Jump to content


jerasak

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 13 ตุลาคม 2551
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 4 กุมภาพันธ์ 2557 12:38
-----

#1048056 ==พบข้อมูลน่าเป็นห่วงอนาคต คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรณีกู้เงินจำนำข้าว==

โดย jerasak on 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 12:18

เมื่อวานนี้ 3 กพ.57 สำนักข่าวอิสรา เขียนถึงประเด็นเดียวกับกระทู้นี้เลยครับ
มีความคืบหน้าเพิ่มเติมเช่นได้สัมภาษณ์ คุณชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการ-
คณะกรรมการกฤษฎีกา ในวันเดียวกัน กับมีความเห็นจากนักกฎหมายอาวุโส
ท่านอื่นมาประกอบเพิ่มเติมด้วย สรุปคือต้องรอวัดดวงถ้าคดีไปถึงศาลครับ :)

 

--------------------------------------------------------------

 

เบื้องหลัง"กฤษฎีกา"ไฟเขียวรัฐบาลยิ่งลักษณ์ หาเงินโปะหนี้จำนำข้าว?

http://www.isranews..../27030-bbk.html

 

สำนักข่าวอิสรา: วันจันทร์ ที่ 03 กุมภาพันธ์ 2557 เวลา 20:00 น

 

เปิดเบื้องหลังบันทึกความเห็น "สนง.กฤษฎีกา" ตอบข้อหารือ ก.คลัง ปมหาแหล่งเงินกู้โปะหนี้นำจำข้าว "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ดำเนินการรวดเร็วทันใจ "ถามปุ๊บตอบปั๊บ" แล้วเสร็จในวันเดียว!  

erererererr.jpg

ในการเดินหน้าหาแหล่งเงินกู้เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวของ รัฐบาลรักษาการ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ภายใต้การนำของ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่กำลังปรากฏอยู่ในขณะนี้ 

หนึ่งในเหตุผลทางกฎหมายสำคัญที่ นายกิตติรัตน์ นำมาใช้เป็นหลักในการพิจารณาเรื่องนี้ คือ ความเห็นของ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา"  

สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร. 0901/ 85 ลงวันที่ 23 มกราคม 2557 ที่ทำถึง รัฐมนตรีว่ากระทรวงการคลัง เรื่องการขอหารือตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 เรื่องการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2557 ครั้งที่ 1 ซึ่งมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าว 

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ระบุข้อเท็จจริงที่นำมาใช้ในการพิจารณาเรื่องนี้ว่า “.. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2556 รับทราบกรอบ ชนิด ราคา ปริมาณ ระยะเวลา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปี การผลิต 2556/57 ซึ่งมีระยะเวลารับจำนำ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2557 สำหรับภาคใต้ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2556 - ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอ และอนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์ เร่งรัดดำเนินการโครงการจำนำข้าวเปลือก (นาปี) ภายใต้กรอบวงเงินของโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปี การผลิต 2556/57 จำนวน 270,000 ล้านบาท 

ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย ซึ่งมีเป้าหมายปริมาณการรับจำนำรวม 16.5 ล้านตัน โดยขณะนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้เริ่มดำเนินการรับจำนำใบประทวนซึ่งรัฐบาลได้ออกให้แก่เกษตรกรที่นำผลผลิตมาจำนำตามโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2556 แล้วอันก่อให้เกิดภารผูกพันเป็นหนี้ที่รัฐบาลจะต้องชำระแก่เกษตรกรผู้ถือใบประทวน

สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่มีใบประทวนนั้น ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เกษตรกร ได้เริ่มดำเนินการปลูกข้าวเพื่อนำมาจำนำตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57 ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว แม้เกษตรกรดังกล่าวจะยังไม่มีใบประทวนแต่เป็นการดำเนินการของเกษตรกรตามโครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57 ที่รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบต่อไปจนสิ้นสุดโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้แล้ว

ดังนั้น เพื่อให้เกษตรกรได้รับชำระหนี้ กระทรวงการคลังจึงจำเป็นต้องจัดหาแหล่งเงินทุนให้เพียงพอ ซึ่งต่อมากระทรวงการคลังโดยคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้ดำเนินการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2557 ครั้งที่ 1 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 รับทราบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2557 ครั้งที่ 1 ดังกล่าว และอนุมัติการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ ภายใต้กรอบวงเงินของแผนการบริหารหนี้สาธารณะดังกล่าวตลอดจน ให้กระทรวงการคลัง เป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ของการกู้เงินและการค้ำประกันในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ เพื่อให้รัฐบาลสามารถดำเนินการชำระหนี้ที่เกิดขึ้นตามโครงการดังกล่าว 

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ยังระบุด้วยว่า พิจารณาข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วเห็นว่า โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ปีการผลิต 2556/57 ได้ก่อให้เกิดหนี้ที่รัฐบาลมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมายโดยโครงการดังกล่าว เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้เคยอนุมัติไว้แล้วก่อนมีการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 อนุมัติให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนมอบหมายให้กระทรวงการคลัง เป็นผู้พิจารณาการกู้เงินเงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ของการกู้เงินและการค้ำประกันในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น จึงเป็นการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงการคลัง ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ.2548 เพื่อให้สามารถชำระหนี้ของรัฐบาลตามโครงการที่ได้รับอนุมัติก่อนการยุบสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่ถือเป็นการกระทำอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ตามบทบัญญัติมาตรา 181 (3) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”

ลงชื่อ "นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ" เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

