อาการหลงผิด (Delusion) เป็นความผิดปกติของความคิด ที่บุคคลที่มีความเชื่อและคิดในเรื่องต่างๆ ซึ่งไม่
เป็นความจริง มักเกิดจากความเชื่อที่ฝังแน่นในใจ ความคิดของบุคคลนั้นๆ ยากที่จะให้เหตุผลได้อย่างชัดเจน อาการหลงผิดมักมีลักษณะต่างๆ เช่น
- หลงผิดคิดว่าตัวเองใหญ่โต ร่ำรวย เป็นคนใหญ่คนโต (Grandeur delusion)
- หลงผิดคิดว่าคนอื่นปองร้าย (Persecution delusion)
- หลงผิดคิดว่าคนอื่นหลงรักตน (Self-accusatory delusion)
- หลงผิดคิดว่าตนเจ็บป่วย (Hypochondriacal delusion or Somatic delusion)
- หลงผิดคิดว่าอวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของร่างกายขาดหายไป (Nihilistic delusion)
การพยาบาลผู้ที่มีอาการหลงผิด
1.ประเมินอาการ และระดับความรุนแรง
2.หลักการพยาบาล เน้นการช่วยเหลือ ดังนี้
2.1 ดูแลให้ผู้ที่มีอาการหลงผิดได้รับความปลอภัยจากอาการหลงผิดทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
2.2 เสนอตัวเป็นเพื่อนคอยดูแลช่วยเหลือเมื่อผู้ป่วยมีอาการ โดยเฉพาะผู้ที่หลงผิดว่าตนจะได้รับอันตรายจนเกิดอุบัติเหตุ ระมัดระวังอันตรายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของผู้ป่วย ในขณะที่มีอาการหลงผิด และพยายามหนีจากสภาพการณ์ที่หลงผิด
2.3 ยอมรับพฤติกรรม ไม่ตำหนิโต้แย้งหรือปฏิเสธพฤติกรรมหลงผิดของผู้ป่วย
2.4 ให้ผู้ที่มีอาการหลงผิดระบายความรู้สึกความคิดเกี่ยวกับสิ่งที่หลงผิดพยาบาลใช้การสนทนา การปฏิสัมพันธ์ และสัมพันธภาพเพื่อการบำบัดโดยเน้นให้ผู้ป่วยรู้สึกและยอมรับว่าตนเกิดอาการหลงผิดจริง
2.5 จัดสถานการณ์ให้ผู้ที่หลงผิดได้เรียนรู้สถานการณ์จริงด้วยตนเอง เช่น การจัดกิจกรรมกลุ่ม
2.6 ลดอาการหลงผิดโดยหากิจกรรมให้ผู้ป่วยทำเพื่อดึงความคิดของผู้ป่วยให้อยู่ที่กิจกรรมและอยู่กับความจริง
