Jump to content


Photo
- - - - -

ลายออก...เอ่เอ๊ทีวีของแป๊ะกล่าวหามาร์คทำไทยเสียดินแดน


  • Please log in to reply
107 replies to this topic

#101 ryukendo

ryukendo

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,383 posts

Posted 18 November 2013 - 14:53

77853.gif

 

ผ่านพ้นไปแล้วกับการตัดสินของศาลโลก กรณีที่กัมพูชาขอให้ตีความคำตัดสินในปี พ.ศ. 2505 เรื่องอาณาเขตของปราสาทพระวิหาร โดยสรุปแล้วศาลมีคำตัดสินอยู่ 3 ส่วน คือ 1.ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าว 2.ศาลไม่รับรองมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2505 ที่ไทยไปล้อมรั้วลวดหนามรอบพื้นที่ตัวปราสาท แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ยอมรับคำกล่าวอ้างของกัมพูชา ที่บอกว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ภูมะเขือเป็นส่วนหนึ่งของปราสาทพระวิหาร และ 3.ศาลให้ไทยกับกัมพูชา ไปช่วยกันดูแลปราสาทพระวิหาร ในฐานะที่เป็นมรดกโลก

 

ภายหลังศาลโลกอ่านคำตัดสิน กระแสวิพากษ์วิจารณ์ส่วนใหญ่มองว่าไทยนั้นเสมอตัว เพราะตัวปราสาทนั้นเราได้ยอมรับมติของศาลโลกไปแล้วตั้งแต่เมื่อ 50 ปีก่อน คำตัดสินครั้งนี้เป็นเพียงการกล่าวย้ำให้ชัดเจนเท่านั้น ดังนั้นไทยจึงไม่เสียดินแดนเพิ่ม แม้กระทั่งคนของฟากฝั่งรัฐบาล ก็ยังมองว่าไทยอาจเป็นฝ่ายชนะเสียด้วยซ้ำ เพราะข้อเรียกร้องของกัมพูชาไม่ได้รับการตอบสนอง และศาลก็ชี้ว่าพื้นที่ที่ไทยต้องถอยออกมานั้น “เล็กมาก” จนไม่มีอะไรน่าเป็นห่วงกังวล

คำถามคือ..เราไม่เสียอะไรเลยจริงหรือ?

ไทยแพ้หมดทุกประเด็น?

 

ไม่นานมานี้ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 7/2556 อธิบายคำตัดสินดังกล่าว และสรุปว่า “ไทยแพ้คดี แพ้หมดทุกประเด็น และต้องเสียดินแดน” โดย นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ ไล่เลียงทีละประเด็นไว้ดังนี้

 

1.การแก้คดีและคำแถลงปิดคดีของไทย ที่ขอให้ศาลชี้ว่าคดีนี้ไม่มีมูลที่จะตีความใหม่ ศาลไม่มีอำนาจ คำร้องกัมพูชารับฟังไม่ขึ้น กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับเส้นเขตแดนต้องทำภายใต้บันทึกความเข้าใจ 2543 (MOU 2543) ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้ข้อยุติหรือทุกอย่างอาจเลวร้ายลง ถ้าปล่อยให้กัมพูชาอ้างเส้นเขตแดนตามแผนที่ภาคผนวก 1 (ANNEX I) ที่มีความคลาดเคลื่อน..ในประเด็นนี้ ศาลโลกระบุว่ามีอำนาจพิจารณาคดี ดังนั้นแล้ว ข้อโต้แย้งของรัฐบาลไทยในเรื่องเขตอำนาจศาลในคดีนี้ว่าไม่มีเขตอำนาจนั้น จึงเป็นอันตกไป

ไทยแพ้แล้วในประเด็นแรก

 

2.ตามคำพิพากษาของศาลโลกเรื่องปราสาทพระวิหารเมื่อปี 2505 ที่ตกเป็นของประเทศกัมพูชา แต่ไม่ครอบคลุมเขตพื้นที่รอบข้างปราสาท ซึ่งทางฝ่ายไทยอ้างว่าได้เฉพาะตัวปราสาท จึงได้ทำการล้อมรั้วและปักกันเขตแดนไว้ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2505 ตลอดมา จนกระทั่งเมื่อกัมพูชาผ่านพ้นภัยสงครามในบ้าน ก็ได้อ้างพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ว่าอยู่ในเขตของกัมพูชา

โดยอ้างถึงแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำไว้ และอ้างว่าการถือครองพื้นที่โดยมีกำลังทหาร-ตำรวจ ประจำตามเขตอาณาบริเวณปราสาทพระวิหารของประเทศไทย เป็นการรุกล้ำอธิปไตยของกัมพูชานั้น ศาลโลกในคดีนี้พิพากษาให้ประเทศกัมพูชาได้ดินแดนเพิ่มขึ้น คือส่วนที่เป็นจะงอยหรือเป็นแหลมหรือเป็นชะง่อนผา (Promontory)

ปัญหาคือ..ส่วนที่ยื่นออกไปตามที่ศาลโลกมีคำตัดสินนี้มีเนื้อที่จริงๆ เท่าไร? อาจจะอยู่ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร ซึ่งก็ไม่ใช่พื้นที่เล็กน้อย แสดงว่าคำฟ้องของประเทศกัมพูชาที่ขอมาในเรื่องนี้ประมาณ 4.6 ตารางกิโลเมตร นั้นได้ไป 1 ตารางกิโลเมตร เท่ากับว่าประเด็นนี้กัมพูชาชนะคดีบางส่วน

