Jump to content


Tom PR

Member Since 13 March 14
Offline Last Active 15 July 14 17:17
-----

#1136587 รัฐบุคคลหวังรัฐบุรุษเป็น 'รัฏฐาธิปัตย์'

Posted by Tom PR on 16 April 2014 - 13:53

การพยากรณ์ที่คลาดเคลื่อน

 

 

ว่าน้ำมันจะหมดโลกเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1918

 

1 A correspondent named W.D. Hornaday, quoting oil industry executive J.S. Cullinan, described the concerns in a 1918 article for Tractor and Gas Engine Review titled "Petroleum consumption enormous."[3] The article said, "There has been considerable discussion of late as to the possible length of time that the petroleum supply of the United States and the world will hold out."[3] The article quoted Cullinan as saying, "It is just possible, so far as the United States is concerned, that the development and the exhaustion of the supplies may occur within the course of one human life. It is certain that unless radical changes from present methods are applied promptly, all sources of supply within the range of known drilling methods will be exhausted during the life of your children and mine."[3]

 

2 In 1956, M. King Hubbert created and first used the models behind peak oil to predict that United States oil production would peak between 1965 and 1971.[4]

3 In 1956, Hubbert calculated that the world held an ultimate cumulative of 1.25 trillion barrels, of which 124 billion had already been produced. He projected that world oil production would peak at about 12.5 billion barrels per year, sometime around the year 2000.

4 In 1974, M. King Hubbert predicted that world peak oil would occur in 1995 "if current trends continue."[7]

However, in the late 1970s and early 1980s, global oil consumption actually dropped (due to the shift to energy-efficient cars,[8] the shift to electricity and natural gas for heating,[9] and other factors), then rebounded with a lower rate of growth in the mid 1980s. Thus oil production did not peak in 1995, and has climbed to more than double the rate initially projected.

5 In 2001, Kenneth S. Deffeyes, professor emeritus of geology at Princeton University, used Hubbert’s theory to predict that world oil production would peak in 2005.[10] As of late 2009, Deffeyes was still convinced that 2005 had been the peak, and wrote: “I think it unlikely that oil production will ever climb back to the 2005 levels.”[11]

6 In October 2007, the Energy Watch Group, a German research group founded by MP Hans-Josef Fell, released a report claiming that oil production peaked in 2006 and would decline by several percent annually. The authors predicted negative economic effects and social unrest as a result.[14][15] They stated that the IEA production plateau prediction uses purely economic models, which rely on an ability to raise production and discovery rates at will.[14]

7 ASPO predicted in their January 2008 newsletter that the peak in all oil (including non-conventional sources), would occur in 2010. This is earlier than the July 2007 newsletter prediction of 2011.[17] ASPO Ireland in its May 2008 newsletter, number 89, revised its depletion model and advanced the date of the peak of overall liquids from 2010 to 2007.[18]

8 The UK Industry Taskforce on Peak Oil and Energy Security (ITPOES) reported in late October 2008 that peak oil is likely to occur by 2013. ITPOES consists of eight companies: Arup, FirstGroup, Foster + Partners, Scottish and Southern Energy, Solarcentury, Stagecoach Group, Virgin Group, and Yahoo. Their report includes a chapter written by Shell corporation.[22]

9 In October 2009, a report published by the Government-supported UK Energy Research Centre, following 'a review of over 500 studies, analysis of industry databases and comparison of global supply forecasts', concluded that 'a peak in conventional oil production before 2030 appears likely and there is a significant risk of a peak before 2020'.[23]




#1135760 คิดจะตั้งตนเป็นรัฐาธิปัตย์ ฟังซะจะได้หายโง่!!

Posted by Tom PR on 15 April 2014 - 02:59

  

 

 

อ.ลิขิต ถาม วัดปริมาณยังไงว่าพวกมึงเป็นส่วนใหญ่ในแผ่นดิน!!

