Jump to content


Victor

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 12 กรกฎาคม 2556
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 13 กรกฎาคม 2556 18:10
-----

#779400 ไม่ต้องถามแล้วนะครับ ว่ากำลังรบกับใคร

โดย Victor on 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 16:19

ข้อมูลท้ายๆของวิกิ เป็นข้อมูลที่รวบรวมไว้ โดยยึดเนื้อหาเก่า ซึ่งระบุปีชัดเจนครับ

อันพอจะอนุมานในความขัดแย้งทางสังคมขณะนั้นในอีกรูปแบบหนึ่ง

 

แต่พฤติกรรม และการก่อการร้ายของโจรในพื้นที่ในห้วงปัจจุบัน มีบางอย่างที่ขัดแย้งกัน

กับข้อมูลในอดีตของวิกิอยู่ โดยดูจากองค์กรที่เรียกตัวเองว่า บีอาร์เอ็น ในมาเลย์เซีย และ

โจรที่ปฎิบัติการจริงในพื้นที่ การใช้สรรพนามเรียกพี่น้องไทยมุสลิมในพื้นที่ว่า

เป็นมาเลย์มุสลิม 

ทำให้ผมพอประเมินข้อมูลบนความรู้สึก และความเข้าใจ ของแหล่งที่มาในวิกิได้ 

มันไม่ได้ต่างอะไรกับการที่โจรใต้เรียกประเทศไทยว่า รัฐไทย 

 

อยากให้ใช้สรรพนามกันให้ถูกต้องครับ ประเทศไทย ไม่ใช่รัฐไทย มุสลิมไทย ไม่ใช่ มาเลย์มุสลิม

อ่าครับ ผมเป็นคนเหนือ อยากรู้เกี่ยวกับภาคใต้ของไทยที่มีปัญหาความขัดแย้งก็หาอ่านเอาตามเว็บแต่ก็ไม่เข้าใจจริงๆสักที ว่าปัญหาเกิดจากอะไร อ่านWIKIPEDIA น่าสนใจดีน่าครับ ก็ขอขอบคุณ คุณ kaidum มากครับที่ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาความขัดแย้งของ3จังหวัดชายแดนภาคใต้ครับ




#779342 สหรัฐฯส่อแบนเลือกตั้งเขมร

โดย Victor on 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 15:06

เอเซียเริ่มมีความสำคัญและเป็นเป้าหมายของมหาอำนาจอย่างเมกา ในการเข้ามาลงทุน ค้าขายเพราะมีทรัพยากรเพียงพอต่อความต้องการ มีแรงงานคน มีทักษะ มีพื้นที่ในการตั้งฐานผลิต แต่ยังไงก็ตามเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังขาดผู้มีความรู้ความชำนาญ เทคโนโลยีต่างๆ จึงมีชาติมหาอำนาจคอยควบคุม และเป็นผู้นำ การเข้ามามีบทบาทของเมกาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงมีมา เพราะพื่นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในด้านทรัพยากรต่างๆ นั้นน่าสนใจ

 

จริงๆเมกามีบทบาทมากในไทย สังเกตสื่อและโฆษณาต่างๆ มีนโยบายครอบครองการตลาดและครอบงำความคิดของประชาชนในประเทศโดยใช้กฏระเบียบโลกใหม่และลัทธิการค้าเสรีเป็นเครื่องมือในการบุกรุกตลาดการค้า ใช้ระบบอเมริกันนิยม สร้างผู้นำทางความคิดแบบอเมริกันผ่านสื่อ วัฒนธรรม และการศึกษาเป็นเครื่องมือในการครอบงำความคิดของประชาชน

 