จากการตรวจสอบข้อมูลในหนังสือฉบับนี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org พบประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ 

1. ในหนังสือฉบับนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อ้างถึงหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0900/852 ลงวันที่ 23 มกราคม 2557 โดยระบุว่ากระทรวงการคลังได้ขอหารือความเห็นมายังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอหารือในเรื่องนี้ 

ขณะที่หนังสือตอบความเห็นทางกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่งกลับไปถึงกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 23 มกราคม 2557 เช่นกัน 

ชี้ให้เห็นว่า การพิจารณาความเห็นทางกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในเรื่องนี้ใช้เวลาในการพิจารณาไม่ถึง 1 วัน 

2. ในหนังสือตอบความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ระบุคำว่า "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" เป็นผู้ตอบความเห็น "มิใช่" คณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่งแต่อย่างใด 

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้สัมภาษณ์ ยืนยันสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ว่า การตอบข้อหารือเรื่องนี้ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทำในนามสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

ส่วนการตอบความเห็นก็เป็นไปตามหลักการทางกฎหมายทั่วไป และตามข้อเท็จจริงที่ถามมา แต่การปฏิบัติเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) จะต้องไปดำเนินการให้อยู่ภายใต้กรอบกฎหมายอีกครั้ง 

ขณะที่ นายเฉลิมชัย วสีนนท์ อดีตอธิบดีกรมสรรพสามิต นิติกรกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง และอดีตรองประธานศาลปกครองสูงสุด ให้สัมภาษณ์ยืนยันสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ก่อนหน้านี้ ว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาไม่ใช่องค์กรผู้ชี้ขาดตามกฎหมาย ฉะนั้นแม้จะเป็นความเห็นขององค์คณะ หรือที่ประชุมใหญ่กฤษฎีกาเลย ก็ไม่ใช่ประเด็นอยู่ดี

"การกู้เงินในโครงการรับจำนำข้าวขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 181 หรือไม่ อยู่ที่การพิจารณาหรือตีความบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ สมมติต่อไปมีผู้ไปยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ซึ่งเชื่อว่าสามารถยื่นได้เพราะปัญหาเกิดขึ้นแล้ว และศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการดำเนินการของรัฐบาลกระทำไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้น"

"ผมเคยเป็นกรรมการกฤษฎีกา เคยอยู่กรมบัญชีกลาง เคยเป็นอธิบดีกรมสรรพสามิต ทราบเรื่องนี้ดี ฉะนั้นความเห็นของกฤษฎีกาไม่ใช่ประเด็น ไม่ว่าจะเป็นความเห็นของตัวเลขาธิการเอง ความเห็นขององค์คณะ หรือแม้แต่ที่ประชุมใหญ่ก็ตาม ก็ลองย้อนดูว่ากี่เรื่องแล้วที่ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาพอไปถึงศาลแล้ว แพ้ เมื่อก่อนศาลไม่ค่อยกลับความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกานะ แต่เดี๋ยวนี้ตั้งใครเข้าไปบ้างก็ลองไปดูก็แล้วกัน ทำไมความเห็นถึงถูกกลับเป็นประจำ" 

ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org ตรวจสอบพบว่า เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2557 ที่ผ่านมา นางสาวจุฬารัตน์ สุธีธร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ได้ทำบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด เลขที่ กค 0900/192 ถึงรองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน เพื่อขอให้นำเรียนข้อสังเกตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต่อกรณีการค้ำประกันเงินกู้โครงการรับจำนำข้าวเปลือก (นาปี) ปีการผลิต 2556/2557 

โดยตั้งข้อสังเกตว่า การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2557 สำหรับโครงการรับจำนำข้าวเปลือก (นาปี) ปีการผลิต2556/2557 ตามมติคณะรัฐมนตรีข้างต้น อาจถูกวินิจฉัยชี้ขาดโดยองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ฯ ต่อไปได้ว่าการดำเนินการดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ มาตรา181(3) หรืออาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้ จึงเห็นควรนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาทบทวน หรือสั่งการยืนยันให้ดำเนินการดังกล่าวต่อไป

(อ่านประกอบ:เปิดหนังสือลับ "สบน."แย้ง “กิตติรัตน์” ดันทุรัง หาเงินกู้โปะจำนำข้าว)

อย่างไรก็ตาม นายกิตติรัตน์ ยืนยันความเห็นชัดเจนว่า 

".. การที่ กกต.ระบุว่าการดำเนินการตามมติ ครม.วันที่ 21 ม.ค.2557 ไม่เข้าข่ายการใช้จ่ายตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 (1) ,(2) และ (4) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีความเห็นว่าการดำเนินการตามมติครม.ดังกล่าว ไม่ขัดต่อมาตรา 181(3) ของรัฐธรรมนูญ

ในขณะที่กระทรวงการคลัง มีภารกิจที่ต้องดำเนินการตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 3 ก.ย.2556 และวันที่ 21 ม.ค.2557

จึงยืนยันให้ดำเนินการตามมติ ครม.วันที่ 21 ม.ค. 2557 ต่อไป.."

ส่วนเรื่องนี้ จะถูกหรือผิด สุดท้ายอาจจะต้องให้องค์กรที่มีอำนาจหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ชี้ขาด อีกครั้ง ?