The power resides where people believe it resides.  อำนาจขึ้นอยู่กับประชาชน ประเทศไม่สามารถอยู่ได้ถ้าไม่มีประชาชนเป็นพื้นฐาน นายกจะบริหารประเทศโดยไม่มีคนร่วมไม่ได้

 

ถ้าประชาชนคิดว่าอำนาจอยู่ที่นายกรัฐมนตรี และการเฟ้นหานายกรัฐมนตรีควรมาจากการใช้รัฐธรรมนูญ มันก็อยู่ที่นั่น มันแล้วแต่คนจะมอง

 

การปฏิรูปไม่ใช่เรื่องยาก ถ้าสิ่งที่จะทำนั้นมันไม่ขัดกับผลประโยชน์ของทุกคนในประเทศ ประเด็นจึงไม่อยู่ที่การวัดปริมาณคน แต่อยู่ที่เนื้อหาของการปฏิรูป ที่ถูกต้องตามครรลองครองธรรมและหลักการทางเศรษฐศาสตร์ ถ้าการปฏิรูปนั้นไม่บริสุทธิ์จริง ช้าเร็วย่อมต้องถูกขจัดไป

 

สิ่งที่สำคัญที่สุด ณ ตอนนี้คือทุกคนต้องเข้าใจได้แล้วว่าอำนาจอยู่ที่มือของตัวท่านเองก็ได้ ถ้าท่านไม่รู้จักนำเอาอำนาจนั้นมาใช้ ก็จะมีคนอื่นมาขอใช้แทน




#1135702 ถ้ามวลมหาประชาชนเยอะจริงทำใมไม่เลือกตั้ง (โดย ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน)

Posted by Tom PR on 14 April 2014 - 22:40

 

1. มวลชนที่ออกมาชุมนุมไม่ใช่กลุ่มของปชป.

2. เป้าหมายของ กปปส. ไม่ใช่ชนะเลือกตั้ง ไม่ใช่เพืรอให้ ปชป. ได้เป็น รบ.

3. คำถามคือต่อให้เลือกตั้งแล้วชนะเผาไทย แล้วระบบการเมืองน้ำเน่านี้มันจะเปลี่ยนไหม ?

ก็เลยเป็นเหตุผลให้ประเด็นเรื่อง "การปฏิรูป" ถูกชูขึ้นมา



....เข้าใจตรงกันนะ ทั้งจขกท. และ บักด็อกเตอร์ขี้ข้าแม้ว

ถ้ามวลมหาประชาชนเยอะจริง เลือกตั้ง ก็ต้องชนะการเลือกตั้ง แล้วการปฏิรูปในรูปแบบของมวลมหาประชาชนจะมีปัญหาตรงไหน

 

และถ้ามีการโกงบัตรเลือกตั้ง ทำให้เสียงคนส่วนใหญ่ไม่ชนะ คุณจะรับผิดชอบหรือ




#1130061 John Kerry ระบุ “การเลือกตั้ง” ไม่นำไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง หากยังขาด “การ...

Posted by Tom PR on 8 April 2014 - 12:14

ผมขอร้องให้คุณฟังที่ผมพูดนะ ปัญหาของประเทศเราคือการเมือง ไม่ใช่การขาดคนดี

 

คุณคิดว่าจะเปลี่ยนแปลงประเทศโดยการหาคนดีใหม่มาแทนคนเลวเก่า แต่ผมบอกได้เลยว่ามันไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา เพราะปัญหามันอยู่ที่ตัวการเมือง

 

ทางเดียวที่จะแก้ปัญหาคือต้องไม่มีการเมือง ซึ่งพวกคุณ(บางคน)ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับพรรคการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคอะไรก็ตาม ไม่ยอม และไม่มีทางยอม

 

ประเทศที่ไม่มีการเมืองมันอยู่ได้อยู่แล้ว ถ้าทุกคนทำมาหากิน และการเริ่มต้นของการปฏิรูปคือขจัดอำนาจของรัฐบาลและการเมือง นั่นหมายถึงยุบสิ่งต่างๆที่รัฐบาลทำด้วยเช่น โรงเรียนหลวงและโรงพยาบาลหลวง พวกคุณไม่ต้องกังวลครับเพราะถ้าคุณไปดูกันตอนนี้พวกโรงเรียนและมหาลัยเหล่านี้ก็อยากจะออกจากระบบอยู่แล้ว เพียงแต่กลัวที่จะต้องเสียสิทธิ์ความที่ไม่ได้เป็นของรัฐบาล มันเหมือนปตทละครับ ที่ไม่โดนกฏหมาย anti-trust monopoly เล่นเพราะใช้ความที่ตัวเองเป็นรัฐวิสาหกิจ

