Jump to content


jerasak

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 13 ตุลาคม 2551
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2557 12:38
-----

Posts I've Made

In Topic: ==พบข้อมูลน่าเป็นห่วงอนาคต คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรณีกู้เงินจำนำข้าว==

4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 12:18

เมื่อวานนี้ 3 กพ.57 สำนักข่าวอิสรา เขียนถึงประเด็นเดียวกับกระทู้นี้เลยครับ
มีความคืบหน้าเพิ่มเติมเช่นได้สัมภาษณ์ คุณชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการ-
คณะกรรมการกฤษฎีกา ในวันเดียวกัน กับมีความเห็นจากนักกฎหมายอาวุโส
ท่านอื่นมาประกอบเพิ่มเติมด้วย สรุปคือต้องรอวัดดวงถ้าคดีไปถึงศาลครับ :)

 

--------------------------------------------------------------

 

เบื้องหลัง"กฤษฎีกา"ไฟเขียวรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หาเงินโปะหนี้จำนำข้าว?

http://www.isranews..../27030-bbk.html

 

สำนักข่าวอิสรา: วันจันทร์ ที่ 03 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 20:00 น

 

เปิดเบื้องหลังบันทึกความเห็น "สนง.กฤษฎีกา" ตอบข้อหารือ ก.คลัง ปมหาแหล่งเงินกู้โปะหนี้นำจำข้าว "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ดำเนินการรวดเร็วทันใจ "ถามปุ๊บตอบปั๊บ" แล้วเสร็จในวันเดียว!  

erererererr.jpg

ในการเดินหน้าหาแหล่งเงินกู้เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวของ รัฐบาลรักษาการ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ภายใต้การนำของ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่กำลังปรากฏอยู่ในขณะนี้ 

หนึ่งในเหตุผลทางกฎหมายสำคัญที่ นายกิตติรัตน์ นำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาเรื่องนี้ คือ ความเห็นของ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา"  

สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร. 0901/ 85 ลงวันที่ 23 มกราคม 2557 ที่ทำถึง รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง เรื่องการขอหารือตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 เรื่องการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2557 ครั้งที่ 1 ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าว 

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ระบุข้อเท็จจริงที่นำมาใช้ในการพิจารณาเรื่องนี้ว่า “.. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี การผลิต 2556/57 ซึ่งมีระยะเวลารับจำนำ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2557 สำหรับภาคใต้ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 - ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอ และอนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์ เร่งรัดดำเนินการโครงการจำนำข้าวเปลือก (นาปี) ภายใต้กรอบวงเงินของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี การผลิต 2556/57 จำนวน 270,000 ล้านบาท 

ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ซึ่งมีเป้าหมายปริมาณการรับจำนำรวม 16.5 ล้านตัน โดยขณะนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้เริ่มดำเนินการรับจำนำใบประทวนซึ่งรัฐบาลได้ออกให้แก่เกษตรกรที่นำผลผลิตมาจำนำตามโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 แล้วอันก่อให้เกิดภารผูกพันเป็นหนี้ที่รัฐบาลจะต้องชำระแก่เกษตรกรผู้ถือใบประทวน

สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่มีใบประทวนนั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เกษตรกร ได้เริ่มดำเนินการปลูกข้าวเพื่อนำมาจำนำตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57 ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว แม้เกษตรกรดังกล่าวจะยังไม่มีใบประทวนแต่เป็นการดำเนินการของเกษตรกรตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57 ที่รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบต่อไปจนสิ้นสุดโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้แล้ว

ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรได้รับชำระหนี้ กระทรวงการคลังจึงจำเป็นต้องจัดหาแหล่งเงินทุนให้เพียงพอ ซึ่งต่อมากระทรวงการคลังโดยคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้ดำเนินการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2557 ครั้งที่ 1 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 รับทราบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2557 ครั้งที่ 1 ดังกล่าว และอนุมัติการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ ภายใต้กรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะดังกล่าวตลอดจน ให้กระทรวงการคลัง เป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ของการกู้เงินและการค้ำประกันในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถดำเนินการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นตามโครงการดังกล่าว 

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ยังระบุด้วยว่า พิจารณาข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วเห็นว่า โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57 ได้ก่อให้เกิดหนี้ที่รัฐบาลมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมายโดยโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้เคยอนุมัติไว้แล้วก่อนมีการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 อนุมัติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนมอบหมายให้กระทรวงการคลัง เป็นผู้พิจารณาการกู้เงินเงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ของการกู้เงินและการค้ำประกันในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น จึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลัง ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 เพื่อให้สามารถชำระหนี้ของรัฐบาลตามโครงการที่ได้รับอนุมัติก่อนการยุบสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่ถือเป็นการกระทำอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ตามบทบัญญัติมาตรา 181 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”