#1039826 ==พบข้อมูลน่าเป็นห่วงอนาคต คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรณีกู้เงินจำนำข้าว==

โดย jerasak on 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:50

 

 

3. การพิจารณาของ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" 
ทำได้รวดเร็วมาก
สามารถตอบกลับข้อหารือได้ภายใน
วันเดียวกับที่รับหนังสือคือ 23 มกราคม
2553

 

 

 

^_^  น่าจะเป็นปี 2557 ใช่มั้ยครับ...

 

แก้ไขแล้วครับ หลงตาไปจริงๆ :)




#1039804 ==พบข้อมูลน่าเป็นห่วงอนาคต คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง กรณีกู้เงินจำนำข้าว==

โดย jerasak on 31 มกราคม พ.ศ. 2557 - 17:33

พบข้อมูลน่าเป็นห่วงเกี่ยวกับอนาคตคุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง

รักษาการรัฐมนตรีคลังครับ :)

กรณีกู้เงินจ่ายค่าจำนำข้าว ที่มีข่าวคุณกิตติรัตน์ อ้างว่า 
สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา มีความเห็นว่าการดำเนินการ
ตามมติครม.ดังกล่าวไม่ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 181(3)


ผมค้นหาดูก็เจอ หนังสือของ สนง.คณะกรรมการกฤษฎีกา
ที่ นร. 0901/85 ลงวันที่ 23 มกราคม 2557 ซึ่งอ้างถึง
หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0900/852 ลงวันที่ 23
มกราคม 2557
(ซึ่งก็คือวันเดียวกัน) ตอบข้อหารือของ
รมต.คลัง เรื่องการกู้เงินมาจ่ายหนี้จำนำข้าว ซึ่งเชื่อได้ว่า
เป็นเอกสารที่คุณกิตติรัตน์ใช้อ้างอิงตามข่าว มีข้อสังเกต
ที่ควรสนใจดังนี้ครับ...

1. คุณกิตติรัตน์ไม่ได้หารือ
"คณะกรรมการกฤษฎีกา"
แต่หารือกับ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา"
2. ความเห็นที่คุณกิตติรัตน์อ้างอิง ตามหนังสือนี้ระบุชัดเจน
ว่าเป็นความเห็นของ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" 
ซึ่งไม่ทราบว่าหมายถึงใคร แต่ผู้ลงนามคือ
นายชูเกียรติ 
รัตนชัยชาญ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา

3. การพิจารณาของ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" 
ทำได้รวดเร็วมาก
สามารถตอบกลับข้อหารือได้ภายใน
วันเดียวกับที่รับหนังสือคือ 23 มกราคม 2557

4. ความเห็นของ "สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา" 
ระบุชัดเจนว่ากระทรวงการคลังดำเนินการได้โดยไม่ขัด
ต่อมาตรา 181(3) ของรัฐธรรมนูญ


ความเห็นส่วนตัวของผมต่อกรณีนี้คือ ดูเหมือนคุณกิตติรัตน์
ไม่มั่นใจว่า "คณะกรรมการกฤษฎีกา" จะมีความเห็นเป็นบวก
ก็เลยหลีกเลี่ยงโดยส่งให้ "สำนักงาน" ตีความแทน ซึ่งความ
ละเอียดรอบคอบย่อมเทียบ "คณะกรรมการกฤษฎีกา" ไม่ได้
กรณีนี้ก็เห็นชัดว่าใช้เวลาพิจารณาเสร็จในวันเดียว!


ขนาดเรื่องที่ "คณะกรรมการกฤษฎีกา" มีความเห็นว่าไม่ผิด
ก็ยังเสี่ยงที่ศาลจะมีความเห็นต่าง เป็นที่รู้กันถ้ามีความเห็น
ว่า
"ํำถูกต้อง" จริงๆหมายถึงแค่ "อาจจะถูก" ตัวอย่างกรณี

"คดีที่ดินรัชดา" ของคุณทักษิณก็มีให้เห็นอยู่แล้ว

ตามความเห็นผม อนาคตคุณกิตติรัตน์น่าเป็นห่วงครับ :)

 

-----------------------------------------------------------------

หน้าแรก

1618492_652096994828524_16243732_n.jpg

 

หน้าที่สอง

1796629_652097031495187_1210205749_n.jpg




#891421 ==ประเด็นสงสัยเรื่องขั้นตอนการถอนร่าง พรบ.นิรโทษกรรม จากสภา==

โดย jerasak on 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 17:28

 

 

 

 

สอบถามครับ ตอนนี้ฝ่ายค้านสามารถยื่นศาลรธน.ได้แล้วใช่ไหมครับ 

 

และหากว่ายื่นได้หากศาล รธน.ตีความว่า ผิด รธน.จะส่งผลอย่างไรต่อกม.ฉบับนี้ครับ 

 

ฝ่ายค้านยังยื่นศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ครับ การจะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้-

ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาก่อนซึ่งมีได้หลายกรณีมากครับ เช่น

 

1. วุฒิสภาให้การรับรองผ่านวาระ 3 แล้ว

2. วุฒิสภาไม่รับรอง แต่พอพ้น 180 วันสภาผู้แทนฯให้การรับรองแล้ว

3. วุฒิสภามีการแก้ไข ร่าง พรบ.แล้วส่งกลับมาให้สภาผู้แทน

    3.1 สภาผู้แทนฯ เห็นชอบตามร่างที่วุฒิสภาแก้ไข แล้ว

    3.2 สภาผู้แทนฯ ไม่เห็นชอบตามร่างที่วุฒสภาแก้ไข

          ต้องมีการตั้งกรรมาธิการร่วม เพื่อพิจารณาร่วมกัน

          แล้วทั้งสองสภาให้การรับรอง ร่าง พรบ.

