Jump to content


Photo
- - - - -

“ราชบัณฑิต” สำรวจแก้ 176 ศัพท์ลูกครึ่งให้ตรงเสียง


  • Please log in to reply
152 ความเห็นในกระทู้นี้

#101 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:49

คนเก่งไม่จำเป็นต้องทำอะไรถูกต้องเสมอไป
คนอวดเก่งก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรถูกต้องเสมอไป

แทนที่จะโจมตีเพราะคนเสนอเป็น "ราชบัณฑิต"
ทำไมไม่พูดถึงเหตุผลที่เขาเสนอมาล่ะ เรื่องคำศัพท์
ถ้าใช้กันโดยทั่วไป ราชบัณฑิตก็เสนอให้ใช้ได้เหมือน

ปลาติดหลังแห ก็ใช้คู่กับ ปลาติดร่างแห

ทั้งๆ ที่ความหมายตามตัวหนังสือไม่เหมือนกัน
หลังแห คือติดอยู่ภายนอกแห แต่ร่างแหนี่คือติด
ทั้งข้างในข้างนอก อันนี้เป็นหลักที่ใช้กันมาแล้ว


----------
ถึงคุณ isa แบบนี้ผมนีกถึงคำถามอะไรเอย

"ปลาอะไรไม่มีก้าง""ปาท่องโก๋"
กลายเป็นว่า ปลา กับ ปา คือคำเดียวกันไปเสียแล้ว
แถมปลาท่องโก๋ก็ผิด ต้องเป็น "อิ๊วจาก๊วย" จึงเป็นชื่อที่ถูกต้อง
คนไทยเราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับหลักภาษาและชื่อ พูดผิดพูดถูก
เขียนผิดเขียนถูกเป็นประจำ เวลาพูดคุยกับคนไม่รู้จัก จึงสื่อความหมาย
ผิดอยู่เรื่อยๆ

Edited by eAT, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:49.


#102 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 15:55

ถึงคุณ isa แบบนี้ผมนีกถึงคำถามอะไรเอย

"ปลาอะไรไม่มีก้าง""ปาท่องโก๋"
กลายเป็นว่า ปลา กับ ปา คือคำเดียวกันไปเสียแล้ว
แถมปลาท่องโก๋ก็ผิด ต้องเป็น "อิ๊วจาก๊วย" จึงเป็นชื่อที่ถูกต้อง
คนไทยเราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับหลักภาษาและชื่อ พูดผิดพูดถูก
เขียนผิดเขียนถูกเป็นประจำ เวลาพูดคุยกับคนไม่รู้จัก จึงสื่อความหมาย
ผิดอยู่เรื่อยๆ

^
^
อยากกินปาท่องโก๋ขึ้นมาติดหมัด ให้ตาย

เมื่อกี้เข้าทู้นึง...เจอเพื่อนสมาชิกพูดถึงกาแฟเย็น ก็อยากกินขึ้นมาติดหมัด

หมายเหตุ ผมเพิ่งกินข้าวมา 2 ชามนะ ทำไมเรากินเก่งยังงี้????

ปาท่องโก๋.jpg กาแฟเย็น.jpg

ขอโทษเพื่่อนๆที่เบี่ยงมู้นะขอร้าบ..มันเปรี้ยวปากจริงๆ ทนไม่ไหว
(ใครทำหนูท้อง..บอกมาเดี๋ยวนี้นะ)
gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#103 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:22

มาแว้ว นักวิชาการออกมาบอกแว้วว่า "วุ่นแน่ๆ"


ราชบัณฑิตยฯ แจงเขียนคำศัพท์ใหม่เน้นเสียงอังกฤษ - นักอักษรฯชี้วงการภาษาวุ่นแน่ Posted Image โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 ตุลาคม 2555 14:25 น. ‘ราชบัณฑิตยฯ’ แจงเหตุชงศัพท์ยืมจากภาษาอังกฤษ เสียงอ่อยรอดูผลการสำรวจความคิดเห็นอีกครั้ง ยันจะปรับแก้ตามข้อเสนอของเสียงส่วนใหญ่ ถ้าเห็นด้วยเฉพาะบางคำ ก็ปรับแก้เฉพาะที่เห็นด้วย ขณะที่ นักอักษรศาสตร์ ระบุ หากเปลี่ยนวงการภาษาวุ่น

จากกรณีกองศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถาน เตรียมสำรวจความเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่ยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ 176 คำ เนื่องจากเห็นว่ามีการเขียนผิด และไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นๆ ตามอักขระวิธีไทยและการอ่านออกเสียง โดยจัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นประมาณ 300 ชุด เกี่ยวกับการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เพื่อสอบถามความเห็นจากคณะกรรมการราชบัณฑิต ภาคีสมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยขณะนี้มีทั้งเสียงสนับสนุนและเสียงคัดค้านกับการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำศัพท์ดังกล่าว

วันนี้ (1 ต.ค.)นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตและนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กรณีที่มีคนออกมาคัดค้านการขอเปลี่ยนการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ทั้ง 176 คน ขอชี้แจงเจตนาอีกครั้ง ว่า เพื่อให้คำศัพท์ดังกล่าว เขียนตรงกับเสียงวรรณยุกต์และการอ่านออกเสียง และถ้าเปลี่ยนแล้วใครไม่เขียนตามราชบัณฑิตยฯก็ไม่ได้ว่าอะไร เพราะทุกวันนี้ก็มีคำศัพท์หลายคำที่ไม่ได้เขียนตามแบบราชบัณฑิตยฯอยู่แล้ว

แต่การเสนอให้เปลี่ยนเพราะเมื่อออกเสียงอย่างไรก็ควรเขียนอย่างนั้นราชบัณฑิตยฯ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ คำที่ยืมมาจากภาษาอังกฤษแล้วได้เขียนตามเสียงวรรณยุกต์ถูกต้อง เช่น ประชุมอังค์ถัด ดาวน์โหลด และคำว่าโหวต ดังนั้น เมื่อหลายคำเขียนถูกที่เหลือก็ควรเปลี่ยนให้ถูกต้องด้วย อย่างไรก็ตาม ต้องรอดูผลการสำรวจความคิดเห็นอีกครั้งว่าเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยหรือไม่ และถ้าเห็นด้วยเฉพาะบางคำ ก็ปรับแก้เฉพะที่เห็นด้วย ซึ่งตนก็ไม่คัดค้านอะไร ซึ่งก็จะปรับแก้ตามข้อเสนอของเสียงส่วนใหญ่

นายวัฒนะ บุญจับ นักอักษรศาสตร์ สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กล่าวว่า น่าเห็นใจและน่าเป็นห่วงพอๆ กัน ในส่วนที่น่าเห็นใจ ก็คืออิทธิพลของการยืมทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงในภาษาไทยอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการยืมคำจากภาษาที่ไม่ใช่ภาษาวรรณยุกต์มาใช้ด้วยวิธีทับศัพท์ เพราะเมื่อถอดถ่ายอักษรมาเป็นภาษาไทยนั้น ถือกติกาว่าไม่ต้องมีรูปวรรณยุกต์กำกับ เนื่องจากผู้รู้ภาษารู้ดีว่าจะอ่านออกเสียงสูงต่ำอย่างไรก็ไม่กระทบกับความหมาย แต่พอเวลาอ่านออกเสียงกันจริงๆ กลับใช้อีกกติกาหนึ่ง คือ กลุ่มคนที่รณรงค์การใช้ภาษาแบบบ้าคลั่งเกิดมาบังคับว่าเขียนอย่างไรต้องออกเสียงอย่างนั้น ดังนั้น เมื่อไม่มีวรรณยุกต์กำกับก็ต้องไม่ออกเสียงวรรณยุกต์ หากออกเสียงแปรไปจากรูปเขียนก็มาถือว่าผิดเสียด้วย ส่วนที่น่าเป็นห่วง คือ หากจะเปลี่ยนกันจริงๆ ควรเปลี่ยนทั้งระบบ ซึ่งคงเกิดปัญหายุ่งยากในวงการภาษาอีกไม่ใช่น้อย

gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#104 juemmy

juemmy

    คนสวยประจำบอร์ด

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 7,307 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:26

ในที่สุดผมก็คงจะเห็นคนที่เขียนคำว่า "ม้าร์คชั่งไข่" ได้อย่างถูกหลักภาษาเสียที ชอบเติมไม้ตรีให้กับ ม ม้า กันอยู่ได้ B)

คุณทักคะ..คนที่เขียนผิดเป็น ม๊าก นั้นเป็นเสื้อแดงทั้งสิ้นค่ะ :D

Edited by juemmy, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:26.

"กูจะสู้แม้รู้ว่าพวกกูน้อย สู้ไม่ถอยแม้รู้ว่าจะดับสลาย แผ่นดินนี้พ่อกูอยู่ปู่กูตาย กูสุดอายถ้าเสียทีไพรีครอง"


#105 Mark Nazi

Mark Nazi

    พี่มากขา

  • Members
  • PipPipPip
  • 548 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:39

มาแว้ว นักวิชาการออกมาบอกแว้วว่า "วุ่นแน่ๆ"

ราชบัณฑิตยฯ แจงเขียนคำศัพท์ใหม่เน้นเสียงอังกฤษ - นักอักษรฯชี้วงการภาษาวุ่นแน่ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 ตุลาคม 2555 14:25 น.

ใครก็ได้ฝากไปตบเกรียนแป๊ะที

แป๊ะทีวีอีกแล้วพี่น้อง ภาษาทั่วไปเขาเรียกว่าเสี้ยม เขียนหัวข้อผิดจากเนื้อข่าวที่ราชบัณฑิตฯ บอกไปคนละทวีปเลย

คุณทักคะ..คนที่เขียนผิดเป็น ม๊าก นั้นเป็นเสื้อแดงทั้งสิ้นค่ะ :D

ผมฝากบอกไปถึง Q.C. บางท่านอะครับ ^_^

ผมซีเครียดกับคำว่า "ม้าร์คชั่งไข่" กับ "ม้าร์คนาซี" มากเลยนะ :angry:

Edited by Tux Vader, 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:43.


#106 redfrog53

redfrog53

    เกิดที่รัสเซีย มาโตที่ สรท.

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 25,221 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 20:15


มาแว้ว นักวิชาการออกมาบอกแว้วว่า "วุ่นแน่ๆ"

ราชบัณฑิตยฯ แจงเขียนคำศัพท์ใหม่เน้นเสียงอังกฤษ - นักอักษรฯชี้วงการภาษาวุ่นแน่ โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 ตุลาคม 2555 14:25 น.

ใครก็ได้ฝากไปตบเกรียนแป๊ะที

แป๊ะทีวีอีกแล้วพี่น้อง ภาษาทั่วไปเขาเรียกว่าเสี้ยม เขียนหัวข้อผิดจากเนื้อข่าวที่ราชบัณฑิตฯ บอกไปคนละทวีปเลย

คุณทักคะ..คนที่เขียนผิดเป็น ม๊าก นั้นเป็นเสื้อแดงทั้งสิ้นค่ะ :D

ผมฝากบอกไปถึง Q.C. บางท่านอะครับ ^_^

ผมซีเครียดกับคำว่า "ม้าร์คชั่งไข่" กับ "ม้าร์คนาซี" มากเลยนะ :angry:


ตบแพรต ฝากไปให้แป๊ะก้อได้
Posted Image

#107 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 21:10

เดกซ์โทรส - เด๊กโทรัส

เอาจริงดิ :o :o :o

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#108 cabala

cabala

    ประชาธิปไตย นี้ ถ้ากล่

  • Members
  • PipPipPip
  • 893 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 21:15

ของเสนอคำนี้ให้พวกท่านละกันครับ ปัญญาอ่อน

อยู่ว่างๆไม่มีงานทำหรอ มาเปลี่ยนอะไรๆให้มันแย่ลง


ไปว่าเขาทำไมล่ะครับ ก็นั้นนะ งานของเขา

#109 MuuSang

MuuSang

    เมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 5,604 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:02


ถึงคุณ isa แบบนี้ผมนีกถึงคำถามอะไรเอย

"ปลาอะไรไม่มีก้าง""ปาท่องโก๋"
กลายเป็นว่า ปลา กับ ปา คือคำเดียวกันไปเสียแล้ว
แถมปลาท่องโก๋ก็ผิด ต้องเป็น "อิ๊วจาก๊วย" จึงเป็นชื่อที่ถูกต้อง
คนไทยเราไม่ค่อยให้ความสำคัญกับหลักภาษาและชื่อ พูดผิดพูดถูก
เขียนผิดเขียนถูกเป็นประจำ เวลาพูดคุยกับคนไม่รู้จัก จึงสื่อความหมาย
ผิดอยู่เรื่อยๆ

^
^
อยากกินปาท่องโก๋ขึ้นมาติดหมัด ให้ตาย

เมื่อกี้เข้าทู้นึง...เจอเพื่อนสมาชิกพูดถึงกาแฟเย็น ก็อยากกินขึ้นมาติดหมัด

หมายเหตุ ผมเพิ่งกินข้าวมา 2 ชามนะ ทำไมเรากินเก่งยังงี้????

