ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า คำว่า Home School มิได้หมายถึงสอนในบ้านอย่างเดียว
หลายโรงเรียนก็ทำ แต่เพิ่มวอลดอร์ฟเข้าไป
กระทรวงศึกษาทราบเรื่องนี้มานานแล้ว เพราะใครจะสอนลูกตัวเองด้วยหลักสูตรนี้
จะต้องยื่นแผนการเรียนการสอนให้กระทรวงตรวจสอบก่อน กระทรวงก็ทราบว่าดี
แต่ไม่ยอมพัฒนาครูผู้สอน
โรงเรียนเอกชนหลายโรงเรียน นำหลักสูตรนี้ไปใช้และนำเอาแนววอล์ดอร์ฟมาเพิ่ม
มีหลายโรงเรียน เช่น รุ่งอรุณ สาระศาสตร์ เพลินพัฒนา หลักสูตรนี้ดี แต่กลับกลาย
เป็น ของแพงซะงั้น ทั้งๆ ที่ กระทรวงสามารถจัดการอบรมบุคคลากรที่มีอยู่มากมาย
ให้สอนในแนวทางนี้ได้เป็นอย่างดี
ลองเอางบประมาณที่จะจัดสร้างตึก หรืออุปกรณ์ต่างๆ ตัดออกไป แล้วเอางบนี้ไป
พัฒนาครูผู้สอน วางแผน 5 ปี ทั่วประเทศ รับรองสำเร็จ
ผมพาลูกไปสอบโรงเรียนสัตยาไสย ของท่านอาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา แต่ลูกดัน
ไม่อยากเรียน เพราะติดพ่อแม่ ไม่อยากอยู่หอพัก ผมก็ต้องตามใจแม่เค้า ผมทึ่ง
ในการสอนวิทยาศาสตร์มากๆ (ผมอ่อนโครตๆ ตกทุกเทอม) ท่านประยุกต์ได้ดีมากๆ
ไม่ได้มีอุปกรณ์อะไรเลิศหรูเลย ห้องเรียนวิทยาศาสตร์คือ ทุ่งนา และสวนของชาวบ้าน
เด็กที่จบ ม.6 รุ่ืนแรก เอ็นติดร้อยเปอร์เซนต์
อีกเรื่องหนึ่งคือทัศนคติและค่านิยมของพ่อแม่ผู้ปกครอง และการสอนแบบผิดๆ มานาน
พ่อแม่ ต้องการให้เด็กอ่านออกเขียนได้ตั้งแต่เด็กๆ แล้วก็คุยทับกัน สอบแข่งขันกัน
ความจริงการพัฒนาเด็ก ต้องค่อยเป็นค่อยไป เด็กเล็กอนุบาล เล่น ซน ร้องเพลง ทำงาน
ศิลป ควบคู่ไปกับการฝึกฝนวินัย การช่วยเหลือตัวเอง และเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม
ไม่ใช่ให้มานั่งท่อง ก. ไก่ ท่อง 123 ยังครับ ไม่ใช่วัยของเค้า แต่พ่อแม่ ต้องการ
ตรงนั้นแหละ ทำให้โรงเรียนต่างๆ ต้องตอบสนองความต้องการของพ่อแม่ผู้ปกครอง
การเรียนแบบวอลล์ดอร์ฟ ไม่ได้เน้นเรื่องเหล่านั้นเลย เขาเน้นให้รู้สึกรากของเรื่องนั้นๆ
กว่าจะอ่านหนังสือกัน เริ่มที่ ป.2 เพราะทุกเวลาครูผู้สอนได้ทำการสอดแทรกเอาไว้
หมดแล้ว
ตอบคำถามเฮนไต
เพราะ
1. กระทรวงไม่ยอมพัฒนาบุคคลากร และไม่ยอมเผยแพร่ให้เป็นที่แพร่หลาย ทั้งๆ ที่
ลูกหลานคนในกระทรวงใหญ่ๆ โตๆ ส่งเรียนแนวนี้กันหมด
2. รัฐ ต้องปรับเปลี่ยนแนวคิดทัศนคติของประชาชนในชาติให้ได้ ไม่ต้องรีบเร่งเด็กมาก
โรงเรียนเอกชนจะทำอย่างไรปล่อยเขา ตรงนี้ต้องใจเย็นๆ เพราะมีตัวอย่างให้เห็นมามาก
แล้ว เช่น ... พ่ออยู่สวนกุหลาบ แม่อยู่อัสสัมชัญ แต่ไม่อยากให้ลูกเรียนแนวนี้ จึงส่งเข้า
เรียนที่สัตยาไสย และเพลินพัฒนา ผมรู้จักผู้ปกครองแบบนี้เยอะ แต่พวกนี้ อำมาตย์หัว
สูงรายได้เยอะทั้งนั้น
จบ
แสดงว่า เราไม่สามารถ ใช้การสอน แบบ home school แก้ปัญหา โรงเรียนขนาดเล็กใช่หรือป่าว..
แบบที่ คุณลีว่า.. ต่อให้ เอาครู 2 คนจาก เพลินพัฒ ค่าตัว แพงกว่า ครูเดิมสองคนแน่ๆ...
