วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาต้นทุนและผลประโยชน์ที่เกษตรกรรายย่อยทั้งประเทศได้รับจากการปลูกยางพารา โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างในภาคใต้ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 150 ราย กำหนดช่วงอายุการทำสวนยาง 22 ปี ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกยางระยะ 3x7 เมตร กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดใช้ยางชำถุงเป็นวัสดุปลูกและปลูกด้วยยางพันธุ์ RRIM600 การวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่เกษตรกรได้รับจากการปลูกยางพาราจากขนาดสวนยาง 14 ไร่ ซึ่งเป็นขนาดสวนยางเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยใช้ตัวชี้วัดทางการเงินได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) อัตราผลอบแทนต่อต้นทุน (Benefit Cost Ratio : BCR) อัตราผลตอบแทนภายในของการลงทุน(Internal Rate of Return : IRR) เป็นเกณฑ์ในการวิเคราะห์ ที่อัตราคิดลดร้อยละ 8 ณ ระดับราคายางแผ่นดิบเฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 70.23 บาท พบว่า ค่า NPV มีค่าเท่ากับ 138,298 บาท BCR มีค่าเท่ากับ 1.08 และ IRR มีค่าเท่ากับ 9.20 ระยะเวลาคืนทุน (Payback period : PB) ของการปลูกยางอยู่ที่ 13.37 ปี ผลการวิเคราะห์ทางการเงินดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าการทำสวนยางเป็นโครงการที่มีความคุ้มค่าในการลงทุน ส่วนการวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตยางแผ่นดิบทั้งประเทศ พบว่าเฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.57 บาท โดยค่าจ้างแรงงานกรีด เก็บและทำยางแผ่นดิบมีค่าใช้จ่ายสูงสุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 60.45 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด
http://it.doa.go.th/...php?p=p3&id=749
ปี 50 อาจจะเก่าไปหน่อย
สมมุติขายที่ 80 บาทต่อโล
ต้นทุน 50.57 กำไร = 37% นะครับ
อันนั้นเป็นต้นทุนเฉลี่ยทั้งประเทศปี 50 ของกรมวิชาการเกษตร ปัจจุบันก็น่าจะยังอยู่ที่ 30%+
แสดงว่ายังมีชาวสวนยางโง่ๆ ที่ขาย 80 บาท/กิโลก็ยังขาดทุนนะครับ ทั้งๆ ที่มีคนทำแล้วกำไร 30%+
ลองให้ชาวสวนยางโง่ๆ พวกนี้ไปศึกษาจากชาวสวนยางอื่นๆ ที่เขายังมีกำไร และไม่ออกมาประท้วงก็น่าจะดีนะครับ