ปาท่องโก๋.jpg กาแฟเย็น.jpg

ขอโทษเพื่่อนๆที่เบี่ยงมู้นะขอร้าบ..มันเปรี้ยวปากจริงๆ ทนไม่ไหว
(ใครทำหนูท้อง..บอกมาเดี๋ยวนี้นะ)


บ้านผมเรีย
ชาโก้ย หรือ จาโก้ย
ถูกหรือเปล่าครับ
แม้นใครรัก รักมั่ง ชัง ชังตอบ

#110 littlerock

littlerock

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 289 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:05

เดกซ์โทรส - เด๊กโทรัส

เอาจริงดิ :o :o :o


น่าจะเป็น

เด๊กโทร้ส

กระมังครับ

#111 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:10


เดกซ์โทรส - เด๊กโทรัส

เอาจริงดิ :o :o :o


น่าจะเป็น

เด๊กโทร้ส

กระมังครับ

ลองดูข่าวหลายสำนักแล้วมันเขียนแบบนั้นจริง ๆ นะ แล้ว ซ์ ก็หายไปอีก

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#112 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:20

Posted Image
Posted Image

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#113 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

ตอบ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:30

บ้านผมเรีย
ชาโก้ย หรือ จาโก้ย
ถูกหรือเปล่าครับ


น่าจะเป็นคลละสำเนียง
ปาท่องโก๋ จากที่ดูช่อง 5 เมื่อไม่นานมาแล้ว
อธิบายว่า ปา แปลว่า ขาว
ท่อง คือ น้ำตาล
โก๋ คือ ขนม ดังนั้นมันคือ ขนมน้ำตาลขาว

ค้นมาให้

http://www.oknation....t.php?id=684555

ตอนนี้ผมพยายามเรียกเวลาซื้อว่า "โก๋" แทน
แปลว่า "ขนม" เป็นกลางๆ เพราะรู้ว่ามันไม่ใช่
ก็ไม่ควรใช้ พอพูดตรงๆ คนไทยก็ดันไม่เข้าใจอีก

#114 isa

isa

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 447 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 00:30

แถวภาคใต้ก็เรียกปาท่องโก๋ว่า "จาโกย" นะครับ น่าจะมาจากคำว่า อิ๋วจาก้วย น่ะแหละ
เกร็ดของอิ๋วจาก้วย ก็มาจากพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ซ้อง ที่ขุนพลงักฮุยถูกขุนนางกังฉินฉินข้วย
ใส่ร้ายจนถูกประหารชีวิต ชาวบ้านที่เจ็บแค้นไม่รู้จะทำยังไง ก็เลยทำขนมสมมุติว่าเป็นฉินข้วยกับเมีย
ทอดน้ำมันกินให้หายแค้น คำว่าอิ๋ว แปลว่าน้ำมัน ส่วนก้วย ก็คือ ฉินข้วยน่ะแหละ แต่จามาจากไหนก็ลืมไปแระ

ภาษาใต้ก็มีคำอะไรแปลกๆที่มาจากภาษาต่างประเทศเหมือนกัน เช่นข้าวโพด ก็เรียกว่า "คง" น่าจะมาจากคำว่า "คอร์น"
ในภาษาอังกฤษมั้ง

#115 chorn

chorn

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 211 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 00:52

นายกชอบอ่านโพยผิด เลยแก้ให้นายกอ่านโพยง่ายขึ้นว่างั้น 555 มันเกี่ยวกันไหมเนี๋ย
== ข้อความถูกระงับโดยผู้ดูแล ==

#116 วันศุกร์

วันศุกร์

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 518 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 00:55

ทัชชี่' timestamp='1348993668' post='433745']
คำที่ผมเห็นด้วยก็มีนะสีเขียว


เอามาจากhttp://news.sanook.c...ึ่งให้ตรงเสียง/



ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำศัพท์ที่อยู่ในแบบสำรวจ เพื่อขอความเห็นในการเปลี่ยนแปลงการเขียนใหม่ ดังนี้
1.คำที่ใส่เครื่องหมายไม้ไต่คู้เพื่อแสดงสระเสียงสั้น ได้แก่ ซีเมนต์ เปลี่ยนเป็น ซีเม็นต์, เซต-เซ็ต, เซนติกรัม-เซ็นติกรัม, เซนติเกรด-เซ็นติเกรด, เซนติลิตร-เซ็นติลิตร, ไดเรกตริกซ์-ไดเร็กตริก, เทนนิส-เท็นนิส, นอต-น็อต, นิวตรอน-นิวตร็อน, เนตบอล-เน็ตบอล, เนปจูน-เน็ปจูน, เบนซิน-เบ็นซิน, แบคทีเรีย-แบ็คทีเรีย, มะฮอกกานี-มะฮ็อกกานี, เมตริก-เม็ตตริก, เมตริกตัน- เม็ตริกตัน, แมงกานิน-แม็งกานิน, อิเล็ก ตรอน-อิเล็กตร็อน, เฮกโตกรัม-เฮ็กโตกรัม, เฮกโตลิตร-เฮ็กโตลิตร
2.คำที่เปลี่ยนตัวพยัญชนะเป็นอักษรสูง ได้แก่ คอร์ด-ขอร์ด, แคโทด-แคโถด, ซัลเฟต-ซัลเฝต, ไทเทรต-ไทเถรต, ไนต์คลับ-ไน้ต์ขลับ, พาร์เซก-พาร์เส็ก, แฟลต-แฝล็ต, สเปกโทร สโกป-สเป็กโทรสโขป, ไอโซโทป-ไอโซโถป
3.คำที่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์เอก ได้แก่ กอริลลา-กอริลล่า, แกโดลิเนียม-แกโดลิ เนี่ยม, แกมมา-แกมม่า, แกลเลียม-แกลเลี่ยม, คูเรียม-คูเรี่ยม, แคดเมียม-แคดเมี่ยม, แคลเซียม-แคลเซี่ยม, แคลอรี-แคลอรี่, โครเมียม-โครเมี่ยม, ซิงโคนา-ซิงโคน่า, ซิลิคอน-ซิลิค่อน, ซีเซียม-ซีเซี่ยม, ซีนอน-ซีน่อน, ซีเรียม-ซีเรี่ยม, โซลา-โซล่า, ดอลลาร์-ดอลล่าร์, เทคโนโลยี-เท็คโนโลยี่, แทนทาลัม-แทนทาลั่ม, ไทเทเนียม-ไทเท เนี่ยม, เนบิวลา-เนบิวล่า, ไนลอน-ไนล่อน, แบเรียม-แบเรี่ยม, ปริซึม-ปริซึ่ม, ปิโตรเลียม-ปิโตรเลี่ยม, แพลทินัม-แพลทินั่ม, ฟังก์ชัน-ฟังก์ชั่น, ฟาทอม-ฟาท่อม, ไมครอน-ไมคร่อน, ยิปซัม-ยิปซั่ม, ยูเรเนียม-ยูเรเนี่ยม, เลเซอร์-เลเซ่อร์, วอลเลย์บอล-วอลเล่ย์บอล, อะลูมิเนียม-อะลูมิเนี่ยม, อีเทอร์-อีเท่อร์, เอเคอร์-เอเค่อร์, แอลฟา-แอลฟ่า, ฮาห์เนียม-ฮาห์เนี่ยม, ฮีเลียม-ฮีเลี่ยม
4.คำที่ใส่ ห นำเพื่อแสดงเสียงวรรณยุกต์เอก ได้แก่ กะรัต-กะหรัต, แกรนิต-แกรหนิต, คลินิก-คลิหนิก, คาทอลิก-คาทอหลิก, คาร์บอเนต-คาร์บอเหนต, คาร์บอลิก-คาร์บอหลิก, โคออร์ดิเนต-โคออร์ดิเหนต, รูเล็ตต์- รูเหล็ตต์, -
5.คำที่เติมเครื่องหมายวรรณยุกต์โท ได้แก่ กลูโคส-กลูโค้ส, กิโลไซเกิล-กิโลไซเกิ้ล, กิโลเมตร-กิโลเม้ตร, กิโลเฮิรตซ์-กิโลเฮิ้รตซ์, กีตาร์-กีต้าร์, แกรไฟต์-แกรไฟ้ต์, คาร์บอน-คาร์บ้อน, คาร์บูเรเตอร์-คาร์บูเรเต้อร์, เคเบิล-เคเบิ้ล, โควตา-โควต้า, ชอล์ก-ช้อล์ก, ซอส-ซ้อส, โซเดียม-โซเดี้ยม, ไดนาไมต์-ไดนาไม้ต์, แทนเจนต์-แทนเจ้นต์, แทรกเตอร์-แทรกเต้อร์, นิกเกิล-นิกเกิ้ล, ไนต์คลับ-ไน้ต์ขลับ, ไนโตรเจน-ไนโตรเจ้น, บารอมิเตอร์-บารอมิเต้อร์, บีตา-บีต้า, ปาทังกา-ปาทังก้า, ปาร์เกต์-ปาร์เก้ต์, พลาสติก-พล้าสติก, ฟาสซิสต์- ฟ้าสซิสต์, มอเตอร์-มอเต้อร์, เมตร-เม้ตร, ไมกา-ไมก้า, ยีราฟ-ยีร้าฟ, เรดอน-เรด้อน, เรดาร์-เรด้าร์, เรเดียม-เรเดี้ยม, ลิกไนต์- ลิกไน้ต์, แวนดา-แวนด้า, อาร์กอน-อาร์ก้อน, แอนติบอดี-แอนติบอดี้, เฮิรตซ์-เฮิ้รตซ์, ไฮดรา-ไฮดร้า, ไฮโดรเจน-ไฮโดรเจ้น
6.คำที่เติมเครื่องหมายวรรณยุกต์ตรี ได้แก่ กราฟ-กร๊าฟ, ก๊อซ-ก๊อซ, กอล์ฟ-ก๊อล์ฟ, เกาต์-เก๊าต์, ออกไซด์-อ๊อกไซด์, โคบอลต์- โคบ๊อลต์, ดราฟต์-ดร๊าฟต์, ดัตช์-ดั๊ตช์, ดิสโพรเซียม-ดิ๊สโพรเซี่ยม, เดกซ์โทรส-เด๊ก โทรัส, เต็นท์-เต๊นท์, บาสเกตบอล-บ๊าสเก้ต บอล, บิสมัท-บิ๊สมั้ท, แบงก์-แบ๊งก์, โบต-โบ๊ต, ปลาสเตอร์-ปล๊าสเต้อร์, ปิกนิก-ปิ๊กหนิก, ออกซิเจน-อ๊อกซิเย่น, ออกซิเดชัน-อ๊อก ซิเดชั่น, ออกไซด์-อ๊อกไซด์, อาร์ต-อ๊าร์ต, เอกซเรย์-เอ๊กซเรย์, แอสไพริน-แอ๊สไพริน, แอสฟัลต์-แอ๊สฟัลต์, โอ๊ด-โอ๊ต
และ 7.คำที่มีหลายพยางค์ ได้แก่ คอนเดนเซอร์-ค็อนเด็นเซ่อร์, คอนแวนต์-ค็อนแว็นต์, คอนเสิร์ต-ค็อนเสิร์ต, คอมพิวเตอร์-ค็อมพิ้วเต้อร์, คอมมานโด-ค็อมมานโด, คอมมิวนิสต์-ค็อมมิวนิสต์, คูปอง- คูป็อง, เครดิตฟองซิเอร์-เครดิตฟ็องซิเอร์, แคดเมียม-แค็ดเมี่ยม, แคปซูล-แค็ปซูล, แคลเซียมไซคลาเมต-แคลเซี่ยมไซคลาเมต, ช็อกโกเลต/ ช็อกโกแลต-ช็อกโกแล็ต, เซนติเมตร-เซ็นติเม้ตร, โซเดียมคาร์บอเนต-โซเดี้ยมคาร์บอเหนต, โซเดียมไซคลาเมต-โซเดี้ยมไซคลาเหมต, โซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต-โซเดี้ยมไฮโดรเจ้นกลูตาเหมต, โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต-โซเดี้ยมไฮโดร เจ้นคาร์บอเหนต, ดีเปรสชัน-ดีเปร๊สชั่น, เทคโนโลยี-เท็คโนโลยี่, แทรกเตอร์-แทร็ก เต้อร์, แบดมินตัน-แบ็ดมินตั้น, แบตเตอรี่-แบ็ตเตอรี่, พลาสมา-พล้าสม่า, โพแทสเซียม-โพแท้สเซี่ยม, เมนทอล-เม็นท่อล, แมงกานีส-แม็งกานี้ส, แมกนีเซียม-แม็กนีเซี่ยม, รีดักชัน-รีดั๊กชั่น, ลอการิทึม-ล็อกการิทึ่ม, สเปกตรัม-สเป๊กตรั้ม, สเปกโทรสโกป-สเป็กโตรสโขป, ออกซิเดชัน-อ๊อกซิเดชั่น, อัลตราไวโอเลต-อัลตร้าไวโอเหล็ต, แอกทิเนียม-แอ๊กทิเนี่ยม, แอนติอิเล็ก ตรอน-แอ็นติอิเล็กตร็อน, เฮกตาร์-เฮ็กต้าร์ และเฮกโตเมตร- เฮ็กโตเม้ตร



adding some words I'm ok with - in red.

A lot of this made me feel like วัฒนธรรม (วัธนธัม) ยุคท่านผู้นำ - จอมพลป. especially #2 and #4

You can't fix stupid - Ron White

 

You can have your own opinion, but not your own facts - Daniel Patrick Moynihan

 

"A society is judged by how it treats its animals and elderly"


#117 redfrog53

redfrog53

    เกิดที่รัสเซีย มาโตที่ สรท.

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 25,221 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 03:32

แถวภาคใต้ก็เรียกปาท่องโก๋ว่า "จาโกย" นะครับ น่าจะมาจากคำว่า อิ๋วจาก้วย น่ะแหละ
เกร็ดของอิ๋วจาก้วย ก็มาจากพงศาวดารจีนสมัยราชวงศ์ซ้อง ที่ขุนพลงักฮุยถูกขุนนางกังฉินฉินข้วย
ใส่ร้ายจนถูกประหารชีวิต ชาวบ้านที่เจ็บแค้นไม่รู้จะทำยังไง ก็เลยทำขนมสมมุติว่าเป็นฉินข้วยกับเมีย
ทอดน้ำมันกินให้หายแค้น คำว่าอิ๋ว แปลว่าน้ำมัน ส่วนก้วย ก็คือ ฉินข้วยน่ะแหละ แต่จามาจากไหนก็ลืมไปแระ

ภาษาใต้ก็มีคำอะไรแปลกๆที่มาจากภาษาต่างประเทศเหมือนกัน เช่นข้าวโพด ก็เรียกว่า "คง" น่าจะมาจากคำว่า "คอร์น"
ในภาษาอังกฤษมั้ง


"จาโกย" มาจากคำว่า "เจี้ยะโก้ย"
เจี้ยะ ก้อแปลว่า กิน โก้ย ก้อแปลว่า ขนน รวมแลัวเป็นคำเรียกให้ทานขนนว่า กินหนมม้่ายย กินหนมสิ กินหน้ม!
อิ๋วจาก้วย เป็นที่มาของชื่อขนมแป้งทอดชนิดนี้ ดั้งเดินนามมาแล้วจนจำไม่ได้ เล่าสืบต่อมา ตั้งแต่พ่อขพ่อของอาม่าอาก๋ง
Posted Image

#118 redfrog53

redfrog53

    เกิดที่รัสเซีย มาโตที่ สรท.

