ถ้ามองสิ่งที่เขาต้องการสื่ออย่างเดียว ก็คงไม่คิดไปถึงขนาดนั้น
งานการแสดงมันต้องแสดงออกเกินจริงอยู่แล้ว
เหมือนละครที่นางอิจฉาทำหน้ายิ้มเยาะสะใจหรือเคียดแค้น
แล้วก็พูดกับตัวเองเสียงดังๆ ไม่ได้หมายความว่าเรื่องจริงจะมีคนอย่างนั้นจริงๆ
แต่ต้องแสดงออกไปหน้ากล้องอย่างงั้น ไม่งั้นคนดูคงไม่เข้าใจ
เด็กเลือกพ่อแม่ไม่ได้ก็ถูกส่วนหนึ่ง แต่ก็เพราะเลือกไม่ได้นั่นแหละ
ถึงต้องจำใจรับการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่คนนั้นคนเดียว
ถามว่าในความเป็นจริงมันจะมีไปชี้หน้าด่ากันขนาดนั้นไหมก็คงไม่มี
แต่ในความเป็นจริงอีกนั่นแหละ ย่อมไม่มีใครอยากให้ลูกตัวเองไปสุงสิงกับลูกคนโกง
เพราะเด็กต่อไปก็ต้องโตเป็นผู้ใหญ่ ลูกคนโกงก็ได้รับการอบรมสั่งสอนจากคนโกง
ใครจะอยากให้ลูกไปเสี่ยงครับ เกิดโตขึ้นมันเป็นเพื่อนซี้กันพากันไปขายชาติจะทำอย่างไร
ปากก็ว่าเด็กไม่เกี่ยว แต่เอาเข้าจริงถ้าใครมีลูก ผมว่าก็คงไม่ให้ลูกไปสนิทสนมกับครอบครัวคนโกงเด็ดขาด
ไม่ว่าจะสนิทกับพ่อแม่หรือลูกก็ตาม
ส่วนใหญ่นักดูละครต้องการอย่างนั้น....!
ส่วนใหญ่ต้องการรู้ว่าจบอย่างแฮบปี้เอนดิ้งต้องนอนบนเตียงวันวิวาห์....
แม้ว่าฉากนั้นอาจจะเป็นฉากเริ่มต้นของอีกตอนหนึ่ง....
เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก
แต่น้ำผักต้มขมชมว่าหวาน
ครั้นจืดจางห่างเหินไปเนิ่นนาน
แต่น้ำตาลก็ว่าเปรี้ยวไม่เหลียวแล
ขโมยจากสุนทรภู่ ?