1.ประเด็นภาษีการขายหุ้นชินคอร์ปฯ
1.1.(หากขายหุ้น 49% ตั้งแต่ปี42) คุณทักษิณและภรรยามีหุ้นชินคอร์ปฯ 49% (จากที่ตั้งบริษัทเองเมื่อ 22 ปีก่อน และเข้าตลาดหุ้นเมื่อ 15 ปีก่อน) หุ้นจำนวนนี้หากขายในตลาดหุ้น ไม่ว่าให้ลูกและลูกขายต่อให้ใคร ในฐานะนักลงทุนบุคคลในตลาดหุ้นไม่มีภาษีจากการขายหุ้น เป็นสิทธิ์พื้นฐานของคุณทักษิณและครอบครัว ไม่จำเป็นต้องทำอะไรซับซ้อนเพื่อลดหรือเลี่ยงภาษี (เช่นกรณีแอมเพิลริช) เพราะไม่มีภาษีให้ลดหรือเลี่ยง
·ที่คุณทักษิณทำเรื่องบริษัทแอมเพิลริชในปี 42 เพราะจะเอาหุ้นชินคอร์ปฯ 11% เข้าขายในตลาดหุ้นสหรัฐ (ดูหน้าข้อมูลประกอบ) ตอนหลังตลาดหุ้นสหรัฐตกมาก เลยหยุดแผน แต่หุ้นส่วนนี้ก็อยู่ที่แอมเพิลริชไปเรื่อยๆ
1.2.(โอนไป หุ้น11%) คุณทักษิณโอนหุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่ เดิมถือเองอยู่ในฐานะบุคคล ให้ถือโดยบริษัทแอมเพิลริชที่คุณทักษิณเป็นเจ้าของ ไม่มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษี เพราะเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เท่าสิทธิ์พื้นฐานเดิมข้อ 1.1
·(ยกหุ้น49% ให้ลูก) ปลายปี 43 คุณทักษิณและภรรยา ขายโอนชินคอร์ปฯให้ลูกที่ต้นทุน ก่อนจะเป็นนายกฯ เพื่อให้ถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ: เป็นหุ้นชินคอร์ปฯส่วน 38% (ที่ถือในฐานะบุคคล) และเป็นตัวบริษัทแอมเพิลริช (ที่ถือหุ้นชินคอร์ปฯส่วน 11%)
1.3.(โอนกลับ หุ้น11%) ต้นปี 49 พาน/พิณ ในฐานะเจ้าของบริษัทแอมเพิลริช โอนหุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่บริษัทแอมเพิลริชถืออยู่ มาถือเองตรงในฐานะบุคคล การโอนกลับก็เทียบเท่ากับตอนแรกที่ได้โอนไป คือ ไม่มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษี เพราะเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เท่าสิทธิ์พื้นฐานเดิมในข้อ 1.1
·โอนกลับ 11% จากแอมเพิลริช (มาถือในฐานะบุคคล) เพื่อมารวมกับส่วน 38% (ที่ถือในฐานะบุคคลมาตลอด) เท่าจำนวนหุ้นเดิม 49%
1.4.(ขายหุ้น 49% ปี 49) ต้นปี 49 พาน/พิณ จึงขายหุ้นทั้ง 49% ในตลาดหุ้นในฐานะบุคคลธรรมดา ไม่มีภาษี เท่าสิทธิ์พื้นฐานเดิมตามข้อ 1.1
·ปรากฏว่า ถูกกล่าวหาว่าเลี่ยงภาษีส่วนแอมเพิลริช 11% ตอนโอนกลับ และหากถูกกฏหมายก็หาว่าผิดจริยธรรม
1.5.ข้อกล่าวหาแบบที่ (1) ว่า การที่พาน/พิณได้หุ้นชินคอร์ปฯจากแอมเพิลริชที่ราคา 1 บาท แล้วตอนขายได้ 49 บาท พาน/พิณ มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ 48 บาท และต้องจ่ายภาษีในวันที่ “ขาย”