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 25,221 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 05:38

‎****ครูลิลลี่ไม่เห็นด้วย แก้ 176 คำทับศัพท์ ชี้ ทำให้เด็กเกิดความสับสน***
ผู้ที่เห็นด้วยมองว่าการเปลี่ยนแปลงอาจช่วยให้เด็กอ่านศัพท์ได้ง่ายขึ้น
เว็บไซต์มติชนรายงานว่า จากกรณีที่กองศิลปกรรมได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นประมาณ 300 ชุด เกี่ยวกับการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เพื่อสอบถามความเห็นจากคณะกรรมการราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และผู้ที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่ยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ เนื่องจากพบว่ามีคำศัพท์ที่ยืมมาจากคำภาษาอังกฤษ 176 คำ เขียนผิด และไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นๆ ตามอักขรวิธีไทย และการอ่านออกเสียง ได้มีกระแสสะท้อนความคิดเห็นจากนักวิชาการและครูผู้สอน ทั้งจากฝ่าย ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งเกรงว่าจะทำให้เกิดความสับสนมากขึ้นกว่าเดิม
นายกิจมาโนจญ์ โรจนทรัพย์ หรือครูลิลลี่ ครูวิชาภาษาไทยสถาบันกวดวิชาชื่อดัง ได้แสดงความคิดเห็นไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพราะอาจทำให้เด็กเกิดความสับสนมากยิ่งขึ้น แม้ว่าคำยืมจากภาษาอังกฤษในปัจจุบันจะยังออกเสียงไม่ตรงวรรณยุกต์แต่เห็นว่าไม่จำเป็น เพราะทุกคนทราบดีว่าคำเหล่านั้นต้องออกเสียงยังไง
ในฐานะเป็นครูภาษาไทย คิดว่าวิธีการดีที่สุดควรจะสอนให้เด็กอ่าน ออกเสียงให้ถูกต้องว่า ถ้าอ่านออกเสียงแบบนี้เป็นการออกเสียงตามแบบภาษาอังกฤษ และ แบบนี้คือการออกเสียงแบบภาษาไทย เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจถูกต้อง
ส่วนกรณีกังวลว่าชาวต่างชาติที่มาเรียนภาษาไทยแล้วจะสับสนว่าศัพท์บางตัวไม่มีวรรณยุกต์นั้น ครูลิลลี่แสดงความเห็นว่า ควรจะมองคนในชาติเป็นหลักมากกว่าจะไปห่วงชาวต่างชาติ เพราะเวลาคนไทยไปเรียนภาษาต่างประเทศก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับเจ้าของภาษาเช่นกัน
เช่นเดียวกับนายบุญส่ง อุษณรัสมี อนุกรรมการประเมินผลงานครูวิชาภาษาไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และอดีตครูเชี่ยวชาญภาษาไทย โรงเรียนสตรีวิทยา 2 กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยเช่นกัน เพราะรูปแบบการเขียนภาษาอังกฤษไม่เหมือนกับภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ แต่ภาษาอังกฤษไม่มี ดังนั้นไม่ควรนำการออกเสียงของไทยไปกำหนดรูปแบบการเขียนทับศัพท์ในภาษาอังกฤษ ควรจะคงรูปแบบการเขียนเดิมเอาไว้
ขณะที่ผู้ที่เห็นด้วยก็มีการแสดงความคิดเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงอาจช่วยให้เด็กอ่านศัพท์ได้ง่ายขึ้นและคิดว่าเด็กจะไม่เกิดความสับสน นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า หากราชบัณฑิตมีการเปลี่ยนแปลงคำยืมมาจากในภาษาอังกฤษ เพื่อให้อ่านออกเสียงง่ายขึ้นคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับเด็ก ทั้งในการเรียนวิชาภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
นางสาววีณา อัครธรรม ผู้อำนวยการ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.กล่าวว่า ในมิติของ สพฐ.ซึ่งเป็นส่วนราชการ หากราชบัณฑิตเปลี่ยนแปลงคำศัพท์อะไรก็คงต้องใช้ตาม เชื่อว่าคงไม่เกิดความสับสน หากมีการชี้แจงให้รอบด้าน และเท่าที่ทราบเป็นการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่นำมาจากต่างประเทศ ให้ชัดเจนขึ้นระหว่างภาษาอ่านกับภาษาเขียน ส่วนตัวแล้วเห็นด้วยเป็นเรื่องดี ไม่ใช่เรื่องเสียหาย
นายสมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า เห็นด้วย เป็นเรื่องที่น่าทำ เพราะจะทำให้ภาษามี วิวัฒนาการร่วมสมัยมากขึ้น และที่สำคัญทำให้ช่องว่างเรื่องภาษาลดลง เป็นประโยชน์กับนักเรียนในการสะกดคำให้ตรงตัวมากขึ้น ซึ่งทางราชบัณฑิตฯเองจะต้องทำประชา สัมพันธ์เกี่ยวกับศัพท์ใหม่ผ่านช่องทางต่าง ๆ หรืออาจเชิญนักเรียนมาร่วมพูดคุยรับฟังความคิดเห็นเพื่อให้เด็กๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วม


จ่าพงษ์ สารคาม คุณจะโง่คุณก็โง่คนเดียวทำไหมต้องให้ภาษาไทยวิบัติเพราะคุณ ผมบอกแล้วให้ระวังโรคสมองปู(นิ่ม)อาระวาด
Sumo Tippayachai ว่างจัด มันเป็นภาษาต่างประเทศ เป็นการใช้ทับศัพท์ต้นฉบัับภาษาเขา ทำไมต้องให้มันมาถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ของภาษไทยด้วย ไม่เข้าใจจริงๆ ***ว่างงานจัดหรือไง
Bunragsa Longlivetheking ไม่เห็นด้วย เพราะการอ่านออกเสียงภาษาอังกฤษที่ถูกหลัก ไม่ใช่อ่านจากการเขียนแบบไทยๆ แต่ต้องอ่านโดยนึกถึงคำภาษาอังกฤษคำนั้น คือให้นึกถึงภาพของคำๆนั้นที่เป็นภาษาอังกฤษ
Udomporn Duk Dik ของเดิมๆ ก็ดีอยู่แล้ว อะไรกันหนักหนา ดูปากท้องของประชาชนดีกว่ามั้ย ค่ะ
Jina Apiwat เท่าที่ได้ดูจากข่าว ในรายการ..ข่าวข้นคนเนชั่น..เมื่อสักครู่นี้ คิดว่าคนไทยทุกคนไม่ใช่เฉพาะเด็กๆจะสับสนมากๆกับคำศัพท์และการเขียนคำในรูปแบบใหม่นั่งดูยังงงๆเลยน่ะว่าถ้าเป็นเราต้องมาจำแบบใหม่อีก...โอ้ย!!!เอาเวลาไปทำมาหากินอย่างอื่นดีกว่ามานั่งแก้คำ แก้ประโยคให้ยุ่งยากดีมั้ย.
Kunamai Kun ก็ให้คนต่างชาติอ่านตามที่เขียนสิ คนไทยกึไม่ต้องเอสเซ่นเป็นต่างชาติ เหอเหอ จบไหม ... คิดใด้ นะ เด็กไทยถึงใด้แค่นี้ รวมถึงครูด้วย โง่มาจนทุกวันนี้เลย เซร็ง ่!!!
Jina Apiwat โอ้ย!!!!ไม่ไหวค่ะจ่าพงษ์แค่รบ.นี้บริหารประเทศก็ทำให้งงๆมึนๆมากพอแล้วค่ะ
จ่าพงษ์ สารคาม ครับบอกแล้วให้ระวังโรคสมองปู
Bunragsa Longlivetheking คนที่เสนออาจจะเก่งด้านอื่น แต่น่าจะไม่เข้าใจหรือไม่รู้จักภาษาอังกฤษ การออกเสียงคำภาษาต่างชาติอะไรก็ตาม ควรนึกถึงคำๆนั้นในภาษานั้นๆ ไม่ใช่นึกเป็นภาษาไทย
Phuwasit Sirinrut หนักกว่าเก่าอีก ไม่มีอะไรจะทำกันแล้วรึไง
Lovely Guide แค่นี้นายกมันก็อ่านผิดๆ แล้ว ถ้าเปลี่ยนอีก ตายคาโพเดี่ยมแน่




การเขียน-ทับศัพท์ภาษาอังกฤษ


การเขียนทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ในบางคำเราก็คงต้องใช้วิจารณญานร่วมด้วย และบางคำจริงๆแล้วเค้าก็คงจะให้เขียนตามบัญญัติ
แต่มีลักษณะการเขียที่คนใช้กันจนติดเป็นที่นิยมแล้ว จึง อนุโลมให้ใช้ตามนิยม ไปก็มีอยู่หลายเหมือนกัน
ทั้งนี้ทั้งนั้น ยังไงก็เก็บเอาไว้เป็นแหล่งอ้างอิงหลักที่จะใช้ยึดในการเขียนแล้วกันนะ :)

ราชบัณฑิตฯ 2528 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจนถึงปัจจุบัน
(<<อันนี้เราไม่แน่ใจว่ามันยัง"จนถึงปัจจุบัน"จริงๆรึเปล่ายังไงถ้าใครพอจะทราบก็บอกกล่าวกันได้นะ)
พยัญชนะโรมัน ในการทับศัพท์ มีเสียงดังนี้
B : บ
C : เสียง ค, ก ถ้าเป็นตัวขึ้นต้นคำใช้ ค
ถ้าเป็นตัวสะกด ตัวควบ หรือตัวนำภายในคำใช้ ก เสียง ซ ใช้ ซ
CH : เสียง ค ใช้ ค เสียง ช ใช้ ช
Ci : ช
D : ด
F : ฟ
G : เสียง ก ใช้ ก เสียง จ ใช้ จ
Gh : ก
Gi : จ
Gl : ลย
Gn : นย
H : ฮ หรือ ห
J : จ หรือ ย หรือ ฮ
K : ค หรือ ก ตัวขึ้นต้นคำใช้ ค ถ้าเป็นตัวสะกด ตัวควบ หรือตัวนำภายใน ก
L : ล
LL : เสียง ย ใช้ ย
M : ม
N : น
n : นย
ng : เสียง ง ใช้ ง
nk : ตัวสะกด งก
P : ป แต่สำหรับตัว ขึ้นต้นคำอาจใช้ พ ได้
Pf : ฟ
Ph : ฟ
Q : ตัวสะกด ก
Qu : ตัวขึ้นต้นคำ คว หรือ ค ตัวสะกดใช้ ก
S : ตัวนำใช้ ซ ตัวสะกดใช้ ส
Sc(e), : ช
Sc(i): : ช
Sh : ช
Sch : ช
sm : ตัวสะกด ซึม
T : ต แต่สำหรับตัวขึ้นต้นคำอาจใช้ ท
Th : ท
V : ว หรือ ฟ ตัวสะกดใช้ ฟ
W : ว
X : ตัวขึ้นต้นคำใช้ ซ ตัวสะกดใช้ กซ ตัวการันต์ใช้ ซ
Y : ย
Z : ซ


การเขียนและการทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. อิงรูปแบบศัพท์บัญญัติตามราชบัณฑิตสถาน ฉบับ 2535 และการทับศัพท์ภาษาอังกฤษในกรณีไม่มีคำนิยามไว้
2. ถ้าไม่สามารถหาคำที่เหมาะสมได้ หรือคำที่บัญญัติตามราชบัณฑิตสถานไม่เป็นที่เข้าใจ สื่อความหมายได้แล้วนั้น ให้ทับศัพท์ตามเสียง และ/หรือให้ทับตามรูปในกรณีเห็นสมควร
3. คำที่ใช้กันมานานจนถือเป็นคำไทย และปรากฏในพจนานุกรม ให้ใช้ต่อไปตามเดิม(รวมถึงคำนิยม) เช่น ช็อกโกแลต เชิ้ต ก๊าซ แก๊ส
4. คำวิสามานยนามที่ใช้กันมานานแล้ว อาจใช้ต่อไปตามเดิม เช่น วิกตอเรีย หลุยส์ โคโลญ
5. ศัพท์วิชาการใช้เฉพาะกลุ่ม อาจเพิ่มหลักเกณฑ์ตามความจำเป็น
6. ชื่อบุคคล ทับศัพท์ตามเสียง และหรือให้ทับตามสะกด หรือให้ใช้ชื่อตามรากศัพท์เดิมโดยไม่เปลี่ยนแปลง
7. การใช้วรรณยุกต์ ในการเขียนทับศัพท์ไม่ต้องใช้ ยกเว้นในกรณีที่ตัวนั้นมีเสียงซ้ำกับคำไทยจนเกิดความสับสน เช่น โค้ก โคม่า
8. พยัญชนะซ้อน ถ้าเป็นศัพท์ทั่วไปให้ตัดออกตัวหนึ่ง เช่น football:ฟุตบอล แต่ถ้าเป็นศัพท์ทางวิชาการ ให้ใส่ทั้งสองตัว และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้ที่ตัวท้าย เช่น cell:เซลล์
9.คำหรือพยางค์ที่มีพยัญชนะไม่ออกเสียงอยู่หน้าตัวสะกดที่ยังมีพยัญชนะตามหลังมาอีก ให้ตัดพยัญชนะ ที่อยู่หน้าตัวสะกดออก และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น world:เวิลด์ quartz:ควอตซ์ first:เฟริสต์
10. การใช้ไม้ไต่คู้ ควรใช้ในกรณีที่เพื่อให้เห็นแตกต่างจากคำไทย เช่น log:ล็อก
11. คำประสมซึ่งในภาษาอังกฤษเขียนแยกกัน เมื่อทับศัพท์ให้เขียนติดกันไปไม่ต้องแยกคำตามภาษาเดิม เช่น night club:ไนต์คลับ wall street:วอลล์สตรีท(จัดเป็นคำนิยมใช้กันมานาน)


แล้วก็อันนี้เป็นเกร็ดหลักการเขียน(พิมพ์) เกี่ยวกับพวกการเว้นวรรค
การใช้เครื่องหมาย และการใช้ประโยคเล็กน้อย
นะ

หน้าตัวอักษรเหล่านี้ @ # ( " ' ต้องเว้นวรรคหนึ่งเคาะเสมอ (ยกเว้นที่เป็นศัพท์เฉพาะ @ #)

, . $ & * = < > : อักษรเหล่านี้ไม่ใช้ในภาษาไทย

หลังตัวอักษรเหล่านี้ ! ? ) ฯ " ' ๆ ต้องเว้นวรรค 1 เคาะเสมอ

ทั้งหน้า และหลัง ต้องเว้นวรรคหนึ่งเคาะเสมอ (ยกเว้นสูตร) - + %

% ควรใช้เปอร์เซ็นต์

Dollar/เหรียญฯ ให้ใช้ ดอลลาร์ ในความหมายดอลลาร์สหรัฐ
หากเป็น ดอลลาร์ อื่น ให้เติมสกุลประเทศนั้นๆ ต่อท้าย เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์

คำว่า ตัวอย่างเช่น ต่อท้ายกี่ตัวอย่างก็ได้ แต่ต้องลงท้ายด้วย ฯลฯ หรือเป็นต้นเสมอ

คำว่า อาทิ ต่อท้ายไม่เกิน 1 ตัวอย่าง แต่ถ้ามีหลายตัวอย่าง ให้เติม ฯลฯ

คำว่า อาทิเช่น ไม่ควรใช้ เพราะ อาทิ ในความหมายก็เหมือนคำว่า เช่น เหมือนกัน
เช่นเดียวกับ คำว่า ทำการ ไม่ต้อง ทำการสร้าง เพราะความหมายซ้ำกัน หรือทำการโปรโมชั่น แต่ใช้คำว่า ทำโปรโมชั่น ทำการใช้กับ วัน/เวลา/สถานที่ และที่ทำการไปรษณีย์ เท่านั้น


