Jump to content


PATTON

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 26 ตุลาคม 2556
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 19 กุมภาพันธ์ 2557 22:11
-----

Posts I've Made

In Topic: เพื่อนๆสมาชิกเรามารวบรวมบทวิเคราะห์เศรษฐกิจ 2013-2014 ไทยเเละโลกกันเถอะอนาคตเ...

11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 14:42

อันนี้เห็นเป็นบทความน่าสนใจดี เลย ขอเอามา นำเสนอ ไว้อ่านเล่น ขำ ขำ ครับ 

 

 

อ.แก๊ป ทำวิจัย สั้นๆ ดูว่าเซเลบเสื้อแดง พูดเรื่องจำนำข้าว ยังไงบ้าง 

เจ็บใจดีครับ ตกลงชาวนา ที่พวกเค้าเห็นอกเห็นใจ พร้อมเชียร์โครงการจำนำ วันนี้ไม่มีการเหลียวแลซักนิด ......
เกิดสงสัยอะไรนิดหน่อย อยากรู้ว่า คนที่พูดปาวๆว่า หนึ่งคนหนึ่งเสียงเท่ากัน อย่าดูถูกเสียงประชาชน จะเป็นห่วงเป็นใย “หนึ่งเสียง” ของชาวนาอย่างไรบ้าง? ก็เลยลองไปส่องๆ FB ของคนต่อไปนี้ ดูว่ามีสเตตัสเกี่ยวกับชาวนามากน้อยแค่ไหน และแสดงความเห็นใจเสียงชาวนามากแค่ไหน (ย้อนไป 1 อาทิตย์ ถึงวันเลือกตั้ง)

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ – 0
เอกชัย ไชยนุวัตร – 0
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล - 1 (จากเยอะมาก เป็นแบบ ปล. บอกว่า ปล.เรื่องจำนำข้าว ผมไม่เห็นด้วยนะ สั้นๆ)
เกษียร เตชะพีระ – 1 (จากเยอะมาก เป็นการแชร์โพสต์ตัวเองที่เคยเขียนไว้ก่อนหน้านี้ บอกว่าไม่เห็นด้วยกับจำนำข้าวอย่างไร โดยไม่ได้แสดงความเห็นใจชาวนา แต่บอกว่ามีความเสี่ยงเพราะแบ่งผลประโยชน์ไม่ลงตัว
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ – แชร์ข่าวเรื่องชาวนาสามสี่ครั้งโดยไม่ได้แสดงความเห็นอะไร

คนที่ดูจะแสดงออกเรื่องชาวนามากที่สุด น่าจะเป็น สมบัติ บุญงามอนงค์ แต่เท่าที่เห็นไม่มีสเตตัสไหนแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจชาวนา ส่วนใหญ่ออกไปในทางประชด กปปส.ว่าไม่ได้ช่วยชาวนาจริง และล่าสุดเห็นบอกว่า จะไปจับมือกับป้าเช็งคิดโครงการออกมาช่วยชาวนา (จะเชื่อได้มั้ย จับมือกับจอมหลอกลวงเนี่ยนะ) 
โดยทั้งหมด ไม่มีใครแชร์คลิปข่าวของน้ำตาชาวนาจากเวทีปทุมวัน

หนึ่งคนหนึ่งเสียงเท่ากันของพวกคุณ คงไม่รวมเสียงชาวนาด้วยกระมัง?
 

In Topic: ชาวนาที่โคราชได้รับเงินแล้วนะ

10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 21:14

ใครมีรายละเอียดข่าวนี้บ้างครับ ว่า จ่ายไปกี่ราย จำนวนเท่าไร ได้กันเต็มจำนวนที่จะได้ไหม ได้กันครบไหม ขาดอีกกี่ราย

ชาวนาปักธงชัยได้เงินจำนำงวดแรกแล้ว - MSN ข่าว
news.th.msn.com/general/ชาวนาปักธงชัยได้เงินจำนำงวดแรกแล้ว


เมื่อวานที่ร้อยเอ็ด วันนี้ที่โคราชอยากรู้จริงๆว่า
แอบไปกู้ที่ไหนมาให้รึเปล่าเนี่ย ฝากตรวจสอบด้วย


In Topic: เพื่อนๆสมาชิกเรามารวบรวมบทวิเคราะห์เศรษฐกิจ 2013-2014 ไทยเเละโลกกันเถอะอนาคตเ...