 

"สิ่งที่บ่งบอกว่าประเทศไหนพัฒนาแล้วไม่ได้ดูที่  มีตึกสูงมากเท่าไร  มีห้างเยอะไหม  มีจีดีพีสูงแค่ไหน

แต่ดูที่การศึกษา  และ คุณภาพของบุคลากรภายในประเทศ"  ถ้าคุณเอาสิ่งนี้เป็นตัวชี้วัดครับ นั่นคงแสดงให้เห็นว่าประเทศเราตลอด 75 ปีหลังการมีประชาธิปไตยก็คงมีแต่พรรคการเมืองเลวๆ และคนเลวๆในคราบคนดี ปกครองประเทศ ประเด็นคือมันไม่เกี่ยวกับดีหรือเลว มันเกี่ยวกับการเมือง เอามันออกไป แล้วให้คนทำมาหากินกันเองและยกเลิกการเสียภาษีมากๆ

 

ตราบใดที่คุณยังเปิดให้มีการแข่งขันว่าใครจะมีสิทธิ์ในการบริหารเงิน นับล้านๆบาท ตราบนั้นก็จะมีคนที่จะทำซึ่งทุกวิถีทางที่จะได้สิทธิ์ในการบริหารเงินนั้นๆ คุณจะหาวิธีคัดให้ตาย มันก็แค่ใส่หน้ากากดีๆมาให้คุณคัด พอมันได้สิทธิ์มันก็ถอดหน้ากากออก 75 ปียังไม่พอกันอีกเหรอ




#1129948 John Kerry ระบุ “การเลือกตั้ง” ไม่นำไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริง หากยังขาด “การ...

Posted by Tom PR on 8 April 2014 - 10:40

John kerry เขาพูดถึง การเลือกตั้งเสรี (free election) ครับ ขนาดการเลือกตั้งที่ดีและปราศจากการโกงแบบนั้นยังไม่ได้นำไปสู่ประชาธิปไตยที่ดีเลย สำหรับบ้านเราที่การเลือกตั้งเต็มไปด้วยการซื้อสิทธิ์ขายเสียงและการแบ่งพรรคแบ่งพวกแล้ว คงยิ่งยากที่จะนำไปสู่ประชาธิปไตยที่สมบรูณ์ ต่อให้การปฏิรูปสำเร็จและนำไปสู่การเลือกตั้งเสรีที่ปราศจากการโกง ก็คงยังมีปัญหาอยู่ดี

 

พวกคุณต้องคิดในแง่หลักของความเป็นจริงก่อน เช่น สมมติคุณเป็นมะเร็ง คุณกล้าที่จะหาวิธีการรักษาจากการเลือกตั้งไหม ในแง่ของความเป็นจริงเราคงให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ตัดสินใจ หรือถ้าจะมีการให้ลงคะแนนเสียงก็คงให้เฉพาะกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเหล่านั้นมาลงคะแนน คงไม่มีใครกล้าให้ทุกๆคนที่ไม่รู้เรื่องลงคะแนน (free election) และในความเป็นจริง คนที่ไม่รู้เรื่องเขาก็มักจะสงวนสิทธิ์ไม่ออกเสียงในเรื่องที่ตัวเองขาดความรู้  แต่สิ่งที่เกล่ามานั้นกลับไม่ถูกนำมาใช้ในการการเลือกตั้งของผู้นำประเทศและนโยบายทางเศรษฐกิจ

 