4. หลังตั้งกรรมาธิการร่วมแล้ว สภาใดสภาหนึ่งไม่รับรอง

    แต่พอพ้น 180 วันแล้ว สภาผู้แทนฯให้การรับรอง

 

สรุปให้ง่ายๆ คือจะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้ ต้องทำใน

ขั้นตอนก่อนที่ นายกฯจะนำ ร่าง พรบ.ขึ้นทูลเกล้าฯ ครับ ^_^

 

 

 

ฝ่ายกฎหมาย ปชป.น่าจะทำสำนวนฟ้องเตรียมไว้แล้วใช่ไหมคะ เพื่อที่ว่าเมื่อกม.ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา (ไม่ว่าจะวิธีไหนใน 1-4)

ก็จะได้ชิงยื่นศาลทันที  ?

 

 

น่าจะดูที่ลิงค์ข่าวนี้ได้นะครับ คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน

บอกว่าเตรียมเอกสารไว้เรียบร้อยแล้วครับ ^_^

 

 

ก็น่ามีทางนี้ทางเดียวที่จะบล็อกไว้ได้ หรือไงคะ

 

 

น่าจะมีการดึงเกมให้ยาว เพื่อรอให้กระแสต่อต้านตกก่อน

ซึ่งก็คือ วุฒิสภาไม่รับร่าง พรบ.แล้วคืนกลับมาให้สภา

 

ซึ่งหลังจากพ้น 180 วัน (ประมาณครึ่งปี) กระแสต่อต้าน

ก็คงลดลง ถึงตอนนั้นค่อยนำกลับมาให้การรับรองก็ได้ 

หรือระหว่างนั้นอาจมีการยุบสภาไปก่อนก็ได้อีก ถ้าชนะ

เลือกตั้งกลับมา (ซึ่งฝ่ายเพื่อไทยมั่นใจว่าจะชนะแน่)

ค่อยนำ ร่าง พรบ.มาให้การรับรอง อ้างความชอบธรรม

จากการชนะเลือกตั้ง

 

ดังนั้นกว่าจะได้ฟ้องศาลรัฐธรรมนูญคงอีกนานครับ ^_^




#891332 ==ประเด็นสงสัยเรื่องขั้นตอนการถอนร่าง พรบ.นิรโทษกรรม จากสภา==

โดย jerasak on 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 16:45

 

 

สอบถามครับ ตอนนี้ฝ่ายค้านสามารถยื่นศาลรธน.ได้แล้วใช่ไหมครับ 

 

และหากว่ายื่นได้หากศาล รธน.ตีความว่า ผิด รธน.จะส่งผลอย่างไรต่อกม.ฉบับนี้ครับ 

 

ฝ่ายค้านยังยื่นศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ครับ การจะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้-

ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาก่อนซึ่งมีได้หลายกรณีมากครับ เช่น

 

1. วุฒิสภาให้การรับรองผ่านวาระ 3 แล้ว

2. วุฒิสภาไม่รับรอง แต่พอพ้น 180 วันสภาผู้แทนฯให้การรับรองแล้ว

3. วุฒิสภามีการแก้ไข ร่าง พรบ.แล้วส่งกลับมาให้สภาผู้แทน

    3.1 สภาผู้แทนฯ เห็นชอบตามร่างที่วุฒิสภาแก้ไข แล้ว

    3.2 สภาผู้แทนฯ ไม่เห็นชอบตามร่างที่วุฒสภาแก้ไข

          ต้องมีการตั้งกรรมาธิการร่วม เพื่อพิจารณาร่วมกัน

          แล้วทั้งสองสภาให้การรับรอง ร่าง พรบ.

4. หลังตั้งกรรมาธิการร่วมแล้ว สภาใดสภาหนึ่งไม่รับรอง

    แต่พอพ้น 180 วันแล้ว สภาผู้แทนฯให้การรับรอง

 

สรุปให้ง่ายๆ คือจะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้ ต้องทำใน

ขั้นตอนก่อนที่ นายกฯจะนำ ร่าง พรบ.ขึ้นทูลเกล้าฯ ครับ ^_^

 

 

 

ฝ่ายกฎหมาย ปชป.น่าจะทำสำนวนฟ้องเตรียมไว้แล้วใช่ไหมคะ เพื่อที่ว่าเมื่อกม.ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา (ไม่ว่าจะวิธีไหนใน 1-4)

ก็จะได้ชิงยื่นศาลทันที  ?

 

 

น่าจะดูที่ลิงค์ข่าวนี้ได้นะครับ คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน

บอกว่าเตรียมเอกสารไว้เรียบร้อยแล้วครับ ^_^

 

http://www.manager.c...D=9560000137062

 

ขอโทษที ตอนแรกโพสต์ลิงค์ไม่ติดครับ...