1.6.ข้อกล่าวหาแบบที่ (2) คล้ายกรณีบริษัทออกหุ้นราคาถูกพิเศษขายจูงใจให้พนักงาน (สต็อกออปชั่น หรือ ESOP ที่ พนักงานสามารถซื้อหุ้นใหม่นี้ได้ที่ราคาต่ำกว่าราคาหุ้นบริษัทที่ซื้อ ขายอยู่ในตลาดในวันนั้นๆ จงใจให้พนักงานมีกำไรจากการขายหุ้น อันเป็นวิธีหนึ่งในการจ่ายรายได้เพิ่มให้พนักงาน)
·ว่า การที่พาน/พิณได้หุ้นชินคอร์ปฯจากแอมเพิลริชที่ราคา 1 บาท ในวันที่หุ้นชินคอร์ปฯในตลาดหุ้นราคา 42 บาท เสมือนว่าพาน/พิณ มีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ 41 บาท และต้องจ่ายภาษีในวันที่ “ซื้อ” เลย(ภายหลังขายในตลาดหุ้นที่ 49 บาทไม่มีภาษีแล้วเพราะได้เป็นเจ้าของหุ้นนั้นแล้ว)
1.7.ข้อกล่าวหาทั้งสองลักษณะ เป็นการตีความคนละหลักการ
·พาน/พิณเป็นเจ้าของแอมเพิลริช เป็นเจ้าของหุ้นชินคอร์ปฯ 11% นี้อยู่แล้ว เป็นบุคคลเดียวกันดังที่รายงานตลาดหุ้นมาตลอด ดังนั้น การที่พาน/พิณได้หุ้นชินคอร์ปฯ 11% ที่แอมเพิลริชถืออยู่กลับมาถือเองโดยตรงในราคาพาร์ต้นทุน ไม่ทำให้พาน/พิณมีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ เพราะเป็นหุ้นเดิมของตนแต่เดิม
·เป็นคนละกรณีกับ นายจ้างจ่ายผลตอบแทนลูกจ้างด้วยการออกหุ้นใหม่ขายให้ในราคาพิเศษ (หรือ บางข้อกล่าวหาว่าเหมือนการให้รางวัลจับสลาก หรือ การขายตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีส่วนลดหน้าตั๋ว) ล้วนเป็นการจ่ายให้ผู้รับมีรายได้เพิ่มให้ใช้คำนวณภาษีได้ แต่กรณีพาน/พิณไม่มีรายได้เพิ่ม เพราะเป็นหุ้นเดิมของตนแต่เดิม
·จึง ดูเพียงครึ่งทางตอนขาโอนกลับอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูทั้งวงจร คือเจ้าของเดิมโอนไปครั้งแรกและโอนกลับครั้งหลัง ระหว่างตนเองกับบริษัทที่ตนเป็นเจ้าของ (แอมเพิลริช) ไม่เป็นการมีรายได้เพิ่ม มิเช่นนั้น ก็ควรต้องออกกฏหมายให้ชัดๆว่าการโอนโดยเจ้าของเดียวกันต้องเสียภาษี
1.8.ประเด็นนี้ พาน/พิณ หารือกับสรรพากรตั้งแต่กลางปีที่แล้ว สรรพากรก็ยืนยันว่าเรื่องนี้ถูกต้อง แต่ก็ไม่ฟังกัน กล่าวหาว่าลูกนายกฯเลี่ยงภาษี นายกฯไม่มีจริยธรรม สรรพากรผิดจรรยาบรรณตีความเข้าข้างรับใช้นายกฯ
·ข้อกล่าวหาโดยนักกฏหมายยังมีการตีความไปหลายแบบ (ที่ไม่ใช่ประเด็นถูกต้อง) ว่ามีเข้าข่ายต้องเสียภาษีในหลายกรณีที่แตกต่างกันมาก เพื่อยัดเยียดว่าต้องผิดจริยธรรมแน่นอน (การถูกผิดกฏหมายควรเป็นกรณีชัดเจนเพียงอันใดอันหนึ่ง)
