ก็ไม่หยั่งไงหรอกครับ
เมื่อมีการเลือกตั้ง ถึงแม้จะไม่สมบูรณ์ 100 เปอร์เซนต์ เพราะมีการขัดขวาง
แต่มันก็แสดงให้เห็นว่ายังมีคนอีกจำนวนมาก ต้องการเห็นขบวนการประชาธิปไตย
ที่ถูกต้องตามระบอบการปกครอง ยึดหลัก รธน เป็นกฎหมายสุงสุด มันเดินต่อไปโดยไม่ขาดช่วง
แบบที่คนกลุ่มหนึ่งที่เรียกตัวเองว่า กปปส. อยากให้เป็น ส่วนปัญหาที่ยังมีอยู่
ก็ต้องแก้กันไปตามกระบวนการทางกฎหมาย
สมมุติว่าคุณโดน ตร.ยัดยาบ้า โดยที่คุณไม่ได้ทำผิดเลย คุณก็ต้องไม่ยอมรับเช่นกัน
แล้วคุณก็ต้องไปต่อสู้ที่ศาลถูกไหม
กรณีนี้ก็เช่นกัน ถ้ามีศาลมายัดความผิดให้ โดยที่เขาคิดว่าไม่ได้ทำผิด เขาก็ต้องไม่ยอมรับและต้องต่อสู้
แต่เป็นการต่อสู้โดยการเอาข้อเท็จจริงมาฟ้องประชาชน ว่าที่ถูกต้องมันคืออะไร
ไม่เห็นด้วยได้ แต่ไม่ยอมรับอำนาจศาล ไม่ได้
ผู้ร้ายคนเดียว หนีคดี ประเทศไทยยังคงอยู่
แต่สภาไม่ยอมรับอำนาจศาล ประเทศอาจจะไปไม่รอดนะครับ
ต้องเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า คำว่าศาล ผมหมายถึงศาล รธน. ที่เป็นองค์กรอิสระ
ที่เกิดขึ้นตาม รธน. ไม่ใช่ ศาล สถิตยุติธรรม ที่เป็นหนึ่งในสามอำนาจหลัก
ที่นี้เราต้องมาดูข้อเท็จจริงกันครับว่า การที่ สภาฯ ปฎิเสธอำนาจศาล นั้น แทนที่เราจะรีบกล่าวหา
เราก็ต้องมาดูด้วยว่าศาลเข้ามาก้าวข่ายอำนาจ ของ สภาฯ ทั้งๆที่ไม่มีอำนาจหรือเปล่า อะไรคือข้อเท็จจริงที่จะ
พิสูจน์ตรงนั้น มันคือข้อความที่บัญญัติตาม รธน.ไงครับ เพราะว่าทั้ง สภาฯและ ศาลก็ต้องอยู่
ภายใต้ข้อบัญญัติของ รธน.เช่นกัน ถ้าเราเปิดใจให้กว้างเป็นกลางไม่อคติ ไม่ต้องเป็นนักกฎหมาย
ก็น่าจะพอจะตัดสินได้เองนะผมว่า ข้อมูลจากทั้งสองฝ่ายมีเยอะ
ผมขอให้พวกเราให้ความสำคัญเรื่องศาลที่เป็นอำนาจของพวกเราเองอีกครั้งครับ
1. ถึงแม้ศาล รธน. จะเป็นองค์กรอิสระ แต่ก็มาตามรัฐธรรมนูญที่พวกเราร่วมกันลงประชามตินะครับ
2. ถึงแม้รัฐธรรมนูญ 2550 จะถูกครหาเรื่องที่มาก แต่อย่าลืมครับว่ามันได้ผ่านการลงประชามติ แล้วควรจะมีใครกล้าฝืนไหม๊ครับ ลองตั้งสติกันให้ดีๆ อย่าเบี่ยงเบนไปตามกลุ่มที่เสียผลประโยชน์ที่พวกเรารัก
3. การลงประชามติคือกระบวนการที่ศักดิ์สิทธิที่สุดแล้วในการส่งผ่านอำนาจอธิปไตยของพวกเรา
4. ดังนั้นคำตัดสินของศาล รธน. พวกเราควรจะปกป้องไหม๊ครับ?
5. มาดูรัฐสภา ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายค้าน และ รัฐบาล ซึ่งก็มาจากพวกเรา ถ้าเปรียบประชาชนเป็นผู้ให้กำเนิด ฝ่ายค้าน และรัฐบาล ก็เปรียบเสมือนลูกๆ 2 คนของพวกเรา และศาล รธน อาจจะเปรียบเสมือนครูที่เราจ้างมาที่เราให้ความเชื่อถือว่ามีความรู้เฉพาะเรื่องที่สอนดีที่สุด
6. เมื่อลูกๆ ของเราเกิดความเห็นแย้งกันในวิชาที่ที่สอน แล้วทะเลาะกัน แล้วจะให้ใครตัดสินครับ ถ้าไม่ใช่ครูที่เราจ้างมา
7. เมื่อครูตัดสินแล้ว และการตัดสินของครูก็ต้องมีเหตุผล ครูต้องอธิบายเนื้อหาในวิชานั้นด้วย แล้วเราควรจะเชื่อครูไหม๊ครับ? เราควรจะเชื่อลูกที่ถูกลงโทษแล้วอ้างเหตุสารพัดมาเบี่ยงเบนไหม๊ครับ เราควรจะเชื่อใครเพื่อความถูกต้องตามครรลองในระบอบประชาธิปไตย?
8. ศาล รธน. ก็เป็นอำนาจอธิปไตยของพวกเราที่ให้ผ่านการทำประชามติผ่านทางรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อย่าลืมสิครับ เขาไม่ได้เอาอำนาจของพวกเราไปไหน มีแต่การใช้อำนาจแทนเราจัดการในสิ่งทีพวกเขาเห็นว่าถูกต้องตามตัวบทกฏหมายที่พวกเขาชำนาญที่เราต้องให้ความไว้วางใจครับ
...ประเด็นเรื่องนี้ ผมก็เห็นว่าศาลก็ให้เหตุผลเกี่ยวกับว่ามีอำนาจหรือไม่ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแล้ว ลองพิจารณาด้วยความเป็นกลางจริงๆ อีกครั้งนะครับ