#891279 ==ประเด็นสงสัยเรื่องขั้นตอนการถอนร่าง พรบ.นิรโทษกรรม จากสภา==

โดย jerasak on 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 16:12

สอบถามครับ ตอนนี้ฝ่ายค้านสามารถยื่นศาลรธน.ได้แล้วใช่ไหมครับ 

 

และหากว่ายื่นได้หากศาล รธน.ตีความว่า ผิด รธน.จะส่งผลอย่างไรต่อกม.ฉบับนี้ครับ 

 

ฝ่ายค้านยังยื่นศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ครับ การจะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้-

ต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภาก่อนซึ่งมีได้หลายกรณีมากครับ เช่น

 

1. วุฒิสภาให้การรับรองผ่านวาระ 3 แล้ว

2. วุฒิสภาไม่รับรอง แต่พอพ้น 180 วันสภาผู้แทนฯให้การรับรองแล้ว

3. วุฒิสภามีการแก้ไข ร่าง พรบ.แล้วส่งกลับมาให้สภาผู้แทน

    3.1 สภาผู้แทนฯ เห็นชอบตามร่างที่วุฒิสภาแก้ไข แล้ว

    3.2 สภาผู้แทนฯ ไม่เห็นชอบตามร่างที่วุฒสภาแก้ไข

          ต้องมีการตั้งกรรมาธิการร่วม เพื่อพิจารณาร่วมกัน

          แล้วทั้งสองสภาให้การรับรอง ร่าง พรบ.

4. หลังตั้งกรรมาธิการร่วมแล้ว สภาใดสภาหนึ่งไม่รับรอง

    แต่พอพ้น 180 วันแล้ว สภาผู้แทนฯให้การรับรอง

 

สรุปให้ง่ายๆ คือจะไปยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้ ต้องทำใน

ขั้นตอนก่อนที่ นายกฯจะนำ ร่าง พรบ.ขึ้นทูลเกล้าฯ ครับ ^_^




#891188 ==ประเด็นสงสัยเรื่องขั้นตอนการถอนร่าง พรบ.นิรโทษกรรม จากสภา==

โดย jerasak on 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 15:14

คุณ Foryour Eyesonly มาโพสต์ถามเรื่องขั้นตอนการถอน
ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ออกจากสภา ที่ facebook ของผม

ก็เลยขออนุญาตนำมาตอบให้อ่านทั่วๆ กันนะครับ

----------------------------------------------------------------

 

สำหรับการถอน ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ออกจากสภา มาถึง-

ตอนนี้ต้องบอกว่าช้าไปแล้วครับ เพราะมีการลงมติผ่านวาระ3 
ไปแล้ว ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนของวุฒิสภา ซึ่งไม่ว่าทางวุฒิสภา
จะมีมติอย่างไร อย่างมากก็ทำให้ร่าง พรบ. ถูกระงับชั่วคราว 
เพียง 180 วันเท่านั้น...


*หลังจากนั้นทางสภาผู้แทนฯก็สามารถเสนอญัตติให้โหวตผ่าน
เมื่อไหร่ก็ได้โดยอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีครับ*

 

ตอนนี้ทางเดียวที่จะทำให้ ร่าง พรบ.นี้ตกไปก็คือ รัฐบาลนี้-

อยู่ต่อไปจนครบวาระโดยสภาผู้แทนไม่เสนอญัตตินำร่าง พรบ.

นิรโทษกรรม ขึ้นมาพิจารณาอีก หรือนายกฯประกาศยุบสภาฯ

รณีใดกรณีหนึ่ง แล้วหลังเลือกตั้งเสร็จ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่

จะต้องไม่ร้องขอให้สภารับรองร่าง พรบ.นิรโทษกรรม นี้อีก

ภายใน 60 วัน นับจากวันที่มีการประชุมรัฐสภาใหม่ครั้งแรก

ถึงตอนนั้นร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ฉบับนี้ถึงจะตกไปจริงๆ ครับ

 

สำหรับข้อเรียกร้องจากทุกฝ่ายตอนนี้ จึงอยู่ที่ต้องการให้รัฐบาล
และพรรคเพื่อไทย ให้คำมั่นสัญญาว่าจะไม่ผลักดัน ร่าง พรบ.
นิรโทษกรรม ฉบับนี้อีก (และต้องทำจริงๆด้วย) ไม่ว่าในอายุ-

สภาชุดนี้หรือในรัฐบาลหน้าครับ ^_^




#883584 =ขอไว้อาลัยให้กับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบัน=

โดย jerasak on 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 10:15

ส่วนตัวแล้วผมไม่เข้าใจว่าฝ่ายคุณทักษิณทำอะไรกัน 
พรบ.ฉบับนี้ยังไงก็ไม่มีทางผ่านศาลรัฐธรรมนูญ เพราะ
ขัดรัฐธรรมนูญชัดเจน ทางฝ่ายเขาเองก็มีนักกฎหมาย
เยอะแยะควรทราบอยู่แล้ว ทำแบบนี้ไม่ได้ประโยชน์
อะไรเลย กลับจะทำให้ผู้ที่ชุมนุมโดยสงบพลอยไม่ได้รับ
นิรโทษกรรมไปด้วย มวลชนฝั่งเขาเองก็ต้องรู้สึกไม่ดี
 
กลุ่มนักวิชาการที่เคยสนับสนุน (จะเพราะมีความหวัง
แอบแฝงเรื่องต้าน ม.112 อะไรก็แล้วแต่) ตอนนี้ก็ไม่
สามารถสนับสนุนได้ เพราะทุกอย่างมันขัดหลักวิชา
ไปหมด จะดันทุรังไปตัวนักวิชาการก็จะเสียหายไปด้วย
 
นี่ยังไม่นับว่ามีเรื่องอื่นๆ เช่น กรณีเขาพระวิหาร รออยู่
ในเดือนนี้อีกนะครับ ไม่เข้าใจจริงๆ พวกเขานึกยังไงกัน?



