Jump to content


momentum

เป็นสมาชิกตั้งแต่ 18 พฤษภาคม 2554
ออฟไลน์ เข้าใช้งานครั้งล่าสุด: 28 พฤศจิกายน 2556 10:47
-----

Topics I've Started

พระบรมราโชวาทในหลวง 20 พ.ค. 35

28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 - 10:46

“...ประเทศของเรา ไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน
เป็นประเทศของทุกคน เข้าหากันไม่เผชิญหน้ากันแก้ไขปัญหา
เพราะปัญหามีอยู่ ที่เวลาเกิดจะใช้คำว่า บ้าเลือด
เวลาคนมีการปฏิบัติรุนแรงมันลืมตัว ลงท้ายเขาไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไร
แล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะ แล้วก็ใครจะชนะ ไม่มีทาง
อันตรายทั้งนั้น มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้
แล้วที่แพ้ที่สุดก็คือประเทศชาติ ประชาชนจะเป็นประชาชนทั้งประเทศ
ไม่ใช่ประชาชน เฉพาะในกรุงเทพมหานคร
ถ้าสมมติว่า เฉพาะในกรุงเทพมหานครเสียหายไปประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด
แล้วก็จะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวว่าชนะ เวลาอยู่บนกองซากปรักหักพัง...”

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
20 พฤษภาคม พุทธศักราช 2535


ที่โบนันซ่า เขาใหญ่ เรื่องที่ ‘ดา ตอร์ปิโด’ ไม่รู้

17 มิถุนายน พ.ศ. 2556 - 11:01

    เมื่อได้จับไมค์ต้องพูดเอามันไว้ก่อน ชนิดพูดแบบทิ้งทุ่นทิ้งระเบิดก็ต้องเป็น “ดา
ตอร์ปิโด” เมื่อพูดแล้วสามารถเรียกคนเข้ามาร่วมชุมนุมได้มากก็มีที่ยืนบนเวทีของ นปช.
แต่เรื่องที่ “ดา ตอร์ปิโด”พูดหมิ่นสถาบันฯ แกนนำของ นปช. เขาไม่เกี่ยวข้องด้วย เรื่อง
แบบนี้ก็ตัวใครตัวมัน
    การจัดงานของคนเสื้อแดง นปช. ครั้งล่าสุดที่โบนันซ่า เขาใหญ่ แกนนำ นปช. ได้
แสดงจุดยืนที่ชัดเจนแล้วว่า “เพื่อประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ” และ “นำทักษิณกลับ
บ้าน” นปช. ไม่ร่วมด้วยกับพวกล้มเจ้า วันนั้นจึงเกิดปรากฏการณ์กลุ่มแดงสยาม กลุ่มแดง
24 มิถุนาฯ และกลุ่มแดงล้มเจ้าอื่นๆไม่สามารถเขาร่วมกับกลุ่มคนเสื้อแดง นปช.   เลย
ต้องอาศัยปากทางเข้าโบนันซ่าเป็นที่จัดงานแทน
    ภายหลังศาลอุทธรณ์ยืนจำคุก น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ “ดา ตอร์ปิโด”
15 ปี น.ส.ดารณี กล่าวว่า “ตนถูกคุมขังมานานกว่า 5 ปีแล้ว แต่ไม่เคยมีแกนนำ นปช. คน
ใด เดินทางมาเยี่ยมเลย ซึ่งถึงเวลาพ้นโทษแล้วก็ไม่แน่ใจว่ายังจะร่วมต่อสู้กับกลุ่ม นปช.
ต่อไปหรือไม่” จริงๆแล้ว น.ส.ดารณี เป็นแค่แนวร่วม จะให้แกนนำ นปช. เขาเข้ามา
ร่วมกับพวกหมิ่นสถาบันฯได้อย่างไร ในเมื่อแกนนำ นปช. ได้ประกาศชัดเจนแล้วที่โบนัน
ซ่า แต่ “ดา ตอร์ปิโด” ไม่รู้


เมื่อน้ำแล้งเราก็มีฝนหลวง

4 เมษายน พ.ศ. 2556 - 13:44

...แต่มาเงยดูท้องฟ้า มีเมฆ ทำไมมีเมฆอย่างนี้ ทำไมจะดึงเมฆนี่ลงมาให้ได้ ก็เคยได้ยินเรื่องการทำฝน ก็มาปรารภกับคุณเทพฤทธิ์ ฝนทำได้มี มีหนังสือ เคยอ่านหนังสือทำได้..."
 