9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 00:41

ผมได้ชี้ประเด็นเกี่ยวกับข้าวไทย เนื้อหาอาจจะยาว แต่จะทำให้เข้าใจสถานการณ์ข้าวไทยได้มากขึ้นครับ
สถานการณ์การผลิตข้าวไทย: วิกฤตและโอกาส
1. ปริมาณการผลิตและการบริโภคข้าวสารของโลกประมาณ 430 ล้านตัน/ปี ประเทศที่ผลิตข้าวมากเป็นอันดับ 1 คือ จีน 130 ล้านตัน/ปี อินเดีย 80.0-90.0 ล้านตัน/ปี เวียดนาม 24.0 ล้านตัน/ปี ไทยอยู่อันดับที่ 6 ประมาณ 20.0 ล้านตัน/ปี
2. จำนวนครัวเรือนเกษตรกรไทยทั้งหมดประมาณ 5.60 ล้านครัวเรือน เป็นครัวเรือนของชาวนา 3.70 ล้านครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 66.0
3. ประเทศไทยสามารถเพาะปลูกข้าวได้ 31.3 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็นข้าวสารประมาณ 20.0 ล้านตัน (ข้าวเปลือก 100% จะได้ข้าวสาร 66.0% อื่นๆ อาทิ รำละเอียด รำหยาบ และแกลบ 34%)
4. ผลผลิตเฉลี่ยข้าวเปลือกต่อไร่ (เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ) ของโลกเฉลี่ย 700 กก/ไร่ อเมริกา 1,300 กก/ไร่ จีน 1,070 กก/ไร่ ญี่ปุ่น 1,065 กก/ไร่ เกาหลีใต้ 1,050 กก/ไร่ เวียดนาม 890 กก/ไร่ อินโดนีเซีย 750 กก/ไร่ เกาหลีเหนือ 690 กก/ไร่ บังคลาเทศ 690 กก/ไร่ ฟิลิปปินส์ 600 กก/ไร่มาเลเซีย 590 กก/ไร่ ลาว 580 กก/ไร่ ปากีสถาน 570 กก/ไร่ อินเดีย 550 กก/ไร่ กัมพูชา 460 กก/ไร่ ไทย 450 กก/ไร่ พม่า 410 กก/ไร่
5. ต้นทุนการผลิตข้าวเมื่อเปรียบเทียบจังหวัดที่มีการปลูกข้าวที่สำคัญระหว่างไทยกับเวียดนาม 
a. อยุธยา 5,800 บาท/ไร่ (ค่าเมล็ดพันธุ์ 600 บาท ค่าปุ๋ย 1,170 บาท ค่ายาฆ่าแมลง 1,000 บาท ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 3,030 บาท)
b. เกิ่นเทอ 4,980 บาท/ไร่ (ค่าเมล็ดพันธุ์ 343 บาท ค่าปุ๋ย 1,360 บาท ค่ายาฆ่าแมลง 1,185 บาท ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 2,096 บาท)
6. ข้าวสาร 20.0 ล้านตันบริโภคภายในประเทศประมาณ 11.3 ล้านตัน ส่งออก 8.70 ล้านตัน
7. ประเทศที่นำเข้าข้าวจากไทย คือ ไนจีเรีย เบนิน แอฟริกาใต้ บริโภคข้าวนึ่ง ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น บริโภคข้าวขาว อเมริกา บริโภคข้าวหอมมะลิ
8. ปัจจุบันผู้ส่งออกอันดับ 1 คือ อินเดีย ตามมาด้วยเวียดนามและไทย 
9. โครงสร้างการส่งออกข้าว คือ ไทยส่งออกข้าวขาวประมาณ 2.30 ล้านตัน (เวียดนาม 5.30 ล้านตัน) ข้าวหอม 2.60 ล้านตัน (เวียดนาม 2.60 ล้านตัน) ข้าวนึ่ง 2.80 ล้านตัน จากตลาดทั้งหมดประมาณ 6.00 ล้านตัน (เวียดนามไม่ส่งออกข้าวประเภทนี้) 
10. ราคาส่งออกข้าวสาร 5% ของไทยสูงกว่าเวียดนามตันละ 123 เหรียญสหรัฐฯ ข้าว 25% 70.0 เหรียญสหรัฐฯ
11. การรุกตลาดของประเทศคู่แข่ง อาทิ เวียดนามร่วมก่อตั้งบริษัทร่วมค้าลักลอบนำข้าวหอมมะลิ 105 (หอมเหมือนกลิ่นใบเตย เพราะมีสาร 2-acetyl-1-pyroline ที่มีอยู่ในใบเตย) ไปปลูกและตั้งชื่อเป็นเนียงมะลิ เพื่อส่งออกทดแทนข้าวหอมมะลิไทย และได้ร่วมกับพม่าผลิตข้าวชื่อ พอซันมุย (ข้าวเมล็ดป้อมสั้น แต่เมื่อหุงสุกจะยืดยาวเกือบ 2 ซม) ไปทดแทนตลาดข้าวแถบแอฟริกาของไท
12. จุดแข็งของการส่งออกข้าวไทย คือ 1) ชื่อเสียงของประเทศไทยในการส่งออกอาหาร 2) คุณภาพข้าว 3) ขั้นตอนการผลิตข้าวที่ครบวงจรและเข้มแข็ง 4) สภาพอากาศ/ความหลากหลายของพันธุ์ข้าว (ทั่วโลกมีทั้งหมด 23,000 ตัวอย่างพันธุ์ โดยมีอยู่ในประเทศไทยถึง 17,000 ตัวอย่างพันธุ์) 5) ประสบการณ์การค้าข้าวที่ยาวนาน 6) การบริการที่ดี ซื่อตรงต่อผู้ค้า 7) สามารถปรับตัวได้กับทุกมาตรฐานสุขภาพที่มีการกำหนดขึ้น