“สมมุติว่า 4.6 เราเสียไป 1 ตารางกิโลเมตร แสดงว่ากัมพูชาชนะ เรียกว่าได้ไม่เต็มฟ้อง..สมมุติถ้าเป็นทนายความ ฟ้อง 4.6 ล้าน ได้มา 1 ล้าน ชนะไหมครับ? ชนะครับเราแพ้ไหม? ก็แพ้สิ จะแพ้มากแพ้น้อยก็เท่านั้นเอง แต่อย่ามาบอกว่ากัมพูชาไม่ได้ตามที่ฟ้อง เขาได้อะไรติดมือไปหมดแล้วครับ” คุณเดชอุดม ระบุ

ไทยแพ้อีกในประเด็นที่สอง

 

3.อีกประการหนึ่งที่ยังมีความคลุมเครือและไม่ชัดเจน คือศาลโลกได้พิพากษาก้าวข้ามไปถึงที่พิพาทบริเวณต่อเนื่องกับปราสาทพระวิหาร ของกัมพูชา ซึ่งเป็นมรดกโลกในอุปถัมภ์ของ UNESCO โดยได้พิพากษาเลยไปถึงว่าให้ประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ช่วยกันดูแลเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์มรดกโลกของประเทศกัมพูชา แสดงว่าภูเขาซึ่งเป็นเขตแดนไทยนั้นต้องเป็นที่รับใช้ในการตั้งปราสาทพระ วิหาร รวมถึงการใช้ปราสาทพระวิหาร เพื่อประโยชน์ของคนกัมพูชาไปโดยปริยาย

เท่ากับว่า..ไทยก็ยังแพ้ในทางอ้อม (พฤตินัย) ในประเด็นที่สาม

“เราเหลือ 3.6 ตารางกิโลเมตร ตรงนี้ก้าวล่วงไปถึงไทยกับกัมพูชาต้องเจรจากัน เพื่อให้ความคุ้มครองมรดกโลกคือปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ที่เขาไปขึ้นทะเบียนคนเดียว นั่นหมายความว่า บ้านของเรา ภูเขาของเรา แต่ศาลโลกกลับให้กัมพูชามาเจรจากับเรา บอกว่าขอให้ช่วยกันอนุรักษ์

ดีไหมครับ? ถ้ามีคนมาสร้างบ้านบนชั้น 3 ของท่าน แล้วบอกว่าท่านที่อยู่ชั้นล่างต้องช่วยกันอนุรักษ์ด้วย นี่คือผลของคำพิพากษาในทางอ้อม สื่อทั่วโลกเขาถึงออกข่าวว่าไทยแพ้ ที่ศาลแนะนำให้ไทยกับกัมพูชาร่วมกันพัฒนาปราสาท แล้วปราสาทของใคร? ใครได้ผลประโยชน์? ไทยหรือครับ? ไทยได้อะไร? ได้ค่าผ่านทางไหม? ต้องอนุญาตให้เขาทำทางขึ้นไปชมปราสาทไหม?”

นายกสภาทนายความ ตั้งข้อสังเกต พร้อมทั้งตั้งคำถามต่อไปว่า ที่ศาลโลกอยากให้ไทยกับกัมพูชาไปพูดคุยเจรจากันเองนั้นจะประสบความสำเร็จ หรือไม่? และในความเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นผู้พิพากษา หรือทนายความที่เป็นชาวต่างประเทศในคดีนี้ เข้าใจบริบทความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชามากน้อยเพียงใด?

 

แนะรัฐบาลใช้ ‘มาตรา 190’

จาก 3 ประเด็น ไม่ว่าอย่างไรก็ตามย่อมไม่อาจตีความเป็นอย่างอื่น นอกจากไทยแพ้หมดในทุกกรณี ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำต่อไป คือต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด ซึ่งรัฐบาลควรใช้กรอบของ มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ที่ระบุให้การเจรจาใดๆ ระหว่างรัฐบาลไทยกับต่างประเทศ หากการเจรจานั้นจะมีผลในทางปฏิบัติ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาเสียก่อน แน่นอนว่ากระบวนการนี้เป็นกระบวนการที่นานาประเทศล้วนใช้กันทั้งสิ้น

“หลักการนี้ถือปฏิบัติกันทั่วโลก รวมทั้งในสหรัฐอเมริกา ประธานาธิบดีไปเซ็นลงนามอะไรก็ได้ ก็ยังไม่ผูกพันในนามรัฐบาลอเมริกา จนกว่ารัฐสภาจะอนุมัติ เพราะฉะนั้นการที่เขากำลังจะขอแก้ไขกฎหมาย มีสมาชิกรัฐสภาขอแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ท่านต้องพึงสังวรณ์อย่างมาก ว่าท่านไม่มีผู้ช่วยข้างหลังเลย ท่านไปเจรจา ท่านไปทำอะไรอย่างที่เห็นกันนี้

 

เราเคยเสียหายมามากแล้ว ทำไมท่านไม่ใช้กลไกที่นานาประเทศเขาใช้กัน ท่านกลับจะแก้ไขมาตรา 190 เพื่อให้ท่านทำอะไรก็ได้อย่างนั้นหรือ? สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คาใจครับเราไม่ได้หวงห้ามไม่ให้ท่านทำสัญญานายกสภา ทนายความ กล่าวทิ้งท้าย

 

