Jump to content


overtherainbow

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 27 ธันวาคม 2551
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 15 กรกฎาคม 2557 22:10
-----

#1194520 กระทู้ตามหาคนหายครัช

โดย overtherainbow on 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 - 22:11

คุณหนูจีน่ามา ค่ะ




#1194514 จากโปรเจคทดลอง (pilot project) ในโครงการ "พระเจ้าแม้วที่ 1"

โดย overtherainbow on 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 - 22:07

โห ยิ่งประหยัดไล้ค์อยู่

เคยตัวอ่ะ

กดติดตามแระ




#1194506 กระทู้้รายงานตัวอย่างเป็นทางการ ตามประกาศคณะรักษาความสุขสำราญแห่งเสีไทยไชโย (...

โดย overtherainbow on 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 - 22:02

:)

 

รายงาน

ว่ามาแล้ว




#1194405 ยินดีตอนรับคร๊าบบบบบบ....

โดย overtherainbow on 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 - 20:39

อย่าถึงกับให้ห้องคนชรา ร้างงงเลยนะ




#1194402 คิดถึง เวปบอร์ด เสรีไทย สภากาแฟ อย่างแรง

โดย overtherainbow on 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 - 20:36

กดไล้ค์ตรงนี้แทนนะคะ

 

กลัวหมด




#1194395 ยินดีตอนรับคร๊าบบบบบบ....

โดย overtherainbow on 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 - 20:34

 

 

 

ทดสอบ ๆๆ :D :P

 

ตามมาทำไม หือ :angry: ไม่รู้กลับไปคุยเรื่องเดิมที่บ้านคนชราดีกว่า

 

หลวงพ่อจะมือเติบแจกไลค์ เหมือนเดิมไม่ได้นะขอรับ :lol:

 

ผมกำลังจะโพสต์แนวๆนี้เลย กลัวหลวงอาไลค์หมดเร็ว  :lol:

 

5555

คงจะเผลอกันช่วงแรกๆ แน่ๆ

 

ที่ห้องนั่นอ่ะ แจกได้ไม่อั้น




#1168720 ผิดหวังกับวุฒิสภา สุดๆ

โดย overtherainbow on 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 23:07

มาได้สติก็ที่กระทู้นี้ค่ะ

 

นี่ คำสารภาพเลยนะ

 

ห่างบอร์ดไปนาน เลย ตื้นไป 




#1168677 ผิดหวังกับวุฒิสภา สุดๆ

โดย overtherainbow on 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 22:39

กว่าจะถอดรหัสกันได้

 

น้ำตาตก จิตตก

 

เหมือนตอนผบทบ แถลง นั่นก็ด้วย

 

แต่นะ ตู่เต้นยังดีใจไปกับคำแถลงเลย โอ ช่วงนี้ชั้นคงเหมือนอ่านหนังสือไม่แตก คุณภาพเท่าตู่เต้นซะแระ




#1164880 ทางออกประเทศไทย ทำได้จริงไหม

โดย overtherainbow on 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 07:40

 

อย่าไปสับสนกับข้อโต้เถียงเรื่องการเสนอชื่อนายก

จำไว้อย่างเดียว จำแบบง่าย ๆ .....ประเทศเราปกครองด้วยระบบรัฐสภา สภาเป็นคนเลือกตัวนายก ....ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นคนเลือกตัวนายก

นายนิวัฒน์ธำรงเป็นฝ่ายบริหาร ฝ่ายบริหารไม่มีสิทธิ์ในการเสนอชื่อนายกและไม่มีสิทธิ์เสนอตัวเองไปทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี

ฝ่ายนิติบัญญัติประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร + วุฒิสภา........วุฒิสภาคือฝ่ายนิติบัญญัติ ที่จะใช้ รธน.มาตรา 7 เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีได้ (ในขณะที่ไม่มีสภาผู้แทนราษฎร)

เพราะเราใช้สภาเลือกนายก ประเทศเราไม่ได้ให้ ครม.เป็นคนเลือกนายก




#1164341 ทางออกประเทศไทย ทำได้จริงไหม

โดย overtherainbow on 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:24

จดหมายเปิดผนึกถึงว่าที่ประธานวุฒิสภา
May 13, 2014 at 6:47am

เครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง ๓ สถาบัน (ครส.)

