กดราคาอาหาร เพื่อให้แรงงานราคาถูกอยู่รอด
เพื่อให้บริษัทเพียงไม่กี่บริษัทได้กำไร
วิธีคิดแบ่งแยกชนชั้นแบบแดงๆ เช่นนี้ ไม่น่าเชื่อว่า
จะหลุดรอดออกมาจากปากคนที่พยายามจะบอกใครว่า เคยเลือกประชาธิปัตย์นะครับ
มันเป็นวิธีคิดแบบมองโลกด้านเดียวจริงๆ
ผมพยายามพูดมาตั้งกี่ความเห็นแล้ว ก็หาผ่านตาคุณสักนิด
ประเทศเรา เคยถูกไอ้ทักษิณ พยายามยกให้เป็นดีทรอยส์แห่งเอเชีย
เพราะเราเป็นฐานการผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่ของโลก
เพราะเหตุใด บริษัทรถยนต์และโรงงานต่างๆ จึงมาตั้งฐานผลิตในเมืองไทย
มีกี่นิคมอุตสาหกรรมในบ้านเรา มีโรงงานข้ามชาติกี่แห่งในบ้านเรา
มีการจ้างงานชั้นแรงงานจำนวนเท่าใดในประเทศ
เขามาจ้าง เพราะคนไทยยิ้มสวยเหรอครับ
หรือเพราะคนไทยอัฐยาศัยดี หรือเพราะอาหารไทยอร่อยที่สุดในโลก
เขามา เพราะค่าแรงและการส่งเสริมจากภาครัฐไงครับ
ถ้าจะจำได้ เอาแค่แรงงานที่เข้าทำงานไม่ได้ ตกงาน
ไปจากกรณีน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมที่อยุธยา
นั่นปาเข้าไปเท่าไหร่
นั่นแค่ตัวอย่าง
หากถ้าค่าแรงเพิ่มขึ้น สูงไปกว่าเพื่อนบ้าน
แรงงานต่างชาติก็คงจะหลั่งไหลเข้ามา
โรงงานต้องย้ายฐานการผลิตไปอีกเท่าไหร่ในอนาคต
ที่ผมไม่สามารถประมาณให้คุณฟังได้
ผมถามว่า ถ้าบริษัทเหล่านั้นอยู่ไม่รอด ไม่ได้กำไร
แรงงานเหล่านั้นจะเป็นอย่างไรครับ
จะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จากค้่าแรง 300 นั่นมั๊ย
เอาค่าแรงจากใคร
เหตุผลง่ายๆ แค่นี้ คุณคิดไม่ออกหรือ
อีกอย่าง ค่าแรง 300 ถูกปรับขึ้นให้เฉพาะแรงงานในระบบ ซึ่งมีจำนวนเท่าไหร่ผมไม่ทราบ
แต่แรงงานนอกระบบล่ะ ที่จะได้ผลกระทบไปจากค่าครองชีพขึ้นสูง
คุณจะแก้ปัญหาให้พวกเขาอย่างไร
แรงงานนอกระบบในไทยมีมากถึง 24.6 ล้านคน
“อาชีพอิสระ” หรือที่ถูกเรียกว่าเป็น “แรงงานนอกระบบ” (Informal Sector) หมายถึง กลุ่มคนที่ทำงานอิสระที่ไม่ได้รับความคุ้มครองและไม่มีหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระทั่วไป เช่น คนขับรถรับจ้าง ผู้ทำการเกษตร หาบเร่แผงลอย ช่างเสริมสวยตัดผม ช่างซ่อม เจ้าของร้านขายของชำ ทนายความ แพทย์ วิศวกร ฯลฯ
กลุ่มที่ทำงานรับจ้าง มีรายได้ประจำ เช่น ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ผู้ทำงานนอกสถานที่ ผู้รับจ้างทำของ รับจ้างตามฤดูกาล แรงงานในกิจการประมง คนรับใช้ตามบ้าน ฯลฯ
แรงงานนอกระบบของไทยในปัจจุบัน
จากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2554 พบว่า มีจำนวนผู้มีงานทำทั้งสิ้น 39.3 ล้านคน โดยเป็นแรงงานนอกระบบ 24.6 ล้านคน หรือ ร้อยละ 62.6 ของจำนวนผู้มีงานทำทั้งหมด เมื่อพิจารณาตามเพศ พบว่า มีจำนวนไม่แตกต่างกันมาก คือ เพศชาย 13.2 ล้านคน หรือ ร้อยละ 53.8 และเพศหญิง11.4 ล้านคน หรือ ร้อยละ 46.2 ของแรงงานนอกระบบทั้งหมด
โดยแรงงานนอกระบบส่วนใหญ่ทำงานอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากที่สุด ร้อยละ 41.5 รองลงมาเป็นภาคเหนือ ร้อยละ 21.4 ภาคกลาง ร้อยละ18.7 ภาคใต้ ร้อยละ 13.3 และกรุงเทพมหานครมีแรงงานนอกระบบน้อยที่สุด ร้อยละ 5.1
http://www.thaihealt...t/article/28304