คดีปราสาทพระวิหาร ท้ายที่สุดประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยเมื่อปี 2505 คือเราแพ้และต้องเสียดินแดนอีกครั้ง ไม่ว่าจะเป็นทางตรง กรณีพื้นที่ใกล้เคียงที่อาจจะกว้างถึง 1 ตารางกิโลเมตร หรือทางอ้อมในกรณีพื้นที่ต่อจากนั้น ที่ไทยกับกัมพูชาต้องพัฒนาร่วมกันในกรอบของ UNESCO นี่คือความจริงที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับ

 

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลต้องกล้าที่จะบอกความจริงข้อนี้กับประชาชน ในฐานะเจ้าของประเทศให้ทราบ และการเจรจาใดๆ หลังจากนี้ ควรต้องฟังความเห็นอย่างรอบด้านทั้งจากรัฐสภาตามกลไกรัฐธรรมนูญ และจากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างรอบคอบที่สุด

จะได้ไม่ต้อง “แพ้ซ้ำซาก” เป็นรอบที่ 3 อีก

 

http://www.naewna.com/scoop/77853


บ้านเมืองไม่ใช่ของเล่นที่จะทำพังแล้วร้องไห้ขออันใหม่

#102 art7d

art7d

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 88 posts

Posted 18 November 2013 - 15:38

 

 

ขอแจมหน่อยครับ ในการตัดสินของศาลโลก ผมก็พยายามฟังอยู่นะ ใจความ คือ เขมรยื่นขอตีความ การตัดสินในคดี ในปี 2505 ในเรื่องของเขตแดนของคำตัดสิน เดิม ซึ่งหมายถึงศาล
จะไม่สามารถตีความนอกเหนือจากประเด็นเดิมได้ เรื่องเขตแดน ทับซ้อนศาลไม่สามารถตีความได้ หลังจากที่ฟังศาลชี้แจง แล้วนั้น
ประเด็นคือศาล ได้ชี้ประเด็นตามคำขอของเขมรว่า สมควรให้ชี้ชัดในคำตัดสินถึงพื้นตัวปราสาทว่า ควรมีเท่าใดโดยการปักปันพื้นที่ของเขตแดนนั้นศาลไม่สามารถตัดสินได้ให้ ไปทำการตกลงกันเอง
แต่ศาลชี้ว่าตัวปราสาทควรมีพื้นที่ ใต้ปราสาทด้วย ให้สามารถมีทางขึ้นตัวปราสาท โดยพื้นที่นั้น ศาลบอกว่ามีขนาดเล็กมากๆ(ป่านนี้คงคำนวนกันได้แล้ว)
และไม่ใช้ พื้นที่ 4.6 ให้ไปจัดการกันเอง ไม่ได้กล่าวถึง MOU 43 เลยในคำตัดสินของศาล
ซึ่งความหมายก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ MOU 43 ซึ่งเป็นแถลงการร่วม ความเข้าใจในการปักปันเขตแดน แต่อย่างใด

ถ้าไทยจะเสียพื้นที่นั้น เป็นเพราะ เราแพ้เสียเขาพระวิหาร ตามศาลโลก ตั้งแต่ 2505 และนี่เป็นเพียงข้อกำหนดเพิ่มเติมจาก 2505 เนื่องจากเป็นการขอตีความจากคำตัดสินเดิม ซึ่งศาลไม่มีอำนาจนอกเหนือไปจากคำร้อง
ส่วนที่น่ากลัวจริงๆคือเราไม่จำเป็นต้องทำตามศาลโลก และการเจรจาผลประโยชน์กับเขมรคงต้องเกิดขึ้นแน่นอน ถึงเวลานั้น ที่ควรระวังจริงๆคือ ม.109 ที่แก้ไขแล้ว และอยู่ในมือของ รัฐบาล ตระกูลชิน มากกว่า



ขอบคุณครับ อธิบายได้ชัดเจนดีครับ


ตามความเข้าใจผม กรณีนี้เขมรขอยื่นตีความใหม่ และในเมื่อเขาขอตีความใหม่ เขาก็ต้องแสดงหลักฐานเพิ่มเติมจากเดิม
เช่น ที่ทนายเขมรเอาเรื่อง MOU43 มาอ้างอิง และฝ่ายเราก็เอาแผนที่เราไปอ้างอิงต่อสู้กับเขา


และในการพิจารณาคดี การที่ศาลเขาตัดสินว่าเรายอมรับแผนที่เขมร ตรงนี้คือประเด็นสำคัญ
เพราะถ้าศาลเขาพิจารณาจากแค่หลักฐานเดิมทั้งหมด

ทำไมถึงตัดสินแบบนี้ ???

การที่ศาลอ้างว่าไม่มีอำนาจนอกเหนือไปจากคำร้อง มันหมายถึงว่าเขารับพิจารณาเฉพาะเรื่องเดิม

แต่มันไม่ได้หมายความว่า ศาลเขาไม่รับฟังหลักฐานใหม่จากฝ่ายไหน ในการนำมาพิจารณาคดีเดิมไม่ใช่หรือ ?

