Jump to content


pornchokchai

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2551
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 21 พฤษภาคม 2557 16:47
*----

Topics I've Started

เมื่อไหร่จะให้ผมได้ post ได้เสียที

23 เมษายน พ.ศ. 2557 - 06:33

จะ post อะไรก็ต้องให้ MOD ตรวจสอบก่อน

ยิ่งกว่านาซีซะอีกนะนี่
หรือกลัวความเห็นของผมหรือครับ

ไหนบอกเสรีทางความคิด . . . . ไงครับ


ฤา "ขบวนเสรีไทยเว็บบอร์ด" ขาด "เสรีทางความคิด"

29 มกราคม พ.ศ. 2557 - 22:32

จะตั้งกระทู้ จะตอบกระทู้ ก็ต้องให้ Moderator อ่านดูก่อน นี่ยิ่งกว่านาซีนะนี่ ไหงว่ามีเสรีภาพทางความคิดไงครับ

พอจะตั้งกระทู้ จะตอบกระทู้ จะมีข้อความนี้ขึ้นมา ทำไงดีครับ
"You have been placed on moderator queue. This means that all content you submit will need to be approved by a moderator before it will be shown."


ฟัง ดร.โสภณ พรโชคชัย กระซวก ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เรื่อง "มหาประชาชน" จอมปลอมคร...

18 มกราคม พ.ศ. 2557 - 06:22

ลองฟังดูนะครับ
และวิพากษ์ตามกระทู้ อย่านอกเรื่องนะครับ
เชิญ click นะครับ
http://www.youtube.c...h?v=J9_dd8XzT_M

 

ปล. เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยตรงไหน คุยให้ตรงกระทู้ สมาชิกบางท่านอย่าใช้นิสัยพาลนะครับ อย่าลืม motto ของบอร์ดนี้เขียนไว้ว่า "เสรีภาพทางความคิด. . . . " นะครับ

 

ผมอาจตอบช้า เพราะ MOD ต้องตรวจดูคำพูดของผมก่อน (ฮา) ไม่รู้จะเป็นเผด็จการไปถึงไหน แค่ผมพูดก็กลัว ต้อง censor ก่อน . . . อย่าลืม Motto ของบอร์ดนี้นะครับ "ต้านวิกฤติเผด็จการ" . . . อย่าเป็นเผด็จการทางความคิดเสียเองนะครับผม ขอบคุณครับผม
 


กลับมาแล้วครับ ดร.โสภณ พรโชคชัย วิพากษ์ ท่านสุเทพ เทือกสุบรรณ

8 มกราคม พ.ศ. 2557 - 03:27

ลองดูนะครับ
มาข้อโต้แย้งใด ๆ เชิญนะครับ
http://www.youtube.c...h?v=q_O0n6DuSAA

 

ปล. นี่ผมไม่ได้เข้ามาตั้งหลายเดือน ยังถูก "แบน" ก็อาจตอบได้ช้าหน่อยนะครับ เพราะมีขึ้นข้อความว่า "You have been placed on moderator queue. This means that all content you submit will need to be approved by a moderator before it will be shown".

 


สร้างเขื่อนแม่วงก์แล้วสัตว์ป่า/น้ำท่าจะอุดมสมบูรณ์?

16 ตุลาคม พ.ศ. 2556 - 16:21

ชั่งน้ำหนักดี-เสียก่อนคิดสร้าง/ต้านเขื่อนแม่วงก์

 

ดร.โสภณ พรโชคชัย
www.facebook.com/dr.sopon4

 

          เมื่อเห็น อ.ศศิน เฉลิมลาภ ยกเล่มรายงานการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมฯ ชูขึ้นเพื่อคัดค้านการสร้างเขื่อนแม่วงก์นั้น ประชาชนทั่วไปอาจไม่มีโอกาสได้เห็น/อ่านรายงานฉบับนี้ซึ่งหนานับพันหน้า ดังนั้นก่อนที่จะสร้างหรือค้านเขื่อน เราจึงควรมาอ่านบทสรุปของรายงานฉบับนี้ก่อน

 