ก่อนคำว่า และ ต้องเว้นวรรคเสมอ

***ตรงนี้เพิ่มเติมนะ
หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
1. สระ ให้ถอดตามการออกเสียงในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ โดยเทียบเสียงสระภาษาไทยตามตารางเทียบเสียงสระภาษาอังกฤษ
2. พยัญชนะ ให้ถอดเป็นพยัญชนะภาษาไทยตามหลักเกณฑ์ในตารางเทียบพยัญชนะภาษาอังกฤษ
3. การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต
3.1 พยัญชนะตัวที่ไม่ออกเสียงในภาษาไทย ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับไว้ เช่น horn = ฮอร์น
3.2 คำหรือพยางค์ที่ตัวสะกดมีพยัญชนะตามมาหลายตัว ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต ไว้บนพยัญชนะที่ไม่ออกเสียงตัวสุดท้าย แต่เพียงแห่งเดียว เช่น Barents = แบเร็นตส์
3.3 คำหรือพยางค์ที่มีพยัญชนะไม่ออกเสียงอยู่หน้าตัวสะกด ที่ยังมีพยัญชนะตามหลังมาอีก ให้ตัดพยัญชนะที่อยู่หน้าตัวสะกดออก และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น
world = เวิลด์ (ไม่ใช่ เวิร์ล)
4. การใช้ไม้ไต่คู้ ควรใช้ในกรณีต่อไปนี้
4.1 เพื่อให้เห็นแตกต่างจากคำไทย เช่น
log = ล็อก (ให้ต่างจากคำว่า ลอก ในภาษาไทย)
4.2 เพื่อช่วยให้ผู้อ่านแยกพยางค์ได้ถูกต้อง เช่น Okhotsk = โอค็อตสก์
5. การใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ การเขียนคำทับศัพท์ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ ยกเว้นในกรณีที่คำนั้นมีเสียงซ้ำกับคำไทย จนทำให้เกิดความสับสน อาจใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ เช่น
coma = โคม่า (ไม่ใช่ โคมา (วัวมา))
6. พยัญชนะซ้อน (double letter) คำที่มีพยัญชนะซ้อนเป็นตัวสะกด ถ้าเป็นศัพท์ทั่วไป ให้ตัดออกตัวหนึ่ง เช่น football = ฟุตบอล แต่ถ้าเป็นศัพท์ทางวิชาการหรือวิสามานยนามให้เก็บไว้ทั้ง 2 ตัว โดยใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้ที่ตัวท้าย เช่น cell = เซลล์ (ไม่ใช่ เซล)
ถ้าพยัญชนะซ้อนอยู่กลางศัพท์ให้ถือว่า พยัญชนะซ้อนตัวแรกเป็นตัวสะกดของพยางค์หน้า และพยัญชนะซ้อนตัวหลัง เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไป เช่น broccoli = บรอกโคลี
7.คำที่ตัวสะกดของพยางค์หน้าออกเสียงเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ตัวต่อไปด้วย ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้
7.1 ถ้าสระของพยางค์หน้าเป็นเสียงสระอะ ซึ่งเมื่อทับศัพท์ต้องใช้รูปไม้หันอากาศ ให้ซ้อนพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์หน้า เข้าอีกตัวหนึ่งเพื่อเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไป เช่น
double = ดับเบิล
7.2 ถ้าสระของพยางค์หน้าเป็นสระอื่นที่ไม่ใช่สระอะ ให้ทับศัพท์ตามรูปพยัญชนะภาษาอังกฤษโดยไม่ต้องซ้อนพยัญชนะ เช่น
California = แคลิฟอร์เนีย
7.3 ถ้าเป็นคำที่เกิดจากการเติมปัจจัย เช่น -er, -ing, -ic, -y และการทับศัพท์ตามรูปพยัญชนะภาษาอังกฤษดังข้อ 7.2 อาจทำให้ออกเสียงผิดไปจากภาษาเดิมมาก ให้ซ้อนพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์ต้นอีกหนึ่งเพื่อให้เห็นเค้าคำเดิม เช่น booking = บุกกิง
8. คำประสมที่มีเครื่องหมายยัติภังค์ (hyphen) ให้ทับศัพท์โดยเขียนติดต่อกันไป เช่น
Cross-stitch = ครอสสติตช์ (ไม่ใช่ ครอส-สติตช์) ยกเว้นในกรณีที่เป็นศัพท์ทางวิชาการหรือวิสามานยนามให้คงไว้ เช่น Cobalt-60 = โคบอลต์-60
9. คำประสมซึ่งในภาษาอังกฤษเขียนแยกกัน เมื่อทับศัพท์ให้เขียนติดกันไป ไม่ต้องแยกคำตามภาษาเดิม เช่น night club = ไนต์คลับ
10. คำคุณศัพท์ที่มาจากคำนาม ซึ่งมีปัญหาว่าจะทับศัพท์ในรูปคำนามหรือคำคุณศัพท์นั้น ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้
10.1 ถ้าคำคุณศัพท์นั้นมีความหมายเหมือนคำนาม หรือหมายความว่า "เป็นของ" หรือ "เป็นเรื่องของ" คำนามนั้น ให้ทับศัพท์ในรูปคำนาม เช่น
hyperbolic curve = ส่วนโค้งไฮเพอร์โบลา (ไม่ใช่ ส่วนโค้งไฮเพอร์โบลิก)
10.2 ถ้าคำคุณศัพท์นั้นมีความหมายว่า "เกี่ยวข้องกับ" หรือ "เกี่ยวเนื่องจาก" คำนามนั้น ให้ทับศัพท์ในรูปคำนามโดยใช้ คำประกอบ เชิง แบบ อย่าง ทาง ชนิด ระบบ ฯลฯ แล้วแต่ความหมาย เช่น electronic power conversion = การแปลงผันกำลังเชิงอิเล็กทรอนิกส์
10.3 ในกรณีที่การทับศัพท์ในรูปคำนามตามข้อ 10.1 และข้อ 10.2 ทำให้เกิดความหมายกำกวมหรือคลาดเคลื่อน ให้ทับศัพท์ในรูปคำคุณศัพท์ เช่น
metric system = ระบบเมตริก (ไม่ใช่ ระบบเมตร)
11. คำคุณศัพท์ที่มาจากชื่อบุคคล ให้ทับศัพท์ตามชื่อของบุคคลนั้น ๆ โดยใช้คำประกอบ ของ แบบ ระบบ ฯลฯ แล้วแต่ความหมาย เช่น Euclidean geometry = เรขาคณิตระบบยุคลิด
ยกเว้นในกรณีที่คำคุณศัพท์ที่มาจากชื่อบุคคล เป็นชื่อเฉพาะที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในแต่ละวงการ ซึ่งอาจสังเกตได้จากการที่ในภาษาอังกฤษไม่ได้ใช้อักษรตัวใหญ่ขึ้นต้น ให้ทับศัพท์ในรูปคำคุณศัพท์
12. คำคุณศัพท์เกี่ยวกับชนชาติต่าง ๆ ให้ทับศัพท์ในรูปคำนามที่เป็นชื่อประเทศ เช่น
Swedish people = คนสวีเดน (ไม่ใช่ คนสวีดิช)
Hungarian dance = ระบำฮังการี (ไม่ใช่ ระบำฮังกาเรียน)
ยกเว้นชื่อที่เคยใช้มานานแล้ว ได้แก่ ...เยอรมัน ...กรีก ...ไอริช ...ดัตช์ ...สวิส ...อังกฤษ และ ...อเมริกัน เช่น เรือกรีก (ไม่ใช่ เรือกรีซ) รถอเมริกัน (ไม่ใช่ รถอเมริกา)
13. การวางตำแหน่งคำคุณศัพท์ในคำทับศัพท์ ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้
13.1 คำคุณศัพท์ที่ประกอบคำนามที่เป็นภาษาไทย หรือเป็นคำทับศัพท์ แต่ได้ใช้ในภาษาไทยมาจนถือเป็นคำไทยแล้ว ให้วางคำคุณศัพท์ไว้หลังคำนาม เช่น
cosmic ray = รังสีคอสมิก
13.2ถ้าทั้งคำคุณศัพท์และคำนามเป็นคำทับศัพท์ที่ยังไม่ถือเป็นคำไทย ให้ทับศัพท์ตรงตามศัพท์เดิม เช่น Arctic Circle = อาร์กติกเซอร์เคิล (ไม่ใช่ วงกลมอาร์กติก)
13.3ถ้าต้องการเน้นว่าคำนามนั้นเป็นสิ่งที่มีหลายชนิดและคำคุณศัพท์ที่ประกอบเป็นชนิดหนึ่งของคำนามนั้น อาจทับศัพท์โดยใช้คำประกอบ แบบ ชนิด ระบบ ฯลฯ มาแทรกไว้ระหว่างคำนามกับคำคุณศัพท์ เช่น normal matrix = เมทริกซ์แบบนอร์แมล
14. คำย่อ ให้เขียนชื่อตัวอักษรนั้น ๆ ลงเป็นภาษาไทย คำย่อให้เขียนติดกัน โดยไม่ใส่จุดและไม่เว้นวรรค เช่น DDT = ดีดีที F.B.I. = เอฟบีไอ
15. คำทับศัพท์ที่ผูกขึ้นจากตัวย่อ ซึ่งอ่านออกเสียงได้เสมือนคำคำหนึ่ง มิได้ออกเสียงเรียงตัวอักษร ให้เขียนตามเสียงที่ออกและไม่ต้องใส่จุด เช่น UNESCO = ยูเนสโก
16. ตัวย่อชื่อบุคคล ให้เขียนโดยใส่จุด และเว้นช่องไฟระหว่างชื่อกับนามสกุล เช่น
D.N. Smith = ดี.เอ็น. สมิท


ความจริงมีอีกมากมายก่ายหน้าผาก ต้องการรู้วิธีการเขียนอะไรให้ไปตาม Link นี้เลย!!!
http://www.royin.go.th เป็นเว็บของราชบัณฑิตยสถาน
มีวิธีการเขียน การวรรค การใช้คำเครื่องหมายต่างๆ และอื่นๆอีกมากมาย


ยึดดั้งเดิมตามที่เคนกำหนดมา ก้อพอ เด๋ว Jp/Kr/Vn/Cn/Kb/Bm/......!! ขอเพิ่มอีกยุ่งตายห่า???


Posted Image

#119 พระฤๅษี

พระฤๅษี

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,127 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 10:40

ผมก็เห็นด้วยกับหลาย ๆ ความเห็น อย่างคำว่า ( น้ำ...น้าม ) ของคุณ EAT # 82 ที่บอกไว้
ยังมีที่ได้ยินอีกเช่น ( ไว้....ว้าย คำนี้ คุณหมี ASTV พูดทุกวัน ) คำที่มาจากต่างด้าว ความ
เห็นผมคิดว่า มันอยู่ในประโยค มันก็เสียงหนึ่ง แต่มันอยู่ปลายวรรค เสียงมันก็สูงขึ้น ผมว่า-
คำพวกนี้ปล่อยมันไปเถอะ..ละไว้เป็นที่เข้าใจก็น่าจะพอ เพราะเมื่อพูด ผู้ฟังก็รู้แล้วว่าหมาย
ถึงอะไร..ผมกลับมาสนใจไอ้คำไทย ที่มันพูดผิดพูดเพี้ยน นี่มากกว่า ( อย่างที่คุณ EAT )
ยกตัวอย่างมา. หรืออย่างที่..คุณหมีพูด..ไว้---ว้าย...อยู่ทุกวัน เรื่องนี้ ผม.คุณ ส. เชื้้อหอมและ
คุณ นคร มังคลายน. คุณ วิทยา สุขดำรง. พวกเรารณรงค์ เรื่องนี้มาจนบางท่านที่เอ่ยนามได้
จากไปสวรรค์นานแล้ว ( ไม่สำเร็จ ) ขอวงเล็บว่าไม่สำเร็จ คำไทยเราแท้ ๆ ยังทำให้ดีไม่ได้
กลับจะไปสนใจ คำที่ยืมเขามา... คุณ พูด เซนติเมตร...คุณจะใส่ อะไรหรือไม่ คนฟังก็เข้าใจแล้ว
ว่าหมายถึงอะไร.คุณพูดถึง...คอมพิวเตอร...คนฟังมันก็รู้แล้วว่าคืออะไร ( ทำไมต้อง.เต้อร.เตอร )
สำหรับผมคิดว่า ( เรื่องจะทำมีมากกลับไม่ทำ ....ความเห็นผมนะครับ ) มีท่านผู้หนึ่งเคยพูดไว้ว่า
( มันไม่ใช่ภาษาพ่อ ภาษาแม่ อะไรของเรา ) ท่านผู้พูดเป็น ม.ร.ว. ร้องเพลงไพเราะมากด้วย.....

#120 redfrog53

redfrog53

    เกิดที่รัสเซีย มาโตที่ สรท.

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 25,221 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:33

อย่าลืมนะว่า อังกฤษแท้ๆนะ ก้อมีสำเนียงแบบอิสานบ้านเฮ้า ปักษ์ใต้บ้านฉ้าน เหนือเจ้าบ้านแม้ว
"ราชบัณฑิต" เป้นจอหงวน ต้องรู้ลึกรู้จริง เล่นมั่วๆ เอาครูลิสฯมาเป็นดีกว่า
Posted Image

#121 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 11:37

อย่าลืมนะว่า อังกฤษแท้ๆนะ ก้อมีสำเนียงแบบอิสานบ้านเฮ้า ปักษ์ใต้บ้านฉ้าน เหนือเจ้าบ้านแม้ว
"ราชบัณฑิต" เป้นจอหงวน ต้องรู้ลึกรู้จริง เล่นมั่วๆ เอาครูลิสฯมาเป็นดีกว่า


ตกลง ราชบัณฑิต กำหนดการสะกดคำใหม่ ตามสำเนียงอังกฤษ
หรือสำเนียงไทยกันแน่ครับ

#122 Mark Nazi

Mark Nazi

    พี่มากขา

  • Members
  • PipPipPip
  • 548 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:15

ตกลง ราชบัณฑิต กำหนดการสะกดคำใหม่ ตามสำเนียงอังกฤษ
หรือสำเนียงไทยกันแน่ครับ

สงสัยหลาย ๆ ท่านยังคงงงกับ คำทับศัพท์ และการถอดเสียง

คำทับศัพท์ คือ คำที่ยืมต่างภาษามาแล้วออกเสียงและเขียนโดยความสะดวกของคนไทย

การถอดเสียง คือ การสะกดที่ใช้ถอดเสียงภาษานั้น ๆ ให้ใกล้เคียงตามอักษรไทยที่มีอยู่

การทับศัพท์แต่เดิมจะไม่ใส่วรรณยุกต์ หากด้วยนิสัยคนไทยแล้วชอบเติมเสียงวรรณยุกต์และใส่วรรณยุกต์ให้คำทับศัพท์เหล่านั้น บ้างก็สนใจกฎเกณฑ์การใช้วรรณยุกต์ ถว่าโดยรวมแล้วหาได้มีความใส่ใจไม่ จนลามมาถึงคำศัพท์โดยปกติ

อย่างเช่น โนต โคช พีช เรด ฯลฯ คนไทยจะออกเสียงตรี ซึ่งถ้าอยากใส่ก็ควรใส่ ไม้โท เป็น โน้ต โค้ช พี้ช เร้ด ฯลฯ กลับไปเติมวรรณยุกต์อื่นเสีย

คลิก วิก ทริก คนไทยจะออกเสียงตรี ซึ่งการเขียนมันก็ออกเสียงตรีอยู่แล้ว กลับไปเติมวรรณยุกต์ซึ่งทำให้ผิดเพี้ยนไป

จนลามมาถึงคำปกติพวก คะ นะ วะ ชะ มะ ซึ่งเป็นเสียงตรีอยู่แล้ว กลับเติมวรรณยุกต์ซึ่งทำให้ผิดเพี้ยนไป

น้า ค้า ว้า ว้าก ซึ่งเป็นเสียงตรีอยู่แล้ว กลับไปเปลี่ยนวรรณยุกต์เสีย

จากการคำนวณบวกลบคูณหารแล้ว ผมว่าการใส่วรรณยุกต์จะช่วยแก้ไขการผิดพลาดได้มาขึ้น ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ จะไม่ใส่ก็ได้ หากคนไทยขยันและใส่ใจการใช้วรรณยุกต์เสียหน่อย

#123 เรื่อยๆเอื่อยๆ

เรื่อยๆเอื่อยๆ

    There is a face beneath this mask, but it isn't me.