ตัวอย่างเช่นนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ อเมริกามีการวิเคราะห์และประสพการณ์อย่างโชกโชนว่า หลังการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำจะมีคนตกงานมากขึ้นและมีผลในเรื่องการเพิ่มขึ้นของภาวะเงินเฟ้อ ทั้งๆที่การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำนั้นมีผลเสียทางเศรษฐกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างชัดเจน แต่ก็ยังไม่วายมีสส.ของอเมริกาหลายคนสนับสนุนความคิดนี้จนนำไปสู่การเลือกตั้งและการทำให้กฏหมายฉบับนี้ผ่าน การทำวิจัยเกี่ยวกับการเลือกตั้งนับไม่ถ้วนได้รับการยืนยันแล้วว่า การเลือกตั้งเสรีจำเป็นที่จะต้องมีประชากรที่มีความรู้มากและมีความเข้าใจทางเศษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีเป็นอย่างดีซึ่งเป็นไปไม่ได้ นั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ นโยบายค่าแรงขั้นต่ำ นั้นกลับมาใหม่เรื่อยๆ สร้างผลเสียให้กับเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างไม่รู้จักจบ




#1123878 แปรรูป ปตท........สนธิ ลิ้มทองกุล ยังบอก...." ทักษิณเป็นนายกที่ดีที่สุดใน...

Posted by Tom PR on 2 April 2014 - 10:42

ผมคิดว่าเราควรเข้าใจได้แล้วว่าประเทศไม่ได้เดินหน้าด้วยนักการเมือง แต่เดินหน้าด้วยประชาชนที่ทำมาหากินอย่างสุจริต นโยบายของนักการเมืองที่ขยันกันออกนำมาใช้อย่างเช่น ค่าแรงขั้นต่ำ ห้ามซื้อนัั่นขายนี่ ชั่งกิโลขายไข่ เป็นการบิดเบือนกลไกการตลาดเสรีและทำให้คนนิสัยเสีย

ผมขอยกตัวอย่างนิทานเรื่องหนึ่ง กาลละครั้งหนึ้งมีชาวบ้านติดเกาะอยู่ 3 คนผมขอเรียก 3 คนนี้ว่านาย A, B และ C แต่ไหนแต่ไรมา 3 คนนี้ก็ต่างทำมาหากินด้วยการหาปลาปลูกผักด้วยตัวเองพึ่งพาตัวเอง อยู่มาวันหนึ่งนาย A บอกว่าเกาะเรานี้มันไม่เจริญ ถ้ายกให้ตัวนาย A เป็นผู้ว่าของเกาะจะมีกินมีใช้อย่างไม่รู้จบ นาย B กับ C เห็นด้วยจึงยกให้นาย A เป็นผู้ว่า

เนื่องจากนาย A ต้องมาเป็นผู้ว่า นาย A จึงไม่มีเวลาหาปลาและปลูกผักของตัวเอง นาย A จึงต้องขอให้นาย B และ C เจียดรายได้บางส่วนที่เรียกว่าภาษี มาเพื่อเลี้ยงนาย A และนำรายได้นั้นไปพัฒนาเกาะ สังเกตว่าขณะนี้เกาะมีผู้ผลิตเหลือแค่ 2 คน

นาย B และ C ทำงานเท่าเดิมแต่ปลาและผักหายไปเนื่องจากนำไปจ่ายเป็นภาษี นาย B จึงตัดสินใจทำงานหนักขึ้นเป็น 2 เท่าเพื่อจะได้มีกินมีใช้ แต่นาย C ทนงานหนักต่อไปไหวจึงหยุดทำงานและไปเรียกร้องให้ผู้ว่านำเงินภาษีมาช่วย สังเกตว่าตอนนี้เกาะมีผู้ผลิตเหลือ 1 คนจากเดิม 3 คน

นาย A ผู้ว่าเกาะตัดสินใจแก้ปัญหาโดยไปกู้เงินจากต่างประเทศ เพื่อมาสร้างสะพานให้เกาะเชื่อมติดกันและในขณะเดียวกันสร้างงานให้กับนาย C ซึ่งตอนนี้ไม่มีงานทำ เรื่องที่ตลกก็คือสะพานก็เป็นสิ่งที่ชาวเกาะไม่เคยต้องใช้ และที่ตลกไปกว่านั้นก็คือคนที่ต้องใช้หนี้ต่างประเทศทั้งหมดก็คือผู้ที่เป็นผู้ผลิตเพียงคนเดียวตอนนี้คือนาย B