ท่านว่า สองคนนั้น สามารถ สอน เด็ก 18 คน มีทุกชั้น ป อย่างมีคุณภาพ ระดับที่ท่านว่าดีพอ แล้วไม่ต้องยุบ รร หรือไม่.
ประเด็นของผม กับ ลี เหมือนๆกันคือ.. การยุบโรงเรียน ขนาดเล็กที่ ไม่มีคุณภาพ (เพราะ ครูน้อยเกินกว่าจะสอนเต็มเวลา) เป็นสิ่งที่ควรทำ..
เป็น นโยบายที่ดี... แต่ ถ้ามีคนแย้ง ผมก็อยากจะถกกันด้วยเหตุผลว่า..
ถ้า เด็กตาใสๆพวกนั้นไม่ใช่คนอื่น เป็น ลูกหลานท่าน... ท่านจะทำอย่างไร(อย่าบอกว่าจะจับเข้า กรุงเทพนะครับ... ไม่ตรงประเด็น)
กระทรวงหรือ รัฐบาล ควรแก้ปัญหานี้ อย่างไร.. โดยไม่ต้องยุบโรงเรียน... แล้วก็มาคุยข้อดีข้อเสียกัน... โจทย์ ตุ๊กตามีแล้ว คือ หนองกระโทก 18 คน ครู 2 คน มีทุกชั้น..
- ก็ปล่อยให้เรียนต่อไป เพราะ จบเหมือนกัน... แบบที่ทำมา.. ไม่มีอะไรเสียหาย... จบออกมาได้ดีมีถมไป...
- เพิ่มครูลงไป ซึ่งก็จะมีปัญหา กระทบกับ อัตรากำลังครูทั้งระบบ... เพราะ ครู 6 คน สอนเด็ก 3-18 คนอย่างสบาย...
กับ อีก โรงเรียนนึง ครู 6 คน สอนเด็ก 120 คน... จะต้องใช้งบเท่าไร... คุยกันได้ ออกแบบได้...
- เปลี่ยนเป็น home school ?? อย่างไร..
- เปลี่ยนเป็น แบบ ซีคอน.ของท่านแมงหวี่. อย่างไร..
- แบบ ท่านมูน... (อันนี้ต้องรอ.)
- หรือ.. ใครมีอะไรก็ว่ามา... อย่าอมความรู้ อมความคิด.. พูดอย่างเดียวว่า ยุบไม่ดี..
กรุณา อย่าเอาตัวเองไปวัด.. กระทรวงไม่สามารถจ้าง คนมีคุณภาพ อย่างท่านๆ ไป สอนได้... ยังไงเราก็ต้อง พึ่งครูที่มีอยู่ ที่ ตกวิชาที่สอน เกินครึ่ง...
given ครูแบบนี้ ท่านจะทำอย่างไร...
ถ้าไม่มีทางออกที่ดีกว่า... การยุบโรงเีรียน หนอกกระโทก แล้วจัดรถรับส่งเด็กไปเรียนที่อื่นที่มีคุณภาพกว่า... เป็นวิธีการแก้ปัญหาที่สมเหตุสมผลหรือไม่..
อย่าลืมว่า โรงเรียนเก่าครูต้องวิ่งรอก สอนทุกชั้น กับอีกโรงที่เรียนเต็มๆ..ที่แค่เวลาเรียนก็เสียเปรียบแล้ว..
แทนที่จะหารถตู้มาขนนักเรียนทั้งโรงเรียน 18 คนไปเรียนโรงเรียนใหม่ ไม่ลองพิจารณาซื้อมอเตอร์ไซค์ให้ เพิ่มค่าสอนให้ครูที่มีประสิทธิภาพ ขับมอเตอร์ไซค์มาสอนนักเรียนจะประหยัดกว่าไหม
โจทย์ของผมก็คือ ครู 1 คน ดูแลเด็ก 9 คน เปรียบเทียบกับครู 1 คน ดูแลเด็ก 50 คน อย่างไหนควรจะมีประสิทธิผลดีกว่ากัน ถ้าหากว่าประสิทธิภาพของครูเท่ากัน
คุณเชครับ.. โจทย์ของผมกับ คุณลี ทำมาดีแล้ว... เป็น โจทย์ปัญหาที่เป็นอยู่...
สำหรับของท่าน... แค่ เขียนโจทย์ให้ ครบถ้วนยังทำไม่ได้เลยครับ...
ท่านว่า ครู 1 คน สอนเด็ก 9 คน มี ทุกชั้น...
กับ ครู 1 คน สอนเด็ก 9 คน มี ป1 อย่างเดียว..
สองคนนี้ ถ้าครูเหมือนกัน ท่านว่า จะให้ ลูกท่านอยู่ตรงไหนดี...
ถ้า 9 กับ 50 อยู่ชั้นเดียวกันหมด... obvious แบบนี้ ไม่ต้องถามครับ... จริงไหม..
หรือว่า เป็นคำถามท่าน..
โรงเรียนเล็กๆ นะครับ.. ปีนี้มีเด็กเข้าหรือป่าวก็ไม่รู้... แต่ปีหน้าอาจจมี... ดังนั้น การออกแบบต้องคิดถึง worst case ไว้ก่อน...
นั่นถึงเป็นที่มาของ โจทย์ปัญหา ... หนอกกระโทก เด็ก 18 คน ทุกชั้น ครู 2 คน..