ตีเหล็กต้องตีตอนนี้หละ ตีตอนร้อน ๆๆๆ
ด้วยระบบภาษีปัจจุบันนั้น ล้าหลัง ขาดความเป็นธรรมกับมนุษย์เงินเดือนอย่างมากคนกินเงินเดือนหักค่าใช้จ่ายได้น้อย และต้องเสียภาษีเต็มที่ แต่ผู้ประกอบการหลายรายสามารถเลี่ยงภาษีได้เพราะเงินได้ไม่อยู่ในข่ายต้องหัก ณ ที่จ่าย ทำให้แจ้งเงินได้ไม่ครบ หรือเลี่ยงภาษีได้กรรมจึงตกกับชนชั้นกลางที่ต้องเสียเต็ม ๆ อีกทั้ง ระบบภาษีไม่สอดคล้องกับภาวะค่าครองชีพและเศรษฐกิจในขณะปัจจุบันด้วยเช่น1.หักค่าใช้จ่ายรายปีได้ไม่เกิน 60000 บาทไม่ว่าจะหามาได้เท่าไหร่ กรมสรรพากรให้ใช้ได้เท่านี้และใช้อัตรานี้มาเกิน 20 ปีแล้ว ปัจจุบันควรเพิ่มค่าใช้จ่ายส่วนนี้ตามรายได้ที่เขาหามาได้ และจำกัดเพดานให้สูงขึ้นเช่น 300,000 บาทต่อปี2.ค่าเลี้ยงดูบุตร ก็เช่นกัน ให้เลี้ยงได้แค่ 17000 บาท/ปีใช้ตัวเลขนี้มา 20 ปีแล้วเช่นกัน เอาปีละ 50000 บาทก็ยังดี3.ค่าเลี้ยงดูบุพพการี ให้ได้แค่ 30000 บาท/ปี ทั้งที่คนอายุมากมีโรคภัยไข้เจ็บตั้งเยอะแยะ เอาปีละ 60000 บาท4.ค่าเลี้ยงดูภรรยา อันนี้ควรปรับเลย อันนี้ตัวกินเงินเลยเอาไปเลยปีละ 100000 กรณีที่ไม่มีรายได้ แต่ถ้ามีรายได้ ไม่ให้เอามาหัก5.ค่าเล่าเรียน รัฐพยายามบอกว่าปัจจุบันการเรียนมันฟรี ถ้ามั่นใจเช่นนั้นอย่าให้มีการหักลดภาษีส่วนนี้เลย แต่ในความเป็นจริง ทุกโรงเรียนหาช่องว่างในการเก็บเงินจากผู้ปกครองเทอมนึงร่วมหมื่นถึงหลานหมื่นรัฐควรเข้าไปจัดการว่าจะเอายังไงกับระบบการศึกษา
โดนใจ ใช่เลยครับ ขอแถมไว้ตรงนี้ด้วย
ข้อ 1. หักค่าใช้จ่ายไม่เกิน 60,000 บาท (เท่ากับใช้เดือนละไม่เกิน 5,000 บาท!) นี่ใช้กันมานานจริงๆ ถ้าจะเพิ่มให้เป็น 120,000 บาท ก็เพิ่มไปเลย ไม่ต้องมาใช้ใบกำกับภาษี เงิน 120,000 บาท นี่ ถ้าคิดร้อยละ 40 ของเงินได้พึงประเมิน ก็เท่ากับมีเงินได้ฯ ปีละ 300,000 บาท หรือเดือนละ 25,000 บาทเท่านั้น
ข้อ 4. สรรพากรบังคับให้ผู้หญิงไทยที่มีลูกมีผัวต้องออกไปทำงานครับ ถ้าอยู่บ้านเป็นแม่บ้าน หักค่าใช้จ่ายไม่ได้ สามีจะหักลดหย่อนได้อีก 30,000 บาท หรือตกเดือนละ 2,500 บาทเท่านั้น
เรื่อง LTF & RMF มนุษย์เงินเดือนไม่ได้มี providence fund กันทุกคนนะครับ หลายๆ คนที่ซื้อกองทุนพวกนี้ ได้ประโยชน์จากการออมเงินด้วย ผมว่ายังไม่ควรเลิก แถมยังน่าจะส่งเสริมให้คนออมเงินไว้สำหรับชีวิตหลังเกษียณให้มากขึ้นด้วย