ประเทศจะเจริญและร่ำรวยเท่ากับปริมาณของคนที่ทำงานและปริมาตรของงานที่ผลิตขึ้นมา และต้องเป็นงานที่ตลาดต้องการ หน้าที่ของรัฐบาลไม่ใช่การแบ่งเงินหรือสร้างงาน หากแต่ทำให้คนมีอิสรภาพที่จะเลือกทำงานอะไรก็ได้ (ถ้าจะมองดูให้ดีรัฐบาลของเราวันนี้ไม่ได้สร้างผลิตผลหรือสร้างงาน กลับแต่มีหน้าที่หลักในการเผาผลาญทรัพยากรณ์และเงินภาษีประเทศ รัฐบาลเอาเงินภาษีของคนทุกคนมาใช้จ่ายนั่นไม่เรียกสร้างงานเพราะเงินนั้นๆมาจากประชาชน รัฐบาลเพียงแค่ย้ายเงินจากประชาชนทำให้หน้าที่การสร้างงานตกเป็นของรัฐแทนที่จะเป็นของประชาชน ดังนั้นเรียกกสร้างงานไม่ได้ การกระทำในลักษณะนี้กลับยิ่งเป็นการลดเสรีภาพของประชาชน)

 

ประเด็นสำคัญของการปฏิรูปจึงอยู่ที่การลดข้อบังคับและกฏเกณ์ เพื่อเพิ่มเสรีภาพ ให้ประชาชนเอาเสรีภาพที่มากขึ้นไปบริหารชีวิตของตัวเอง

 

ผมเขาใจว่าพวกคุณมีความประสงค์ดี แต่ความประสงค์ดีหลายอย่างมักมีผลกระทบที่มองไม่เห็นตามมา ภาษาอังกฤษเรียก unintended consequence วิถีทางเดียวที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศนี้คือลดอำนาจและบทบาทของรัฐบาล และเพิ่มอำนาจและบทบาทของประชาชน รัฐบาลที่ใช้เงินไม่ได้และปรับอัตราภาษีไม่ได้ ย่อมไม่มีใครอยากเข้าไปเป็น และวันนั้นคุณจะได้คนดีเสียสละมาปกครองประเทศ




#1104402 ถ้า การเมือง เหมือน การ บริหารธุรกิจ คุณคิดจะเลือก ซีอีโอ แบบไหน ?

Posted by Tom PR on 14 March 2014 - 06:04

Ricebenoil  คุณนะมั่ว และคุณแพ้ผมแล้ว สิ่งที่คุณตอบมาไม่ได้เป็นการโต้แย้งที่ฟังขึ้นเลย ดังนั้นผมจะไม่เสียเวลาคุยกับคุณอีก

 

ปล. ผมไม่รู้ว่าพวกคุณมีครอบครัว หรือโตมาในสังคมแบบไหน แต่สังคมไทยเป็นสังคมครอบครัว พ่อแม่ ยอมใช้น้อย ยอมเหนื่อยเพื่อให้ลูกๆสบายในภายภาคหน้า การทำภาษีมรดกให้มากขึ้นมีผลร้ายที่จะเกิดตามมาอย่างแน่นอน เพราะท้ายสุด พ่อแม่ย่อมต้องหาทางให้ลูกได้ใช้ทรัพย์สินที่ตัวเองหามา

 

kanokporn ผมเป็นแพทย์ใช้ทุนและชนบท 10+ ปีและไม่มีคลีนิคส่วนตัวครับ คนไข้ล้างไตแต่ไม่มีตังผมจ่ายออกจากกระเป๋าตัวเองให้ฟรีแต่เดี๋ยวมันก็ตายและก็มีคนใหม่มาขออีก ผมทำมาเป็นสิบๆปีตอนนี้ก็ทำอยู่ มันไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเลย จิตสาธารณะบ้าบอคอแตกของคุณผมไม่รู้จักหรอก และเช่นเดียวกับ ricebenoil  คุณนะมันมั่ว สิ่งที่คุณตอบมาไม่ได้เป็นการโต้แย้งที่ฟังขึ้นเลย ดังนั้นผมจะไม่เสียเวลาคุยกับคุณอีก และกรุณาแหกตาดูให้ดีๆ ประเทศจิตสาธารณะของคุณตอนนี้มันมีกี่ประเทศ เกาหลีเหนือ คิวบา ลาว ส่วนประเทศยุโรปก็เช่นกรีซ 