เท่าที่จำได้นะครับ เขมรเอาแถลงการณ์ร่วมมาอ้างด้วยนะครับ และข้อต่อสู้ของเราคือ เขมรละเมิด MOU 43 และเขมรทำแผนที่ปลอมขึ้นมาครับ

ผมไม่แน่ใจนะครับ

 

จากที่ฟังสดวันนั้นนะครับ แผนที่ ที่ไทยอ้างนั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้ และแผนที่ ที่กำพูชานำเสนอมานั้นไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ โดยพื้นที่ตามหลักฐานที่ทั้งสองฝั่งนำมาเสนอแทบไม่กล่าวถึงแผนที่ไหนๆเลย เพราะศาล

พยายามหลีกเลี่ยงเรื่องประเด็นพื้นที่ทับซ้อน และไม่ใช้แผนที่ใหม่มาตัดสินเลย ประเด็นเรื่องเขตแดนและแผนที่ ตามหลักฐานใหม่ถูกกล่าวอ้างเพียง แต่การแบ่งเขตแดนกันนั้น ตามหลักควรใช้สันปันน้ำและเป็นเพียงหลักการการเท่านั้น การปักปันเขตแดนเป็นหน้าที่ของ 2 ประเทศ

แต่ในกรณีเป็นการขอตีความ ศาลต้องยืนยันตามคำตัดสินเดิม 2505 เดินโดยดูเพิ่มตามที่ร้องขอ คือ เขมรต้องการรู้ว่า พื้นที่ตัวปราสาท มีเท่าใด ศาลมีความเห็นว่า ตามที่เขมรทำแผนที่มานั้น นำมาใช้อ้างอิงไม่ได้ ดังนั้นศาลจึงขอยึดแผนที่ แนบเดิม 2505 ของ ฝรั่งเศษแล้วตีความจากแผนที่นั้น โดยมีความเห็นว่า ..... (ตามที่ผมโพสไปอันแรก)

 

แต่มีอยู่กรณีหนึ่งที่กล่าวอ้างขึ้นมาคือการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของเขมร  โดยให้ทั้ง 2 ประเทศไปตกลงกันเอง และพยายามรักษษมรดกของโลกไว้

 

คือหลักฐานใหม่ จากทั้ง 2 ฝ่าย ศาลบอกเป้นในๆว่านอกประเด็น ศาลไม่อาจทำนอกจากคำร้องได้ นั่นเอง แต่เขตแดนศาลพูดก็ยังคงคลุมเคลือ งงๆ ให้ต้องไปตกลงกันเองอยุ่ดีๆ



#103 JSN

JSN

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,004 posts

Posted 18 November 2013 - 15:42

ขอแจมหน่อยครับ ในการตัดสินของศาลโลก ผมก็พยายามฟังอยู่นะ ใจความ คือ เขมรยื่นขอตีความ การตัดสินในคดี ในปี 2505 ในเรื่องของเขตแดนของคำตัดสิน เดิม ซึ่งหมายถึงศาลจะไม่สามารถตีความนอกเหนือจากประเด็นเดิมได้ เรื่องเขตแดน ทับซ้อนศาลไม่สามารถตีความได้ หลังจากที่ฟังศาลชี้แจง แล้วนั้นประเด็นคือศาล ได้ชี้ประเด็นตามคำขอของเขมรว่า สมควรให้ชี้ชัดในคำตัดสินถึงพื้นตัวปราสาทว่า ควรมีเท่าใดโดยการปักปันพื้นที่ของเขตแดนนั้นศาลไม่สามารถตัดสินได้ให้ ไปทำการตกลงกันเองแต่ศาลชี้ว่าตัวปราสาทควรมีพื้นที่ ใต้ปราสาทด้วย ให้สามารถมีทางขึ้นตัวปราสาท โดยพื้นที่นั้น ศาลบอกว่ามีขนาดเล็กมากๆ(ป่านนี้คงคำนวนกันได้แล้ว)และไม่ใช้ พื้นที่ 4.6 ให้ไปจัดการกันเอง ไม่ได้กล่าวถึง MOU 43 เลยในคำตัดสินของศาล ซึ่งความหมายก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ MOU 43 ซึ่งเป็นแถลงการร่วม ความเข้าใจในการปักปันเขตแดน แต่อย่างใดถ้าไทยจะเสียพื้นที่นั้น เป็นเพราะ เราแพ้เสียเขาพระวิหาร ตามศาลโลก ตั้งแต่ 2505 และนี่เป็นเพียงข้อกำหนดเพิ่มเติมจาก 2505 เนื่องจากเป็นการขอตีความจากคำตัดสินเดิม ซึ่งศาลไม่มีอำนาจนอกเหนือไปจากคำร้องส่วนที่น่ากลัวจริงๆคือเราไม่จำเป็นต้องทำตามศาลโลก และการเจรจาผลประโยชน์กับเขมรคงต้องเกิดขึ้นแน่นอน ถึงเวลานั้น ที่ควรระวังจริงๆคือ ม.109 ที่แก้ไขแล้ว และอยู่ในมือของ รัฐบาล ตระกูลชิน มากกว่า

ขอบคุณครับ อธิบายได้ชัดเจนดีครับตามความเข้าใจผม กรณีนี้เขมรขอยื่นตีความใหม่ และในเมื่อเขาขอตีความใหม่ เขาก็ต้องแสดงหลักฐานเพิ่มเติมจากเดิมเช่น ที่ทนายเขมรเอาเรื่อง MOU43 มาอ้างอิง และฝ่ายเราก็เอาแผนที่เราไปอ้างอิงต่อสู้กับเขาและในการพิจารณาคดี การที่ศาลเขาตัดสินว่าเรายอมรับแผนที่เขมร ตรงนี้คือประเด็นสำคัญเพราะถ้าศาลเขาพิจารณาจากแค่หลักฐานเดิมทั้งหมด ทำไมถึงตัดสินแบบนี้ ???การที่ศาลอ้างว่าไม่มีอำนาจนอกเหนือไปจากคำร้อง มันหมายถึงว่าเขารับพิจารณาเฉพาะเรื่องเดิมแต่มันไม่ได้หมายความว่า ศาลเขาไม่รับฟังหลักฐานใหม่จากฝ่ายไหน ในการนำมาพิจารณาคดีเดิมไม่ใช่หรือ ?