ลงชื่อ "นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ" เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

จากการตรวจสอบข้อมูลในหนังสือฉบับนี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org พบประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ 

1. ในหนังสือฉบับนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อ้างถึงหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0900/852 ลงวันที่ 23 มกราคม 2557 โดยระบุว่ากระทรวงการคลังได้ขอหารือความเห็นมายังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอหารือในเรื่องนี้ 

ขณะที่หนังสือตอบความเห็นทางกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่งกลับไปถึงกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 23 มกราคม 2557 เช่นกัน 

ชี้ให้เห็นว่า การพิจารณาความเห็นทางกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในเรื่องนี้ใช้เวลาในการพิจารณาไม่ถึง 1 วัน 

2. ในหนังสือตอบความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ระบุคำว่า "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" เป็นผู้ตอบความเห็น "มิใช่" คณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่งแต่อย่างใด 

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สัมภาษณ์ ยืนยันสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า การตอบข้อหารือเรื่องนี้ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทำในนามสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ส่วนการตอบความเห็นก็เป็นไปตามหลักการทางกฎหมายทั่วไป และตามข้อเท็จจริงที่ถามมา แต่การปฏิบัติเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จะต้องไปดำเนินการให้อยู่ภายใต้กรอบกฎหมายอีกครั้ง 

ขณะที่ นายเฉลิมชัย วสีนนท์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต นิติกรกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และอดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด ให้สัมภาษณ์ยืนยันสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ก่อนหน้านี้ ว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ใช่องค์กรผู้ชี้ขาดตามกฎหมาย ฉะนั้นแม้จะเป็นความเห็นขององค์คณะ หรือที่ประชุมใหญ่กฤษฎีกาเลย ก็ไม่ใช่ประเด็นอยู่ดี

"การกู้เงินในโครงการรับจำนำข้าวขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 181 หรือไม่ อยู่ที่การพิจารณาหรือตีความบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ สมมติต่อไปมีผู้ไปยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ซึ่งเชื่อว่าสามารถยื่นได้เพราะปัญหาเกิดขึ้นแล้ว และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการดำเนินการของรัฐบาลกระทำไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้น"

"ผมเคยเป็นกรรมการกฤษฎีกา เคยอยู่กรมบัญชีกลาง เคยเป็นอธิบดีกรมสรรพสามิต ทราบเรื่องนี้ดี ฉะนั้นความเห็นของกฤษฎีกาไม่ใช่ประเด็น ไม่ว่าจะเป็นความเห็นของตัวเลขาธิการเอง ความเห็นขององค์คณะ หรือแม้แต่ที่ประชุมใหญ่ก็ตาม ก็ลองย้อนดูว่ากี่เรื่องแล้วที่ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาพอไปถึงศาลแล้ว แพ้ เมื่อก่อนศาลไม่ค่อยกลับความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกานะ แต่เดี๋ยวนี้ตั้งใครเข้าไปบ้างก็ลองไปดูก็แล้วกัน ทำไมความเห็นถึงถูกกลับเป็นประจำ" 

ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้ทำบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด เลขที่ กค 0900/192 ถึงรองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน เพื่อขอให้นำเรียนข้อสังเกตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต่อกรณีการค้ำประกันเงินกู้โครงการรับจำนำข้าวเปลือก (นาปี) ปีการผลิต 2556/2557 

โดยตั้งข้อสังเกตว่า การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 สำหรับโครงการรับจำนำข้าวเปลือก (นาปี) ปีการผลิต2556/2557 ตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น อาจถูกวินิจฉัยชี้ขาดโดยองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ฯ ต่อไปได้ว่าการดำเนินการดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ มาตรา181(3) หรืออาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ จึงเห็นควรนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาทบทวน หรือสั่งการยืนยันให้ดำเนินการดังกล่าวต่อไป

(อ่านประกอบ:เปิดหนังสือลับ "สบน."แย้ง “กิตติรัตน์” ดันทุรัง หาเงินกู้โปะจำนำข้าว)

อย่างไรก็ตาม นายกิตติรัตน์ ยืนยันความเห็นชัดเจนว่า 

".. การที่ กกต.ระบุว่าการดำเนินการตามมติ ครม.วันที่ 21 ม.ค.2557 ไม่เข้าข่ายการใช้จ่ายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (1) ,(2) และ (4) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าการดำเนินการตามมติครม.ดังกล่าว ไม่ขัดต่อมาตรา 181(3) ของรัฐธรรมนูญ

ในขณะที่กระทรวงการคลัง มีภารกิจที่ต้องดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 ก.ย.2556 และวันที่ 21 ม.ค.2557

จึงยืนยันให้ดำเนินการตามมติ ครม.วันที่ 21 ม.ค. 2557 ต่อไป.."