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,223 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:19

ผมว่าเริ่มเป็นบางคำที่ไม่สร้างความตะขิดตะขวงใจไปก่อนดีกว่า อย่างกลุ่มที่เพิ่มไม้ไต่คู้ ข้างล่าง ผมเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ใส่ไม้ไต่คู้ให้คำเหล่านี้โดยไม่รู้ตัวว่ามันผิดหลัก ถ้าแก้ก็คงง่ายกว่าที่จะไปเพิ่มไม้โท ไม้เอก ทุกวันนี้ คนไทยผันวรรณยุกต์กันไม่ค่อยเป็นแล้ว ขนาดแค่คำว่า นะคะ ผมเห็นคนใช้แต่ นะค่ะ กันอยู่นั่นแหละ

1.คำที่ใส่เครื่องหมายไม้ไต่คู้เพื่อแสดงสระเสียงสั้น ได้แก่ ซีเมนต์ เปลี่ยนเป็น ซีเม็นต์, เซต-เซ็ต, เซนติกรัม-เซ็นติกรัม, เซนติเกรด-เซ็นติเกรด, เซนติลิตร-เซ็นติลิตร, ไดเรกตริกซ์-ไดเร็กตริก, เทนนิส-เท็นนิส, นอต-น็อต, นิวตรอน-นิวตร็อน, เนตบอล-เน็ตบอล, เนปจูน-เน็ปจูน, เบนซิน-เบ็นซิน, แบคทีเรีย-แบ็คทีเรีย, มะฮอกกานี-มะฮ็อกกานี, เมตริก-เม็ตตริก, เมตริกตัน- เม็ตริกตัน, แมงกานิน-แม็งกานิน, อิเล็ก ตรอน-อิเล็กตร็อน, เฮกโตกรัม-เฮ็กโตกรัม, เฮกโตลิตร-เฮ็กโตลิตร



#124 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:19


ตกลง ราชบัณฑิต กำหนดการสะกดคำใหม่ ตามสำเนียงอังกฤษ
หรือสำเนียงไทยกันแน่ครับ

สงสัยหลาย ๆ ท่านยังคงงงกับ คำทับศัพท์ และการถอดเสียง

คำทับศัพท์ คือ คำที่ยืมต่างภาษามาแล้วออกเสียงและเขียนโดยความสะดวกของคนไทย

การถอดเสียง คือ การสะกดที่ใช้ถอดเสียงภาษานั้น ๆ ให้ใกล้เคียงตามอักษรไทยที่มีอยู่

การทับศัพท์แต่เดิมจะไม่ใส่วรรณยุกต์ หากด้วยนิสัยคนไทยแล้วชอบเติมเสียงวรรณยุกต์และใส่วรรณยุกต์ให้คำทับศัพท์เหล่านั้น บ้างก็สนใจกฎเกณฑ์การใช้วรรณยุกต์ ถว่าโดยรวมแล้วหาได้มีความใส่ใจไม่ จนลามมาถึงคำศัพท์โดยปกติ

อย่างเช่น โนต โคช พีช เรด ฯลฯ คนไทยจะออกเสียงตรี ซึ่งถ้าอยากใส่ก็ควรใส่ ไม้โท เป็น โน้ต โค้ช พี้ช เร้ด ฯลฯ กลับไปเติมวรรณยุกต์อื่นเสีย

คลิก วิก ทริก คนไทยจะออกเสียงตรี ซึ่งการเขียนมันก็ออกเสียงตรีอยู่แล้ว กลับไปเติมวรรณยุกต์ซึ่งทำให้ผิดเพี้ยนไป

จนลามมาถึงคำปกติพวก คะ นะ วะ ชะ มะ ซึ่งเป็นเสียงตรีอยู่แล้ว กลับเติมวรรณยุกต์ซึ่งทำให้ผิดเพี้ยนไป

น้า ค้า ว้า ว้าก ซึ่งเป็นเสียงตรีอยู่แล้ว กลับไปเปลี่ยนวรรณยุกต์เสีย

จากการคำนวณบวกลบคูณหารแล้ว ผมว่าการใส่วรรณยุกต์จะช่วยแก้ไขการผิดพลาดได้มาขึ้น ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ จะไม่ใส่ก็ได้ หากคนไทยขยันและใส่ใจการใช้วรรณยุกต์เสียหน่อย


เอ่อ.......................
ผมไม่งงนะครับ แต่คนที่ด่า "ราชบัณฑิต" เขาอ่านข่าวไม่เข้าใจ
ความสามารถทางภาษาคงต่ำเตี้ยติดดิน จะมาถามว่าเอาสำเนียงไหน
ของอังกฤษอีก หรือไปถึงญี่ปุ่น ลาว ขแมร์ นู้นนี่นั่นไปเลย

เพราะเขาสะกดตามสำเนียงไทยโว้ย ให้ใช้คำสะกดตามคำอ่าน
สำเนียงไทยให้ถูกต้อง ไม่ใช่สำเนียงชาติไหนๆ

#125 ข้ามศพกูไปก่อน

ข้ามศพกูไปก่อน

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 311 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:24

มีอีกคำนึงน่าสนใจ มักใช้กันผิดๆ และเข้าใจความหมายผิด

คำนี้

"นปช." ให้แก้เป็น "ควาย"

Edited by ข้ามศพกูไปก่อน, 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 13:20.

เราเกลียดไอ้ทักษิณ เพราะเรารักในหลวง ไม่ใช่รักนักการเมืองคนใด ควายแดงหยุดโชว์โง่ด่วนนะ

#126 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 12:30

มีอีกคำนึงน่าสนใจ มักใช้กันผิดๆ และเข้าใจความหมายผิด

คำนี้

"แดง" ให้แก้เป็น "ควาย"


ไม่ได้ครับ เพราะ
น้ำเงิน ขาว แดง คือสีของธงชาติไทย
แก้ไม่ได้ครับ

#127 แสนยานุภาพ

แสนยานุภาพ

    สปอร์ต กทม ใจดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,267 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 14:03

Posted Image

#128 Mark Nazi

Mark Nazi

    พี่มากขา

  • Members
  • PipPipPip
  • 548 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 18:51

--รูปประกอบ--

หิวก้อยรึเปล่า คืนนี้อย่าลืมซื้อเนื้อไปก้อยนะครับ ;)

#129 แสนยานุภาพ

แสนยานุภาพ

    สปอร์ต กทม ใจดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,267 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:02


--รูปประกอบ--

หิวก้อยรึเปล่า คืนนี้อย่าลืมซื้อเนื้อไปก้อยนะครับ ;)


งง ....

#130 Mark Nazi

Mark Nazi

    พี่มากขา

  • Members
  • PipPipPip
  • 548 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 19:14

งง ....

กรุณา >>คลิก<< :D

#131 ดูโอลิมปิก5ปีดีจุงเบย

ดูโอลิมปิก5ปีดีจุงเบย

    สมาชิกชั้นสูงกว่าสูงลิบลิ่ว

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,544 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 20:05

ถ้าอนาคตได้เปลี่ยนจริง ขอให้ overcome อ่านเป็นเวลคัมนะครับ
เลือกใครก็ได้ ที่ไม่ใช่พรรคพวกแม้วPosted Image

#132 แสนยานุภาพ

แสนยานุภาพ

    สปอร์ต กทม ใจดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,267 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 20:19


งง ....

กรุณา >>คลิก<< :D


ทำไมครับ ?? ไม่ได้หิวนะ ??

#133 คนชายแดน

คนชายแดน

    น้องเก่า

  • Members
  • PipPip
  • 198 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 20:36

Posted Image


โล่งอกไป ที่ไม่แก้ไข

#134 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:19

อ่านมาหลายความเห็น

ขอชมเชย คุณ Tux Vader
และ คุณ eAT

Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#135 Mark Nazi

Mark Nazi

    พี่มากขา

  • Members
  • PipPipPip
  • 548 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:20

ทำไมครับ ?? ไม่ได้หิวนะ ??

ทบทวนในใจช้า ๆ นะครับ คำว่า "ก้อย" ในคำว่า สก้อย ท่านอ่านออกเสียงโท หรือเสียงตรี
ตัวอย่างเสียงโท : กล้า จ้า ต้า ป้า ค่า ง่า วาก ลั่ก น่ะ
ตัวอย่างเสียงตรี : กล๊า จ๊า ต๊า ป๊า ค้า ง้า ว้าก ลัก นะ
แล้วลองคิดอีกทีว่าคุณเห็นด้วยกับการเติมวรรณยุกต์ในคำยืมหรือไม่ :)

#136 แสนยานุภาพ

แสนยานุภาพ

    สปอร์ต กทม ใจดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,267 posts

ตอบ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:40

อ้อ..... ผมไม่ถนัดเรื่องมุกน่ะฮะ

#137 Solidus

Solidus

    เลิกเล่น

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 14,367 posts

ตอบ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 00:43

ไม่ค่อยอยากเชื่อสำนักข่าวนี้เท่าไหร่เลย


จู่ๆ อะไรดลใจให้ลุกขึ้นมาปฏิวัติการเขียนครั้งใหญ่ขนาดนี้?
ไม่ใช่ว่าเพิ่งลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงนะคะ จริงๆ แล้วกรรมการราชบัณฑิตฯ มีมติเรื่องนี้ออกมาตั้งแต่ปี 2550 แล้ว เพียงแต่ว่าเรายังไม่ได้พิมพ์พจนานุกรมเล่มใหม่ ก็เลยยังไม่ได้แก้ไขอย่างเป็นทางการ แต่ในพจนานุกรมฉบับเดิมนั้นก็มีคำทับศัพท์กว่า 200 คำแล้วที่ใส่วรรณยุกต์และเขียนได้ถูกต้อง นี่ก็เหลือแค่คำไม่กี่คำที่ยังไม่ได้แก้ ยังไม่ได้ใส่วรรณยุกต์ ก็เลยคิดว่าจะแก้ให้เสร็จไป ทางเราเองทำงานตรวจสอบและแก้ไขคำผิดมาตลอด ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเพิ่งจะมาเป็นประเด็นอะไรกันในสังคมตอนนี้ ไม่เข้าใจเหมือนกันว่ามันเกิดอะไรขึ้น ถึงได้มีคนลุกขึ้นมาโวยวายอะไรกันนักกันหนา ก็แปลกดีเหมือนกันค่ะ (หัวเราะ) จริงๆ แล้วมันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรเลย แค่เรื่องเขียนหนังสือให้ถูกต้อง

ทำไมไม่บัญญัติคำที่ถูกต้องไปตั้งแต่แรก มาแก้ให้จำใหม่ทีหลังยิ่งยาก?
ตอนแรกเรายังไม่แน่ใจไงคะว่าจะเขียนยังไงจึงจะถูกต้อง เพราะมันเป็นคำที่รับมาจากต่างประเทศ เลยใช้แบบนั้นไปพลางๆ ก่อน แต่ยอมรับว่าก็ใช้กันมานานพอสมควร มาถึงตอนนี้ ทุกคนสามารถออกเสียงได้ตรงกันแล้ว เสียงไม่เปลี่ยนแล้ว ก็ควรจะเขียนให้ถูกด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆ คำว่า “เฟซบุ๊ก” ทุกคนก็ออกเสียงได้ตรง ไม่มีใครออกว่า “เฝด-บุก” ในเมื่อเรามีระบบการเขียนตามอักขรวิธีที่ถูกต้องของเราอยู่ เราก็แค่เขียนให้มันตรงกับที่ออกเสียงมา มันก็เท่านั้นเอง


เราเป็นมนุษย์นี่คะ จะให้เรารู้ทุกอย่างทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์มันคงเป็นไปไม่ได้ เราไม่ใช่พระพุทธเจ้าที่จะตรัสรู้ได้ทุกอย่าง มันก็ต้องมีผิดบ้าง-พลาดบ้าง ตอนที่ยังไม่รู้ว่าผิดก็ทำตามที่เข้าใจว่าถูกไปก่อน แต่พอเวลามันผ่านไป รู้แล้วว่ามันไม่ถูกต้อง เราก็ลงมือแก้ไข มันก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายนี่คะ ไม่ใช่ว่ารู้ว่าผิดแล้วยังจะดึงดันไม่แก้ ถ้าเป็นอย่างนั้นน่ะเสียหาย
อย่างคำว่า “วงศ์” เมื่อก่อนก็มีทั้งคนที่เขียนว่า “วงษ์” และ “วงศ์” เราก็ประกาศแก้ไขให้เขียนว่า “วงศ์” เป็นมาตรฐานเดียวกันหมดและใช้กันมาถึงทุกวันนี้ ครั้งนี้ก็เหมือนกันค่ะ คำยืมที่ประกาศก็มีแค่ร้อยกว่าคำ คนอาจจะตกใจว่ามันเยอะ แต่จริงๆ แล้วเทียบกับคำทั้งหมดเป็นหมื่นๆ คำในภาษาไทย มันแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์เลยด้วยซ้ำ

ถ้าประกาศใช้ตามนั้นจริงๆ ก็จะสร้างความสับสนให้สังคมอย่างมาก เพราะทุกคนเขียนแบบเดิมจนชินแล้ว
ถึงใช้กันมานานแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่ามันถูกต้องนี่คะ ต้องถามว่าคุณจะเลือก “ความเคยชิน” หรือ “ความถูกต้อง” ถ้าใช้ด้วยความเคยชินแต่มันผิด แล้วทำไมไม่แก้ให้มันถูกล่ะคะ เคยทำมาผิดๆ แล้วจะปล่อยให้ผิดต่อไปอย่างนั้นหรือ หรือว่าเห็นว่าผิดแล้วก็ควรแก้ให้ถูกต้อง ตามที่ควรจะเป็น
ถ้าเรายังจะใช้แบบผิดๆ กันต่อไปแบบนี้อีกไม่รู้นานเท่าไหร่ เด็กเล็กที่ต้องเรียนหนังสือก็จะอ่านคำผิดๆ เหล่านั้นไม่ถูก อ่านไม่ออก เราจะปล่อยให้เด็กๆ จดจำสิ่งผิดๆ จากที่ผู้ใหญ่ทำเอาไว้และใช้กันต่อไปอย่างนั้นเหรอคะ สำหรับคนที่คัดค้าน อยากให้ลองถามตัวเองดูสิคะว่า มีเหตุผลดีๆ สักข้อไหมที่จะไม่แก้ไขให้ถูกต้อง

ที่เห็น-ที่เป็น-ที่ใช้กันอยู่ มันผิดตรงไหน?
ถ้าคุณออกเสียงว่า “สะ-นุ้ก-เก้อ” คุณก็ต้องเขียนว่า “สะนุ้กเก้อร์” จะมาเขียน “สนุกเกอร์” มันก็ออกเสียงว่า “สะ-หนุก-เกอ” น่ะสิคะ มันไม่ถูกต้อง ภาษาเรามีกฎของเราอยู่ อาจารย์ท่านวางรูปแบบไว้ตั้งแต่โบราณกาลแล้ว มีทั้งอักษรสูง-กลาง-ต่ำ มีสระสั้น-ยาว มีวรรณยุกต์ที่ผสมออกมาเป็นคำ ถ้าผสมอย่างถูกต้อง ทุกคนก็สามารถออกเสียงได้เหมือนกันหมด จะอยู่เหนือจดใต้ อยู่สุไหงโก-ลก ก็ออกเสียงเหมือนกันได้หมด แล้วทำไมเราไม่รักษากฎกันล่ะคะ ทำไมไปเอาความเคยชินที่ผิดๆ มาเป็นบรรทัดฐาน


