เกี่ยวตรงที่ พ.ท.กู้เป็นพ.ร.บ. แตเงินกู้อยู่นอกงบประมาณแบบ พ.ร.ก. ซึ่งเงินจะไปอยู่ที่สำนักงานบริหารหนี้ แทนที่จะไปที่ธปท.ตามงบประมาณปรกติ
ไม่เป็นไปตามงบปกติ มันก็ไม่ใช่เงินแผ่นดินตาม 169 ก็ถูกต้องอยู่แล้ว
ที่พ.ท.ไม่กู้เป็นพ.ร.ก.เพราะไม่มีเหตุอันควรที่จะกู้โดยเร่งด่วน แต่แทนที่จะไปกู้ในงบประมาณ เพื่อให้เงินอยู่ในคลัง (ธปท.) กลับเอาเงินมาอยู่นอกคลัง การเบิกจ่ายจึงไม่ต้องใช้กฏหมายสี่ฉบับ แม้แต่ มาตรา 169
การจ่ายเงินแผ่นดินจึงจะกระทำได้แต่เฉพาะตามกฎหมาย 4 ฉบับเท่านั้น คือ กฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี, กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ, กฎหมายเกี่ยวกับการโอนงบประมาณ และกฎหมายเงินคงคลัง เพราะกฎหมายทั้งสี่มีกฎเกณฑ์ควบคุมการใช้จ่ายเงินที่เข้มงวดมีการตรวจสอบทั้งโดยระบบราชการประจำและระบบการเมือง
ไม่เข้าใจที่ว่า เงินกู้ 2.2 ล้านล้าน ไม่ใช่เงินของแผ่นดิน
เขาพยายามจะบอกว่า เงินไม่ได้ดูแลรักษาโดยปธท. แต่ดูแลโดยสำนักบริหารหนี้สาธารณะ จึงไม่ได้เป็นเงินของแผ่นดิน
![]()
![]()
![]()
![]()
![]()
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
http://th.wikipedia....ิหารหนี้สาธารณะ
สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงการคลัง มีหน้าที่ในการบริหารหนี้สาธารณะ ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะโดยการวางแผน กำกับ และดำเนินการก่อหนี้ค้ำประกัน และปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐบาล หน่วยงานในกำกับดูแลของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งรวมทั้งการชำระหนี้ ของรัฐบาล และการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้การบริหารหนี้สาธารณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเสริมสร้างความยั่งยืนทางการคลังและการพัฒนาเศรษฐกิจ มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ ถนนพระราม 6 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400
การจัดตั้งสำนักบริหารหนี้สาธารณะ ได้มีการเสนอแนวความคิดต่อคณะรัฐมนตรี และมีมติให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2542 เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง มีภารกิจในการกำหนดนโยบายและวางแผนการก่อหนี้ในภาพรวม การพัฒนาตลาดตราสารหนี้ของประเทศ การบริหารความเสี่ยง การบริหารเงินสด และ การจัดทำระบบฐานข้อมูลหนี้ของประเทศ โดยให้โอนอัตรากำลังและงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองนโยบายเงินกู้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มวิเคราะห์หนี้สาธารณะและเงินคงคลัง และส่วนหนี้สาธารณะและเงินคงคลัง ยกเว้นสายบริหารเงินคงคลัง สำนักการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง มาไว้ที่สำนักบริหารหนี้สาธารณะ
ต่อมาได้มีการยกฐานะขึ้นเป็นส่วนราชการระดับกรม ในสังกัดกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 [2]
หน่วยงานในสังกัด[แก้]
- สำนักจัดการหนี้ 1
- สำนักจัดการหนี้ 2
- สำนักบริหารการระดมทุนโครงการลงทุนภาครัฐ
- สำนักบริหารการระดมทุนระบบบริหารจัดการน้ำ
- สำนักนโยบายและแผน
- สำนักพัฒนาตลาดตราสารหนี้
- สำนักบริหารการชำระหนี้
- สำนักงานเลขานุการกรม
- ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
- กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
- กลุ่มตรวจสอบภายใน
- กลุ่มกฎหมาย
การกู้เงินในงบประมาณ และ การกู้เงินนอกงบฯ แตกต่างกันอีกประการหนึ่งคือ เงินกู้ในงบฯดูแลรักษาโดยธปท. แต่เงินกู้นอกงบประมาณดูแลโดยสำนักบริหารหนี้สาธารณะ การกำกับดูแลจึงแตกต่างกัน การกู้เงินนอกงบฯ มีการใช้จ่ายเงินได้โดยไม่ผ่านธปท. และกฏหมายควบคุมทั้งสี่ฉบับ การอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินก็ต่างกัน
“เงินกู้ไม่ใช่เงินแผ่นดิน...”