 

ผมจะพูดเป็นครั้งสุดท้าย ขอให้ท่านผู้โง่เขล่าเบาปัญญาฟังไว้ให้ดี

 

ของหลวงไม่มีเจ้าของ เลยถูกนักการเมืองโกง เลยมีคนบอกว่าโกงได้แต่ต้องแบ่งด้วย

 

วิธีแก้ไข คือต้องปล่อยให้ไม่มีของหลวง และส่วนที่ขายไม่ได้เช่นถนน อุทยานแห่งชาติ ต้องปล่อยให้มีการแข่งขัน โดยให้มีเอกชนเข้ามาแข่งกันบริหาร

 

พอทุกอย่างมีเจ้าของ คนโกงจะน้อยลงอย่างแน่นอน

 

ไม่มีใครใช้เงินประหยัด เท่ากับใช้เงินของตัวเอง ถ้าคุณไม่เชื่อผมแนะนำ ให้คนอื่นลองใช้เงินของคุณแทนตัวคุณดูครับ

 

จิตสาธารณะแนะนำให้ทำกันเองครับ อย่าบังคับทำผ่านหลวง




#1104221 ถ้า การเมือง เหมือน การ บริหารธุรกิจ คุณคิดจะเลือก ซีอีโอ แบบไหน ?

Posted by Tom PR on 13 March 2014 - 22:15

คนรับผิดชอบมีอยู่แล้ว แล้วพวกเขาก็ทำหน้าที่อยู่แล้ว =>นั่นคือข้ออ้าง สาเหตุจริงๆที่คุณไม่เอารถไปซ่อมคือ ข้าพเจ้าไม่ได้อะไรต่างหาก ซ่อมไปมันก็เป็นของทุกคน และทุกคนก็คิดเหมือนกัน

เด็กที่พ่อแม่ไม่มีความสามารถส่งลูกมาเรียนในโรงเรียนที่ดีได้ => ผมว่าปัจจัยเรื่องการเดินทางมันน้อยกว่าเรื่องโรงเรียนหลวงไม่รับครับ ล้านเปอร์เซ็น

 

ลดช่องว่างระหว่างประชากร => มันเป็นปัญหาของทุกๆประเทศในโลกใบนี้ครับ ประเด็นสำคัญขึ้นอยู่ว่าคุณจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร โดยใช้อะไรเป็นตัวตั้ง

ถ้าคุณเอาความเท่าเทียมของทรัพย์สินเป็นที่ตั้ง ผมรับประกันโดยใช้ประว้ติศาสตร์ 2000 ปี ของอารยธรรมมนุษย์ว่าคุณจะไม่ได้รับความเท่าเทียมกันอย่างแน่นอน แนะนำดูประเทศคอมมิวนิสที่เอาความเท่าเทียมของทรัพย์สินเป็นที่ตั้ง เช่น เกาหลีเหนือ คิวบา

แต่ถ้าคุณเอาความเท่าเทียมของสิทธิ์และเสรีภาพ เป็นตัวตั้ง คุณจะได้ความเท่าเทียมทางด้านทรัพย์สิน ที่สูงที่สุดในระดับหนึ่งมากกว่าประเทศไหนๆในโลกใบนี้

 

ทางแก้ไข คือลดอำนาจ และบทบาทของรัฐบาลเพื่อสร้างเสรีภาพ ไม่ใช่สร้างอำนาจและบทบาทของรัฐบาลให้มากขึ้นโดยการออกกฏหมายเพิ่ม หาทางให้คนหากินด้วยลำแข้งของตัวเองโดยสุจริตบนพื้นฐานที่มีเสรีภาพเท่า เทียมกัน ไม่ใช่เอะอะก็หากินจากรัฐบาล (หลวงจ่ายที ของหลวง รร รพหลวง สัมปทานหลวง) ซึ่งนี่เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดที่ไม่เคยได้รับการแก้ไขและเป็นสิ่งที่สร้างที่ มาของตระกลูชิน ถ้าคุณไม่เลิกสร้างอำนาจให้รัฐบาล ท้ายสุดก็จะมีคนมาเอาอำนาจนั้นเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับตัวเอง ไม่มีหน้าเหลี่ยมเดี๋ยวก็มีคนใหม่มาแทน

