์มถนอมอาหารรายใหญ่ที่สุดของประเทศภายใต้เครื่องหมายการค้า “เอ็มแรป (M-WRAP)” ที่ภายหลังบริษัท เอ็ม เอ็ม พี ได้ร่วมกับท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เปิดให้บริการห่อกระเป๋าและสัมภาระด้วยฟิล์มบรรจุภัณฑ์ บริเวณอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศช่วงขาออกของสนามบินสุวรรณภูมิ ตั้งแต่ปี 2549
ปล.มีการสืบประวัติ ด้วย นายเอนก จงเสถียร คนที่ให้ รถ นายสุพจน์ด้วย
ห้าาาาาาาาาาา