13. จุดอ่อนของข้าวไทย คือ 1) ต้นทุนการผลิตต่อไร่สูง แต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำ 2) ระบบชลประทานในพื้นที่เพาะปลูกมีจำกัด เพียง 32% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด อีก 68% ต้องพึ่งพาน้ำฝน 3) งบวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวมีน้อยเกินไป (ไทยหลัก 100 ล้านบาท/ปี เวียดนามหลายพันล้านบาท/ปี) 4) ราคาส่งออกสูงกว่าคู่แข่ง 4) ขาดการสร้างตราสินค้าข้าวไทยที่แสดงถึงจุดเด่นที่ชัดเจน 5) ระบบและต้นทุนขนส่ง (ไทยใช้ระบบถนน เวียดนามใช้ระบบทางน้ำเป็นหลัก) 6) นโยบายและยุทธศาสตร์ข้าวไม่ชัดเจนกลับไปกลับมา บางครั้งเตะตัดขาตนเอง
14. ผลกระทบจากโครงการจำนำข้าว คือ 1) ชาวนาไม่สนใจปลูกข้าวที่มีคุณภาพดี เพราะราคาในการจำนำเท่ากัน และได้ผลผลิตมากกว่า 2) ไม่สนใจการปฏิบัติที่ดี ใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชทุกอย่าง ในพื้นที่อย่างเต็มที่ เพื่อเน้นปริมาณ 
15. การแก้ไขปัญหา 
ระยะสั้น 
1) ข้าวในสต๊อกต้องรีบนำมาแปรรูปเป็นข้าวนึ่ง เพื่อลดการขาดทุนจากโครงการรับจำนำ (ตลาด 5.00-6.00 ล้านตัน/ปี) 
2) ตั้งทีมงานที่มีความชำนาญเฉพาะมาทำการขายข้าวเพื่อลดสต๊อกและลดปัญหาคุณภาพข้าวที่เก็บไว้นาน 
3) แก้ไขหนี้สินที่ค้างชำระแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวทั้งหมดและปิดโครงการรับจำนำ
ระยะกลาง/ยาว 
1) ใช้ความหลากหลายของตัวอย่างพันธุ์ข้าวที่มีผลิตข้าวตามโซนและตามความต้องการของตลาดเฉพาะ (Niche Market) เพื่อเพิ่มราคาการส่งออกและใช้เป็นนโยบายในการสนับสนุนการลดต้นทุนของเกษตรกร 
2) นำระบบโซนนิ่งมาใช้โดยจัดการพื้นที่ที่มีความเหมาะสมอย่างแท้จริงมาปลูกข้าว โดยเมื่อดูจากข้อมูลจะเหลือพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับปลูกข้าวเหลือเพียง 38.0% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมดในปัจจุบันที่มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปีราว 67.0 ล้านไร่ และนาปรังราว 16.0 ล้านไร่ 
3) เร่งลดต้นทุนและเพิ่มผลิตต่อไร่ ให้การสนับสนุนทุนแก่เกษตรกรทุกราย/รายย่อย รายละ 20,000 บาท/ครอบครัว จะใช้งบไม่เกิน 74,000 ล้านบาท 
4) กำหนดราคากลางซื้อขายข้าวของเกษตรกรโดยรัฐบาล เพื่อไม่ให้พ่อค้าคนกลางกดราคา (อาจต่ำกว่าราคาตลาดโลกเล็กน้อย เพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถดำเนินธุรกิจได้) และโรงสี/ผู้ส่งออกต่องซื้อตามราคานี้และส่งออกโดยการกำกับของรัฐบาล 
5) ต้องกองทุนข้าวเพื่อสนับสนุนการผลิตและการส่งออกข้าว ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความเสถียรภาพด้านราคาข้าวในระยะยาว 
6) ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ทำโรงสีชุมชนเพื่อผลิตข้าวตามความหลากหลายของพันธุกรรมและความนิยมบริโภค 
7) ส่งเสริมงานวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าว การเพิ่มผลผลิต การนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ลดต้นทุน การส่งเสริมการปลูกข้าวอินทรีย์ 
8) รัฐบาลควรคัดเลือกทีมที่มีความเชี่ยวชาญด้านการตลาดข้าวมาเป็นทีมบุกเบิกและสร้างยุทธศาสตร์ข้าวที่ชัดเจน ไม่ใช่ส่งคนที่ไม่มีความรู้เรื่องข้าวมากำหนดนโยบายและเป็นหัวหน้าทีม ซึ่ง “เก่งบนเวทีประท้วง แต่ไม่ได้เรื่องบนเวทีการค้า” (วันนี้มันสายไปเเล้วครับ พรรคขี้ข้าทักษิณ
หมดเวลาเเล้ว)