จดหมายเปิดผนึก

ข้อเสนอการแก้ไขปัญหาวิกฤตชาติ และการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่

 

สาเหตุที่บ้านเมืองขาดคณะรัฐมนตรี จนเกิดสภาพสุญญากาศทางการเมือง

                ๑.    จากการที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยให้นายกรัฐมนตรีพ้นจากความ

เป็นรัฐมนตรีเฉพาะตัวตามมาตรา ๑๘๒ และส่งผลให้รัฐมนตรีบางท่านต้องพ้นจากตำแหน่งด้วย

                ๒.    การให้ความเห็นชอบบุคคลขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ตามรัฐธรรมนูญจะ

กระทำไม่ได้เลยภายใต้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ  เพราะต้องให้ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร

พิจารณา ตามมาตรา ๑๗๒ และบุคคลนั้นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา ๑๗๑

ซึ่งขณะนี้ ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอันเนื่องมาจากการยุบสภา

                ๓.     การขาดนายกรัฐมนตรีทำให้ขาดองค์ประกอบสำคัญของคณะรัฐมนตรี

ตามมาตรา ๑๗๑ วรรคแรก    รัฐบาลไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติ อีกทั้งไม่มีผู้รับสนอง

พระบรมราชโองการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปได้

                ๔.     สถานการณ์ของบ้านเมืองจึงตกอยู่ในสุญญากาศทางการเมืองที่ไม่มี

คณะรัฐมนตรีและไม่อาจตั้งใครขึ้นปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรีได้  จึงเป็นความจำเป็น

ของบ้านเมืองที่จะต้องดำเนินการโดยใช้มาตรการอื่นในรัฐธรรมนูญขึ้นทดแทนเพื่อ

ซ่อมแซมโครงสร้างทางการเมืองที่ไม่สมบูรณ์ให้ใช้การได้ต่อไป   โดยอาศัยการวินิจฉัย

ให้เป็นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ตามมาตรา ๗

 

แนวทางที่ ๑ : การบูรณะโครงสร้างการเมืองไทยโดยอาศัยธรรมเนียมการปกครอง

ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีลำดับขั้นตอน ดังนี้

                ๑.      อาศัยอำนาจอธิปไตยที่เป็นของปวงชนชาวไทย ซึ่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรง

เป็นประมุขทรงใช้ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมาตรา ๑ มาตรา ๒ มาตรา ๓ และมาตรา ๑๐

                ๒.    มาตรา ๑ คำว่าราชอาณาจักร เป็นการประกาศรูปแบบรัฐโดยชัดแจ้งว่า

ปกครองโดยพระมหากษัตริย์  มีอำนาจอธิปไตยในด้านการปกครอง (Ruling Power) หรือ

ทรงเป็นรัฏฐาธิปัตย์ในการปกครองนั่นเอง

                ๓.     มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหา

กษัตริย์ทรงเป็นประมุข แสดงให้เห็นในอีกมิติหนึ่งว่า อำนาจในทางการปกครองที่เป็น

“การเมือง”นั่น เป็นของประชาชนโดยอีกสถานะหนึ่งของพระมหากษัตริย์ก็เป็นประชาชนด้วย 

และได้รับการยกให้เป็นประมุขของประชาชนผู้มีอำนาจอธิปไตยในทางการเมือง

                ๔.     มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้

ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลตามบทบัญญัติแห่ง

รัฐธรรมนูญนี้

                ๕.   นอกจากนี้ พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขผู้ปกครองประเทศยังมีพระราช

อำนาจในด้านการรักษาความมั่นคงแห่งรัฐ ปรากฏในมาตรา ๑๐ ของรัฐธรรมนูญที่พระมหา

กษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย  กองทัพเป็นผู้พิทักษ์รักษาความมั่งคงของชาติและ

สถาบันที่จะสร้างความมั่นใจให้กับการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยในด้าน

การเมืองด้วย

                ๖.  ในยามปกติแล้ว  คณะบุคคลที่เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการใช้

อำนาจอธิปไตยเหล่านั้น ได้แก่ ประธานสภาผู้แทนราษฎร   ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี 

ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด และผู้พิทักษ์รักษา

อำนาจอธิปไตยในด้านความมั่นคง ได้แก่ ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ และ

ผู้บัญชาการทหารอากาศ  คณะบุคคลดังกล่าวจึงเป็นผู้นำองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในด้าน

ต่าง ๆ นั่นเอง ส่วนองค์กรอิสระไม่ใช่องค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรงตามนัยยะมาตรา ๓

ของรัฐธรรมนูญ

                ๗.  ดังนั้น ในยามที่บ้านเมืองคับขันประสบกับภาวะขาดผู้นำองค์กรผู้ใช้อำนาจ

อธิปไตยในบางด้าน การให้ผู้นำองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในส่วนที่เหลือได้ช่วยในการซ่อม

สร้างขึ้นมาทดแทนก็น่าจะเหมาะสม บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของนายกรัฐมนตรี

เป็นเพียงวิธีการตามกฎหมาย สามารถแก้ไขหรือยกเว้นโดยผู้ใช้อำนาจอธิปไตยให้เหมาะสม

เพื่อการแก้ไขเหตุการณ์เมื่อคราวจำเป็น  เพื่อให้สภาพการณ์ที่เป็นสุญญากาศนั้นหมดไป

                ๘. องค์คณะผู้นำองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตย (อาจเรียกว่า คณะอธิปมนตรี

แห่งรัฐ) ที่เหลืออยู่ในสถานการณ์ปัจจุบัน ประกอบด้วย

                                ๑.  รองประธานวุฒิสภา (นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย)  ปฏิบัติ

หน้าที่แทนประธานวุฒิสภาจนกว่าจะได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นประธานวุฒิสภาคนใหม่

                                ๒.  ประธานศาลฎีกา (นาย ดิเรก อิงคนินันท์)

                                ๓.  ประธานศาลรัฐธรรมนูญ (นาย  จรูญ อินทจาร)

                                ๔.  ประธานศาลปกครองสูงสุด (นาย  หัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล)

                                ๕.  ผู้บัญชาการทหารบก (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา)

                                ๖.  ผู้บัญชาการทหารเรือ (พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย)

                                ๗.  ผู้บัญชาการทหารอากาศ (พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง)

            (หมายเหตุ  ประธานสภาผู้แทนราษฎร และนายกรัฐมนตรี เป็นตำแหน่งที่ขาดไป)

                ๙.  รองประธานวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่ประธานวุฒิสภา ริเริ่มเชิญบุคคลในองค์

คณะที่เหลือเข้าร่วมหารือ  และหาข้อยุติในประเด็นปัญหา  เพื่อนำความเข้ากราบบังคับทูล

และรับสนองพระบรมราชโองการ เพื่อให้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรี

คนใหม่  ขจัดอุปสรรคเรื่องวิธีการได้มาซึ่งนายกรัฐมนตรีโดยอ้างประเพณีปฏิบัติตาม

รัฐธรรมนูญที่เคยใช้

                ๑๐. ข้อดีในการใช้แนวทางที่ ๑ นี้ก็คือ มีความเชื่อมโยงกับผู้ใช้อำนาจอธิปไตย

โดยตรงและได้บุคคลที่ได้รับการยอมรับจากผู้นำของทั้ง ๓ เหล่าทัพ จึงมีหลักประกันด้าน

ความมั่นคง

 

แนวทางที่ ๒ : ใช้หลักประเพณีการปกครอง ฯ ตามมาตรา ๗ ของรัฐธรรมนูญอย่างเดียว

โดยคำว่าประเพณีหมายถึง สิ่งที่ยึดถือปฏิบัติสืบกันมาจนเป็นแบบแผน ขนบธรรมเนียม ซึ่ง

ประเพณีการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนี้  ประเทศไทยได้

ยึดถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่ ๒๔๗๕ หรือจะยึดถือตามชื่อเรียกการปกครองประชาธิปไตย อันมี

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ปรากฏในรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๒  โดยแบบแผน

ต่าง ๆ ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือธรรมนูญการปกครองฯ ทุกฉบับ   ดังนั้น  ในกรณีที่มา

ของ นายกรัฐมนตรีตามประเพณีที่เคยปฏิบัติ และมีบทบัญญัติไว้ใน รัฐธรรมนูญฉบับต่าง ๆ

มีดังนี้

๑.     นายกรัฐมนตรีทุกคน ต้องได้รับโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์

๒.     ในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา ต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการทุกครั้ง

๓.     มีประธานสภาในชื่อเรียกต่าง ๆ  หรือ หัวหน้าคณะรัฐประหาร ในชื่อเรียกต่างๆ เป็นผู้

รับสนองพระบรมราชโองการ

๔.     คุณสมบัติของนายกรัฐมนตรี บางครั้งก็มาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร   บางครั้งก็ไม่

กำหนด ซึ่งส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

๕.     การคัดเลือกนายกรัฐมนตรี บางครั้งก็ทำในที่ประชุมสภาหรือบางครั้งก็ไม่มีข้อกำหนด

กล่าวคือไม่จำเป็นต้องผ่านที่ประชุมสภาก็ได้

 

            จึงสรุปได้ว่า  หากจะอ้างประเพณีการปกครอง ฯ ที่เคยปฏิบัติแล้ว

นายกรัฐมนตรีก็ไม่จำเป็นต้องมาจากการคัดเลือกของที่ประชุมสมาชิกสภาผู้แทน

ราษฎร และไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร    แต่ “ต้อง” แต่งตั้งและ

โปรดเกล้าฯ โดยพระมหากษัตริย์ โดยมีประธานสภาในขณะนั้น ไม่ว่าในชื่ออื่นใด

เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

 