อยากจะมีเหลี่ยม 2 3 4 ก็ทำแบบเดิมไปครับ ปฏิรูปไปแต่ระบบเป็นแบบเดิม ก็คงเน่าต่อไปตราบชั่วฟ้าดินสลาย

 

@kanoporn ถ้าผมไม่แรงจะมีคนมาเถียงมาอ่านเหรอ ผมเถียงคนมาก็มาก ไม่เคยคิดว่าจะทำให้ใครเปลี่ยนใจ แค่ต้องการบอกว่ามันมีทางเลือกอีกทางในการปฏิรูปประเทศ หรือหาข้อบกพร่องของความคิดตัวเอง นี่เห็นไหมผมมาแป็ปเดียวมีคนตอบเต็มเลย ไม่มีใครสนใจ จขกทเลย




#1104147 ถ้า การเมือง เหมือน การ บริหารธุรกิจ คุณคิดจะเลือก ซีอีโอ แบบไหน ?

Posted by Tom PR on 13 March 2014 - 21:15

ถึงคุณ ricebenoil (ข้อความด้านล่างอาจหยาบคายสักนิด แต่ผมต้องทำเพื่อชี้จุดให้ชัดเจน)

 

กรุณาเบิงตาดูให้ดีๆ หรือถ้ายังมองไม่เห็นผมจะช่วยแหกให้ดูว่าสภาพสาธารณะสมบัติมันเป็นเยี่ยงไร ของที่บอกว่ามันเป็นของทุกคนเช่น คุก โรงพยาบาล โรงพัก โรงเรียน รถเมล์หลวง ถนน มันเก่าผุพังหลังจากที่สร้างเสร็จไม่กี่ปี ขอถามหน่อยทำไมมันเป็นเช่นนั้น อย่าบอกนะว่าหนูไม่รู้ รถเมล์หลวงมันเป็นของทุกคนทำไมมันถึงได้เละเทะ ทำไมทุกคน (ตัวคุณ) ไม่เอาไปซ่อมละครับ ผมจะบอกให้ในทางกลับกันถ้ามันเป็นรถของคุณครับแค่มีรอยแมวข่วนก็คงนอนไม่หลับ ต้องวิ่งเอารถเข้าอู่แล้ว กรุณาอย่าปากดีให้ผมสำรอก การที่มันไม่มีคนดูแลนั่นละครับคือสิ่งที่ชี้ว่าของหลวงมันไม่มีเจ้าของ

 

ผม ไม่ใช่ liberal ไม่ใช่ conservative พูดไรมาผมผมไม่รุ้เรื่อง ผมเป็น libertarian ถ้าไม่รู้จักว่า libertarian คืออะไรกรุณาอ่านหนังสือหรือเปิด wikipedia ก่อนมาคุย ไม่งั้นเถียงกันไม่รู้เรื่อง

 

ประเด็นที่ผมพูดอยู่คือ ต้องลดการใช้เงินของรัฐบาล มันเข้าไปจะได้โกงไม่ได้ พวกคุณรอคนดี ตายไปไม่รู้กี่สิบชาติกว่าจะผ่านมา 1 คน

 

ถ้า พูดถึงในเรื่องการศึกษารัฐบาลต้องปล่อยให้โรงเรียนหลวงมีการแข่งขัน โดยเอาเงินไปไว้กับพ่อแม่ ผ่านสิ่งที่เรียกว่าตั๋วการศึกษา (school voucher ถ้าไม่รู้จักแนะนำให้อ่านก่อนว่ามันคืออะไร) เงินเดือนครูเอาไปหารแบ่งกันเองตามปริมาณนักศึกษา ที่ไหนไม่มีคนอยากเข้าเรียน ต้องถูกยุบหรือจะไม่ยุบก็ได้แต่เงินเดือนได้เท่ากับปริมาณนักเรียนนะ นั่นคือลดค่าใช้จ่าย