เท่าที่จำได้นะครับ เขมรเอาแถลงการณ์ร่วมมาอ้างด้วยนะครับ และข้อต่อสู้ของเราคือ เขมรละเมิด MOU 43 และเขมรทำแผนที่ปลอมขึ้นมาครับ
ผมไม่แน่ใจนะครับ
จากที่ฟังสดวันนั้นนะครับ แผนที่ ที่ไทยอ้างนั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้ และแผนที่ ที่กำพูชานำเสนอมานั้นไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ โดยพื้นที่ตามหลักฐานที่ทั้งสองฝั่งนำมาเสนอแทบไม่กล่าวถึงแผนที่ไหนๆเลย เพราะศาล
พยายามหลีกเลี่ยงเรื่องประเด็นพื้นที่ทับซ้อน และไม่ใช้แผนที่ใหม่มาตัดสินเลย ประเด็นเรื่องเขตแดนและแผนที่ ตามหลักฐานใหม่ถูกกล่าวอ้างเพียง แต่การแบ่งเขตแดนกันนั้น ตามหลักควรใช้สันปันน้ำและเป็นเพียงหลักการการเท่านั้น การปักปันเขตแดนเป็นหน้าที่ของ 2 ประเทศ
แต่ในกรณีเป็นการขอตีความ ศาลต้องยืนยันตามคำตัดสินเดิม 2505 เดินโดยดูเพิ่มตามที่ร้องขอ คือ เขมรต้องการรู้ว่า พื้นที่ตัวปราสาท มีเท่าใด ศาลมีความเห็นว่า ตามที่เขมรทำแผนที่มานั้น นำมาใช้อ้างอิงไม่ได้ ดังนั้นศาลจึงขอยึดแผนที่ แนบเดิม 2505 ของ ฝรั่งเศษแล้วตีความจากแผนที่นั้น โดยมีความเห็นว่า ..... (ตามที่ผมโพสไปอันแรก)
 
แต่มีอยู่กรณีหนึ่งที่กล่าวอ้างขึ้นมาคือการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของเขมร  โดยให้ทั้ง 2 ประเทศไปตกลงกันเอง และพยายามรักษษมรดกของโลกไว้
 
คือหลักฐานใหม่ จากทั้ง 2 ฝ่าย ศาลบอกเป้นในๆว่านอกประเด็น ศาลไม่อาจทำนอกจากคำร้องได้ นั่นเอง แต่เขตแดนศาลพูดก็ยังคงคลุมเคลือ งงๆ ให้ต้องไปตกลงกันเองอยุ่ดีๆ

ขอบคุณมากครับ

#104 พอล คุง

พอล คุง

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 11,014 posts

Posted 18 November 2013 - 15:43

 

 

 

ขอแจมหน่อยครับ ในการตัดสินของศาลโลก ผมก็พยายามฟังอยู่นะ ใจความ คือ เขมรยื่นขอตีความ การตัดสินในคดี ในปี 2505 ในเรื่องของเขตแดนของคำตัดสิน เดิม ซึ่งหมายถึงศาล
จะไม่สามารถตีความนอกเหนือจากประเด็นเดิมได้ เรื่องเขตแดน ทับซ้อนศาลไม่สามารถตีความได้ หลังจากที่ฟังศาลชี้แจง แล้วนั้น
ประเด็นคือศาล ได้ชี้ประเด็นตามคำขอของเขมรว่า สมควรให้ชี้ชัดในคำตัดสินถึงพื้นตัวปราสาทว่า ควรมีเท่าใดโดยการปักปันพื้นที่ของเขตแดนนั้นศาลไม่สามารถตัดสินได้ให้ ไปทำการตกลงกันเอง
แต่ศาลชี้ว่าตัวปราสาทควรมีพื้นที่ ใต้ปราสาทด้วย ให้สามารถมีทางขึ้นตัวปราสาท โดยพื้นที่นั้น ศาลบอกว่ามีขนาดเล็กมากๆ(ป่านนี้คงคำนวนกันได้แล้ว)
และไม่ใช้ พื้นที่ 4.6 ให้ไปจัดการกันเอง ไม่ได้กล่าวถึง MOU 43 เลยในคำตัดสินของศาล
ซึ่งความหมายก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ MOU 43 ซึ่งเป็นแถลงการร่วม ความเข้าใจในการปักปันเขตแดน แต่อย่างใด

ถ้าไทยจะเสียพื้นที่นั้น เป็นเพราะ เราแพ้เสียเขาพระวิหาร ตามศาลโลก ตั้งแต่ 2505 และนี่เป็นเพียงข้อกำหนดเพิ่มเติมจาก 2505 เนื่องจากเป็นการขอตีความจากคำตัดสินเดิม ซึ่งศาลไม่มีอำนาจนอกเหนือไปจากคำร้อง
ส่วนที่น่ากลัวจริงๆคือเราไม่จำเป็นต้องทำตามศาลโลก และการเจรจาผลประโยชน์กับเขมรคงต้องเกิดขึ้นแน่นอน ถึงเวลานั้น ที่ควรระวังจริงๆคือ ม.109 ที่แก้ไขแล้ว และอยู่ในมือของ รัฐบาล ตระกูลชิน มากกว่า



ขอบคุณครับ อธิบายได้ชัดเจนดีครับ


ตามความเข้าใจผม กรณีนี้เขมรขอยื่นตีความใหม่ และในเมื่อเขาขอตีความใหม่ เขาก็ต้องแสดงหลักฐานเพิ่มเติมจากเดิม
เช่น ที่ทนายเขมรเอาเรื่อง MOU43 มาอ้างอิง และฝ่ายเราก็เอาแผนที่เราไปอ้างอิงต่อสู้กับเขา


และในการพิจารณาคดี การที่ศาลเขาตัดสินว่าเรายอมรับแผนที่เขมร ตรงนี้คือประเด็นสำคัญ
เพราะถ้าศาลเขาพิจารณาจากแค่หลักฐานเดิมทั้งหมด

ทำไมถึงตัดสินแบบนี้ ???