พุทธศักราช2498จึงได้มีพระราชดำริค้นหาวิธีการ ที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติโดยนำเทคโนโลยีนำสมัยและทรัพยากร ที่มีอยู่ประยุกต์กับศักยภาพของการเกิดฝนในเขตร้อน เช่น ประเทศไทยมุ่งขจัดปัญหา ความเดือดร้อนดังกล่าว และทรงมีพระราชหฤทัยเชื่อมั่นว่าวิธีการดังกล่าวนี้ จะทำให้การพัฒนาระบบการจัดทรัพยากรน้ำของชาติเกิดความพร้อมและครบบริบูรณ์ตามวัฎจักรของ น้ำ คือ
1. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำใต้ดิน
2. การพัฒนาระบบ การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำผิวดิน
3. การพัฒนา การจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ
 
ทรงเชื่อมั่นในพระราชหฤทัย ว่าด้วยลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ ของประเทศจะสามารถดำเนินการให้บังเกิดผลสำเร็จได้ อย่างแน่นอน ดังนั้น ในปีพุทธศักราช 2499 จึงได้ทรงพระมหากรุณาพระราชทานโครงการพระราชดำริ "ฝนหลวง" ให้หม่อมราชวงศ์ เทพฤทธิ์ เทวกุล รับไปดำเนินการศึกษาวิจัยและการพัฒนากรรมวิธีการทำฝนให้บังเกิดผลโดยเร็ว
 
sample1.jpg
 
 

เอกกษัตริย์

17 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 13:08

ตอนหนึ่งจาก หนังสือ ภปร. ที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ ให้จัดทำเพื่อทูลเกล้าฯถวาย สำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึกแก่ผู้มาเฝ้าฯถวายพระพร ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ใน พ.ส.2511 ตอนหนึ่ง มีความว่า

ในคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลฯ ทรงรับขึ้นครองราชย์ สืบต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐานั้น

เดิมทีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งพระราชหฤทัยไว้ว่า พระองค์จะทรงครองราชสมบัติ เพียงชั่วขณะเวลาจัดงานพระบรมศพ ให้งดงามสมพระเกียรติเท่านั้น

เพราะพระชนมายุ 18 พรรษา ไม่ทำให้ทรงรู้สึกว่าจะมีกำลังพระทัย เป็นพระเจ้าแผ่นดินไปได้ตลอด

การสูญเสียพระบรมเชษฐาธิราชที่ทรงรักและใกล้ชิดสนิทสนมกันมาตลอดเวลาอย่างกะทันหัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ไม่เคยเตรียมพระราชหฤทัย และกำลังพระวรกายมาสำหรับหน้าที่นี้เลย

แต่แล้วมีเหตุการณ์หลายครั้งหลายคราว ที่ประชาชนแสดงความจงรัก ภักดีต่อพระองค์ ดังเช่นในวันเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตฯ ขณะประทับรถพระที่นั่งไปสู่สนามบินดอนเมือง ทรงได้ยินเสียงตะโกนดังๆ ว่า
“ในหลวงอย่าทิ้งประชาชน”

ทำให้ทรงนึกตอบบุคคลผู้นั้นในพระราชหฤทัยว่า “ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะทิ้งประชาชนอย่างไรได้”

จิรภา อ่อนเรือง เขียนไว้ในหนังสือ พระสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (ในหลวงของเรา) ว่า ขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวจะทรงรับครองราชสมบัติแล้ว แต่ประชาชนก็ยังลังเลใจ ไม่แน่ว่าพระองค์จะครองแผ่นดินไปโดยตลอดหรือไม่

ระหว่างงานพระบรมศพสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ในทุกวันที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ได้เสด็จพระราชดำเนินไป ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จะมีประชาชนมารอรับเสด็จอย่างแน่นขนัด ที่ 2 ข้างทาง

ขณะนั้นมีข่าว ในช่วงเวลาแห่งความเศร้าโศกนี้ สมเด็จพระราชชนนีไม่สนพระทัยไยดีแม้ต่อพระกระยาหาร ยิ่งได้เห็นภาพพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่ทรงพระกันแสงอยู่เกือบตลอดเวลาในงานพระบรมศพ

ประกอบกับข่าวพระเจ้าอยู่หัวผู้ล่วงลับถูกลอบปลงพระชนม์ ก็ยิ่งมีแต่ทำให้คนไทยทั้งปวง เกิดความเจ็บช้ำน้ำใจหนัก

มีอยู่วันหนึ่งได้มีประชาชนคนหนึ่งที่มารอเฝ้าฯอยู่ ได้กราบถวายบังคมทูลขึ้นว่า “ต่อไปนี้ไม่มีในหลวงแล้ว”

