ขอแสดงความเห็นแบบคนไกลวัดบ้าง ครับ เรื่อง การปฎิบัติธรรม
การปฏิบัติธรรม คือ ทำให้สติและปัญญาเกิด รู้ความจริงของสภาพธรรมในขณะนี้
ไม่ใช่การไปนั่งสมาธิ เดินจงกรม การจะเกิด สติและปัญญา (ปฏิบัติธรรม) เกิดจากการฟังพระธรรม
และ ศึกษาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และ เป็นไปตามลำดับ ดังที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้
คือ ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวธ
ปริยัติ การศึกษา ฟังพระธรรม นำไปสู่ ปฏิบัติ และปฏิบัติ นำไปสู่ ปฏิเวธ คือ การบรรลุธรรม
คำว่า ปฏิบัติ ถ้าไม่ละเอียด ประมาท ก็เข้าใจผิด ปฏิบัติผิด คิดว่า ปฏิบัติธรรม คือการจะไปทำ
ไปนั่งสมาธิ ไปเดินจงกรม ความสงบนิ่ง โดยที่ไม่รู้อะไร ก็ไม่ใช่ พุทธ ที่แปลว่า ผู้รู้ ความนิ่ง
ไม่สามารถดับกิเลสและหากยิ่งหวังว่า เพื่อความสุข นั่นก็ยิ่งห่างไปจากพุทธศาสนามากขึ้นไปอีก
เราปฏิบัติเพื่อละ ไม่ใช่ปฎิบัติเพื่อได้ เป็นเพียง ทำ-ปฎิบัติ ไม่ใช่ ปฎิบัติธรรม
เห็นตัวอย่างจริงในสังคม เต็มไปหมด พวก เคร่งครัด ธรรมะทำโม เห็นแก่ตัว คับแคบ
แต่ไม่ได้หมายความว่า ไม่ให้ปฎิบัติแต่ต้องควบคู่กับปริยัติ ด้วย ถึงจะได้ ปฎิเวธ ไม่อย่างนั้น
จะเอาอะไรมาตรวจสอบว่า ตรงตามพระธรรมคำสอนที่แท้จริงหรือไม่ หากปริยัติเบื้องต้นก็ยังไม่รู้
ยังไม่เข้าใจแต่จะไป ปฎิบัติ เพื่อ ปฎิเวธ แม้ พระพุทธเจ้าเองกัยังต้องเสียเวลาไปถึง 6 ปีเพื่อทำทุกขกริยา
สมาธิหรือเอกัคคตาเจตสิก เกิดกับอกุศลก็เป็นอกุศลสมาธิ ไม่ควรเจริญ ไม่ควรประกอบเพราะไม่เป็นไป
เพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม มีแต่จะเพิ่มพูนความไม่รู้และอกุศลธรรมอื่น ๆ ต่อไป
สมาธิที่ควรอบรมคือสัมมาสมาธิซึ่งเป็นไปพร้อมกับการอบรมเจริญปัญญา (ภาวนา)
ภาวนาไม่ใช่การท่องบ่นแต่เป็นการอบรมเจริญปัญญาจากที่ยังไม่มีก็มีขึ้น เมื่อมีแล้วก็อบรมเจริญให้มีมาก
ยิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งจะต้องตั้งต้นที่การฟังพระธรรม ฟังในสิ่งที่มีจริงบ่อย ๆ รากฐานที่สำคัญที่จะปฏิบัติได้ถูกต้อง
ก็คือการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ให้เข้าใจถูกต้องตรงตามพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้วเสียก่อน
ผู้ที่ไม่ต้องฟังพระธรรมแล้วบรรลุได้ก็มีเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้น ที่ ตรัสรู้ชอบได้ด้วยตนเอง
ขอพูดถึงในสมัยพุทธกาลเพื่อเปรียบเทียบ ครับ
สมัยพุทธกาลหรือเรียกว่า กาลสมบัติ เป็นช่วงที่ผู้มีปัญญา บารมี ส่วนใหญ่มาเกิด
ผู้บรรลุเป็นพระอริยเจ้า ที่ไม่ได้อบรมฌาน ไม่ได้เจริญสมถภาวนา และบรรลุธรรมมีจำนวนมาก
และมากกว่าผู้ที่ได้ฌานและบรรลุธรรมท่านเที่ไม่ได้ฌานแต่บรรลุธรรม ก็เพราะอาศัยการฟังพระธรรม
จากพระพุทธเจ้า และจากพระสาวก แล้วพิจราณา สภาพธรรมตามความเป็นจริง เช่นท่านอนาถบิณฑกิเศรษฐี
นางวิสาขา และอีกมากมาย ที่บรรลุโสดาบัน
ข้อความในพระไตรปิฎกได้แสดงไว้ว่า ผู้ที่บรรลุได้นิพพานเป็นอารมณ์แต่ไม่ได้ฌาน
คือ เอกัคคตาเจตสิก มีมากกว่า ผู้ที่ได้ฌานและบรรลุธรรม
พระสตตันปฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาท-ทุกขนิบาต เล่ม 1ภาค 2 หน้าที่ 206
สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว ไม่ได้สมาธิไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้
หากเราย้อนมาที่คำว่า สาวก ก็จะเข้าใจว่า สาวก หมายถึง ผู้สำเร็จด้วยการฟัง
ขนาดอาจารย์ของพระโพธิสัตว์ได้ฌานสมาบัติ คืออุททกดาบส และ อาฬารดาบส
ก็ ยังไม่บรรลุเป็นพระโสดาบันเลย ไม่ว่ายุคใด สมัยใด จะบรรลุธรรมได้ก็เพราะมีปัญญา
จากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ไม่ใช่เพราะนั่งหลับตาแล้วบรรลุ
[๑๔๒๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถาม
ท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตรที่เรียกว่า โสตาปัตติยังคะ ดังนี้ โสตาปัตติยังคะเป็นไฉน.
[๑๔๒๘] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญโสตาปัตติยังคะ
คือ สัปปุริสสังเสวะการคบสัตบุรุษ ๑ สัทธรรมสวนะฟังคำสั่งสอนของท่าน ๑ โยนิโสมนสิการ กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ ๑
ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.
[๑๔๒๙] พ. ถูกละ ๆ สารีบุตร โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริส สังเสวะ๑ สัทธรรมสวนะ๑ โยนิโสมนสิการ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑
พระ พุทธเจ้าได้ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ดับขันธ์สิ้นโดยรอบแล้ว ไม่เหลือเชื้อใด ในสังสารวัฎฎ มีเพียงพระธรรม คำสอนที่เป็นศาสดาแทนพระองค์ ก็ยังมีคน พยายามจะไปเข้าเฝ้า
มี การโฆษณาชวนเชื่อ ที่ผิดอื่นอื่น ทั้ง จงใจ และไม่รู้จริง เต็มไปหมด ก็ควรพิจารณาให้รอบคอบ เพราะศาสนาพุทธไม่ใช่รถเมล์ ที่แบ่งออกเป็นสาย ศาสนาพุทธมีเพียงสายเดียว คือสายที่องค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้นำทางเท่านั้น