                ดังนั้น  ในสภาพสุญญากาศทางการเมืองไทยในปัจจุบัน  รองประธานวุฒิสภา

ปฏิบัติหน้าที่ประธานวุฒิสภา อาจหารือที่ประชุมวุฒิสภาเพื่อกำหนดกรอบปฏิบัติตาม

ประเพณีดังกล่าว ทั้งนี้ไม่ว่าจะใช้แนวทางใด ก็ถือเป็นสิทธิเฉพาะตัวของรองประธานวุฒิสภา

ปฏิบัติหน้าที่ประธานวุฒิสภาเพื่อเสนอชื่อบุคคลที่เหมาะสมขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ 

ซึ่งถือเป็นการวินิจฉัยกรณีไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา

กษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งนี้ สมควรรีบดำเนินการเพื่อนำสันติสุขกลับสู่บ้านเมืองโดยเร็วที่สุด

 

 

นาย บวร ยสินทร

เครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง ๓ สถาบัน (ครส.)

๑๒  พฤษภาคม ๒๕๕๗




#1164333 ทางออกประเทศไทย ทำได้จริงไหม

โดย overtherainbow on 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 17:16

 

(จาก FB ทนายวันชัย สอนศิริ)

ประชุมวุฒิสภาเมื่อวาน ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่า... 
1. ขณะนี้ประเทศไม่มีนายกรัฐมนตรี จะเว้นว่างไม่ได้ ต้องจัดการแต่งตั้งให้มีนายกฯคนใหม่โดยเร็ว
2. ดูจากรัฐธรรมนูญและแนวทางปฏิบัติ เป็นที่แน่ชัดว่าวุฒิสภามีอำนาจทำได้
3. ที่ประชุมตกลงกันให้ประธานฯสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย เป็นผู้ไปดำเนินการประสานหรือทำการใดเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว
4. สมาชิกทุกคนพร้อมให้การสนับสนุนในการทำงานของประธาน ในการแก้ไขปัญหาของประเทศ

คงต้องเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการต่อเรื่องดังกล่าว... ถ้าไม่ทำใครจะทำ... เป็นอำนาจหน้าที่และเป็นความรับผิดชอบของผู้แทนปวงชนชาวไทย... วิกฤติมันอยู่ต่อหน้า ปัญหารอการแก้ไข... ท่านสุรชัยจะต้องเป็นหัวหอกล่ะคราวนี้...


  • -3- likes this


#1164008 ทางออกประเทศไทย ทำได้จริงไหม

โดย overtherainbow on 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 11:26

ตอนนี้คือ ทุกคนคาดหวัง ทางออกที่ดี ที่สุด

 

ตกกะกอนกันไวไว




#1158544 ผู้ที่ได้อำนาจการปกครอง คือคนที่สามารถทำความเดือดร้อนให้สังคมมากที่สุด

โดย overtherainbow on 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 19:04

นานๆเข้ามาที อ่านกระทู้นี้ปุ๊บ เก๊ตทันที

 

 

เจ้าของกระทู้ น่าจะใช้ความคิดเห็นฟุ่มเฟือยนะคะ




#1158539 สมมุติ กปปส.ชนะแล้วต่อไปจะเป็นไง

โดย overtherainbow on 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 - 19:02

สมมติ กปปส ชนะ

 

 ถ้า   ตัวชี้วัดคือออ  ตัวชี้วัดว่าชนะคืออะไรบ้าง

 

 

คือหนึ่งไล่ก๊วนโกงหน้าด้านออกไป ให้คนดีมีฝีมือรู้หน้าที่มีความสามารถมาทำ

 

สองปฎิรูป ทุกสิ่งอย่าง เหมือนเก็บกวาด ขยะสังคม และทำกฏหมายให้ศักดิ์สิทธิ์ คือผิดคือผิด ไม่ต้องตีความ

 

สาม สี่ ห้า หก โหย แผนยังไม่แล้วเสร็จเลย นี่แค่หนึ่ง อีกตั้งนาน ทำไมรีบหรือใจร้อนจัง ที่ผ่านมาสองปีกว่าทำไมไม่ร้อนใจ แบบนี้ล่ะคะ

 

ขออภัยที่เข้ามาตอบ ไม่ว่าเจ้าของกระทู้จะฝ่ายไหน 

 

ก็จะตอบแบบนี้แหล่ะ  :)




#1071187 อยากฝากถึงนักรบป๊อปคอร์น และอาสาสมัครพยาบาลนะครับ

โดย overtherainbow on 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 - 22:33

รูปจริงเอาอาหารไปให้ตำรวจ

รูปตัดต่อเอาหนุก เป็นรูปที่เห็น