พระองค์จึงทรงมีรับสั่งตอบ ปลอบใจประชาชนไปว่า “ในหลวงยังอยู่...พระอนุชาต่างหากไม่มีแล้ว “

มีข้อมูลที่บันทึกไว้ว่า ก่อนวาระแห่งความโศกเศร้าเหล่านั้น...9 มิ.ย.รัฐสภาได้เปิดประชุมในเวลากลางคืน ลงมติเห็นชอบว่า ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบพระราชสันติติวงศ์

ให้สมเด็จพระอนุชา เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่

ในขณะนั้นหลายฝ่ายต่างวิตกกังวลกันว่า สมเด็จพระราชชนนีอาจจะไม่ทรงยินยอมให้สมเด็จพระอนุชารับราชสมบัติ จนเมื่อเหล่าพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้เข้าเฝ้า

กราบบังคมทูลสมเด็จพระราชชนนีว่า สมเด็จพระอนุชามีสิทธิในราชบัลลังก์นั้น สมเด็จพระราชชนนีก็ได้ตรัสถามพระราชโอรสว่า “รับไหมลูก”

สมเด็จพระราชโอรส ตรัสสั้นเพียงว่า “รับ”

บรรดาผู้อยู่ในที่ประชุมนั้น จงพร้อมใจกราบถวายบังคม

นี่คือบางส่วนของเรื่องราวในบทที่ 21 จากหนังสือเอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ (พิมพ์ครั้งที่ 1 ส.ค.2553 พิมพ์ครั้งที่ 2 มิ.ย.255 รวม 105,000 เล่ม) ที่วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย รวบรวมและเรียบเรียงเอาไว้

หนังสือเล่มนี้ แท้จริงแล้วเป็นบันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทย เริ่มแต่วันเปลี่ยนแปลงการปกครองจนปัจจุบัน...มีเจตนาให้คนไทยทุกคนได้อ่าน...จึงหาอ่านได้ จากโรงเรียน วัด ห้องสมุด และหน่วยราชการสำคัญทุกแห่ง...

อ่านแล้วความเคลือบแคลงสงสัย บางประการ ที่เคยมี ก็จะคลี่คลาย จนกระจ่างสว่างใจ...ประเทศไทยเรามีพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทศพิธราชธรรม ผ่านหนาวร้อนเคียงคู่มากับประชาชน

อ่านแล้วจะยิ่งแน่ใจ พระเจ้าอยู่หัวของคนไทย ไม่เคยทิ้งประชาชน ไม่ว่าเวลาใด เวลาที่ทรงมีพระพลานามัยเข้มแข็ง หรือเวลาที่ทรง พระประชวร.

กิเลน ประลองเชิง

ไทยรัฐออนไลน์

โดย กิเลน ประลองเชิง
4 ธันวาคม 2555, 05:00 น.

“ไทกร” ชี้เหตุ “ทักษิณ” เขี่ยเสื้อแดงทิ้ง

4 ธันวาคม พ.ศ. 2555 - 13:28

เมื่อเรื่องวุ่นๆในรัฐสภาไทยเกี่ยวกับคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญและการปรองดอง ได้เบาบางลงไป ก็ไม่ต้องกังวลกับการเผชิญหน้าของกลุ่มคนหลากสีเสื้อ ทำให้มีเวลามานั่งทบทวนดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทยของเรา บังเอิญได้อ่านบทสัมภาษณ์พิเศษของ นายไทกร พลสุวรรณ แกนนำกลุ่มอีสานกู้ชาติ เมื่อ 25 พฤษภาคม 2555 มีประเด็นน่าสนใจมาก เลยลองสรุปมาให้อ่านกัน

อดีต นรม.ต้องการแตกหักกับกลุ่มคนเสื้อแดง เพราะห็นว่าการกระทำของกลุ่มคนเสื้อแดงทำให้เป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายทางการเมือง และอาจจะสร้างความเดือนร้อนให้ครอบครัวและญาติพี่น้องของตน แต่กลุ่มคนเสื้อแดงไม่ยอมทิ้งอดีต นรม.เพราะเห็นว่าอดีต นรม.เป็นเครื่องมือและมีทุน ที่จะนำกลุ่มคนเสื้อแดงไปสู่จุดหมายได้

