สิ่งสำคัญ ผมมองว่าการจะได้คนคุณภาพ
ไม่ได้จำเป็นจะต้องวัดจากสถานศึกษาแต่เพียงอย่างเดียว
ความจำเป็นของสถานศึกษา ไม่ได้วัดกันที่จำนวนนักเรียน
หรือจะวัดกันที่เด็กจะสอบได้ที่ดีๆ ต่อไปแต่แค่นั้น
บางคน อาจจำเป็นต้องเรียนไกล้บ้าน
เพราะต้องรีบกลับบ้านมาทำงาน
เพราะสะดวกให้พ่อแม่ไปส่ง
เพราะพ่อแม่ไม่อยากให้ขี่จักรยานไปเอง
เพราะคนขับรถตู้ (แทบทุกคนในประเทศไทย) ขับหยาบ
เพราะครูแก่ๆ ที่สอนคนเดียว 6 วิชาเป็นครูที่ดีและเอาใจใส่
หรือเพราะเหตุผลอีกร้อยแปด
เวลานี้ ดูเหมือนรัฐบาลจะพลิกลิ้นเป็นไม่เหมาตามจำนวนเด็กไปแล้ว
ส่วนใครจะเถียงว่าเป็นความคิดแรก ก็เรื่องของคุณ
ลูกสาวผมเรียน ม 1
เธอตั้งใจเรียนมาก
ผมอาจเป็นพ่อที่แปลกรึปล่าวไม่รู้
แต่ผมมักคอยบอกลูกอยู่เสมอ ว่าไม่ต้องถึงกับหามรุ่งหามค่ำ
อย่าเรียนให้ถึงกับตก แต่ไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องเก่งสูงสุด
เพราะผมไม่เชื่อ ว่าคนเก่งเรียน จะเก่งได้ทุกอย่าง
ลูกอยากเรียนรู้อะไรที่ไม่เกินกำลัง ผมก็จะให้
แม้ว่ากีร์ต้าและอูคูเลเล่ที่ซื้อให้ จะถูกวางสงบนิ่งอยู่มุมห้อง
อย่างน้อย เขาก็ได้เรียนรู้กับมัน
ได้รู้ว่า บางอย่างจะฮิตตามใครไม่ได้
มีกิจกรรมอะไร ก็ให้ลูกทำ ถ้าเขาต้องการ
จนลูกผมได้ไปเมืองนอกก่อนพ่อซะอีก (แค่สิงคโปร์กับโรงเรียนครับ)
ผมเชื่อว่า คนจะดีได้ ไม่ต้องจบสถาบันชั้นเลิศ
(ถ้าลูกผมโตเป็นกลุ่มเด็กไม่เอาเจ้าจากธรรมศาสนร์ ผมคงบ้า)
ไม่ต้องได้เกรดสูงสุด หรือเกียรตินิยม
ผมยังเล่าให้ลูกฟังด้วยซ้ำ
สมัยพ่อจบ ม 3 เรียนไม่ค่อยดี อยากเรียรศิลปะ
แต่แม่จะให้เรียนที่หาดใหญ่ เลยต้องเรียนพานิชย์
ผลก็คือโดนรีไทม์ ดังนั้น ลูกจึงควรเลือกในสิ่งที่ชอบ
ไม่ใช่สิ่งที่พ่อแม่อยากให้เรียน
ทุกอย่าง ล้วนมีองค์ประกอบและเงื่อนไขเฉพาะตัว
เราจะวัดจากสถิติหรือตัวเลขในห้องแอร์ไม่ได้เสียทุกเรื่อง
นี่คือสิ่งที่รัฐบาลต้องนำไปขบคิด และศึกษาจากนอกห้องแอร์ครับ
ถ้ารัฐหวังดีกับการศึกษาของเด็กไทยจริงๆ นะครับ
ถ้าลูกสาวพี่โทนี่ได้เข้าร่วมโครงการไปสิงคโปร์เดาว่าอยู่โครงการคู่ขนานของสาธิต มข.
น่าเป็นเด็กที่เรียนเก่งมากเพราะจะเข้าเป็นนักเรียนกลุ่มนี้ได้ต้องได้เกรดวิชาวิทย์-คณิต-อังกฤษไม่ต่ำกว่า 3.5
และนักเรียนห้องพิเศษ 2 ห้องที่คัดมานี้แนวคิดการเมืองส่วนใหญ่ 90 กว่า % ไม่เอารัฐไทยใหม่
(ถามจากน้องสาวที่เรียนอยู่โรงเรียนนี้แต่เป็นนักเรียนม.ปลายแล้วนะคะ) ดังนั้นน่าจะสบายใจได้ว่าหากเรียนมหาลัยแล้ว
ไม่เข้ากลุ่มล้มเจ้าแน่
ลูกสาวไปตอนจบ ป 6 ครับ
กลับมา เธอมาขอ บอกว่าขอไม่เรียนคู่ขนานได้มั๊ย
ตอนนี้เลยเรียนภาคปกติครับ
กรณีการไปเป็นพวกไม่เอาเจ้านั่น
ผมคิดไปถึงกรณีที่เคยเห็นคนหลายคน ที่ได้เรียนที่ดีๆ
จนกลายเป็นพวกหลงตัวเอง และเชื่อมั่นในความคิดของตัวเองจนไม่ฟังใครน่ะครับ
ผมถึงอยากให้ลูกอยู่ในระดับคนธรรมดา ไม่ใช้ทะนงตนว่าเป็นชนชั้นหัวกะทิ
และไม่ฟังใคร นอกจากตัวเอง
ถึงตอนน้น เธอคงไม่ฟังพ่อแม่ด้วยซ้ำ
ผมมีตัวอย่างหนึ่ง ซึ่งหลายคนอาจไม่เชื่อ
กลุ่มเป้าหมายกลุ่มหนึ่งของวัดจานบิน
คือกลุ่มคนที่มีการศึกษาสูง เราจึงได้เห็นสานุศิษย์จำนวนมากของวัดนั้น
ล้วนแต่เป็นคนระดับดอกเตอร์ การศึกษาสูงๆ
การที่มีระดับแก่นแกนเป็นบุคคลชั้นนำ ที่เป็นที่ยอมรับของสังคม (เพราะระดับการศึกษา)
มันสามารถจูงใจคนที่ระดับรองลงมา หรือล่างลงมาได้ง่าย
ที่สำคัญ คนพวกนี้ ยิ่งการศึกษาสูงได้เท่าไหร่ จะยิ่งเชื่อมั่นในความคิดตนเองได้เท่านั้น
เชื่อตัวเอง จนฟังใครไม่เป็นและฉันต้องถูกเสมอ (คุ้นๆ มั๊ยครับ)
ส่วนขั้นตอนจะทำให้คนพวกนี้เชื่อ ทำได้อย่างไร ผมไม่ขอวิเคราะห์นะครับ
เพียงแต่จะบอกว่า ช่วงหนึ่ง ผมเคยอยู่ในบริษัทสื่อสิ่งพิมพ์หนึ่ง
ที่ผู้บริหารเป็นศิษย์วัดนั้น
สิ่งพิมพ์ หลากหลาย ถุกผลิตผ่านมือผมไปจำนวนนึง
ได้เห็นวิธีการ วิธีคิดอยู่พอสมควร รวมถึงผู้ว่าจ้าง (คือพระ)
ผมว่า เด็กไม่จำเป็นต้องฉลาดในด้านวิชาการ
แต่จำเป้นต้องฉลาดเท่าทันกับการใช้ชีวิตครับ