ประโยคนี้คนของรัฐบาลพูดกันเป็นนกแก้วนกขุนทองตลอดสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อยืนยันว่าร่างพ.ร.บ.ให้กระทรวงการคลังกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทที่กำลังพิจารณาอยู่ในชั้นกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎรขณะนี้คาดว่าจะเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรในวาระ 2 และ 3 ในช่วงเดือนสิงหาคม 2556 เมื่อเปิดสมัยประชุมรัฐสภาสมัยสามัญทั่วไป เพื่อยืนยันว่าร่างกฎหมายฉบับนี้ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
เป็นการพูดเพื่อตอบโต้ความเห็นของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ชุดอาจารย์คณิต ณ นคร ที่เสนอมายังสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาว่าร่างกฎหมายกู้เงินมหาศาลนี้ขัดรัฐธรรมนูญหลายมาตรา โดยมาตราสำคัญที่พูดกันมาโดยตลอดคือมาตรา 169 ผมเองก็พูดเรื่องนี้มาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2556 แล้ว
ขอยกมาตรา 169 วรรคหนึ่งมาให้อ่านกัน
“การจ่ายเงินแผ่นดินจะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่าย กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กฎหมายเกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ หรือกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง เว้นแต่ในกรณีจำเป็นเร่งด่วนรัฐบาลจะจ่ายไปก่อนก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ ในกรณีเช่นว่านี้ต้องตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังในพระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณรายจ่าย พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณถัดไป ทั้งนี้ ให้กำหนดแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้รายจ่ายที่ได้ใช้เงินคงคลังจ่ายไปก่อนแล้วด้วย”
ระบอบประชาธิปไตยคือการควบคุมตรวจสอบอำนาจรัฐ
สำคัญสุดคือการใช้เงิน
การจ่ายเงินแผ่นดินจึงจะกระทำได้แต่เฉพาะตามกฎหมาย 4 ฉบับเท่านั้น คือ กฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี, กฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ, กฎหมายเกี่ยวกับการโอนงบประมาณ และกฎหมายเงินคงคลัง เพราะกฎหมายทั้งสี่มีกฎเกณฑ์ควบคุมการใช้จ่ายเงินที่เข้มงวดมีการตรวจสอบทั้งโดยระบบราชการประจำและระบบการเมือง
ไม่ใช่การออกกฎหมายพิเศษกู้เงินมาทำโครงการเฉพาะที่เริ่มมาจากโครงการไทยเข้มแข็งยุครัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ปี 2552
มาตรา 169 มี keyword สำคัญคือคำว่า...