มันเป็นหน้าที่ของราชบัณฑิตฯ อยู่แล้วที่จะต้องคอยดูแลภาษาให้เป็นไปในทางที่ถูกต้อง ไม่เปลี่ยนไปในทางเสื่อม แต่ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เราเขียนภาษาต่างประเทศโดยไม่ใส่เครื่องหมายกำกับ ทั้งการสะกดการันต์ การใส่พยัญชนะ วรรณยุกต์ทั้งหมด เขียนผิดๆ ก็เป็นการทำลายระบบอักขรวิธีของเราเอง ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้เราทุกคนเรียนกันมาตั้งแต่ ป.1-ป.2 แล้ว อ่านออก-สะกดถูก-ผันวรรณยุกต์กันได้ แต่พอมาเขียนกลับเขียนไม่ถูก เขียนไม่ตรงกับเสียง เราใช้แบบผิดๆ กันมานานมากแล้ว มันก็น่าจะปรับให้ถูกต้อง แค่นั้นเอง


อย่างคำว่า “คอมพิวเตอร์” ถึงจะมาจากภาษาอังกฤษ แต่เมื่อเอามาเขียนด้วยตัวอักษรไทย ในประโยคภาษาไทย ก็ต้องเขียนให้ถูกตามหลักภาษาไทย ถ้าออกเสียงว่า “ค็อม-พิ้ว-เต้อ” ก็ต้องเขียนว่า “ค็อมพิ้วเต้อร์” หรือถ้าออกเสียงว่า “คอม-พิว-เตอ” ก็ต้องเขียนว่า “คอมพิวเตอร์” ถ้าเขียนกันถูกต้องตามเสียงที่ออกมา มันจะทำให้การเรียนการสอนง่ายขึ้นด้วย

คนส่วนใหญ่ก็รู้อยู่แล้วว่าคำคำนั้นออกเสียงยังไง จะเขียนเหมือนเดิมหรือเขียนแบบใหม่ ก็ไม่น่าจะใช่ประเด็น
แล้วคนที่เขาไม่รู้คำภาษาอังกฤษล่ะคะ เขาไม่รู้หรอกว่าคำว่า “คอมพิวเตอร์” ต้องออกเสียงว่า “ค็อม-พิ้ว-เต้อ” เขาก็จะอ่านตามตัวสะกดเป็น “คอม-พิว-เตอ” ไป โดยเฉพาะเด็กต่างชาติที่มาเรียนภาษาไทย เขาเจอคำแบบนี้เยอะมากแล้วเขาก็อ่านไม่ออก ไม่เข้าใจ อ่านออกมาก็ผิดหมด เด็กต่างชาติหลายคนถามเลยว่า เขียนว่า “เรดาร์” ทำไมให้อ่านว่า “เร-ด้า” ทำไมไม่ให้อ่านว่า “เร-ดา” ตามตัว เขาเรียนมาว่า “ด เด็ก + สระอา” ต้องอ่านว่า “ดา” มันก็เลยเป็นปัญหามากสำหรับเด็กต่างชาติ


พูดอย่างนี้ อาจถูกมองว่าใส่ใจความรู้สึกชาวต่างชาติมากกว่าคนไทยด้วยกันเอง?
ไม่ใช่ว่าสนใจเด็กต่างชาติมากกว่าเด็กไทยนะคะ นั่นเป็นแค่เหตุผลหนึ่ง เพราะวัตถุประสงค์หลักของเราก็คือภาษาไทยเพื่อคนไทย เพื่อคนที่ใช้ภาษาไทยนี่แหละค่ะ เราต้องรักษาไว้ไม่ให้ภาษาถูกทำลาย ซึ่งเขียนกันอย่างทุกวันนี้มันคือการทำลาย มันป่วนไปหมด เขียนอีกแบบแล้วไปออกเสียงอีกแบบ คนที่ไม่เข้าใจก็จะสับสนว่าเมื่อไหร่จะต้องออกเสียงโท-เสียงเอก เขียนโดยที่ไม่บอกวรรณยุกต์ ไม่บอกอะไรเลย แล้วให้รู้ให้จำเองเนี่ย มันจะถูกได้ยังไงล่ะคะ


ก็เหมือนเรามีช้อนส้อมวางอยู่ที่โต๊ะ มีเครื่องมือให้พร้อมอยู่แล้วทุกอย่างในการกิน แต่ถ้าคุณอยากลำบาก คุณก็เปิบมือ ใช้ปากกินไปก็ได้ค่ะ แต่ถามว่าในเมื่อเรามีเครื่องมือทางภาษาที่ดีอยู่แล้ว แล้วทำไมเราต้องหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้ด้วยล่ะคะ พอไม่ใช้แล้วมันก็ป่วนไปหมด เขียนก็ไม่ถูก อ่านก็ไม่ถูก แล้วยังจะดื้อใช้ต่อไปอีก ทำไมยังต้องดื้อแพ่งต่อไปอีก ก็อยากรู้เหมือนกันค่ะว่ามีเหตุผลอะไรที่จะไม่ใช้สิ่งที่ถูกต้อง ขอเหตุผลดีๆ สักข้อหนึ่งสิคะ อยากรู้จริงๆ


ภาษาไทยของเราเป็นภาษาที่มหัศจรรย์มาก เราสามารถเขียนทุกคำพูดให้ตรงตามที่ออกเสียงได้แบบไม่ผิดเพี้ยนเลย แล้วทำไมเราต้องทิ้งคุณสมบัติดีๆ เหล่านี้ไปด้วยล่ะคะ เราจะไปเขียนตามภาษาอื่นที่เขาไม่มีวรรณยุกต์ ไม่มีสระที่แน่นอน จะไปเขียนเละเทะตามเขา ให้ทำลายภาษาของเราเองทำไม เรามีหลักของเราอยู่ เราก็ควรจะรักษาหลักเอาไว้ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องยากเลย

แต่อาจจะยากสำหรับเด็กไทย เพราะเด็กไทยอ่อนเรื่องการผันวรรณยุกต์มาก เขียน “นะคะ” กับ “ค่ะ” ยังสลับกันเป็น “นะค่ะ” อยู่เลย
แต่ยิ่งคุณไปเอาภาษาเละๆ มาใช้ในภาษาเรา มันก็จะยิ่งยากเข้าไปใหญ่ การรักษากฎภาษาเราเอง มันไม่ยากหรอกค่ะ วรรณยุกต์ไทยมันก็มีแค่ 5 เสียงเท่านั้น จะจำไม่ได้กันเลยหรือ มันยากนักหนาหรือสำหรับเด็กไทยที่จะเรียน มันไม่ยากหรอกค่ะ แต่ในทางตรงข้าม ยิ่งเราไปเขียนไม่ตรงวรรณยุกต์ มันยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เด็กก็ยิ่งจะไม่รู้ว่าจะเขียนยังไง จะออกเสียงกันยังไง ยิ่งเสียหายไปกันใหญ่เลยคราวนี้

ที่คนส่วนใหญ่รับการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้ ส่วนหนึ่งเพราะมองว่าใส่วรรณยุกต์กำกับมากไป ทำให้ดูรก บั่นทอนความสวยงามของภาษาลงไปอีก
คำทับศัพท์ที่ตั้งใจจะให้เขียนแบบใหม่ทั้งหมด 176 คำ มันก็เหมือนคำทุกคำที่อยู่ในภาษาไทยนั่นแหละค่ะ คำว่า “แม่” “บ้าน” “พี่น้อง” ก็มีวรรณยุกต์ทั้งนั้น แค่เพิ่มคำเหล่านี้เข้าไปในประโยคนิดหน่อย มันคงไม่ทำให้ดูรกเพิ่มขึ้นหรอกค่ะ ถ้าบอกว่าใส่ไม้เอก-ไม้โท เพิ่มลงไปในคำฝรั่งพวกนี้แล้วมันไม่สวย มันรกหูรกตา ก็แสดงว่าคุณต้องเลิกใช้วรรณยุกต์ทั้งหมดทุกคำที่มีอยู่สิคะ ส่วนตัวแล้วมองว่ามันสวยจะตาย มันคือเครื่องมือทางภาษาของเรา ทำไมเราต้องไปตามชาติอื่นที่เขาไม่มีวรรณยุกต์กำกับด้วยล่ะคะ มันเรื่องอะไร

สุดท้ายแล้ว สังคมก็ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และราชบัณฑิตฯ ก็ยุติการแก้แล้ว รู้สึกอย่างไรบ้าง?
ส่วนตัวก็ไม่ได้รู้สึกอะไรกับกระแสสังคมอยู่แล้ว รู้สึกเฉยๆ ค่ะ ภาษาเนี่ยนะคะ มันเป็นเรื่องของสังคม สังคมคือคนส่วนใหญ่ คนทุกคนไม่ได้พูดเหมือนกันร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นมันก็ต้องมีถูกบ้าง-ผิดบ้าง ทุกคนก็มีความเห็นของตัว
แต่เราแค่ออกมาบอกสิ่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าเราบอกแล้ว คุณยังไม่อยากรับเอาสิ่งที่ถูกต้อง มันก็เป็นเรื่องของคุณ ทุกวันนี้ก็มีคนเขียนหนังสือผิดอีกมากมาย ตามหน้าหนังสือพิมพ์เองก็มีออกเยอะแยะไป ถ้าคุณอยากทำตามสิ่งที่ถูก ก็ทำตาม แต่ถ้าไม่อยากทำตาม ก็ทำสิ่งที่ผิดไป ก็เท่านั้นเอง มันเป็นเรื่องของคุณค่ะ

ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ LIVE


Edited by Solidus, 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 00:47.

[color=#ff0000;]สำหรับผมคงเลิกเล่นบอร์ดนี้ไว้เพียงเท่านี้ ถ้าไอดีนี้ยังมีบุคคลอื่นที่ใครบางคนคิดว่าเป็นตัวจริงอยู่จริง เขาก็เข้ามาใช้บอร์ดนี้ต่อเองแต่ไม่ใช่ผมแน่นอน[/color]

ลาก่อน สวัสดีครับ 17 มกราคม 2556


#138 redfrog53

redfrog53

    เกิดที่รัสเซีย มาโตที่ สรท.

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 25,221 posts

ตอบ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 03:21

ไม่ค่อยอยากเชื่อสำนักข่าวนี้เท่าไหร่เลย


จู่ๆ อะไรดลใจให้ลุกขึ้นมาปฏิวัติการเขียนครั้งใหญ่ขนาดนี้?
ไม่ใช่ว่าเพิ่งลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงนะคะ จริงๆ แล้วกรรมการราชบัณฑิตฯ มีมติเรื่องนี้ออกมาตั้งแต่ปี 2550 แล้ว เพียงแต่ว่าเรายังไม่ได้พิมพ์พจนานุกรมเล่มใหม่ ก็เลยยังไม่ได้แก้ไขอย่างเป็นทางการ แต่ในพจนานุกรมฉบับเดิมนั้นก็มีคำทับศัพท์กว่า 200 คำแล้วที่ใส่วรรณยุกต์และเขียนได้ถูกต้อง นี่ก็เหลือแค่คำไม่กี่คำที่ยังไม่ได้แก้ ยังไม่ได้ใส่วรรณยุกต์ ก็เลยคิดว่าจะแก้ให้เสร็จไป ทางเราเองทำงานตรวจสอบและแก้ไขคำผิดมาตลอด ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเพิ่งจะมาเป็นประเด็นอะไรกันในสังคมตอนนี้ ไม่เข้าใจเหมือนกันว่ามันเกิดอะไรขึ้น ถึงได้มีคนลุกขึ้นมาโวยวายอะไรกันนักกันหนา ก็แปลกดีเหมือนกันค่ะ (หัวเราะ) จริงๆ แล้วมันไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไรเลย แค่เรื่องเขียนหนังสือให้ถูกต้อง

ทำไมไม่บัญญัติคำที่ถูกต้องไปตั้งแต่แรก มาแก้ให้จำใหม่ทีหลังยิ่งยาก?
ตอนแรกเรายังไม่แน่ใจไงคะว่าจะเขียนยังไงจึงจะถูกต้อง เพราะมันเป็นคำที่รับมาจากต่างประเทศ เลยใช้แบบนั้นไปพลางๆ ก่อน แต่ยอมรับว่าก็ใช้กันมานานพอสมควร มาถึงตอนนี้ ทุกคนสามารถออกเสียงได้ตรงกันแล้ว เสียงไม่เปลี่ยนแล้ว ก็ควรจะเขียนให้ถูกด้วย ยกตัวอย่างง่ายๆ คำว่า “เฟซบุ๊ก” ทุกคนก็ออกเสียงได้ตรง ไม่มีใครออกว่า “เฝด-บุก” ในเมื่อเรามีระบบการเขียนตามอักขรวิธีที่ถูกต้องของเราอยู่ เราก็แค่เขียนให้มันตรงกับที่ออกเสียงมา มันก็เท่านั้นเอง


เราเป็นมนุษย์นี่คะ จะให้เรารู้ทุกอย่างทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์มันคงเป็นไปไม่ได้ เราไม่ใช่พระพุทธเจ้าที่จะตรัสรู้ได้ทุกอย่าง มันก็ต้องมีผิดบ้าง-พลาดบ้าง ตอนที่ยังไม่รู้ว่าผิดก็ทำตามที่เข้าใจว่าถูกไปก่อน แต่พอเวลามันผ่านไป รู้แล้วว่ามันไม่ถูกต้อง เราก็ลงมือแก้ไข มันก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายนี่คะ ไม่ใช่ว่ารู้ว่าผิดแล้วยังจะดึงดันไม่แก้ ถ้าเป็นอย่างนั้นน่ะเสียหาย
อย่างคำว่า “วงศ์” เมื่อก่อนก็มีทั้งคนที่เขียนว่า “วงษ์” และ “วงศ์” เราก็ประกาศแก้ไขให้เขียนว่า “วงศ์” เป็นมาตรฐานเดียวกันหมดและใช้กันมาถึงทุกวันนี้ ครั้งนี้ก็เหมือนกันค่ะ คำยืมที่ประกาศก็มีแค่ร้อยกว่าคำ คนอาจจะตกใจว่ามันเยอะ แต่จริงๆ แล้วเทียบกับคำทั้งหมดเป็นหมื่นๆ คำในภาษาไทย มันแค่ไม่กี่เปอร์เซ็นต์เลยด้วยซ้ำ

ถ้าประกาศใช้ตามนั้นจริงๆ ก็จะสร้างความสับสนให้สังคมอย่างมาก เพราะทุกคนเขียนแบบเดิมจนชินแล้ว
ถึงใช้กันมานานแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่ามันถูกต้องนี่คะ ต้องถามว่าคุณจะเลือก “ความเคยชิน” หรือ “ความถูกต้อง” ถ้าใช้ด้วยความเคยชินแต่มันผิด แล้วทำไมไม่แก้ให้มันถูกล่ะคะ เคยทำมาผิดๆ แล้วจะปล่อยให้ผิดต่อไปอย่างนั้นหรือ หรือว่าเห็นว่าผิดแล้วก็ควรแก้ให้ถูกต้อง ตามที่ควรจะเป็น
ถ้าเรายังจะใช้แบบผิดๆ กันต่อไปแบบนี้อีกไม่รู้นานเท่าไหร่ เด็กเล็กที่ต้องเรียนหนังสือก็จะอ่านคำผิดๆ เหล่านั้นไม่ถูก อ่านไม่ออก เราจะปล่อยให้เด็กๆ จดจำสิ่งผิดๆ จากที่ผู้ใหญ่ทำเอาไว้และใช้กันต่อไปอย่างนั้นเหรอคะ สำหรับคนที่คัดค้าน อยากให้ลองถามตัวเองดูสิคะว่า มีเหตุผลดีๆ สักข้อไหมที่จะไม่แก้ไขให้ถูกต้อง