          ตามรายงานฉบับเดือนกรกฎาคม 2555 ระบุข้อดีของการสร้างเขื่อนแม่วงก์ไว้ดังนี้:
          1. จะทำให้มีปริมาณน้ำต้นทุนในลุ่มน้ำแม่วงก์เพิ่มขึ้น โดยมีปริมาตรเก็บกักประมาณ 258 ล้านลบ.ม. เพื่อใช้เป็นน้ำเพื่อการเกษตร น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค การประมงน้ำจืด รวมทั้งเพื่อการท่องเที่ยว เป็นต้น
          2. สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่รับประโยชน์ท้ายอ่าง 10,000 ไร่ และพื้นที่ชลประทาน 291,900 ไร่ (ฤดูฝน) และในฤดูแล้ง 116,545 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 127 หมู่บ้าน 23 ตำบล 6 อำเภอ 3 จังหวัด
          3. เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทีดินด้านการเกษตรกรรม (Cropping Intensity : CI) เพิ่มขึ้น 40%
          4. การยกระดับรายได้ของเกษตร ซึ่งเกษตรสามารถเพิ่มผลผลิตข้าวในฤดูฝน และเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกรวมทั้งผลผลิตพืชฤดูแล้ง
          5. เพิ่มผลผลิตด้านสัตว์น้ำและการประมงน้ำจืด ประมาณปีละ 165 ตัน/ปี คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจทั้งหมดปีละ 7.13 ล้านบาท รวมทั้งทำให้นิเวศน์ด้านท้ายน้ำในลำน้ำแม่วงก์มีความสมบูรณ์มากขึ้น
          6. อ่างเก็บน้ำสามารถเป็นแหล่งน้ำเพื่อการดับไฟป่าที่มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูแล้ง ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ โดยในปี พ.ศ.2542 มีไฟป่าเกิดขึ้นถึง 108 ครั้ง พื้นที่เสียหาย 3,327 ไร่
          7. ทำให้สมบัติของดินโดยรอบอ่างเก็บน้ำและในพื้นที่ชลประทานมีความชุ่มชื้นเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะในฤดูแล้ง เหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของพืชพรรณธรรมชาติรวมทั้งพืชเกษตรกรรม
          8. สัตว์ป่าจะได้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำในด้านการเป็นแหล่งน้ำและแหล่งอาหาร
          9. มีน้ำใช้เพื่อการชลประทานและการอุปโภคบริโภคสำหรับประชาชน รวมทั้งกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและนักท่องเที่ยว
          10. ทำให้สภาพทางสาธารณสุขและภาวะโภชนาการมีแนวโน้มดีขึ้น

 

          ส่วนข้อเสีย มีดังนี้
          1. กระทบต่อพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ประมาณ 12,300 ไร่
          2. กระทบต่อที่ทำการหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ มว.4 (แม่เรวา) และหน่วยรักษาต้นน้ำขุนน้ำเย็น
          3. กระทบไม้ใหญ่ 677,922 ต้น มูลค่าไม้ทั่งหมดประมาณ 1,073 ล้านบาท ปริมาณธาตุอาหารพืช 11.71 ล้านบาท/ปี
          4. กระทบต่อแหล่งโบราณคดี 6 จุด (ในอ่างเก็บน้ำ)
          5. กระทบต่อแหล่งท่องเที่ยว คือ แก่งลานนกยูง แก่งท่าตาแสง และแก่งท่าตาไท
          6. ชดเชยที่ดินและทรัพย์สิน เช่น ระบบคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำในพื้นที่ชลประทานรวม 15,742 ไร่ โดยมีผู้ถือครองที่ดินคิดเป็นมูลค่าชดเชยรวมทั้งสิ้น 801.08 ล้านบาท

 