การที่ศาลอ้างว่าไม่มีอำนาจนอกเหนือไปจากคำร้อง มันหมายถึงว่าเขารับพิจารณาเฉพาะเรื่องเดิม

แต่มันไม่ได้หมายความว่า ศาลเขาไม่รับฟังหลักฐานใหม่จากฝ่ายไหน ในการนำมาพิจารณาคดีเดิมไม่ใช่หรือ ?

เท่าที่จำได้นะครับ เขมรเอาแถลงการณ์ร่วมมาอ้างด้วยนะครับ และข้อต่อสู้ของเราคือ เขมรละเมิด MOU 43 และเขมรทำแผนที่ปลอมขึ้นมาครับ

ผมไม่แน่ใจนะครับ

 

จากที่ฟังสดวันนั้นนะครับ แผนที่ ที่ไทยอ้างนั้นไม่สามารถนำมาใช้ได้ และแผนที่ ที่กำพูชานำเสนอมานั้นไม่สามารถใช้อ้างอิงได้ โดยพื้นที่ตามหลักฐานที่ทั้งสองฝั่งนำมาเสนอแทบไม่กล่าวถึงแผนที่ไหนๆเลย เพราะศาล

พยายามหลีกเลี่ยงเรื่องประเด็นพื้นที่ทับซ้อน และไม่ใช้แผนที่ใหม่มาตัดสินเลย ประเด็นเรื่องเขตแดนและแผนที่ ตามหลักฐานใหม่ถูกกล่าวอ้างเพียง แต่การแบ่งเขตแดนกันนั้น ตามหลักควรใช้สันปันน้ำและเป็นเพียงหลักการการเท่านั้น การปักปันเขตแดนเป็นหน้าที่ของ 2 ประเทศ

แต่ในกรณีเป็นการขอตีความ ศาลต้องยืนยันตามคำตัดสินเดิม 2505 เดินโดยดูเพิ่มตามที่ร้องขอ คือ เขมรต้องการรู้ว่า พื้นที่ตัวปราสาท มีเท่าใด ศาลมีความเห็นว่า ตามที่เขมรทำแผนที่มานั้น นำมาใช้อ้างอิงไม่ได้ ดังนั้นศาลจึงขอยึดแผนที่ แนบเดิม 2505 ของ ฝรั่งเศษแล้วตีความจากแผนที่นั้น โดยมีความเห็นว่า ..... (ตามที่ผมโพสไปอันแรก)

 

แต่มีอยู่กรณีหนึ่งที่กล่าวอ้างขึ้นมาคือการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของเขมร  โดยให้ทั้ง 2 ประเทศไปตกลงกันเอง และพยายามรักษษมรดกของโลกไว้

 

คือหลักฐานใหม่ จากทั้ง 2 ฝ่าย ศาลบอกเป้นในๆว่านอกประเด็น ศาลไม่อาจทำนอกจากคำร้องได้ นั่นเอง แต่เขตแดนศาลพูดก็ยังคงคลุมเคลือ งงๆ ให้ต้องไปตกลงกันเองอยุ่ดีๆ

 

 

พูดง่าย ๆ ไม่ว่าจะดินแดน ไม่ว่าจะปราสาท ให้มาตกลงเอง 

 

ตกลงไม่ได้ก้อรบ กันซะ ศาลจะไม่เข้าไปยุ่ง

 

อืมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมมม

 

ดีเหมือนกัน ง่ายดี


ถึงตรูจะเลวยังไง ตรูก้อไม่ได้ขายชาติ เหมือนเสื้อแดงว่ะ เข้าใจนะ

 


#105 JSN

JSN

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,004 posts

Posted 18 November 2013 - 15:44

ซ้ำครับ

Edited by JSN, 18 November 2013 - 15:46.


#106 PeaceMan

PeaceMan

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 513 posts

Posted 18 November 2013 - 16:41

เรื่องข้อพิพาทบนแผ่นดิน 4.6 ของเรานั้นเป็นเรื่องใหม่เมื่อเขมรพยายามขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียว แต่ดันลากเส้นรวม 4.6 เข้าไปโดยอ้างแผนที่ 1: 200000 ไม่เกี่ยวกับคำพิพากษาปี 2505



พื้นที่ 4.6 ของไทย ถ้าคำตัดสินครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับพื้นที่นี้ แล้วมันจะเสียดินแดนส่วนนี้ได้ยังไง ?
ศาลโลกก็แค่ตัดสินแบบหัวหมอ แต่บทสรุปมันชัดเจนว่าเขาตัดสินให้ไทยยอมรับแผนที่เขมร และเราเสียดินแดนเพิ่ม
นั่นเป็นเพราะสิ่งที่ศาลกระทำในปีนี้ "คือการตีความ" คำตัดสินของปี 2505 ซึ่งวิเคราะห์จากฐานหลักที่ถูกใช้ในการตัดสินไปเเล้วของปีนั้น

( เเละ Annex I ก็คือหนึ่งในสิ่งที่ถูกใช้ไปเเล้วถอนออกมาไม่ได้)...ไม่ใช่หรือครับ...

