ผมว่าต่อไปผู้ผลิตคงจะต้องมีอุปกรณ์บางอย่างที่ไม่สามารถปิดได้ และส่งสัญญาณตลอดเวลาที่เครื่องยนต์ติดอยู่ เอาไว้ที่ปลายปีกไปเลย ส่งสัญญาณในหลายความถี่เพื่อป้องกันการแจม ต่อให้เครื่องแตกออกเป็นเสียงระบบก็ยังทำงานอยู่ ถ้ามีการพยายามปิดระบบเซฟตี้จะเปิดออโต้ไพล็อตทันทีและบังคับเครื่องลงในสนามบินที่ใกล้ที่สุด ผมคิดว่าระบบนี้ไม่ยากเกินกว่าในระดับวิศวกรรมปัจุบันจะทำได้
ถ้าเอาเครื่องบินไปทิ่งทะเลจริงๆ เหล็กเป็นตันๆ ยังไงก็ต้องหาเจอ เรดาห์ตรวจจับไม่ได้แสดงว่าอยู่นอกเหนือพื้นที่ความมั่นคง จึงไม่มีเรือรบคอยลาดตระเวน บางทีทีมค้นหาคงต้องลองค้นหานอกน่านน้ำในทะเลเปิดดูบ้าง ในพื้นที่ๆ ไม่มีการลาดตระเวณของเครื่องบิน และเรือรบ พื้นที่นั้นน่าสงสัย
ผมก็เคยคิดเรื่องทำนองนี้เหมือนกันครับ แต่มองในแง่ของการบันทึกการบินแบบ real time ถ้าเรามี internet ความเร็วสูง และส่งสัญญาณให้กับดาวเทียมอย่างสม่ำเสมอ ผมคิดว่าเราสามารถบันทึกข้อมูลการบินเอาไว้ใน server โดยไม่ต้องใช้กล่องดำเป็นหลักอีกต่อไป แล้วเราจะสามารถทราบข้อมูลเกี่ยวกับการบินได้ทันที โดยไม่ต้องรอหาซากเครื่องเลย
ส่วนเรื่องบังคับเปิดระบบออโต้ไพล็อต ผมว่าอย่างไรเสีย การบังคับด้วยมือแบบ manual ของนักบินนั้นยังจำเป็นอยู่นะครับ ถ้ามีเหตุฉุกเฉิน บางครั้งการตัดสินใจของ computer มันก็สู้คนไม่ได้หรอกครับ เคยได้ข่าวเรื่อง ปาฏิหารที่แม่น้ำฮัดสัน มั้ยครับ นักบินสามารถแก้สถานการณ์หลังจากชนกับนกแล้วเครื่องดับ ทั้งที่กำลังขึ้นบินได้ไม่นาน แต่สามารถทำให้ทุกคนรอดชีวิตได้ โดยการร่อนลงกลางแม่น้ำฮัดสันในนิวยอร์ค ผมไม่เชื่อว่ามีระบบออโต้ไพล็อตไหน ที่ตัดสินใจได้กล้าหาญเช่นนี้หรอกครับ
ถูกต้องที่สุดค่ะ การบังคับด้วยมือยังคงจำเป็นเสมอ
โดยเฉพาะในสถานการณ์คับขัน
แต่น่าเสียดายนักบินสมัยนี้กลับพึ่งพา computer ซะมาก
ทำให้ขาดทักษะด้านนี้ไป
เคยคุยกับนักบินรุ่นเก่าเค้าก็ห่วงเรื่องนี้
เข้าใจอะไรผิดแล้วครับ
ออโต้ไพล็อต ไม่ได้มาตัดสินใจแทนนักบิน การตัดสินใจว่าจะไปซ๊ายหรือขวา ไต่ขึ้นหรือลดระดับ นักบินเป็นคนตัดสินใจเหมือนเดิม ไม่ใช่ว่าเกิดเหตุฉุกเฉินแล้ว ต้องปลดบังคับด้วยมือทุกครั้งไป เหตุฉุกเฉินในบางลักษณะ การเลือกใช้ออโต้ไฟล็อตดีกว่าบังคับมือเสียด้วยซํ้า
ก็ไม่ทราบเหมือนกันนะคะเพราะไม่ใช่นักบิน
แต่คนที่คุยด้วยเค้าเป็นนักบิน เป็นครูสอนมาบ่น ๆ ให้ฟัง(ดิฉันขอเป็นนักฟังที่ดี ผิดพลาดยังไงก็ขออภัยด้วย)
ไว้จะลองถามละเอียด ๆ ให้นะคะ