“เงินแผ่นดิน”
วิธีการแบบศรีธนญชัยง่าย ๆ ที่จะบอกว่าการออกกฎหมายพิเศษกู้เงินมาใช้มาทำเฉพาะโครงการสามารถทำได้โดยไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ก็คือการพูดประโยคที่ผมนำมาเป็นหัวเรื่องวันนี้แหละ
“เงินกู้ไม่ใช่เงินแผ่นดิน”
เป็นการนำความเห็นจากคณะกฤษฎีกาคณะ 12 มาพูดต่อ โดยเมื่อปี 2552 หลังจากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์อกพระราชกำหนดไทยเข้มแข็งแล้วเกิดเกรงขึ้นมาว่าการใช้เงินจะขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็เลยถามไปที่คณะกรรม การกฤษฎีกา คณะกรรมการกฤษฎีกาตอบมาในเอกสารเรื่องเสร็จที่ 888/2552 ธันวาคม 2552 ว่าไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 169 เพราะเงินกู้ไม่ใช่เงินแผ่นดิน เพราะไม่มีกฎหมายใดเขียนไว้
เป็นการตอบแบบอวยรัฐบาลในขณะนั้นอย่างไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและครูบาอาจารย์ด้านการเงินการคลังของประเทศที่อยู่ในคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะ 12
แต่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาในขณะนั้นก็คงอายอยู่ จึงมีความในย่อหน้าสุดท้ายทำนองว่านี่เป็นเพียงการตอบข้อหารือที่ทำให้รัฐบาลทำงานได้ ซึ่งก็คือสามารถใช้เงินกู้ในโครงการไทยเข้มแข็งได้ แต่ไม่ใช่การวินิจฉัยชี้ขาด เพราะไม่ใช่อำนาจหน้าที่
การวินิจฉัยชี้ขาดเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง
เงินกู้จะถือเป็นเงินแผ่นดินตามความในรัฐธรรมนูญมาตรา 169 หรือไม่มีมุมมองทางกฎหมายต่างกันได้ครับ เรื่องนี้ยังไม่เคยผ่านการชี้ขาดจากศาลรัฐธรรมนูญที่ถือเป็นที่สุด ผูกพันทุกองค์กร แม้แต่เงินกู้ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งยุครัฐบาลประชาธิปัตย์ที่เป็นต้นแบบให้รัฐบาลนี้ลอกมาใช้ในโครงการ 3.5 แสนล้านบาทและ 2 ล้านล้านบาท ศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่เคยชี้ในประเด็นนี้ ที่เคยชี้ว่าพระราชกำหนดถูกต้องตามรัฐธรรมนูญก็เป็นเพียงประเด็นทั่วไปตามมาตรา 184 เท่านั้น ที่รัฐบาลเอามาพูด ๆ กันวันนี้ว่าเงินกู้ไม่ใช่เงินแผ่นดินดังนั้นจึงออกกฎหมายพิเศษได้ไม่ต้องทำตามรัฐธรรมนูญมาตรา 169 ก็เป็นเพียงการจำขี้ปากคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะ 12 มาพูดซ้ำเท่านั้น ทั้ง ๆ ที่ในขี้ปากหน่วยงานที่มีหน้าที่รับใช้รัฐบาลหน่วยงานนี้ครั้งนั้นเขาก็มีหมายเหตุไว้ในย่อหน้าสุดท้ายว่าไม่ใช่การชี้ขาด เพราะนั่นเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ
เสียดายที่รัฐบาลประชาธิปัตย์ยุคนั้นพอกฤษฎีกาคณะ 12 ให้ความเห็นเข้าทางตนก็ใช้เงินเลย ไม่พยายามนำเรื่องไปสู่ศาลรัฐธรรมนูญก่อน
เรื่องนี้ผมพูดมาหลายเดือนทั้งต่อสาธารณะและต่อเพื่อนส.ว.ขอจองกฐินแล้วว่าจะยกร่างสำนวนและขอความร่วมมือพี่น้องส.ว.ร่วมลงชื่อให้ครบ 65 คนเพื่อยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยแน่ แต่ต้องเป็นขั้นตอนหลังรัฐสภาผ่านร่างกฎหมายนี้หมดแล้ว
ซึ่งก็ไม่เร็วไปกว่าเดือนตุลาคม 2556 แน่นอน
ทำงานอยู่ตลอด ยื่นแน่ เปิดสภาสิงหาคม 2556 นี้ก็จะเริ่มขอแรงพี่น้องส.ว.ร่วมทยอยลงชื่อให้ครบ 65 คนตามเงื่อนไข แต่ตัวคำร้องคงต้องรอปรับแก้หลังร่างกฎหมายผ่านวาระ 3 วุฒิสภาก่อน
ตอนนี้ก็กำลังนำคำวินิจฉัยศาลปกครองกลาง 27 มิถุนายน 2556 กรณีโครงการเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาทมาเทียบเคียงว่าควรจะเพิ่มประเด็นมาตรา 57 กับ 67 เข้าไปด้วยเลยดีไหม ซึ่งก็ต้องรอเห็นตัวร่างกฎหมายสุดท้ายก่อนอยู่ดี
แต่วันนี้จะลองคิดดัง ๆ ง่าย ๆ ให้อ่านกันทิ้งท้ายนะ...