อดีต นรม.และกลุ่มคนเสื้อแดงได้ร่วมมือกันอย่างชัดเจน หลังการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เมื่อ 19 ก.ย.49 อดีต นรม.ยอมเดินตามแนวทางกลุ่มฝ่ายซ้าย ในการสร้างศัตรูของประชาชน ตามแนวทางของฝ่ายซ้าย โดยโฆษณาชวนเชื่อว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นศัตรูของประชาชน ซึ่งเป็นแนวคิดที่ตกทอดมาจากการเข้าร่วมกับพรรคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยเฉพาะหลังเหตุการณ์ 6 ต.ค. 19 กลุ่มฝ่ายซ้ายนี้มีหลายสาย แต่ทุกสายต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มีศัตรูร่วมเดียวกัน และเชื่อว่า อดีต นรม.ได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างมากพอที่จะต่อสู้กับสถาบันได้

การต่อสู้ในปี 2552-2553 กลุ่มฝ่ายซ้ายเสนอแนวคิด ทฤษฎีการปฎิวัติประชาชนต่ออดีต นรม.มีการยกระดับจาก นปก.เป็น นปช. แต่การต่อสู้ไม่เป็นไปตามเป้าหมายในการสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรงมีการเสียชีวิต ท้ายสุดกองทัพจะยึดอำนาจ เมื่อถึงเวลานั้นก็จะปลุกประชาชนทั่วประเทศทำลายกองทัพและสถาบันในคราวเดียวกัน

การที่อดีต นรม.ต้องการทิ้งกลุ่มคนเสื้อแดง นอกจากความไม่สำเร็จจากการเตรียมการดังกล่าว แต่เหตุผลหลักคือ อดีต นรม.เกรงว่าความจริงจะเปิดเผยว่าผู้ใดเป็นผู้สร้างความรุนแรง เพราะกลุ่มพี่น้องคนเสื้อแดงที่ถูกจับและที่เสียชีวิตเริ่มทนไม่ได้ จึงต้องรีบทำเรื่องเยียวยา เพื่อไม่ให้กระแสสังคมตีกลับ ในประเด็นกลุ่มคนเสื้อแดงได้อำนาจมาพร้อมพรรคเพื่อไทย และจะเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ อย่างไรก็ตามคำพูดของอดีต นรม. เมื่อ 19 พ.ค. เหมือนกับจะทิ้งกลุ่มคนเสื้อแดง หลังจากการพบปะส่วนตัวกับผู้นำของกลุ่มฝ่ายซ้าย และฝ่ายซ้ายในพื้นที่ ยืนยันแนวทางที่เดินมานั้นถูกต้องแล้ว พร้อมกับสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ถ้านำกษัตริย์ออกไปไม่ได้ก็ทำแบบสวีเดน

อดีต นรม.กำลังปรับศัตรูทางการเมืองใหม่ ล้างความคิดประชาชน โดยพรรคประชาธิปัตย์เป็นศัตรูของประชาชน โดยไม่มีอำมาตย์อยู่เบื้องหลังประชาธิปัตย์ ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะสำเร็จหรือไม่ ใช้จตุพร ณัฐวุฒิ วีระกานต์ เดินเกมส์นี้ อดีต นรม.ยังจะไม่ให้จตุพรเป็น รมต.ขณะนี้เพราะจะต้องประเมินกลุ่มฝ่ายซ้ายก่อน แล้วค่อยวางบทบาทของจตุพร ซึ่งอาจจะให้เป็นแกนนำ นปช.ตัวจริงก็ได้ เพื่อดึงมวลชนฝ่ายซ้ายคืนมา ซึ่งอดีต นรม.จะควบคุมคนเหล่านี้โดยใช้ทุน

ขณะที่ฝ่ายซ้ายเองจะพยายามดำเนินการทุกอย่างให้อดีต นรม.เดินตามเกมส์ของตน ฝ่ายซ้ายจะไม่ทิ้งอดีต นรม. แต่จะทำลายภายหลัง เพราะอดีต นรม.เป็นทุนนิยม ไทกรเชื่อว่าในที่สุด อดีต นรม.จะจนแต้ม สภาพของสองฝ่ายขณะนี้เป็นการตัดบัวยังเหลือใย ฝ่ายซ้ายต้องการดำรงความขัดแย้งทางการเมืองไว้เพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง

อดีต นรม.เป็นตัวแปรสำคัญของสถานการณ์ จะสงบหรือรุนแรง ขึ้นอยู่กับการนำทรัพย์สินสนับสนุนฝ่ายซ้ายในการเคลื่อนไหวด้านมวลชน ขณะนี้มีการจัดตั้งหมู่บ้านเสื้อแดง หรือเขตปลดปล่อยในสมัยก่อน ซึ่งเป็นการใช้วิธีการสร้างอำนาจรัฐซ้อนรัฐ

แหล่งที่มา http://thaiinsider.i...-05-25-03-45-01