          ข้างต้นคือผลสรุปรวบยอดจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งถือเป็นผู้ที่รู้จริงจำนวนมาก ที่เด่น ๆ ได้แก่ ผศ.ดร.บญส่ง ไข่เกษ (คุณภาพน้ำ) ดร.สกุล ห่อวโนทยาน (สจล.ลาดกระบัง: ชลประทาน) ผศ.สารัฐ รัตนะ (ม.เกษตรฯ: การจัดการอุทยานฯ) รศ.ดร.ปรีชา ธรรมานนท์ (วนศาสตร์ ม.เกษตรฯ: ป่าไม้/จัดการลุ่มน้ำ) รศ.ดร.วีรยุทธ์ เลาหะจินดา (ม.เกษตรฯ: สัตว์ป่า) รศ.ดร.ประทักษ์ ตาบทิพย์วรรณ (ประมง ม.เกษตรฯ: นิเวศวิทยา) ดร.เสถียร รุจิรวนิช (จุฬาฯ: การมีส่วนร่วม) ดร.โกมล ศิวบวร (มหิดล: ผลกระทบต่อสุขภาพ) ดร.สุชาติ เหลืองประเสริฐ (ม.เกษตรฯ: สิ่งแวดล้อม) ดร.กิจจา จิตรภิรมย์ (ว.ราชสีมา: ระบาดวิทยา) รศ.ดร.ชวเลข วณิชเวทิน (วิศวฯ ม.เกษตรฯ: คมนาคม) เป็นต้น

          ดังนั้นในเบื้องต้นจึงสรุปได้ว่า การสร้างเขื่อนมีข้อดีมากกว่าข้อเสียหลายประการ แต่สิ่งที่พึงระวังก็คือจะมีแนวทางการจัดการข้อเสียอย่างไรบ้าง เช่น

          1. ในข้อที่เสียป่า 12,300 ไร่นั้นเป็น 2.2% ของอุทยานฯ หรือ 0.1% ของผืนป่าตะวันตกทั้งหมด คงไม่สามารถเรียกกลับคืนได้ แต่ก็ส่งผลให้เกิดแหล่งน้ำสำหรับสัตว์เพิ่มขึ้น เพิ่มความชุ่มชื้น อาจทำให้ป่าไม้โดยรอบหนาแน่นกว่าเดิมชดเชยส่วนที่เสียไปได้ รวมทั้งประโยชน์ที่จะตกแก่ประชาชนถึงราว 50,000 คน
          2. ในส่วนของอาคารที่ทำการ ที่เป็นไม้ก็คงสามารถรื้อไปสร้างใหม่ได้ ส่วนที่เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กก็คงต้องสูญเสียไป แต่คงมีมูลค่าน้อย
          3. ในส่วนของต้นไม้ ซึ่งก็คงซ้ำซ้อนกับข้อแรก และต้องโปร่งใสนำไม้ที่ตัดได้มาขายเพื่อลดต้นทุนให้กับโครงการ และระมัดระวังไม่ให้เงินรั่วไหล หรือมีการตัดไม้เกินจำนวน ซึ่งทางราชการต้องตรวจสอบอย่างเคร่งครัด และเป็นช่องทางเชิงสร้างสรรค์ของ NGOs ที่จะทำงาน "ปิดทองหลังพระ" ส่งอาสาสมัครเข้าตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง
          4. ในส่วนของแหล่งโบราณคดี 6 จุด ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะมีได้อย่างไรในพื้นที่ป่าแห่งนี้ แต่ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อมีการก่อสร้างทางหลวง ก็เคยมีการยกย้ายเจดีย์แล้วสร้างใหม่ข้าง ๆ ให้พ้นจากเขตทางมาแล้ว
          5. ในส่วนของแก่งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเดิม คงไม่เป็นปัญหานัก เพราะเมื่อมีเขื่อน ก็จะเกิดแก่ง หาดทรายและแหล่งท่องเที่ยวสวยงามใหม่ ๆ มากกว่า 3 แก่งนี้
          6. ในส่วนของการชดเชย ทางราชการก็คงรวมค่าใช้จ่ายเหล่านี้อยู่ในต้นทุนของโครงการไว้แล้ว และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ

          ประเด็นเหล่านี้ เป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วไปพึงทราบเพื่อประกอบการพิจารณาด้วยวิจารณญาณมากกว่าอารมณ์ความรู้สึกแบบ "ดรามา"