#883560 =ขอไว้อาลัยให้กับเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบัน=

โดย jerasak on 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 10:00

เพิ่งได้เข้าเว็บเช็คข่าวการประชุมสภา
เรื่องการพิจารณา พรบ.นิรโทษกรรม
 
ปกติผมเป็นคนเฉยๆ แต่วันนี้รู้สึกเศร้า
กับการกระทำของเสียงข้างมากในสภา
ที่รวบรัดลงมติผ่านกฎหมายในตอนที่
คนเกือบทั้งประเทศกำลังนอนหลับ!
 
ผมไม่อยากเรียก พรบ.นิรโทษกรรม นี้
ว่า "กฎหมาย" น่าจะเรียกว่า "กฎแม้ว"
และ สส.ที่ผ่านกฎหมายฉบับนี้ออกมา
พวกคุณไม่ควรได้ชื่อว่า "นักการเมือง"
แต่ควรชื่อว่า "นักการแม้ว" มากกว่า
 
*ขอไว้อาลัยให้กับเสียงข้างมาก
ในสภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบัน*
 
คุณหมดความชอบธรรมที่จะอ้างตัวว่า
เป็นตัวแทนของการปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยที่มีธรรมาภิบาลแล้ว....
 
...
 
หมายเหตุ: การที่ไม่มีคะแนนผู้ไม่เห็นด้วย
เป็นเพราะฝ่ายค้าน walk out ออกจากสภา
ไปก่อนที่จะมีการลงคะแนนแล้ว ถือเป็นการ
แสดงความไม่เห็นด้วยอย่างสูงสุด
 
2592d88e.jpg



#882007 ==ภาพถ่าย ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ที่กรรมาธิการพิจารณากันจริงๆ==

โดย jerasak on 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 02:53

ไหนๆ เข้ามาแล้ว พูดถึงมาตรา 5 ด้วยก็แล้วกัน

 

ในมาตรา 5 ตามร่างเดิมคือระบุชัดเจนว่าผู้ได้รับ

นิรโทษกรรมไม่มีสิทธิเรียกร้องอะไรเพิ่มจากการ

ได้รับนิรโทษกรรม "ทั้งสิ้น"

 

แต่ในชั้นกรรมาธิการกลับตัดคำว่า "ทั้งสิ้น" ออก

แล้วเติมประโยคที่ขีดเส้นใต้เข้ามา...

 

ในจุดนี้ก็เช่นเดียวกัน คือมีการตีความว่าแก้ไขเพื่อ

รองรับการแก้มาตรา 3 ที่นิรโทษกรรมคดียึดทรัพย์

ทำนองเดียวกับที่แำก้ไขมาตรา 4

 

ผลที่เกิดขึ้นก็คือผู้ได้รับนิรโทษกรรมที่ไม่เกี่ยวกับ

การชุมนุมหรือการแสดงออกทางการเมือง เช่นที่

ได้รับนิรโทษกรรมคดียึดทรัพย์ สามารถเรียกร้อง

สิทธิประโยชน์ได้ พูดง่ายๆก็คือสามารถเรียกร้อง

ดอกเบี้ยของทรัพย์สินที่ถูกยึดได้ด้วยนั่นเองครับ




#882006 ==ภาพถ่าย ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ที่กรรมาธิการพิจารณากันจริงๆ==

โดย jerasak on 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 02:45

ไม่เข้าใจมาตรา 4 ประโยคสุดท้าย ก็องค์กรต่างๆ มันถูกบังคับให้ทำตาม พรบ นี้ ไม่ใช่หรือ เกี่ยวอะไรกับรัฐธรรมนูญ

 

กลับเข้ากระทู้มาเห็นพอดี ก็เลยไปเพิ่มคำอธิบาย

วิธีสังเกตสัญลักษณ์ในร่าง พรบ. นี้ไว้แล้วนะครับ

 

*ข้อความประโยคสุดท้ายของมาตรา 4 ที่ขีดเส้นใต้

เป็นข้อความที่เพิ่มใหม่โดยกรรมาธิการครับ*

 

ซึ่งทำให้มีการตีความว่า เพิ่มมาเพื่อรองรับการแก้ไข

มาตรา 3 ที่นิรโทษกรรมคดียึดทรัพย์ (ซึ่งดำเนินการ

โดยองค์กรที่จัดตั้งหลังรัฐประหาร คือ คตส.)

 

การเพิ่มประโยคดังกล่าวในมาตรา 4 มีการตีความ

ว่าทำให้องค์กรที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามหลัก

นิติธรรมกับการนิรโทษกรรมคดียึดทรัพย์

 

พูดง่ายๆ คือต้องคืนเงินที่ได้ยึดไว้ ให้กับผู้ได้รับ-

นิรโทษกรรมหรือก็คือ "ต้องคืนเงินให้คุณทักษิณ"




#881996 ==ภาพถ่าย ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม ที่กรรมาธิการพิจารณากันจริงๆ==

โดย jerasak on 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 01:54

เห็นมีคนอ้างถึงข้อความในร่างพรบ.นิรโทษกรรม

แตกต่างกันหลายเวอร์ชั่น

 

พอดีมีคนส่งลิงค์ภาพถ่าย ร่าง พรบ.นิรโทษกรรม 

ที่ผ่านการแก้ไขโดยกรรมาธิการฯ จาก FB ของ

สส.สามารถ มะลูลีม มาให้ดู ก็เลยมาลงเป็นกระทู้

ไว้ให้ดูกัน เผื่อมีคนยังไม่เคยเห็นนะครับ

 

...