In Topic: คนขับแท็กซี่ 20,000 คันเสี่ยงโดนยึด-ไร้เงินผ่อน

3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 18:12

อย่ามาอ้างม็อบเลยครับ ก่อนมีม็อบ เรียกไปไหนก็ไม่ไป เลือกคน เลือกระยะทางที่ให้บริการ เเล้วจะเสือกมีค่บริการขั้นตำ่ทำไมครับ ไม่เชื่อคุณลองไปเรียกเเถวหน้าตลอกหลังตลอกข้าวสารดูก็ได้ ใกล้มากไม่ไป ไกลมากไม่ไป ข้ออ้างสารพัด เรียก10ไปสะ1 ต้องเดินออกมาจากหน้า สน.ชนะสงครามไปทางสนามหลวงสักป้ายสองป้ายนะถึงจะได้ ขนาน ไปเเค่นี้นะ เเถวๆกรมบังคับคดีเเม้งยังไม่ไป  


In Topic: เพื่อนๆสมาชิกเรามารวบรวมบทวิเคราะห์เศรษฐกิจ 2013-2014 ไทยเเละโลกกันเถอะอนาคตเ...

31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 23:41

เรื่องข้าว เรื่องชาวนา เกี่ยวกับ เศรษฐกิจไทย เเน่นอน

โดย อจ.หนุ่มไฟเเรง

รัฐบาลจะทำเลวกับชาวนาไปถึงไหน 
ทำนาปรังล่ม เพื่อไม่ต้องจ่ายเงินจำนำข้าว ??? 

ทราบมั้ยครับว่าวันนี้ พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง ต้องการน้ำ 169% ของน้ำที่เก็บไว้
หมายความมว่า อย่างไร หมายความว่า น้ำในปีนี้ ไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าวนาปรังทั้งหมด และนาข้าวกว่าครึ่ง ที่ต้องการน้ำมากกว่าที่มี จะมีโอกาสล่ม และขาดทุน 

น้ำไปไหน ทำไมนาปรังไม่มีน้ำ ??? 

ปริมาณน้ำฝนในปี 2556 ปรกติ
ปี 2556 ประเทศไทยมีปริมาณน้ำฝนสะสมรวม 1582 มม. สูงกว่าปีที่แล้ว 5% สูงกว่าค่าเฉลี่ย 9% เป็นระดับน้ำฝนที่อยู่ในเกณฑ์ปรกติ 
พยากรณ์อากาศของกรมอุตอนิยมวิทยา ถึงสภาพอากาศของปี 2557 ก็ไม่ได้บอกถึงสภาพอากาศที่จะมีปริมาณน้ำฝนมากกว่าปรกติ แต่มีการเตือนถึงความเป็นไปได้ของฝนทิ้งช่วงในฤดูแล้งของปี 

แต่การเก็บน้ำในสองเขื่อนใหญ่ ไม่ปรกติ 
จากรูป ทั้งๆที่ปริมาณฝนตกในภาคเหนือ ปี 2556 (1243 มม.) สูงกว่า ปี 2555 (1226 มม.) แต่ปริมาณน้ำที่เก็บไว้ในเขื่อนสำคัญสองเขื่อนคือเขื่อน ภูมิพล และเขื่อน สิริกิติ์ กลับมีปริมาณน้อยกว่าปี 2555 อย่างเห็นได้ชัด 

กบอ. แทรกแซงการระบายน้ำ 

นับตั้งแต่ปี 2554 ที่มีน้ำท่วมอย่างหนัก กบอ.(คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย ) ที่มีปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นประธาน คือคณะกรรมการใหญ่ที่ดูแล ควบคุม สั่งการการเปิดปิดประตูน้ำ ของเขื่อนทั้งหลายแทน กรมชลประทาน 

และในปี 2556 กบอ. ตัดสินใจระบายน้ำจากสองเขื่อนใหญ่ จนปริมาณน้ำต่ำเทียบเท่ากับปี 2553 ที่มีภาวะฝนแล้ง 2553 (ฝนทั้งประเทศ 1,495 มม.) 2556 (ฝนทั้งประเทศ 1,582 มม.) 

