Jump to content


Photo
- - - - -

ว่าด้วยความไม่รู้.....!


  • Please log in to reply
11 ความเห็นในกระทู้นี้

#1 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 21:24

6 มีนาคม 2014

วรากรณ์ สามโกเศศ
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

 

สมาชิกโลกและสมาชิกสังคมของเราต่างไขว่คว้าหาความรู้กันอยู่ตลอดเวลา เพื่อหวังว่าจะนำไปสู่การตัดสินใจที่ถูกต้องเหมาะสม อย่างไรก็ดียังมีสิ่งที่มีความสำคัญเช่นเดียวกันนั่นก็คือความไม่รู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิ่งที่เรามองมักข้ามอยู่เสมอซึ่งได้แก่ “ความไม่รู้ว่าเราไม่รู้”

 

ความรู้มาจากการแปรเปลี่ยนข้อมูล (data) เป็นสารสนเทศ (information) และเป็นความรู้อีกที่หนึ่ง ตัวอย่างเช่นรู้สึกเหนื่อยง่าย บางครั้งก็ปวดตรงหัวใจและหัวใจเต้นแรงและเร็วนี่คือข้อมูล หากเอาข้อมูลเหล่านี้มาประติดประต่อวิเคราะห์เป็นแบบแผนจะด้วยตนเองหรือ แพทย์ก็ตามก็จะได้สารสนเทศ (information) และเมื่อมาสังเคราะห์ลึกซึ้งขึ้นด้วยเครื่องมือก็จะได้ความรู้ว่าเป็นโรค หัวใจ หากรู้จักใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ก็คือปัญญา (wisdom) กล่าวคือไม่ประมาท ดูแลตัวเองให้ดีขึ้น ฯลฯ

 

ในสังคมของเราที่มีปัญหาอยู่มากมายไม่น้อยหน้าสังคมอื่น ๆ นั้น เรามีเรื่องที่ไม่รู้หรือรู้ไม่จริงอยู่มากมายจนละเลยบางเรื่องที่สำคัญไป หรือตัดสินใจผิด ๆ เพราะมีความรู้ที่กระพร่องกระแพร่ง มีอยู่หลายตัวอย่างที่เราไม่รู้อย่างน่ากลัว

 

ในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศของเรากำลังขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร การประมง ตลอดจนการบริโภค สัญญาณที่เห็นในปัจจุบันก็คือระดับน้ำที่ลดลงในคูคลอง แม่น้ำ ความแห้งแล้งของแหล่งน้ำที่เคยอุดมสมบูรณ์ และความเค็มของน้ำที่มีดีกรีสูงขึ้นอย่างผิดสังเกต อันเป็นผลมาจากการลดลงของปริมาณน้ำจืด และแรงดันของน้ำเค็ม

 

หน่วยงานน้ำสำคัญเช่น สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน)ของ ดร.รอยล จิตรดอน มีข้อมูลเกี่ยวกับน้ำอย่างเกือบสมบูรณ์แบบ จนสามารถช่วยในการตัดสินใจป้องกันและแก้ไขในวันนี้ได้ในระดับหนึ่ง แต่ผู้บริหารเรื่องน้ำและสมาชิกสังคมของเราส่วนใหญ่ไม่ตระหนักเรื่องนี้ อย่างจริงจังจนเรียกได้ว่าอยู่ใน “ความไม่รู้ว่าเราไม่รู้” ว่าความหายนะกำลังคืบคลานมา

 

เราคุ้นเคยกับน้ำท่วมใน 3 ปีที่ผ่านมาจนถูกครอบงำด้วยความรู้สึกว่าบ้านเราอุดมไปด้วยน้ำ เรามีความ ‘ความไม่รู้ว่าเราไม่รู้’ จนไม่คิดว่าความแล้งและความขาดแคลนน้ำกำลังคืบเข้ามาอย่างน่ากลัว

 

‘ความไม่รู้ว่าไม่รู้’ เปรียบเสมือนมนต์ดำบังตา มนุษย์ นักเศรษฐศาสตร์เคยเชื่อว่าวิกฤติเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในโลกทุนนิยมดังที่เกิด ขึ้นในปี 2008 เป็นสิ่งที่ไม่มีทางเกิดขึ้นเพราะตลาดทุนที่ทำงานเสรีนั้นย่อมให้ข้อมูล เกือบสมบูรณ์แก่ผู้เกี่ยวข้อง ตราสารหนี้ประหลาด ๆ ที่มีผลตอบแทนจากอสังหาริมทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันนั้นปลอดภัย โดยหารู้ไม่ว่ามันสามารถดึงเศรษฐกิจโลกให้พังลงได้ดังที่เกิดขึ้น ‘ความไม่รู้ว่าไม่รู้’ นี่แหละทำให้ผู้คนต้องซับน้ำตากันมามากมายแล้วในหลายประเทศ

 

อีกตัวอย่างหนึ่งของสังคมเราที่เรานึกว่าเรารู้ดีแล้ว จนเกิด ‘ความไม่รู้ว่าเราไม่รู้’ เกิดขึ้นนั่นก็คือเรื่องของการเคลื่อนย้ายผู้คนเข้ามาในบ้านของเรา เรามีความรู้จากข้อมูลสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติเมื่อสองปีก่อนว่ามีแรง งานต่างชาติทั้งถูกกฎหมายและผิดกฎหมายอยู่ในบ้านเราประมาณ 5 ล้านคนในทุกภาคการผลิต และดูเหมือนว่าจะสามารถ “ดูแล” ได้ด้วยกฎหมายและการบังคับใช้ที่เป็นอยู่

 

หากมีผู้รับผิดชอบระดับชาติใส่ใจและนึกถึงประโยชน์ของคนในชาติอย่างแท้จริง ขยันเดินทางไปในหลายจังหวัดหรือแม้แต่กรุงเทพมหานครโดยพยายามมองหาข้อมูลใน เรื่องนี้ ก็จะตกใจ เพราะไม่เคยรู้ว่าตัวเองไม่รู้มาก่อนว่าแรงงานต่างชาติที่ว่านี้มีอยู่เป็น จำนวนมหาศาลในทุกแห่งหน

 

การมีแรงงานต่างชาติช่วยเศรษฐกิจบ้านเราอย่างมาก เพราะการขาดแคลนแรงงานในหลายภาคมีความรุนแรง แต่ก็แฝงไว้ด้วยปัญหาสังคมมากมาย ภาครัฐจะมีภาระการเงินหนักในการดูแลคนเหล่านี้ในเรื่องสาธารณสุข การศึกษา และความเป็นอยู่ของครอบครัวในอนาคต

 

สังคมของเราที่อ่อนแอในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายอย่างยิ่งจะทำให้เกิด อาชญากรรม สารพัดประเภทจากคนต่างชาติ การเกิดขึ้นของเจ้าพ่อเจ้าแม่ที่ประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย มีนอมินีในธุรกิจต่าง ๆ ตลอดจนแอบแฝงเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติของสังคมเราไปทั่ว ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ยัง “ไม่รู้ว่าเราไม่รู้”

 

โครงการจำนำข้าวก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งของ ‘การไม่รู้ว่าไม่รู้’ ไวรัส ประชานิยมระบาดหนักจนคิดว่าจะทำอะไรก็ทำได้ด้วยเงินเพราะมั่นใจว่าได้คะแนน ทุกครั้ง แต่หารู้ไม่ว่าไทยไม่สามารถมีอิทธิพลต่อราคาข้าวตลาดโลกและส่งออกได้ดังฝัน เหนือสิ่งอื่นใดมันมีการโกงกันทุกขั้นตอนมโหฬารอย่างนึกไม่ถึง แถมมีข้าวจากพม่า ลาว และเขมร เข้ามาขายในปริมาณที่คาดไม่ถึงจนต้องใช้เงินจำนวนมหาศาลจนขาดสภาพคล่อง

 

ที่ชัดที่สุดของ ‘การไม่รู้ว่าไม่รู้’ ก็คือเรื่องร่างกฎหมายนิรโทษกรรมสุดซอยตลอดจนพฤติกรรมใช้อำนาจบาตรใหญ่ในสภา จนไปสะกิดต่อม ‘ทนไม่ไหว’ ของคนไทยจำนวนมาก และก็เกิดสิ่งที่ตามมาอย่างไม่มีใครสามารถคาดได้

 

‘ความไม่รู้ว่าไม่รู้’ ครั้งสำคัญอาจอาละวาดผู้คนในสังคมนี้อีกเมื่อใดก็ไม่อาจคาดเดาได้ ดีที่สุดก็คืออย่าไปประมาทมันเป็นดีที่สุด

หมายเหตุ: คอลัมน์ “อาหารสมอง” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2557

 

http://thaipublica.o...4/03/ignorance/

 


เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#2 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 21:25

น่าอ่านมากครับ...ว่าด้วย"ความไม่รู้" ...โดย อ.วรากรณ์ สามโกเศส

ผมคิดว่า ข้อเสนอของกลุ่ม"คนดี" เกี่ยวกับการ"ปฏิรูปพลังงาน"นั้น ถึงจะหวังดีแค่ไหน แต่มีความ"ไม่รู้"อยู่เยอะ ที่น่ากลัวกว่าคือ"ความไม่รู้ว่าเราไม่รู้" แถมหลายคนพยายามที่จะปิดหูปิดตา ไม่ยอมรับรู้เสียอีก

ความหวังดีโดยที่"ไม่รู้ว่าไม่รู้" อย่างนี้แหละครับ อาจทำลายเศรษฐกิจสังคม ได้รุนแรง พอๆกับ "พรบ.เหมาเข่ง" และ "จำนำข้าว"ได้เลยทีเดียว

เอ๊ะ....ยังมีอะไรที่ผมยังไม่รู้อยู่อีกเยอะนี่นา ...เห็นทีต้องไปหาความรู้เรื่องนี้เพิ่มอีกแล้ว

เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#3 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 21:27

anyong Pongpanich

"ปฏิรูปพลังงาน" ....ทำอะไร เพื่ออะไร ข้อมูลที่แท้จริงเป็นอย่างไร. (3 มีค. 2557)

เวลานี้ มีกระแส มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง ผลักดันให้มี"การปฏิรูปพลังงาน" เป็นการใหญ่ และเร่งด่วน และพยายามผลักดันให้เป็นวาระสำคัญแห่งชาติ ต้องการให้ กปปส. บรรจุเป็นเรื่องสำคัญต้นๆ ในการ"ปฏิรูปประเทศ" มีการขึ้นพูดปลุกเร้าตามเวทีประท้วง ผมไม่แน่ใจว่าท่านกำนันเลขาฯกปปส.ท่านมีความเห็นอย่างไร แต่ได้ยินว่าหลวงปู่ผู้คุมเวทีแจ้งวัฒนะ ได้ระบุเป็นวาระไปแล้ว หลังจากฟังอธิบายความจากกลุ่มผู้ผลักดันแต่เพียงข้างเดียว (นี่แหละครับ การจะปฏิรูปอะไรกลางสี่แยก มันก็ยากที่จะลงรายละเอียดได้ครบถ้วน แล้วแต่ใครจะชิงพูด ชิงตะโกนก่อน)

ผมต้องขอออกตัวก่อนว่า ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องพลังงาน แต่เนื่องจากเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่ของระบบเศรษฐกิจ อีกทั้งข้อเสนอของกลุ่มปฏิรูป กินเลยไปถึงการทวงคืนปตท. ซึ่งถึงแม้จะยังไม่ลงรายละเอียดว่า จะทวงอย่างไร ใช้ยึดเอาดื้อๆ ใช้เวรคืนราคาถูก หรือซื้อคืนราคาตลาด ซึ่งไม่ว่าจะทำอย่างไร ก็จะมีผลกระทบกับตลาดทุน และเศรษฐกิจอย่างมหาศาลทั้งนั้น ตั้งแต่ระดับมาก ไปจนถึงวินาศย่อยยับ จึงคิดว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องขอร่วมแสดงความเห็นตามภูมิเท่าที่รู้ ซึ่งก็ไม่ได้ยืนยันว่าจะถูกต้องทุกประการ เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันได้จนกว่าความจริงจะกระจ่างทั้งหมด

สิ่งที่หลายคน รวมทั้งผมยังสับสน คือข้อมูล ข้อเท็จจริงทั้งหลายเกี่ยวกับพลังงาน ซึ่งยังมีความแตกต่างหลากหลายกันอยู่มาก ในหลายๆประเด็น ซึ่งผมขอแยกแยะดังนี้นะครับ

ประเด็นแรก เริ่มจากต้นนำ้เลย แหล่งพลังงานที่เรามีอยู่ ปริมาณสำรองนำมันดิบ และก๊าซ เป็นอย่างไร เราผลิตใช้เท่าใด จะมีเหลือใช้ได้อีกนานไหม ฝ่าย"ปฏิรูปฯ"บอกว่า เรามีมหาศาล เรียกได้ว่าเป็น "ซาอุฯแห่งตะวันออกไกล"เลยทีเดียว แต่ข้อมูลที่เป็นทางการ ณ ปี 2554 กลับบอกว่า เรามี Proven Reserve (ปริมาณสำรองที่ยืนยันการค้นพบแล้ว) อยู่ไม่มาก มีก๊าซแค่ 10 ล้านล้าน ลบ.ฟุต ถ้าใช้ในอัตราปัจจุบัน แค่ 11 ปีก็หมด มีคอนเดนเสท 239 ล้านบาร์เรล ใช้ได้ 8 ปี มีนำ้มันดิบ 215 ล้านบาร์เรลใช้ได้แค่ 4 ปี แต่ถ้ารวม Probable Reserve (ปริมาณที่อาจพบ) และ Possible Reserve (ปริมาณที่น่าจะพบ) เข้าไปด้วย แล้ว applyสถิติที่เคยพบ คือ 20% กับ10% ก็จะทำให้ยืดอายุไปได้ ก๊าซเป็น 14 ปี คอนเดนเสทเป็น 11 ปี นำ้มันดิบเป็น 6 ปี นอกจากจะฟลุค เจอเต็ม 100% ทั้ง Probable ทั้ง Possible ก็ยืดอายุไปได้เป็น 30 23 และ 16 ปีตามลำดับ ซึ่งนับแล้วก็จิ๊บจ้อย เรามีนำ้มันดิบรวมคอนเดนเสทสำรองแค่ 450 ล้านบาร์เรล อยู่อันดับ 48 ของโลก เทียบกับซาอุฯที่มี 266 พันล้านบาร์เรล ห่างกันไม่เห็นฝุ่น 500 เท่าตัว หรือแม้แต่ เทียบกับ มาเลเซียที่มี 3,700 ล้าน ก็ยังน้อยกว่าร่วมแปดเท่า(แต่เราใช้นำ้มันมากกว่ามาเลย์เกือบเท่าตัว) หรือ ก๊าซสำรอง เราก็มีแค่ 285 แสนล้านลบ.เมตร เป็นแค่ 3 % ของซาอุ ที่มี 8.2 ล้านๆลบ.เมตร หรือมาเลย์ก็มี 1.3 ล้านล้าน ห้าเท่าของเรา

สรุปได้ตรงนี้เลยว่า ที่คุยที่โม้ว่าเราเป็นประเทศโชคดี แบบฟ้าประทานเหมือนซาอุ มีนำ้มัน มีก๊าซเหลือเฟือนั้น ไม่น่าจะจริง แล้วไอ้ 11 ปี 8 ปี 4 ปี นี่มันแค่แป๊บเดียวนะครับ อย่าว่าจะพอถึงลูกถึงหลานเลย คนรุ่นผมยังอยู่กันครบเลยครับ แล้วจะเอาที่ไหนมาใช้ ถ้าไม่หาเพิ่ม ถ้าไม่เปลี่ยนไอ้ Probable กับ Possible ให้มันกลายเป็นของจริงเอามาใช้ได้ อีกไม่นานก็ต้องนำเข้า 100% ปัญหามันก็อยู่ที่การจัดหาคนมาขุดเจาะลงทุนเสี่ยงเพิ่มให้ทันการ ในปัจจุบันเรามีระบบให้สัมปทาน Thailand 1 กับ Thailand 3 ซึ่งหลายฝ่ายโจมตีว่าให้ประโยชน์เอกชนมากไป ความจริงเราเคยเอา Thailand 2 มาใช้ในปี 1982 เพื่อเอาประโยชน์จากเอกชนให้มาก แต่ปรากฎว่าไม่มีใครคิดว่าคุ้ม ไม่มีคนลงทุนเลย เลยต้องปรับเป็น Thailand3 ซึ่งเป็นระบบถ้าเจอน้อยแบ่งน้อย เจอมากแบ่งมาก เพื่อให้เหมาะสมกับความเสี่ยงในการลงทุน ลักษณะบ่อก๊าซและนำ้มันในไทยได้ชื่อ ว่าขุดยากทำยาก ต้นทุนสูง ตัวอย่างเช่น แหล่งก๊าซบงกชซึ่งใหญ่สุดในไทย ผลิตแก๊ซได้วันละ 900 ล้านลบ.ฟุต ต้องใช้หลุมเจาะตั้งกว่า 400 หลุม ขณะที่แหล่ง ยาดานาที่พม่า ซึ่ง ปตทสผ.ก็เป็น Operator เหมือนกัน ผลิตวันละ 800 ล้านลบ.ฟุต ใช้หลุมผลิตแค่ 12 หลุม เห็นไหมล่ะครับของเรานอกจากมีน้อยแล้ว ยังเหนียมอายซ่อนตัว หายากเจาะยาก จะให้เรียกค่าตัวโขกสับสินสอด เลยไม่ค่อยมีใครมาสู่ขอสักเท่าใด ใช้วิธีตะโกนขู่ ไม่มีใครอยากลงทุนพอดี แถมมีการตะคอกจะเอาอย่างคุณชาเวซ ยึดมาเป็นของรัฐ นักลงทุนเลยเผ่นหมด (เวเนซูเอลลา มีนำ้มันสำรองมากที่สุดในโลก สามแสนล้านบาร์เรล แต่ผลิตได้แค่ 2.7 ล้าน อันดับ 11 และเป็นประเทศที่ศก.ล้มเหลวถดถอย)

ประเด็นที่สอง เป็นเรื่องของการผลิต ซึ่งก็คือการนำเอา Reserve ออกมาใช้ ซึ่งรวมไปถึงการนำเข้าวัตถุดิบที่ขาด นำมาแปรรูปเพื่อใช้งาน และอาจมีเหลือส่งออกได้ในบางส่วน บางproduct ก่อนปี 2524 เรานำเข้าเกือบ 100% บางส่วนเป็นนำ้มันดิบ บางส่วนเป็นนำ้มันสำเร็จรูป พอเราค้นพบก๊าซ คอนเดนเสต และนำ้มันดิบในยุค"โชติช่วงชัชวาลย์"แล้ว เราก็เริ่มนำวัตถุดิบปิโตรเลียมมาใช้ โดยมีโรงกลั่นนำ้มัน และ โรงแยกก๊าซ ทำหน้าที่ อุตสาหกรรมปิโตรเลียมกลางนำ้(Mid- Stream)

ก่อนปี 2524 ที่เราจะพบวัตถุดิบ และเริ่มนำมาใช้ เรานำเข้าพลังงานเกือบร้อยเปอร์เซ็น ทั้งนำ้มันดิบ และนำ้มันสำเร็จรูป โดยมีโรงกลั่นนำ้มัน แค่สามแห่ง คือ ไทยออยล์ กับ Esso ของเอกชน กับ โรงกลั่นบางจากของ กรมพลังงานทหาร มีกำลังการกลั่นรวมแค่ 175,000 บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่การบริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสูงกว่า 250,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งกิจการกลั่นนำ้มันเหล่านี้ต้องเสียภาษีให้กับรัฐสูงกว่าธุรกิจอื่นๆ (ประมาณ 50% ของกำไร) จึงไม่ค่อยมีการขยายตัวลงทุนเพิ่ม

ประมาณต้นทศวรรษ 2530s รัฐต้องการส่งเสริมให้เพิ่มกำลังผลิตการกลั่น เพื่อรองรับอุปสงค์ที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว และรองรับนำ้มันดิบและคอนเดนเสทที่เราขุดพบ มีการออกใบอนุญาติให้เจ้าเดิมทั้งสาม ขยาย กับใบอนุญาติเพิ่ม ให้ เชลล์ (Rayong Refinery) กับคาลเท็กซ์ (Star Refinery) ตั้งโรงงานเพิ่ม ประกอบกับ TPI ของคุณประชัยแอบตั้งเพิ่มอีกโรง จนทำให้ปริมาณกำลังการกลั่นขยายตัวอย่างมาก จนปัจจุบัน มีกำลังผลิตรวม 1,090,000 บาร์เรลต่อวันในหกโรง ซึ่งสามโรงกลั่น อยู่ภายใต้การบริหารของปตท.กำลังผลิตรวม ประมาณ 65%

เพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนโรงกลั่น รัฐได้ให้การส่งเสริมหลายอย่าง รวมทั้งตั้งเงื่อนไขด้วย รวมทั้งได้กำหนดราคาขาย ให้เป็นระบบ Import Parity กล่าวคือ ให้ขายในราคาของสิงคโปร์(Singapore Price)บวกด้วยค่าขนส่ง ทั้งนี้เพราะ ราคาสิงคโปร์ เป็นราคาตลาดในย่านนี้ ที่กำหนดโดย อุปสงค์อุปทาน ในตลาดนำ้มัน สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการค้านำ้มันมานาน และราคาที่ผ่านมาก็สะท้อนราคาตลาดโลกเป็นอย่างดี Oil Refinery Margin ของเราก็ไม่ได้สูงจนเกิดกำไรผิดปกติแต่อย่างใด (ปัจจุบันอยู่ระหว่าง 4-5 เหรียญต่อบาร์เรล) กำไรก็แค่พอคุ้มค่ากับการลงทุนเท่านั้น

จริงๆแล้ว ในปัจจุบัน กิจการกลั่นนำ้มันแต่อย่างเดียว ไม่ใช่ธุรกิจที่ดี ไม่ใคร่มีใครอยากลงทุน นักลงทุนก็ไม่ให้ราคา(สังเกตุได้จากราคาหุ้นโรงกลั่น) อย่างตอนวิกฤติ 2540 โรงกลั่นทุกแห่งในไทยประสพปัญหาหนัก เรียกได้ว่าเจ๊งยับ ปตท.ต้องเข้าช่วยเหลือหลายแห่ง เลยทำให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เกือบหมด

เรื่องการกลั่นและราคาหน้าโรงกลั่นนี้ เป็นประเด็นที่ถูกโจมตีมาก ถ้าจะไม่อิงสิงคโปร์ ก็ต้องแน่ใจได้ว่าสะท้อนราคาตลาด ไม่มีใคร Dominate ได้ เช่น ต้องให้ปตท.ลดสัดส่วนในตลาด หรือให้ปตท.ต้องเข้าอยู่ภายใต้ พรบ.การแข่งขันทางการค้า ไม่ยกเว้นให้ในฐานะ รสก. (แต่ก็อีกนั่นแหละ ตัวพรบ.ก็ยังใช้การไม่ค่อยได้อยู่เลย) หรือถ้าจะยังอิงสิงคโปร์อยู่ ก็อาจจะแค่ปรับเรื่องค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายที่ให้บวกให้ลดลง(ซึ่งผมคิดว่าวิธีนี้น่าจะดีที่สุดในภาวะปัจจุบัน) แต่ที่แน่ๆ ผมไม่เห็นว่า การยึดคืนปตท.จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร กลับจะทำให้เกิดปัญหาระยะยาวต่อไปอีกมากมาย

อีกอย่างในเรื่องการกลั่นนั้น ปัจจุบันเรามีcapacity มากกว่าอุปสงค์อยู่ พอสมควร (ประมาณ 200,000บาร์เรลต่อวัน) กับทั้งหน่วยกลั่นแต่ละแห่งมีเทคนิ คแตกต่างกัน ใส่นำ้มันดิบแต่ละประเภทเข้าไป กลั่นออกมาได็ Product Mix ต่างๆ บางอย่างขาด บางอย่างเกิน โดยรวมเราเลยมีการนำเข้านำ้มันดิบเกิน และมีส่งออก ผลิตภัณฑ์นำ้มันประมาณวันละ สองแสนบาร์เรล และแน่นอน ราคาส่งออกได้น้อยกว่าราคาขายในนี้บ้าง แต่ถ้าเอาราคาขายปลีกมาเทียบมันคนละเรื่องกัน เพราะเราไม่สามารถส่งออกภาษีไปให้ชาวโลกเขาบริโภคได้

ประเด็นที่สาม เป็นเรื่องของท่อก๊าซ และ โรงแยกก๊าซ ซึ่งยังเป็นส่วนของ Midstream อยู่ ในปัจจุบัน ดูเหมือน ปตท.จะยัง Monopoly อยู่ เพราะท่อก๊าซมักจะเป็น Oligopoly โดยธรรมชาติ (เพราะขืนทุกคนสร้างท่อก็เจ๊งเรียบ เพราะไม่คุ้ม) แต่จริงๆก็มีระบบที่เรียกว่า Third Party Access ที่ใช้กันทั่วโลกที่จะทำให้ทำลายอำนาจ Monopoly ลงได้ ซึ่งความจริง ในคราวเอาปตท.เข้าตลาด ได้มีการสัญญาว่าจะจัดให้มีโดยเร็ว แต่ไปถูกยกเลิกในยุค ทักษิณ1 แต่ในที่สุดเมื่อคราวรัฐบาลขิงแก่ ดร.ปิยสวัสดิ์ รมว.พลังงานได้ผลักดัน พรบ.กิจการพลังงาน ระบุเรื่องนี้ไว้แล้ว น่าจะ Implement ได้ในเร็ววันนี้ ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จ ปัญหา Monopoly ท่อก๊าซนี้ก็จะหมดไป ส่วนเรื่องโรงแยกก๊าซนั้น ปัจจุบันมีอยู่ 5 โรง กำลังประมาณ 1,800 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน เป็นของปตท.ทั้งหมด แต่ถ้าเมื่อมี Third Party Access ก็จะเปิดให้คนนอกสร้างได้ แต่ถ้าดูปริมาณ Proven Reserve ที่เรามี น่ากลัวไม่มีใครอยากลงทุน ยกเว้นก๊าซจากพม่า แต่เท่าที่ผมรู้ โรงแยกก๊าซนี่ไม่ได้มีกำไรมากมายอะไร

ประเด็นที่สี่ เป็นเรื่องของ อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ซึ่งถึงแม้ของ ปตท. จะมีสัดส่วนในอุตสาหกรรมสูง แต่ก็ไม่ถึงกับDominate อะไร มีผู้เล่นอื่นๆอีกมากมาย เช่น SCG ก็มีขนาดใหญ่แข่งกันได้ แถมมีกลไกตลาดที่ค่อนข้างดีคอยกำกับ นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีโครงสร้างค่อนข้างดี ทำให้ไทยขยายตัวในด้าน Downstream ของปิโตรเคมีดีทีเดียว เป็นอุตสาหกรรมหลักอย่างหนึ่งของชาติ

ประเด็นที่ห้า เป็นเรื่องของการค้าปลีกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ตั้งแต่นำ้มันเชื้อเพลิงเบนซินชนิดต่างๆ ดีเซล ไปจนถึง ก๊าซ NGV LPG ซึ่งเป็นเรื่องที่มีคนโวยวาย ว่าคนไทยใช้พลังงานในราคาแพงจนเกินเหตุ ไม่เหมือนหลายๆประเทศที่หยิบยก(แบบเลือกแต่ประเทศที่เค้ามีชดเชย subsidy เยอะๆ) และเป็นเรื่องที่มหาชนรู้สึกเดือดร้อนในวงกว้าง เลยถูกหยิบยกมาว่าถ้าปฏิรูปตามแนวที่เสนอ จะลดราคาได้เยอะ ลิตรละ ห้าบาท สิบบาทเลยทีเดียว ทำเอาคนตื่นเต้น พระสงฆ์องคเจ้าฟังแล้วพลอยเชื่อ ผมขออธิบายอย่างนี้ครับ

ราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์นำ้มันทุกชนิด ประกอบด้วยสามส่วน คือ ค่าตัวนำ้มัน ค่าการตลาด และภาษีต่างๆ ตั้งแต่ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล กองทุนนำ้มัน กองทุนอนุรักษ์ และ VAT รวมกันเป็นราคาที่เราต้องจ่ายที่หน้าปั๊ม ค่านำ้มันเป็นไปตามราคาหน้าโรงกลั่นซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ลิตรละ 24.8-26.7บาท ค่าการตลาดที่บริษัทนำ้มันรวมทั้งเจ้าของปั๊มได้(รวมค่าขนส่ง)อยู่ที่ลิตรละ1.5-2.5 บาทเท่านั้น แต่เป็นค่าภาษีรวมกองทุนต่างๆอยู่ แตกต่างกันตั้งแต่ ดีเซล แค่ลิตรละ 1.7 บาท ถึงเบนซินธรรมดาสูงสุดลิตรละ ตั้ง 21.1 บาท ส่วนพวกแกซโซฮอล รัฐเก็บอยู่ระหว่างลิตรละ 7.4 - 13.1 บาท ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายว่ารัฐจะ subsidy ผลิตภัณฑ์อะไรอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น รัฐอุดหนุนดีเซลเพราะเชื่อว่าคนจนใช้เยอะ เลยทำให้ดีเซลซึ่งราคาตลาดโลกแพงสุด คือ 26.7 บาท แต่ราคาขายปลีกถูกสุดที่ 30 บาทต่อลิตร แต่เบนซินธรรมดาที่ราคาตลาดอยู่ที่ 24.8 บาท แต่ผู้บริโภคต้องจ่าย 48 บาท/ ลิตร (นี่ผมก็ว่าจะไปถอย Mercedes S Class Diesel มารับ subsidyซักคัน)

ความจริงกิจการค้าปลีกนำ้มันนี่ไม่ได้มีกำไรดีอะไรเลย บริษัทต่างชาติ บ้างก็เลิก เช่น Jet Q8 บ้างก็หดตัว ที่ปตท.ยังขยายรองรับความต้องการอยู่ได้ ก็เป็นเพราะเอากำไรส่วนอื่นๆมาช่วยกับพยายามเพิ่มรายได้อื่นๆ เช่น ขายกาแฟ เปิดเซเว่น ซะมากกว่า

เรื่องโครงสร้างภาษี รวมไปถึงการ subsidy นี่แหละครับ ที่ถ้าจะปฏิรูปก็น่าจะทำ ขั้นแรก ก็ต้องดูก่อนว่า ระดับภาษีนี้ควรเป็นเท่าไร เราควรมีกองทุนไว้รักษาเสถียรภาพราคาไหม ซึ่งผมคิดว่าระดับโดยรวมที่เรามีอยู่น่าจะเหมาะสมดีแล้ว เพราะประเทศไทยก็ยังถือว่าเป็นประเทศที่ใช้พลังงานค่อนข้างฟุ่มเฟือย ไม่มีประสิทธิภาพ power consumption : GDP ยังสูงมาก ขืนไปกดราคาลง น่ากลัวจะยังฟุ่มเฟือยไหม ขั้นต่อไปก็เป็นเรื่องsubsidy ว่าควรเปลี่ยนจากการsubsidy ผลิตภัณฑ์ มาเป็นsubsidyกลุ่มคนที่ควรได้รับดีไหม จะๆด้ไม่เกิดการบิดเบี้ยวของอุปสงค์ เช่น เดี๋ยวนี้รถหรูใช้ดีเซลเยอะไป ส่วน มอไซด์กลับต้องใช้เบนซินที่ภาษีแพงสุด สู้เราปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามราคาตลาด แล้วใช้แจกคูปองให้กับผู้ควรได้รับ ไม่ดีกว่าหรือ การบิดเบือนต่างๆจะได้ลดได้หมด (เรื่องนี้ว่ารวมไปถึงเรื่อง ก๊าซ LPG NGV ด้วยเลย)

ผมคิดว่าประเทศไทยทำถูกที่ไม่ได้Net Subsidy เรื่องพลังงาน เพราะเราไม่ได้มีเหลือเฟือ (แต่ที่มีเหลือเฟืออย่างข้าวก็ดัน subsidy ด้วยแฮะ) โดยรวม เราได้ภาษีจากพลังงาน ปีละประมาณ 290,000 ล้านบาท โดยได้จาก Upstream 160,000ล้าน และจากผลิตภัณฑ์อีก 130,000 ล้านบาท ซึ่งชัดเจนว่าถ้าอยากลดราคาต้องลดจากส่วนของภาษีเป็นส่วนใหญ่

ประเด็นสุดท้าย คือเรื่องกำไรของ ปตท. ซึ่งถึงแม้จะยังมีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่ก็เป็นบริษัทมหาชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์(Market Cap 850,000ล้านบาท) อันดับ 2 คือ PTTEP ในเครือ ขนาด 610,000ล้านบาท และปตท.มีกำไรปีละ 95,000ล้านบาท เลยเกิดกระแส นัยว่าได้กำไรเกินควร ควรยึดกลับมาเป็นของรัฐ เสร็จแล้วก็จะได้ลดราคานำ้มันลงทันทีลิตรละ 5 บาท เพราะปตท.ขายนำ้มันปีละประมาณ 20,000 ล้านลิตร เป็นรัฐวิสาหกิจไม่เห็นต้องมีกำไร คืนให้ประชาชนหมดดีกว่า

ข้อเสนออย่างนี้ อยากเรียนว่า ไม่ทราบว่าใช้หัวแม่เท้าข้างไหนคิด เพราะถ้าทำอย่างนั้น บริษัทนำ้มันอื่นๆก็เจ๊งเรียบทันที จาก Market Share 40% ปตท.ก็เลยมีส่วนแบ่ง100% ต้องขาย 50,000ล้านลิตร 5 บาทก็เลยกลายเป็น 2 บาททันที แล้วอุตสาหกรรมพลังงานที่อุตส่าห์สร้าง วางโครงไว้อย่างดี มาตลอดหลายสิบปีก็คงพังครืน ในอนาคตเราจะมีปัญหามากมาย เรียกได้ว่าต้องขาดแคลนพลังงาน ผมเชื่อมั่นเลยว่า ถ้าเกิด"ทวงคืนปตท."จริงๆ เศรษฐกิจไทยต้องถดถอยอย่างน้อย 5 % อย่างแน่นอน อย่าว่าแต่วิธีจะทำอย่างไร จะเอาเงินที่ไหนไปทวงคืน ถ้า.ื้อราคาตลาด ก็เพิ่มหนี้สาธารณะทันที 5%ของGDP (รวม PTTEP) เอาเงินไปทำอย่างอื่นดีกว่าเยอะครับ(ยก เว้นจำนำข้าว) หรือถ้ายึดคืนเฉยๆ หรือบังคับซื้อถูกๆ อย่างนั้นยิ่งวินาศใหญ่ ตลาดทุนพังครืนตามศก.แน่ครับ จริงๆแล้วกลับควรทำตรงกันข้าม คือแปรรูปไปเสียให้สุดซอย เหมือนที่ป้า Thatcher เธอเคยทำกับ British Petrolium จนกลายเป็นบริษัทระดับโลกไป (ไว้วันหน้าจะเสนอรายละเอียดนะครับ รวมทั้งเล่าเรื่องการขายหุ้น IPO ปตท.เมื่อปี 2544 ที่มีหลายคนเข้าใจผิด ก่นด่าแบบไม่ฟังเหตุผลจนทุกวันนี้)

อีกอย่าง ถ้าไปดูรายละเอียดกำไรของ ปตท. จะพบว่า 72% เป็นกำไรที่มาจาก ธุรกิจสำรวจและผลิต(E&P ซึ่งก็คือ ปตทสผ.) มาจากก๊าซ 20% จากค้าปลีกนำ้มันแค่ 7% ลองคิดดูว่าถ้าเอากำไรจากส่วนอื่นมาชดเชยราคานำ้มันอย่างเดียว ก็เป็นอันว่าโครงสร้างทุกอย่างจะต้องบิดเบี้ยวไปหมด

สรุปเสียที ....ผมคิดว่า ข้อเสนอ"ปฏิรูปพลังงาน"ที่มีคนนำเสนอ กดดันทุกฝ่ายตะโกนปาวๆอยู่ตามเวทีต่างๆเวลานี้ เป็นเรื่องอันตรายมากต่อประเทศ(ผมถึงต้องลงทุนลางานครึ่งวัน นั่งเขียนบทความยาวขนาดนี้ไงครับ) ถ้าเราจะปฏิรูปจริง ข้อมูลต่างๆต้องถูกต้องเสียก่อน เริ่มต้นก็คือเรื่องปริมาณสำรอง ที่ไปหลงว่าเรามีเหลือเฟือ ทั้งๆที่ความจริงแสนเหือดแห้ง แถมการขุดการหาเพิ่มก็แทบไม่มี ส่วนเรื่องโครงสร้างต่างๆที่ทุกฝ่ายเพียรสร้างเพียรวางไว้หลายสิบปี แน่นอนครับ ถึงแม้จะยังไม่สมบูรณ์ ยังปรับยังพัฒนาต่อได้ แต่ไม่ใช่เป็นแบบที่เสนออยู่หรอกครับ อย่างนั้นน่ะมันหายนะชัดๆ

สำหรับผม การพัฒนา การวางโครงสร้าง ด้านพลังงาน เราทำได้ดีทีเดียว ตั้งแต่เรามีวิกฤติขาดแคลนพลังงานครั้งสุดท้ายในสมัยนายกพลอ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เราก็ไม่เคยขาดแคลนพลังงานอีกเลย ราคาก็ไม่ได้แพงเกินสมควร(สังเกตุ ได้จากการฟุ่มเฟือยในการใช้) ทุกภาคส่วนทำงานกันอย่างหนัก ค่อยๆปลุกปั้นกันมาจนทุกวันนี้ ตั้งแต่ท่าน ศุลี มหาสันทนะ ท่านศิววงศ์ จังคะศิริ ท่านเกษม จาติกวณิช ทางด้านสภาพัฒน์ กท.การคลัง กท.พลังงาน อย่างดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ ที่ทุ่มเททำเรื่องนี้มากว่าครึ่งชีวิต พอท่านออกมาค้าน ก็ถูกรุมป้ายสี เอาเรื่องเท็จต่างๆมาใส่ร้าย

สังคมวันนี้ เราจะแค่เชื่อคนที่ไม่เห็นจะรู้จริง ไม่เคยทำอะไรสำเร็จ แค่เอาข้อมูลเผินๆมามั่วแปะไปแปะมา แล้วฉวยโอกาสชักชวนคนที่ไม่รู้ ตะโกนกรอกหูให้หลงตามแล้วจะเอามาทำลายระบบที่สำคัญลงได้หรือครั

อย่างที่ออกตัวไว้ครับ ถึงผมจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลต่างๆอาจไม่ถูกเป๊ะ แต่ผมแน่ใจว่าหลักการต่างๆที่ผมอธิบาย เป็นเรื่องจริง ครบถ้วนตามควร ใครอยากถกมาอย่างสร้างสรร หรือแก้ไขตรงไหนที่ไม่ถูกต้อง ก็เชิญเลยนะครับ

อ้อ...คงต้องประกาศไว้เลยว่า ผมเป็นประธานกรรมการของ บล.ภัทร ที่เป็นที่ปรึกษาแปรรูป ปตท. (และรสก.อื่นอีกสิบแห่ง) ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมภาคภูมิใจ ว่าได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ของชาติ ซึ่งถึงแม้จะไม่สมบูรณ์แบบ 100% มีเรื่องปรับปรุงต่อไปได้ แต่ยืนยันว่า ดีกว่าการที่ทิ้งไว้เป็น รสก.เฉยๆ ไม่เข้าตลาดหลายเท่านักครับ

ถ้าจะกลัวว่าผมเขียนเรื่องนี้อย่าง Bias ก็ลองใช้วิจารณญานอ่านสิ่งที่ผมเขียนว่ามีเหตุมีผล ตรงข้อเท็จจริงไหม อย่าได้สนใจว่าผมเป็นใครเลยครับ

Edited by ปุถุชน, 8 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 21:40.

เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#4 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 21:29

  •  
  • 1394400_755043304509885_654186671_t.jpg
    บุรพัฒน์ จรัสฉิมพลีกุล เห็นด้วยเรื่องพลังงานครับพี่เตา
    ที่เป็นอยู่ดีแล้ว ถ้ายกเลิกเรื่องการบิดเบือนภาษีจะดีมาก
  • 1116338_100003936593485_1925347283_q.jpg
    Putuchon Serithai ผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับ ปตท.และบริษัทในเครือ...
    แต่มีความเชื่อคุณบรรยงและ ดร.ปิยะสวัสดิ์มาก จึงตั้งใจอ่่านตาม ไม่มีความรู้และปัญญาจะคัดแย้ง....
    แต่ทำอย่างไรจึงจะให้ข้อมูลทั้งหมดเป็นที่เชื่อถือ หรือพิสูจน์ได้ของประชาชนทั่วไปที่เชื่อถือหรือคล้อยตามข้อมูลของผู้อืนไปแล้ว...

    เอาใจช่วยคุณปิยะสวัสดิ์ คุณอานิก และคุณบรรยงเปิดเผยข้อเท็จจริงและพิสูจน์ต่อไป..
  • 174398_1021417415_503444267_q.jpg
    Teh Teh Watana ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ. เรียนถามพี่เตา ข้อมูล reserve นี่รวมถึงแหล่งในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับกัมพูชาด้วยหรือเปล่าครับ
  • 1086838_1245904158_1782990647_q.jpg
    Kriang Wongsansukcharoen เคยคุยกับคนไทยที่เป็น อาจารย์สอนที่ต่างประเทศ...แกเชื่อว่าเราสามารถทวงคืนได้?!? (ด้วยกำลังและคนหมู่มาก)

    พอดีอยู่ที่สนามบินเชียงใหม่...เลยไม่ได้พูดอะไรมาก!!...

    แต่ไม่อยากจะเชื่อว่าระดับอาจารย์ยังมีความเชื่อแบบนี้ได้?
  • 1118315_100001191768379_670189185_q.jpg
    แป๋วแหว๋ว แป๋วแหว๋ว เบื่อพวกที่ ทวงคืนพลังงาน มอง ฟัง พูด เฉพาะด้านที่อยากให้เป็น ค้านจนหูหนวก ตาบอด
  • 389144_245883132136630_797270760_s.jpg
    Nitan Gong อยากอ่านต่อ เรื่อง IPO อยากรู้ความจริงครับ.
  • 553667_10202813910855009_1628268214_t.jp
    อานิก อัมระนันทน์ คุณ เตาตรงไปตรงมาดีค่ะ (ทำไมยังไม่เรียกแขก?) ก็หวังว่าเมื่อจะมีการปฏิรูปจริง ใครก็ตามที่เป็นคนคุมเกมจะจัดให้มีการพิจารณาที่รอบด้านและรอบคอบ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงและยั่งยืน ถ้าทำสิ่งที่ประชานิยมชมชอบได้จะดีแน่ แต่..อย่าให้เป็นเหมือนประชานิยมที่เสียหายจนมวลมหาประชาชนต้องออกมาขับไล่ อยู่ทุกวันนี้
  • 1085706_100002178502686_898389099_q.jpg
    Preecha Viyavong ควรยกเลิกกองทุนน้ำมันมั้ย
  • 174399_100001892892431_1908957538_q.jpg
    Natapong Krissanakrivud บล.ภัทร ที่ทำราคา ปตท เข้าตลาดในราคา 35 บาท ใช่ไม๊ครับ
  • 174185_1828905409_442296995_q.jpg
    Montri Seetabusapa บรรดา นายทุน จะไม่ค่อยสนใจกับค่าใช้จ่ายที่สูงของพลังงาน ตราบเท่าที่ เขายังบวกเพิ่มไปในต้นทุนของเขาได้ ยังดูดี แข่งขันในตลาดได้ เพราะคู่แข่งรับผลเช่นเดียวกัน และที่สำคัญ คนไทย ลูกค้าของเขา ยังทนได้ ครับ
  • 369487_100000698001349_2080577304_q.jpg
    Thanapong Pipattanasak ขอบคุณครับที่สละเวลามาเขียนบทความนี้ ได้ความรู้มากมาย รออ่านตอนต่อๆไปนะครับ
  • 1118447_1033661557_473112755_q.jpg
    Warayu Pradipasen ขอบ คุณครับ ติดนิดเดียวตอนจบว่าการแปรรูปเข้าตลาดดีกว่าปล่อยให้เป็นรัฐวิสาหกิจต่อไป แน่นอนนั้น พิสูจน์ไม่ได้ครับ การขายหุ้นก็เป็นแนวทางการระดมทุนรูปแบบหนึ่ง แต่ไม่ได้แปลว่าขายหุ้นในตลาดแล้ว ทำให้รัฐวิสาหกิจดีขึ้นอย่างแน่นอน (จริงๆ ปตท. ยังมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่นะครับ)
     
     
     
  •  

Edited by ปุถุชน, 8 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 21:39.

เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#5 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 21:32

  • 274634_613418190_981986259_q.jpg
    Sirichai Kan การ แปรรูปรัฐวิสาหกิจเข้าตลาด ผมเห็นว่าดีนะครับ เพราะนอกจากเป็นการระดมทุนทำให้ตลาดมีการตื่นตัว ประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่างๆยังดีขึ้นด้วยอย่างเห็นได้ชัด ถ้ารัฐยังบริหารตามเดิม ไม่มีระบบงานแบบเอกชนจี้ คุณนึกภาพถึงการรถไฟซิครับ อีกอย่าง จากที่ม็อบเคยเรียกร้องให้แปรรูปกลับเป็นของรัฐ แต่ให้บริหารแบบเอกชน ผมยังสงสัยว่าเค้าคิดในมุมไหนกันแน่ ในความเป็นจริงของโลก ถ้าึุณอยากได้พนักงานที่เก่ง ผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ คุณก็ต้องจ่ายค่าตัวเค้าให้สู้กะตลาดแรงงานได้ ไม่งั้นใครเค้าจะมาอยู่ด้วย และดูอัตราค่าจ้างของรัฐและเอกชนต่างกันแค่ไหน มันคงเป็นไปได้ยาก อีกอย่าง การที่แปรรูปเป็นเอกชน มันคอร์รัปชั่นยาก เพราะมีหลายหน่วยงานที่คอยตรวจสอบ รวมถึงผู้ลงทุนผู้ถือหุ้นคอยจับตา พวกนักกินเมืองมันก็จะมาผจญยากครับ
  • 1115838_515279262_1491784060_q.jpg
    Pak Paquito Hongrapipat ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ พี่ถึงกับลางานครึ่งวันเขียนเลยหรอครับ ขนาดคนอ่านยังเหนื่อยเลย 555
  • 203196_100001130326204_1774745795_q.jpg
    ศุภชัย ภาคส้งข์ ผมรอฟังเรื่อง IPO นะครับ
  • 174185_1828905409_442296995_q.jpg
    Montri Seetabusapa ข้อมูล น่าจะมาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ คงจะพอเป็นประโยชน์ในการประกอบการพิจารณาได้บ้าง ผมก็อยู่ในขั้นของการศึกษา ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดแจ้ง แต่ขอยอมรับว่าอยากได้ราคาน้ำมันที่ถูกลง แต่การจ่ายค่าน้ำมันที่แพงเกินจริง เป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำใจให้ยอมรับได้ แม้ว่าจะมีปัญญาจ่ายก็ตาม เพราะไม่ได้ไปถอนทุนจากใครครับ
  • 1076726_100005799254567_1883883628_q.jpg
    Banyong Pongpanich Montri Seetabusapa คุณมนตรีครับ ข้อมูลที่กรุณานำมาโพสต์ เป็นข้อมูลที่ผมคิดว่าคลาดเคลื่อนมาก ไม่ว่าจะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม อาจมีจริงบ้าง แต่มีที่บิดเบือนไม่น้อย ต้องขอโทษที่ขอลบออกทั้งหมดครับ
  • 211612_14903592_1443097508_q.jpg
    Chak Cherdsatirkul ฟิน ครับ ฟิน... ผมเรียนถามอย่างหนึ่งครับ "72% เป็นกำไรที่มาจาก ธุรกิจสำรวจและผลิต(E&P ซึ่งก็คือ ปตทสผ.) " ถ้ากำไรจากการค้าปลีกน้ำมันไม่ได้เยอะมาก ตัวกำไรจาก สผ. นี้มาจาก Oligopoly ของ ปตท. รึเปล่าครับ แล้วไม่ทราบพี่พอทราบไหมครับว่า 72% นี้สัดส่วนมาจากธุรกิจต่างประเทศและในไทยจำนวนเท่าไหร่ ที่ผมถามเพราะว่านักค้านปตท. แม้ว่าจะเชื่อว่าปตท.ไม่ได้ขายน้ำมันราคาเกินควรก็ตาม แต่ปตท.ที่ได้เงินมหาศาลตรงนั้นเกิดจากอำนาจผูกขาดในตลาดเนื่องจากเป็นกึ่ง รัฐวิสาหกิจรึเปล่า?
  • 174185_1828905409_442296995_q.jpg
    Montri Seetabusapa ถ้า คลาดเคลื่อน ต้องขอโทษด้วยครับ เพราะเห็นว่า มีที่มาจากหน่วยงานราชการ แต่ก็ฝ่ายที่ต้องการปฏิรูปนำมาใช้อ้าง ผมจะพยามหาข้อมูลที่ถูกต้องมา เปรียบเทียบดูครับ
  • 1076726_100005799254567_1883883628_q.jpg
    Banyong Pongpanich Chak Cherdsatirkul กำไรในส่วน E&P นั้นมาจากการลงทุนในอดีตส่วนใหญ่ การที่รัฐมีสิทธิ์ร่วมทุนในแปลงสัมปทาน Thailand1 เฉพาะที่ขุดเจอ (option) แล้วยกสิทธิ์นี้ให้ PTTEP (ก่อนแปรรูปฯ) กับการที่ตัดสินใจซื้อคืน หุ้นใหญ่ แหล่ง"บงกช"มาเป็น operatorเอง น่าจะเป็นตัวที่กำไรมากสุด เพราะ นำ้มันราคาขึ้นเยอะ จากแค่ ไม่ถึง ยี่สิบเหรียญ เป็นร้อยกว่าเหรียญต่อบาร์เรลในปัจจุบัน ส่วนการลงทุนนอกประเทศภายหลังมีกำไรหรือไม่ผมไม่ได้ตาม แต่อย่างน้อย ทำให้เรามี Reserve พลังงานเพิ่มขึ้น..... อ้อ ฟิน แปลว่าอะไรครับ Baby Boomer อย่างผมไม่เข้าใจ
  • 211612_14903592_1443097508_q.jpg
    Chak Cherdsatirkul ขอบ คุณครับผม ฟิน เป็นศัพท์คน(พยายาม)จะสื่อสารกับวัยรุ่นอย่างผมใช้ครับ เข้าใจว่าแปลว่า สุขสม สมใจ :) ถ้าอย่างนั้นถ้าฝั่งเรียกร้องปตท. เสนอให้รัฐบังคับเก็บส่วนแบ่ง/ผลตอบแทน/ภาษี จากรายได้ส่วนที่ปตท.เคยได้มาจากการเป็นสัมปทานหรือผูกขาดมา ถือว่าแฟร์ไหมครับ เพราะตรรกะคือถ้าธุรกิจนี้รัฐช่วยให้เกิดขึ้นโดยการสร้างการผูกขาดมาแต่แรก ก็แบ่งส่วนแบ่งตรงนี้มาคืนรัฐ ฝั่งประท้วงจะได้จบๆไปเสียที?
  • 1117922_100001594757635_1379381913_q.jpg
    Oratai Suwannachartkul ขอแชร์ค่ะพี่
  • 187068_1356205272_289692872_q.jpg
    Uraiwan Kanokwatanawan ต้อง ขอบคุณ คุณ Banyong อย่างยิ่งที่ มีความอดทน อธิบาย ขยายความ หาข้อมูลมาป้อนให้ติดตาม คิดตามทุกเรื่อง รวมทั้งเรื่องพลังงานนี้ด้วย ขอบคุณอีกครั้งค่ะ
     
     
     
     
    อยากอ่านความเห็นเพิ่มเติม.....
    เชิญเข้าไปชมในเพจของคุณบรรยงค์ เพิ่มเติม....
     

Edited by ปุถุชน, 8 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 21:34.

เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#6 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 12:45

Banyong Pongpanich
March 6
"ปฏิรูปพลังงาน" ....ทำอะไร เพื่ออะไร ข้อมูลที่แท้จริงเป็นอย่างไร. (3 มีค. 2557)
เวลานี้ มีกระแส มีกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง ผลักดันให้มี"การปฏิรูปพลังงาน" เป็นการใหญ่ และเร่งด่วน และพยายามผลักดันให้เป็นวาระสำคัญแห่งชาติ ต้องการให้ กปปส. บรรจุเป็นเรื่องสำคัญต้นๆ ในการ"ปฏิรูปประเทศ" มีการขึ้นพูดปลุกเร้าตามเวทีประท้วง ผมไม่แน่ใจว่าท่านกำนันเลขาฯกปปส.ท่านมีความเห็นอย่างไร แต่ได้ยินว่าหลวงปู่ผู้คุมเวทีแจ้งวัฒนะ ได้ระบุเป็นวาระไปแล้ว หลังจากฟังอธิบายความจากกลุ่มผู้ผลักดันแต่เพียงข้างเดียว (นี่แหละครับ การจะปฏิรูปอะไรกลางสี่แยก มันก็ยากที่จะลงรายละเอียดได้ครบถ้วน แล้วแต่ใครจะชิงพูด ชิงตะโกนก่อน)

ผมต้องขอออกตัวก่อนว่า ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องพลังงาน แต่เนื่องจากเรื่องพลังงานเป็นเรื่องใหญ่ของระบบเศรษฐกิจ อีกทั้งข้อเสนอของกลุ่มปฏิรูป กินเลยไปถึงการทวงคืนปตท. ซึ่งถึงแม้จะยังไม่ลงรายละเอียดว่า จะทวงอย่างไร ใช้ยึดเอาดื้อๆ ใช้เวรคืนราคาถูก หรือซื้อคืนราคาตลาด ซึ่งไม่ว่าจะทำอย่างไร ก็จะมีผลกระทบกับตลาดทุน และเศรษฐกิจอย่างมหาศาลทั้งนั้น ตั้งแต่ระดับมาก ไปจนถึงวินาศย่อยยับ จึงคิดว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องขอร่วมแสดงความเห็นตามภูมิเท่าที่รู้ ซึ่งก็ไม่ได้ยืนยันว่าจะถูกต้องทุกประการ เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันได้จนกว่าความจริงจะกระจ่างทั้งหมด

สิ่งที่หลายคน รวมทั้งผมยังสับสน คือข้อมูล ข้อเท็จจริงทั้งหลายเกี่ยวกับพลังงาน ซึ่งยังมีความแตกต่างหลากหลายกันอยู่มาก ในหลายๆประเด็น ซึ่งผมขอแยกแยะดังนี้นะครับ

ประเด็นแรก เริ่มจากต้นนำ้เลย แหล่งพลังงานที่เรามีอยู่ ปริมาณสำรองนำมันดิบ และก๊าซ เป็นอย่างไร เราผลิตใช้เท่าใด จะมีเหลือใช้ได้อีกนานไหม ฝ่าย"ปฏิรูปฯ"บอกว่า เรามีมหาศาล เรียกได้ว่าเป็น "ซาอุฯแห่งตะวันออกไกล"เลยทีเดียว แต่ข้อมูลที่เป็นทางการ ณ ปี 2554 กลับบอกว่า เรามี Proven Reserve (ปริมาณสำรองที่ยืนยันการค้นพบแล้ว) อยู่ไม่มาก มีก๊าซแค่ 10 ล้านล้าน ลบ.ฟุต ถ้าใช้ในอัตราปัจจุบัน แค่ 11 ปีก็หมด มีคอนเดนเสท 239 ล้านบาร์เรล ใช้ได้ 8 ปี มีนำ้มันดิบ 215 ล้านบาร์เรลใช้ได้แค่ 4 ปี แต่ถ้ารวม Probable Reserve (ปริมาณที่อาจพบ) และ Possible Reserve (ปริมาณที่น่าจะพบ) เข้าไปด้วย แล้ว applyสถิติที่เคยพบ คือ 20% กับ10% ก็จะทำให้ยืดอายุไปได้ ก๊าซเป็น 14 ปี คอนเดนเสทเป็น 11 ปี นำ้มันดิบเป็น 6 ปี นอกจากจะฟลุค เจอเต็ม 100% ทั้ง Probable ทั้ง Possible ก็ยืดอายุไปได้เป็น 30 23 และ 16 ปีตามลำดับ ซึ่งนับแล้วก็จิ๊บจ้อย เรามีนำ้มันดิบรวมคอนเดนเสทสำรองแค่ 450 ล้านบาร์เรล อยู่อันดับ 48 ของโลก เทียบกับซาอุฯที่มี 266 พันล้านบาร์เรล ห่างกันไม่เห็นฝุ่น 500 เท่าตัว หรือแม้แต่ เทียบกับ มาเลเซียที่มี 3,700 ล้าน ก็ยังน้อยกว่าร่วมแปดเท่า(แต่เราใช้นำ้มันมากกว่ามาเลย์เกือบเท่าตัว) หรือ ก๊าซสำรอง เราก็มีแค่ 285 แสนล้านลบ.เมตร เป็นแค่ 3 % ของซาอุ ที่มี 8.2 ล้านๆลบ.เมตร หรือมาเลย์ก็มี 1.3 ล้านล้าน ห้าเท่าของเรา

สรุปได้ตรงนี้เลยว่า ที่คุยที่โม้ว่าเราเป็นประเทศโชคดี แบบฟ้าประทานเหมือนซาอุ มีนำ้มัน มีก๊าซเหลือเฟือนั้น ไม่น่าจะจริง แล้วไอ้ 11 ปี 8 ปี 4 ปี นี่มันแค่แป๊บเดียวนะครับ อย่าว่าจะพอถึงลูกถึงหลานเลย คนรุ่นผมยังอยู่กันครบเลยครับ แล้วจะเอาที่ไหนมาใช้ ถ้าไม่หาเพิ่ม ถ้าไม่เปลี่ยนไอ้ Probable กับ Possible ให้มันกลายเป็นของจริงเอามาใช้ได้ อีกไม่นานก็ต้องนำเข้า 100% ปัญหามันก็อยู่ที่การจัดหาคนมาขุดเจาะลงทุนเสี่ยงเพิ่มให้ทันการ ในปัจจุบันเรามีระบบให้สัมปทาน Thailand 1 กับ Thailand 3 ซึ่งหลายฝ่ายโจมตีว่าให้ประโยชน์เอกชนมากไป ความจริงเราเคยเอา Thailand 2 มาใช้ในปี 1982 เพื่อเอาประโยชน์จากเอกชนให้มาก แต่ปรากฎว่าไม่มีใครคิดว่าคุ้ม ไม่มีคนลงทุนเลย เลยต้องปรับเป็น Thailand3 ซึ่งเป็นระบบถ้าเจอน้อยแบ่งน้อย เจอมากแบ่งมาก เพื่อให้เหมาะสมกับความเสี่ยงในการลงทุน ลักษณะบ่อก๊าซและนำ้มันในไทยได้ชื่อ ว่าขุดยากทำยาก ต้นทุนสูง ตัวอย่างเช่น แหล่งก๊าซบงกชซึ่งใหญ่สุดในไทย ผลิตแก๊ซได้วันละ 900 ล้านลบ.ฟุต ต้องใช้หลุมเจาะตั้งกว่า 400 หลุม ขณะที่แหล่ง ยาดานาที่พม่า ซึ่ง ปตทสผ.ก็เป็น Operator เหมือนกัน ผลิตวันละ 800 ล้านลบ.ฟุต ใช้หลุมผลิตแค่ 12 หลุม เห็นไหมล่ะครับของเรานอกจากมีน้อยแล้ว ยังเหนียมอายซ่อนตัว หายากเจาะยาก จะให้เรียกค่าตัวโขกสับสินสอด เลยไม่ค่อยมีใครมาสู่ขอสักเท่าใด ใช้วิธีตะโกนขู่ ไม่มีใครอยากลงทุนพอดี แถมมีการตะคอกจะเอาอย่างคุณชาเวซ ยึดมาเป็นของรัฐ นักลงทุนเลยเผ่นหมด (เวเนซูเอลลา มีนำ้มันสำรองมากที่สุดในโลก สามแสนล้านบาร์เรล แต่ผลิตได้แค่ 2.7 ล้าน อันดับ 11 และเป็นประเทศที่ศก.ล้มเหลวถดถอย) 
ปริมาณสำรองเอามาจากการแจ้งของผู้รับสัมปทาน ไม่ใช่หามาจากหน่วยงานของรัฐเอง เหมือนประเทศอื่นเขาทำกัน ปริมาณน้ำมันที่จะค้นพบยังมีอีก จึงอาจไม่ใช่ปริมาณสำรองทั่วทั้งประเทศที่แท้จริง คุณประชัยบอกว่าจีนสรุปว่าโครงสร้างทางธรณีวิทยาของไทยเป็นแบบซาอุฯ

ประเด็นที่สอง เป็นเรื่องของการผลิต ซึ่งก็คือการนำเอา Reserve ออกมาใช้ ซึ่งรวมไปถึงการนำเข้าวัตถุดิบที่ขาด นำมาแปรรูปเพื่อใช้งาน และอาจมีเหลือส่งออกได้ในบางส่วน บางproduct ก่อนปี 2524 เรานำเข้าเกือบ 100% บางส่วนเป็นนำ้มันดิบ บางส่วนเป็นนำ้มันสำเร็จรูป พอเราค้นพบก๊าซ คอนเดนเสต และนำ้มันดิบในยุค"โชติช่วงชัชวาลย์"แล้ว เราก็เริ่มนำวัตถุดิบปิโตรเลียมมาใช้ โดยมีโรงกลั่นนำ้มัน และ โรงแยกก๊าซ ทำหน้าที่ อุตสาหกรรมปิโตรเลียมกลางนำ้(Mid- Stream)

ก่อนปี 2524 ที่เราจะพบวัตถุดิบ และเริ่มนำมาใช้ เรานำเข้าพลังงานเกือบร้อยเปอร์เซ็น ทั้งนำ้มันดิบ และนำ้มันสำเร็จรูป โดยมีโรงกลั่นนำ้มัน แค่สามแห่ง คือ ไทยออยล์ กับ Esso ของเอกชน กับ โรงกลั่นบางจากของ กรมพลังงานทหาร มีกำลังการกลั่นรวมแค่ 175,000 บาร์เรลต่อวัน ในขณะที่การบริโภคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนสูงกว่า 250,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งกิจการกลั่นนำ้มันเหล่านี้ต้องเสียภาษีให้กับรัฐสูงกว่าธุรกิจอื่นๆ (ประมาณ 50% ของกำไร) จึงไม่ค่อยมีการขยายตัวลงทุนเพิ่ม

ประมาณต้นทศวรรษ 2530s รัฐต้องการส่งเสริมให้เพิ่มกำลังผลิตการกลั่น เพื่อรองรับอุปสงค์ที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว และรองรับนำ้มันดิบและคอนเดนเสทที่เราขุดพบ มีการออกใบอนุญาติให้เจ้าเดิมทั้งสาม ขยาย กับใบอนุญาติเพิ่ม ให้ เชลล์ (Rayong Refinery) กับคาลเท็กซ์ (Star Refinery) ตั้งโรงงานเพิ่ม ประกอบกับ TPI ของคุณประชัยแอบตั้งเพิ่มอีกโรง จนทำให้ปริมาณกำลังการกลั่นขยายตัวอย่างมาก จนปัจจุบัน มีกำลังผลิตรวม 1,090,000 บาร์เรลต่อวันในหกโรง ซึ่งสามโรงกลั่น อยู่ภายใต้การบริหารของปตท.กำลังผลิตรวม ประมาณ 65%

เพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนโรงกลั่น รัฐได้ให้การส่งเสริมหลายอย่าง รวมทั้งตั้งเงื่อนไขด้วย รวมทั้งได้กำหนดราคาขาย ให้เป็นระบบ Import Parity กล่าวคือ ให้ขายในราคาของสิงคโปร์(Singapore Price)บวกด้วยค่าขนส่ง ทั้งนี้เพราะ ราคาสิงคโปร์ เป็นราคาตลาดในย่านนี้ ที่กำหนดโดย อุปสงค์อุปทาน ในตลาดนำ้มัน สิงคโปร์เป็นศูนย์กลางการค้านำ้มันมานาน และราคาที่ผ่านมาก็สะท้อนราคาตลาดโลกเป็นอย่างดี Oil Refinery Margin ของเราก็ไม่ได้สูงจนเกิดกำไรผิดปกติแต่อย่างใด (ปัจจุบันอยู่ระหว่าง 4-5 เหรียญต่อบาร์เรล) กำไรก็แค่พอคุ้มค่ากับการลงทุนเท่านั้น

จริงๆแล้ว ในปัจจุบัน กิจการกลั่นนำ้มันแต่อย่างเดียว ไม่ใช่ธุรกิจที่ดี ไม่ใคร่มีใครอยากลงทุน นักลงทุนก็ไม่ให้ราคา(สังเกตุได้จากราคาหุ้นโรงกลั่น) อย่างตอนวิกฤติ 2540 โรงกลั่นทุกแห่งในไทยประสพปัญหาหนัก เรียกได้ว่าเจ๊งยับ ปตท.ต้องเข้าช่วยเหลือหลายแห่ง เลยทำให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เกือบหมด

เรื่องการกลั่นและราคาหน้าโรงกลั่นนี้ เป็นประเด็นที่ถูกโจมตีมาก ถ้าจะไม่อิงสิงคโปร์ ก็ต้องแน่ใจได้ว่าสะท้อนราคาตลาด ไม่มีใคร Dominate ได้ เช่น ต้องให้ปตท.ลดสัดส่วนในตลาด หรือให้ปตท.ต้องเข้าอยู่ภายใต้ พรบ.การแข่งขันทางการค้า ไม่ยกเว้นให้ในฐานะ รสก. (แต่ก็อีกนั่นแหละ ตัวพรบ.ก็ยังใช้การไม่ค่อยได้อยู่เลย) หรือถ้าจะยังอิงสิงคโปร์อยู่ ก็อาจจะแค่ปรับเรื่องค่าขนส่ง ค่าใช้จ่ายที่ให้บวกให้ลดลง(ซึ่งผมคิดว่าวิธีนี้น่าจะดีที่สุดในภาวะปัจจุบัน) แต่ที่แน่ๆ ผมไม่เห็นว่า การยึดคืนปตท.จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร กลับจะทำให้เกิดปัญหาระยะยาวต่อไปอีกมากมาย

อีกอย่างในเรื่องการกลั่นนั้น ปัจจุบันเรามีcapacity มากกว่าอุปสงค์อยู่ พอสมควร (ประมาณ 200,000บาร์เรลต่อวัน) กับทั้งหน่วยกลั่นแต่ละแห่งมีเทคนิ คแตกต่างกัน ใส่นำ้มันดิบแต่ละประเภทเข้าไป กลั่นออกมาได็ Product Mix ต่างๆ บางอย่างขาด บางอย่างเกิน โดยรวมเราเลยมีการนำเข้านำ้มันดิบเกิน และมีส่งออก ผลิตภัณฑ์นำ้มันประมาณวันละ สองแสนบาร์เรล และแน่นอน ราคาส่งออกได้น้อยกว่าราคาขายในนี้บ้าง แต่ถ้าเอาราคาขายปลีกมาเทียบมันคนละเรื่องกัน เพราะเราไม่สามารถส่งออกภาษีไปให้ชาวโลกเขาบริโภคได้ 
ปริมาณการใช้เบนซินมีเพียง 2 ล้านลิตรต่อวัน ที่เหลือเป็นแก๊สโซฮอล์ ซึ่งทำมาจากเอทานอลและน้ำมันพื้นฐาน (G-BASE) การที่จะมีการลักลอบนำน้ำมันพื้นฐานไปขายประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้ราคาหน้าคลังเป็นราคาอ้างอิงสิงค์โปร์อีกต่อไป
ประเด็นที่สาม เป็นเรื่องของท่อก๊าซ และ โรงแยกก๊าซ ซึ่งยังเป็นส่วนของ Midstream อยู่ ในปัจจุบัน ดูเหมือน ปตท.จะยัง Monopoly อยู่ เพราะท่อก๊าซมักจะเป็น Oligopoly โดยธรรมชาติ (เพราะขืนทุกคนสร้างท่อก็เจ๊งเรียบ เพราะไม่คุ้ม) แต่จริงๆก็มีระบบที่เรียกว่า Third Party Access ที่ใช้กันทั่วโลกที่จะทำให้ทำลายอำนาจ Monopoly ลงได้ ซึ่งความจริง ในคราวเอาปตท.เข้าตลาด ได้มีการสัญญาว่าจะจัดให้มีโดยเร็ว แต่ไปถูกยกเลิกในยุค ทักษิณ1 แต่ในที่สุดเมื่อคราวรัฐบาลขิงแก่ ดร.ปิยสวัสดิ์ รมว.พลังงานได้ผลักดัน พรบ.กิจการพลังงาน ระบุเรื่องนี้ไว้แล้ว น่าจะ Implement ได้ในเร็ววันนี้ ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จ ปัญหา Monopoly ท่อก๊าซนี้ก็จะหมดไป ส่วนเรื่องโรงแยกก๊าซนั้น ปัจจุบันมีอยู่ 5 โรง กำลังประมาณ 1,800 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน เป็นของปตท.ทั้งหมด แต่ถ้าเมื่อมี Third Party Access ก็จะเปิดให้คนนอกสร้างได้ แต่ถ้าดูปริมาณ Proven Reserve ที่เรามี น่ากลัวไม่มีใครอยากลงทุน ยกเว้นก๊าซจากพม่า แต่เท่าที่ผมรู้ โรงแยกก๊าซนี่ไม่ได้มีกำไรมากมายอะไร
โรงแยกแก๊ส มี 6 โรง ไม่รวมโรงแยกแก๊สจะนะ อีก 1 โรง โรงแยกแก๊ส 1-4 เป็นของการปิโตรเลี่ยมฯ ก่อนแปรรูป จึงมีการขอคืน การที่รมว.ปิยสวัสดิ์ไม่เอาท่อคืนจากปตท. แต่กลับให้สนพ.ดูแลค่าเช่าโดยไม่มีการประมูลการเช่าท่อ ทำให้ผู้ได้เช่าท่อสามารถผูกขาดการขายแก๊สให้การไฟฟ้าฯ
ประเด็นที่สี่ เป็นเรื่องของ อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ซึ่งถึงแม้ของ ปตท. จะมีสัดส่วนในอุตสาหกรรมสูง แต่ก็ไม่ถึงกับDominate อะไร มีผู้เล่นอื่นๆอีกมากมาย เช่น SCG ก็มีขนาดใหญ่แข่งกันได้ แถมมีกลไกตลาดที่ค่อนข้างดีคอยกำกับ นับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีโครงสร้างค่อนข้างดี ทำให้ไทยขยายตัวในด้าน Downstream ของปิโตรเคมีดีทีเดียว เป็นอุตสาหกรรมหลักอย่างหนึ่งของชาติ
ภาคปิโตรเคมีมีส่วนทำให้แก๊สแอลพีจีขาดแคลน และนำไปสู่การขึ้นราคาแก๊สแอลพีจี เนื่องจากการเปลี่ยนการใช้แก๊สจากโรงแยกแก๊สตั้งแต่สมัยรัฐบาลสมชาย ให้ภาคปิโตรเคมีเป็นภาคที่ใช้ก่อนภาคอื่นๆ
ประเด็นที่ห้า เป็นเรื่องของการค้าปลีกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ตั้งแต่นำ้มันเชื้อเพลิงเบนซินชนิดต่างๆ ดีเซล ไปจนถึง ก๊าซ NGV LPG ซึ่งเป็นเรื่องที่มีคนโวยวาย ว่าคนไทยใช้พลังงานในราคาแพงจนเกินเหตุ ไม่เหมือนหลายๆประเทศที่หยิบยก(แบบเลือกแต่ประเทศที่เค้ามีชดเชย subsidy เยอะๆ) และเป็นเรื่องที่มหาชนรู้สึกเดือดร้อนในวงกว้าง เลยถูกหยิบยกมาว่าถ้าปฏิรูปตามแนวที่เสนอ จะลดราคาได้เยอะ ลิตรละ ห้าบาท สิบบาทเลยทีเดียว ทำเอาคนตื่นเต้น พระสงฆ์องคเจ้าฟังแล้วพลอยเชื่อ ผมขออธิบายอย่างนี้ครับ

ราคาขายปลีกผลิตภัณฑ์นำ้มันทุกชนิด ประกอบด้วยสามส่วน คือ ค่าตัวนำ้มัน ค่าการตลาด และภาษีต่างๆ ตั้งแต่ภาษีสรรพสามิต ภาษีเทศบาล กองทุนนำ้มัน กองทุนอนุรักษ์ และ VAT รวมกันเป็นราคาที่เราต้องจ่ายที่หน้าปั๊ม ค่านำ้มันเป็นไปตามราคาหน้าโรงกลั่นซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ลิตรละ 24.8-26.7บาท ค่าการตลาดที่บริษัทนำ้มันรวมทั้งเจ้าของปั๊มได้(รวมค่าขนส่ง)อยู่ที่ลิตรละ1.5-2.5 บาทเท่านั้น แต่เป็นค่าภาษีรวมกองทุนต่างๆอยู่ แตกต่างกันตั้งแต่ ดีเซล แค่ลิตรละ 1.7 บาท ถึงเบนซินธรรมดาสูงสุดลิตรละ ตั้ง 21.1 บาท ส่วนพวกแกซโซฮอล รัฐเก็บอยู่ระหว่างลิตรละ 7.4 - 13.1 บาท ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายว่ารัฐจะ subsidy ผลิตภัณฑ์อะไรอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น รัฐอุดหนุนดีเซลเพราะเชื่อว่าคนจนใช้เยอะ เลยทำให้ดีเซลซึ่งราคาตลาดโลกแพงสุด คือ 26.7 บาท แต่ราคาขายปลีกถูกสุดที่ 30 บาทต่อลิตร แต่เบนซินธรรมดาที่ราคาตลาดอยู่ที่ 24.8 บาท แต่ผู้บริโภคต้องจ่าย 48 บาท/ ลิตร (นี่ผมก็ว่าจะไปถอย Mercedes S Class Diesel มารับ subsidyซักคัน)

ความจริงกิจการค้าปลีกนำ้มันนี่ไม่ได้มีกำไรดีอะไรเลย บริษัทต่างชาติ บ้างก็เลิก เช่น Jet Q8 บ้างก็หดตัว ที่ปตท.ยังขยายรองรับความต้องการอยู่ได้ ก็เป็นเพราะเอากำไรส่วนอื่นๆมาช่วยกับพยายามเพิ่มรายได้อื่นๆ เช่น ขายกาแฟ เปิดเซเว่น ซะมากกว่า

เรื่องโครงสร้างภาษี รวมไปถึงการ subsidy นี่แหละครับ ที่ถ้าจะปฏิรูปก็น่าจะทำ ขั้นแรก ก็ต้องดูก่อนว่า ระดับภาษีนี้ควรเป็นเท่าไร เราควรมีกองทุนไว้รักษาเสถียรภาพราคาไหม ซึ่งผมคิดว่าระดับโดยรวมที่เรามีอยู่น่าจะเหมาะสมดีแล้ว เพราะประเทศไทยก็ยังถือว่าเป็นประเทศที่ใช้พลังงานค่อนข้างฟุ่มเฟือย ไม่มีประสิทธิภาพ power consumption : GDP ยังสูงมาก ขืนไปกดราคาลง น่ากลัวจะยังฟุ่มเฟือยไหม ขั้นต่อไปก็เป็นเรื่องsubsidy ว่าควรเปลี่ยนจากการsubsidy ผลิตภัณฑ์ มาเป็นsubsidyกลุ่มคนที่ควรได้รับดีไหม จะๆด้ไม่เกิดการบิดเบี้ยวของอุปสงค์ เช่น เดี๋ยวนี้รถหรูใช้ดีเซลเยอะไป ส่วน มอไซด์กลับต้องใช้เบนซินที่ภาษีแพงสุด สู้เราปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามราคาตลาด แล้วใช้แจกคูปองให้กับผู้ควรได้รับ ไม่ดีกว่าหรือ การบิดเบือนต่างๆจะได้ลดได้หมด (เรื่องนี้ว่ารวมไปถึงเรื่อง ก๊าซ LPG NGV ด้วยเลย)

ผมคิดว่าประเทศไทยทำถูกที่ไม่ได้Net Subsidy เรื่องพลังงาน เพราะเราไม่ได้มีเหลือเฟือ (แต่ที่มีเหลือเฟืออย่างข้าวก็ดัน subsidy ด้วยแฮะ) โดยรวม เราได้ภาษีจากพลังงาน ปีละประมาณ 290,000 ล้านบาท โดยได้จาก Upstream 160,000ล้าน และจากผลิตภัณฑ์อีก 130,000 ล้านบาท ซึ่งชัดเจนว่าถ้าอยากลดราคาต้องลดจากส่วนของภาษีเป็นส่วนใหญ่
ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา (24-26 กุมภาพันธ์ 2557) คณะอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน ในคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา (นำโดย ส.ว.รสนา โตสิตระกูล) ได้เดินทางไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับระบบพลังงาน ณ ประเทศมาเลเซีย    ทำให้ทราบว่าการอุดหนุนชดเชยราคาน้ำมัน จากรัฐบาลมาเลเซีย นำเงินจากไหนมาใช้   และ  ทราบระบบการจัดการผลประ โยชน์จากทรัพยากรปิโตรเลียมของมาเลเซีย --> http://www.manager.c...D=9570000024157 
ประเด็นสุดท้าย คือเรื่องกำไรของ ปตท. ซึ่งถึงแม้จะยังมีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่ก็เป็นบริษัทมหาชนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์(Market Cap 850,000ล้านบาท) อันดับ 2 คือ PTTEP ในเครือ ขนาด 610,000ล้านบาท และปตท.มีกำไรปีละ 95,000ล้านบาท เลยเกิดกระแส นัยว่าได้กำไรเกินควร ควรยึดกลับมาเป็นของรัฐ เสร็จแล้วก็จะได้ลดราคานำ้มันลงทันทีลิตรละ 5 บาท เพราะปตท.ขายนำ้มันปีละประมาณ 20,000 ล้านลิตร เป็นรัฐวิสาหกิจไม่เห็นต้องมีกำไร คืนให้ประชาชนหมดดีกว่า

ข้อเสนออย่างนี้ อยากเรียนว่า ไม่ทราบว่าใช้หัวแม่เท้าข้างไหนคิด เพราะถ้าทำอย่างนั้น บริษัทนำ้มันอื่นๆก็เจ๊งเรียบทันที จาก Market Share 40% ปตท.ก็เลยมีส่วนแบ่ง100% ต้องขาย 50,000ล้านลิตร 5 บาทก็เลยกลายเป็น 2 บาททันที แล้วอุตสาหกรรมพลังงานที่อุตส่าห์สร้าง วางโครงไว้อย่างดี มาตลอดหลายสิบปีก็คงพังครืน ในอนาคตเราจะมีปัญหามากมาย เรียกได้ว่าต้องขาดแคลนพลังงาน ผมเชื่อมั่นเลยว่า ถ้าเกิด"ทวงคืนปตท."จริงๆ เศรษฐกิจไทยต้องถดถอยอย่างน้อย 5 % อย่างแน่นอน อย่าว่าแต่วิธีจะทำอย่างไร จะเอาเงินที่ไหนไปทวงคืน ถ้า.ื้อราคาตลาด ก็เพิ่มหนี้สาธารณะทันที 5%ของGDP (รวม PTTEP) เอาเงินไปทำอย่างอื่นดีกว่าเยอะครับ(ยก เว้นจำนำข้าว) หรือถ้ายึดคืนเฉยๆ หรือบังคับซื้อถูกๆ อย่างนั้นยิ่งวินาศใหญ่ ตลาดทุนพังครืนตามศก.แน่ครับ จริงๆแล้วกลับควรทำตรงกันข้าม คือแปรรูปไปเสียให้สุดซอย เหมือนที่ป้า Thatcher เธอเคยทำกับ British Petrolium จนกลายเป็นบริษัทระดับโลกไป (ไว้วันหน้าจะเสนอรายละเอียดนะครับ รวมทั้งเล่าเรื่องการขายหุ้น IPO ปตท.เมื่อปี 2544 ที่มีหลายคนเข้าใจผิด ก่นด่าแบบไม่ฟังเหตุผลจนทุกวันนี้)

อีกอย่าง ถ้าไปดูรายละเอียดกำไรของ ปตท. จะพบว่า 72% เป็นกำไรที่มาจาก ธุรกิจสำรวจและผลิต(E&P ซึ่งก็คือ ปตทสผ.) มาจากก๊าซ 20% จากค้าปลีกนำ้มันแค่ 7% ลองคิดดูว่าถ้าเอากำไรจากส่วนอื่นมาชดเชยราคานำ้มันอย่างเดียว ก็เป็นอันว่าโครงสร้างทุกอย่างจะต้องบิดเบี้ยวไปหมด
บทสรุปเกี่ยวกับปตท. มีในสรุปการปฏิรูปพลังงาน ดังนี้
https://th-th.facebo...tal_comments=22
เสวนาพลังงาน ๑ มีนาคม ๒๕๕๗
• จัดตั้งองค์กรใหม่ที่เรียกว่า สภาพลังงาน เพื่อดูแลทรัพยากรของชาติ
• ให้ตัวแทนทุกวิชาชีพ เป็นสมาชิกสภาพลังงาน โดยมีอายุในการดำรงตำแหน่งคนละ 4 ปี แล้วเว้นวรรคอีก 4 ปี จึงจะสมัครเข้ามาให้ได้รับเลือก
• จัดระบบในการบริหารพลังงานและทรัพยากร ด้วยการแบ่งปันผลประโยชน์ 60-40 ซึ่งจะแบ่งปันให้แก่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศและทรัพยากร
• ยกเลิกการกำหนดคุณภาพน้ำมัน ยูโรโฟ (ยูโร 4) ซึ่งมีต้นทุนผลิตสูง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้น้ำมันในราคาถูกได้ทันที
• ประเทศไทย ควรนำเข้าน้ำมันแบบจีทูจี โดยไม่ต้องอาศัยบริษัทนายหน้า
• ผลักดันให้ ปตท. ออกจากระบบผูกขาดตัดตอน และไม่อยู่ในความอุปถัมภ์ของรัฐ เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี
• ออกกฏหมายรองรับสภาพลังงาน ให้มีสถานะเหมือนดังองค์กรอิสระ เช่น ปปช. กกต. และมีงบประมาณสนับสนุน
• จัดระบบพลังงานทางเลือก พลังงานสีเขียว ให้ครอบคลุมไปในทุกพื้นที่โดยสนับสนุน ให้หน่วยงานของรัฐเป็นหัวหอก ในการนำพลังงานทางเลือกมาใช้ แทนพลังงานฟอสซิล
• แบ่งปันผลประโยชน์ ที่ได้จากการทรัพยากรในทุกแหล่ง ให้แก่คนในพื้นที่อย่างเหมาะสม
• จัดให้มีองค์กรตรวจสอบ การทำงานของสภาพลังงานโดยองค์กรอิสระทุกองค์กร มีหน้าที่ตรวจสอบได้ ที่มิได้ขึ้นกับหน่วยงานของรัฐ
• สร้างศูนย์การเรียนรู้ การแปรรูปทรัพยากร และพลังงาน
• เสนอให้มีการยกเลิก พรบ. ร่วมทุนที่รัฐบาลชุดนี้ประกาศใช้
• เสนอให้บังคับใช้กฎหมายมาตรา 110 ที่ว่า ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ นำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง หรือกระทำการใดๆ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยง การเสียค่าภาคหลวงหรือผลประโยชน์ตอนแทนพิเศษ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือน ถึง เจ็ดปี ปรับตั้งแต่ห้าหมื่น ถึงห้าแสนบาท
มาตรา 111 บรรดาปิโตรเลียม เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใดๆ ที่บุคคลได้มา ได้ใช้ในการกระทำผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผล ในการกระทำความผิดตามมาตรา 103 มาตรา 104 หรือมาตรา 105 ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ เว้นแต่ทรัพย์สินนั้นเจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดนั้น
• ยกเลิก พรบ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และออกกฎหมายปิโตรเลียมฉบับใหม่ กำหนดให้ปิโตรเลี่ยมเป็นของรัฐ การนำมาใช้ประโยชน์ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนเท่านั้น
 
http://webboard.seri...ุ/#entry1093185
สรุปเสียที ....ผมคิดว่า ข้อเสนอ"ปฏิรูปพลังงาน"ที่มีคนนำเสนอ กดดันทุกฝ่ายตะโกนปาวๆอยู่ตามเวทีต่างๆเวลานี้ เป็นเรื่องอันตรายมากต่อประเทศ(ผมถึงต้องลงทุนลางานครึ่งวัน นั่งเขียนบทความยาวขนาดนี้ไงครับ) ถ้าเราจะปฏิรูปจริง ข้อมูลต่างๆต้องถูกต้องเสียก่อน เริ่มต้นก็คือเรื่องปริมาณสำรอง ที่ไปหลงว่าเรามีเหลือเฟือ ทั้งๆที่ความจริงแสนเหือดแห้ง แถมการขุดการหาเพิ่มก็แทบไม่มี ส่วนเรื่องโครงสร้างต่างๆที่ทุกฝ่ายเพียรสร้างเพียรวางไว้หลายสิบปี แน่นอนครับ ถึงแม้จะยังไม่สมบูรณ์ ยังปรับยังพัฒนาต่อได้ แต่ไม่ใช่เป็นแบบที่เสนออยู่หรอกครับ อย่างนั้นน่ะมันหายนะชัดๆ

สำหรับผม การพัฒนา การวางโครงสร้าง ด้านพลังงาน เราทำได้ดีทีเดียว ตั้งแต่เรามีวิกฤติขาดแคลนพลังงานครั้งสุดท้ายในสมัยนายกพลอ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เราก็ไม่เคยขาดแคลนพลังงานอีกเลย ราคาก็ไม่ได้แพงเกินสมควร(สังเกตุ ได้จากการฟุ่มเฟือยในการใช้) ทุกภาคส่วนทำงานกันอย่างหนัก ค่อยๆปลุกปั้นกันมาจนทุกวันนี้ ตั้งแต่ท่าน ศุลี มหาสันทนะ ท่านศิววงศ์ จังคะศิริ ท่านเกษม จาติกวณิช ทางด้านสภาพัฒน์ กท.การคลัง กท.พลังงาน อย่างดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ ที่ทุ่มเททำเรื่องนี้มากว่าครึ่งชีวิต พอท่านออกมาค้าน ก็ถูกรุมป้ายสี เอาเรื่องเท็จต่างๆมาใส่ร้าย

สังคมวันนี้ เราจะแค่เชื่อคนที่ไม่เห็นจะรู้จริง ไม่เคยทำอะไรสำเร็จ แค่เอาข้อมูลเผินๆมามั่วแปะไปแปะมา แล้วฉวยโอกาสชักชวนคนที่ไม่รู้ ตะโกนกรอกหูให้หลงตามแล้วจะเอามาทำลายระบบที่สำคัญลงได้หรือครับ

อย่างที่ออกตัวไว้ครับ ถึงผมจะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลต่างๆอาจไม่ถูกเป๊ะ แต่ผมแน่ใจว่าหลักการต่างๆที่ผมอธิบาย เป็นเรื่องจริง ครบถ้วนตามควร ใครอยากถกมาอย่างสร้างสรร หรือแก้ไขตรงไหนที่ไม่ถูกต้อง ก็เชิญเลยนะครับ

อ้อ...คงต้องประกาศไว้เลยว่า ผมเป็นประธานกรรมการของ บล.ภัทร ที่เป็นที่ปรึกษาแปรรูป ปตท. (และรสก.อื่นอีกสิบแห่ง) ซึ่งเป็นเรื่องที่ผมภาคภูมิใจ ว่าได้ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ของชาติ ซึ่งถึงแม้จะไม่สมบูรณ์แบบ 100% มีเรื่องปรับปรุงต่อไปได้ แต่ยืนยันว่า ดีกว่าการที่ทิ้งไว้เป็น รสก.เฉยๆ ไม่เข้าตลาดหลายเท่านักครับ

ถ้าจะกลัวว่าผมเขียนเรื่องนี้อย่าง Bias ก็ลองใช้วิจารณญานอ่านสิ่งที่ผมเขียนว่ามีเหตุมีผล ตรงข้อเท็จจริงไหม อย่าได้สนใจว่าผมเป็นใครเลยครับ
306Unlike · · Share

 
สรุปว่าผู้เขียนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพลังงานโดยแท้จริง ทั้งยังตกใจที่เห็นคุณอนิกที่เป็นเจ้าหน้าที่ของกปปส.ที่ดำเนินการเรื่องปฏิรูปบนเวทีปทุมวันเก่า กด Like ให้อีก  ความจริงแล้วผู้เขียนน่าจะหาข้อมูลให้มากกว่านี้ อย่าเอาข้อมูลที่เผยแพร่โดบปตท.มาเลย เช่น แต่ละโรงกลั่นนำน้ำมันอะไร นำมาจากไหน มีปริมาณเท่าไร นำมากลั่นแล้วได้น้ำมันอะไร ปริมาณเท่าไร ในแต่ละวัน ส่วนปริมาณการใช้น้ำมันก็มีเผยแพร่ออกมาแล้ว ตามตารางข้างล่าง
ปริมาณการใช้นำมัน ปี 56.JPG

กำลังการผลิตน้ำมัน.JPG

ชาร์ทผลิตน้ำมัน.jpg

 

แล้วจะรู้ว่าน้ำมันแพง เพราะ ไม่ยกเลิกราคาหน้าโรงกลั่นที่อิงสิงค์โปร์ ไม่ยกเลิกกองทุนน้ำมัน ไม่เลิกเก็บภาษีสรรพสามิต ไม่เลิกเก็บภาษีทุกชนิดที่ชดเชยได้จากการแบ่งผลผลิตจากทรัพยากรปิโตรเลี่ยมแบบมาเลเซีย


Edited by Stargate-1, 10 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:44.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#7 usa

usa

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,669 posts

ตอบ 9 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 13:02

ลุงปุครับ ด้วยความเคารพนะครับ ทำไมบทความเกี่ยวกับพลังงาน มันถึงยาวเหลือเกิน อ่านแล้วเข้าใจยากมาก

มันไม่สามารถเขียนให้กระชับ และเข้าใจง่าย ๆ หน่อยหรือครับ แบบนี้อาจทำให้คนเกิดความเบื่อหน่าย แล้วไม่อยาก

ติดตาม มิน่า มีคำถามว่า ทำไม น้ำมันในประเทศเราถึงแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก แต่ไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจนได้สักที

ด้วยความเคารพนะครับ

#8 ปุถุชน

ปุถุชน

    มหาเมพ

  • Members
  • PipPipPipPipPipPipPip
  • 27,531 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 10:34

ลุงปุครับ ด้วยความเคารพนะครับ ทำไมบทความเกี่ยวกับพลังงาน มันถึงยาวเหลือเกิน อ่านแล้วเข้าใจยากมาก

มันไม่สามารถเขียนให้กระชับ และเข้าใจง่าย ๆ หน่อยหรือครับ แบบนี้อาจทำให้คนเกิดความเบื่อหน่าย แล้วไม่อยาก

ติดตาม มิน่า มีคำถามว่า ทำไม น้ำมันในประเทศเราถึงแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก แต่ไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจนได้สักที

ด้วยความเคารพนะครับ

 

 

 

ผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับพลังงาน ปตท. ราคาน้ำมันเท่าใด ?

จึงตอบไม่ได้ นอกจากคัดลอกมาให้อ่านอีกแง่มุมหนึ่ง จากบุคคลน่าเชือถือเหมือนกัน....

กรุณาพิจารณา ศึกษารอบด้านเถอะครับ......!

 

แต่ผมตั้งข้อสังเกตุว่า....

1. ประเทศไทยต้องตั้งราคาน้ำมันตามสิงคโปร์ในขณะนั้น เพราะเหตุใด ?

2. เวลานี้ควรแก้ไขปรับปรุงหรือไม่ ?

3. มาเลย์ อินโดนีเซียตั้งราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศจากฐานอะไร ?

    อินโดนีเซียปรับราคาขายปลีกขึ้นแล้ว มีม็อบประท้วงอยู่(จากข่าวต่างประเทศ)

4. ราคาขายปลีกในประเทศไทยจากฐานอะไร ?

5. การบวกภาษีสรรพสามิต กองทุนน้ำมัน มีประโยชน์อะไร ? มีความบริสุทธิ์ใจ หรือ ฉวยโอกาสกอบโกย..?

6. เปรียบราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศอื่นๆ นอกจากนี้หรือไม่ ?

7. ประเทศที่มีน้ำมันดิบของตนเอง เช่น นอร์เวย์ ราคาปลีกสูงมากกว่าประเทศไทย เพราะเหตุใด ค่าครองชีพสูงอย่างเดียว หรือ วัตถุประสงค์อื่น ๆ?

8.......ฯลฯ

 

 

นอกจากนี้ มาตราการอื่น การทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกราคาถูก....

1. ต้องยึดคืน ปตท. ซื้อหุ้น ปตท. อย่างเดียว ?

2. ราคาถูก 10-20 บาท รัฐบาลต้องเสียอะไรชดเชย ทดแทน หรือ ทำให้เศรษฐกิจเสียหาย เช่นราคาสินค้าอุปโภค บริโภคสูงขึ้นมาก ?

3. ความเชื่อถือของนักลงทุนระหว่างประเทศต่อการรัฐบาลไทย การลงทุนในประเทศไทย ?

4. ตลาดหลักทรัพย์ไทยจะเป็นอย่างไร ?

5......ฯลฯ

 

หากเปลี่ยนรัฐบาลให้เป็นรัฐบาลสุจริต.....

1.มีทางลดราคาน้ำมันลง 10-20 บาทต่อลิตรอย่างเหมาะสม ?

2.มีทางลดราคาน้ำมันลง แต่ไม่ถึง 10-20 บาทโดยไม่สร้างผลกระทบอื่นๆ จะเอาไหม ?

3.ปตท.มีทุนสะสม ความเชื่อถือจากตลาดทุน สามารถพัฒนาต่อไป เป็นหลักประกันประเทศไทยมีน้ำมันใช้ต่อไปอีก ?

4.......ฯลฯ

 

 

ผมติดตามอ่าน(คร่าวๆ)เหมือนกันครับ  ยังไม่สามารถตอบได้.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า

 

 

 

 

แล้วจะ รู้ว่าน้ำมันแพง เพราะ ไม่ยกเลิกราคาหน้าโรงกลั่นที่อิงสิงค์โปร์ ไม่ยกเลิกกองทุนน้ำมัน ไม่เลิกเก็บภาษีสรรพสามิต ไม่เลิกเก็บภาษีทุกชนิดที่ชดเชยได้จากการแบ่งผลผลิตจากทรัพยากรปิโตรเลี่ยม แบบมาเลเซีย

 

 

ตามที่'stargate-1' ยกมาเป็นเรื่องของรัฐบาล.....!

เว้นแต่ว่า ปตท.กินตามน้ำด้วย....


Edited by ปุถุชน, 13 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 10:37.

เคียงข้างลุงกำนัน ปฏิรูปการเมืองไทย กำจัดระบอบทักษิณ ขับไล่มวลหมู่ขี้ข้า วันที่ 26 พฤษภาคม 2557...


#9 usa

usa

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 2,669 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 15:35

นั่นแหละครับ ลุงปุ  ถ้ามีใครเฉลยคำตอบ ตามที่ ลุง ตั้งข้อสังเกตุได้  มันก็ดีซิครับ  แล้วใครจะเป็นคนเฉลยล่ะครับ



#10 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 16:11

ติดตาม มิน่า มีคำถามว่า ทำไม น้ำมันในประเทศเราถึงแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้านมาก แต่ไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจนได้สักที
ด้วยความเคารพนะครับ

แต่ผมตั้งข้อสังเกตุว่า....

1. ประเทศไทยต้องตั้งราคาน้ำมันตามสิงคโปร์ในขณะนั้น เพราะเหตุใด ? ปตท.ต้องการกำไรมากๆ

2. เวลานี้ควรแก้ไขปรับปรุงหรือไม่ ? ยกเลิกไปได้แล้ว

3. มาเลย์ อินโดนีเซียตั้งราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศจากฐานอะไร ? จากตันทุน และมีการอุดหนุน จากเงินกำไรของบ.น้ำมันของชาติ (ปิโตรนาส)

    อินโดนีเซียปรับราคาขายปลีกขึ้นแล้ว มีม็อบประท้วงอยู่(จากข่าวต่างประเทศ)

4. ราคาขายปลีกในประเทศไทยจากฐานอะไร ? ราคาหน้าโรงกลั่นของสิงค์โปร์ บวกค่าขนส่ง บวกภาษี บวกค่าการตลาด

5. การบวกภาษีสรรพสามิต กองทุนน้ำมัน มีประโยชน์อะไร ? มีความบริสุทธิ์ใจ หรือ ฉวยโอกาสกอบโกย..? กองทุนน้ำมันตั้งมาโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรี มีการใช้เงินโดยไม่มีการควบคุมจากก.การคลัง ตำรวจปราบน้ำมันเถื่อนก็ใช้งบจากกองทุนนี้

6. เปรียบราคาขายปลีกน้ำมันในประเทศอื่นๆ นอกจากนี้หรือไม่ ? ยกเลิกกองทุนน้ำมันได้แล้ว ราคาขายปลีกน้ำมันก็จะถูกลงทันที

7. ประเทศที่มีน้ำมันดิบของตนเอง เช่น นอร์เวย์ ราคาปลีกสูงมากกว่าประเทศไทย เพราะเหตุใด ค่าครองชีพสูงอย่างเดียว หรือ วัตถุประสงค์อื่น ๆ? ในยุโรปมีราคาใกล้เคียงกัน

8.......ฯลฯ

นอกจากนี้ มาตราการอื่น การทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกราคาถูก....

1. ต้องยึดคืน ปตท. ซื้อหุ้น ปตท. อย่างเดียว ? ผลักดันให้ ปตท. ออกจากระบบผูกขาดตัดตอน และไม่อยู่ในความอุปถัมภ์ของรัฐ เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี. ตามลิงค์นี้ http://webboard.serithai.net/topic/48275-ว่าด้วยความไม่รู้/#entry1098822

2. ราคาถูก 10-20 บาท รัฐบาลต้องเสียอะไรชดเชย ทดแทน หรือ ทำให้เศรษฐกิจเสียหาย เช่นราคาสินค้าอุปโภค บริโภคสูงขึ้นมาก ?

รายได้ของภาครัฐจากการจัดหาปิโตรเลียม 198,139 ล้านบาท ประกอบด้วย

  • ค่าภาคหลวง 65,198 ล้านบาท (กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจัดเก็บ)
  • ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 110,620 ล้านบาท (กรมสรรพากรจัดเก็บ)
  • ส่วนแบ่งกำไรจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (MTJA) 19,077 ล้านบาท
  • ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ 3,244 ล้านบาท

3. ความเชื่อถือของนักลงทุนระหว่างประเทศต่อการรัฐบาลไทย การลงทุนในประเทศไทย ? ต้องเจรจากันให้เป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย

4. ตลาดหลักทรัพย์ไทยจะเป็นอย่างไร ? ต้องให้โปร่งใสมากกว่านี้ ไม่มีการปั่นหุ้น จากไอ้แม้ว

5......ฯลฯ

หากเปลี่ยนรัฐบาลให้เป็นรัฐบาลสุจริต.....

1.มีทางลดราคาน้ำมันลง 10-20 บาทต่อลิตรอย่างเหมาะสม ? ยกเลิกราคาหน้าโรงกลั่นสิงค์โปร์ ราคาก็ลดลงส่วนหนึ่ง ยกเลิกภาษีราคาก็ลดลงส่วนหนึ่ง ยกเลิกองทุนน้ำมันราคาก็ลดลงส่วนหนึ่ง 

2.มีทางลดราคาน้ำมันลง แต่ไม่ถึง 10-20 บาทโดยไม่สร้างผลกระทบอื่นๆ จะเอาไหม ? ราคาอ้างอิงหน้าดรงกลั่นสิงค์โปร์ยกเลิกได้เลย กองทุนน้ำมันยกเลิกได้เลย ยกเลิกภาษีต้องทำไปทีละขั้น ไปพร้อมๆกับ การหาเงินมาอุดหนุนทดแทน

3.ปตท.มีทุนสะสม ความเชื่อถือจากตลาดทุน สามารถพัฒนาต่อไป เป็นหลักประกันประเทศไทยมีน้ำมันใช้ต่อไปอีก ? ทำตัวให้โปร่งใส ไร้การครอบงำจากไอ้แม้ว

4.......ฯลฯ

ผมติดตามอ่าน(คร่าวๆ)เหมือนกันครับ  ยังไม่สามารถตอบได้.......ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า

ตอบไปแล้วครับ ตามตัวแดง อยากให้ช่วยไปโพสต์ในเฟสบุ๊คของเจ้าของบทความด้วยก็จะดีไม่น้อยครับ เพจเขาไม่เป็นสาธารณะ เข้าไปโพสต์ไม่ได้ ต้องสมัครเป็นเพื่อนหรือไง ถึงโพสต์ได้

post-14906-0-31240800-1392007246.jpg

 

ตามโครงสร้างราคาน้ำมัน ที่ไอ้แม้วทำไว้ ยกเลิกไปอย่างหนึ่งก็ถูกไป อย่างหนึ่ง


Edited by Stargate-1, 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 12:57.

Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3


#11 blue

blue

    ขาประจำ

  • Members
  • PipPipPip
  • 1,979 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 16:35

มันคงไม่มีใครตอบได้หรอกครับ เพราะมันเป็นข้อมูลที่แย้งกันอยู่สองฝ่าย

คำตอบเรื่องนี้มันก็คือต้องไปพิสูจน์ ตรวจสอบ ว่าจริง ๆ แล้วมันเป็นอย่างไร

 

คนที่เขียนบทความนั้นเขาเขียนในเชิงกว้าง ๆ ลักษณะเป็นเรื่องนโยบายว่า

ทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้น อย่างนี้ มันก็แล้วแต่ละครับว่าใครจะเชื่อใคร

 

แต่ประเด็นมันก็คือ ในเมื่อข้อมูลมันยังขัดแย้งกันอยู่อย่างนี้ แล้วจะไปบีบให้

กำนันพูดเรื่องปฏิรูปพลังงาน บนเวที กปปส เพื่ออะไรครับ



#12 Stargate-1

Stargate-1

    SG-1

  • Members
  • PipPipPipPipPip
  • 8,578 posts

ตอบ 13 มีนาคม พ.ศ. 2557 - 16:40

https://th-th.facebo...tal_comments=22
เสวนาพลังงาน ๑ มีนาคม ๒๕๕๗
• จัดตั้งองค์กรใหม่ที่เรียกว่า สภาพลังงาน เพื่อดูแลทรัพยากรของชาติ
• ให้ตัวแทนทุกวิชาชีพ เป็นสมาชิกสภาพลังงาน โดยมีอายุในการดำรงตำแหน่งคนละ 4 ปี แล้วเว้นวรรคอีก 4 ปี จึงจะสมัครเข้ามาให้ได้รับเลือก
• จัดระบบในการบริหารพลังงานและทรัพยากร ด้วยการแบ่งปันผลประโยชน์ 60-40 ซึ่งจะแบ่งปันให้แก่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศและทรัพยากร
• ยกเลิกการกำหนดคุณภาพน้ำมัน ยูโรโฟ (ยูโร 4) ซึ่งมีต้นทุนผลิตสูง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ใช้น้ำมันในราคาถูกได้ทันที
• ประเทศไทย ควรนำเข้าน้ำมันแบบจีทูจี โดยไม่ต้องอาศัยบริษัทนายหน้า
• ผลักดันให้ ปตท. ออกจากระบบผูกขาดตัดตอน และไม่อยู่ในความอุปถัมภ์ของรัฐ เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี
• ออกกฏหมายรองรับสภาพลังงาน ให้มีสถานะเหมือนดังองค์กรอิสระ เช่น ปปช. กกต. และมีงบประมาณสนับสนุน
• จัดระบบพลังงานทางเลือก พลังงานสีเขียว ให้ครอบคลุมไปในทุกพื้นที่โดยสนับสนุน ให้หน่วยงานของรัฐเป็นหัวหอก ในการนำพลังงานทางเลือกมาใช้ แทนพลังงานฟอสซิล
• แบ่งปันผลประโยชน์ ที่ได้จากการทรัพยากรในทุกแหล่ง ให้แก่คนในพื้นที่อย่างเหมาะสม
• จัดให้มีองค์กรตรวจสอบ การทำงานของสภาพลังงานโดยองค์กรอิสระทุกองค์กร มีหน้าที่ตรวจสอบได้ ที่มิได้ขึ้นกับหน่วยงานของรัฐ
• สร้างศูนย์การเรียนรู้ การแปรรูปทรัพยากร และพลังงาน
• เสนอให้มีการยกเลิก พรบ. ร่วมทุนที่รัฐบาลชุดนี้ประกาศใช้
• เสนอให้บังคับใช้กฎหมายมาตรา 110 ที่ว่า ผู้ใดแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ ให้ถ้อยคำเท็จ ตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ นำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง หรือกระทำการใดๆ เพื่อหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยง การเสียค่าภาคหลวงหรือผลประโยชน์ตอนแทนพิเศษ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือน ถึง เจ็ดปี ปรับตั้งแต่ห้าหมื่น ถึงห้าแสนบาท
มาตรา 111 บรรดาปิโตรเลียม เครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ หรือเครื่องจักรกลใดๆ ที่บุคคลได้มา ได้ใช้ในการกระทำผิด หรือได้ใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผล ในการกระทำความผิดตามมาตรา 103 มาตรา 104 หรือมาตรา 105 ให้ริบเสียทั้งสิ้น ไม่ว่าจะมีผู้ถูกลงโทษตามคำพิพากษาหรือไม่ เว้นแต่ทรัพย์สินนั้นเจ้าของมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดนั้น
• ยกเลิก พรบ. ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และออกกฎหมายปิโตรเลียมฉบับใหม่ กำหนดให้ปิโตรเลี่ยมเป็นของรัฐ การนำมาใช้ประโยชน์ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนเท่านั้น

 

ที่แจ้งวัฒนะเขาพูดกันไปแล้ว หนิ เพียงแต่รอการขยายผลเท่านั้น ว่าจะไปไกลขนาดไหน มีข้อโต้แย้งไหม


Tam-mic-ra ฟันธง!  คำว่า "โดนพริกไทยมั๊ง" น่ะ แค่นี่เอามาเป็นหลักฐาน ได้ยังไงครับ .....  คิดครับคิด  :lol:   จากกระทู้แก้ข่าวหน้า 2 qoute #96  ใครยิงวสันต์-ภู่ทอง   แอลพีจีทำมาจากซี2ซี3





ผู้ใช้ 0 ท่านกำลังอ่านกระทู้นี้

สมาชิก 0 ท่าน, ผู้เยี่ยมชมทั่วไป 0 ท่าน และไม่เปิดเผยตัวตน 0 ท่าน