ที่เห็น-ที่เป็น-ที่ใช้กันอยู่ มันผิดตรงไหน?
ถ้าคุณออกเสียงว่า “สะ-นุ้ก-เก้อ” คุณก็ต้องเขียนว่า “สะนุ้กเก้อร์” จะมาเขียน “สนุกเกอร์” มันก็ออกเสียงว่า “สะ-หนุก-เกอ” น่ะสิคะ มันไม่ถูกต้อง ภาษาเรามีกฎของเราอยู่ อาจารย์ท่านวางรูปแบบไว้ตั้งแต่โบราณกาลแล้ว มีทั้งอักษรสูง-กลาง-ต่ำ มีสระสั้น-ยาว มีวรรณยุกต์ที่ผสมออกมาเป็นคำ ถ้าผสมอย่างถูกต้อง ทุกคนก็สามารถออกเสียงได้เหมือนกันหมด จะอยู่เหนือจดใต้ อยู่สุไหงโก-ลก ก็ออกเสียงเหมือนกันได้หมด แล้วทำไมเราไม่รักษากฎกันล่ะคะ ทำไมไปเอาความเคยชินที่ผิดๆ มาเป็นบรรทัดฐาน


มันเป็นหน้าที่ของราชบัณฑิตฯ อยู่แล้วที่จะต้องคอยดูแลภาษาให้เป็นไปในทางที่ถูกต้อง ไม่เปลี่ยนไปในทางเสื่อม แต่ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เราเขียนภาษาต่างประเทศโดยไม่ใส่เครื่องหมายกำกับ ทั้งการสะกดการันต์ การใส่พยัญชนะ วรรณยุกต์ทั้งหมด เขียนผิดๆ ก็เป็นการทำลายระบบอักขรวิธีของเราเอง ทั้งๆ ที่สิ่งเหล่านี้เราทุกคนเรียนกันมาตั้งแต่ ป.1-ป.2 แล้ว อ่านออก-สะกดถูก-ผันวรรณยุกต์กันได้ แต่พอมาเขียนกลับเขียนไม่ถูก เขียนไม่ตรงกับเสียง เราใช้แบบผิดๆ กันมานานมากแล้ว มันก็น่าจะปรับให้ถูกต้อง แค่นั้นเอง


อย่างคำว่า “คอมพิวเตอร์” ถึงจะมาจากภาษาอังกฤษ แต่เมื่อเอามาเขียนด้วยตัวอักษรไทย ในประโยคภาษาไทย ก็ต้องเขียนให้ถูกตามหลักภาษาไทย ถ้าออกเสียงว่า “ค็อม-พิ้ว-เต้อ” ก็ต้องเขียนว่า “ค็อมพิ้วเต้อร์” หรือถ้าออกเสียงว่า “คอม-พิว-เตอ” ก็ต้องเขียนว่า “คอมพิวเตอร์” ถ้าเขียนกันถูกต้องตามเสียงที่ออกมา มันจะทำให้การเรียนการสอนง่ายขึ้นด้วย

คนส่วนใหญ่ก็รู้อยู่แล้วว่าคำคำนั้นออกเสียงยังไง จะเขียนเหมือนเดิมหรือเขียนแบบใหม่ ก็ไม่น่าจะใช่ประเด็น
แล้วคนที่เขาไม่รู้คำภาษาอังกฤษล่ะคะ เขาไม่รู้หรอกว่าคำว่า “คอมพิวเตอร์” ต้องออกเสียงว่า “ค็อม-พิ้ว-เต้อ” เขาก็จะอ่านตามตัวสะกดเป็น “คอม-พิว-เตอ” ไป โดยเฉพาะเด็กต่างชาติที่มาเรียนภาษาไทย เขาเจอคำแบบนี้เยอะมากแล้วเขาก็อ่านไม่ออก ไม่เข้าใจ อ่านออกมาก็ผิดหมด เด็กต่างชาติหลายคนถามเลยว่า เขียนว่า “เรดาร์” ทำไมให้อ่านว่า “เร-ด้า” ทำไมไม่ให้อ่านว่า “เร-ดา” ตามตัว เขาเรียนมาว่า “ด เด็ก + สระอา” ต้องอ่านว่า “ดา” มันก็เลยเป็นปัญหามากสำหรับเด็กต่างชาติ


พูดอย่างนี้ อาจถูกมองว่าใส่ใจความรู้สึกชาวต่างชาติมากกว่าคนไทยด้วยกันเอง?
ไม่ใช่ว่าสนใจเด็กต่างชาติมากกว่าเด็กไทยนะคะ นั่นเป็นแค่เหตุผลหนึ่ง เพราะวัตถุประสงค์หลักของเราก็คือภาษาไทยเพื่อคนไทย เพื่อคนที่ใช้ภาษาไทยนี่แหละค่ะ เราต้องรักษาไว้ไม่ให้ภาษาถูกทำลาย ซึ่งเขียนกันอย่างทุกวันนี้มันคือการทำลาย มันป่วนไปหมด เขียนอีกแบบแล้วไปออกเสียงอีกแบบ คนที่ไม่เข้าใจก็จะสับสนว่าเมื่อไหร่จะต้องออกเสียงโท-เสียงเอก เขียนโดยที่ไม่บอกวรรณยุกต์ ไม่บอกอะไรเลย แล้วให้รู้ให้จำเองเนี่ย มันจะถูกได้ยังไงล่ะคะ


ก็เหมือนเรามีช้อนส้อมวางอยู่ที่โต๊ะ มีเครื่องมือให้พร้อมอยู่แล้วทุกอย่างในการกิน แต่ถ้าคุณอยากลำบาก คุณก็เปิบมือ ใช้ปากกินไปก็ได้ค่ะ แต่ถามว่าในเมื่อเรามีเครื่องมือทางภาษาที่ดีอยู่แล้ว แล้วทำไมเราต้องหลีกเลี่ยงที่จะไม่ใช้ด้วยล่ะคะ พอไม่ใช้แล้วมันก็ป่วนไปหมด เขียนก็ไม่ถูก อ่านก็ไม่ถูก แล้วยังจะดื้อใช้ต่อไปอีก ทำไมยังต้องดื้อแพ่งต่อไปอีก ก็อยากรู้เหมือนกันค่ะว่ามีเหตุผลอะไรที่จะไม่ใช้สิ่งที่ถูกต้อง ขอเหตุผลดีๆ สักข้อหนึ่งสิคะ อยากรู้จริงๆ


ภาษาไทยของเราเป็นภาษาที่มหัศจรรย์มาก เราสามารถเขียนทุกคำพูดให้ตรงตามที่ออกเสียงได้แบบไม่ผิดเพี้ยนเลย แล้วทำไมเราต้องทิ้งคุณสมบัติดีๆ เหล่านี้ไปด้วยล่ะคะ เราจะไปเขียนตามภาษาอื่นที่เขาไม่มีวรรณยุกต์ ไม่มีสระที่แน่นอน จะไปเขียนเละเทะตามเขา ให้ทำลายภาษาของเราเองทำไม เรามีหลักของเราอยู่ เราก็ควรจะรักษาหลักเอาไว้ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องยากเลย

แต่อาจจะยากสำหรับเด็กไทย เพราะเด็กไทยอ่อนเรื่องการผันวรรณยุกต์มาก เขียน “นะคะ” กับ “ค่ะ” ยังสลับกันเป็น “นะค่ะ” อยู่เลย
แต่ยิ่งคุณไปเอาภาษาเละๆ มาใช้ในภาษาเรา มันก็จะยิ่งยากเข้าไปใหญ่ การรักษากฎภาษาเราเอง มันไม่ยากหรอกค่ะ วรรณยุกต์ไทยมันก็มีแค่ 5 เสียงเท่านั้น จะจำไม่ได้กันเลยหรือ มันยากนักหนาหรือสำหรับเด็กไทยที่จะเรียน มันไม่ยากหรอกค่ะ แต่ในทางตรงข้าม ยิ่งเราไปเขียนไม่ตรงวรรณยุกต์ มันยิ่งยากเข้าไปใหญ่ เด็กก็ยิ่งจะไม่รู้ว่าจะเขียนยังไง จะออกเสียงกันยังไง ยิ่งเสียหายไปกันใหญ่เลยคราวนี้

ที่คนส่วนใหญ่รับการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ได้ ส่วนหนึ่งเพราะมองว่าใส่วรรณยุกต์กำกับมากไป ทำให้ดูรก บั่นทอนความสวยงามของภาษาลงไปอีก
คำทับศัพท์ที่ตั้งใจจะให้เขียนแบบใหม่ทั้งหมด 176 คำ มันก็เหมือนคำทุกคำที่อยู่ในภาษาไทยนั่นแหละค่ะ คำว่า “แม่” “บ้าน” “พี่น้อง” ก็มีวรรณยุกต์ทั้งนั้น แค่เพิ่มคำเหล่านี้เข้าไปในประโยคนิดหน่อย มันคงไม่ทำให้ดูรกเพิ่มขึ้นหรอกค่ะ ถ้าบอกว่าใส่ไม้เอก-ไม้โท เพิ่มลงไปในคำฝรั่งพวกนี้แล้วมันไม่สวย มันรกหูรกตา ก็แสดงว่าคุณต้องเลิกใช้วรรณยุกต์ทั้งหมดทุกคำที่มีอยู่สิคะ ส่วนตัวแล้วมองว่ามันสวยจะตาย มันคือเครื่องมือทางภาษาของเรา ทำไมเราต้องไปตามชาติอื่นที่เขาไม่มีวรรณยุกต์กำกับด้วยล่ะคะ มันเรื่องอะไร

สุดท้ายแล้ว สังคมก็ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และราชบัณฑิตฯ ก็ยุติการแก้แล้ว รู้สึกอย่างไรบ้าง?
ส่วนตัวก็ไม่ได้รู้สึกอะไรกับกระแสสังคมอยู่แล้ว รู้สึกเฉยๆ ค่ะ ภาษาเนี่ยนะคะ มันเป็นเรื่องของสังคม สังคมคือคนส่วนใหญ่ คนทุกคนไม่ได้พูดเหมือนกันร้อยเปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นมันก็ต้องมีถูกบ้าง-ผิดบ้าง ทุกคนก็มีความเห็นของตัว
แต่เราแค่ออกมาบอกสิ่งที่ถูกต้อง แต่ถ้าเราบอกแล้ว คุณยังไม่อยากรับเอาสิ่งที่ถูกต้อง มันก็เป็นเรื่องของคุณ ทุกวันนี้ก็มีคนเขียนหนังสือผิดอีกมากมาย ตามหน้าหนังสือพิมพ์เองก็มีออกเยอะแยะไป ถ้าคุณอยากทำตามสิ่งที่ถูก ก็ทำตาม แต่ถ้าไม่อยากทำตาม ก็ทำสิ่งที่ผิดไป ก็เท่านั้นเอง มันเป็นเรื่องของคุณค่ะ

ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ LIVE


ต้องตีไข่ ใส่แป้งโกกิ แล้วเอาไปทอด จิ้มด้วยซอสพริดศรีราชา พอไหว!!
Posted Image

#139 Strangerman

Strangerman

    คนแปลกหน้า

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,674 posts

ตอบ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 03:25

ภาษาพูด กับ ภาษาเขียน เค้าเข้าใจกันมานานแล้วครับ

สงสัยจะว่างงานมากจริงๆ (เห็นด้วยสำหรับบางคำ)

แต่....

• เอือมระอากับบรรดาพี่น้องที่หลงทางจริงๆ เห็นต่างกันยังรับได้ครับ แต่เห็นผิดเป็นชอบแบบนี้มันบัดซบจริงๆ •
• หายนะของประเทศไทย ก็คือการที่   "ควายเลือกควาย"   เข้ามาทำลายประเทศ •


#140 redfrog53

redfrog53

    เกิดที่รัสเซีย มาโตที่ สรท.

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 25,221 posts

ตอบ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 04:45


อย่าลืมนะว่า อังกฤษแท้ๆนะ ก้อมีสำเนียงแบบอิสานบ้านเฮ้า ปักษ์ใต้บ้านฉ้าน เหนือเจ้าบ้านแม้ว
"ราชบัณฑิต" เป้นจอหงวน ต้องรู้ลึกรู้จริง เล่นมั่วๆ เอาครูลิสฯมาเป็นดีกว่า


ตกลง ราชบัณฑิต กำหนดการสะกดคำใหม่ ตามสำเนียงอังกฤษ
หรือสำเนียงไทยกันแน่ครับ


สำเนียงอังกฤษ นั้นแหละ อังกฤษนะก้อมีภาคอืสาน นะรู้ป่าววว สำเนียงเหนือก้อมี
I wanted to fly jo้a. ฉันอยากจะบินได้เจ้า. (ออกเสียงแบบอัฐสวะเมทจึงจะสำเนียงถูกต้อง)

Edited by redfrog53, 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 04:47.