 

เงินภาษีเก็บให้มันน้อยลงหรือเท่าเดิมก็ได้แต่ต้องเอามาหารแบ่งแจกเลย เพราะไม่ต้องเอาไปเลี้ยงโรงเรียนห่วยๆแล้ว ไม่ต้องเอาไปให้นักการเมืองมาโกงใช้เล่นแล้ว พ่อแม่อยากจะทำอะไรกับเงินนั่นจะเอาเข้าแบ้ง ลงทุน หรือเที่ยวโสเภณี สบายครับแล้วแต่ตัวเองพิจารณา (เสรีไทย)

 

ผมไม่ได้คิดว่าตัวเองวิเศษวิดสกว่าชาวบ้าน ให้ตัวชาวบ้านตัดสินใจว่าตัวเองจะใช้เงินอย่างไรดีกว่าครับ เพราะเท่าที่ผ่านมาพอนักการเมืองตัดสินใจให้ทีไร ค่า commission มันแพงดีจริงๆ




#1102878 ถ้า การเมือง เหมือน การ บริหารธุรกิจ คุณคิดจะเลือก ซีอีโอ แบบไหน ?

Posted by Tom PR on 13 March 2014 - 04:59

ประเด็นคือมันไม่เหมือนกันครับ การเมืองไม่เหมือนการบริหารธรุกิจ

 

ธรุกิจมีเจ้าของมีคนเดือดร้อนเวลาถูกโกง คงแปลกมาครับถ้าเจ้าของธุรกิจจับ CEO ได้ว่าโกง แต่เนื่องจาก CEO ทำกำไรให้จึงปล่อยให้โกงต่อ เจ้าของธุรกิจแบบนี้ไม่มีครับ ถ้ามีกรุณาบอกชื่อครับ ผมจะขอไปสมัครงาน หรือคิดง่ายๆจ้างเด็กเปิดร้านขายน้ำปั่น จับได้ว่าเด็กโกงแต่ยังกำไรอยู่จึงปล่อยให้เด็กโกงต่อเรื่อยๆ เจ้าของแบบนี้มันไม่มีครับ

 

ประเทศเป็นของส่วนรวม หรือ พูดง่ายๆคือมันไม่มีเจ้าของ ถ้าใครเถียงว่าประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของ ขอให้ไปดูสภาพสาธารณะสมบัติ เช่น คุก โรงพัก โรงเรียน รถเมล์กทม อะไรก็ตามที่เป็นของหลวงมักไม่ได้รับการดูแล และการไม่ได้รับการดูแลจากเจ้าของเป็นสิ่งยืนยันว่ามันไม่มีเจ้าของ

 

ทำไมทุกรัฐบาลที่ผ่านมาตลอด 75 ปี จึงบริหารให้ประเทศขาดทุน สาเหตุก็เพราะผู้บริหารไม่ได้ใช้เงินตัวเอง และเงินหลวงไม่มีเจ้าของ จึงเป็นที่มาของคำว่าถ้าจะโกงอย่าลืมแบ่งผมด้วย เพราะโกงแล้วคิดว่าไม่มีใครเดือดร้อน

 

ในทางกลับกัน ถ้าคนที่พูดว่า "จะโกงอย่าลืมแบ่งผมด้วย" มันเป็นเจ้าของเงิน บาทเดียวมันก็ไม่ให้ใครโกง นี่คือความเป็นจริง

 

สาเหตุที่พวกคุณเถียงกันไม่จบเพราะหลายคนๆ ยอมรับความจริงข้อนี้ไม่ได้ที่ว่าของหลวงไม่มีเจ้าของ และทางแก้ทางเดียวคือลดอำนาจและความสามารถในการใช้จ่ายของรัฐบาล ผมจะบอกให้ มันเหมือนชื่อ webboard นั่นละ เสรีไทย แต่บังคับให้คนจ่ายภาษี ถ้าไม่จ่ายจะมายึดทรัพย์ นั่นมันเสรีตรงไหน พวกคุณกลับไปพิจารณา คำจัดความของสิ่งต่างๆที่ตัวเองพูดถึง ก่อนเอามาเถียงกันให้ดี