 

กลับมาเพิ่มคำอธิบายความหมายของสัญลักษณ์

ที่ควรสังเกตสักหน่อยครับ

 

*ข้อความที่ขีดเส้นใต้คือข้อความที่เพิ่มเติมขึ้น

ในชั้นกรรมาธิการ เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2556*

 

ส่วนข้อความที่ถูกพิมพ์ / ทับไว้ คือข้อความ

ในร่างเดิมที่ผ่านวาระ 1 และถูกแก้ไขออกใน

ชั้นกรรมาธิการวันเดียวกันครับ

 

..................................................................

 

มี 2 หน้า หน้าแรกมาตรา 1 ถึง 3 สำหรับมาตรา 3

ไม่จบที่หน้านี้ ยังมีวรรคสุดท้ายเรื่องไม่รวมความผิด

ตามกฎหมายอาญา มาตรา 112 อยู่ในหน้า 2 ครับ

 

1375764_630196070364255_1928094726_n.jpg

 

 

 

ส่วนหน้าที่ 2 มีอีก 4 มาตรา คือมาตรา 4 ถึง 7 ครับ

 

1381759_630198700363992_1034527863_n.jpg

 

ส่วนเรื่องเนื้อหา พรบ.นิรโทษกรรม คงมีคนพูดเยอะแล้ว

กระทู้นี้ต้องการแค่ให้ได้เห็นภาพถ่ายของจริงกันนะครับ




#876674 ==เปิดกรุข้อมูลเกี่ยวกับ การประมูลสินทรัพย์ ปรส.==

โดย jerasak on 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 02:26

มาลงชื่ออ่านครับ

 

หลังการประมูลล๊อตใหญ่ผ่านพ้นไป มีการโจมตีเรื่องรีบประมูลกันมาก โดยเฉพาะตามรายการวิทยุ

ด๊อกฯ ธาดาดำรงเวท เป็นหนึ่งในกลุ่มโจมตี (ร่วมกับบอสสหพัฒน์)

 

ที่จริงมันมีปัญหาทางเทคนิคที่ไม่ได้มีการอธิบายให้ชัดเจน ข้อนี้ต้องโทษคุณอมเรศด้วยเหมือนกัน ที่ไม่ยอมออกมาให้ข้อมูลที่ละเอียดชัดเจน ทั้งๆ ที่การประมูลเสร็จสิ้นไปแล้ว

 

หนึ่งในปัญหาทางเทคนิคนั่นก็คือการเสื่อมราคา ได้แก่รถยนต์

รถพวกนี้หลักๆ ก็คือถูกยึดแล้ว กับอีกจำนวนหนึ่งยังวิ่งอยู่ เพราะยังยึดไม่ได้

 

แต่ไม่ว่าจะเป็นพวกใหน ผ่านไปหนึ่งวัน ราคาก็เสื่อมลงหนึ่งวัน

พวกที่วิ่งอยู่ เจ้าของก็กระหน่ำใช้จนทรุดโทรม

พวกที่ถูกยึดยิ่งแล้วกันไปใหญ่ คือต้องมีที่เก็บ รถหลายพันคัน จะเก็บยังงัยก็ต้องใช้เงินใช่ใหมครับ

คนทำงานบอกผมว่า ยิ่งทิ้งไว้นาน ราคายิ่งเสื่อม แล้วในที่สุด ค่าเก็บรถจะแพงกว่าตัวรถ

 

นี่เป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้ต้องเร่งประมูล

 

จากข้อมูลแสดงให้เห็นว่า ปรส.มีการบริหารจัดการ

ไม่ได้ขายสินทรัพย์ส่งเดช แบบที่มีถูกโจมตีมาตลอด

สังเกตว่า สินทรัพย์กลุ่มแรกที่นำมาประมูลเป็นสินเชื่อ

เช่าซื้อ ซึ่งหลักๆ ก็คือ สินเชื่อซื้อรถยนต์ และสามารถ

ประมูลขายได้ถึงเกือบ 48% ของมูลค่าตามบัญชีครับ

 

มูลค่าสินทรัพย์ตามบัญชีที่ประมูลขายรวม 6 แสนล้าน

ได้เงิน 1.5 แสนล้าน มีมูลค่าหายไป 4.5 แสนล้านบาท

ในจำนวนนั้นเกิดจากสินเชื่อธุรกิจ 3 แสนล้าน (คือกู้มา

ทำกิจการแล้วเจ๊ง) และจากสินเชื่อพาณิชย์ 1 แสนล้าน

(คือสินเชื่อรายย่อย กู้มาใช้จ่าย แล้วเกิดตกงานไม่มีเงิน

ผ่อนชำระหนี้) ซึ่งก็สอดคล้องกับสภาพวิกฤตเศรษฐกิจ

ในตอนนั้น

 

*ต่อให้สินทรัพย์ในส่วนสินเชื่อเช่าซื้อ กับสินเชื่อที่อยู่ฯ

ประมูลได้ 100% ของมูลค่าก็ไม่ได้ทำให้ตัวเลขรวม

ดีขึ้นมาได้ครับ*

 

ปัญหาจริงๆ เราขาดทุนไปเรียบร้อยตั้งแต่ที่ รบ.ชวลิต

ยอมให้กองทุนฟื้นฟูปล่อยกู้สถาบันการเงินไม่ต้องมี

หลักทรัพย์ค้ำประกัน ยอมให้เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

ของสถาบันการเงินที่กำลังจะเจ๊ง ฯลฯ  

 

กว่าจะมาถึง ปรส. ตอนนั้นก็เหมือนไฟไหม้บ้านไปแล้ว

ทำได้แค่เข้าไปคุ้ยหาว่ายังมีอะไรเหลือบ้างเท่านั้นเอง ^_^




#876672 INFOGRAPHIC - ทำไมถึงมีการคัดค้าน พรบ.นิรโทษกรรมฯ ที่กำลังดำเนินการในสภา?