นับตั้งแต่ไทยเปิดเสรีภาพทางการเงิน ช่วงปี 2536  ก็อย่างที่รู้ๆกันว่ามันมีปัญหา และปี2540เกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้น รัฐบาลกู้ยืม IMF ซึ่งมันสวนทางกันหลายๆอย่าง ภาวะเช่นนี้ อเมริกาได้ยื่นเงื่อนไขต่างๆในการให้สิทธิ พิเศษต่อชาติของตน เช่นให้เปิดเสรีมากขึ้น แก้กฏหมายให้ต่างชาติประกอบธุรกิจอย่างเสรีทุกประเภท ซึ่งไทยก็ได้ทำหนังสือเจตจำนงยอมรับ มันเป็นแผนการล่าอนานิคมแบบใหม่ที่ใช้กลไกเศรษฐกิจและองค์การระหว่าประเทศเข้าควบคุมซึ่งไทยก็ต้องยอมรับในจุดนี้แม้จะถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างมากก็ตาม ภายใต้การอุปถัมป์ของเมกามีการหวังผลอยู่เสมอ เช่น การอวยพวกเมกาของประชาชนไทย,สิทธิพิเศษของคนอเมริกาเมื่อมาเมืองไทยไม่ต้องมีวีซ่า แต่เราจะไปประเทศมันนี่ขอวีซ่ายากเย็นเหลือเกิน  

 

ขอโทษที่นอกเรื่องจากกระทู้นี้ 




#779326 สหรัฐฯส่อแบนเลือกตั้งเขมร

โดย Victor on 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 14:51

ฮุนเซนกับอดีตผู้นำไทยบางคน บ้าอำนาจคล้ายๆกัน




#779303 ไม่ต้องถามแล้วนะครับ ว่ากำลังรบกับใคร

โดย Victor on 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 14:31

มูลเหตุแห่งปัญหา

ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลกลางกับภูมิภาคนี้เริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองมาใช้ระบบมลฑลเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 ยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครรวมทั้งเจ้าเมืองทั่วประเทศ ส่งผลให้กลุ่มอำนาจเก่าที่เรียกอ้างตนว่าสืบเชื้อสายมาจากสุลต่านเดิมในพื้นที่ไม่พอใจ

 

ในสมัยนโยบาย บูรณาการ แห่งชาติที่รัฐบาลไทยกำหนดใช้ พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2464 มีผลบังคับให้บุตรหลานของคนทุกหมู่เหล่าที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ต้องเข้าสู่ระบบโรงเรียนชั้นประถมศึกษาซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐบาลไทย แต่เป็นที่น่าเสียดายที่คนบางกลุ่มมองว่าความพยายามในการส่งเสริมการใช้ภาษาไืทยและ ส่งเสริมให้ทุกคนสามารถอย่างออกเขียนได้เพื่อเพิ่มโอกาสในการหางานในอนาคต เป็นการกีดกันชนชาติมาเลย์มุสลิมออกจากภาษาและวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเอง ต่อมารัฐบาลไทยสั่งปิดบรรดาโรงเรียนต่าง ๆ ที่มิได้สอนภาษาไทยอย่างถูกต้องตามหลักสูตรของรัฐทั้งหมดลงทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2466 ซึงรวมไปถึงโรงเรียนของชาวมาเลย์มุสลิมด้วย เป็นผลให้เกิดการชุมนุมประท้วงและการจลาจลขึ้นในพื้นที่อย่างรุนแรง

 

อย่างไรก็ตามก่อนการมาตั้งถิ่นฐานของชาวมาเลย์มุสลิมนั้น (เป็นข้อมูลจากมุมมองของฝ่ายไทย) พื้นที่บริเวณดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย และอาณาจักรลังกาสุกะมา

ก่อน โดยประชาชนส่วนใหญ่นับศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธ

 

ปี พ.ศ. 2482 มีการประกาศใช้ระเบียบวัฒนธรรมไทยโดยเผด็จการจอมพล ป.พิบูลสงคราม ให้ชาวไทยต้องใส่เครื่องแต่งกายและประเพณีนิยมแบบไทย ผู้มีการฝ่าฝืนข้อบังคับดังกล่าวนี้จะต้องถูกปรับไหมและรับโทษอย่างเข้มงวด ทั้งนี้รวมไปถึงชาวไทยมุสลิมด้วย สถานการณ์ก็เลวร้ายหนักขึ้นเมื่อการใช้ภาษามาเลย์และวัตรปฏิบัติบางอย่างทางศาสนาอิสลาม ถูกรัฐบาลไทยภายใต้เผด็จการจอมพล ป.พิบูลสงครามกำหนดให้เป็นเรื่องผิดกฎหมายในปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944)