ตามหลักพื้นฐานการทำงบดุล หรืองบแสดงฐานะการเงินของกิจการ หรือภาษาอังกฤษว่า 'Balance Sheet ที่มีอยู่ 2 หน้าหรือ 2 ฝั่งคือทรัพย์สินกับหนี้สินนั้น ชื่อก็บอกนะว่ามันต้อง balance คือต้องลงรายละเอียดทั้ง 2 ฝั่ง สมมติว่าประเทศหรือแผ่นดินเป็นกิจการ ในกรณีเงินกู้ เวลากู้ได้มาหรือเบิกมาใช้ก็ต้องลงงบดุลทั้งฝั่งทรัพย์สิน และฝั่งหนี้สิน เพราะเวลาใช้คืนเงินต้นหรือดอกเบี้ยก็เอาจากเงินของประเทศหรือของแผ่นดิน แล้วก็นับรวมในเพดานตามกฎหมายการบริหารหนี้สาธารณะ
วันนี้รัฐบาลจะมาแกล้งโง่ตามคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะ 12 ทำไมว่าไม่ใช่เงินแผ่นดิน เพราะเท่ากับบอกว่าไม่ต้องลงบัญชีในฝั่งทรัพย์สินงั้นซิ มันจะเป็นไปได้ยังไง
การลงบัญชีแต่ฝั่งหนี้สินไม่ลงฝั่งทรัพย์สิน ภาษาบัญชีเขาว่าอะไรรู้มั้ย
“ไซฟ่อนเงิน”
เรื่องนี้ผมเคยบอกคนสำคัญในรัฐบาลประชาธิปัตย์ช่วงปี 2552 แล้วว่าท่านกำลังสร้างมาตรฐานใหม่ในการใช้เงินที่ไม่ถูกต้องไว้เป็นตัวอย่างให้รัฐบาลต่อไป แล้วก็จริง รัฐบาลนี้แทบจะลอกพระราชกำหนดไทยเข้มแข็งมาเป็นพระราชกำหนด 3.5 แสนล้านและร่างพระราชบัญญัติ 2 ล้านล้าน
เรื่องนี้ไปจบที่ศาลรัฐธรรมนูญแน่นอน !
ที่มา : เงินกู้ ไม่ใช่เงินแผ่นดิน
"ไม่ใช่เงินแผ่นดิน แล้วเงินพ่อเงินแม่เมิ่งเหรอ" นาทีที่ 9:12
บ้านเมืองเราอยู่ด้วยกฎหมาย ไม่ใช่จริตหรือความรู้สึก
ถึงแม้ความรู้สึกเราจะคิดว่าเป็นเงินแผ่นดิน แต่ถ้าตามกฎหมายไม่ใช่มันก็คือไม่ใช่
ไอ่คำพูดข้างล่างไม่น่าเชื่อว่าเป็นคำพูดของผู้พิพากษา แล้วอย่างนี้ศาลบางศาลจะเชื่อถือได้อย่างไร
"ไม่ใช่เงินแผ่นดิน แล้วเงินพ่อเงินแม่เมิ่งเหรอ"
จนป่านนี้แล้วยังไม่รู้หรือ ว่าเงินกู้ครั้งนี้ใครเป็นคนดูแล โพสต์ซ้ำ ไม่รู้กี่ทีแล้ว ยังไม่ยอมอ่าน เงินไม่ได้ดูแลโดยธปท. แต่ดูแลโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งเป็นกรณีเร่งด่วน แต่นี่ไม่เร่งด่วน แต่กลับไปใช่กฏหมายที่เป็นกรณีเร่งด่วน มันไม่ผิด หรือ เหมือนเอาเงินสด พันล้านมาไว้ลิ้นชัก (สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ) แทนที่จะเอาไปฝากแบงค์ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) ใครเห็นก็คว้าเอาไป จับมือใครดมไม่ได้ คนไม่เคยค้าขายก็พูดยากนะ เหมือนคนไม่เคยซื้อที่ดินด้วยเงินสด
ปชป.เสนอทางออกให้พรบ.เงินกู้ 2 ล้านล้านไม่ขัดรัฐธรรมนูญแต่ถูกเมินเฉยจากรัฐบาล
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ได้เสนอทางออกดังกล่าวในชั้นการพิจารณาของกรรมาธิการพิจารณาร่างกฎหมาย และเสนออีกครั้งในการประชุมวาระ2ในสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ 20 ก.ย. 2556 ที่ผ่านมาแต่ถูกรัฐบาลปฏิเสธไมตรีนี้มาตลอด