เเต่ศาลก็ได้กล่าวไปเเล้วว่า Annex I นั้นไม่อาจตอบโจทการหาพื้นที่เขตเเดน(4.6 ตร กม)ได้...ต้องให้คู่กรณีไปเจรจากันเอง

Edited by PeaceMan, 18 November 2013 - 16:42.


#107 silence

silence

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 641 posts

Posted 18 November 2013 - 18:27

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตทนายความผู้ทำคดีเขาวิหาร ปี 2502 ให้สัมภาษณ์ผ่านทางเอเอสทีวี หลังศาลโลกตัดสินคดีพระวิหารตอนหนึ่งว่า ศาลโลกไม่มีหน้าที่แบ่งแผ่นดินของประเทศใดให้อีกประเทศหนึ่ง นอกจากเราจะยกให้เขาเอง โดยการใช้ศาลเป็นเครื่องมือ แปลเอาเองว่าศาลเขาให้ยกให้ ทั้งที่ศาลเขาไม่ได้บอกเลย ขอบเขตที่ศาลตีความตนไม่เคยถือว่าไทยเสียดินแดน นอกจากเราจะโมเมหรือใจดีหาเรื่องจะยกที่ดินให้เขมรแล้วก็ไปโทษว่าเป็นความผิดของศาล

“จะให้ศาลโลกแปลคำตีความคดีปราสาทพระวิหารกี่ครั้ง ศาลก็ยังไม่กล้าบอกว่าเขตแดนอยู่ตรงไหน เขาเพียงบอกว่าพื้นที่ปราศาลเขาวิหารเล็กนิดเดียว แล้วเราใจดีใจบุญตีความไปไกลถึงพื้นที่ 4.6 ตร.กม.เลยหรือ กระทรวงการต่างประเทศต้องพยายามเรียนรู้กฎหมายระหว่างประเทศ อนุสัญญา สนธิสัญญาหรือคำพิพากษาก็มีแล้ว ทำไมต้องไปอ่านให้เราเสียเปรียบในเมื่อมันไม่ใช่อย่างนั้น เราเถียงศาลมาตลอดอยู่แล้วว่าตัดสินในคดีเดิม ดินแดนเป็นปวงชนชาวไทยบรรพบุรุษรักษามา ไม่ใช่ของรัฐบาล ช่วยกันรักษาหน่อย”

ดร.สมปองกล่าวต่อว่า ส่วนที่ศาลใช้คำว่าบริเวณใกล้เคียง ศาลยังไม่ได้บอกเลยว่าใกล้เคียงในเขตใคร เพราะศาลไม่ได้พูดถึงเรื่องเขตแดน แม้แต่การออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวที่ให้ทั้งสองฝ่ายถอนกำลังทหาร ตนมองว่าเป็นเพียงหน้าที่เพื่อไม่ให้ทั้งสองประเทศปะทะกัน แต่ไม่ใช่หน้าที่หลัก หน้าที่หลักเป็นของคณะมนตรีความมั่นคง

ดร.สมปองกล่าวว่า ท่าทีของไทยที่ควรทำต่อจากนี้ ไทยควรรักษาอำนาจอธิปไตยไว้ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ไปยกดินแดนให้เขา เมื่อไรเราจะศึกษากฎหมายให้รู้แจ้งเสียที จะได้ไม่ต้องทุกข์ร้อนในเรื่องไม่เป็นเรื่อง ไปเจรจากับเขาได้เต็มภาคภูมิเสียที

ส่วนประเด็นกัมพูชาสร้างถนนรุกล้ำฝั่งไทยบริเวณบ้านโกมุย ปัญหาคือ ทำไมตอนที่เขมรสร้างเราถึงไม่มีปาก กรณีนี้ถือว่าเป็นการสั่งสอน หากเราไม่รู้เส้นเขตแดนของเรามันก็ต้องเสียดินแดนให้เขาครอบครองปรปักอย่างไม่มีกำหนด ดังนั้น เราควรสอนให้เจ้าหน้าที่ของเรารู้ว่าเส้นเขตแดนอยู่ตรงไหน อย่างไรก็ดี ตนไม่ได้เป็นห่วงว่าเราจะเสียดินแดน เพราะไม่เชื่อว่าทหารไทยจะยอมยกดินแดนให้เขมร

 

คุณ JSN สรุปให้เข้าใจได้ง่ายดีค่ะ

 

ตามความเข้าใจคือ ถ้าเรายืนยันไม่ถอยแม้แต่ตารางนิ้ว ก็ไม่มีใครทำอะไรได้ เจรจาไปสิ กี่รอบก็ได้ แต่ไม่ถอนรั้วขยับเพิ่มแล้ว  จบค่ะ

 

 

ดังนั้น ตามที่ฝ่ายแป๊ะออกมาโวยวายว่า เสียแน่นอนๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ คือ ตั้งท่าตีความคำตัดสินของศาล แล้วก็ซื่อ(บื้อ) คิดว่าไปเจรจากับเขมรแล้วต้องรีบยกที่ถอยรั้วออกมาทันทีทันใด

 

หวังว่าคราวนี้ รบ.คงไม่บ้าจี้ ทำเป็นหน่อมแน้มว่าต้องทำตาม ...  บลาๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ  นะคะ