Posted Image

#141 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 20:43

ผมเห็นหลายคน ด่า นายกปูเรื่อง ภาษามาโดยตลอด

ดูหนังดูละคร แล้วย้อนกลับมาดูตัวเองบ้าง

Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#142 eAT

eAT

    ผมเป็นเสื้อแดงฮับ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 10,589 posts

ตอบ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 20:49



อย่าลืมนะว่า อังกฤษแท้ๆนะ ก้อมีสำเนียงแบบอิสานบ้านเฮ้า ปักษ์ใต้บ้านฉ้าน เหนือเจ้าบ้านแม้ว
"ราชบัณฑิต" เป้นจอหงวน ต้องรู้ลึกรู้จริง เล่นมั่วๆ เอาครูลิสฯมาเป็นดีกว่า


ตกลง ราชบัณฑิต กำหนดการสะกดคำใหม่ ตามสำเนียงอังกฤษ
หรือสำเนียงไทยกันแน่ครับ


สำเนียงอังกฤษ นั้นแหละ อังกฤษนะก้อมีภาคอืสาน นะรู้ป่าววว สำเนียงเหนือก้อมี
I wanted to fly jo้a. ฉันอยากจะบินได้เจ้า. (ออกเสียงแบบอัฐสวะเมทจึงจะสำเนียงถูกต้อง)


ย้อนกลับไปอ่านข่าวดูใหม่อีก 3 รอบ
ตกลงตรงไหนที่บอกว่าให้เขียนเป็นสำเนียงอังกฤษ
จริงๆ อ่านตัวข้อข่าวก็เห็นแล้วว่า "ลูกครึ่ง" ควรจะชัดเจน
อยู่ในตัวว่าไม่ีใช่สำเนียง "อังกฤษ" มีคนทำเน้นสีแดงให้
ย้อนกลับไปอ่านอีกครั้ง

ทำตัวอ่านหนังสือไม่เกิน 3 บรรทัดไปได้

#143 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 20:55

ู^
^
คนเราเดี๋ยวนี้ ดุจัง
gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#144 ant

ant

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,081 posts

ตอบ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 20:55

คำไหนที่ใช้กันมานานจนคนส่วนใหญ่เขายอมรับกันแล้วก็ไม่ควรไปแก้ไข เพราะจะทำให้ไขว้เขว ควรแก้ไขคำใหม่ๆให้ถูกต้องดีกว่านะครับ
ตราบที่สูอยู่-กิน..แผ่นดินไทย ตราบโคตรเหง้าสูใช้แผ่นดินนี้ตราบศพสูฝังใต้..ไทยปฐพี สูไม่มีสิทธิ์ยํ่ายี.." พระเจ้าแผ่นดิน "

#145 ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่

    หน้าตาดี มีอุดมการณ์

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 21,670 posts

ตอบ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 21:50

วันพุธ ที่ 3 ตุลาคม 2555
ชาวเน็ต...รุมสวด แก้"ทับศัพท์"176 คำ
Posted by Sp-Report, ผู้อ่าน : 28 , 20:35:54 น.
หมวด : ตำรวจ-อาชญกรรม

Posted Image พิมพ์หน้านี้Posted Image Posted Image โหวต 0 คน


เพิ่งจะหมดยุคฮอตฮิตของ "ภาษาสก๊อย" ที่แสนจะเวียนหัวของวัยรุ่นบางกลุ่มไปหยกๆ ต้องมาเจอโจทย์ใหม่ เมื่อ "ราชบัณทิต" ขอเสนอแก้การเขียน "คำทับศัพท์" ใหม่ 176 คำ ถ้าใครได้เห็น "ศัพท์ใหม่" แวบๆ อาจดูคล้าย "ภาษาสก๊อย" มาตามหลอกหลอนทีเดียว (อิอิ)
"...ซีเมนต์-ซีเม็นต์, แบคทีเรีย-แบ็คทีเรีย, คอร์ด-ขอร์ด, เทคโนโลยี-เท็คโนโลยี่, กะรัต-กะหรัต, แอสไพริน-แอ๊สไพริน, คอนเสิร์ต-ค็อนเสิร์ต, คอมพิวเตอร์-ค็อมพิ้วเต้อร์, คอมมานโด-ค็อมมานโด, คอมมิวนิสต์-ค็อมมิวนิสต์, คูปอง-คูป็อง, เซนติเมตร-เซ็นติเม้ตร, อัลตราไวโอเลต-อัลตร้าไวโอเหล็ต...ฯลฯ"
Posted Image
นี่เป็นเพียงบางส่วนของ "คำทับศัพท์" ที่ ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม ผู้เชี่ยวชาญภาษาและวรรณคดีไทย เสนอขอปรับแก้เปลี่ยนแปลงคำศัพท์ที่ยืมมาจากคำภาษาอังกฤษ 176 คำ โดยแนะให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ หรือใช้อักษรสูง หรือใช้ "ห" นำในคำที่ไม่สามารถผันวรรณยุกต์ได้
กระแสดังกล่าวออกมาไม่ทันไร "ชาวเน็ต" ก็ตั้งกระทู้วิจารณ์ขรมถึงความ "ไม่ควร" เพราะจะยิ่งสร้าง "ความสับสน" ในการเขียนภาษาไทยของคนรุ่นใหม่ ขณะที่ภาษาไทยแท้ๆ ยังเขียนกัน ผิดๆ ถูกๆ
อย่างกระทู้ใน "ห้องสมุด" เว็บไซต์พันทิปดอทคอม ตั้งคำถามว่า "คุณเห็นด้วยกับการแก้คำไทยทับศัพท์ 176 คำหรือไม่?" พร้อมเปิดให้ร่วมคลิกโหวต ว่า "เห็นด้วย" หรือ "ไม่เห็นด้วย" ซึ่งมีกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ "ไม่เห็นด้วย" !!

คุณ "Gilia" มองว่า ฝรั่งไม่อ่านเน้นๆ พยางค์ท้ายด้วยเสียงสูงขึ้นแบบไทย ภาษาอังกฤษไม่มีวรรณยุกต์ จะพูดเสียงไม้เอก ไม้โท "ห" นำ ก็พูดไป แต่เราไม่ใส่ไม้เอก ไม้โทตั้งแต่แรกไม่ใช่เหรอ แล้วตอนนี้มาทำอะไรเนี่ย?

คุณ "Ch_Chang" มองว่า ใครจะเปลี่ยนไปใช้ตาม "ราดบันทิด" ก็ตามสบาย ผมไม่เปลี่ยนจะใช้แบบเดิม ที่เปลี่ยนนี่ดูยังไงๆ ภาษาสก๊อยชัดๆ ตอนผมเรียนภาษาอังกฤษ อาจารย์สอนว่า เวลาอ่านคำว่า Computer แต่ละประเทศสำเนียงการอ่านไม่เหมือนกัน และไม่ใช่อ่านว่า "ค็อมพิ้วเต้อร์" ฝรั่งจะไม่ออกเสียง "เต้อร์" แต่จะออกเสียง "เทอะ" สั้นๆ ผมไม่สนับสนุนครับ งานนี้ เห็นเมื่อก่อนก็รณรงค์การใช้คำให้ถูกในการพิมพ์ในอินเตอร์เนต ว่าที่พิมพ์กันอยู่นั้นผิด แต่พอมาในวันนี้กลับกลายเป็นว่าที่ผ่านมาเขาก็ใช้ถูกกันมาก่อน "ราดบันทิด"

ส่วน คุณ "เตยทะเล" ชี้ชัดๆ ว่า ภาษาอังกฤษ ไม่ใช่ tonal language (ภาษาที่ปรับเสียงตามวรรณยุกต์ เหมือนภาษาไทย เวียดนาม จีน) การมานั่งใส่วรรณยุกต์ให้ทับศัพท์ภาษาเหล่านี้ ผมว่าเมื่อยเปล่าๆ ที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน ไม่มีวรรณยุกต์ ไม่มีตัวควบ ง่าย ๆ และคล่องตัวดีอยู่แล้วครับ ผมว่าพวกท่านๆ ใช้เวลา "ที่น่าจะว่างมาก" ไปรณรงค์ให้เด็กรุ่นใหม่ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องดีกว่า

ด้าน เว็บไซต์ www.playdn.com ก็มีการตั้งหัวข้อในกระดานสนทนา "เด็กรุ่นใหม่งานเข้า เล็งแก้ 176 คำทับศัพท์หวังเขียนให้ตรงเสียง" คุณ "windywaltz" ขอวิจารณ์แบบเป็นกลางว่า จะว่าไปการเปลี่ยนนี้ ก็ถือเป็นการเปลี่ยนที่ถูกหลักของลักษณะภาษาอย่างแท้จริง จะสังเกตว่าจะเป็นการกลบข้อบกพร่องในการออกเสียงได้ และสามารถอ้างอิงถึงเหตุ-ผลในการออกเสียงนั้นๆ จึงถือว่าเป็นเรื่องดีสำหรับเด็กรุ่นใหม่ และเป็นการสร้างรากฐานภาษาที่ดีในระยะยาว แต่มันเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะให้คนรุ่นเรายอมรับได้ เพราะมันขัดต่อสามัญสำนึกมากๆ ถึงแม้ว่ามันอาจมีการผิดหลักการอยู่บ้าง แต่เราทุกคนก็เข้าใจ และสามารถใช้กันได้อย่างไม่มีปัญหาทางการสื่อสาร จึงรู้สึกว่า "เปลี่ยนไปแล้วได้อะไร?"

คุณ "เทพเพน" จากเว็บไซต์ www.mthai.com ได้แสดงความคิดเห็นแสบๆ คันๆ ในหัวข้อ เห็นด้วยมั้ย? ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ ว่า ที่จริงควรจะเปลี่ยนคำไปเลย เช่น มอนิเตอร์=จอดู, สนุกเกอร์-ลูกดีดลงรู, เคเอฟซี-ไก่ทอดลุงหงอก, สลัด-รวมมิตรเศษผัก อย่างนี้จะดีกว่า

ขณะที่ คุณ "ดีแล้ว" จากเว็บไซต์ www.kapook.com มองว่า ราชบัณฑิตยสถาน ได้ถือหลักการเขียนคำในภาษาต่างประเทศ ตามพระดำริของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ อดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน ว่า การเขียนคำในภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษออกเสียงไม่แน่นอน จะออกเสียงอย่างไรย่อมแล้วแต่ประโยค เสียงจะสูงต่ำก็แล้วแต่ตำแหน่งของคำในประโยค จึงทรงเห็นว่าไม่ควรใช้วรรณยุกต์กำกับตามเหตุผลดังกล่าว...หลักการเดิมของท่านดีอยู่เเล้วครับ
http://www.oknation....2/10/03/entry-9

Edited by ผึ้งน้อยตุหรัดตุเหร่, 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 21:52.

gladiator 1.jpg

 

 

 

 

 

 


#146 Mark Nazi

Mark Nazi

    พี่มากขา

  • Members
  • PipPipPip
  • 548 posts

ตอบ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:06

ผมพอจะเข้าใจสาเหตุที่ประเทศไทยจำเริญลงฮวบ ๆ อย่างนี้แล้ว :D
- อ่านหนังสือไม่แตก
- ขอด่าไว้ก่อน
- ไม่มีความใส่ใจกฎเกณฑ์
เป็นกันอย่างพร้อมเพียงโดยไม่แบ่งแยกสีและฝักฝ่าย :wub:

พวกเล่นไปเกรียนใส่กระดานสนทนาของเว็บราชบัณฑิตฯ กันเต็มที่เลย

Edited by Tux Vader, 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:21.


#147 แสนยานุภาพ

แสนยานุภาพ

    สปอร์ต กทม ใจดี

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 3,267 posts

ตอบ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 22:36

Posted Image

#148 chackrapbong

chackrapbong

    สมาชิกขั้นสูง

  • Members
  • PipPipPipPip
  • 4,057 posts

ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 00:09

ผมพอจะเข้าใจสาเหตุที่ประเทศไทยจำเริญลงฮวบ ๆ อย่างนี้แล้ว :D
- อ่านหนังสือไม่แตก
- ขอด่าไว้ก่อน
- ไม่มีความใส่ใจกฎเกณฑ์
เป็นกันอย่างพร้อมเพียงโดยไม่แบ่งแยกสีและฝักฝ่าย :wub:

พวกเล่นไปเกรียนใส่กระดานสนทนาของเว็บราชบัณฑิตฯ กันเต็มที่เลย


- ไม่มีความใส่ใจกฎเกณฑ์

วันนี้มาเรียกร้อง หลัก นิติรัฐ นิติธรรม กันยกใหญ่

Everyone thinks of changing the world, but no one thinks of changing himself. Leo Tolstoy


#149 alucardx

alucardx

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 323 posts

ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 00:39




อย่าลืมนะว่า อังกฤษแท้ๆนะ ก้อมีสำเนียงแบบอิสานบ้านเฮ้า ปักษ์ใต้บ้านฉ้าน เหนือเจ้าบ้านแม้ว
"ราชบัณฑิต" เป้นจอหงวน ต้องรู้ลึกรู้จริง เล่นมั่วๆ เอาครูลิสฯมาเป็นดีกว่า


ตกลง ราชบัณฑิต กำหนดการสะกดคำใหม่ ตามสำเนียงอังกฤษ
หรือสำเนียงไทยกันแน่ครับ


สำเนียงอังกฤษ นั้นแหละ อังกฤษนะก้อมีภาคอืสาน นะรู้ป่าววว สำเนียงเหนือก้อมี
I wanted to fly jo้a. ฉันอยากจะบินได้เจ้า. (ออกเสียงแบบอัฐสวะเมทจึงจะสำเนียงถูกต้อง)


ย้อนกลับไปอ่านข่าวดูใหม่อีก 3 รอบ
ตกลงตรงไหนที่บอกว่าให้เขียนเป็นสำเนียงอังกฤษ
จริงๆ อ่านตัวข้อข่าวก็เห็นแล้วว่า "ลูกครึ่ง" ควรจะชัดเจน
อยู่ในตัวว่าไม่ีใช่สำเนียง "อังกฤษ" มีคนทำเน้นสีแดงให้
ย้อนกลับไปอ่านอีกครั้ง

ทำตัวอ่านหนังสือไม่เกิน 3 บรรทัดไปได้


แต่ผมก็ได้ยินจากข่าวเหมือนกันนะครับ ว่าจริงๆ แล้วผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง(จำชื่อไม่ได้ ออกสัมภาษณ์ด้วย)
ต้องถึงขั้นเน้นแอ็คเซนท์ ให้ถูกต้อง เช่น Pythagoras จะเขียนให้อ่าน ปีทาโกรัส ไม่ได้ เพราะไปพูดกับคนอื่น
ไม่รู้เรื่อง (หมายถึงพูดกับคนต่างชาติ) ต้องเขียนให้อ่านเป็น ผิเธอว์เกอะเริ่ส (ผมพยายามเขียนคำอ่าน
ให้สอดคล้องกับเสียงที่ให้สำภาษณ์นะครับ ไม่ได้มีเจตนากวน)

แต่ผมยังไม่ค่อยเข้าใจและไม่เห็นด้วยจริง ๆ นะครับ แม้ว่าเจตนาที่ทำจะดี (ผมมองว่าให้เครดิตไปก่อน)
แต่พื้นฐานเรื่องของภาษา มันก็แตกต่างกันอยู่แล้ว ไม่ว่าภาษาไหน มันก็แสดงรากเหง้ารวมไปถึงวัฒนธรรม
ของตนเองเอาไว้ หลักการ ไวยกรณ์ ย่อมที่จะไม่เหมือนกัน ทำไมเราจะต้องไปเลียนเสียงให้ครบ 100%
โดยที่อาจจะทำให้เกิดความสับสน หรือปัญหาในแขนงอื่นออกมาอีกมากมาย

หากคนทำโปรแกรมด้านซอฟท์แวร์ การดีเท็คภาษา แบบนี้ไม่ต้องมานั่งแก้ฐานข้อมูลกันปวดหัวเลยหรือครับ
(แค่ตัวอย่างนะครับ ว่ากระทบด้านอื่นอะไรบ้าง)

มองเพิ่มเติม หากเป็นภาษาแปลก ๆ ที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ แล้วเราพยายามเลียนเสียงเพื่อให้เหมือนกับเจ้าของภาษา
หากวันนี้เราเขียนอย่างนี้ แล้วใช้มาในระดับหนึ่ง เช่น 10ปี เรามาพบว่า ที่เขียนมายังไม่สามารถเลียนเสียงได้เหมือนจริง ๆ
อย่างนี้จะต้องมาแก้ใหม่อีกหรือครับ ประเด็นคือเราพยายามเขียนเลียนเสียง เพื่อให้พอที่จะทำความเข้าใจว่า คำเดิมในภาษาเดิม
ของมันคืออะไร ก็เพียงพอแล้วหรือเปล่าครับ แต่แน่นอนว่า คำใหม่ ๆ ที่ยังไม่ค่อยได้ใช้กัน ก็ควรจะเขียนให้ถูกต้อง ก็ว่ากันไปครับ

ปล. ตัวอย่างเช่น โตเกียว ก็คงต้องแก้เป็น โตขโยะ? ปักกิ่ง => เป่ยจิง? เชงเม้ง => ซิงหมิง? (แค่คิด ผมก็ปวดหัวแล้วครับ) :unsure:

#150 Mark Nazi

Mark Nazi

    พี่มากขา

  • Members
  • PipPipPip
  • 548 posts

ตอบ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 01:14

เนื้อหาจริงที่ไม่ใส่ไข่





ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน