ดูคำแถลงการณ์ร่วมกันชัดๆ นพดลและรัฐบาลสมัคร เคยปกป้องพื้นที่ด้านซ้ายของตัวปราสาทไว้ได้ แต่วันนี้ไทยเสียสิทธิไปแล้ว <--- คือสาเหตุที่ทำให้เขมรนำไปฟ้องศาลโลก
http://pantip.com/topic/31229919
จริงหลายฝ่ายเขาประ้เมินมาตั้งนานแล้ว --ถ้าขึ้นศาลโลก-- อีกครั้้งจะสูญเสีย --เขาทั้งลูก--
เพราะเส้นที่ขีด 2505 ไม่เป็นธรรมชาติ+ปิดทางขึ้นปราสาทให้ขึ้นได้--อย่างยากลำบาก-- <---- เขมรทำทุกวิถีทาง ทีแรกให้ไส้ศึกมาแถลงการร่วม ก็ไม่สำเร็จ เขาจับได้ ก็หาเหตุอื่นมาอยู่ดี โดยนำมาเป็นเหตุของการฟ้องศาลโลก ว่าไทยเอาทหารขึ้นไปในเขตปราสาท
ยกเลิกแถลงการณ์ร่วม...ชนวนเหตุทำไทยเสียเปรียบ <---- สาเหตุที่เขมรฟ้องมาจากการที่สมัครให้ทหารขึ้นไปบนเขาต่างหาก ที่ทำให้ศาลรับฟ้อง
http://topicstock.pa...8/P6827568.html
ความคิดเห็นที่ 39 25 ก.ค. 51
#38 เรื่องศาลโลก ไม่มีทางกลับไปขึ้นได้
เพราะไทย ไม่ได้ต่ออายุแล้ว และต้องเป็นความยินยอมทั้ง 2 รัฐ
แต่
ถ้า รัฐไทย และประชาชนไทย ใช้แนวคิดแบบ ผู้นำฝ่ายค้าน(ปชป)
ว่าไทย -ไม่เคย- คืนดินแดนประสาทพระวิหาร- ตามคำพิพากษาศาลโลก
กัมพูชา ยังจะสามารถใช้ สิทธิ ให้ UN สั่ง รัฐไทย ให้ทำตาม
คำพิพากษาศาลโลก (โดยไม่ต้องขึ้นศาลอีก) <--- ข้อสองต่างหาก ที่ทหารไม่ยอมถอนออกจากปราสาทและบริเวณข้างเคียง
รับรองได้เลยว่า เขตแดนตาม L7017 ได้กุด ทั้ง -เขาพระวิหาร- <---- mmmmm ดูแผนที่เป็นไหม ลองดูซิว่า จะแปลงเส้นเขตแดนตาม 1:200,000 ไปลงในพื้นที่จริงทำได้อย่างไร ดูจากข้างล่างเลยว่าจะทำได้อย่างไร ในเมื่อแผนที่ 1:200,000 มันเขียนออกมาโดยไม่ตรงกับพื้นที่จริง เช่น จุดที่หน้าผาเป้ยตาดี ก็ผิดตำแหน่งไป ตำแหน่งในแผนที่ 1:200,000 ทำผิดตำแหน่งไป 1.98 กิโลเมตร
ไม่ใช่ตาม มติครม 2505 แน่นอน
ส่วนเรื่องพื้นที่ ทับซ้อน ที่ไม่เกี่ยวกับ -เขาพระวิหาร- ทั้งลูก
ไทยเสียเปรียบมากใน เวทีโลก และ การเจรจาระหว่างรัฐ
หลักฐานที่ไทย มี
1. สนธิสัญญา 1904-1907 +แผนที่ (ซึ่งก็เคยนำมาใช้ใน ราชการ รัฐสยาม)
2. L7017 ที่ไทยประกาศฝ่ายเดียวแต่ไม่ได้ถูกใช้ใน MOU และ L7017 เกิดหลังปี 2505
3. ไทย พระราชกฤษฎีกา2541 ป่าพระวิหาร (อิง L7017) ก็เหมือนที่ กัมพูชา พระราชกฤษฎีกาประสาทพระวิหาร 2549
4. ๒๔๘๓ พฤศจิกายน สงครามอินโดจีนระหว่างไทย-ฝรั่งเศส
๒๔๘๔ ต้นปี ไทยกับฝรั่งเศสทำ “อนุสัญญาโตกิโอ” เพื่อยุติสงคราม ส่งผลให้ไทยได้เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ รวมถึงปราสาทพระวิหาร กลับมาอยู่ในอาณาเขต ก่อนที่กองทัพญี่ปุ่นจะยกพลขึ้นบกช่วงปลายปี ทำให้ไทยต้องเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ในฐานะพันธมิตรญี่ปุ่น เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ไทยต้องคืนจังหวัดที่ได้มาทั้งหมดกลับคืนฝรั่งเศสตามเดิม
กัมพูชามี
1 ไทยยอม การมีอยู่ทั้งหมดของสนธิสัญญา+แผนที่ (MOU 2543)
2 คนกัมพูชาอาศัยอยู่
3 รัฐไทย ห้ามประชาชนเข้าไปอยู่ หรือ เก็บกินของป่า ตามประกาศป่าพระวิหาร
4 มีแนวรั้ว ของ ไทย
5 คำพิพากษาศาลโลก ที่อ้างสนธิสัญญา+แผนที่ อย่างคุมเคลือถึงพื้นที่ทับซ้อน
6 การบุกยึด อาณานิคมของฝรั่งเศส ในปลายสงครามโลกคครั้งที่ 2 ก่อนหน้านั้น สยามไม่เคยทักท้วง
หรือมีกองกำลังทหารเหนือดินแดนตั้งกล่าว
7 เพื่อไม่ให้เป็นผู้แพ้สงคราม รัฐไทย จึงคืนดินแดนให้ฝรั่งเศส แต่ คืนครบหรือปล่าว !!!
8 อันนี้ตลกหน่อยแต่ใช้ได้_ดี_ กับ(ทุ่น)ระเบิด ของกัมพูชา ในพื้นที่ทับซ้อน
ที่เก็บกู้โดย ทหารกัมพูชา
--------------------------------
แต่ถ้าไทยเงียบ กัมพูชาเงียบ แล้วพัฒนาเศรษฐกิจ ร่วมกันทุกก็ไม่่มีปัญหา
แต่พร้อมที่จะประทุ ทุกโอกาส ถ้ามีใครนำเล่นทางการเมือง
จากคุณ : mcu51 - [ 25 ก.ค. 51 14:42:57 A:124.120.251.145 X: ]
mmmmm ดูจากในนี้หากอ่านออกนะ เพราะเมียคนไทย คงอ่านแล้วไม่รู้เรื่อง คงแปลให้เองไม่ได้
http://www.sarakadee...06/preahvihear/
ที่สภา
mmmmm อ่านออกไหม ที่ทำตัวแดงไว้ข้างบน ขอโทษด้วยเขียนเป็นภาษาเขมรไม่ได้ หากอ่านไม่ออก ให้เมียคนไทยแปลให้ก็ได้
http://webboard.seri...าร/#entry570625
หนึ่งในผู้ที่มีความพยายามและน่าชื่นชมที่ทุ่มเทค้นหาความจริง คือเพื่อนในเฟสบุ๊คคนหนึ่ง ชื่อ Chayut Ratanapong ได้เขียนบทความลงในเฟสบุ๊คของตัวเองชื่อ “แผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 จงใจเลื่อนตำแหน่งเขาพระวิหารหรือไม่? ซึ่งได้นำแผนที่ของกัมพูชาซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวซึ่งจัดทำขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1908 มาเทียบกับเทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมของกูเกิล เอิร์ธ แล้วพบว่า:
แผนที่ดังกล่าวเป็นแผนที่ซึ่งไม่ถูกต้องและเป็นเท็จ โดยเฉพาะแนวสันปันน้ำตามแนวหน้าผาในระวางดงรักนั้นคาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอย่างมาก เป็นผลทำให้แผนที่ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวผิดพลาดห่างจาก “สันปันน้ำและหน้าผาจริง” กินเข้ามาในดินแดนไทยถึง 4.49 กิโลเมตร ในขณะที่บางจุดก่อนถึงช่องสะงำผิดพลาดกินล้ำเข้ามาในดินแดนไทยไปถึง 9.78 กิโลเมตร โดย ขออนุญาตนำความบางตอนที่สำคัญในบทความของ Chayut Ratanapong ดังนี้
ภาพแสดงเปรียบเทียบ เส้นสีแดงได้มาจาก กูเกิล เอิรธ์ วัดตำแหน่งเส้นรุ้งและเส้นแวง เทียบกับแนวหน้าผาและเส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งเป็นเท็จและไม่สามารถยึดตามแผนที่ของฝรั่งเศสได้ โดยในภาพนี้อธิบายสีของแต่ละเส้นดังนี้คือ เส้นสีเทาแนวนอน: เส้นรุ้ง(Latitude) 14 องศา 20 ลิปดา เหนือ (N), เส้นสีเทาแนวตั้ง: เส้นแวง(Longitude) 104 องศา 40 ลิปดาตะวันออก(E) , เส้นสีม่วง: เส้นเขตแดนประเทศที่ฝรั่งเศสเขียนคลาดเคลื่อน, เส้นสีแดง: แนวขอบหน้าผาต่างระดับตามภูมิประเทศจริง, เส้นสีน้ำเงิน: หน้าผาเป้ยตาดีจริงแตกต่างกับหน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่ 1.98 km, เส้นสีฟ้าอมเขียว: หน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่แตกต่างกับเส้นเขตแดนในแผนที่ 2.51 km, รวมเส้นสีน้ำเงินและเส้นสีฟ้าอมเขียว เป็นระยะทาง 4.49 km
เส้นสีแดงคือแนวขอบหน้าผาต่างระดับที่น่าจะตรงกับคำว่า "จนบรรจบภูเขาผาต่าง" ใน ข้อ 1 ของอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เส้นสีแดงนี้ได้มาจากภาพแผนที่ของ Google Earth ซึ่งถ่ายระยะไกลจากดาวเทียมด้วยความละเอียดสูง จึงมีความแม่นยำมากกว่าแผนที่ทหาร (Datum: Indian Thailand) มาตราส่วน 1: 50,000
เมื่อเทียบระยะกับเส้นรุ้ง-เส้นแวง ก็สังเกตได้ชัดว่า เส้นชั้นความสูงที่เป็นรูปร่างของเขาพระวิหารนั้น ถูกฝรั่งเศสเขียนให้ผิดตำแหน่ง โดยหน้าผาเป้ยตาดีผิดตำแหน่งจาก Latitude 14 องศา 23.3794 ลิปดา เป็น 14 องศา 24.3616 ลิปดา ซึ่งล้ำดินแดนสยาม 1.98 กิโลเมตร
ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดนโดยเทียบระยะกับรูปร่างของภาพที่เป็นแนวหน้าผา … เมื่อแนวหน้าผาล้ำดินแดนขึ้นมาในแนว Latitude แนวเส้นเขตแดนจึงย่อมล้ำดินแดนขึ้นมาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหารล้ำแนวเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนสยาม 2.51 กิโลเมตร
การเขียนรูปร่างภูมิประเทศให้ผิดตำแหน่ง Latitude เช่นนี้ ฝรั่งเศสจะจงใจหรือไม่ก็ตาม แต่มีผลให้รู้สึกว่า แนวเส้นเขตแดนล้ำดินแดนสยามไม่มาก … แต่ในการปักปันเขตแดนจำต้องปักหลักเขตแดนตาม Coordinate ของเส้นรุ้งเส้นแวง ฉะนั้น เส้นเขตแดนในแผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 จึงล้ำเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนไทยมากถึง 4.49 กิโลเมตร
ถ้าใช้หลักการนี้ ก็จะพบว่าบางพื้นที่อย่างเช่นกรณีใกล้ๆกับช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ แผนที่ของฝรั่งเศสผิดพลาดจากแผนที่ตาม กูเกิล เอิรธ์ ถึง 9.78 กิโลเมตร