·หาก แคลงใจในแง่กฏหมายว่าลูกนายกฯเลี่ยงภาษี โดยการตีความไปต่างๆนาๆ ก็ควรให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน ไม่ใช่แค่เอาเป็นประเด็นโจมตีทางการเมืองไปที่นายกฯ สรรพากร และ กลต
1.9.เป็น สิทธิ์ของประชาชนตามกฏหมาย ที่มีหน้าที่เสียภาษีเท่าที่จำเป็น หากเสียภาษีเกิน ก็เรียกคืนจากสรรพากรได้ ตามที่ทุกคนยื่นแบบภาษีกันทุกปี
·ข้อ กล่าวหานี้ เปรียบไปคล้ายกับว่า ถนนข้างล่างว่าง ขับได้เร็วอยู่แล้ว คนขับมีสิทธิ์อยู่แล้ว แต่ไปบอกว่าหากไม่ขึ้นทางด่วนเสียเงินค่าทางด่วน ถือว่าคนขับหลีกเลี่ยง
1.10. ตลาด หลักทรัพย์ตั้งใจยกเว้นภาษีกำไรให้บุคคลธรรมดาที่ซื้อขายหุ้นในตลาด เพราะไม่งั้นเสียเปรียบบริษัทนิติบุคคลที่สามารถทำงบกำไรขาดทุนได้
·บริษัท นิติบุคคลสามารถนำการขาดทุน การเสียภาษีเงินปันผล การเสียภาษีกำไรขายหุ้น ไปหักลบในงบกำไรขาดทุน ทำให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลน้อยลง
·บุคคลธรรมดาทำงบไม่ได้ หากขาดทุน หรือเสียภาษี ก็หักลบอย่างอื่นไม่ได้เลย ตลาดหลักทรัพย์จึงต้องส่งเสริมเช่นนี้ มิเช่นนั้น นักลงทุน 500,000 คนต้องไปตั้งบริษัทกันหมด วุ่นวายต้องทำบัญชี สอบบัญชี
1.11. ทั้งตัวคุณทักษิณ ครอบครัว บริษัท และพนักงานกว่า12,000 คน เสียภาษีให้รัฐทุกรูปแบบ ทั้งเงินได้จากเงินปันผล เงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล รวมถึงค่าสัมปทานต่างๆ ทั้งมือถือ ดาวเทียม ฯลฯ ปีละหลายหมื่นล้านบาท สิบกว่าปีนี้หลายแสนล้านบาท เป็นผู้จ่ายภาษีรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของประเทศไทย ร่วม 5% ของยอดจัดเก็บของสรรพกร ทำขนาดนี้ ทั้งผู้ก่อตั้งและตัวบริษัทเอง เป็นผู้เสียภาษีที่รักชาติไม่น้อยกว่าใครที่มาโจมตี (หลายปีก่อนตอนยังทำธุรกิจ คุณทักษิณเคยเป็นบุคคลที่เสียภาษีสูงสุดของไทยปีละหลายร้อนล้านบาทหลายปี)
1.12. กลุ่มบริษัทชินคอร์ปฯ ได้ชื่อว่า เป็นบริษัทดีเด่นของไทย มูลค่าทางตลาดรวมในตลาดหลักทรัพย์ (Market Capitalization) กว่า 350,000 ล้านบาท เท่ากับ 7% ของทั้งตลาดหุ้นไทย เป็นหนึ่งในสามบริษัทไทยที่ติด 500 อันดับ แรกของบริษัทใหญ่ที่สุดในโลกจัดโดยฟอร์จูน (อีกสองบริษัทคือปูนซีเมนต์ไทยและปตท) ได้รับรางวัลจากตลาดหลักทรัพย์ไทยและสถาบันการเงินระหว่างประเทศจำนวนมาก ในความดีเด่นในแง่ผู้บริหาร การจัดการ ธรรมธิบาล การรายงานการเงิน ความเชื่อถือทางการเงิน (เครดิตทางการเงินของเอไอเอส ในเครือชินคอร์ปฯคอร์ป สูงกว่าของรัฐบาลไทย) ทำได้ขนาดนี้ ต้องมีความสามารถและจริยธรรมเพียงพอแน่