ปี พ.ศ.2504 รัฐบาลไทยได้ประกาศใช้แนวนโยบาย "ปฏิรูปการศึกษา" ขึ้นในพื้นที่จังหวัดของชาวมาเลย์มุสลิม รัฐบาลให้การยอมรับโรงเรียนสอนศาสนาแบบดั้งเดิม (ปอเนาะ) โดยให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลาม ประยุกต์ระบบการศึกษาไทยเสียใหม่ให้ครอบคลุมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวมาเลย์มุสลิม เหล่านี้ก็เพื่อสร้างจิตสำนึกและปลูกฝังความจงรักภักดีในสถาบันหลักอันประกอบด้วยชาติ ศาสนา (ทุกศาสนาในประเทศไทยได้รับความเคารพอย่างเท่าเทียมกัน) และพระมหากษัตริย์

อย่างไรก็ตาม ชาวมาเลย์มุสลิมบางกลุ่มในภาคใต้กลับมองว่า นโยบายบูรณาการแห่งชาตินั้นมีเป้าหมายในการหลอมรวมชนชาวมาเลย์มุสลิมเข้ากับศูนย์อำนาจที่กรุงเทพ เป็นการท้าทายต่อวิถีศรัทธาและอัตลักษณ์ของชุมชนมาเลย์มุสลิมภายใต้ระบอบการปกครองที่หมายมุ่ง"วิวัฒน์"เกิดการยุยงจากผู้ไม่หวังดีทั้งภายในและภายนอกประเทศให้ชาวมาเลย์มุสลิมดำเนินการตอบโต้ในหลากหลายวิธีการรวมไปถึงรูปแบบการต่อสู้เพื่อแบ่งแยกดินแดนออกจากระบอบการปกครองไทย โดยมิได้มองว่าประเทศไทยนั้นมีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา และวัฒนธรรม คนบางกลุ่ม บางวัฒนธรรม อาศัยอยู่ในประเทศไทยมานานกว่าชาวมาเลย์ในภาคใต้ด้วยซ้ำไปและก็ไม่ใช่ว่าคนทุกกลุ่มเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาลไทย แต่เพื่อความสงบและปรองดองของคนไทยด้วยกัน คนทุกกลุ่ม ทุกหมู่เหล่าในประเทศไทยทำทุกอย่างเพื่อให้ตนสามารถอาศัยร่วมกันภายใต้กฎหมายเดียวกันด้วยความสงบ หากกลุ่มใดไม่เห็นด้วยกับการทำงานของรัฐ กลุ่มคนเหล่านั้นมักจะแสดงออกด้วยการชุมนุมประท้วง

ขอบคุณ WIKIPEDIA




#779279 ไม่ต้องถามแล้วนะครับ ว่ากำลังรบกับใคร

โดย Victor on 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 14:16

ความไม่สงบของชายแดนภาคใต้ ระหว่างไทยกับคู่ขัดแย้ง กลุ่มมูจาฮีดินปัตตานี,องค์กรปลดปล่อยสหปัตตานี,กลุ่มมูจาฮีดินอิสลามปัตตานี,ขบวนการมูจาฮีดินอิสลามปัตตานี,ขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติ,ขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี,ญะมาอะห์ อิสสามียะห์,รันดา คัมปูรัน คีซิล(RKK),กลุมกองกำลังบูรณาการแห่งชาติ

ผู้บังคับบัญชา วันอับดุลกาเดร์ เจ๊ะัมัน,อับดุลเลาะห์ ซุงการ์,การ์บี อับดุลเราะห์มาน มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 5,528คน ครู158คน พระมรณภาพ7รูป มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 9,524คน

 

