เมื่อกี้ไปถามที่กระทู้อีกกระทู้ที่คุยเรื่องนี้ เลยขอยกมาที่นี่ด้วย เผื่อใครที่ตามข้อมูลอยู่มีข้อมูลมาแลกเปลี่ยนจะได้คุยกันครับ
ผมมีคำถามนิดเดียว ที่ยังหาหลักฐานมาตอบข้อสงสัยผมไม่ได้ (timeline เป็นแบบย้อนเวลาจากผลไปสู่เหตุนะครับ)
1. การก่อสร้างระยะเวลานาน ต้องมีการเบิกจ่ายเงินเป็นงวดๆ
2. จากป้ายประกาศซึ่ง กำหนดการก่อสร้าง เริ่ม 14 ม.ค. 55 ถึง 7 เม.ย. 56 ดังนั้นเดาได้เลยว่าในปีงบ 55 ต้องมีการเบิกจ่ายหลายงวดซึ่งเกิน 1 ล้านบาทแน่นอน
3. แล้วทำไมในเมื่อ กทม. ได้งบมาแค่ 1 ล้านในปีงบ 55 จึงกล้าทำสัญญาก่อสร้างที่ต้องจ่ายเงินเกิน 1 ล้านบาทได้
และ ทำไมตอนนั้น(และจนถึงตอนนี้) ไม่มีการโวยวายจาก กทม. เลย
ผมกำลังคิดถึงประเด็นความเป็นไปได้ที่ทำให้ กทม. กล้าเซ็นสัญญา 2 ประเด็น คือ การโยกงบประมาณ กับ การใช้งบนอก แต่ยังหาหลักฐานรองรับไม่ได้ครับ
การทำงานก่อสร้าง ก่อนจะมีแผนการก่อสร้างหลักหรือ masterplan ออกมา มันต้องมีการทำ cash flow เพื่อพล้อต s-curve แล้วถึงเอาตรงนี้มาเป็นข้อมูลในการทำแผนหลัก
เพราะผู้รับเหมาเอง ด้วยขั้นตอนเบิกจ่ายของราชการที่ช้า จำเป็นต้องใช้บริการ factoring จากธนาคาร หรือการขายบิลนั่นแหละ
จึงต้องมีแผน s-curve ออกมาประกอบการพิจ่ารณาของธนาคารด้วย ซึ่งแผนประกอบดังกล่าว ต้องได้รับการรับรองจากผู้ว่าจ้างว่าถูกต้อง
เพราะงั้น ข้ออ้าง ไม่มีงบให้เบิก ผู้รับเหมาทำงานไม่ได้ ไม่มี
ส่วนกรณีเงินรัฐบาลให้เบิก 1 ล้าน ไร้สาระมาก
ระเบียบการว่าจ้างระหว่างภาครัฐกับเอกชนของกรมบัญชีกลาง เค้าระบุชัดเจนอยุ่แล้วว่า วงเงินโครงการต้องโดนจัดตั้ง 100% ถึงจะสามารถทำสัญญากับเอกชนได้
กรณีเดียว ที่รัฐบาล หรือกรมบัญชีกลางให้เบิกไม่ครบจำนวน หรือ 1 ล้าน มันเกิดได้กรณีเดียวคือ
งาน ไม่เรียบร้อยตามงวดเบิก
ยกตัวอย่าง โดยปกติแผนงานก่อสร้าง เมื่อทำ cash flow แล้วจะซอยย่อยงวดเบิกออกไป ตามมูลค่าผลงานที่ทำ
ตอกเสาเข็ม เบิกได้ สิบล้าน / ทำ footing ขึ้นฐานรากเบิกได้อีก 5 ล้าน ประมาณนี้
ถ้าบัญชีกลางอนุมัติ งวดเบิกไม่ครบตามจำนวน แปลว่า progress งานไม่ได้ตามสัญญา
มันไม่มีหรอกครับ ไอ้ประเภท ของบปี 54 สร้างได้ครึ่งตึก ปี 55 ของบสร้างอีกครั้งตึก
ภาครัฐมีระเบียบปฏิบัติอยู่แล้ว คือ บัญชีกลางจะต้องถือเงิน 100% ไว้ กทม ถึงจะสามารถไปทำสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาได้ แต่จะให้เบิกรึเปล่า มันมีระเบียบ และสัญญาว่าจ้างคุมอยู่
ถ้าคุณทำได้ตามสัญญา แล้วรัฐไม่ให้เบิก ก็ฟ้องได้เลยครับ
คำถาม
1. ในเมื่อทราบอยู่แล้วว่าการแข่งมีในเดือนพฤศจิกายน ใครหน้าไหนมันไปอนุมัติแผนงานก่อสร้าง ให้แล้วเสร็จเดือนเมษายน ปี 56 ??????
ไม่ต้องบอกว่า ขอขยายกรอบนะครับ เพราะ นี่คือกำหนดแผนหลัก ที่ต้องแนบท้ายสัญญาว่าจ้าง ที่ กทม. ลงนามกับคู่สัญญา
ส่วนตัวนะครับ ในฐานะที่ทำงานในวงการก่อสร้างกับภาครัฐมา
ข้ออ้างที่ผู้รับผิดชอบออกมาบอกประชาชนแต่ละข้อ ไร้สาระ และดูถูกภูมิปัญญาคนฟังมาก
ผมจะโอเคเลยนะครับ ถ้าตั้งแต่แรกท่านผู้ว่า หรือ กทม ออกมายอมรับว่า งานก่อสร้างล่าช้ามีอุปสรรค์ เสร็จไม่ทันตามกำหนด
มันคือเรื่องปกติ
แต่ไอ้การขายฝันว่าเสร็จแน่ ทั้งๆที่มันยังไม่เสร็จ พอถึงเวลาก็ออกมาอ้างสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ทราบ หรือไม่เข้าใจข้อเท็จจริง มันน่าเกลียดมาก
โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ เพราะหลักการก็คือ ครม.อนุมัติงบก่อสร้างดังกล่าวไปตั้งแต่ ปี54 ปีงบประมาณ 55 แล้ว
งบเมื่ออนุมัติผ่าน ครม. แล้วเป็นสิทธิขาดของบัญชีกลางที่จะให้เบิกไม่ให้เบิก ตามสัญญาว่าจ้างเท่านั้น
แต่ถ้าเป็นงบนอกเหนือสัญญา เช่น งานเพิ่ม-ลด
แล้ว กทม ไปตกลงกับคู่สัญญาให้ทำงานเพิ่ม-ลด ทั้งๆที่ ครม ไม่อนุมัติ - กทม ต้องหาเงินมาจ่ายเอง
นี่คือหลักการข้อเท็จจริง