คำถาม กบอ. คาดการณือย่างไรถึงระบายน้ำออกจากสองเขื่อนหลักในปริมาณมากขนาดนี้ คิดว่า ปี 2557 จะเกิดฝนตกหนักอย่างเช่นปี 2554 หรือ แต่กว่าฝนจะตกหนักก็ต้องอีกประมาณ 5 - 6 เดือนข้างหน้า แล้วชาวนาที่ปลูกข้าวนาปรังอยู่จะทำอย่างไร เป็นไปได้อย่างไร ที่ กบอ.วางแผนจัดการน้ำเช่นนี้ 

กรมชลประทาน สังกัดกระทรวงเกษตร ดูแลน้ำ อย่างน้อยสิ่งที่เค้าคิดก็คือการหาน้ำให้เพียงพอต่อการเพาะปลูกของเกษตรกร แล้ว กบอ. เอาเกณฑ์ อะไรมาบริหารจัดการน้ำ หรือเพราะมีคำว่า อุทกภัย จึงวางแผนเก็บน้ำน้อยๆ โดยใช้ความเสี่ยงการเกิดอุทกภัยเป็นหลัก แล้วชาวนาหล่ะ ไม่เห็นหัวชาวนาเลยใช่มั้ย ใครกันแน่ที่เลวและย่ำยีชาวนา 

หรือรัฐบาล ถังแตก........
ไม่มีเงินรับจำนำข้าว จึงใช้การควบคุมปริมาณน้ำ จำกัดการเพาะปลูกข้าวนาปรังของชาวนา จะได้มีข้าวมาเข้าโครงการน้อยลง และถ้าเป็นเช่นนั้น ทำไมไม่บอกตรงๆกับชาวนา ให้ชาวนาลงทุนซื้อเมล็ดพันธ์ สูบน้ำเข้านา ใส่ปุ๋ยใส่ยา ทำไม 

ลำพังเงินจำนำข้าวนาปี ที่ไม่จ่าย ชาวนาก็จะตายอยู่แล้ว นี่ถึงกับจะบังคับให้นาล่ม ทำให้เงินเก็บ เงินกู้ที่เอามาลงทุนนาปรัง สูญเสียหมดเลยหรือ 

ปรกติผมจะเขียนกล่าวหาใคร จะใช้เหตุและผล แต่วันนี้ขออนุญาตไม่มีเหตุผลมากพอ แต่ขอกล่าวหา รัฐบาลนี้ว่า กำลงัทำความเลวร้าย อย่างที่ไม่มีรัฐบาลไหนกระทำ ใช้กลวิธีทุกอย่างโดยไม่คำนึงถึง ชีวิต จิตใจของประชาชน เพื่อความอยู่รอด และผลประโยชน์ของตน 
อย่ามาอ้างว่า คนเมืองไม่เอาน้ำท่วม ชาวนาเลยต้องนาล่มเพราะน้ำไม่มี อย่ามาอ้างให้ประชาชนตีกันแบบเก่าๆ เราไม่เชื่อมั่นรัฐบาลอีกต่อไป

ถึงเวลาแล้วยังที่เราต้องมาปฏิรูปประเทศ ให้เกิดความโปร่งใส การจัดการน้ำ ต้องเปิดเผย ประชาชนมีส่วนในการบริหารดูแล ไม่ใช่ทำโดยดูผลประโยชน์อื่นที่ไม่ใช่ของประชาชน 

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ผมจะเดินไปเลือกตั้ง เพราะผมไม่เชื่อมั่นในการปฏิรูปโดยนักการเมือง 
ผมจะไป Vote No และผมจะผลักดัน ทุกวิถีทางให้เกิดการปฏิรูปประเทศไทย ให้ได้ 
ผมไม่รอใคร อีกต่อไป ผมจะลุกขึ้น ปฏิรูปประเทศนี้ ไม่ต้องการคณะกรรมการจากนักการเมืองหน้าไหนทั้งนั้น 

 

1604477_10202746429320156_134877182_n.jpg