Jump to content


อารยา

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 11 เมษายน 2552
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2557 10:31
-----

Topics I've Started

ปราสาทพระวิหารกับการทำลายมาตรฐานมรดกโลกของยูเนสโกเอง

6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 04:58

อารยาได้ทบทวนแหล่งข้อมูลเอกสารของ UNESCO (Draft Decision: 31 COM 8.24
The World Heritage Committee) ว่าด้วยการเสนอชื่อปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก (dtad.dti.or.th/index.php?...preah-vihear...phravihear...‎) อีกครั้ง พบข้อสังเกตที่ขอเรียนชี้แจงสั้นๆในเบื้องต้นพอเป็นสังเขปก่อน ดังนี้ 
 
1.  กัมพูชาระบุในแบบฟอร์มขอชึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดก (30 มกราคม 2549) ว่า แหล่งโบราณสถานแห่งนี้เข้าข่ายเป็นมรดกโลกตามมาตรฐานของ ICOMOS ข้อ i, iii, iv (1,3,4)  [ในแม่บทการประเมินคุณค่ามรดกโลก ICOMOS ตั้งเกณฑ์ทั่วไปไว้  6 ข้อสำหรับกว่า 190 ประเทศที่ต้องการเสนอขึ้นทะเบียนแหล่งวัฒนธรรมหรือธรรมชาติก็ตาม]
 
2. เมื่อ ICOMOS ลงไปสำรวจแหล่งโบราณสถานซึ่งก็คือ "ปราสาทพระวิหาร" ตามข้อ 1 ICOMOS ได้รายงานผลการประเมินต่อยูเนสโกว่าได้มาตรฐานมรดกโลกจริงตามเกณฑ์ข้อ i, ii, iv (1,2,4 ) กล่าวคือ 3 ข้อเท่ากันแต่สลับจาก iii เป็น ii] (โปรดดู ICOMOS Evaluation Book, May 2007, page 32-37)
 
ประเด็นสำคัญที่สุดซึ่งเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติคือ ยูเนสโกไม่มีเหตุผลในการเปลี่ยนเกณฑ์มาตรฐานเหลือเพียงข้อ i เดียว (7 กรกฏาคม 2551 ) ในการรับรองความเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหารที่ขาดองค์ประกอบในข้อ ii และ iv 

เพราะนั่นนอกจากถือเป็นการเลือกปฏิบัติ และสองมาตรฐานแล้ว
ยังเท่ากับยูเนสโกกำลังทำลายมาตรฐานมรดกโลกของอนุสัญญามรดกโลกของสหประชาชาติ UN-Unesco's World Heritage Convention 1972) 

"แผนเขมร" กับนัยยะไทยเสียดินแดนรอบปราสาทพระวิหาร

2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 - 16:26

การประชุมมรดกโลกที่พนมเปญปิดฉากไปเมื่อ 4 วันที่ผ่านมา ไม่มีการกล่าวถึงแผนพัฒนาบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร" (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า "แผนเขมร") ซึ่งทั้งกัมพูชาและไทยตระหนักดีว่าหาก "แผนเขมร" ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมมรดกโลก ดินแดนรอบปราสาทพระวิหารดินแดนจะถูกผนวกตามแผนทันที
นั่นหมายถึงการเสียดินแดนไทยให้กัมพูชาผ่านอนุสัญญามรดกโลกแห่งสหประชาชาติ 
 
ก่อนหน้านั้นประมาณ 1 เดือน มีข่าวลอดมาจากคณะกรรมการมรดกโลกแห่งชาติว่ากรรมการมรดกโลกไม่มีอำนาจในการอนุมัติ "แผนเขมร" อ้างว่ากัมพูชาสามารถดำเนินการได้เอง
 
จริงหรือ !? 
 
ในเมื่อกัมพูชาได้เพียรพยายามให้ที่ประชุมมรดกโลกแห่งนี้อนุมัติ "แผนเขมร" มาโดยตลอด
อยู่ๆสาปสูญไปจากวาระการประชุมมรดกโลก ใครไม่งงก็ให้มันรู้ไป 
 
ถ้าพยายามจะสื่อว่า คณะกรรมการมรดกโลกแห่งชาติ (ไทย) ไม่มีอำนาจในการอนุมัติ “แผนเขมร” ก็มีคำถามว่า รัฐบาลไทยสนับสนุนความพยายามของกัมพูชาให้ดำเนินการจัดทำ"แผนเขมร" เพื่อจะได้ผนวกดินแดนไทยนับแต่ปี 2552 อย่างนั้นหรือ?
 
ซึ่งมีข้อเท็จริงในระหว่างปี 2552, 2553, 2554 ตรงกันข้าม เพราะคณะผู้แทนไทย(ซึ่งก็คือบุคคลจากคณะกรรมการมรดกโลกแห่งประเทศไทยเป็นแกนกลาง) ได้ลุกขึ้นประท้วงจนยูเนสโกจำนน และงดการบรรจุ "แผนเขมร" ดังกล่าวเข้าวาระต่อเนื่องตลอด 3 ปี  
 
คำถามถึงรัฐบาลเยิ่งลักษณ์วันนี้คือ
1. ในเมื่อย่อมคาดได้ว่ากัมพูชาจะนำ   "แผนเขมร"  มาเข้าวาระการประชุมมรดกโลกครั้งต่อมาในปี 2555 ที่นครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก รัฐบาลได้สั่งให้ผู้แทนรัฐบาลไทยทำการป้องกันมิให้ความพยายามของกัมพูชาสำเร็จหรือไม่? อย่างไร? หรือไม่มีอะไรเกิดขึ้น? 
 
2 หากไม่มีอะไรเกิดขึ้น (ที่ประชุมไม่เอ่ยถึง "แผนเขมร") ในการประชุมปี 2555 รัฐบาลย่อมตอบได้ว่าเพราะเหตุไร? และในเมื่อมีเหตุการซ้ำรอยที่พนมเปญ ซ้ำตัวแทนรัฐบาลที่เพิ่งกลับมาได้ไม่ถึงสัปดาห์บอกว่า "สำหรับ "แผนเขมร" นี้ กัมพูชาสามารถดำเนินการได้เอง กรรมการมรดกโลกไม่มีอำนาจในการอนุมัติแผน" นี่มิเป็นการแก้ต่างของฝ่ายไทยให้กับทั้งยูเนสโกและกัมพูชาหรือ? 
 
3. บัดนี้ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ย่อมทราบว่า การรับรองแผนที่ว่านั้นได้มีการแอบรับรองโดยไม่ใช้ที่ประชุมมรดกโลกดำเนินการ รัฐบาลเห็นด้วยกับการฝืนธรรมเนียมปฏิบัติ เลือกปฏิบัติ ไม่โปร่งใสหรือ ในเมื่อส่อว่าจะมีวาระซ่อนเร้นที่เอื้อประโยชน์ให้กับฝ่ายกัมพูชาอย่างไม่เป็นธรรม?
 
ถึงเวลาที่ "ยิ่งลักษณ์" ต้องพูดความจริงได้แล้ว!!!