10403293_1426562117609834_23021669286491
 

 


#108 JSN

JSN

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,004 posts

Posted 18 November 2013 - 19:51


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตทนายความผู้ทำคดีเขาวิหาร ปี 2502 ให้สัมภาษณ์ผ่านทางเอเอสทีวี หลังศาลโลกตัดสินคดีพระวิหารตอนหนึ่งว่า ศาลโลกไม่มีหน้าที่แบ่งแผ่นดินของประเทศใดให้อีกประเทศหนึ่ง นอกจากเราจะยกให้เขาเอง โดยการใช้ศาลเป็นเครื่องมือ แปลเอาเองว่าศาลเขาให้ยกให้ ทั้งที่ศาลเขาไม่ได้บอกเลย ขอบเขตที่ศาลตีความตนไม่เคยถือว่าไทยเสียดินแดน นอกจากเราจะโมเมหรือใจดีหาเรื่องจะยกที่ดินให้เขมรแล้วก็ไปโทษว่าเป็นความผิดของศาล

“จะให้ศาลโลกแปลคำตีความคดีปราสาทพระวิหารกี่ครั้ง ศาลก็ยังไม่กล้าบอกว่าเขตแดนอยู่ตรงไหน เขาเพียงบอกว่าพื้นที่ปราศาลเขาวิหารเล็กนิดเดียว แล้วเราใจดีใจบุญตีความไปไกลถึงพื้นที่ 4.6 ตร.กม.เลยหรือ กระทรวงการต่างประเทศต้องพยายามเรียนรู้กฎหมายระหว่างประเทศ อนุสัญญา สนธิสัญญาหรือคำพิพากษาก็มีแล้ว ทำไมต้องไปอ่านให้เราเสียเปรียบในเมื่อมันไม่ใช่อย่างนั้น เราเถียงศาลมาตลอดอยู่แล้วว่าตัดสินในคดีเดิม ดินแดนเป็นปวงชนชาวไทยบรรพบุรุษรักษามา ไม่ใช่ของรัฐบาล ช่วยกันรักษาหน่อย”

ดร.สมปองกล่าวต่อว่า ส่วนที่ศาลใช้คำว่าบริเวณใกล้เคียง ศาลยังไม่ได้บอกเลยว่าใกล้เคียงในเขตใคร เพราะศาลไม่ได้พูดถึงเรื่องเขตแดน แม้แต่การออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวที่ให้ทั้งสองฝ่ายถอนกำลังทหาร ตนมองว่าเป็นเพียงหน้าที่เพื่อไม่ให้ทั้งสองประเทศปะทะกัน แต่ไม่ใช่หน้าที่หลัก หน้าที่หลักเป็นของคณะมนตรีความมั่นคง

ดร.สมปองกล่าวว่า ท่าทีของไทยที่ควรทำต่อจากนี้ ไทยควรรักษาอำนาจอธิปไตยไว้ ไม่ใช่อยู่ดีๆ ไปยกดินแดนให้เขา เมื่อไรเราจะศึกษากฎหมายให้รู้แจ้งเสียที จะได้ไม่ต้องทุกข์ร้อนในเรื่องไม่เป็นเรื่อง ไปเจรจากับเขาได้เต็มภาคภูมิเสียที

ส่วนประเด็นกัมพูชาสร้างถนนรุกล้ำฝั่งไทยบริเวณบ้านโกมุย ปัญหาคือ ทำไมตอนที่เขมรสร้างเราถึงไม่มีปาก กรณีนี้ถือว่าเป็นการสั่งสอน หากเราไม่รู้เส้นเขตแดนของเรามันก็ต้องเสียดินแดนให้เขาครอบครองปรปักอย่างไม่มีกำหนด ดังนั้น เราควรสอนให้เจ้าหน้าที่ของเรารู้ว่าเส้นเขตแดนอยู่ตรงไหน อย่างไรก็ดี ตนไม่ได้เป็นห่วงว่าเราจะเสียดินแดน เพราะไม่เชื่อว่าทหารไทยจะยอมยกดินแดนให้เขมร

คุณ JSN สรุปให้เข้าใจได้ง่ายดีค่ะ

ตามความเข้าใจคือ ถ้าเรายืนยันไม่ถอยแม้แต่ตารางนิ้ว ก็ไม่มีใครทำอะไรได้ เจรจาไปสิ กี่รอบก็ได้ แต่ไม่ถอนรั้วขยับเพิ่มแล้ว จบค่ะ


ดังนั้น ตามที่ฝ่ายแป๊ะออกมาโวยวายว่า เสียแน่นอนๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ คือ ตั้งท่าตีความคำตัดสินของศาล แล้วก็ซื่อ(บื้อ) คิดว่าไปเจรจากับเขมรแล้วต้องรีบยกที่ถอยรั้วออกมาทันทีทันใด

หวังว่าคราวนี้ รบ.คงไม่บ้าจี้ ทำเป็นหน่อมแน้มว่าต้องทำตาม ... บลาๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ นะคะ
ขอโทษครับ คือผม เอามาจากลิ้งค์ข่าวคำสัมภาษน์ของดร.สมปองครับ

อันนี้ผมลืมเอาลิ้งค์มาลงครับ ผมนี่แย่จริงๆ

http://www.manager.c...mmentReferNo=26

นี่ครับ แก้ไขแล้วครับ

ต้องขอบคุณ คุณกชกรครับ

Edited by JSN, 18 November 2013 - 20:02.





1 user(s) are reading this topic

0 members, 1 guests, 0 anonymous users