กลุ่มกองโจรปัตตานีเริ่มต้นสร้างสถานการณ์ความไม่สงบขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2544 เอกลักษณ์ของผู้ก่อการที่ต้องการผลักดันให้เกิดความขัดแย้งขึ้นนั้นยังคงคลุมเครือเสียเป็นส่วนใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญในระดับท้องถิ่นและภูมิภาคได้แสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนดั้งเดิมในภูมิภาค อย่างเช่น พูโล บีอาร์เอ็นและจีเอ็มไอพี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง บีอาร์เอ็น โคออดิเนต (อันเป็นสาขาหนึ่งของบีอาร์เอ็น) และกลุ่มติดอาวุธที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับบีอาร์เอ็น คือ รันดา คัมปูรัน คีซิล ส่วนคนอื่นเสนอแนะว่าความรุนแรงดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของกลุ่มอิสลามต่างชาติ อาทิ อัลกออิดะห์และญะมาอะห์ อิสสามียะห์ แต่ด้วยวิธีการทำงานของกองโจรในภาคใต้ ซึ่งโจมตีคลังอาวุธทหารและโรงเรียน ไม่เหมือนกับวิธีการปฏิบัติของกลุ่มอื่นซึ่งโจมตีเป้าหมายชาติตะวันตก มุมมองที่ว่ากองโจรในภูมิภาคมีส่วนเกี่ยวข้องกับกลุ่มต่างชาตินั้นจึงอ่อน

 

ในตอนแรก รัฐบาลมองว่าการสร้างสถานการณ์ดังกล่าวเป็นฝีมือของโจร และอันที่จริงแล้ว ผู้สังเกตการณ์ภายนอกจำนวนมากก็เชื่อว่า กลุ่มท้องถิ่น คู่แข่งทางธุรกิจหรืออาชญากรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ในภูมิภาคดังกล่าว เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2545 หลังจากตำรวจเสียชีวิตไป 14 นาย ในการโจมตีหลายครั้งซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลานานเจ็ดเดือน อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้ปฏิเสธถึงบทบาทของศาสนาในการโจมตีดังกล่าว เพราะตำรวจที่เสียชีวิตไปหลายคนนั้นเป็นมุสลิมด้วย

 

ในปีเดียวกัน ทักษิณกล่าวว่า "ไม่มีการแบ่งแยกดินแดน ไม่มีผู้ก่อการร้ายอุดมการณ์ มีแต่โจรกระจอก" แต่ในปี พ.ศ. 2547 เขาได้เปลี่ยนท่าที และจัดว่าสถานการณ์ดังกล่าวเป็นสงครามต่อต้านการก่อการร้ายในประเทศ มีการประกาศกฏอัยการศึกในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาสในเดือนมกราคม พ.ศ. 2547

 

รัฐบาลทักษิณ 1 (พ.ศ. 2544-48) มีสมาชิกรัฐสภาเป็นมุสลิมหลายสิบคน สภาจังหวัดในจังหวัดชายแดนมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นมุสลิม และเทศบาลหลายแห่งในภาคใต้มีนายกเทศมนตรีเป็นมุสลิม มุสลิมเริ่มมีสิทธิ์มีเสียงในทางการเมืองอย่างเปิดเผยมากขึ้นและได้รับเสรีภาพในการนับถือศาสนามากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อรัฐบาลทักษิณยุบศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแทนที่ด้วยกำลังตำรวจที่มีเรื่องฉาวโฉ่ในด้านการคอร์รัปชั่น ซึ่งได้เริ่มการปราบปรามอย่างกว้างขวางในทันที การปรึกษาหารือกับผู้นำชุมชนท้องถิ่นก็ได้ถูกยกเลิกไปด้วย ความไม่พอใจต่อการละเมิดดังกล่าวได้นำไปสู่ความรุนแรงที่เพิ่มมากขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2547 และ 2548

 

หลังจากรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งทำให้ทักษิณพ้นจากตำแหน่ง รัฐบาลไทยได้มีท่าทีปรองดองกับสถานการณ์มากขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการใช้อำนาจเกินควรและเริ่มต้นเจรจากับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนที่เป็นที่รู้จักกันดี อย่างไรก็ตาม สถานการณ์กลับทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวน่าจะเป็นการสนับสนุนการยืนยันที่ว่ามีกลุ่มหลายกลุ่มมีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างสถานการณ์ และมีกลุ่มจำนวนน้อยที่สงบลงจากการเปลี่ยนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลก่อนหน้านี้ ในปี พ.ศ. 2539 ได้เกิดเหตุการณ์รุนแรงทั้งหมด 42 ครั้ง และเพิ่มเป็น 83 ครั้งในปี พ.ศ. 2540 และ 139 ครั้งในปี พ.ศ. 2541 ส่วนในปี พ.ศ. 2545 เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้น 82 ครั้ง และ 84 ครั้งในปี พ.ศ. 2546