ประเด็นการขัดรัฐธรรมนูญมาตรา169 ที่นักวิชาการหลายคนให้ความเห็นไว้คือ เงินกู้ดังกล่าวเข้าข่ายเป็น “เงินแผ่นดิน” ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแล้วจะจ่ายเงินแผ่นดินได้ด้วยกฎหมาย 4ฉบับเท่านั้นคือ กฎหมายงบประมาณ กฎหมายวิธีการงบประมาณ กฎหมายโอนงบประมาณ และกฎหมายเงินคงคลัง ดังนั้นการที่รัฐบาลออกกฎหมายเป็นพระราชบัญญัติกู้เงินโดยมีทั้ง2ขา คือขากู้และขาจ่ายเงินด้วยในฉบับเดียวกันจึงเกิดปัญหา ซึ่ง “ขากู้” ไม่มีปัญหาแต่ปัญหาขัดรัฐธรรมนูญมาตรา169 อยู่ที่ “ขาจ่าย” เพราะพระราชบัญญัติกู้เงิน ไม่ใช่กฎหมาย4ฉบับที่จะจ่ายเงินแผ่นดินได้
ข้อเสนอของปชป. คือ “ขากู้” ก็ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติกู้เงิน2ล้านล้านได้ แต่ “เงินกู้ต้องนำส่งคลัง” โดย “ขาจ่าย” ให้ใช้พระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีปกติเบิกจ่าย เพียงแค่นี้ก็จะไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ข้อดีคือแผนการลงทุนไม่ต้องเสี่ยงขัดกฎหมาย การจัดซื้อจัดจ้างจะเป็นไปตามวิธีปกติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีซึ่งง่ายต่อการตรวจสอบ โปร่งใส และนักลงทุนมีความเชื่อมั่นเพราะรัฐบาลมีเงินกู้ในคลังพร้อมทำโครงการและพร้อมจ่ายจริงตามงวดงานเมื่อมีการออกพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีตามปกติ
แต่เนื่องจากรัฐบาลปฏิเสธแนวทางข้างต้น ก็จะทำให้เกิดจุดเสี่ยงในการตีความจากศาลรัฐธรรมนูญว่าเงินกู้เป็นเงินแผ่นดินหรือไม่ โดยคำว่า “เงินแผ่นดิน” ไม่ได้มีนิยามชัดแจ้งในกฎหมายใดเป็นการเฉพาะการที่รัฐบาลกำหนดในร่างพรบ.ว่า เงินกู้ไม่ต้องนำส่งคลังนั้นยังไม่พอจะสรุปได้ว่า เงินกู้ไม่ใช่เงินแผ่นดิน อีกทั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคยให้พระบรมราโชวาทแก่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อ 25 ส.ค. 2542 โดยมีความตอนหนึ่งว่า “เงินแผ่นดินนั้นคือเงินของประชาชนทั้งชาติ”
ประการต่อมาเงินกู้ครั้งนี้บางส่วนจะกลายเป็นโครงการเล็กๆเป็นเส้นเลือดฝอยแทนที่จะเป็นโครงการใหญ่สำคัญๆ ตามที่รัฐบาลอ้างเพราะรายการในบัญชีแนบท้ายที่มีผลบังคับตามกฎหมายนั้นระบุยอดเงินรวมๆเป็นก้อนใหญ่ตาม “แผน” แต่ไม่ได้ระบุย่อยเป็นชื่อและจำนวนเงินตาม “โครงการ” การที่สภาผ่านกฎหมายเงินกู้ฉบับนี้ก็เหมือนให้ “เช็คเปล่า”รัฐบาลไปนั่นเองเพราะสามารถเปลี่ยนแปลงโครงการได้ และสุดท้ายเมื่อรัฐบาลกล้าเสี่ยงขัดกฎหมายจะส่งผลให้ประมาณการทางเศรษฐกิจจากหลายสำนักคลาดเคลื่อนเพราะ “รายจ่ายภาครัฐ” ที่เป็นความหวังเดียวที่จะทำให้ตัวเลขการเจริญเติบโตเป็นไปตามเป้านั้นไม่สามารถเบิกจ่ายทันในปลายปีนี้แน่นอน
Edited by Stargate-1, 23 กันยายน พ.ศ. 2556 - 18:02.