โดย jerasak on 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 01:55

 

เริ่มต้นเพจก็โกหก  ปั่นหัวคนอ่านแล้วล่ะครับ  ตรงที่

"  คดีคอรัปชั่น    ยกเลิกยึดทรัพย์ให้คืนเงินพร้อมดอกเบี้ย"

ไม่มีตรงไหนระบุแบบนั้นนะครับ

 

ฮั่นแน่ โดนหัวเขียงหลอกแล้วซิ

attachicon.gifมาตรา 3.jpg

 

 

ถ้าพูดถึงเนื้อหาร่างฯกฎหมายฉบับนี้นะครับ...

 

ตามร่างฯ ที่ กรรมาธิการ แก้ออกมา ผมอ่านตั้งแต่แรกก็งงแล้ว

ว่าเขีัยนเป็นกฎหมายออกมาแบบนี้ได้ยังไง เพราะ "คณะบุคคล

หรือองค์กรที่ตั้งขึ้นหลังรัฐประหาร..." เป็นคำพูดที่กว้างเป็นทะเล

 

*จะหมายความครอบคลุมไปถึง บริษัท ห้างหุ้นส่วน อะไรต่างๆ

หรือสำนักงานทนายความ ไปจนถึงวงดนตรี ที่ตั้งหลังรัฐประหาร

ก็ยังได้ด้วยซ้ำ กลายเป็นว่าองค์กรพวกนี้จะฟ้องร้องอะไรกับใคร

ไม่ได้เลยหรือ?*

 

กฎหมายแบบนี้ถ้าออกมาบังคับใช้จริงไม่รู้จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง

เหมือนกับเขียนส่งเดชเพราะยังไงก็นัดกันมาทั้งคณะแล้วว่า

ต้องหลับหูหลับตายกมือสนับสนุนอย่างเดียว ผมสงสัยจริงๆ

ว่ากรรมาธิการเสียงข้างมากได้อ่านข้อความก่อนลงมติไหม?

 

ยังไม่นับว่าข้อความ "ภายหลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน

พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2556" เหมือนเป็นข้อความ

ขยายเรื่องการตั้งคณะบุคคลและองค์กร ไม่มีตรงไหนไปขยาย

เรื่องการชุมนุมทางการเมืองเลย ว่าจะนิรโทษกรรมตั้งแต่เมื่อไหร่?

 

*หรือถ้าจะถือว่านิรโทษกรรมถึง 8 สิงหา 56 ก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่า

เริ่มนิรโทษกรรมวันที่เท่าไหร่ เพราะข้อความ 19 กันยา 49

ใช้ระบุถึงเรื่องเวลาที่จัดตั้งคณะบุคคลหรือองค์กรซึ่งตาม พรบ.

ระบุตัดสิทธิไม่ให้สามารถกล่าวหาใครได้อีกต่อไป*

 

ผมอ่านเท่าไหร่ก็หาไม่เจอว่า 19 กันยา 49 จะไปเชื่อมโยงกับ

วรรคต้นๆ ที่เป็นการนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมได้ยังไง???

 

ตอนนี้กำลังรอดูการพิจารณาในวาระ 2 ว่าข้อความจริงๆ เป็นตาม

ที่มีการเผยแพร่กันตอนนี้หรือเปล่า เพราะส่วนตัวผมยังไม่อยาก

เชื่อว่าจะร่างกฎหมายกันหน้าตาแบบนี้จริงๆ ^_^




#876667 ความจริงที่เจ็บปวด : จิ๋วเป็นคนตั้ง ปรส.

โดย jerasak on 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 01:12

คุณ Tam-mic-ra ยังอยู่ไหมครับ?

 

ผมเพิ่งเอาข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับ

การประมูลสินทรัพย์ ปรส.มาลงชุดใหญ่

ถ้ายังไงขอเชิญเข้าไปอ่านได้นะครับ

 

ที่มาเชิญก็เพราะผมได้แรงบันดาลใจ

ให้อุตส่าห์ไปทำข้อมูลจากโพสของคุณ

ในกระทู้นี้ (โพสต์ไว้ตั้งแต่ เมษา ปีนี้

แต่ผมเพิ่งมาเห็นไม่กี่วัีนที่ผ่านมา) ...

 

P7815881-1.jpg

ผมคิดว่าตอนนี้คุณ Tam-mic-ra คงรู้แล้วว่าข้อมูล

ในแผนผังข้างบนมีอะไรผิดบ้าง แต่ผมก็คิดว่าน่าจะ

ยังมีคนอื่นอีกแน่ๆ ที่ยังเชื่ออะไรผิดๆ แบบข้อมูล

ในผังข้างบน โดยไม่มีแหล่งข้อมูลแบบละเอียดๆ

ที่จะทำความเข้าใจ

 

ในที่สุดพอมีจังหวะว่างก็เลยลงมือทำข้อมูลชุดใหญ่

มาตั้งเป็นกระทู้เรียบร้อยแล้วครับ ถ้ายังไงขอเชิญ

ไปเยี่ยมชมได้นะครั^_^