ส่วนเรื่องนี้ จะถูกหรือผิด สุดท้ายอาจจะต้องให้องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ชี้ขาด อีกครั้ง ?


In Topic: ==พบข้อมูลน่าเป็นห่วงอนาคต คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรณีกู้เงินจำนำข้าว==

31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:50

 

 

3. การพิจารณาของ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" 
ทำได้รวดเร็วมาก
สามารถตอบกลับข้อหารือได้ภายใน
วันเดียวกับที่รับหนังสือคือ 23 มกราคม
2553

 

 

 

^_^  น่าจะเป็นปี 2557 ใช่มั้ยครับ...

 

แก้ไขแล้วครับ หลงตาไปจริงๆ :)


In Topic: ==ประเด็นสงสัยเรื่องขั้นตอนการถอนร่าง พรบ.นิรโทษกรรม จากสภา==

6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 17:28

 

 

 

 

สอบถามครับ ตอนนี้ฝ่ายค้านสามารถยื่นศาลรธน.ได้แล้วใช่ไหมครับ 

 

และหากว่ายื่นได้หากศาล รธน.ตีความว่า ผิด รธน.จะส่งผลอย่างไรต่อกม.ฉบับนี้ครับ 

 

ฝ่ายค้านยังยื่นศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ครับ การจะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้-

ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาก่อนซึ่งมีได้หลายกรณีมากครับ เช่น

 

1. วุฒิสภาให้การรับรองผ่านวาระ 3 แล้ว

2. วุฒิสภาไม่รับรอง แต่พอพ้น 180 วันสภาผู้แทนฯให้การรับรองแล้ว

3. วุฒิสภามีการแก้ไข ร่าง พรบ.แล้วส่งกลับมาให้สภาผู้แทน

    3.1 สภาผู้แทนฯ เห็นชอบตามร่างที่วุฒิสภาแก้ไข แล้ว

    3.2 สภาผู้แทนฯ ไม่เห็นชอบตามร่างที่วุฒสภาแก้ไข

          ต้องมีการตั้งกรรมาธิการร่วม เพื่อพิจารณาร่วมกัน

          แล้วทั้งสองสภาให้การรับรอง ร่าง พรบ.

4. หลังตั้งกรรมาธิการร่วมแล้ว สภาใดสภาหนึ่งไม่รับรอง

    แต่พอพ้น 180 วันแล้ว สภาผู้แทนฯให้การรับรอง

 

สรุปให้ง่ายๆ คือจะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้ ต้องทำใน

ขั้นตอนก่อนที่ นายกฯจะนำ ร่าง พรบ.ขึ้นทูลเกล้าฯ ครับ ^_^

 

 

 

ฝ่ายกฎหมาย ปชป.น่าจะทำสำนวนฟ้องเตรียมไว้แล้วใช่ไหมคะ เพื่อที่ว่าเมื่อกม.ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา (ไม่ว่าจะวิธีไหนใน 1-4)

ก็จะได้ชิงยื่นศาลทันที  ?

 

 

น่าจะดูที่ลิงค์ข่าวนี้ได้นะครับ คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน

บอกว่าเตรียมเอกสารไว้เรียบร้อยแล้วครับ ^_^

 

 

ก็น่ามีทางนี้ทางเดียวที่จะบล็อกไว้ได้ หรือไงคะ

 

 

น่าจะมีการดึงเกมให้ยาว เพื่อรอให้กระแสต่อต้านตกก่อน

ซึ่งก็คือ วุฒิสภาไม่รับร่าง พรบ.แล้วคืนกลับมาให้สภา

 

ซึ่งหลังจากพ้น 180 วัน (ประมาณครึ่งปี) กระแสต่อต้าน

ก็คงลดลง ถึงตอนนั้นค่อยนำกลับมาให้การรับรองก็ได้ 

หรือระหว่างนั้นอาจมีการยุบสภาไปก่อนก็ได้อีก ถ้าชนะ

เลือกตั้งกลับมา (ซึ่งฝ่ายเพื่อไทยมั่นใจว่าจะชนะแน่)

ค่อยนำ ร่าง พรบ.มาให้การรับรอง อ้างความชอบธรรม

จากการชนะเลือกตั้ง

 

ดังนั้นกว่าจะได้ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญคงอีกนานครับ ^_^


In Topic: ==ประเด็นสงสัยเรื่องขั้นตอนการถอนร่าง พรบ.นิรโทษกรรม จากสภา==

6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 16:45

 

 

สอบถามครับ ตอนนี้ฝ่ายค้านสามารถยื่นศาลรธน.ได้แล้วใช่ไหมครับ 

 

และหากว่ายื่นได้หากศาล รธน.ตีความว่า ผิด รธน.จะส่งผลอย่างไรต่อกม.ฉบับนี้ครับ 

 

ฝ่ายค้านยังยื่นศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ครับ การจะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้-

ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาก่อนซึ่งมีได้หลายกรณีมากครับ เช่น

 

1. วุฒิสภาให้การรับรองผ่านวาระ 3 แล้ว

2. วุฒิสภาไม่รับรอง แต่พอพ้น 180 วันสภาผู้แทนฯให้การรับรองแล้ว

3. วุฒิสภามีการแก้ไข ร่าง พรบ.แล้วส่งกลับมาให้สภาผู้แทน

    3.1 สภาผู้แทนฯ เห็นชอบตามร่างที่วุฒิสภาแก้ไข แล้ว

    3.2 สภาผู้แทนฯ ไม่เห็นชอบตามร่างที่วุฒสภาแก้ไข

          ต้องมีการตั้งกรรมาธิการร่วม เพื่อพิจารณาร่วมกัน

          แล้วทั้งสองสภาให้การรับรอง ร่าง พรบ.

4. หลังตั้งกรรมาธิการร่วมแล้ว สภาใดสภาหนึ่งไม่รับรอง

    แต่พอพ้น 180 วันแล้ว สภาผู้แทนฯให้การรับรอง

 

สรุปให้ง่ายๆ คือจะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้ ต้องทำใน

ขั้นตอนก่อนที่ นายกฯจะนำ ร่าง พรบ.ขึ้นทูลเกล้าฯ ครับ ^_^

 

 

 

ฝ่ายกฎหมาย ปชป.น่าจะทำสำนวนฟ้องเตรียมไว้แล้วใช่ไหมคะ เพื่อที่ว่าเมื่อกม.ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา (ไม่ว่าจะวิธีไหนใน 1-4)

ก็จะได้ชิงยื่นศาลทันที  ?

 

 

น่าจะดูที่ลิงค์ข่าวนี้ได้นะครับ คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน

บอกว่าเตรียมเอกสารไว้เรียบร้อยแล้วครับ ^_^

 

http://www.manager.c...D=9560000137062

 

ขอโทษที ตอนแรกโพสต์ลิงค์ไม่ติดครับ...


In Topic: ==ประเด็นสงสัยเรื่องขั้นตอนการถอนร่าง พรบ.นิรโทษกรรม จากสภา==

6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 16:12

สอบถามครับ ตอนนี้ฝ่ายค้านสามารถยื่นศาลรธน.ได้แล้วใช่ไหมครับ 

 

และหากว่ายื่นได้หากศาล รธน.ตีความว่า ผิด รธน.จะส่งผลอย่างไรต่อกม.ฉบับนี้ครับ 

 

ฝ่ายค้านยังยื่นศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ครับ การจะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้-

ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาก่อนซึ่งมีได้หลายกรณีมากครับ เช่น

 

1. วุฒิสภาให้การรับรองผ่านวาระ 3 แล้ว

2. วุฒิสภาไม่รับรอง แต่พอพ้น 180 วันสภาผู้แทนฯให้การรับรองแล้ว

3. วุฒิสภามีการแก้ไข ร่าง พรบ.แล้วส่งกลับมาให้สภาผู้แทน

    3.1 สภาผู้แทนฯ เห็นชอบตามร่างที่วุฒิสภาแก้ไข แล้ว

    3.2 สภาผู้แทนฯ ไม่เห็นชอบตามร่างที่วุฒสภาแก้ไข

          ต้องมีการตั้งกรรมาธิการร่วม เพื่อพิจารณาร่วมกัน

          แล้วทั้งสองสภาให้การรับรอง ร่าง พรบ.

4. หลังตั้งกรรมาธิการร่วมแล้ว สภาใดสภาหนึ่งไม่รับรอง

    แต่พอพ้น 180 วันแล้ว สภาผู้แทนฯให้การรับรอง

 

สรุปให้ง่ายๆ คือจะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้ ต้องทำใน

ขั้นตอนก่อนที่ นายกฯจะนำ ร่าง พรบ.ขึ้นทูลเกล้าฯ ครับ ^_^